การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก

ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1.ทายาท (ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก)
2.ผู้มีส่วนได้เสีย
3.พนักงานอัยการ

สาเหตุที่ต้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1.ทายาทสูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์
2.ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก
3.ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับ

คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก
1.บรรลุนิติภาวะ
2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ
3.ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย

ยื่นคำร้องที่ไหน
1.ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตาย
2.ศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล (กรณีเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร)

หลักฐานประกอบการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
1.หลักฐานเกี่ยวกับผู้ตายหรือเจ้ามรดก
– ทะเบียนบ้าน
– ใบมรณบัตร
– ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า
– ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี)
– พินัยกรรม (ถ้ามี)
2.หลักฐานเกี่ยวกับผู้ร้อง
– บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน
– หลักฐานการเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดก เช่น สูติบัตร, หนังสือรับรองบุตร, ทะเบียนสมรส เป็นต้น
3.หลักฐานเกี่ยวกับทายาทคนอื่นๆ
– หนังสือให้ความยินยอม + สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน
4.หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก
– เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน, สมุดเงินฝากธนาคาร, เอกสารทางทะเบียน (รถยนต์, รถจักรยานยนต์, อาวุธปืนฯลฯ)

ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร
-ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law
-ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ
-ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก
-สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร
-ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com
Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law

Leave a Reply