Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
คำพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2562-รับสารภาพแล้วจะยกข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดแย้งกับคำให้การในศาลสูงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2562-รับสารภาพแล้วจะยกข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดแย้งกับคำให้การในศาลสูงไม่ได้กันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 169/2562 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดนครปฐม โจทก์ร่วม นางสาว จ. จำเลย นาย ด. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15, 195, 225 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง, 252 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 78, 160 วรรคสอง - ข้อมูลย่อ การที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถให้การ ช่วยเหลือและแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสีย หายตามกฎหมายและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ และเมื่อ โจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่ แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ.จราจรทาง บกฯ นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 160 วรรคสอง ได้ และปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลย ฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุ รถจำเลยแล่นอยู่ในช่องเดินรถที่ 1 มิได้วิ่งคร่อมช่องเดินรถที่ 1 และที่ 2 การที่รถ จำเลยเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผู้ตายจึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ทำนองว่าจำเลยมิได้กระทำ ความผิดตามฟ้องนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย จึงเป็น ข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78, 157, 160 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 291 จำเลยให้การปฏิเสธ แต่ก่อนสืบพยาน จำเลยขอถอนคำให้การเดิมและให้การใหม่เป็นรับ สารภาพ ระหว่างพิจารณา นางสาวจันทร์เพ็ญ มารดาของผู้ตาย ยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วม ศาล ชั้นต้นอนุญาตเฉพาะข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ส่วนข้อหาอื่น โจทก์ร่วม ไม่เป็นผู้เสียหายจึงไม่อนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 (เดิม) พระราช บัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง, 157, 160 วรรคสอง การกระทำของจำเลย เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถให้การช่วยเหลือและแสดงตัว ต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ลงโทษจำคุก 6 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานขับ รถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินกับฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึง แก่ความตาย การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษ ฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท รวมจำคุก 2 ปี 6 เดือน และปรับ 20,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณามีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 3 เดือน และปรับ 10,000 บาท โทษจำคุกให้รอไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุมความประพฤติของจำเลยโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อเจ้าพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ต่อ ครั้งภายใน 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 29, 30 โจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ลงโทษปรับ ไม่คุมความประพฤติ และไม่รอการลง โทษ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับความผิดฐานขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่ หยุดรถให้การช่วยเหลือและแสดงตัวต่อเจ้าพนักงานเป็นเหตุให้บุคคลนั้นถึงแก่ความตาย ตามพระราช บัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 โจทก์ร่วมไม่ใช่ผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดฐานนี้ โดยตรง จึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมาย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษให้ แก่จำเลยในความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ร่วม และศาลอุทธรณ์ภาค 7 รับพิจารณาในข้อหานี้โดยพิพากษาเป็นไม่รอการลงโทษจำคุกแก่จำเลยนั้น จึงไม่ ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว และเมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องอ้างเหตุว่าการที่จำเลยไม่หยุดรถให้ความช่วย เหลือตามสมควร ไม่แสดงตัวและไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ใกล้เคียงทันทีอันเป็นการไม่ปฏิบัติ ตามมาตรา 78 วรรคหนึ่ง ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 นั้น เป็นเหตุให้บุคคลอื่นถึงแก่ ความตาย คดีจึงไม่อาจลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160 วรรคสอง ได้ ปัญหาดังกล่าว แม้คู่ความจะมิได้อุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า ขณะเกิดเหตุ รถจำเลยแล่นอยู่ในช่องเดินรถที่ 1 มิได้วิ่งคร่อมช่องเดินรถที่ 1 และที่ 2 การที่รถจำเลยเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ผู้ตายจึงมีส่วนประมาทอยู่ด้วย ทำนองว่าจำเลยมิได้ กระทำความผิดตามฟ้องนั้น เห็นว่า เป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาและขัดแย้งกับคำให้การรับ สารภาพของจำเลย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้อง ห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไข ใหม่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่ามีเหตุสมควรลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ จำคุกแก่จำเลยในความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายหรือไม่ เห็นว่า จำเลย ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว 80,000 บาท อีกทั้งภายหลังศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำพิพากษา บริษัท รับประกันภัยวางเงินชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 565,000 บาท รวมถึงจำเลยวางเงินชดใช้ค่า เสียหายเพิ่มเติมให้แก่โจทก์ร่วมอีก 40,000 บาท นับว่าจำเลยรู้สำนึกในการกระทำความผิดและพยายาม บรรเทาผลร้ายแห่งความผิดของตนตามสมควร เมื่อปรากฏว่า จำเลยมีอาชีพการงานเป็นหลักแหล่ง และมี ภาระต้องเลี้ยงดูบุคคลในครอบครัว การให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดี และได้ประกอบสัมมา ชีพต่อไปน่าจะเป็นผลดีและเป็นประโยชน์แก่จำเลยและสังคมมากกว่าการลงโทษจำคุกจำเลยไปเสียทีเดียว กรณีจึงเห็นสมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลย แต่เพื่อให้จำเลยหลาบจำ เห็นสมควรลงโทษปรับอีกสถาน หนึ่งและคุมความประพฤติของจำเลยไว้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตายหลังลดโทษให้กึ่งหนึ่ง คงจำคุก 1 ปี นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว แต่ที่ใช้ ดุลพินิจไม่รอการลงโทษให้จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 (เดิม) พระราช บัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 43 (4), 78 วรรคหนึ่ง, 157, 160 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลย เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานขับรถในทางก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลแล้วไม่หยุดรถให้การช่วยเหลือและแสดงตัว ต่อเจ้าพนักงาน ลงโทษจำคุก 3 เดือน และปรับ 10,000 บาท ฐานขับรถโดยประมาทอันอาจเกิดอันตราย แก่บุคคลหรือทรัพย์สินกับฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ให้ลงโทษฐานกระทำ โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 2 ปี และปรับ 20,000 บาท รวมจำคุก 2 ปี 3 เดือน และปรับ 30,000 บาท ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 1 ปี 1 เดือน 15 วัน และปรับ 15,000 บาท โทษจำคุกให้รอ การลงโทษไว้ 3 ปี นับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาให้จำเลยฟัง และคุมความประพฤติของจำเลยมี กำหนด 2 ปี โดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก 3 เดือน ต่อครั้ง ภายในกำหนดดังกล่าว กับให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่พนักงานคุมประพฤติเห็นสมควร มีกำหนด 20 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 (ที่แก้ไขใหม่) หากจำเลยไม่ชำระค่าปรับให้ จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 (ที่แก้ไขใหม่) - (โสภณ บางยี่ขัน - รังสรรค์ กุลาเลิศ - บุญไทย อิศราประทีปรัตน์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562-กระทำไปเพราะถูกหลอกลวงถือไม่ได้ว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562-กระทำไปเพราะถูกหลอกลวงถือไม่ได้ว่ามีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2562 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ นาง ว. จำเลย นาย ป. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (4) - ข้อมูลย่อ พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์เพื่อเป็นการตอบแทน ในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ หลังจากมอบเงินให้จำเลย จำเลยไม่ สามารถดำเนินการให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษได้ เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยก็บ่ายเบี่ยงและ ไม่ยอมคืนเงินให้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่จะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือ รู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลองลวงโจทก์ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้อง คดีในข้อหานี้ได้ และกรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกจะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราช ทานอภัยโทษ แต่โจทก์กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำ ความผิด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2562) - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 จำคุก 3 ปี ทางนำสืบของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 2 ปี จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายืน จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกา ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความไม่ได้โต้แย้งกันในชั้นฎีกาว่า โจทก์ กับจำเลยเป็นญาติกัน จำเลยเคยประกอบอาชีพเป็นทนายความ โจทก์ตกลงให้จำเลยติดต่อทำเรื่องขอทูล เกล้าฯ ถวายฎีกาขอรับพระราชทานอภัยโทษให้แก่นายสอน สามีโจทก์ ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาดในคดีที่ ศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตลอดชีวิต โดยตกลงกันในราคา 250,000 บาท แต่หลังจากโจทก์มอบ เงินให้จำเลยไปแล้วนายสอนก็ยังไม่ได้ออกจากเรือนจำ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรกว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็นว่า ข้อนำสืบของจำเลยไม่สมเหตุสมผล กล่าวคือ จำเลยอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายขอให้จำเลยช่วยเหลือวิ่งเต้น ขอพระราชทานอภัยโทษให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่ทราบวิธีการ จึงสอบถามเพื่อนทนายความด้วยกัน จนสามารถรู้จักนายอุดร ซึ่งจะเป็นผู้วิ่งเต้น ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่น่าเชื่อถือเพราะไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะ ต้องไปขวนขวายหาผู้ที่จะไปวิ่งเต้นช่วยเหลือโจทก์โดยที่ไม่ได้ค่าตอบแทนเพราะจำเลยเองไม่รู้ช่องทาง นอกจากนี้ ในวันจ่ายเงินให้กัน จำเลยก็ไปกับภริยา และบุคคลที่อ้างว่าเป็นเลขาของนายอุดร โดยจำเลย อ้างว่าเมื่อรับเงินจากทางนางสุภาแล้ว จำเลยมอบเงินให้บุคคลดังกล่าวไป ทำนองว่าจำเลยไม่ได้รับเงิน จากโจทก์ ซึ่งไม่สมเหตุสมผลหลายประการ ประการแรก เหตุใดในวันรับเงินจำเลยจึงพาภริยาของ จำเลยไป เพราะหากจำเลยไม่ใช่เป็นผู้รับเงินเองซึ่งเป็นเงินจำนวนมาก ไม่มีเหตุผลที่จำเลยจะต้องพา ภริยาไปด้วย เชื่อว่าเหตุที่จำเลยพาภริยาไปด้วยในวันนั้นเพราะเป็นเงินจำนวนมาก จึงต้องพาภริยามา ช่วยดูแล ประการที่สอง เหตุใดนางสุภาต้องมอบเงินให้แก่จำเลยแล้วให้จำเลยมอบเงินให้แก่เลขาของ นายอุดร แทนที่จะให้นางสุภามอบเงินแก่เลขาของนายอุดรโดยตรง เหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะหากจะ ให้นางสุภามอบเงินแก่เลขาของนายอุดรโดยตรงเชื่อว่าโจทก์คงไม่ยินยอมเพราะโจทก์อาจอ้างว่าโจทก์ ตกลงกับจำเลยจึงต้องมอบเงินให้แก่จำเลย การที่จำเลยรับเงินจากนางสุภาแล้วมอบให้แก่เลขาของนาย อุดร น่าจะเป็นเรื่องแสร้งทำเพื่อให้โจทก์เห็นว่าจำเลยไม่ได้เป็นผู้รับเงิน หากวิ่งเต้นไม่สำเร็จ โจทก์จะ มาทวงเงินจากจำเลยไม่ได้ ซึ่งบุคคลที่อ้างว่าเป็นเลขาของนายอุดร จำเลยก็ไม่ได้ระบุว่าเป็นใคร ข้อนำ สืบของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง พยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์ เพื่อเป็นการตอบแทนในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ได้ความจากพยาน หลักฐานโจทก์ว่า หลังจากมอบเงินให้จำเลย จำเลยไม่สามารถดำเนินการให้สามีโจทก์ได้รับพระราช ทานอภัยโทษได้ เมื่อโจทก์ทวงถามจำเลยก็บ่ายเบี่ยงและไม่ยอมคืนเงินให้ แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาที่ จะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นกรณีดังกล่าวได้ อัน เป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงโจทก์ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ เห็นว่า ตามข้อ เท็จจริงที่ได้ความถือว่า โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ จึงเป็นผู้เสียหาย มีอำนาจฟ้องคดีในข้อหานี้ ได้ และกรณีฟังไม่ได้ว่าโจทก์มีเจตนาตั้งแต่แรกจะวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แต่ โจทก์กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวง ถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด โจทก์จึง เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อมาว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 หรือไม่ เห็นว่า โจทก์มีตัวโจทก์ นางสุภา และนางอาภรณ์เบิกความทำนอง เดียวกันว่า จำเลยบอกโจทก์ว่า จำเลยรู้จักคนที่สามารถวิ่งเต้นทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาให้นายสอนได้รับพระ ราชทานอภัยโทษได้และจำเลยเรียกเงินจากโจทก์จำนวน 250,000 บาท ไป พยานโจทก์ทั้งสามปากเบิก ความถึงเหตุการณ์เดียวกันสอดคล้องต้องกันไม่ปรากฏข้อพิรุธดังวินิจฉัยมาแล้ว โจทก์และจำเลยเป็น ญาติกัน ไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าพยานโจทก์จะแกล้งปรักปรำจำเลย เชื่อว่าพยานโจทก์เบิกความไปตาม ความเป็นจริง จำเลยเป็นบุคคลเพียงคนเดียวที่เชื่อมโยงระหว่างโจทก์กับบุคคลที่มารับเงินไป ข้ออ้าง ของจำเลยที่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับบุคคลที่ดำเนินการยื่นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษให้นายสอนจึงไม่ น่าเชื่อถือและไม่อาจรับฟังหักล้างพยานโจทก์ได้ พยานหลักฐานของโจทก์รับฟังได้หนักแน่นว่าจำเลย เรียกเงินจากโจทก์เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้ กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 143 ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการสุดท้ายว่ามีเหตุกำหนดโทษสถานเบาหรือ รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยหรือไม่ เห็นว่า การกระทำของจำเลยนอกจากจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมไทยว่ามีการทุจริตแล้ว ยังกระทบกระเทือนความน่าเชื่อถือของสถาบัน พระมหากษัตริย์ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดร้ายแรง ไม่ยำเกรงต่อกฎหมายบ้านเมือง ไม่มีเหตุที่ ศาลฎีกาจะกำหนดโทษให้เบากว่านี้และไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยฟัง ไม่ขึ้น พิพากษายืน - (นิพันธ์ ช่วยสกุล-อธิคม อินทุภูติ-ยงยุทธ แสงรุ่งเรือง) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คําพิพากษาฎีกาที่ 220/2562-กรณีถือว่าเป็นการส่งหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว
คําพิพากษาฎีกาที่ 220/2562-กรณีถือว่าเป็นการส่งหนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้วกันยายน 7, 2020คําพิพากษาฎีกาที่ 220/2562 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ บริษัทลีสซึ่งไอซีบีซี (ไทย) จํากัด จําเลย นายทนงศักดิ์ บุญยังกับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 ผู้ค้ำประกัน ผิดนัด - ข้อมูลย่อ ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า บรรดาหนังสือ จดหมาย คําบอกกล่าวใด ๆ ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลง ทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะ ถึงตัว หรือไม่ถึงตัว และไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือไม่ มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือ ไม่ยอมมารับภายในกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับ ข้าพเจ้า ยินยอม ผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคําบอกกล่าวใด ๆ นั้น ได้ส่งให้ ข้าพเจ้า โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ได้ส่งหนังสือขอให้ชําระหนี้และบอกเลิก สัญญาเช่าซื้อไปตาม ที่อยู่ของจําเลยที่ 2 ตามที่แจ้งไว้ในสัญญา ค้ำประกัน แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่ ส่งไปให้จําเลยที่ 2 เนื่องจาก จําเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกําหนดก็ตาม ก็ถือว่าจําเลยที่ 2 ได้รับ หนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 2 ให้รับ ผิดตาม สัญญาค้ำประกันได้ จําเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ เช่าซื้อมี หนังสือบอกกล่าวให้จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชําระหนี้ และบอกเลิกสัญญาพ้น กําหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จําเลยที่ 1 ผิดนัด จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิด ในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60 วัน ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง แต่หนี้การส่งมอบรถยนต์ที่ เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน จําเลยที่ 2 ย่อมไม่หลุดพ้น จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกันเมื่อ วันที่ 15 ตุลาคม 2555 จะต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แก่ โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนและ ค่าขาด ประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 จําเลยที่ 1 ทํา สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ หมายเลขทะเบียน ธน 2556 กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ในราคา 142,595 บาท ตกลงชําระ ค่าเช่าซื้อเป็นงวดทุกวันที่ 25 ของเดือน งวดละ 3,561 บาท รวม 36 งวด มีจําเลยที่ 2 ทําสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจําเลย ที่ 1 ชําระค่าเช่า ซื้อ 30 งวด เป็นเงิน 118,430 บาท แล้วผิดนัดไม่ ชําระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 31 ประจํา วันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ติดต่อกันเกินกว่าสามงวด โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว จําเลย ทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน 50,000 บาท และร่วมกันชําระค่าขาดประโยชน์เดือนละ 3,900 บาท นับแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2555 ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 เดือน เป็นเงิน 23,400 บาท ขอให้บังคับจําเลย ทั้งสองร่วมกันส่ง มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากคืน ไม่ได้ ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 50,000 บาท ร่วมกันชําระค่าเสียหาย 23,500 บาท และ ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท นับถัดจากวัน ฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 103,400 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะ ชําระเสร็จ แก่โจทก์ จําเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคําให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่ เช่าซื้อคืน โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา แทนเป็นเงิน 10,000 บาท กับให้จําเลยที่ 1 ให้ค่าเสียหายเป็นเงิน 5,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของ ต้นเงิน 5,500 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 23 มีนาคม 2559) จนกว่าจะ ชําระ เสร็จแก่โจทก์ กับให้จําเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์โดยกําหนด ค่าทนายความ 3,000 บาท คําขออื่นให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า หากจําเลยที่ 1 คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 20,000 บาท กับให้จําเลยที่ 1 ให้ค่าเสียหาย เดือนละ 900 บาท นับถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ หรือใช้ราคาแทน แต่ไม่ เกิน 6 เดือน ยกฟ้องสําหรับจําเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมใน ศาลชั้นต้น ระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้เป็น ยุติว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 จําเลยที่ 1 ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ หมายเลขทะเบียน ธน 7546 กรุงเทพมหานคร จาก โจทย์ในราคา 142,596 บาท ตกลงชําระค่าเช่าซื้อเป็นงวด ทุกวันที่ 25 ของเดือน งวดละ 3,961 บาท รวม 36 งวด มีจําเลยที่ 2 ทํา สัญญาค้ำ ประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จําเลยที่ 1 ชําระค่าเช่า ซื้อ 30 งวด เป็นเงิน 118,430 บาท แล้วผิดนัดไม่ชําระค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 31 ประจําวันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ติดต่อกันเกิน กว่าสามงวด โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จําเลยทั้งสองไม่ ส่ง มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ คดีสําหรับจําเลยที่ 1 เป็นอันยุติ ไปตามคําพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 1 คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จําเลยที่ 2 ต้อง ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดชําระค่าเสียหายต่อโจทก์หรือ ไม่เพียงใด โดยโจทก์ฎีกาว่า แม้ การส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจําเลย ที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากทางไปรษณีย์ส่งคืนว่าไม่มา รับภายในกําหนดก็ตาม แต่โจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ที่จําเลยที่ 2 แจ้งไว้ในสัญญาค้ำ ประกัน และ มีข้อสัญญาว่าบรรดาหนังสือส่งไปยังที่อยู่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ ว่า จะมีผู้ใดยอมรับหรือไม่ยอมมารับตามกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้ ถือว่าหนังสือนั้นได้ส่ง ไปถึงโดยชอบแล้ว จึงถือว่าหนังสือบอกกล่าวได้ ส่งไปถึงจําเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมี สิทธิเรียกให้จําเลยที่ 2 รับผิดตาม สัญญาค้ำประกันเต็มจํานวน เห็นว่า ตามสัญญาค้ำ ประกันเอกสาร หมาย จ.4 ข้อ 4 ระบุว่า บรรดาหนังสือ จดหมาย คําบอกกล่าวใด ๆ ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่ง ทางไปรษณีย์ ลงทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัว หรือไม่ถึง ตัว และไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือ ไม่มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือไม่ยอมมารับ ภายในกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับข้าพเจ้า ยินยอมผูกพันให้ถือว่า หนังสือ จดหมาย หรือคําบอกกล่าวใด ๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้า โดยชอบ แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือขอให้ชําระหนี้และบอกเลิกสัญญา พร้อม ใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 ว่าโจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ของจําเลย ที่ 2 ตามที่แจ้งไว้ใน สัญญาค้ำประกันดังกล่าว แม้ทางไปรษณีย์จะคืน หนังสือที่ส่งไปให้จําเลยที่ 2 เนื่อง จากจําเลยที่ 2 ไม่มารับภายใน กําหนดก็ตาม ก็ถือว่าจําเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าว โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ แต่ เมื่อจําเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือ บอกกล่าวให้จํา เลยที่ 2 ชําระหนี้และบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จึงพ้นกําหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จําเลยที่ 1 ผิดนัด จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและ ค่าสินไหม ทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60 วัน ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 646 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณี ที่เจ้าหนี้มิได้มี หนังสือบอกกล่าวภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความ รับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหม ทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่ง หนี้รายนั้นบรรดา ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งเท่านั้น สําหรับ หนี้ การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ ประธาน แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จําเลยที่ 2 เกิน 60 วัน นับ แต่วันผิดนัดก็ตาม จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้น ส่วน หนี้ค่าขาดประโยชน์ถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจาก ความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60 วัน ดังนั้น จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดร่วม กับจํา เลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ใช้การได้ดี หากคืนไม่ ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 20,000 บาท และ จําเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดค่าขาด ประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วัน ผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาในส่วน ของจําเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 ส่งมอบ รถยนต์ที่เช่าซื้อ คืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 20,000 บาท และให้จําเลยที่ 1 ร่วมชําระ ค่าเสียหาย 1,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัด จากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้ เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 - (วัชรินทร์ สุขเกื้อ - เมทินี ชโลธร - น้ำเพชร ปานะถึก) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2562-ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในระหว่างระยะเวลาห้าม โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2562-ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในระหว่างระยะเวลาห้าม โอนกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1461/2562 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ นาวาตรีหญิงฑิฆัมพร ใยบัวเทศ จำเลย นายจรัญ คำสมัย กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 พระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12, 27 (6) - ข้อมูลย่อ การที่โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทในระหว่างระยะเวลาห้าม โอนและจำเลยทั้งสองยังมิได้มีการส่งมอบที่ดินพิพาทให้โจทก์ครอบครอง โดยมีข้อตกลงโอน กรรมสิทธิ์กันหลังพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน ถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้าม โอนตามกฎหมายหรือมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท จึงไม่ตกเป็นโมฆะและสามารถใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงต้องคืนเงินมัดจำค่าที่ดินที่รับไปจากโจทก์ให้ แก่โจทก์ - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 135,025,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 132,000,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระ เสร็จแก่โจทก์ และให้จำเลยที่ 1 ชำระเงิน 6,137,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้น เงิน 6,000,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้องและฟ้องแย้งกับแก้ไขคำให้การขอบังคับโจทก์ชำระเงิน 72,000,000 บาท กับริบเงินมัดจำที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยทั้งสอง 23,000,000 บาท โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งขอให้ยกฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องและยกฟ้องแย้ง ค่าฤชาธรรมเนียมตามฟ้องและฟ้องแย้งให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงิน 22,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 7 พฤษภาคม 2558) เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ นอกจากที่แก้ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นนี้รับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 เป็น เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 เนื้อที่ 9 ไร่ 1 งาน 82 ตารางวา และเป็นผู้ครอบครองที่ดิน ตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์ที่ดินโฉนดเลขที่ 64257 เนื้อที่ 8 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา ที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 เป็นที่ดินตามโครงการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนให้แก่บุคคลอื่นภายใน ห้าปีตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 และวันที่ 31 สิงหาคม 2552 ตามลำดับ ส่วนที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 เป็นที่ดินอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ซึ่งตามมาตรา 27 (6) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวก็ บัญญัติห้ามมิให้สมาชิกนิคมสร้างตนเองมอบหรือโอนสิทธิการเข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบ ให้แก่บุคคลอื่นเช่นกัน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2555 โจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ทั้งสามแปลงดังกล่าว เนื้อที่รวม 24 ไร่ ในราคารวม 40,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินมัดจำในวันทำ สัญญา 200,000 บาท ส่วนที่เหลือตกลงชำระในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 หลังจากนั้นโจทก์ชำระค่าที่ดินให้ แก่จำเลยทั้งสองอีกหลายครั้ง ต่อมาวันที่ 6 มิถุนายน 2556 โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงในสัญญาฉบับเดิมและทำสัญญาฉบับใหม่ 2 ฉบับ สัญญาฉบับแรก โจทก์และจำเลยทั้งสองทำ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 จำนวน 2 แปลง เนื้อที่รวม 18 ไร่ 41 ตารางวา ในราคา 30,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว 12,000,000 บาท ส่วนที่เหลือ 18,000,000 บาท แบ่งชำระเป็น 3 งวด งวดที่ 1 และที่ 2 ชำระงวดละ 5,000,000 บาท ใน วันที่ 12 มกราคม 2557 และวันที่ 4 พฤษภาคม 2557 ตามลำดับ งวดที่ 3 ชำระ 8,000,000 บาท ในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 และตกลงจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่กันในวันดังกล่าว สัญญาฉบับที่สอง โจทก์ และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 เนื้อที่ประมาณ 6 ไร่ ในราคา 10,000,000 บาท โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือ 9,000,000 บาท ตกลงชำระในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 โจทก์ชำระเงินค่าที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 ให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว 22,000,000 บาท และชำระค่าที่ดินตามหนังสือแสดง การทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 ให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว 1,000,000 บาท รวม 23,000,000 บาท เมื่อถึง วันนัดโอนที่ดินในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 โจทก์และจำเลยที่ 1 ไปที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง เพื่อดำเนินการจดทะเบียนโอนที่ดิน โจทก์ต้องการให้จำเลยทั้งสองจดทะเบียนโอนที่ดิน โฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 ให้แก่โจทก์และรับเงินค่าที่ดินทั้งสองแปลงส่วนที่เหลือ 8,000,000 บาท แต่จำเลยที่ 1 ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 2 ต้องการให้โจทก์รับโอน ที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 กับที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 โดยชำระเงินค่าที่ดินทั้งสามแปลงส่วนที่เหลือทั้งหมด 17,000,000 บาท สำหรับหนังสือสัญญา จะซื้อจะขายที่ดินนั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาฉบับดังกล่าวตกเป็นโมฆะและพิพากษายกฟ้องของ โจทก์และยกฟ้องแย้งของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับที่ดินแปลงนี้ โจทก์และจำเลยทั้งสองต่างไม่ อุทธรณ์เกี่ยวกับสัญญาฉบับนี้ จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนด เลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกเป็นโมฆะหรือไม่ เห็นว่า โจทก์กับ จำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสองแปลง โดยในสัญญาระบุว่าโจทก์ชำระค่าที่ดินให้แก่ จำเลยทั้งสองในวันทำสัญญาเป็นเงิน 12,000,000 บาท ส่วนที่เหลืออีก 18,000,000 บาท ตกลงแบ่งชำระ เป็นงวดรวม 3 งวด งวดสุดท้ายชำระภายในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 และจำเลยทั้งสองจะจดทะเบียนโอน ที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์เมื่อชำระราคาที่ดินครบถ้วนแล้วในวันดังกล่าว แม้จะปรากฏว่า ที่ดิน โฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 มีข้อกำหนดห้ามโอนภายในห้าปีตามมาตรา 12 แห่งพระราช บัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 นับตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2552 และ 31 สิงหาคม 2552 ซึ่ง จะครบกำหนดห้ามโอนในวันที่ 6 ตุลาคม 2557 และ 31 สิงหาคม 2557 ตามลำดับก็ตาม แต่โจทก์และ จำเลยทั้งสองตกลงจดทะเบียนโอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่กันในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ซึ่งพ้นกำหนด ระยะเวลาห้ามโอนตามที่ระบุไว้ในโฉนดที่ดินแล้ว ทั้งได้ความว่าหลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน กันแล้ว จำเลยทั้งสองยังคงเป็นผู้ครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวต่อมา โดยมิได้สละการครอบ ครองหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ตามพฤติการณ์ถือได้ว่า สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมิใช่ซื้อขายเสร็จเด็ดขาด ดังนั้น การที่โจทก์และจำเลยทั้ง สองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยมีข้อตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันดังกล่าว จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจ หลีกเลี่ยงข้อกำหนดห้ามโอนตามกฎหมายหรือมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามพระราช บัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 12 สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจึงไม่ตกเป็นโมฆะและ สามารถใช้บังคับกันได้ ฎีกาของจำเลยทั้งสองข้อนี้ฟังไม่ขึ้น มีปัญหาต้องวินิจฉัยต่อไปตามฎีกาของจำเลยทั้งสองว่า โจทก์หรือจำเลยทั้งสองเป็นฝ่ายผิด สัญญา ในข้อนี้ได้ความจากคู่ความทั้งสองฝ่ายรับกันว่าโจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะ ขายที่ดินทั้งสองแปลงดังกล่าวในราคา 30,000,000 บาท โดยโจทก์ชำระค่าที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสองแล้ว 22,000,000 บาท ส่วนที่เหลือ 8,000,000 บาท ตกลงชำระในวันจดทะเบียนโอนที่ดินในวันที่ 7 ตุลาคม 2557 ครั้นถึงวันนัดได้ความจากโจทก์ว่า โจทก์ไปที่สำนักงานที่ดินจังหวัดนครราชสีมา สาขาปากช่อง พร้อมนำเงินสด 50,000 บาท แคชเชียร์เช็คของธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) สาขาทองหล่อ จำนวนเงิน 5,300,000 บาท และแคชเชียร์เช็คของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาซอยทอง หล่อ จำนวนเงิน 2,650,000 บาท รวมเป็นเงิน 8,000,000 บาท เพื่อชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือตามสัญญา ให้แก่จำเลยทั้งสองพร้อมจดทะเบียนรับโอนที่ดินทั้งสองแปลง แต่จำเลยทั้งสองกลับไม่ยอมโอนที่ดิน ทั้งสองแปลงให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 อ้างว่าต้องการให้โจทก์รับโอนที่ดินตามหนังสือแสดงการทำ ประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 ที่ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันไว้ด้วย และชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือทั้งสาม แปลง เป็นเงิน 17,000,000 บาท นั้น เห็นว่า ที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 ดังกล่าว ระบุชื่อนางวาย เป็นผู้ทำประโยชน์ในที่ดินไม่ใช่จำเลยที่ 1 ทั้งจำเลยที่ 1 ทราบดีว่าที่ดิน แปลงดังกล่าวเป็นที่ดินในเขตนิคมสร้างตนเองลำตะคอง ซึ่งตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครอง ชีพ พ.ศ.2511 มาตรา 27 (6) บัญญัติห้ามมิให้สมาชิกนิคมสร้างตนเองมอบหรือโอนสิทธิการเข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับมอบให้แก่ผู้อื่น เว้นแต่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิบดีกรมพัฒนาสังคม และสวัสดิการฯ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถโอนขายหรือส่งมอบการครอบครองที่ดินแปลงดังกล่าว ให้แก่โจทก์ได้โดยชอบ ข้ออ้างของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงฟังไม่ขึ้น ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาอ้างทำนองว่า การที่โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 กับ ที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค. 3) เลขที่ 7966 ขึ้นใหม่สองฉบับ โดยมิได้มีเจตนาที่จะยก เลิกสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแบบเหมารวมทั้งสามแปลงที่ทำกันไว้แต่แรก โจทก์จึงต้องชำระราคาที่ดินที่ เหลือทั้งสามแปลงเป็นเงิน 17,000,000 บาท และรับโอนที่ดินทั้งหมดไปในคราวเดียวกันนั้น เห็นว่า เดิมโจทก์และจำเลยทั้งสองทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งที่มีโฉนดและที่ดินตามหนังสือแสดงการทำ ประโยชน์รวมสามแปลงในสัญญาฉบับเดียวกันเป็นเงิน 40,000,000 บาท แต่ต่อมาโจทก์และจำเลยทั้ง สองได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกันขึ้นใหม่รวม 2 ฉบับ โดยแยกเป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมี โฉนดรวม 2 แปลง ฉบับหนึ่ง กับที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ 1 แปลง อีกฉบับหนึ่ง โดยมี การระบุถึงราคาที่ดินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้แต่ละประเภท รวมทั้งรายละเอียดการชำระเงินค่าที่ดินใน สัญญาแต่ละฉบับต่างหากจากกัน ซึ่งก็ได้ความว่าจำเลยที่ 1 ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบ อำนาจจากจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินทั้งสองฉบับดังกล่าวด้วยความสมัครใจ ไม่มีการบังคับขู่เข็ญแต่อย่างใด ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขาย ที่ดินทั้งสามแปลงกันใหม่โดยแยกเป็นที่ดินมีโฉนดกับที่ดินตามหนังสือแสดงการทำประโยชน์ โดย เปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้ในสัญญาฉบับเดิมที่ทำกันไว้แต่แรก หนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาวางมัดจำ จึงเป็นอันระงับสิ้นไปด้วยการแปลงหนี้ใหม่ และต้องบังคับกันตามหนังสือ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกข้อตกลงตามสัญญาฉบับเดิมดังกล่าวขึ้น อ้างเพื่อปฏิเสธไม่ยอมโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 64589 และเลขที่ 64257 ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงเป็น ฝ่ายผิดสัญญาและต้องคืนเงินค่าที่ดินที่รับไปจากโจทก์ 22,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ที่ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษามาชอบแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน ให้จำเลยทั้งสองชำระค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาแทนโจทก์ โดยกำหนดค่า ทนายความให้ 30,000 บาท - (ชาติชาย โฆษิตวัฒนฤกษ์-สมศักดิ์ คุณเลิศกิจ-ไพจิตร สวัสดิสาร) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2562-การจะถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในคดียาเสพติด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2562-การจะถือว่าเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ในคดียาเสพติดกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2562 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดอุบลราชธานี จำเลย นายสิทธิญาหรือโต้ง แสนทวีสุข - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พุทธศักราช 2550 มาตรา 3 - ข้อมูลย่อ แม้ พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ให้อำนาจศาลลงโทษผู้กระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับยาเสพติดจะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วในศาลชั้นต้น แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏว่ามีการนำสืบกันมาแล้วในศาล ชั้นต้นตามประเด็นแห่งคดี จำเลยมิได้ยื่นคำร้องหรือแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์ อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้น อุทธรณ์ว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลสำคัญในคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จนสามารถขยายผลจับกุมผู้กระทำความ ผิดพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีน 2,000 เม็ด แต่เมื่อจำเลยไม่สืบพยานให้ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้ข้อ เท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่เคยเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความนำสืบกันไว้ แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าว จะปรากฏตามสำเนาบันทึกจับกุมเอกสารท้ายคำร้องขอฝากขัง ครั้งที่ 1 ก็ตาม เมื่อโจทก์และจำเลยไม่เคย นำสืบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ไว้ในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ถือไม่ได้ว่าข้อ เท็จจริงนี้ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 97, 100/1, 102 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32 และริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง เพิ่มโทษ จำเลยกึ่งหนึ่งตามกฎหมาย จำเลยให้การรับสารภาพ และรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างเป็นเหตุ ขอให้เพิ่มโทษ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสาม (2), 66 วรรคสอง จำคุก 20 ปี และปรับ 900,000 บาท เพิ่มโทษกึ่งหนึ่งตามพระราชบัญญัติยา เสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 97 เป็นจำคุก 30 ปี และปรับ 1,350,000 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทาโทษ ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 คงจำคุก 15 ปี และปรับ 675,000 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบเมทแอมเฟตามีนของกลาง จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน หากต้องกักขังแทนค่าปรับให้กักขังได้ไม่เกิน 1 ปี จำเลยฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและ เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงาน ตำรวจ อันจะเป็นเหตุให้สมควรใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำเลยน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับ ความผิดนั้นหรือไม่ เห็นว่า คดีนี้จำเลยมิได้ยื่นคำร้องหรือแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลที่สำคัญ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ข้อเท็จจริงที่จำเลยยก ขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ว่า จำเลยได้ให้ข้อมูลสำคัญในคดีต่อเจ้าพนักงานตำรวจ จนสามารถขยายผลจับกุมผู้ กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดพร้อมยึดเมทแอมเฟตามีนได้อีก 2,000 เม็ด แต่เมื่อจำเลยไม่สืบพยานให้ ปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าว ทำให้ข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ไม่เคยเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ ความนำสืบกันไว้ แม้ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 100/2 ที่ให้อำนาจศาลลง โทษผู้กระทำความผิดที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความ ผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบ ร้อย ที่ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยแม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ต้องเป็นข้อเท็จจริงที่ ปรากฏว่ามีการนำสืบกันมาแล้วในศาลชั้นต้นตามประเด็นแห่งคดี แม้ข้อเท็จจริงดังกล่าวจะปรากฏตาม สำเนาบันทึกจับกุมเอกสารท้ายคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 ก็ตาม เมื่อได้ความว่าโจทก์จำเลยไม่เคยนำสืบข้อ เท็จจริงในเรื่องนี้ไว้แล้วในศาลชั้นต้น แต่เป็นข้อที่จำเลยเพิ่งจะยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ ก็ถือไม่ได้ว่าข้อ เท็จจริงนี้ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 และพระราช บัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.2550 มาตรา 3 ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยจึงชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็น พ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน - (ชูชัย วิริยะสุนทรวงศ์ - เฉลิมชัย ศรีเลิศชัยพาณิช - วิชิต ลีธรรมชโย) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2563-คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2563-คดีต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2563 กองผู้ช่วยฯ - คู่กรณี โจทก์ นางสาว จ. จำเลย นาย ด. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4, มาตรา 22, มาตรา 22 ทวิ - ข้อมูลย่อ คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 300 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ต้องห้ามโจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความ อาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 เว้นแต่โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้น ต้นพิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้ อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ และ ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคท้าย ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธี พิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้อุทธรณ์มาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อใน คำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้ จำเลยทราบ การส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ โดยไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจ ว่าเป็นการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิ จึงฟังไม่ได้ว่าผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อ ในคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่ง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาล แขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีไม่มีมูล พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า อุทธรณ์ของโจทก์ ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 300 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่า แม้ โจทก์จะมีบันทึกข้อตกลงว่า เหตุประมาทเกิดจากจำเลย แต่ข้อเท็จจริงดังกล่าวยังไม่ยุติ เมื่อ พิจารณาแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิดเหตุประกอบภาพถ่ายที่ทนายจำเลยนำมาถามค้าน พบว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นช่องทางเดินรถที่ 3 ซึ่งเป็นช่องทางเดินรถ ซึ่งอยู่ติดกับเกาะกลางถนนแสดง ให้เห็นว่า ผู้เสียหายขับขี่รถจักรยานไม่ชิดช่องทางด้านซ้าย ซึ่งเป็นการไม่ปฏิบัติตามพระราช บัญญัติจราจรทางบก จึงเชื่อว่า ผู้เสียหายมีส่วนประมาท จึงไม่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย โจทก์ ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ว่า พยานหลักฐานที่โจทก์นำมาแสดงต่อศาลสามารถพิสูจน์ได้ว่า จำเลยกระทำความผิด และการรับฟังพยานหลักฐานของศาลเป็นการรับฟังข้อเท็จจริงที่ไม่ถูก ต้องไม่ครบถ้วน เป็นการรับฟังพยานหลักฐานเฉพาะที่เป็นโทษต่อโจทก์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นการอุทธรณ์โต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น ที่ฟังว่าผู้เสียหายมีส่วนประมาท ซึ่งผู้เสียหายมีส่วนประมาทหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำ สืบ จึงเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้อง ห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ .2499 มาตรา 22 เว้นแต่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นพิเคราะห์เห็น ว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลอุทธรณ์และอนุญาตให้อุทธรณ์ ตามพระ ราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ทวิ ซึ่ง ขั้นตอนในการที่จะปฏิบัติเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวมิได้มีบทบัญญัติวางหลักเกณฑ์ไว้โดยเฉพาะใน พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 จึงต้องนำบท บัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคท้าย มาใช้บังคับ โดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 กล่าวคือ โจทก์ต้องยื่นคำร้องพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ต่อศาลชั้นต้นขอให้ ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นอนุญาต ให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้ เมื่อพิจารณาเอกสารท้ายฎีกาของโจทก์ หมายเลข 1 ซึ่ง เป็นคำร้องที่โจทก์อ้างว่า โจทก์ขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้น อนุญาตให้อุทธรณ์แล้ว พบว่า ตราประทับของศาลชั้นต้นระบุวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 13.10 นาฬิกา แต่ตราประทับของศาลชั้นต้นที่ปรากฏในคำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ ระบุวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 11.15 นาฬิกา อันเป็นข้อบ่งชี้ให้เห็นชัดว่า โจทก์มิได้ยื่นคำร้องขอให้ ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้อุทธรณ์มาพร้อมกับคำฟ้อง อุทธรณ์ ดังนี้ การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้อง อุทธรณ์ของโจทก์เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ว่า "รับอุทธรณ์ของโจทก์ สำเนาให้จำเลยทราบ การส่งไม่มีผู้รับโดยชอบให้ปิด" เพียงเท่านี้ โดยไม่มีข้อความอื่นใดที่พอจะให้เข้าใจว่าเป็นการ อนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 22 ทวิ กรณีจึงฟังไม่ได้ว่า ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อใน คำพิพากษาศาลชั้นต้นได้อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง อุทธรณ์ของโจทก์ซึ่ง เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่จะรับไว้พิจารณาตามพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์เสียนั้นชอบแล้ว ฎีกาของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น เมื่ออุทธรณ์ของ โจทก์ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว กรณีจึงไม่จำต้อง วินิจฉัยฎีกาของโจทก์ที่ว่า คดีโจทก์มีมูลหรือไม่ เพราะไม่มีผลเปลี่ยนแปลงคำพิพากษา พิพากษายืน - (ภาวนา สุคันธวณิช-ภานุวัฒน์ ศุภะพันธุ์-วินัย เรืองศรี) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563-ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563-ยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลยกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดพัทลุง ผู้ร้อง นาย ส. กับพวก จำเลย นาย อ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 มาตรา 289 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง - ข้อมูลย่อ จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกัน เพิ่ง เลิกคบหากันก่อนเกิดเหตุเพียงหนึ่งเดือน ความสัมพันธ์ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัด ขาดทีเดียว การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมี ปากเสียงกัน จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธ มากกว่าที่จะวาง แผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 เมื่อจำเลยเห็นผู้เสีย หายที่ 2 บริเวณบ้านที่เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่ เกิดเหตุแล้วเดินเข้าไปหา ผู้เสียหายที่ 2 เห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยวิ่งตามไปใช้ อาวุธมีดที่พกติดตัวมาแทงทำร้าย เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 ซึ่งอยู่ใน บริเวณเดียวกัน ได้รับอันตรายสาหัส เป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำ ไปโดยขาดความยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจากและหัน ไปคบกับผู้เสียหายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตาม สมควรว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน หรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33, 80, 91, 295, 297, 289, 364, 365, 371 พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกระทำ ด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 3, 4 ริบของกลาง จำเลยให้การรับสารภาพข้อหาพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือ ทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร แต่ข้อหาอื่นให้การรับว่า ทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 จริง แต่กระทำโดยบันดาลโทสะ ระหว่างพิจารณา นายสมศักดิ์ ผู้เสียหายที่ 1 ยื่นคำร้องขอให้บังคับ จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นเงิน 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย ละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แต่ก่อนสืบ พยานผู้เสียหายที่ 1 ขอถอนคำร้อง ศาลชั้นต้นอนุญาต แต่ให้จำหน่ายคำร้อง เสียจากสารบบความ ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ นางสาวภัทรวดี ผู้เสียหายที่ 2 โดยนายบุญเสียน ผู้แทนโดยชอบ ธรรม ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่ารักษา พยาบาลผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 50,000 บาท ค่าเสียหายต่อจิตใจที่ใบหน้าเสีย โฉมเป็นเงิน 100,000 บาท ค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะ ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็นเงิน 54,000 บาท และค่าใช้จ่าย อันจำเป็นอย่างอื่นเนื่องจากผู้เสียหายที่ 2 ต้องรักษาตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเงิน 250,000 บาท นายสมพรโชค ผู้เสียหายที่ 3 ยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่า สินไหมทดแทนเป็นค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 13,844 บาท ค่าเสียหายที่ต้อง ขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติเป็น เงิน 90,000 บาท รวมเป็นเงิน 103,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 295, 365 (1) (2) (3) ประกอบมาตรา 364, 371 พระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ถูกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 มาตรา 4 วรรคหนึ่ง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็น กระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานพาอาวุธไปใน เมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ปรับ 1,000 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ฐานกระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบ ครัว และฐานบุกรุกเคหสถานในเวลากลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและ โดยมีอาวุธ เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลง โทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 10 ปี และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น จำคุก 1 ปี จำเลยให้การรับสารภาพฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะ โดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และทางนำสืบของจำเลยฐานพยายามฆ่า ผู้อื่นและฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา มีเหตุบรรเทา โทษ ลดโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผย และโดยไม่มีเหตุสมควรให้กึ่งหนึ่งและลดโทษฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐาน ทำร้ายร่างกายผู้อื่นให้หนึ่งในสาม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มี เหตุสมควร คงปรับ 500 บาท ฐานพยายามฆ่าผู้อื่น คงจำคุก 6 ปี 8 เดือน และ ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น คงจำคุก 8 เดือน รวมจำคุก 6 ปี 16 เดือน และปรับ 500 บาท ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 ริบ ของกลาง ข้อหาอื่นให้ยก กับให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 2 เป็นเงิน 128,000 บาท และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ร้องที่ 3 เป็น เงิน 14,844 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 14,844 บาท นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 ค่าฤชาธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 80 ให้ลงโทษฐาน ร่วมกันพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษ หนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 ให้จำคุกตลอดชีวิต ลดโทษ ให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 53 คง จำคุก 33 ปี 4 เดือน เมื่อรวมกับโทษฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทาง สาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร และฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้ว คงจำคุก 33 ปี 12 เดือน และปรับ 500 บาท ให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อม ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 23,844 บาท นับแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้เสียหายที่ 3 นอกจากที่ แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังเป็นยุติโดยคู่ความมิได้ ฎีกาโต้แย้งเป็นอย่างอื่นว่า ผู้เสียหายที่ 2 เคยอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดย ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 1 เป็นเจ้าของบ้านที่ เกิดเหตุ ผู้เสียหายที่ 3 เป็นบุตรของผู้เสียหายที่ 1 ในวันเวลาเกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยเข้าไปในบ้านที่เกิดเหตุแล้วใช้อาวุธมีดยาว 5.5 นิ้ว ด้ามมีดยาวประมาณ 4 นิ้ว แทงผู้เสียหายที่ 2 และที่ 3 เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 ได้รับอันตรายสาหัส มีบาดแผลเป็นบริเวณใบหน้าและรอบดวงตามองเห็นได้ชัดเจน ต้องเสีย โฉมอย่างติดตัว และมีบาดแผลบริเวณแขนขวาต้องป่วยเจ็บด้วยอาการ ทุกขเวทนาและจนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันและเป็น เหตุให้ผู้เสียหายที่ 3 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายและจิตใจ ในวันเกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยพร้อมยึดอาวุธมีดที่จำเลยใช้ในการกระทำความ ผิดและฝักมีดที่ตกในที่เกิดเหตุเป็นของกลาง สำหรับความผิดฐานพาอาวุธไป ในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยและโดยไม่มีเหตุสมควร ฐาน กระทำการอันเป็นความรุนแรงในครอบครัว ฐานบุกรุกเคหสถานในเวลา กลางคืนโดยใช้กำลังประทุษร้ายและโดยมีอาวุธ ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น และ คดีในส่วนแพ่งของผู้เสียหายที่ 2 คู่ความไม่อุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์ภาค 9 มิได้แก้ไขค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 2 จึงยุติไปตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น ส่วนความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลย กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น จำเลยไม่อุทธรณ์ คงมีแต่โจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตาม ฟ้อง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายาม ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และให้จำเลยใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นเงิน 23,844 บาท พร้อมดอกเบี้ย โจทก์ไม่ฎีกา คงมีแต่จำเลยฎีกา ดังนั้น ความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและค่าสินไหมที่จำเลยต้องชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายที่ 3 เป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 คดีคงมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความ ผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ เห็นว่า จำเลยกับผู้เสีย หายที่ 2 อยู่กินฉันสามีภริยากันมาตั้งแต่ปี 2557 มีบุตรด้วยกัน 1 คน ผู้เสียหายที่ 2 เคยถูกจำเลยทำร้ายร่างกายเป็นประจำ และผู้เสียหายที่ 2 เพิ่งเลิกคบหากับ จำเลยก่อนเกิดเหตุเพียง 1 เดือน ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 ยังคงมีอยู่ไม่ถึงกับตัดขาดเสียทีเดียว โดยผู้เสียหายที่ 2 เบิกความตอบทนาย จำเลยถามค้านว่า ก่อนเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 2 ยังพูดคุยกับจำเลยและจำเลยยืนยัน ขอกลับมาอยู่กับผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งจำเลยเบิกความเจือสมเข้ามาว่า ช่วงเกิดเหตุ จำเลยยังไม่เลิกคบหากับผู้เสียหายที่ 2 แต่ผู้เสียหายที่ 2 ขอกลับไปอยู่กับบิดา มารดาของตน และจำเลยรู้สึกโกรธเมื่อได้ยินข่าวว่าผู้เสียหายที่ 2 คบหากับ บุคคลอื่น แสดงว่า จำเลยยังมีความผูกพันและอาลัยอาวรณ์ผู้เสียหายที่ 2 อยู่ ส่วนเหตุการณ์ก่อนเกิดเหตุที่จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 ทางเฟซบุ๊กของนาง สาวเกียร์ นั้น จำเลยพูดคุยกับผู้เสียหายที่ 2 เวลาประมาณ 15 นาฬิกา ขณะนั้นผู้ เสียหายที่ 2 ก็ยอมรับว่า จำเลยไม่รู้ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่ใด และผู้เสียหายที่ 2 คบหาอยู่กับผู้เสียหายที่ 3 หรือไม่การที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์มีญาติซ้อน ท้ายมาอีก 2 คน ตามหาผู้เสียหายที่ 2 ในขณะที่เพิ่งมีปากเสียงกับผู้เสียหายที่ 2 เกี่ยวกับเรื่องทวงเงินค่าสินสอดและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายที่ 2 กับ บุคคลอื่น จำเลยจึงอยู่ในสภาวะอารมณ์ขุ่นเคืองและโกรธมากกว่าที่จะวาง แผนหรือใคร่ครวญตรึกตรองหาวิธีทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 ดังที่โจทก์ฟ้องดังจะ เห็นได้จากพฤติการณ์ที่จำเลยขับรถผ่านบ้านที่เกิดเหตุไป แสดงว่าจำเลยไม่รู้ ว่าผู้เสียหายที่ 2 อยู่ที่บ้านที่เกิดเหตุ เมื่อจำเลยเห็นผู้เสียหายที่ 2 บริเวณบ้านที่ เกิดเหตุโดยบังเอิญ จำเลยจึงเลี้ยวรถกลับไปจอดหน้าบ้านที่เกิดเหตุ แล้วเดิน เข้าไปหาผู้เสียหายที่ 2 ในทันที ในขณะที่ผู้เสียหายที่ 2 เมื่อเห็นจำเลยก็วิ่งหนี จำเลยจึงวิ่งตามไปทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 รวมทั้งผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งอยู่ในบริเวณ เดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเหตุการณ์เฉพาะหน้า จำเลยกระทำไปโดยขาดความ ยับยั้งชั่งใจและขาดสติด้วยคิดว่าผู้เสียหายที่ 2 ตีจาก และหันไปคบกับผู้เสีย หายที่ 3 พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมายังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลย กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนหรือไม่ สมควรยก ประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 227 วรรคสอง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่าจำเลย กระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนนั้น ศาลฎีกาไม่เห็น พ้องด้วย ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังขึ้น เมื่อวินิจฉัยดังนี้แล้ว ฎีกาข้ออื่นของจำเลย ไม่จำต้องวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง พิพากษาแก้เป็นว่า ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เว้น แต่ค่าสินไหมทดแทนในส่วนของผู้เสียหายที่ 3 ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภาค 9 - (แรงรณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์-สุรางคนา กมลละคร-รักเกียรติ วัฒนพงษ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563ครูทำอนาจารเด็กหญิงรวม 12 คน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563ครูทำอนาจารเด็กหญิงรวม 12 คนกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 255/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงคำ โจทก์ร่วม เด็กหญิง ก. โดยนาย ญ. และนาง ร. ผู้แทนโดยชอบธรรม จำเลย นาย บ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) - ข้อมูลย่อ โจทก์บรรยายฟ้องระบุวันเวลากระทำความผิดของจำเลยว่าเกิดขึ้น ประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม 2560 เวลากลางวัน และระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลากลางวัน วันใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เข้าไปด้วย แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวัน กระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไรก็ดี ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำ สืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำนั้นเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการ สอนตามปกติในเวลาราชการในช่วงระหว่างวันที่ซึ่งบรรยายไว้ในฟ้อง อันเป็น เพียงรายละเอียด การบรรยายฟ้องของโจทก์จึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการกล่าว ถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 279, 285 นับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143/2561, 144/2561, 145/2561, 146/2561, 147/2561, 148/2561, 149/2561, 151/2561, 152/2561, 153/2561 และ 154/2561 ของศาลชั้นต้น จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้นับโทษต่อ ระหว่างพิจารณาเด็กหญิง ก. ผู้เสียหาย โดยนาย ญ. ที่ 1 และนาง ร. ที่ 2 ผู้แทนโดยชอบธรรม ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต กับยื่นคำ ร้องและแก้ไขคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อ ร่างกาย จิตใจและชื่อเสียง 400,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 2 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 8 ปี และให้นับโทษจำเลย ต่อโทษจำคุกจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143/2561 หมายเลขแดงที่ 635/2561, หมายเลขดำที่ 144/2561 หมายเลขแดงที่ 661/2561, หมายเลขดำที่ 145/2561 หมาย เลขแดงที่ 671/2561, หมายเลขดำที่ 146/2561 หมายเลขแดงที่ 699/2561, หมายเลข ดำที่ 147/2561 หมายเลขแดงที่ 701/2561, หมายเลขดำที่ 148/2561 หมายเลขแดงที่ 657/2561, หมายเลขดำที่ 149/2561 หมายเลขแดงที่ 689/2561, หมายเลขดำที่ 151/2561 หมายเลขแดงที่ 598/2561, หมายเลขดำที่ 152/2561 หมายเลขแดงที่ 706/2561, หมายเลขดำที่ 153/2561 หมายเลขแดงที่ 708/2561 และหมายเลขดำที่ 154/2561 หมายเลขแดงที่ 707/2561 ของศาลชั้นต้น และให้จำเลยใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่โจทก์ร่วมเป็นเงิน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2560 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ แก่โจทก์ร่วม ค่าฤชาธรรมเนียมในส่วนแพ่งให้เป็นพับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำคุกกระทงละ 1 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชา ธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังยุติในเบื้อง ต้นว่า เด็กหญิง ก. โจทก์ร่วม เป็นบุตรของนาย ญ. และนาง ร. ขณะเกิดเหตุอายุ 7 ปี เศษ เรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียน บ. โดยเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของ จำเลยซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยก่อนว่า ฟ้องโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องระบุวันเวลากระทำความผิด ของจำเลยว่าเกิดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน เดือนมิถุนายน เดือนกรกฎาคม เวลากลางวัน และระหว่างวันที่ 1 ถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2560 เวลา กลางวัน วันใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์เข้าไปด้วยก็ตาม แต่ก็ เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไรก็ดี ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำความผิดนั้นเกิด ขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการในช่วงระหว่างวัน ที่ซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องข้างต้น อันเป็นเพียงรายละเอียดเท่านั้น การบรรยายฟ้องของ โจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอีกลักษณะหนึ่งของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียด เกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม ฎีกาในข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการต่อไปมีว่า จำเลยกระทำ ความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 หรือไม่ เห็นว่า พยานโจทก์และโจทก์ ร่วมเบิกความได้เป็นลำดับขั้นตอนอย่างมีเหตุผล ตั้งแต่ที่ทราบเรื่องจากโจทก์ร่วม แล้วขยายผลทราบว่าเหตุยังเกิดแก่เด็กนักเรียนคนอื่น จนนำไปสู่การรวมตัวของ ผู้ปกครองขอให้ย้ายจำเลยออกจากโรงเรียนและมีการแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลย ในที่สุด โดยได้ความว่ามีผู้ปกครองนักเรียนรวม 21 ราย ที่กล่าวหาว่าบุตรของตน ถูกจำเลยกระทำอนาจาร และภายหลังเฉพาะที่มีการแจ้งความดำเนินคดีแก่จำเลยมี เด็กนักเรียนหญิงซึ่งเป็นผู้เสียหายรวม 12 คน เรื่องที่เกิดขึ้นดังกล่าวถือเป็นเรื่อง น่าอับอายของครอบครัว ซึ่งเมื่อโจทก์ร่วมหรือแม้แต่เด็กนักเรียนหญิงคนอื่นที่ถูก จำเลยล่วงละเมิดได้ทราบแน่ชัดจากผู้ปกครองถึงสิ่งที่ตนถูกกระทำแล้วว่าเป็นเรื่อง ที่ไม่ดี น่ารังเกียจ กรณีย่อมต้องส่งผลกระทบต่อจิตใจของเด็กอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ได้ และอาจจำฝังใจไปจนเติบโตว่าเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศจากครูของตนเอง กลาย เป็นปมส่งผลต่อบุคลิกภาพและทัศนคติที่มีต่อผู้ให้การศึกษาในอนาคต ซึ่งเชื่อว่าไม่ มีผู้ปกครองคนใดต้องการให้บุตรหลานของตนตกอยู่สภาพเช่นนั้นรวมทั้งนาย น. และนาย ญ. ด้วย ฉะนั้น ลำพังข้อพิพาทเรื่องหนี้สินระหว่างนาย น. กับจำเลยซึ่งเป็น เรื่องระหว่างผู้ใหญ่ที่ว่ากล่าวกันเองได้อยู่แล้ว จึงไม่มีเหตุผลความจำเป็นใดที่นาย น. และนาย ญ. ต้องนำเอาโจทก์ร่วมบุตรหลานของตนซึ่งเป็นเด็กไร้เดียงสามาเป็น เครื่องมือเพียงแค่ต้องการจะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือแม้กระทั่งทำลายชื่อ เสียงจำเลยดังที่จำเลยฎีกา เนื่องจากเห็นได้ว่าไม่คุ้มกัน เฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของ ผู้ปกครองคนอื่น ๆ ซึ่งไม่ปรากฏว่ามีข้อบาดหมางอย่างใดกับจำเลย ยิ่งไม่มีเหตุผลที่ จะนำเอาชื่อเสียงและสภาพจิตใจบุตรหลานของตนที่ต้องเสื่อมเสียมาแลกเพียง เพราะถูกเสี้ยมสอนยุยงจากนาย น. การมาประชุมร่วมกันของเหล่าผู้ปกครองและ บุตรหลานที่บ้านของนาย น. เพื่อดำเนินการแก่จำเลย จึงถือเป็นเรื่องปกติของเหล่าผู้ เสียหายจากการกระทำความผิดเหมือน ๆ กันที่รวมกลุ่มกันขึ้นเพื่อปรึกษาหารือถึง แนวทางดำเนินคดี แม้ในที่ประชุมจะมีการบอกให้เด็กนักเรียนพูดจาให้ตรงกันดัง ข้อฎีกาของจำเลย ก็หาใช่ข้อบ่งชี้ว่าโจทก์ร่วมถูกเสี้ยมสอนให้มาเบิกความ ปรักปรำจำเลยไม่ เนื่องจากเด็กนักเรียนซึ่งถูกจำเลยกระทำอนาจารมีด้วยกันหลายคน รายละเอียดวิธีการและช่วงเวลาการกระทำอนาจารนักเรียนแต่ละคนย่อมแตกต่าง กันไป ไม่อาจพูดตรงกันได้อยู่ในตัว การพูดให้ตรงกันเป็นเพียงการย้ำเตือนโจทก์ ร่วมและผู้เสียหายคนอื่นให้พูดตรงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและตรงกับที่บอก ผู้ปกครองของแต่ละคนเท่านั้น จำเลยจึงหาอาจยกเอาการประชุมดังกล่าวว่าเป็นการ เสี้ยมสอนโจทก์ร่วมให้ใส่ความจำเลยขึ้นเป็นข้อกล่าวอ้างถึงความมิใช่ผู้เสียหาย โดยนิตินัยของโจทก์ร่วมได้ ฎีกาในข้อนี้ของจำเลยจึงฟังไม่ขึ้น ส่วนข้อที่จำเลยมีคำให้การพยานโจทก์ปากนาย ว. ผู้อำนวยการโรงเรียน บ. ในคดีอื่นซึ่งจำเลยถูกฟ้องในข้อหาเดียวกันนี้มานำสืบยืนยันถึงความประพฤติ ของจำเลยว่าไม่มีข้อเสื่อมเสียก็ดี หรือมีนางสาว ส. ครูโรงเรียนเดียวกับจำเลยมา เบิกความเป็นพยานจำเลยถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยกับนักเรียนที่มีความใกล้ ชิดกัน เนื่องจากจำเลยใช้วิธีการเรียนการสอนแบบเรียนปนเล่น เล่นปนเรียน ซึ่งจะ มีการหยอกล้อระหว่างครูผู้สอนกับเด็กนักเรียน โดยบางครั้งนางสาวสุกัญญายังเห็น เด็กนักเรียนหญิงแย่งกันขึ้นไปนั่งบนตักของจำเลยในเวลาสอนหนังสือด้วยก็ดี แต่ก็ หาใช่ข้อยืนยันว่าจำเลยมิได้กระทำอนาจารโจทก์ร่วม เนื่องจากพยานจำเลยเหล่านี้ มิได้อยู่รู้เห็นพฤติกรรมของจำเลยที่มีต่อเด็กนักเรียนตลอดเวลา โดยเฉพาะพฤติการณ์ อันจำเลยแสดงออกให้ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปดังกล่าว กลับตอกย้ำให้เห็นว่าตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมาจำเลยลอบกระทำการอันไม่สมควรทางเพศกับเด็กนักเรียนแฝง เร้นอยู่ในวิธีการเรียนการสอนที่จำเลยมักอ้างอยู่เสมอว่าใช้หลักเรียนปนเล่น เล่นปน เรียนได้อย่างแนบเนียนจนไม่มีผู้สังเกตได้ พยานจำเลยดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนัก สนับสนุนพยานหลักฐานจำเลยให้น่าเชื่อถือได้ และที่จำเลยฎีกาต่อสู้อีกว่า ในคดี หมายเลขแดงที่ 689/2561 ของศาลชั้นต้น ซึ่งจำเลยถูกฟ้องในข้อหาทำนองเดียวกับ คดีนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องนั้น เห็นว่า จำเลยถูกฟ้องในข้อ หากระทำอนาจารศิษย์ที่อยู่ในความดูแลทั้งสิ้น 12 คดี ซึ่งผู้เสียหายในแต่ละคดีเป็นผู้ เสียหายต่างคนกัน กรณีจึงเป็นเรื่องที่ศาลในคดีนั้น ๆ ต้องวินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยาน หลักฐานในสำนวนว่าสามารถรับฟังลงโทษจำเลยได้หรือไม่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการนำ สืบพยานหลักฐานของโจทก์ในแต่ละคดีซึ่งย่อมแตกต่างกันออกไป ไม่จำเป็นที่ศาล ทุกคดีจะต้องมีคำวินิจฉัยเป็นเช่นเดียวกัน ฎีกาข้อนี้ของจำเลยฟังไม่ขึ้น ที่ศาล อุทธรณ์ภาค 5 เชื่อฟังคำเบิกความของโจทก์ร่วมแล้วพิพากษาลงโทษจำเลยมานั้น จึงต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา สำหรับข้อฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วมให้น้อยกว่า 50,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าใน ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ การที่จำเลย กลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีก จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้รอการลงโทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า จำเลยเป็นครูบาอาจารย์ สมควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่างที่ดีของเด็กนักเรียน ยิ่งเฉพาะกับศิษย์ซึ่งอยู่ใน ความปกครองดูแลเป็นเด็กเล็ก ซึ่งบิดามารดาให้ความไว้วางใจมอบหมายหน้าที่ให้ จำเลยคอยให้การศึกษาและช่วยเหลือกล่อมเกลา สร้างสมนิสัยให้เป็นคนดี แต่จำเลย กลับฉวยโอกาสที่มีหน้าที่และความใกล้ชิดกับเด็กสนองอารมณ์ใคร่ของตนเองโดย อาศัยความอ่อนแอและไม่ประสาต่อโลกของเด็กนักเรียนผู้เป็นศิษย์ พฤติการณ์จึง เป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยอุทธรณ์และฎีกาต่อสู้คดีมาโดยตลอด หาได้ สำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ จึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษ จำคุกให้แก่จำเลย อย่างไรก็ดี ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุก จำเลยกระทงละ 1 ปี นั้นหนักเกินไป ศาลฎีกาเห็นควรแก้ไขโทษเสียใหม่ให้เหมาะ สมแก่พฤติการณ์แห่งคดี ฎีกาของจำเลยฟังขึ้นบางส่วน อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้แก้ไขมาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยบัญญัติความผิดฐานการกระทำอนาจารแก่เด็กอายุ ยังไม่เกินสิบห้าปีและแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำ ให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ไว้ในวรรคสามของมาตราดังกล่าวว่า ต้อง ระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสามแสน บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักกว่าโทษในความผิดฐานเดียวกันที่กำหนดไว้ในมาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสาม แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องปรับบทลงโทษจำเลยตาม กฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณแก่จำเลยมากกว่าตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 จำคุกจำเลยกระทงละ 6 เดือน รวม 4 กระทงเป็นจำคุก 24 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ - (ธนสิทธิ์ นิลกำแหง-สิทธิชัย โชคสวัสดิ์ไพศาล-สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563-จำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563-จำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 262/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดเชียงคำ โจทก์ร่วม เด็กหญิง พ. โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม จำเลย นาย บ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มาตรา 158 (5) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง มาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ - ข้อมูลย่อ โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นครูกระทำอนาจารเด็กหญิงอายุ 6 ปีเศษ และเป็นศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล โดยระบุเวลาในการกระทำความผิดระหว่างเดือน ใดถึงเดือนใด ปี พ.ศ. อะไร เวลากลางวัน เพราะไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่ แน่ชัดได้ แต่ก็ถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่าการกระทำ ความผิดเกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะ ที่จำเลยรับราชการอยู่ที่โรงเรียนนั้น จึงเป็นการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียด เกี่ยวกับเวลากระทำความผิดดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ลดค่าสินไหมทด แทนที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วม การที่จำเลยกลับฎีกาใน ปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีกจึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากัน มาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาจึงไม่ รับวินิจฉัย - รายละเอียด โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 279, 285 และนับโทษต่อจากโทษของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 143 ถึง 146/2561 และหมายเลขดำที่ 148 ถึง 154/2561 ของศาลชั้นต้น จำเลยให้การปฏิเสธ แต่รับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ ขอให้นับโทษต่อ ระหว่างพิจารณาเด็กหญิง พ. ผู้เสียหาย โดยนาย ท. ผู้แทนโดยชอบธรรม ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต กับยื่นคำร้องและแก้ไขคำร้องขอ ให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายต่อร่างกาย จิตใจและชื่อเสียง 200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันกระทำความผิดเป็นต้น ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ร่วม จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) (ที่ถูก มาตรา 279 วรรคสอง (เดิมและที่แก้ไขใหม่)) ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลง โทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำ คุกกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง เป็นจำคุก 4 ปี และให้นับโทษต่อจากโทษจำคุก ของจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 598/2561, 635/2561, 657/2561, 661/2561, 671/2561, 689/2561 และ 699/2561 ของศาลชั้นต้น ส่วนที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ ในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 150/2561 และหมายเลขดำที่ 152 ถึง 154/2561 ของศาล ชั้นต้นให้ยก เนื่องจากคดีดังกล่าวศาลยังมิได้มีคำพิพากษา ให้จำเลยใช้ค่าสินไหม ทดแทนแก่โจทก์ร่วม 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน ดังกล่าวนับแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่าฤชา ธรรมเนียมในคดีส่วนแพ่งให้เป็นพับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี จำเลยกระทำความผิด 2 กระทง รวมจำคุก 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำ พิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา โดยผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาศาล อุทธรณ์ภาค 5 อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงซึ่งจำเลยไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังยุติในเบื้อง ต้นว่า เด็กหญิง พ. โจทก์ร่วม เป็นบุตรของนาย ท. และนาง ร. เรียนอยู่โรงเรียน บ. โดยเป็นศิษย์อยู่ในความดูแลของจำเลยซึ่งเป็นครูอยู่ที่โรงเรียนดังกล่าว ขณะเกิด เหตุมีอายุระหว่าง 6 ปีเศษ ถึง 7 ปีเศษ อยู่ในความปกครองดูแลของนาง ส. ผู้เป็นย่า คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยก่อนว่า ฟ้องโจทก์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์บรรยายฟ้องระบุเวลากระทำความผิด ของจำเลยว่า เหตุเกิดเมื่อประมาณกลางเดือนพฤศจิกายน 2559 เวลากลางวัน ถึง เดือนมีนาคม 2560 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด และเมื่อ ระหว่างกลางเดือนพฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน ถึงเดือนสิงหาคม 2560 เวลากลาง วันต่อเนื่องกัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด ซึ่งรวมเอาวันเสาร์และวันอาทิตย์ และช่วง ปิดภาคเรียนที่ 1 กับรวมเอาวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ซึ่งมีคำสั่งให้ย้ายจำเลยไปช่วย ราชการที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2 เข้าไปด้วยก็ตาม แต่ก็เป็นเพราะโจทก์ไม่อาจทราบวันกระทำความผิดที่แน่ชัดของจำเลยได้ อย่างไร ก็ดีถือเป็นเรื่องที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ว่า การกระทำความผิดนั้น เกิดขึ้นในวันที่โรงเรียนมีการเรียนการสอนตามปกติในเวลาราชการขณะที่จำเลยยัง คงรับราชการอยู่ที่โรงเรียน พ. ในช่วงเวลาซึ่งบรรยายไว้ในฟ้องข้างต้น อันเป็น เพียงรายละเอียดเท่านั้น การบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นอีกลักษณะหนึ่ง ของการกล่าวถึงข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ดังที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บัญญัติบังคับไว้ ซึ่งเพียง พอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ส่วนที่จำเลยฎีกา อ้างว่า โจทก์บรรยายฟ้องรวมเอาวันปิดภาคเรียนที่ 2 ในช่วงวันที่ 11 ถึง 31 ตุลาคม 2560 เข้าไปในวันกระทำความผิดด้วยนั้น เห็นว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ ฟ้องระบุวันกระทำความผิดถึงเดือนสิงหาคม 2560 ฟ้องที่แก้ไขจึงหาได้รวมช่วง เวลาที่จำเลยอ้าง กรณีย่อมไม่เป็นเหตุทำให้จำเลยสับสนหรือไม่เข้าใจข้อหาได้ดี และไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้องดังที่อ้าง ฎีกาของจำเลยในข้อนี้ฟังไม่ขึ้น สำหรับข้อฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลดค่าสินไหมทดแทนที่ศาลชั้นต้น กำหนดให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์ร่วมให้น้อยกว่า 40,000 บาท นั้น เมื่อปรากฏว่าใน ชั้นอุทธรณ์จำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นในเรื่องนี้ การที่จำเลย กลับฎีกาในปัญหาการกำหนดค่าสินไหมทดแทนขึ้นมาอีก จึงเป็นฎีกาในข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 5 ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ที่แก้ไขใหม่ ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ส่วนฎีกาของจำเลยที่ขอให้ลงโทษสถานเบานั้น เห็นว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ใช้ ดุลพินิจในการกำหนดโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 1 ปี นั้น หนักเกินไป ศาลฎีกาเห็น สมควรแก้ไขให้เหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งคดี และที่จำเลยฎีกาขอให้รอการลง โทษจำคุกให้นั้น เห็นว่า จำเลยเป็นครูบาอาจารย์สมควรประพฤติตัวเป็นแบบอย่าง ที่ดีแก่เด็กนักเรียน ยิ่งเฉพาะกับศิษย์ซึ่งอยู่ในความปกครองดูแลที่เป็นเด็กเล็ก ซึ่ง บิดามารดาให้ความไว้วางใจมอบหมายหน้าที่ให้จำเลยคอยให้การศึกษาและช่วย เหลือกล่อมเกลาอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี แต่จำเลยฉวยโอกาสที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็ก มุ่งสนองอารมณ์ใคร่ของตนเองโดยอาศัยความอ่อนแอและไม่ประสาต่อโลกของ เด็กนักเรียนผู้เป็นศิษย์ พฤติการณ์จึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับจำเลยอุทธรณ์ และฎีกาต่อสู้คดีมาโดยตลอด หาได้สำนึกในความผิดที่ตนเองได้กระทำ จึงไม่มีเหตุ สมควรที่ศาลฎีกาจะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย ฎีกาของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 มาตรา 9 ให้แก้ไขบทบัญญัติใน มาตรา 279 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งแก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 มาตรา 11 โดยบัญญัติความผิดฐาน กระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีและแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปี โดยขู่ เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถ ขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ไว้ในวรรคสามของ มาตราดังกล่าวว่า ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่สอง หมื่นบาทถึงสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หนักกว่าโทษในความผิดฐานเดียว กันที่กำหนดไว้ในมาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบห้าปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องปรับ บทลงโทษจำเลยตามกฎหมายซึ่งใช้บังคับในขณะจำเลยกระทำความผิดซึ่งเป็นคุณ แก่จำเลยมากกว่าตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 279 วรรคสอง (เดิม) ประกอบมาตรา 285 ทั้งสองกระทง โดยให้จำ คุกกระทงละ 6 เดือน เป็นจำคุก 12 เดือน นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ภาค 5 ค่าฤชาธรรมเนียมส่วนแพ่งในชั้นฎีกาให้เป็นพับ - (ธนสิทธิ์ นิลกำแหง-สิทธิชัย โชคสวัสดิ์ไพศาล-สนธิศาสตร์ เจตน์วราพงศ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563-ละเมิด-จึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563-ละเมิด-จึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความแก่โจทก์กันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ นางสาว ส. จำเลย นางสาว ว. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 - ข้อมูลย่อ เดิมโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จำเลยขายที่ดินพร้อมสิ่ง ปลูกสร้าง กับห้องชุดในอาคารชุดให้ ศ. เพื่อมิให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาทรัพย์สิน ดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยกับ ศ. เป็นคดีอาญาในข้อหาโกงเจ้าหนี้ กับฟ้องคดีแพ่ง ขอเพิกถอนการฉ้อฉล คดีทั้งสองเรื่องถึงที่สุดแล้ว โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออก ใบแทนโฉนดที่ดินและนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินข้างต้นขายทอดตลาด ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบถ้วนแล้ว โจทก์ฟ้องจำเลยให้ชดใช้ค่าเสียหายในมูลหนี้ละเมิดอันเกิดจากการที่ จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้แก่ ศ. ค่าเสียหายที่โจทก์มีสิทธิเรียกจากจำเลยผู้ ทำละเมิดได้ตามกฎหมายเป็นความเสียหาย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 420 เท่านั้น โดยเฉพาะความเสียหายต่อสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หมายถึง สิทธิที่กฎหมาย รับรองคุ้มครองให้ผู้ถูกทำให้เกิดเสียหายและจำเลยจะต้องทำให้สิทธิอย่างหนึ่งอย่าง ใดที่โจทก์มีอยู่เสียหายไป การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐานโกง เจ้าหนี้ แสดงว่าโจทก์มีความประสงค์ต้องการให้จำเลยได้รับโทษทางอาญา ค่าใช้ จ่ายในการดำเนินคดีอาญาและค่าจ้างว่าความของทนายความที่โจทก์จ่ายไป เกิดจาก การใช้สิทธิของโจทก์ตามกฎหมาย จึงเป็นความเสียหายจากการใช้สิทธิ ไม่ใช่ความ เสียหายที่เกิดจากการกระทำละเมิดให้โจทก์เสียสิทธิหรือทำให้สิทธิของโจทก์ที่ กฎหมายรับรองว่ามีอยู่เสียหายไป ไม่ก่อให้เกิดสิทธิแก่โจทก์ที่จะเรียกค่าสินไหม ทดแทนในเหตุละเมิดตามกฎหมายได้ ถือไม่ได้ว่าเป็นความเสียหายที่เกิดจากการทำ ละเมิดโดยตรง ส่วนการที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากการกระทำของจำเลยเป็นการ ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินการต่อสู้คดีปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของตนจากการกระทำอันไม่สุจริต ของจำเลย จึงเป็นความเสียหายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลย จึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ตามตาราง 6 และตาราง 7 ท้าย ป.วิ.พ. ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการ โอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับ ศ. นั้น การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็นความเสีย หายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหาย เป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการ โอนทรัพย์สินแก่โจทก์เช่นกัน ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการ บังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เป็นค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องมาอยู่นอกเหนือเจตนา ของจำเลย ถือว่าเป็นค่าเสียหายที่ไกลเกินกว่าเหตุ จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,050,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับจากวันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 232,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 7 เมษายน 2560) ไปจนกว่าจะ ชำระเสร็จแก่โจทก์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี กำหนดค่าทนายความ 4,000 บาท คำขออื่นนอกจากนี้ ให้ยก โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสองศาลให้ เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติในชั้นนี้ว่า โจทก์เป็นเจ้าหนี้ ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีหมายเลขแดงที่ 5995/2551 ของศาลจังหวัดพระโขนง ซึ่งพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 1,100,000 บาท โดยวิธีผ่อนชำระ จำเลยไม่ ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม และได้ขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับห้องชุดใน อาคารชุดให้นางสาวศิริรัตน์เพื่อไม่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว โจทก์จึงฟ้องจำเลยและนางสาวศิริรัตน์ในความผิดฐานร่วมกันโกงเจ้าหนี้ต่อศาล จังหวัดพระโขนง ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ ให้จำคุก 1 ปี ศาล อุทธรณ์พิพากษายืน คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอน ทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับนางสาวศิริรัตน์ต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิพากษาให้เพิกถอน นิติกรรมการโอนทรัพย์สินดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของจำเลยและ นางสาวศิริรัตน์ ศาลฎีกาพิพากษายืน โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกใบแทน โฉนดที่ดินและจดทะเบียนโอนทรัพย์สินดังกล่าวกลับมาเป็นของจำเลย แล้วนำเจ้า พนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินดังกล่าวออกขายทอดตลาด และได้เงินจากการขาย ทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างของจำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมครบ ถ้วนแล้ว มีปัญหาตามฎีกาของโจทก์ว่า จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในมูลละเมิดอัน เกิดจากการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้นางสาวศิริรัตน์หรือไม่ เพียงใด โดยโจทก์ฎีกาขอให้จำเลยรับผิดในค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนายความใน การดำเนินคดีอาญา ซึ่งโจทก์ขอลดทุนทรัพย์ลงเหลือเพียง 50,000 บาท ค่าใช้จ่าย และค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่ง ซึ่งโจทก์ขอลดทุนทรัพย์ลงเหลือเพียง 100,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอน นิติกรรม 50,000 บาท และค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้ จากการบังคับชำระหนี้ไปลงทุน ซึ่งโจทก์ขอลดทุนทรัพย์ลงเหลือเพียง 300,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีอาญาซึ่งโจทก์อ้างว่าเป็นการ เสียหายแก่ทรัพย์สินนั้น เห็นว่า แม้การที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้นางสาว ศิริรัตน์โดยประสงค์จะไม่ให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมบังคับ ชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว เป็นการจงใจทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์ เสียหายแก่ทรัพย์สินก็ตาม แต่การที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาในความผิดฐาน ร่วมกันโกงเจ้าหนี้ คงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายเพื่อให้ศาลลงโทษจำเลยในทาง อาญาเท่านั้น เมื่อศาลพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย ก็หามีผลให้โจทก์สามารถบังคับ ชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยขายไปได้ไม่ อย่างไรก็ดี กรณีมิใช่ว่าหากโจทก์ไม่ ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยแล้ว โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำเลยขายไปไม่ได้ เลย การดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงเป็นเรื่องที่โจทก์จะดำเนินการหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น โจทก์จะอ้างว่าการที่จำเลยทำนิติกรรมโอนทรัพย์สินให้นางสาวศิริรัตน์ทำให้โจทก์ ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาอันเป็นการเสียหายแก่ทรัพย์สินหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มี สิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่ง กับค่าใช้จ่ายใน การขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สิน ระหว่างจำเลยกับนางสาวศิริรัตน์นั้น เห็นว่า การที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ย่อมเป็น เหตุให้โจทก์ต้องฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งขอให้เพิกถอนการฉ้อฉล อันเป็นการใช้สิทธิ ตามกฎหมายเพื่อให้ทรัพย์สินที่จำเลยขายไปกลับมาเป็นของจำเลย และโจทก์จะได้ บังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินดังกล่าว การที่โจทก์จำต้องฟ้องคดีแพ่งจึงเป็นความเสีย หายที่เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่าเสียหายเป็นค่า ใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งแก่โจทก์ ส่วนการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการ โอนทรัพย์สินระหว่างจำเลยกับนางสาวศิริรัตน์ ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ต้องดำเนินการ หลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีแพ่งเพื่อให้ทรัพย์สินกลับมาเป็นของจำเลยทาง ทะเบียนก่อนที่โจทก์จะดำเนินการบังคับคดีต่อไป การที่โจทก์ต้องทำเช่นนั้นจึงเป็น ความเสียหายที่เป็นผลต่อเนื่องโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลย จำเลยจึงต้องใช้ค่า เสียหายเป็นค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอน นิติกรรมการโอนทรัพย์สินดังกล่าวแก่โจทก์เช่นกัน แต่ที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์เสีย ค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการดำเนินคดีแพ่งเป็นเงิน 150,000 บาท กับค่าใช้จ่าย ในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม การโอน ทรัพย์สินเป็นเงิน 50,000 บาท นั้น เห็นว่า หนังสือยืนยันการรับเงินเป็นเพียงหลัก ฐานที่ทนายโจทก์ทำขึ้นเพื่อแสดงว่าได้รับเงินดังกล่าวไปจากโจทก์ โดยไม่ได้แยก แยะรายละเอียดค่าใช้จ่ายแต่ละรายการและค่าทนายความว่าเป็นอย่างไร ทั้งในชั้น ฎีกาโจทก์ยังขอปรับลดค่าเสียหายในส่วนของค่าใช้จ่ายและค่าทนายความในการ ดำเนินคดีแพ่งลงจาก 150,000 บาท เป็น 100,000 บาท โดยไม่ระบุเหตุผล ส่อแสดง ว่าโจทก์กำหนดจำนวนค่าเสียหายเอาตามอำเภอใจ ประกอบกับการขอออกใบแทน โฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สินเป็นการดำเนินการ ต่อหน่วยงานราชการ ซึ่งควรจะมีเอกสารเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการนั้น แต่ โจทก์กลับไม่อ้างเป็นพยานหลักฐาน แม้ในชั้นฎีกาโจทก์ยังคงจำนวนค่าเสียหายใน ส่วนของค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดินและจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรม การโอนทรัพย์สินไว้ตามฟ้อง แต่ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ได้วินิจฉัยมาก็ยังไม่อาจ รับฟังว่า โจทก์เสียค่าใช้จ่ายในการต่าง ๆ ดังกล่าวรวมทั้งค่าทนายความเป็นจำนวน ตามที่ขอมาในฎีกา เมื่อพิจารณาคำพิพากษาในคดีแพ่งโดยคำนึงถึงความยากง่ายแห่ง คดี ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินคดีตั้งแต่เริ่มต้นจนคดีถึงที่สุด ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ หรือทนายโจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์และฎีกาด้วยหรือไม่ ค่า ทนายความที่ศาลกำหนดให้จำเลยใช้แทนโจทก์ รวมทั้งรายงานปิดประกาศเรื่องการ ขอออกใบแทนโฉนดที่ดินแล้ว สมควรกำหนดค่าเสียหายเป็นค่าใช้จ่ายและค่าทนาย ความในการดำเนินคดีแพ่ง 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการขอออกใบแทนโฉนดที่ดิน และจดทะเบียนเพิกถอนนิติกรรมการโอนทรัพย์สิน 5,000 บาท ส่วนค่าเสียหายเป็นกำไรที่โจทก์ควรจะได้จากการนำเงินที่ได้จากการ บังคับชำระหนี้ไปลงทุนนั้น เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยมีเจตนาเพียง ต้องการไม่ให้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่ได้โอนไป ค่าเสียหายเป็นกำไร ที่โจทก์เรียกร้องจึงอยู่นอกเหนือเจตนาของจำเลย ถือเป็นค่าเสียหายที่ไกลกว่าเหตุ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนนี้ รวมค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ 55,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของ โจทก์ฟังขึ้นบางส่วน พิพากษากลับว่า ให้จำเลยชำระเงิน 55,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อย ละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 7 เมษายน 2560) ไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ โจทก์ ให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลแทนโจทก์ เฉพาะค่าขึ้นศาลให้ใช้ ตามทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี กำหนดค่าทนายความรวม 10,000 บาท - (จักรกฤช เจริญเลิศ-ประสิทธิ์ เจริญถาวรโภคา-อนันต์ เสนคุ้ม) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2563-เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2563-เมื่อจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษได้กันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดเดชอุดม จำเลย นาย ว. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง, วรรคสาม - ข้อมูลย่อ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลากลางวัน แต่ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นพิจารณากลับ ปรากฏว่าเป็นเวลากลางคืน เวลาตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตกต่างกับวัน เวลาที่กล่าวในฟ้อง แต่เมื่อได้ความตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหาว่าพนักงานสอบ สวนได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดว่า ผู้เสียหายกล่าวหาว่าจำเลยกระทำ ชำเราผู้เสียหายในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 23 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลากลางคืน จำเลยให้การรับว่าในวันเกิดเหตุดังกล่าวจำเลยอยู่ที่บ้านที่เกิดเหตุ แต่ปฏิเสธว่าไม่ ได้กระทำชำเราผู้เสียหาย และในชั้นพิจารณาจำเลยเบิกความแต่เพียงว่า ในวันดัง กล่าวจำเลยจำไม่ได้ว่าอยู่ที่ใด แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ เมื่อข้อแตกต่างเกี่ยวกับ เวลาดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อ เท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามข้อยกเว้นใน ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91, 276, 277, 285 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 285 การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลาย กรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 10 ปี รวม 4 กระทง เป็นจำคุก 40 ปี (ที่ถูก คำขออื่นให้ยก) จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายืน จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความมิได้โต้เถียงกันในชั้นนี้รับฟังได้ว่า เด็กหญิง ฐ. ผู้เสียหาย เป็นบุตรของจำเลยกับนาง อ. ขณะเกิดเหตุอายุ 12 ปีเศษ และ พักอาศัยอยู่กับจำเลยและนาง อ. ที่บ้านเกิดเหตุ บ้านที่เกิดเหตุเป็นบ้านชั้นเดียวมีทั้ง หมด 4 ห้อง เป็นห้องนอน 3 ห้อง และห้องครัว ตามแผนที่สังเขปแสดงสถานที่เกิด เหตุ ห้องหมายเลข 1 เป็นห้องนอนของจำเลย นาง อ. และผู้เสียหาย โดยมีผ้าม่านกั้น ระหว่างเตียงนอนของจำเลยและนาง อ. กับที่นอนของผู้เสียหาย วันที่ 4 มกราคม 2561 นาง อ. พาผู้เสียหายไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรห้วย ข่ากล่าวหาจำเลยเป็นคดีนี้ จำเลยให้การปฏิเสธตามบันทึกคำให้การผู้ต้องหา ผลการ ตรวจร่างกายผู้เสียหายตรวจสอบภายในพบบาดแผลฉีกขาดเก่าของเยื่อพรหมจารี แพทย์ผู้ตรวจลงความเห็นว่า น่าจะผ่านการร่วมประเวณีหรือถูกกระทำชำเรา มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือไม่ เห็นว่า คดีนี้แม้โจทก์จะมีผู้เสียหายซึ่งเป็น ประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์ในขณะเกิดเหตุเพียงปากเดียวมาเบิกความในเรื่องนี้ก็ มีเหตุผลน่าเชื่อถือ เพราะการเบิกความของพยานปากนี้เป็นเรื่องตรงไปตรงมาไม่ได้ มีพิรุธว่าจะมีการเสี้ยมสอนหรือบิดเบือนข้อเท็จจริงประการใด ถ้าผู้เสียหายไม่ถูก จำเลยกระทำชำเราจริง ก็คงจะไม่กล้านำเหตุการณ์ที่น่าอับอายมากลั่นแกล้งใส่ร้าย จำเลยซึ่งเป็นบิดาของตนให้ต้องรับโทษทางอาญา ซึ่งตามปกติแล้วผู้เสียหายต้องให้ ความเคารพยำเกรงจำเลยเพราะเป็นผู้เลี้ยงดูผู้เสียหาย เหตุที่ผู้เสียหายถูกจำเลย กระทำชำเราแล้วผู้เสียหายปิดบังไม่ยอมบอกเรื่องที่เกิดขึ้นให้ใครทราบก็ไม่ส่อ พิรุธแต่อย่างใด เพราะขณะเกิดเหตุผู้เสียหายยังเยาว์วัยอายุเพียง 12 ปีเศษ ย่อมมี ความคิดอ่านตามประสาของเด็ก จำเลยเป็นบิดาของผู้เสียหาย เมื่อจำเลยพูดขู่ไม่ให้ผู้ เสียหายบอกใคร ถ้าบอกจำเลยจะฆ่าผู้เสียหายรวมถึงคนในครอบครัวของผู้เสียหาย ผู้เสียหายย่อมมีความเกรงกลัวจำเลยอยู่เป็นธรรมดา และผู้เสียหายรอจนกระทั่ง จำเลยไม่อยู่ที่บ้านเกิดเหตุจึงกล้าเล่าเรื่องที่ตนถูกจำเลยกระทำชำเราให้นาง อ. ผู้เป็น มารดาทราบ ซึ่งนาง อ. ก็เบิกความยืนยันว่า ผู้เสียหายแจ้งเรื่องดังกล่าวแก่ตนจริง แม้ผลการตรวจร่างกายผู้เสียหายจะไม่พบตัวอสุจิและส่วนประกอบของน้ำอสุจิดัง ที่จำเลยฎีกาก็ตาม แต่ตามผลการตรวจชันสูตรบาดแผล ระบุว่าตรวจพบบาดแผลฉีก ขาดเก่าของเยื่อพรหมจารี โดยนายแพทย์ จ. แพทย์ผู้ตรวจร่างกายผู้เสียหายมาเบิก ความเป็นพยานโจทก์ว่า การตรวจพิสูจน์อวัยวะเพศหญิงที่ผ่านการร่วมประเวณีจะ ดูได้ที่เยื่อพรหมจารีมีการฉีกขาดหรือไม่ หากมีการร่วมประเวณีมาไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะพบร่องรอยการฉีกขาดของเยื่อพรหมจารีและมีเลือดติดอยู่ จากการตรวจภายในผู้ เสียหายพบเยื่อพรหมจารีฉีกขาดเก่าแต่ไม่มีรอยเลือดติดอยู่ และพบสารคัดหลั่งเป็น มูกสีขาวอยู่ที่ปลายสุดของช่องคลอด เมื่อนำไปตรวจไม่พบตัวอสุจิ เนื่องจากคดีนี้ เหตุเกิดวันที่ 1 มกราคม 2561 แพทย์ทำการตรวจร่างกายผู้เสียหายในวันที่ 4 มกราคม 2561 ซึ่งเป็นระยะเวลานานเกินกว่า 72 ชั่วโมง จึงทำให้ตรวจไม่พบ พยานมีความ เห็นว่าผู้เสียหายน่าจะผ่านการร่วมประเวณีหรือถูกระทำชำเรา และพยานยังได้เบิก ความตอบทนายจำเลยถามค้านว่า ก่อนที่พยานจะตรวจร่างกายผู้เสียหาย ผู้เสียหาย แจ้งว่าถูกจำเลยซึ่งเป็นบิดากระทำชำเรา ขณะนั้นมีเพียงผู้เสียหาย พยานและเจ้า หน้าที่พยาบาล ส่วนมารดาของผู้เสียหายรออยู่นอกห้องตรวจ ดังนั้นคำเบิกความ ของนาง อ. และนายแพทย์ จ. จึงมีน้ำหนักสนับสนุนให้คำเบิกความของผู้เสียหาย มีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมารับฟังได้ว่า จำเลย กระทำชำเราผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุยังไม่เกินสิบสามปีและเป็นการกระทำแก่ผู้ สืบสันดานตามฟ้องจริง ที่จำเลยฎีกาว่า ฟ้องโจทก์ระบุว่า เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลากลาง วัน จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของผู้เสียหายในชั้น พิจารณากลับปรากฏว่าเป็นเวลากลางคืน เวลาตามที่ปรากฏในทางพิจารณาจึงแตก ต่างกับวันเวลาดังที่กล่าวในฟ้องนั้น เห็นว่า การที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทาง พิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติมิให้ถือว่า ต่างกันในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ หรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจึงไม่เป็นเหตุให้ต้องยกฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง เว้นแต่จะปรากฏ แก่ศาลว่าการที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ จึงจะถือว่าข้อเท็จจริงที่แตก ต่างกันเป็นข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญอันเป็นเหตุให้ต้องยกฟ้อง ได้ความตาม บันทึกคำให้การผู้ต้องหาว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำ ผิดว่า ผู้เสียหายกล่าวหาว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายครั้งที่สองในวันที่ 4 พฤษภาคม 2560 เวลา 23 นาฬิกา ซึ่งเป็นเวลากลางคืน ซึ่งจำเลยให้การรับว่าในวัน เกิดเหตุดังกล่าวจำเลยอยู่ที่บ้านที่เกิดเหตุ แต่ให้การปฏิเสธว่าไม่ได้กระทำชำเราผู้ เสียหาย และในชั้นพิจารณาจำเลยเบิกความแต่เพียงว่า ในวันดังกล่าว จำเลยจำไม่ได้ ว่าอยู่ที่ใด แสดงว่าจำเลยมิได้หลงต่อสู้ กรณีมิใช่เรื่องที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลย หลงต่อสู้ เมื่อข้อแตกต่างดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลจึงลง โทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ซึ่งเป็นไปตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง ส่วนฎีกาข้ออื่น ของจำเลยไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่จำต้องวินิจฉัย พยานหลักฐานที่ โจทก์นำสืบมามีน้ำหนักมั่นคงรับฟังได้โดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำ ความผิดตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยมานั้น ศาล ฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยฟังไม่ขึ้น อนึ่ง ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 5 ให้ยก เลิกความในมาตรา 277 และมาตรา 12 ให้ยกเลิกความในมาตรา 285 และให้ใช้ความ ใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่ง เป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม (เดิม) ประกอบมาตรา 285 (เดิม) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 - (ภัทรศักดิ์ วรรณแสง -ชัยรัตน์ ศิลาลาย-อำพันธ์ สมบัติสถาพรกุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563-ผลของการบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563-ผลของการบรรยายฟ้องไม่ครบองค์ประกอบความผิดกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1457/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดกบินทร์บุรี จำเลย นาย ม. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง มาตรา 195 วรรคสอง มาตรา 225 - ข้อมูลย่อ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายโดย ไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบ ความผิดว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย แม้โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลย ตามมาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสียหายโดย ไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบ ความผิดว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย แม้โจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 365 ศาลก็พิพากษาลงโทษจำเลย ตามมาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหานี้ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277, 364, 365 จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ประกอบมาตรา 80 และมาตรา 365 (1) (3) ประกอบมาตรา 364 การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมาย หลายบท ให้ลงโทษฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 277 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 90 จำคุก 6 ปี จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นฎีกาฟังเป็นยุติ ได้ว่า ขณะเกิดเหตุเด็กหญิง จ. ผู้เสียหาย อายุ 12 ปีเศษ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 นาง ผ. ย่าผู้เสียหายพาผู้เสียหายเข้าร้องทุกข์ต่อร้อยตำรวจเอก ส. พนักงานสอบสวน สถานีตำรวจภูธรวังตะเคียน ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในข้อหาบุกรุกเคหสถานและ กระทำชำเราผู้เสียหาย โดยอ้างว่าเหตุเกิดเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เวลาประมาณ 3 นาฬิกา ขณะผู้เสียหายนอนอยู่ในบ้านตามลำพัง พนักงานสอบสวนส่งตัวผู้เสียหาย ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลกบินทร์บุรี หลังจากนั้นวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 พนักงานสอบสวนขออนุมัติออกหมายจับจำเลย และจับกุมจำเลยได้ในวัน เดียวกัน พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาแก่จำเลยเป็นคดีนี้ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดตามคำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 หรือไม่ เห็นว่า แม้โจทก์มีผู้เสียหายเป็นประจักษ์พยาน เพียงปากเดียว แต่ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 12 ปีเศษ ไม่เคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับ จำเลยมาก่อน เบิกความถึงพฤติการณ์ขณะถูกจำเลยพยายามข่มขืนกระทำชำเราอย่าง เป็นขั้นตอน มีรายละเอียดตั้งแต่ช่องทางที่จำเลยปีนเข้ามาในบ้าน พฤติการณ์ที่ล่วง ละเมิดทางเพศต่อผู้เสียหาย จนกระทั่งการหลบหนีของจำเลยหลังเกิดเหตุเป็นลำดับ ยากแก่การที่จะปรุงแต่งขึ้นหากมิได้เกิดขึ้นจริง ทั้งเป็นการผิดปกติวิสัยที่เด็กหญิง จะปั้นแต่งเรื่องที่ถูกชายพยายามข่มขืนกระทำชำเราเพราะจะเป็นที่เสื่อมเสียต่อชื่อ เสียงของตนอย่างร้ายแรง ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้เสียหายไม่ได้เล่าเหตุการณ์ที่เกิด ขึ้นให้บุคคลใดฟังทันที แต่เพิ่งมาเล่าเมื่อจะต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง อันน่าจะมีสาเหตุ มาจากความกลัวว่าจำเลยจะอาศัยโอกาสที่ไม่มีผู้ใหญ่อยู่บ้านบุกรุกเข้ามากระทำ ชำเราผู้เสียหายอีก จึงเพิ่งตัดสินใจเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ย่ากับลุงฟัง แสดงให้ เห็นถึงความคิดตามประสาเด็กที่ยังอ่อนวัยและต้องการให้ผู้ใหญ่เข้ามาช่วยในการ แก้ปัญหา ไม่ถึงกับเป็นข้อพิรุธ ส่วนที่คำเบิกความของผู้เสียหายในชั้นศาลแตกต่าง จากคำให้การในชั้นสอบสวนไปบ้างก็เป็นเพียงประเด็นรายละเอียดปลีกย่อยใน เรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่ทำให้น้ำหนักคำเบิกความของผู้เสียหายลดน้อยลง เชื่อได้ว่าผู้ เสียหายเบิกความตามความจริง ที่จำเลยฎีกาอ้างว่า โทรศัพท์เคลื่อนที่แบตเตอรี่ใกล้ หมดย่อมไม่มีแสงสว่างนานถึง 15 นาที ทั้งบ้านที่เกิดเหตุมีต้นไม้ล้อมรอบ อยู่ห่าง จากบ้านของบุคคลอื่นประมาณ 300 ถึง 500 เมตร และถนนหน้าบ้านไม่มีไฟฟ้า ย่อมไม่มีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นหน้าคนร้ายได้ นั้น ในข้อนี้นอกจากจะเป็น ข้อเท็จจริงที่จำเลยไม่ได้นำสืบ แต่เพิ่งยกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาแล้ว เมื่อพิจารณา จากลักษณะของบ้านที่เกิดเหตุ ปรากฏว่าเป็นบ้านชั้นเดียวมีช่องของอิฐบล็อกที่ผนัง และมีช่องลมบนเพดานใต้หลังคาค่อนข้างห่างเป็นช่องว่างขนาดใหญ่แสงสว่าง สามารถส่องผ่านเข้าไปได้ สอดคล้องกับที่ร้อยตำรวจเอก ส. พนักงานสอบสวน พยานโจทก์อีกปากหนึ่งซึ่งเบิกความยืนยันว่า ภายหลังรับแจ้งความ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 เวลากลางคืน พยานเดินทางไปตรวจบ้านที่เกิดเหตุ ได้ทดสอบปิด ไฟภายในบ้านทั้งหมดแล้วเข้าไปอยู่ในห้องนอนพบว่ามีแสงสว่างจากหลอดไฟ ของบ้านฝั่งตรงข้ามส่องสว่างเข้ามาภายในห้องสามารถมองเห็นใบหน้ากันได้ พยานโจทก์ปากนี้เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติราชการไปตามอำนาจหน้าที่ และไม่ ปรากฏว่าเคยมีสาเหตุโกรธเคืองกับจำเลยมาก่อน ไม่มีเหตุให้น่าระแวงสงสัยว่าจะ เบิกความอันเป็นเท็จขึ้นเพื่อปรักปรำจำเลยให้ต้องรับโทษจึงมีน้ำหนักแก่การรับฟัง เชื่อว่าขณะเกิดเหตุนอกจากแสงสว่างจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ของผู้เสียหายที่ทำให้ มองเห็นหน้าคนร้ายในครั้งแรกแล้ว ยังมีแสงสว่างจากหลอดไฟของบ้านฝั่งตรง ข้ามส่องสว่างเข้ามาในบ้านที่เกิดเหตุ นอกจากนั้นคืนเกิดเหตุเป็นคืนข้างขึ้น 14 ค่ำ เดือนสาม ปีระกา ตามสูตรสำเร็จเวลาดวงจันทร์ขึ้นจากพื้นพิภพ ดวงจันทร์ขึ้นเวลา 17.12 นาฬิกา จึงมีแสงสว่างจากดวงจันทร์ช่วยให้มองเห็นหน้าคนร้ายดังที่ผู้เสียหาย เล่าให้นาง ผ. ฟังด้วย แม้ความสว่างที่ส่องเข้ามาภายในบ้านอาจจะไม่มากนัก แต่ผู้ เสียหายเคยเห็นจำเลยมาก่อนเนื่องจากเป็นคนในหมู่บ้านเดียวกัน บ้านอยู่ห่างกัน เพียงประมาณ 150 เมตร และขณะเกิดเหตุก็เห็นจำเลยในระยะใกล้เป็นเวลานานพอ สมควร เชื่อว่าผู้เสียหายเห็นและจำจำเลยได้ไม่ผิดตัว ที่จำเลยฎีกาว่า คำเบิกความ ของผู้เสียหายขัดแย้งกับรายงานผลการตรวจชันสูตรบาดแผล เพราะไม่พบเยื่อ พรหมจารีฉีกขาดและไม่พบบาดแผลบริเวณอวัยวะเพศนั้น ในชั้นสอบสวนผู้เสีย หายให้การไว้ชัดเจนว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยใช้อวัยวะเพศที่แข็งตัวทิ่มบริเวณอวัยวะ เพศของผู้เสียหายอยู่หลายครั้ง แต่ล่วงล้ำเข้าไปได้เพียงเล็กน้อยประมาณ 2 เซนติเมตร โดยนาง ผ. ให้การในส่วนนี้ไว้ว่า เมื่อนาง ผ. สอบถามผู้เสียหายว่าหนู เสียตัวให้เขาหรือเปล่า ผู้เสียหายตอบว่าไม่เสียเพราะของหนูเล็ก ของมันใหญ่ เข้า ได้นิดหนึ่งประมาณ 2 เซนติเมตร ดังนี้ จะเห็นได้ว่าคำให้การของผู้เสียหายและนาง ผ. มีสาระสำคัญสอดคล้องกันว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยได้ใช้อวัยวะเพศของตนที่แข็ง ตัวพยายามสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายเพื่อกระทำชำเราจริง แต่เหตุที่ ไม่สามารถสอดใส่เข้าไปได้สำเร็จเนื่องจากผู้เสียหายเป็นเด็ก อวัยวะเพศมีขนาดเล็ก จำเลยจึงหยุดกระทำต่อ ดังนั้น การที่หลังเกิดเหตุ 2 วัน แพทย์ตรวจไม่พบเยื่อ พรหมจารีฉีกขาดและไม่พบบาดแผลที่บริเวณอวัยวะเพศของผู้เสียหายจึงไม่ถึงกับ เป็นข้อพิรุธจนทำให้คำเบิกความของผู้เสียหายรับฟังไม่ได้ ส่วนที่จำเลยนำสืบและ ฎีกาอ้างฐานที่อยู่นั้น คงมีแต่คำเบิกความของจำเลยกับพยานจำเลยเพียงลอย ๆ ไม่มี พยานหลักฐานอื่นมาสนับสนุนให้น่าเชื่อถือ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าพยานจำเลยเคยไป ให้การในชั้นสอบสวน จึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ ข้อเท็จ จริงฟังได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกและพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสีย หาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย กรณีไม่จำต้อง วินิจฉัยฎีกาของจำเลยในข้อปลีกย่อยอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง ฎีกา ของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น อย่างไรก็ตาม คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2561 เวลากลางคืนก่อนเที่ยง จำเลยบุกรุกเข้าไปในเคหสถานที่อยู่อาศัยของผู้เสีย หายโดยไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีเหตุอันสมควร โดยไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ ประกอบความผิดว่าจำเลยกระทำโดยใช้กำลังประทุษร้าย หรือขู่เข็ญว่าจะใช้กำลัง ประทุษร้าย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) แม้โจทก์มีคำขอให้ลง โทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษา ลงโทษจำเลยตามมาตรา 365 (1) ไม่ได้ เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่ เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามี อำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 อนึ่ง ก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่ม เติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ออกใช้บังคับ โดยมาตรา 5 ให้ยก เลิกความในมาตรา 277 แห่งประมวลกฎหมายอาญา และให้ใช้ความใหม่แทน แต่ กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้กฎหมายเดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ ใช้ขณะกระทำความผิด พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (1) นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 - (พิชัย เพ็งผ่อง-อธิคม อินทุภูติ-จรัญ เนาวพนานนท์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563-ไม่ถือว่ามีพฤติการณพิเศษหรือเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563-ไม่ถือว่ามีพฤติการณพิเศษหรือเหตุสุดวิสัยกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดตาก ผู้ร้อง นาย บ. กับพวก จำเลย นาย ม. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 - ข้อมูลย่อ ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนาย จำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้ จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่น ฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึง ต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่น ฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มี พฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลา ยื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำ พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 276, 283 ทวิ, 318 จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณานาย บ. ผู้เสียหายที่ 2 และนางสาว พ. ผู้เสียหายที่ 1 โดยนาย บ. บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องทั้ง สองคนละ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องทั้งสอง จำเลยไม่ให้การในคดีส่วนแพ่ง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 วรรคสาม ประกอบมาตรา 83, 283 ทวิ วรรคแรก, 318 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็น ความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 91 ฐานพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารกับ ฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงเป็นการกระทำอัน เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา ด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 20 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร (ที่ถูก โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย) จำคุก 8 ปี รวมจำคุก 28 ปี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ ร้องที่ 2 จำนวน 100,000 บาท แก่ผู้ร้องที่ 1 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 26 มกราคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่า ฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้ จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์ และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 จึงต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟังเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 และในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงาน กระบวนพิจารณาด้านหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต่อท้ายรายงานกระบวนพิจารณา วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร ที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทนายจำเลยย่อม ต้องทราบว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มี เหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลย ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้ จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบ ร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อทนายจำเลยยื่นฎีกาเข้ามาวันที่ 11 กันยายน 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยย่อมไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยและยก ฎีกาของจำเลย - (รักเกียรติ วัฒนพงษ์-แรงรณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์-สุรางคนา กมลละคร) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2563-ถือเป็นสินส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2563-ถือเป็นสินส่วนตัวกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2563 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ นาง ป. จำเลย นาย ณ. กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง - ข้อมูลย่อ โจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็น บ้านเล็กๆ มีแต่หลังคาแต่ไม่มีฝาบ้านมาในระหว่างสมรส และใช้เงินสินส่วนตัวของ โจทก์ในการก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างในระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้าน พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาท ย่อมเป็นสินส่วนตัวของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจ ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้ - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจาก ที่ดินและบ้านของโจทก์ ให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินและบ้านคืนโจทก์ในสภาพ เรียบร้อย ห้ามจำเลยทั้งสองเกี่ยวข้องอีกต่อไป และให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่า เสียหายเดือนละ 50,000 บาท นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองจะออก จากที่ดินและบ้านของโจทก์ จำเลยทั้งสองให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองและบริวารออกจากที่ดินตามใบจอง (น.ส. 2) เล่มที่ 12 หน้า 94 สารบบเลขที่ 212 หมู่ที่ 2 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง ตราด จังหวัดตราด และบ้านเลขที่ 47/1 ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมืองตราด จังหวัด ตราด ให้จำเลยทั้งสองส่งมอบที่ดินและบ้านพิพาทคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยและ ห้ามเกี่ยวข้องอีกต่อไป ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายเดือนละ 20,000 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 8 ธันวาคม 2559) เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยทั้งสองและ บริวารจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินและบ้านพิพาท กับให้จำเลยทั้งสองร่วมกัน ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 30,000 บาท ค่าใช้จ่ายใน การดำเนินคดีให้เป็นพับ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษากลับ ให้ยกฟ้องโจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้น อุทธรณ์ให้เป็นพับ โจทก์ฎีกา โดยได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า โจทก์ประกอบกิจการขาย เสื้อผ้าสำเร็จรูป และกิจการให้เช่าพระเครื่อง พระบูชา ตั้งอยู่ที่ศูนย์การค้าเทศบาล เมืองตราด เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2556 โจทก์ทำสัญญาซื้อที่ดินส่วนหนึ่งตามใบจอง เล่มที่ 12 หน้า 94 สารบบเลขที่ 212 เนื้อที่ 15 ไร่ พร้อมบ้าน จากนางธัญกมล ราคา 630,000 บาท ชำระเงินครบถ้วนและได้รับมอบการครอบครองที่ดินพร้อมบ้านใน วันทำสัญญา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2556 โจทก์กับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 เป็นบุตรของจำเลยที่ 1 กับภริยาคนก่อน โจทก์ฟ้องหย่าจำเลยที่ 1 ต่อศาล เยาวชนและครอบครัวจังหวัดตราด คดีถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายืน ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีนี้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทด้วยเงินส่วน ตัวของโจทก์ ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์โดยแท้ จำเลยทั้งสองมิได้ฎีกา โต้แย้ง ปัญหาดังกล่าวจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า โจทก์มีอำนาจ ฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ โจทก์อ้าง ตนเองเป็นพยานเบิกความว่า ที่ดินพิพาทที่ซื้อจากนางธัญกมลมีบ้านหลังเล็ก ๆ เลขที่ 47/1 ซึ่งมีแต่หลังคาและพื้นบ้านกว้างประมาณ 4 เมตร ยาวประมาณ 6 เมตร แต่ไม่มี ฝาบ้าน เมื่อเดือนสิงหาคม 2556 พยานมอบหมายให้จำเลยที่ 1 ไปติดต่อว่าจ้างนายธง ชัย ผู้รับเหมาให้มาก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาท เป็นค่าแรง 190,000 บาท และค่าวัสดุก่อสร้าง 700,000 บาท บ้านสร้างเสร็จเดือน กันยายน 2556 ส่วนโรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำสร้างเสร็จเดือนมกราคม 2557 พยานเป็นผู้ชำระเงินทั้งหมดให้แก่นายธงชัย โดยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และมีนายธงชัย เป็นพยานเบิกความสนับสนุนว่า โจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ติดต่อว่าจ้างพยานไปก่อสร้างบ้านในที่ดินพิพาท พยานคิดค่าแรง 70,000 บาท สร้างเสร็จประมาณวันที่ 27 กันยายน 2556 และเดือนธันวาคม 2556 พยานได้ สร้างโรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำให้โจทก์ ค่าแรง 120,000 บาท สร้างเสร็จ เดือนมกราคม 2557 พยานได้รับเงินค่าจ้างทั้งหมดจากโจทก์สอดคล้องกับคำเบิก ความของโจทก์ที่ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อวัสดุก่อสร้างและชำระเงินค่าจ้างก่อสร้าง บ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำทั้งหมดให้แก่นายธงชัย โดยถอนเงินจาก บัญชีเงินฝากธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากส่วนตัวของ โจทก์ ทั้งจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านรับว่า เงินที่นำมาซื้อที่ดิน พิพาทและก่อสร้างบ้านเป็นเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ซึ่งเปิดไว้ก่อนที่โจทก์จะ มาอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นผู้มีสิทธิเบิกถอนเงินจากบัญชีดัง กล่าวเพียงผู้เดียว แสดงว่านอกจากโจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ที่มีมาก่อนจด ทะเบียนสมรสกับจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทแล้ว โจทก์ยังใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ ก่อสร้างบ้าน โรงจอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำด้วย จำเลยทั้งสองคงมีแต่คำเบิก ความของจำเลยที่ 1 เพียงลอย ๆ ว่า เงินในบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าวเป็นเงินที่ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ทำมาหาได้ร่วมกัน โดยจำเลยทั้งสองไม่มีพยานหลักฐานใด มาสนับสนุน จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระค่าถมดิน ปลูกบ้าน สร้างคอกวัว และทำคันรอบบ่อเลี้ยงปลาเป็นเงินกว่า 3,000,000 บาท ดังที่จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ ยิ่งกว่านั้นยังได้ความจากจำเลยที่ 1 เบิกความตอบทนายโจทก์ถามค้านอีกว่า ก่อนอยู่ กินฉันสามีภริยากับโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร 100,000 กว่าบาท เป็นหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำ พิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 59/2556 ของศาลชั้นต้น 400,000 บาท และเป็นหนี้อื่น ๆ อีกประมาณ 800,000 บาท รวมเป็นหนี้กว่า 1,300,000 บาท จึงไม่ น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 1 จะมีฐานะการเงินพอที่จะปลูกสร้างบ้านพิพาทได้ โจทก์มีพยาน บุคคลและพยานเอกสารประกอบด้วยเหตุผลมีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของ จำเลยทั้งสอง ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ใช้เงินสินส่วนตัวของโจทก์ก่อสร้างบ้าน โรง จอดรถ คอกวัว และศาลาริมน้ำในที่ดินพิพาทของโจทก์ แม้เป็นการก่อสร้างใน ระหว่างที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันก็จะถือว่าบ้านพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้มาระหว่างสมรสหาได้ไม่ บ้านพิพาทย่อมเป็นสินส่วนตัวของ โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1472 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมี อำนาจฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากบ้านพิพาทและเรียกค่าเสียหายได้ ที่ศาล อุทธรณ์ภาค 2 พิพากษายกฟ้องโจทก์มานั้น ไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา ฎีกา ของโจทก์ฟังขึ้น พิพากษากลับ ให้บังคับคดีไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ค่าฤชา ธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์และฎีกาให้เป็นพับ - (กิจชัย จิตธารารักษ์-สุทิน นาคพงศ์-สิริกานต์ มีจุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงานกันยายน 7, 2020คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ นาย ร. จําเลย บริษัท อ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จ้างแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 - ข้อมูลย่อ จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมีจํานวนแน่นอน เท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทํางาน ไม่ได้ คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่ โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงาน ลูกจ้างคนอื่นของจําเลย โจทก์ปฏิบัติงานไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ ภายใต้การบังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมีอํานาจสั่งให้โจทก์ไปทํางาน ที่โครงการอื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้กรรมการของจําเลยทราบก่อน โจทก์จึงไม่ได้มีอิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลย จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 จําเลยตกลงจ้าง โจทก์ทํางานให้จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการประจําสาขา เกาะสมุย โครงการซามูจาน่า ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 145,000 บาท และได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นเงินค่าเช่าบ้าน เป็นรายเดือนจํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือนเดือนละ 17,000 บาท กําหนดจ่ายเงินทั้งสองจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน รวมเป็น ค่าจ้างเดือนละ 202,000 บาท ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 จําเลยบอก เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทําผิดและไม่ได้บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และถือ ว่าจําเลยจงใจ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ระหว่าง ทํางานโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจําปีและต้อง ทํางานใน วันหยุด ขอให้บังคับจําเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่า กับค่าจ้าง 1 เดือน เป็นเงิน 202,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว ให้จําเลยจ่ายค่าทํางาน ในวันหยุด 47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี 101,000 บาท และค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินต้นทั้งสามจํานวนดังกล่าว กับให้ จําเลย ใช้ค่าเสียหายที่ได้ กระทําละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะ ชําระเสร็จแก่โจทก์ จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจําเลย แต่จําเลย เป็นผู้ว่าจ้างและโจทก์เป็นผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทําการงานสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ให้สําเร็จ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทําของ กล่าวคือ โจทย์ตกลง รับจ้างทําการงาน เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างบ้านพักตากอากาศให้แก่ ลูกค้าของจําเลยชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ “ซามูจาน่า” โดย จําเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการงานที่ทํานั้นเป็นราย เดือนเดือนละ 145,000 บาท โดยโจทย์ตกลงให้จําเลยหักเงิน ค่ารับ จ้างทําการงานดังกล่าวในอัตราร้อยละ 3 ของเงินค่ารับจ้างทําการงาน อันเป็นสัญญาจ้างทําของ มิใช่สัญญาจ้างแรงงาน ตามที่โจทก์ กล่าวอ้าง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและ ค่าทํางานในวันหยุดตามฟ้อง เมื่อบ้านพักตากอากาศของลูกค้าใน โครงการ “ซามูจาน่า” ที่จําเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ดําเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2555 สัญญาจ้างทําของในการ รับทําการงานของโจทก์ให้แก่จําเลยก็สิ้นสุดลงและจําเลย ตกลงที่จะ จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนพิเศษให้แก่โจทก์รวม 5 เดือน ในอัตราเดือน ละ 202,000 บาท โดยโจทก์ได้รับไปครบถ้วน แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ เรียกร้องค่าชดเชย นอกจากนี้เมื่อโจทก์และจําเลยต่างรับทราบถึงการ สิ้นสุดของโครงการดังกล่าวดีอยู่ แล้วจึงถือได้ว่าจําเลยได้บอกกล่าว ล่วง หน้ายกเลิกการจ้างกับโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง สินจ้างแทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า และการยกเลิกการจ้างของจําเลย ไม่ทําให้โจทก์ เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือ จึง ไม่ เป็นการเลิก จ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานภาค 4 วินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้จ้างของจําเลย ทํางานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 5 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 150 วัน โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย เป็นเงินเดือนละ 202,000 บาท จําเลยจึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย แก่ โจทก์รวม 1,212,000 บาท ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ปรากฏว่าจําเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 โดย ก่อนหน้านั้นไม่ได้มีการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จําเลยจึง ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 202,000 บาท สําหรับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี และค่าทํางานใน วันหยุดตามประเพณี ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นับแต่โจทก์เข้าทํางาน โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดงานในวันหยุดพักผ่อนประจําปีและวันหยุดตาม ประเพณีรวมเป็นเวลา 15 วัน และ 7 วัน ตามลําดับ โดยไม่ได้รับ ค่า จ้างสําหรับวันหยุดนั้น จําเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อน ประจําปีจํานวน 15 วัน เป็นเงิน 101,000 บาท และค่าทํางานใน วัน หยุดรวม 47,133 บาท และเมื่อจําเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยโจทก์ไม่มี ความผิดต้องทําให้โจทก์กลายเป็นผู้ตกงานกะทันหันต้องขาดรายได้ ขณะถูกเลิกจ้างโจทก์มีอายุสูงถึง 63 ปียากที่จะไปหางานใหม่ทําและ ส่งผลเสียทั้งด้านชื่อเสียงของโจทก์ ทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือจาก ผู้ประกอบการ จึง กําหนดค่าเสียหายให้โจทก์จํานวน 202,000 บาท พิพากษาให้จําเลยชําระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 202,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 20 กรกฎาคม 2556) เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้ จําเลย ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยจ่ายค่าทํางานในวันหยุด รวม 47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี 101,000 บาท ค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี นับ แต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่า จะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้ จําเลยใช้ค่าเสียหาย 202,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่ โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานเห็นว่า ศาลแรงงานภาค 8 รับฟัง ข้อเท็จจริงมาไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อตกลงว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับ จําเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ จึงให้ย้อนสํานวนให้ศาลแรงงาน ภาค 4 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบของ ศาลฎีกา ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและส่งสํานวน คืนศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจํากัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านรับเหมาก่อสร้าง อาคารและบ้านพักตากอากาศให้แก่ลูกค้าทั่วไป สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์เดินทางมาทํางานในประเทศไทยเมื่อปี 2551 โดยนายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยติดต่อให้ทํางานกับ จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการ เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551 ประจําสาขาเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่โครงการซามูจาน่า อําเภอบ่อผุด อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะงานที่ทําคือการให้คํา ปรึกษา วางแผนบริหาร และดูแลงานภายในโครงการอินฟินิตี้ของ จําเลย โดยได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้า ชาวต่างชาติชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องเริ่มทํางาน เวลาใดถึงเวลาใด แต่การปฏิบัติเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ต้องมาดูแลและ อยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา หากลูกค้ามีปัญหาโจทก์จะต้องเป็นผู้ติดต่อ ประสานงานกับลูกค้าและแจ้งให้พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ ปัญหาเฉพาะด้านต่อไป จําเลยอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่น ได้ไม่เฉพาะแต่งานก่อสร้างบ้านรายนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ ซามูจาน่าเท่านั้น โดยจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับจําเลยใน โครงการชื่ออินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเห็น แม้บ้าน นายดาเห็นจะสร้างเสร็จแล้วโจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วนใน เรื่องการ ลาหยุดงานได้ความว่ากรณีโจทก์ป่วย โจทก์ต้องโทรศัพท์ให้ นายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบก่อน โจทย์ไม่อาจ หยุดงานได้ตามอําเภอใจ สําหรับการจ่ายค่าจ้างโจทก์ได้รับค่าจ้างเป็น รายเดือนมี จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน อันมีลักษณะเป็นการจ่าย เพื่อตอบแทน การทํางานโดยมิได้คํานึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ แต่ เป็นการจ่าย ค่าจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ทํางาน กล่าวคือ แม้สร้างบ้าน นายดาเร็นเสร็จ แล้ว จําเลยยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อไปอีกและ โจทก์ยังได้รับ สวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่น พนักงานรายอื่นของจําเลย ระ หว่างทํางานโจทก์ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 185,000 บาท เงินช่วย เหลือค่าครองชีพเป็น ค่าเช่าบ้าน เดือนละ 17,000 บาท จําเลยได้ทํา ประกันสังคมให้แก่ โจทก์โดยแจ้งว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 นายเควินบอกเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าจ้างถึงเดือน เมษายน 2556 ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2556 จําเลยคัดชื่อโจทก์ออกจาก ทะเบียน ลูกจ้างที่ยื่นต่อสํานักงานประกันสังคม แล้วศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัย ว่า ลักษณะงานของโจทก์เป็นเป็นสัญญาแรงงาน ไม่ใช่สัญญา จ้าง ทําของ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจําเลยประการเดียวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลยหรือไม่ โดยจําเลยอุทธรณ์สรุปว่า จําเลย ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานแทนจําเลยระหว่างลูกค้ารายนาย ดาเห็น คอนเวย์ กับจําเลยกรณีลูกค้ารายนี้มีปัญหาเท่านั้น โดยกําหนด เวลา การจ้างจนกว่าจําเลยจะก่อสร้างบ้านให้นายดาเห็นแล้วเสร็จ ลักษณะ การทํางานของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้ บังคับบัญชาของจําเลย จําเลยไม่ ได้มอบหมายงานหรือกําหนดเวลาให้โจทก์ต้องทําอะไรบ้าง ในแต่ละวัน ไม่มีการออกกฎระเบียบข้อบังคับการทํางานแก่โจทก์ว่า ต้องเข้าออกงาน เวลาใด โจทก์ไม่ต้องลงเวลาทํางาน ไม่มีการบังคับ บัญชาหรือลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ หรือเพิ่มเงินเดือนตามระยะเวลา การทํางาน โจทก์มีอิสระในการทํางาน ในแต่ละวันโจทก์จะมาทํางาน หรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ นายดาเห็นเจ้าของบ้านมีปัญหาในการก่อสร้างก็จะ โทรศัพท์เรียกโจทก์ ไปดูแลเพื่อแก้ไขหรือรับทราบปัญหาต่าง ๆ เท่านั้น แต่ผู้แก้ไขงานคือ วิศวกรผู้ควบคุมงาน จําเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ โจทก์สูงกว่าลูกจ้าง ทั่วไปมากซึ่งจําเลยหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 3 ตามสัญญาจ้างทําของ สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยเป็นสัญญาจ้าง ทําของ โจทก์จึงไม่ใช่ ลูกจ้างของ จําเลยนั้น เห็นว่า การพิจารณาว่า สัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 สัญญาจ้างทําของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 557 นั้น จะต้อง พิจารณาถึงการจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างและการจัดหา เครื่อง มือสัมภาระ ในการทํางานประกอบด้วยว่ากรณีสัญญาจ้างแรงงานนาย จ้างต้องจ่าย สินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางานให้ แต่ สัญญาจ้างทํา ของผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสําเร็จของการงาน ที่ตกลงกัน และสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือหรือ สัมภาระใน การทํางานส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา เครื่องมือสําหรับ ใช้ทําการงาน และข้อแตกต่างสําคัญระหว่างสัญญา จ้างแรงงานกับ สัญญาจ้างทําของอีกประการหนึ่งคือ เรื่องการบังคับ บัญชา กล่าวคือ สัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างต้องทํางานตามคําสั่งของ นายจ้างและมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 543 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคําสั่งของ นายจ้างอันชอบ ด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นําพาต่อคําสั่งเช่นว่า นั้นเป็นอาจิณ ก็ดี...ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าหรือให้ สินไหมทดแทนก็ได้" ส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้าง ไม่ต้องทํางานตาม คําสั่งเพียงแต่ทําให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงเท่านั้น ซึ่ง ในปัญหานี้ศาล แรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า โจทก์ได้รับ มอบหมายให้ ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้าชาวต่างชาติชื่อ นายดาเห็น แม้ไม่ปรากฏว่าต้องเริ่มทํางานเวลาใดถึงเวลาใด แต่ทาง ปฏิบัติเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ต้องมาดูแลและอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา และ จําเลย ยังอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่นได้ไม่เฉพาะแต่งาน ก่อสร้างรายนายดาเห็น เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับ จําเลยใน โครงการชื่อ อินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเร็น แม้ บ้านนายดาเห็นจะสร้าง เสร็จแล้ว โจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วน การลาหยุดงานได้ความว่า กรณีโจทก์ป่วยโจทย์ต้องโทรศัพท์ให้นาย เควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการ ของจําเลยทราบก่อน โดยโจทก์ไม่อาจ หยุดงานได้ตามอําเภอใจ ทั้งจําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมี จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทน การทํางาน ไม่ได้คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้ ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงานลูกจ้างคนอื่นของจําเลย เช่นนี้เท่ากับโจทก์ปฏิบัติงาน ไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้การ บังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมี อํานาจสั่งให้โจทก็ไปทํางานที่โครงการ อื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อ บังคับเกี่ยวกับการทํางานของ จําเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้ นายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบ ก่อนเช่นนี้ โจทก์จึงไม่ได้มี อิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยจึงเป็นสัญญาจ้าง แรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็น พ้องด้วย อุทธรณ์ของจําเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน - (สมจิตร์ ทองศรี - วุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ - จักรชัย เยพิทักษ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2562-ไม่ถือว่าผิดฐานหมิ่นประมาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2562-ไม่ถือว่าผิดฐานหมิ่นประมาทกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 374/2562 ส่งเสริมตุลาการ คู่กรณี โจทก์ นางสาว พ. จำเลย นางสาว ก. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 หมิ่นประมาท - ข้อมูลย่อ โจทก์และจำเลยต่างขายสินค้าเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก เมื่อเดือนเมษายน 2558 จำเลย พิมพ์ข้อความที่โจทก์อ้างว่าหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อความ ที่จำเลยพิมพ์ในเฟซบุ๊กที่ว่า" ...หรือว่ามึงเอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายให้ลูกค้า แล้วไม่มีใครซื้อของ ของมึงนัง พ. ..." ซึ่งอ่านแล้วข้อความดังกล่าว ก็เป็นเพียงการตั้งคำถามถึงโจทก์ว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่าๆ หรือไม่ มิได้ยืนยันว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่า ๆ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาท - รายละเอียด โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามพระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (ที่ถูกพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550) มาตรา 14 (1) ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 ศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้ว เห็นว่าคดีมีมูล ให้ประทับฟ้อง จำเลยให้การปฏิเสธ ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้จำคุก 6 เดือน และปรับ 30,000 บาท ทางนำสืบ ของจำเลยเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 78 แล้ว คงจำคุก 4 เดือน และปรับ 20,000 บาท จำเลยเป็นพนักงานราชการกรมป่าไม้ ไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน จึงเห็นสมควร ให้โอกาสจำเลยได้กลับตนเป็นพลเมืองดี โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษา ศาลชั้นต้น จำเลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์มีอาชีพขายสินค้า เกี่ยวกับการเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิวหน้า ผิวพรรณ สบู่ ที่บ้านและ ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก โดยใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "M" เมื่อเดือนธันวาคม 2555 จำเลยซึ่งใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "N" ได้สอบถาม ข้อมูลสินค้าและวิธีการขายจากโจทก์ ต่อมาจำเลยขายสินค้าประเภทเดียวกับโจทก์ โดยใช้ชื่อในโปรแกรมเฟซบุ๊กว่า "ครีม..." คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยว่า จำเลยกระทำความผิดฐาน หมิ่นประมาทหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า การที่จำเลยพิมพ์ข้อความในโปรแกรม เฟซบุ๊กว่า พ. ..."นั้น ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทเพราะการกระทำอันเป็น ความผิดฐานหมิ่นประมาทผู้อื่นนั้น จะต้องเป็นการใส่ความผู้อื่นโดยถ้อยคำหรือ ข้อความดังกล่าว ข้อความที่จำเลยกล่าวเป็นเพียงการโต้ตอบกับโจทก์ จำเลย ไม่ได้ยืนยันว่าโจทก์เอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายแต่อย่างใดนั้น เห็นว่า กรณีที่ เกิดขึ้นเนื่องจากโจทก์และจำเลยต่างขายสินค้าเสริมความงาม เช่น ครีมบำรุงผิว สบู่ ทางอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมเฟซบุ๊ก เมื่อเดือนเมษายน 2558 จำเลย พิมพ์ข้อความที่โจทก์อ้างว่าหมิ่นประมาทโจทก์ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ถึงข้อความ ที่จำเลยพิมพ์ในเฟซบุ๊กที่ว่า" ...หรือว่ามึงเอาครีมเก่าเน่าๆ ไปขายให้ลูกค้า แล้วไม่มีใครซื้อของ ของมึงนัง พ. ..." ซึ่งอ่านแล้วข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียง การตั้งคำถามถึงโจทก์ว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่าๆ หรือไม่ มิได้ยืนยันว่า โจทก์ขายครีมเก่าเน่า ๆ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงซึ่งเป็นความผิดฐาน หมิ่นประมาทโจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย ฎีกาของฟังขึ้น พิพากษากลับเป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์ - (นิพนธ์ พิชยพาณิชย์ - กิจชัย จิตธารารักษ์ - สิริกานต์ มีจุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คําพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561-อำนาจฝากขังของศาลชั้นต้น
คําพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561-อำนาจฝากขังของศาลชั้นต้นกันยายน 7, 2020คําพิพากษาฎีกาที่ 4265/2561 เนติฯ คู่กรณี ผู้ร้อง พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผู้ต้องหา นายวัฒนา เมืองสุข - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 193 อุทธรณ์ฎีกา - ข้อมูลย่อ คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง ของพนักงานสอบสวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 ไม่ใช่เรื่องที่กฏหมายมีความ ประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้านได้ ตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา มาตรา 193 ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ - รายละเอียด คดีสืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2560 ศาลชั้นต้นมี คําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด 12 วัน ไว้เพื่อดําเนินการ สอบสวนดําเนินคดีผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) (3) (5) ผู้ต้องหาอุทธรณ์คําสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขังผู้ต้องหา ตามคําร้องของผู้ร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ต้องหา ผู้ต้องหาฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของ ผู้ต้องหาว่า การที่ศาลชั้นต้นมีคําสั่งอนุญาตให้ขังผู้ต้องหามีกําหนด12 วัน ตามคําร้องของผู้ร้อง ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้น หรือไม่ เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 วรรคห้าบัญญัติว่า “เมื่อได้มีการแจ้งข้อกล่าวหาแล้ว ถ้าผู้ต้องหา ไม่ใช่ผู้ถูกจับและยังไม่ได้มีการออกหมายจับ แต่พนักงานสอบสวน เห็นว่ามีเหตุที่จะออกหมายขังผู้นั้นได้ตามมาตรา 71 พนักงานสอบสวน มีอํานาจสั่งให้ผู้ต้องหาไปศาลเพื่อออกหมายขังโดยทันที กรณีเช่นว่า นี้ให้นํามาตรา 87 มาใช้บังคับแก่การพิจารณาออกหมายขังโดย อนุโลม” มาตรา 71 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “เมื่อได้ตัวผู้ต้องหาหรือ จําเลยมาแล้ว ในระยะใดระหว่างสอบสวนไต่สวนมูลฟ้อง หรือพิจารณา ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาหรือจําเลยไว้ตามมาตรา 87 หรือมาตรา 88 ก็ได้ และให้นําบทบัญญัติในมาตรา 66 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” มาตรา 66 บัญญัติว่า “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อ มีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทําความผิดอาญาซึ่งมี อัตราโทษจําคุกอย่างสูงเกินสามปี” ตามบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ให้อํานาจศาลที่จะขังผู้ต้องหาระหว่างสอบสวนหากมีเหตุตามมาตรา 66 ผู้ต้องหาถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 116 ซึ่งต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปี จึงเป็นกรณี ที่ศาลจะออกหมายขังผู้ต้องหาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 71 ประกอบมาตรา 66 บทบัญญัติดังกล่าวเป็น กระบวนการก่อนฟ้องซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ผู้ต้องหาอยู่ในอํานาจของศาล เพื่อเป็นหลักประกันว่าจะมีตัวจําเลยในการพิจารณาคดีของศาลทั้งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 106 บัญญัติให้ ผู้ต้องหามีสิทธิยื่นคําร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวได้อยู่แล้ว แสดงให้เห็นเจตนารมณ์ของกฎหมายอย่างชัดเจนว่า มีวัตถุประสงค์ จะให้กระบวนการยุติธรรมในชั้นฝากขังระหว่างสอบสวนเป็นอํานาจ ของผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและยุติไปในระดับศาลชั้นต้นเท่านั้น ไม่ใช่ เรื่องที่กฏหมายมีความประสงค์จะให้ผู้ต้องหายื่นอุทธรณ์คัดค้าน คําสั่งอนุญาตให้ฝากขังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญามาตรา 193 ด้วยเหตุผลดังวินิจฉัยมาแล้ว ผู้ต้องหาจึงไม่มีสิทธิ ยื่นอุทธรณ์คําสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ฝากขังผู้ต้องหาตามคําร้อง ของผู้ร้อง ที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของผู้ต้องหาจึงชอบแล้ว ฎีกา ผู้ต้องหาฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน - (นิพันธ์ ช่วยสกุล - อธิคม อินทุภูติ - ยงยุทธ แสงรุ่งเรือง) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2558-ดุลพินิจของพนักงานสอบสวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2558-ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2558 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการจังหวัดระยอง ผู้ร้อง นางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ จำเลย นางสาววันวิสาข์หรือจ๋า เอกกรณ์พงษ์ - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึง มาตรา 134 การสอบสวน มาตรา 158 บรรยายฟ้อง - ข้อมูลย่อ คำฟ้องโจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาทมีข้อความ ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) โดยระบุข้อเท็จจริงและรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความ อันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดี แล้วว่า พ. ก. พนักงานบริษัท อ. และบุคคลทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคล ที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาทหมายถึง ผู้เสียหาย คำฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงาน สอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใด มาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่ พนักงานสอบสวนสอบปากคำและรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมี ความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหาตามที่แจ้งข้อกล่าวหา เนื่องจาก ผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหาย โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก ย่อมเป็นดุลพินิจของ พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีชอบด้วยกฎหมายแล้ว - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2553 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 1 กันยายน 2553 เวลากลางวันต่อเนื่องกัน จำเลยกระทำ ความผิดหลายกรรมต่างกัน กล่าวคือ จำเลยนำข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีข้อความกล่าวนางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหายตามเอกสาร ท้ายคำฟ้องโดยสรุปว่า “นังมารร้ายไม่ชอบพี่เปิ้ลค่ะ เลยถือโอกาส เหมาะโยนความผิดให้พ้นตัว โบ้ยไปที่พี่เปิ้ลยังไม่พอ โบ้ยมาที่จ๋า โบ้ยไปที่แฟนจ๋า โบ้ยไปหาคนอื่น ยกเว้นตัวเอง” “ตัวจ๋าที่ผ่านมาก็โดน ข่าวลือต่าง ๆ นานา จากผู้ไม่หวังดี คอยใส่ร้ายจ๋าหลาย ๆ เรื่อง เป็นระลอกคลื่น เช่น เรื่องการเมือง เรื่องที่จ๋าป่วย เรื่องผู้ตาย เรื่องทุกอย่างที่นางมารร้ายจะสรรหามาทำลายได้ ด้วยจุดประสงค์ เดียวเพื่อให้จ๋าเสียหายค่ะ อย่าไปหลงกลมันนะค่ะ พี่น้องผู้ชาญฉลาด ทั้งหลาย นางมารร้ายและเพื่อนสนิทไม่เคยชอบผู้หญิงคนไหนในดูเอ้ห์ ค่ะ ผู้ตายหงำเหงือกหรืองี่เง่าก็โดนนะค่ะ อย่านึกว่ารอด มีผู้หญิงหลาย คนที่โดนเล่นงานค่ะ พี่เปิ้ลก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่ง” “นังยักษ์ขมูขีคอย ปล่อยข่าวลือเสีย ๆ หาย ๆ ใส่จ๋าด้วยจุดประสงค์เดียวคือความอิจฉา ริษยา จ๋าไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมและแกร่งพอที่จะต่อสู้กับเสือ สิงห์ กระทิง แรด ได้จึงขอโบกธงลา แต่ชีก็ยังตามเล่นงานไม่เลิก และฉวยโอกาสนี้ ให้เป็นประโยชน์โยนความผิดให้คนอื่น ถือโอกาสกำจัดทีเดียวยกแผง ยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว” “จ๋ารู้ว่านางยักษ์ไม่อยากโดนข้อหา รังแกเด็ก ใส่ความเด็ก เป็นมือที่สามและกระหายผู้ชาย ชีเลยหาเหยื่อ คือพี่เปิ้ลซึ่งชีไม่ชอบเป็นทุนเดิมอยู่แล้วรับผิดไปเต็ม ๆ” “นางมารร้าย ชอบยั่วแฟนจ๋า ชัดมั้ยค่ะ หนีไม่ตบมันก็ดีแค่ไหนแล้วค่ะ แล้วดูมันทำ กับหนูซิค่ะ แกล้งหนูสารพัดเลยค่ะ ที่ผ่านมาหนูได้แต่เก็บความแค้น เอาไว้นะค่ะ แฟนจ๋าก็ไม่อยากมีเรื่อง เขาเป็นคนเงียบ ๆ แต่มันชอบ เอาไปพูดให้เป็นประเด็นให้คนรักทะเลาะกัน เพราะมันชอบแฟนจ๋าค่ะ แต่มันมีผัวแล้วนี่ค่ะ ผิดศีลนะค่ะ นอกใจผัว แล้วยุแหย่คนรักแตกแยก กัน ขี้นินทา ชอบใส่ไฟคนอื่น เลยค่ะ ชอบมาถาม มายุ่ง มายุแหย่ ปล่อยข่าว พยายามเป็นมือที่สามให้ความรักจ๋าล้มเหลวให้ได้ สาธุ ขอให้กรรมตามสนองมันค่ะ แล้วตอนนี้ยังมาโบ้ยให้เป็นความผิดของ แฟนจ๋าด้วย จ๋าบอกได้เลยว่าจ๋าโดนมันแกล้งตั้งแต่เริ่มทำงานที่อูเด้ห์ ตั้งแต่ยังไมู่ร้จักกับแฟนเลยค่ะ ไม่ใช่ว่าพอมาคบกันแล้วเลยไม่ถูกกับ นางมารร้ายค่ะ มันหาเรื่องจ๋ามาก่อนหน้านานแล้วค่ะ” “นังยักษ์ขมูขี เคยเป็นลูกน้องพี่จรัล แล้ววันไม่ชอบทำงานเอาแต่เจ๊าะแจ๊ะเรื่องฝรั่ง พี่จรัลเลยจะให้ชีออก แต่โชคดีมีฝรั่งมาหนุนนำ ชีเลยรอดตัวไปพร้อม กับความแค้นหัวหน้าเก่า พอได้ทีก็จวกแทงข้างหลัง” “ที่สำคัญจ๋ามี คุณธรรมและจริยธรรมมากพอที่จะไม่ประพฤติผิดศีล 5 แบบนางยักษ์ ค่ะ” “อ้อ จ๋าขอแนะนำว่า อูเด้ห์ ควรเอาพนักงานหญิงออกให้หมด แล้วรับแต่พนักงานชาย ยังหนุ่ม ๆ ยังดี เอาไว้สังเวยเจ้าแม่กาลีประจำ ออฟฟิศ ออฟฟิศจะได้สงบสุขและไม่มีเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายอีก (ยกเว้น ผู้ตายโดนยักษ์กิน)” ซึ่งข้อความดังกล่าวเป็นความเท็จและเป็นการนำ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของ จำเลยและบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด แล้วจำเลยได้ส่ง ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จดังกล่าว (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์) ไปให้ แก่นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัท อูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป อันเป็นการนำ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยประการที่ น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ผู้อื่นหรือประชาชน และจำเลย ได้นำส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ซึ่งมีข้อความ หมิ่นประมาทผู้เสียหายดังกล่าวมาข้างต้น ไปให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม และพนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศ ไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป ทั้งนี้ คำว่า “นังมารร้าย” “นางมารร้าย” “นังยักษ์ขมูขี” “นางยักษ์” และคำว่า “ชี” ทั้งหมด หมายถึงตัวผู้เสียหาย และข้อความดังกล่าวที่ปรากฏนั้นก็เป็นความเท็จ เป็นการใส่ความ ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สาม และประชาชนทั่วไปที่ได้อ่านข้อความใน จดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ให้เข้าใจไปในทางที่ว่า ผู้เสียหายเป็นบุคคลที่ชอบใส่ร้ายป้ายสีคนอื่น กลั่นแกล้งคนอื่นให้เกิด ความเสียหาย เป็นบุคคลที่มีความประพฤติยุแหย่ให้คนอื่นทะเลาะกัน เข้าใจผิดกัน ชอบนินทาคนอื่นด้วยเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ เป็นคนไม่มีศีล ธรรม และประพฤติผิดในเรื่องกามารมณ์ เป็นบุคคลที่นอกใจสามี เป็น ชู้กับผู้อื่น ชอบแย่งแฟนคนอื่น มักมากในกามารมณ์เป็นคนเจ้าคิด เจ้าแค้น คอยแต่จะแก้แค้นผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา เป็นคนที่ไม่น่าคบหา สมาคมด้วย ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด อันเป็นการใส่ความ ผู้เสียหายต่อบุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร โดยประการ ที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น และถูกเกลียดชัง จาก ผู้ที่ได้รับและอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(ข้อมูลคอมพิวเตอร์) ดังกล่าว ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) จำเลย ให้การ ปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา นางสาวสุกัญญา รัฐภูมิ ผู้เสียหาย ยื่นคำร้อง ขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสื่อมเสียชื่อเสียง เป็นเงิน 20,000 บาท และให้เขียนอีเมลขอโทษผู้เสียหายและส่งไป ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับอีเมล์ที่กล่าวหาใส่ความทุกคน จำเลยให้การในคดีส่วนแพ่งว่า คำร้องของผู้ร้องไม่อยู่ใน หลักเกณฑ์ที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหม ทดแทนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 วรรคสอง โดยคำร้องมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง อีกทั้งคำร้องมิได้แสดงรายละเอียดตามสมควร เกี่ยวกับความเสียหายและค่าสินไหมทดแทน ไม่อาจทำให้จำเลยเข้าใจ ข้อหาและคำขอบังคับตามคำร้องของผู้ร้องได้ คำร้องจึงเคลือบคลุม จำเลยไม่ได้กระทำละเมิด ผู้ร้องจึงไม่ได้รับความเสียหายไม่มีอำนาจ ยื่นคำร้อง และผู้ร้องไม่อาจขอให้บังคับจำเลยให้ส่งอีเมลขอโทษได้ เนื่องจากไม่ต้องด้วยบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ อาญา มาตรา 44/1 และไม่ใช่โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 ขอให้ยกคำร้อง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติว่าด้วยการ กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ อันเป็น กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 3 เดือน และให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 20,000 บาท แก่ผู้เสียหาย คำขออื่นให้ยก จำเลย อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ปรับจำเลย 30,000 บาท อีกสถานหนึ่ง ให้รอการลงโทษจำคุกไว้มีกำหนด 2 ปี ให้คุณความประพฤติของจำเลยไว้ตลอดระยะเวลาที่รอการลงโทษ ให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติทุก ๆ 4 เดือน และ ให้จำเลยกระทำกิจกรรมบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์ตามที่ พนักงานคุมประพฤติและจำเลยเห็นสมควร มีกำหนด 20 ชั่วโมง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 ไม่ชำระค่าปรับให้จัดการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 29, 30 นอกจากที่แก้ให้เป็นไป ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลย ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัย ตามฎีกาของจำเลยข้อแรกว่า ฟ้องโจทก์ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) หรือไม่ เห็นว่า คำฟ้องที่โจทก์บรรยายในความผิดฐานหมิ่นประมาท นั้นมีข้อความครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 158 (5) แห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาแล้ว ส่วนที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้จำเลยเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึง คือ นังมารร้าย นางมารร้าย นังยักษ์ขมูขี นางยักษ์ ชี ตามที่โจทก์อ้างมา ในฟ้องนั้น ทำให้นายพีระศักดิ์ โพธิ์ศรี นางสาวกุลรภัส ผกาหอม พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคลทั่วไป เข้าใจได้ว่าหมายถึงผู้เสียหายนั้น เห็นว่า ฟ้องโจทก์ได้ระบุข้อเท็จจริง และรายละเอียดต่าง ๆ พร้อมทั้งข้อความอันเกี่ยวกับข้อหมิ่นประมาท ซึ่งเพียงพอที่จะทำให้จำเลยเข้าใจได้ดีแล้วว่านายพีระศักดิ์ นางสาว กุลรภัส พนักงานบริษัทอูเด้ห์ เชดเด้น (ประเทศไทย) จำกัด และบุคคล ทั่วไปเข้าใจได้ว่าบุคคลที่จำเลยกล่าวถึงในข้อความอันเกี่ยวกับ ข้อหมิ่นประมาทนั้น หมายถึงผู้เสียหาย โดยไม่จำเป็นต้องบรรยายฟ้อง ให้ชัดเจนดังที่จำเลยฎีกา ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วยประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) แล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น มีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลย ข้อต่อไปว่า การสอบสวนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ โดยจำเลยฎีกาว่า พนักงานสอบสวนไม่ได้สอบสวนตามข้อต่อสู้ของจำเลยที่ว่า อีเมลตาม เอกสารหมาย จ.1 ไม่ได้หมายถึงผู้เสียหาย และไม่ได้สอบสวนว่า ข้อมูลที่จำเลยอ้างเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเท็จนั้นมีความจริง ประการใดนั้น เห็นว่า ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131 ถึงมาตรา 134 การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของ พนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนิน คดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียก บุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่พันตำรวจโทไชยาจิตต์ จันทะเสน พนักงานสอบสวนสอบปากคำ และรวบรวมพยานหลักฐานแล้วมีความเห็นควรสั่งฟ้องจำเลยในข้อหา ตามที่แจ้งข้อกล่าวหาเนื่องจากผู้เสียหายยืนยันว่าบุคคลที่ระบุไว้ ในอีเมล์เข้าใจได้ว่าเป็นผู้เสียหายดังคำเบิกความของพันตำรวจโท ชยาจิตต์ โดยไม่ได้สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีกดังที่จำเลย ฎีกา จึงเป็นดุลพินิจของพันตำรวจโทไชยาจิตต์พนักงานสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว ฎีกาของจำเลยข้อนี้ ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน ” พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลให้เป็นพับ - (นุจรินทร์ จันทร์พรายศรี – สมยศ เข็มทอง – ปกรณ์ มหรรณพ) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547-ขโมยข้อมูลที่ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547-ขโมยข้อมูลที่ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์กันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547 ส่งเสริมตุลาการ คู่กรณี โจทก์ พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด โจทก์ร่วม บริษัทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จำเลย นายดนู พันธ์ทองหรือพันธ์ทอง กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335 ลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ - ข้อมูลย่อ ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า “ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่า เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ” ส่วนข้อเท็จจริง หมายความว่า “ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์ ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง” ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร ภาพแผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจาก แผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา137 บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่ เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา1 มาตรา 188, 335, 357, 91 คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารแก่ผู้เสียหาย จำเลยให้การปฏิเสธ ระหว่างพิจารณา บริษัทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้เสียหาย ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารให้โจทก์ร่วม โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ร่วมฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังได้ ในเบื้องต้นว่า จำเลยเป็นพนักงานแผนกต่างประเทศของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เตรียม เอกสารคำขอใบอนุญาตติดต่อหน่วยราชการ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าต่างประเทศ ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยนำเอกสาร จำนวนประมาณ 400 แผ่น ตามเอกสารหมาย จ.3 จากสำนักงานโจทก์ร่วมไปไว้ที่บ้านจำเลยเพื่อทำงานให้แก่ โจทก์ร่วม กับนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ของ โจทก์ร่วมจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม จำนวนรวม 41 แผ่น มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด ตามฟ้องหรือไม่ สำหรับความผิดฐานเอาไปเสียซึงเอกสารในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่นนั้น โจทก์ร่วมฎีกาว่า โจทก์ร่วมมีระเบียบห้ามนำ เอกสารออกนอกที่ทำการ แม้จะไม่ถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาดตามระเบียบนั้น แต่มิได้ หมายความว่า เมื่อพนักงานนำงานออกจากที่ทำการของโจทก์ร่วมไปทำต่อที่บ้านแล้ว พนักงานไม่จำต้องนำเอกสารทีเหลือหรือมิได้ใช้งานแล้วมาคืนโจทก์ร่วม การที่จำเลย ทำงานเสร็จแล้วกลับไม่นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาคืนเพื่อส่งคืนลูกค้า เป็นการทำให้ โจทก์ร่วมเสียหายแล้ว เพราะเอกสารส่วนหนึ่งเป็นความลับของลูกค้า เห็นว่า ตามคำเบิก ความของนางจิตติมา โสตถิพันธุ์พนักงานโจทก์ร่วม ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ ได้ความว่า เอกสารหมาย จ.3 ซึ่งลูกค้าส่งมาให้โจทก์ร่วมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูล เกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไรขาดทุน และ สำเนาหนังสือเดินทาง เอกสารดังกล่าวจึงล้วนเป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอ ตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จึงไม่ถือเป็น ความลับของบริษัทลกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด ดังนั้น การที่จำเลยใช้เอกสาร ดังกล่าวปฏิบัติในหน้าทีให้แก่โจทก์ร่วมเสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วมจึงไม่น่า จะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลย จึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมต่อไปว่า การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูล เปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม เป็น ความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ โจทก์ร่วมฎีกาว่า ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ ร่วมมีรูปร่างเป็นตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสาร จึงเป็นทรัพย์ตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การที่จำเลยเอาข้อมูลของโจทก์ร่วมดังกล่าวไป จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เห็นว่า ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า "ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน หาความจริงหรือการคำนวณ" ส่วนข้อเท็จจริงหมายความว่า "ข้อความแห่งเหตุการณ์ ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง" ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษรภาพ แผนผัง และตราสาร เป็นเพียงสัญลักษณ์ทีถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่าทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่น บันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจาก แผ่นบันทึกข้อมลของโจทก์ร่วม จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง ศาลล่าง ทั้งสองพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมทุกข้อฟังไม่ขึ้น" พิพากษายืน – หมายเหตุ ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า ตาม ป.อ. มาตรา 334 ใช้คำว่า เอาทรัพย์ของผู้อื่น ฯลฯ ไปฯลฯ ตราบใดที่ยังไม่มีบทกฎหมายเฉพาะสำหรับเรื่องกระแส ไฟฟ้า ศาลก็ต้องตีความคำว่า "ทรัพย์" ว่าหมายความถึงกระแสไฟฟ้าด้วยหรือไม่ ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501. ตัดสินว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 หรือ 335 แล้วแต่กรณี และศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2547 ตัดสินยืน ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์1ภาค 7 ในข้อที่ว่า จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์จาก สายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณ ะของผู้เสียหายไปโดย ทุจริต ท่านอาจารย์จิตติ อธิบายต่อไปว่า ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างจับต้องไม่ได้ เช่น สิทธิเรียกร้องลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในการประดิษฐ์หรือสิทธิในชื่อ การค้า ฯลฯ ไม่เป็นสิ่งที่ลักได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่กำลังบันทึกหมายเหตุอยู่นี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลัก ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของโจทก์ร่วม จำพวกที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการแปลเอกสารและ แบบร่างสัญญาภาษาอังกฤษ โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยนำเอาแผ่น บันทึกข้อมูลเปล่าขอ่งจำเลยเองมาคัดลอกข้อมูลดังกล่าวจากแผ่นบันทึกข้อมูล ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม น่าสังเกตว่าคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยลักแผ่นบัน 2 ทึกข้อมูลของโจทก์ร่วมไป ซึ่งแน่นอนว่าตัวแผ่นบันทึกข้อมูลนั้นย่อมเป็นทรัพย์ เป็นวัตถุมีรูปร่าง จับต้องได้ และ ย่อมเป็นสิ่งที่ลักเอาไปได้โดยไม่ต้องสงสัย แต่เมื่อสิ่งที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าลักไปในคดีนี้คือ ข้อมูล จึงมีปัญหาที่ ศาลฎีกาต้องวางหลักการอีกครั้งว่า ข้อมูล เป็นวัตถุมีรูปร่างที่ลักได้หรือไม่ ข้อมูลในคดีนอกจากจะเป็นข้อเท็จจริงแล้วยังมีลักษณะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ อีกด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 254 4 ได้นิยามว่า หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร ซึ่งหากข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของเอกสาร แล้วจำเลยเอาเอกสารเหล่านั้นไปเสีย ก็น่าคิดว่า จะเป็นการลักทรัพย์ที่เป็นเอกสารหรือเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสาร มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งอันสืบเนื่องมาจาก พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545ซึ่งได้นิยามความหมายของ "ความลับทางการค้า"ว่าหมายความว่า ข้อมูล การค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้อง เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวโดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการ เป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสม เพื่อรักษาไว้เป็นความลับ โดยข้อมูลการค้าที่จะเป็นความลับทางการค้านั้น หมายความว่า เป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใด ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดทำไว้ในรูปใด ๆ และ ให้หมายความรวมถึงสูตรรูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย และในมาตรา 6 ได้บัญญัติว่า การละเมิดสิทธิในความลับ ทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้ ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ไต้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทางการค้านั้น อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้ ผู้ละเมิด จะต้องรู้หรือมี เหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติเช่นว่านั้น และการกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็นการูจงใจให้ละเมิด ความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์ การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดด้วย จากบทบัญญัติดังกล่าวดูประหนึ่งว่าหากข้อมูลในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา ฉบับนี้เป็นความลับทางการค้าแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้ ตามกฎหมายอังกฤษ The Theft Act 1968 ศาลอังกฤษยังคงถือว่าความลับ ทางการค้า (Trade secrets or Confidential Information) ไม่สามารถเป็นวัตถุแห่ง การลักเอาไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลอันเป็นความลับนั้นไม่ใช่ทรัพย์สิน (property) ตามความมุ่งหมายของ The Theft Act เหตุผลหนึ่งคงเพราะแม้ความลับทางการค้าจะจัด ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ในประเภททรัพย์สินทางปัญญาแต่เป็นการจัดให้เป็น เช่นนั้นเพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครองทางแพ่งแก่ความลับทางการค้าอันเป็น แนวความคิดในการส่งเสริมและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงเศรษฐกิจและ อุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาเองได้ใช้กฎหมายเฉพาะ (Theft and Larcery Statutes) ในการพิจารณาว่าข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้านั้นสามารถเป็นความผิด ฐานลักทรัพย์ได้ สำหรับประเทศไทยนั้นดังได้กล่าวแล้วว่า พ.ร.บ. ความลับทางการค้า พ.ศ. 2545 มาตรา 6 บัญญัติเป็นทำนองประหนึ่งว่าข้อมูลอันเป็น ความลับทางการค้า นั้นสามารถเป็นวัตถุแห่งการลักทรัพย์ได้ ในขณะที่ศาลฎีกาเองโดยคำพิพากษา ศาลฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานะของข้อมูลว่าเป็น ความลับทางการค้าหรือไม่ จึงยังไม่อาจคาดหมายได้ว่า หากสิ่งที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลย ลักเอาไปเป็นข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้า ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าอย่างไร – อนุชัย สิราริยกุล - (โนรี จันทร์ทร - ทวีวัฒน์ แดงทองดี - จิระ โชติพงศ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556-พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์
คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556-พยานหลักฐานทางอิเล็กทรอนิกส์กันยายน 7, 2020คำพิพากษาฎีกาที่ 8087/2556 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ บริษัทจีอี แคปปิตอล (ประเทศไทย)จำกัด จำเลย นายนพดล มโนรถพานิช - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 กู้ยืม มาตรา 654 กู้ยืม ดอกเบี้ย มาตรา 224 ผิดนัด ดอกเบี้ย พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 - ข้อมูลย่อ จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปใช้เบิกถอนเงินสด ซึ่งการถอนเงินสด จำเลยจะต้องทำดามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการต้องใส่รหัสผ่าน 4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจากบัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลา การผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุจำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง 20,000 บาท ต่อรายการ) และรับเงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินใน แต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลยสมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไข ที่โจทก์กำหนด ถือเป็นธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดย ใช้ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่ง บัญญัติว่าห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทาง กฎหมายของข้อความใดเพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภาย ใต้บังคับบทบัญญัติแห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใด ต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้ มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำ กลับมาใช้ได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำ เป็นหนังสือมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา 9 บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถ ระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อ รับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน เมื่อโจทก์มีใบ บันทึกรายการกดเงินสดมาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ อันเป็น หลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกดเงินสดไปถอนเงินและใส่รหัส ส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลย ประสงค์ และกดยืนยันทำรายการพร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำ ดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงินจากโจทก์ ทั้งจำเลยขอขยาย ระยะเวลาผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ ซึ่งมี ข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้ โดย จำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการ กู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง จำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ0.65 ต่อเดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ(Effectiverate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี และคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อ เดือนหรือคิดเป็นดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว ไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ อธิการและเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ สำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน ฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป และฉบับลงวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ขณะที่จำเลยรับบัตรกดเงินสดเป็นเวลา หลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบ ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่ กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ย ค่าปรับค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่าย ตามที่ได้จ่ายไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัตราดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศ ไทยประกาศกำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อม ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ตามที่ตกลงกันไว้ ตามใบแจ้งยอดบัญชีจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำ วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่ ชำระ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก และโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอก เบี้ย 5,733.67 บาท ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมด่าง ๆ 269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องรับผิด แก่ โจทก์ เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้ วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใดตามสัญญาจากจำเลยอีก คงมี สิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดซึ่งต่อปี แต่ถ้า เจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบ ด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ยต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียก ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่ง ประเทศไทย เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการ ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ ที่มิใช่สถาบันการเงิน ที่ให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่ กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิด ดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี โจทก์จึงมีสิทธิคิด ดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2546 จำเลยทำสัญญากู้ ยืมเงินสินเชื่อเงินสดควิกแคชจากโจทก์ ซึ่งอนุมัติเงินกู้ให้130,000บาท คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ3 ต่อเดือน (คิดเฉพาะเดือนแรก) ค่าธรรมเนียม การใช้วงเงินอัตราร้อยละ 1.35 ต่อเดือน และค่าธรรมเนียมจัดการ เงินกู้ร้อยละ 0.5 ของยอดเงินกู้แต่ไม่ต่ำกว่า 1,500 บาท แบ่งชำระ เป็นงวดรายเดือนจำเลยชำระหนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วต่อมา วันที่23 พฤศจิกายน2548โจทก์ส่งบัตรกดเงินสดควิกแคชหมายเลข 1288 4003 5237 9005 ให้แก่จำเลยพร้อมรหัสประจำตัวเพื่อให้ ถอนเงินสดจากเครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ (ตู้เอทีเอ็ม) ของธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้ เบิกถอนเงินสดรวม 4 ครั้ง คือ เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2549 จำนวนเงิน 200,004 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 1,093 บาท วันที่ 2 พฤศจิกายน 2549 จำนวนเงิน 17,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ429บาทวันที่22พฤศจิกายน2549จำนวนเงิน10,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 547 บาท และวันที่ 21 ธันวาคม 2549 จำนวนเงิน 121,000 บาท แบ่งชำระ 24 งวด งวดละ 656 บาท หลังจากนั้นวันที่ 25 ธันวาคม 2549 จำเลยขอขยายระยะเวลา ผ่อนชำระหนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11 รายการดังนี้ยอดสินเชื่อ 23,486.09บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ 983 บาท ยอดสินเชื่อ 13,359.71 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 555บาท ยอดสินเชื่อ 14,102.30 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ 586 บาท ยอดสินเชื่อ 11,653.34บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 484บาท ยอดสินเชื่อ 16,968.78บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 707บาท ยอดสินเชื่อ 13,588.11 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 566 บาท ยอดสินเชื่อ 19,299.36 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 802 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวด งวดละ 796 บาท ยอดสินเชื่อ 19,148.32 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ 796 บาทยอดสินเชื่อ20,000 บาทขอผ่อนชำระ36งวดงวดละ831 บาท และยอดสินเชื่อ 20,000 บาท ขอผ่อนชำระ36 งวดงวดละ827 บาท รวมผ่อนชำระ 11 รายการ งวดละ 7,933 บาท และเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 จำเลยใช้บัตรกดเงินสดถอนเงิน 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816 บาท วันที่ 7 มีนาคม 2550 จำเลยถอนเงิน 20,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 36 งวด งวดละ 816 บาทวันที่3เมษายน2550จำเลยถอนเงิน 6,000บาท ตกลงผ่อนชำระ 18งวดงวดละ411 บาทและวันที่23 เมษายน2550 จำเลยถอนเงิน 6,000 บาท ตกลงผ่อนชำระ 18 งวด งวดละ 343 บาท จำเลยได้รับ เงินไปครบถ้วนแล้ว แต่จำเลยชำระหนี้ให้แก่โจทก์เพียงบางส่วน โจทก์ นำไปหักทอนบัญชีปรากฏว่า ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2550 จำเลย เป็นหนี้โจทก์คิดเป็นต้นเงิน249,337.76 บาทดอกเบี้ย23,089.42 บาท และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 23,758.44 บาท รวมเป็นเงิน 296,185.62 บาท โจทก์ทวงถามแล้วแต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับ จำเลยชำระเงิน318,933.42บาทพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ15ต่อปี ของต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะ ชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า การกู้ยืมเงินของจำเลยโดยการเบิกเงินกู้จาก เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติไม่มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่าง ใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์คิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินของแต่ละสัญญาเกิน กว่าร้อยละ 28 ต่อปี จึงเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดย่อมตกเป็น โมฆะและโจทก์ไม่มีสิทธินำเงินที่จำเลยชำระแล้วไปหักดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่โจทก์ไม่มีสิทธิคิดได้ จึงต้องนำไปหักชำระ ต้นเงิน คิดหักแล้วจำเลยค้างชำระไม่เกิน 106,221.72 บาท โจทก์ โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยไม่เกินอัตราร้อยละ7.5ต่อปีขอให้ยกฟ้อง ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องกับให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน จำเลย โดยกำหนดค่าทนายความ 10,000 บาท โจทก์ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ 261,024.12 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี ของ ต้นเงิน 249,337.76 บาท นับถัดจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ กับให้จำเลยให้ค่าฤชาธรรมเนียมใน ศาลชั้นต้นแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 5,000 บาท ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ จำเลย ฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยวา “พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังยุติ ว่า จำเลยเคยกู้ยืมเงินโดยเป็นสมาชิกบริการสินเชื่อ “สินเชื่อเงินสดควิก แคช” ของโจทก์ ต่อมาโจทก์ส่งบัตรสมาชิก (บัตรกดเงินสด ควิกแคช) พร้อมทั้งคู่มือการใช้งานให้แก่จำเลยเพื่อประกอบการเบิกถอนเงินสดจาก เครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) ในวงเงินสินเชื่อที่โจทก์อนุมัติและ เมื่อจำเลยได้รับบัตรสมาชิกพร้อมเลขรหัสประจำตัวแล้วได้ติดต่อมายัง โจทก์เพื่อขอเปิดใช้บริการบัตรดังกล่าว จำเลยตกลงให้บริการตามคู่มือ เอกสารหมาย จ.6 มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยประการแรก ว่า การเบิกเงินสดจากเครื่องเบิกถอนเงินอัตโนมัติของจำเลยเป็นการกู้ ยืมที่ไม่มีหลักฐานการกู้ยืมอันจะทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องหรือไม่ เห็น ว่า เมื่อจำเลยนำบัตรกดเงินสดดังกล่าวไปใช้เบิกถอนเงินสดรวม 8 ครั้ง ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 ซึ่งการถอนเงิน สดดังกล่าวจำเลยจะต้องทำตามขั้นตอนที่ระบุในคู่มือการใช้บริการ เอกสารหมาย จ.6 ต้องใส่รหัสผ่าน 4 หลัก เลือกรายการถอนเงินจาก บัญชีสินเชื่อเงินสด เลือกระยะเวลาการผ่อนชำระ 6 ถึง 36 เดือน ระบุ จำนวนเงินที่ต้องการ (5,000 ถึง 20,000 บาท ต่อรายการ) และรับ เงินสดพร้อมสลิปไว้เป็นหลักฐาน ซึ่งในสลิปจะปรากฏอัตราดอกเบี้ย และค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินในแต่ละครั้งอยู่ด้วย แสดงว่าจำเลย สมัครใจกู้ยืมเงินจากโจทก์ตามเงื่อนไขที่โจทก์กำหนด กรณีดังกล่าวถือ เป็นธุรกรรมในทาง แพ่ง และพาณิชย์ที่ดำ เน้นการโดยใช้ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์พ.ศ. 2544 มาตรา 4 มีผลใช้บังคับตามมาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ห้ามมิให้ ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมายของข้อความใด เพียงเพราะเหตุที่ข้อความนั้นอยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติ แห่งมาตรา 9 ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความ ขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้โดย ความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มี หลักฐานเป็นหนังสือหรือมีเอกสารมาแสดงแล้ว และมาตรา 9บัญญัติว่า ในกรณีที่บุคคลพึงลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้า (1) ใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของ ลายมือชื่อ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความใน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นว่าเป็นของตน... เมื่อโจทก์มีเอกสารหมายจ.7ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15 มาแสดงประกอบใบคู่มือการใช้บริการ เอกสารหมาย จ.6 อันเป็นหลักฐานที่รับฟังได้ตามพระราชบัญญัติว่า ด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 การที่จำเลยนำบัตรกด เงินสดควิกแคชไปถอนเงินและใส่รหัสส่วนตัวเสมือนลงลายมือชื่อตนเอง ทำรายการถอนเงินตามที่จำเลยประสงค์ และกดยืนยันทำรายการ พร้อมรับเงินสดและสลิป การกระทำดังกล่าวจึงถือเป็นหลักฐานการกู้ ยืมเงินจากโจทก์ ประกอบทั้งจำเลยมีการขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระ หนี้สินเชื่อเงินสดควิกแคชที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ รวม 11 รายการ โจทก์มีเอกสารหมาย จ.11 ซึ่งมีข้อความชัดว่าจำเลยรับว่าเป็นหนี้ โจทก์ขอขยายเวลาชำระหนี้โดยจำเลยลงลายมือชื่อท้ายเอกสารมาแสดง จึงรับฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมได้อีกโสดหนึ่ง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ปัญหาต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำเลยต่อไปมีว่าจำเลยต้องรับผิด เพียงใด โดยจำเลยฎีกาว่า ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินที่กำหนดไว้ใน สัญญาที่แท้จริงแล้วคือดอกเบี้ย เมื่อรวมดอกเบี้ยที่โจทก์คิดจากจำเลย อีกต่างหากแล้ว จึงเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ต้องห้ามตาม พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ข้อตกลงเรื่องดังกล่าวจึงตกเป็นโมฆะนั้น เห็นว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์ และรับเงินไปแล้ว 8 ครั้ง ตามเอกสารหมาย จ.7 ถึง จ.10 และ จ.12 ถึง จ.15และสินเชื่อที่ขอขยายระยะเวลาผ่อนชำระตามเอกสารหมายจ.11 โดยโจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือน หรือคิดเป็นดอกเบี้ย แบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี และคิด ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินอัตราร้อยละ 0.65 ต่อเดือนหรือคิดเป็น ดอกเบี้ยแบบปกติ (Effective rate) เท่ากับอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี รวมกับค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ แล้ว จึงไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) จึงมีผลใช้บังคับระหว่างกันได้ ตามประกาศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและ เงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับสำหรับ ผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินฉบับลงวันที่ 20 มิถุนายน 2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นต้นไป และฉบับละ วันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 เป็นต้นไป ดังนั้น ขณะที่จำเลยได้รับบัตรกดเงินสดเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นเวลาหลังจากที่หลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้น มีผลใช้บังคับแล้ว จึงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วน บุคคลอาจเรียกเก็บดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) โดยอัตรารวมสูงสุดของดอกเบี้ยค่าปรับค่าบริการ และค่าธรรมเนียมใด ๆ ดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28 ต่อปี (Effective rate) และผู้ประกอบธุรกิจอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ได้จ่าย ไปจริงและพอสมควรแก่เหตุนอกเหนือไปจากดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ต่าง ๆ ได้อีกด้วย เมื่อคำนวณแล้วอัดราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ที่โจทก์เรียกเก็บไม่เกินกว่าอัตราทีธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ กำหนด โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยและ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้ ตามที่ตกลงกันไว้ ปรากฏตามใบแจ้งยอดบัญชี เอกสารหมาย จ.16 ว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้รอบบัญชีประจำวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ที่โจทก์กำหนดให้ชำระทันที แต่จำเลยไม่ชำระ หลังจากนั้นจำเลยไม่ได้ถอนเงินหรือนำเงินชำระหนี้แก่โจทก์อีก และ โจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยใช้บัตรเบิกถอนเงินต่อไป แสดงให้เห็นว่า คู่สัญญาต่างตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยายจึงถือว่าสัญญาเป็นอันเลิก กันในวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ในวันดังกล่าวจำเลยค้างชำระ เป็นต้นเงิน 249,337.76 บาท ดอกเบี้ย 5,733.67 บาท ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 5,683.67 บาท และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ 269.02 บาท รวมเป็นเงิน 261,024.12 บาท จำเลยจึงต้องชำระ เงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ ส่วนที่โจทก์ขอคิดค่าปรับและค่าธรรมเนียม อื่น ๆ ภายหลังจากวันดังกล่าวนั้น เห็นว่า เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว โจทก์ ไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน ค่าปรับ และค่าธรรมเนียมอื่นใด ตามสัญญาจากจำเลยอีก โจทก์คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ให้คิดดอกเบี้ยใน ระหว่างผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี แต่ถ้าเจ้าหนี้อาจจะเรียกดอกเบี้ยได้ สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นอันชอบด้วยกฎหมาย ให้คงส่งดอกเบี้ย ต่อไปตามนั้น แม้โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งเป็น ไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การ กำกับสำหรับผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงินที่ให้โจทก์เรียก ดอกเบี้ยได้ไม่เกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ (ร้อยละ 15 ต่อปี) แต่ ก่อนสัญญาเลิกกันโจทก์คิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี เท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินค้างชำระจำนวน 244,337.76 บาท ได้ในอัตราร้อยละ 13.82 ต่อปี นับถัดจากวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 เป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะชำระหนี้แก่โจทก์ เสร็จสิ้น ส่วนคำพิพากษาศาลฎีกาที่อ้างมานั้นข้อเท็จจริงไม่ตรงกับ ข้อเท็จจริงในคดีนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของจำเลยทุกข้อฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นฎีกาให้เป็นพับ - (เฉลิมชัย ตันตยานนท์ – พิศล พิรุณ – พิสิฐ ฐิติภัค) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาฎีกาที่ 2795/2560-ผลของบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ 2795/2560-ผลของบรรยายฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกันยายน 7, 2020คำพิพากษาฎีกาที่ 2795/2560 ส่งเสริมตุลาการ คู่กรณี โจทก์ บริษัทเอดูวัง จำกัด จำเลย นายชาติชัย อุดมกิจมงคล กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) บรรยายฟ้อง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) (2), มาตรา 31 (1) (2), มาตรา 69 วรรคสอง, มาตรา 70 วรรคสอง - ข้อมูลย่อ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ (2) คือ ร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อ การค้า และความตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) คือ ร่วมขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือ เผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อ หากำไรในทางการค้า โดยจำเลยทั้งสามรู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใด ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น องค์ประกอบของความผิดที่สำคัญ ของทั้งสองมาตราดังกล่าวต้องเป็นการกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ซึ่งต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้งครอง โดยได้มา ตามเงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย เพราะลิขสิทธิ์เป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองภายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากพ้นกำหนดอายุแห่งการคุ้มครองแล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์จะตกเป็นงาน ที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์จากงานนั้นได้โดยไม่เป็นความผิด งานอันมีลิขสิทธิ์จึงต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จะรู้ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ใดยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ ต้องปรากฏว่าขณะเกิดเหตุยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การกล่าวถึง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาและอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงเป็น องค์ประกอบของความผิดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง มิใช่เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย และไม่อาจจะนำเอาข้อสันนิษฐานต่างๆ มาใช้ได้หรืออนุมานเอาเองว่างานของโจทก์ยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครอง ของลิขสิทธิ์ ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าบริษัท อ. ได้ลิขสิทธิ์โดยการ สร้างสรรค์งานขึ้นเองหรือบุคคลใดเป็นผู้สร้างสรรค์ และมีการสร้างสรรค์ งานขึ้นเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน ได้มีการ โฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด ทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าในขณะเกิดเหตุคดีนี้งาน ตามฟ้องยังคงอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ ใช้สิทธิจากบริษัท อ. หรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิด ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 96 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ (2) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) อันเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้ง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15, 27, 30, 31, 69, 70 และ 76 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83 และ 91 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยว่า เมื่อโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าบริษัทเอดูวัง จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคลได้ลิขสิทธิ์ใน การสร้างสรรค์งานดังกล่าวเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณา งานบริษัทได้มีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด จึงไม่มีข้อเท็จจริงในส่วนที่แสดง ให้เห็นว่าลิขสิทธิ์ดังกล่าวอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 หรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่บรรยายการ กระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยทั้งสามกระทำผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 27 (1) (2) และมาตรา 31 (1) (2) ไม่ครบถ้วน ไม่ชอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า ฟ้องโจทก์ชอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดี ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) หรือไม่ โจทก์บรรยาย ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2550 โจทก์ซื้อลิขสิทธิ์เกี่ยวกับหลักสูตรและ แบบเรียนอันเป็นงานวรรณกรรมจากบริษัทเอดูวัง จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ การซื้อขายลิขสิทธิ์ดังกล่าวเจ้าของลิขสิทธิ์ได้ทำสัญญาอนุญาตให้โจทก์ใช้สิทธิ เด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่มีสิทธิที่จะใช้งาน หรือใช้สิทธิในลิขสิทธิ์ของตนอีกในประเทศไทย โจทก์จึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ใน งานวรรณกรรมตามฟ้อง เมื่อระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม 2558 จนถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 จำเลยทั้งสามละเมิดลิขสิทธิ์ของโจทก์ และขอให้ลงโทษ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 15, 27, 30, 31, 69, 70 และ 76 เห็นว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ แต่สำหรับ เจ้าของลิขสิทธิ์ขึ้นเองหรือบุคคลใดเป็นผู้สร้างสรรค์ และมีการสร้างสรรค์งานขึ้นเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด โจทก์มิได้บรรยายฟ้อง เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้อง ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามในความผิดตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ (2) คือ ร่วมกันทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์เพื่อการค้า และความตาม พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) คือ ร่วมขาย มีไว้เพื่อขาย เสนอขาย หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ ได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อหากำไรในทางการค้า โดยจำเลยทั้งสาม รู้อยู่แล้วหรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น องค์ประกอบ ของความผิดที่สำคัญของทั้งสองมาตราดังกล่าวต้องเป็นการกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ ของผู้อื่นซึ่งต้องเป็นงานสร้างสรรค์ที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้งครอง โดยได้มาตาม เงื่อนไขของกฎหมาย และต้องอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ด้วย เพราะลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิที่ได้รับความคุ้มครองภายในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น หลังจากพ้นกำหนดอายุ แห่งการคุ้มครองแล้ว งานอันมีลิขสิทธิ์จะตกเป็นงานที่สาธารณชนสามารถใช้ประโยชน์ จากงานนั้นได้โดยไม่เป็นความผิด งานอันมีลิขสิทธิ์จึงต้องอยู่ในอายุแห่งการ คุ้มครองลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จะรู้ว่างานอันมีลิขสิทธิ์ใดยังอยู่ในอายุแห่งการ คุ้มครองลิขสิทธิ์หรือไม่ต้องปรากฏว่าขณะเกิดเหตุยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ การกล่าวถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการได้มาและอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์จึงเป็น องค์ประกอบของความผิดที่เป็นสาระสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายมาในฟ้อง มิใช่ เป็นเพียงรายละเอียดเล็กน้อย และไม่อาจจะนำเอาข้อสันนิษฐานต่างๆ มาใช้ได้ หรืออนุมานเอาเองว่างานของโจทก์ยังอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองของลิขสิทธิ์ เมื่อฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายให้ปรากฏว่าบริษัทเอดูวัง จำกัด ได้ลิขสิทธิ์โดยการ สร้างสรรค์งานขึ้นเองหรือบุคคลใดเป็นผู้สร้างสรรค์ และมีการสร้างสรรค์ งานขึ้นเมื่อใด หรือมีการโฆษณางานหรือไม่ หากมีการโฆษณางาน ได้มีการ โฆษณางานครั้งแรกเมื่อใด ทำให้ไม่อาจทราบได้ว่าในขณะเกิดเหตุคดีนี้งานตาม ฟ้องยังคงอยู่ในอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิจาก บริษัทเอดูวัง จำกัด หรือไม่ จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิดฐาน ละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 69 วรรคสอง ประกอบมาตรา 27 (1) และ (2) และมาตรา 70 วรรคสอง ประกอบมาตรา 31 (1) และ (2) อันเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (5) ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของโจทก์ฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน - (ภัทรศักดิ์ วรรณแสง - ปริญญา ดีผดุง - โสภณ บางยี่ขัน) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2560-ขาดอายุความสิทธิเรียกร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2560-ขาดอายุความสิทธิเรียกร้องกันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3863/2560 ส่งเสริมตุลาการ คู่กรณี โจทก์ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟง เถียน จำเลย บริษัทที.เอส. ไลน์ จำกัด หรือสายการเดินเรือที.เอส ไลน์ - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 40, มาตรา 46 - ข้อมูลย่อ จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อการที่สินค้าที่ขนส่งเสียหาย โดยเหตุแห่งการเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ในความดูแลของ จำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้รับผิดจะต้องฟ้อง บังคับตามสิทธิเรียกร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งมอบสินค้า ตาม พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 ตามใบตราส่งเป็นการขนส่งภายใต้ข้อตกลงการรับและส่งมอบสินค้า แบบ " FCL/FCL" ซึ่งหมายถึงที่ต้นทางผู้ตราส่งเป็นผู้นำตู้สินค้าที่ได้รับจาก ผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้ ปิดผนึกตู้ แล้วส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง และที่ ปลายทางผู้รับตราส่งจะรับมอบตู้สินค้าเพื่อขนถ่ายสินค้าออกจากตู้สินค้าเอง นอกจากนี้ตามใบตราส่งดังกล่าวยังระบุสถานที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ (Place of Discharge) และสถานที่ส่งมอบสินค้า (Place of Delivery) ว่า เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong) ที่เดียวกัน ส่วนในช่องสถานที่ปลายทาง (Final Destination) ไม่มีการระบุไว้ ดังนั้น หน้าที่ขนส่งสินค้าตามสัญญา รับขนของทางทะเลของจำเลยที่ทำกับโจทก์จึงถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อจำเลย ได้ส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ซึ่งจำเลยก็ได้ส่งมอบ ตู้สินค้าดังกล่าวที่ท่าเรือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2555 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบของที่ขนส่งแล้วตามมาตรา 40 (3) ทั้งนี้ แม้จะมีการระบุในใบตราส่งด้วยว่า " in transit to Shenzhen, People's Republic of China" ซึ่งอาจเข้าใจว่าสินค้าจะได้รับการขนส่งต่อไปยังเมือง เชินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ไม่ปรากฏว่าการขนส่งต่อไป ดังกล่าวเป็นหน้าที่ของจำเลย แม้ผู้ร้องรับตราส่งซึ่งอยู่ที่เมืองเชินเจิ้นได้รับตู้สินค้า เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับตราส่งในวันที่ 27 เมษายน 2555 ตามมาตรา 40 (1) อายุความ แห่งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้จึงครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 14 เมษายน 2556 เมื่อโจทก์ฟ้องในวันที่ 29 เมษายน 2556 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้อง ของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 43,674.93 ดอลลาร์สหรัฐ พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน 40,612.32 ดอลลาร์สหรัฐ นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยไม่โต้แย้งกันในชั้นอุทธรณ์รับฟังได้ในเบื้องต้นว่า โจทก์ขายสินค้าทุเรียนสดจำนวน 948 กล่อง ให้แก่บริษัทเชินเจิ้น แดร์-สโตน อินดัสเทรียล จำกัด ผู้ซื้อซึ่งตั้งอยู่ที่เมืองเชินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน โจทก์ว่าจ้างจำเลยให้ขนส่งสินค้าจากท่าเรือแหลมฉบังไปส่งมอบแก่ผู้ซื้อ สินค้า ได้รับการบรรจุในตู้สินค้าชนิดที่มีเครื่องปรับอากาศ หมายเลข "TRIU8387497" ที่ จำเลยเป็นผู้จัดหาด้วยข้อตกลงการรับมอบและส่งมอบตู้สินค้าที่ต้นทางและ ปลายทางแบบ "FCL/FCL" จำเลยได้รับมอบตู้สินค้าไว้เพื่อการขนส่งและออกใบตราส่ง เป็นหลักฐาน ตู้สินค้าถูกบรรทุกลงเรือทีเอส แหลมฉบัง จำเลยได้ส่งมอบตู้สินค้า ดังกล่าวที่ท่าเรือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2555 ผู้ซื้อซึ่งอยู่ ที่เมืองเชินเจิ้นและเป็นผู้รับตราส่งได้รับตู้สินค้าเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 แต่เมื่อผู้รับตราส่งเปิดตู้สินค้าพบว่าสินค้าทุเรียนสดเน่าเสียหายทั้งหมด คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่า สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้อง ของโจทก์ขาดอายุความ 1 ปี ตามพระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 หรือไม่ โดยโจทก์อุทธรณ์ว่า จำเลยมีหน้าที่ต้องส่งมอบสินค้าให้แก่ ผู้รับตราส่งที่ปลายทางเมืองเชินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน อายุความ เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2555 อันเป็นวันที่ผู้รับตราส่งได้รับสินค้าและ ครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 27 เมษายน 2556 ตามพระราชบัญญัติการรับขนของ ทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 ประกอบมาตรา 40 (1) แต่วันที่ 27 เมษายน 2556 ตรงกับวันเสาร์อันเป็นวันหยุดทำการงาน โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 27 เมษายน 2556 อันเป็นวันเปิดทำงานวันแรก สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงยัง ไม่ขาดอายุความ เห็นว่า พระราชบัญญัติการรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 มาตรา 46 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 47 และมาตรา 48 สิทธิเรียกร้องเอา ค่าเสียหายเพื่อการสูญหาย เสียหาย หรือส่งมอบชักช้าแห่งของที่รับขนตาม สัญญารับขนของทางทะเล ถ้าไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลหรือเสนอข้อพิพาทให้ อนุญาโตตุลาการชี้ขาดภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ขนส่งได้ส่งมอบของ หรือถ้าไม่มี การส่งมอบนับแต่วันที่ล่วงเลยกำหนดส่งมอบตามมาตรา 41 (1) หรือนับแต่วันที่ ล่วงเลยกำหนดเวลาอันสมควรตามมาตรา 41 (2) ให้เป็นอันขาดอายุความ" ดังนั้น เมื่อมีกรณีที่จำเลยในฐานะผู้ขนส่งจะต้องรับผิดต่อการที่สินค้าที่ขนส่ง เสียหายโดยโจทก์กล่าวอ้างว่า เหตุแห่งการเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้าอยู่ใน ความดูแลของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อจำเลยเพื่อให้รับผิดจะต้อง ฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่จำเลยได้ส่งมอบสินค้า ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏตามใบตราส่งเป็นการขนส่งภายใต้ข้อตกลงการรับและส่งมอบ สินค้าแบบ " FCL/FCL" ซึ่งหมายถึงที่ต้นทางผู้ตราส่งเป็นผู้นำตู้สินค้าที่ได้รับจาก ผู้ขนส่งไปบรรจุสินค้าเข้าตู้ ปิดผนึกตู้ แล้วส่งมอบตู้สินค้าแก่ผู้ขนส่ง และที่ ปลายทางผู้รับตราส่งจะรับมอบตู้สินค้าเพื่อขนถ่ายสินค้าออกจากตู้สินค้าเอง นอกจากนี้ตามใบตราส่งดังกล่าวยังระบุสถานที่ขนถ่ายสินค้าขึ้นจากเรือ (Place of Discharge) และสถานที่ส่งมอบสินค้า (Place of Delivery) ว่า เขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง (Hong Kong) ที่เดียวกัน ส่วนในช่องสถานที่ปลายทาง (Final Destination) ไม่มีการระบุไว้ ดังนั้น หน้าที่ขนส่งสินค้าตามสัญญารับขนของทางทะเลของจำเลย ที่ทำกับโจทก์จึงถือว่าสิ้นสุดลงเมื่อจำเลยได้ส่งมอบสินค้าที่ท่าเรือเขตบริหารพิเศษ ฮ่องกง ซึ่งจำเลยก็ได้ส่งมอบตู้สินค้าดังกล่าวที่ท่าเรือเขตบริหารพิเศษฮ่องกงตั้งแต่ วันที่ 14 เมษายน 2555 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบของที่ขนส่งแล้วตาม มาตรา 40 (3) ทั้งนี้ แม้จะมีการระบุในใบตราส่งด้วยว่า " in transit to Shenzhen, People's Republic of China" ซึ่งอาจเข้าใจว่าสินค้าจะได้รับการขนส่งต่อไปยัง เมืองเซินเจิ้น ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของ โจทก์ไม่ปรากฏว่าการขนส่งต่อไปดังกล่าวเป็นหน้าที่ของจำเลย เหตุนี้แม้โจทก์ จะนำสืบว่า ผู้รับตราส่งซึ่งอยู่ที่เมืองเชินเจิ้นได้รับตู้สินค้าเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2555 ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับตราส่งในวันที่ 27 เมษายน 2555 ตามมาตรา 40 (1) ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องใน คดีนี้จึงครบกำหนด 1 ปี ในวันที่ 14 เมษายน 2556 เมื่อโจทก์ฟ้องในวันที่ 29 เมษายน 2556 สิทธิเรียกร้องตามคำฟ้องของโจทก์จึงขาดอายุความแล้ว ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษามานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น อุทธรณ์ข้ออื่น ๆ ของโจทก์ไม่จำต้องวินิจฉัย อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลง พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ - (สุวัฒน์ วรรธนะหทัย - นวลน้อย ผลทวี - ไมตรี สุเทพากุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2559-ค่าเสียหายในกรณีละเมิดเครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2559-ค่าเสียหายในกรณีละเมิดเครื่องหมายการค้ากันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1970/2559 ส่งเสริมตุลาการ คู่กรณี โจทก์ บริษัท ป. เคมีเทค จำกัด จำเลย นายอภิเชฐ ทุ่งอ่วน - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและ วิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 - ข้อมูลย่อ เครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยภาพประดิษฐ์รูปสุนัขยืน และคำว่า "หมาแดง" ที่ด้านล่างของรูปสุนัข ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีทั้งที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปสุนัขนั่งและมีคำว่า "ตราสุนัข" หรือ RED DOG" หรือ "หมาแดง ป. เคมีเทค" อยู่ด้านล่าง และที่มีเฉพาะคำว่า "หมาแดง" เครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลยจึงต่างมีภาพประดิษฐ์รูปสุนัขและ คำว่า "หมาแดง" เป็นสาระสำคัญและเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมาย และ เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในส่วนภาพประดิษฐ์รูปสุนัขเห็นได้ว่าภาพประดิษฐ์ รูปสุนัขของโจทก์และจำเลยมีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีหูตั้ง ปากแหลม ขาหน้ายาวเช่นเดียวกัน รูปสุนัขหันหน้าไปในทางเดียวกัน แม้ภาพประดิษฐ์ รูปสุนัขของจำเลยจะเป็นรูปสุนัขยืน ส่วนภาพประดิษฐ์รูปสุนัขของโจทก์ เป็นรูปสุนัขนั่งก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้างของจำเลยมีคำว่า "หมาแดง" และ เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "หมาแดง" "ตราสุนัข" หรือ RED DOG" หรือ "หมาแดง ป. เคมีเทค" ประกอบอยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และ จำเลยจึงอาจเรียกขานได้เช่นเดียวกันว่า ตราสุนัข หรือ ตราหมา หรือ ตราหมาแดง เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 31 รายการสินค้า เมล็ดพันธุ์พืช ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนไว้ เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 1 และที่ 5 รายการสินค้า ยาฆ่าวัชพืช ยากำจัดศัตรูพืช สารกำจัดวัชพืช ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกัน มีลักษณะอย่างเดียวกัน เพราะรายการสินค้ามีลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน โดยเป็นสินค้าที่ใช้ในทางการเกษตรเหมือนกัน กลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นเกษตรกร เช่นเดียวกัน การวางจำหน่ายก็อยู่ในร้านขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเหมือนกัน หากผู้ใช้สินค้าไม่ได้พิจารณาเครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำ เครื่องหมายการค้านั้นมาพิจารณาเปรียบเทียบกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของ เครื่องหมายการค้าในการเลือกสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของ เครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว อาจเกิดความสับสนในการแยกแยะเจ้าของ สินค้าได้ โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ครั้งแรกเมื่อปี 2542 ส่วนจำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยครั้งแรกเมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่โจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว หลายปี ย่อมเป็นไปได้ว่าสาธารณชนรวมทั้งจำเลยรู้จักและคุ้นเคยกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว เมื่อเห็นเครื่องหมายการค้าของจำเลย สาธารณชนอาจนึกถึงเชื่อมโยงไปถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์และสับสน หรือหลงผิดได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเกี่ยวข้องกับโจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ เครื่องหมายการค้าขอโจทก์นั้นได้ จำเลยไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้าของ จำเลยซึ่งคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า การที่จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมาย การค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียนและใช้กับสินค้าของจำเลยที่มีลักษณะ อย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่ายต่อสาธารณชน ย่อมเป็น การละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับพฤติการณ์ที่ว่า จำเลยอยู่ในวงการค้าขายสินค้าประเภทเดียวกับโจทก์ แสดงให้เห็นว่าจำเลย น่าจะรู้ถึงการมีอยู่ของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวของโจทก์ที่มีอยู่ในวงการสินค้าเกี่ยวกับเกษตรกรรมก่อนจำเลย ยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว ทั้งเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนก็คล้าย กับของโจทก์จนยากที่จะเป็นไปโดยบังเอิญ น่าเชื่อว่าจำเลยเลียนและดัดแปลง เครื่องหมายการค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนมาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การขอจดทะเบียนของจำเลยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์จึงเป็นไปโดย ไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้จำเลยก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลย ขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้า ของจำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใด ตามมาตรา 40 ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้านั้นได้ หากแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้น ดีกว่าผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ดังนั้นการร้องขอ หรือฟ้องให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมาย ของจำเลยจึงต้องกระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมาย เมื่อเครื่องหมาย การค้าทะเบียนเลขที่ ค204838 และเลขที่ ค212584 ของจำเลย นายทะเบียน เครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 และ 18 มกราคม 2548 ตามลำดับ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 เกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายของ จำเลยคดีนี้ ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมาย อันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธี พิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) - รายละเอียด โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าเสียหาย 50,000,000 บาท และ ค่าเสียหายวันละ 20,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้ชื่อ และเครื่องหมายการค้า "ตราหมาแดง" แก่โจทก์ กับให้เพิกถอนเครื่องหมายการค้า ทะเบียนเลขที่ ค204838 และเครื่องหมายการค้าเลขที่ ค212584 ของจำเลย หากจำเลยไม่ปฏิบัติตามให้ถือเอาคำพิพากษาของศาลแทนการแสดง เจตนาของจำเลย โดยให้จำเลยเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด ห้ามจำเลยใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า "หมาแดง" ประกอบกับสินค้าและผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของจำเลย และให้จำเลยเก็บวัสดุ สิ่งพิมพ์ ป้ายโฆษณาที่ปรากฏชื่อและเครื่องหมายการค้าดังกล่าว และมิให้มีการ จำหน่ายในท้องตลาดอีกต่อไปภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษา หรือคดีถึงที่สุด จำเลยให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศพิพากษาให้เพิกถอน เครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค204838 และเลขที่ ค212584 ของจำเลย ห้ามจำเลย ใช่ชื่อและเครื่องหมายการค้าโดยมีคำว่า "ตราหมาแดง" ประกอบซื้อสินค้าและผลิตภัณฑ์ใด ๆ ของจำเลย และให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 730,000 บาท คำขอของโจทก์ นอกจากนี้ให้ยก กับให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์ โดยกำหนดค่าทนายความ 20,000 บาท เฉพาะค่าขึ้นศาลให้จำเลยใช้แทนตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ชนะคดี จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงเบื้องต้นรับฟังได้เป็นยุติว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าภาพประดิษฐ์ รูปสุนัขนั่งและมีอักษรบรรยายใต้รูปสุนัขประกอบคำว่า "หมายแดง" หรือ "ตราสุนัข" หรือ "หมายแดง ป.เคมีเทค" หรือ RED DOG" อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับสินค้าจำพวกต่าง ๆ ในประเทศไทยรวม 10 เครื่องหมาย โดยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ จำเลย เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขยืนและมีคำว่า "หมาแดง" ใต้รูปสุนัขดังกล่าว โดยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ตามทะเบียนเลขที่ 204838 ซึ่งนายทะเบียน เครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 และเครื่องหมายการค้ารูปสุนัขยืนและมีคำว่า "หมาแดง" ประกอบฉลากสินค้า โดยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ตามทะเบียนเลขที่ 212584 ซึ่งนายทะเบียน เครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2548 มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อแรกว่า จำเลยละเมิด เครื่องหมายการค้าของโจทก์หรือไม่ ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าทะเบียน เลขที่ ค204838 และ ค 212584 ของจำเลยไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้า ของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้า หรือแหล่งกำเนิดของสินค้านั้น เห็นว่า เมื่อพิจารณาภาพรวมเครื่องหมายการค้าของ จำเลยและโจทก์แล้วปรากฏว่า เครื่องหมายการค้าของจำเลยประกอบด้วยภาพประดิษฐ์ รูปสุนัขยืน และคำว่า "หมาแดง" ที่ด้านล่างของรูปสุนัข ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ มีทั้งที่เป็นภาพประดิษฐ์รูปสุนัขนั่งและมีคำว่า "ตราสุนัข" หรือ RED DOG" หรือ "หมาแดง ป. เคมีเทค" อยู่ด้านล่าง และที่มีเฉพาะคำว่า "หมาแดง" เครื่องหมายการค้า ของทั้งโจทก์และจำเลยจึงต่างมีภาพประดิษฐ์รูปสุนัขและคำว่า "หมาแดง" เป็นสาระสำคัญ และเป็นลักษณะเด่นของเครื่องหมาย และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบในส่วนภาพประดิษฐ์ รูปสุนัขเห็นได้ว่าภาพประดิษฐ์รูปสุนัขของโจทก์และจำเลยมีรูปร่างลักษณะใกล้เคียงกัน โดยมีหูตั้ง ปากแหลม ขาหน้ายาวเช่นเดียวกัน รูปสุนัขหันหน้าไปในทางเดียวกัน แม้ภาพประดิษฐ์รูปสุนัขของจำเลยจะเป็นรูปสุนัขยืน ส่วนภาพประดิษฐ์รูปสุนัข ของโจทก์เป็นรูปสุนัขนั่งก็ตาม แต่เครื่องหมายการค้างของจำเลยมีคำว่า "หมาแดง" และเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีคำว่า "หมาแดง" "ตราสุนัข" หรือ RED DOG" หรือ "หมาแดง ป. เคมีเทค" ประกอบอยู่ด้วย เครื่องหมายการค้าของทั้งโจทก์และจำเลย จึงอาจเรียกขานได้เช่นเดียวกันว่า ตราสุนัข หรือ ตราหมา หรือ ตราหมาแดง เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยจดทะเบียนไว้เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 31 รายการสินค้า เมล็ดพันธุ์พืช ส่วนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จดทะเบียนไว้เพื่อใช้ กับสินค้าจำพวกที่ 1 และที่ 5 รายการสินค้า ยาฆ่าวัชพืช ยากำจัดศัตรูพืช สารกำจัด วัชพืช ปุ๋ยเคมี สารกำจัดศัตรูพืช เป็นต้น จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะ อย่างเดียวกัน เพราะรายการสินค้ามีลักษณะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยเป็นสินค้าที่ใช้ ในทางการเกษตรเหมือนกัน กลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นเกษตรกรเช่นเดียวกัน การวางจำหน่าย ก็อยู่ในร้านขายผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรเหมือนกัน หากผู้ใช้สินค้าไม่ได้พิจารณา เครื่องหมายการค้าโดยละเอียดหรือไม่ได้นำเครื่องหมายการค้านั้นมาพิจารณา เปรียบเทียบกัน หรือใช้แต่เสียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าในการเลือกสินค้า โดยไม่ได้สังเกตลักษณะของเครื่องหมายการค้าโดยตรงแล้ว อาจเกิดความสับสน ในการแยกแยะเจ้าของสินค้าได้ ซึ่งในเรื่องนี้โจทก์มีนายพีระพงษ์ ผู้รับมอบอำนาจ โจทก์เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นว่า โจทก์ได้ลงทุน โฆษณาสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยเป็นผู้สนับสนุนการแข่งขัน กีฬามวยซึ่งมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์ที่ใช้ชื่อว่า มวยรอบยาฆ่าหญ้า ตราหมาแดง ตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบัน ตามภาพถ่ายการจัดมวยรอบยาฆ่าหญ้า ตราหมาแดง ในปี 2546 ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่จำเลยจะนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยไปจดทะเบียน ในปี 2547 โดยในการจัดมวยรอบยาฆ่าหญ้า ตราหมาแดง โจทก์ได้ให้ลูกค้าที่ใช้ ผลิตภัณฑ์ของโจทก์ส่งบัตรชิงโชคเพื่อจับรางวัล โดยในบัตรชิงโชคนั้นลูกค้าของโจทก์ ต้องกรอกรายการในช่องผลิตภัณฑ์ของโจทก์ที่ใช้ ตามตัวอย่างบัตรชิงโชค ซึ่งมีลูกค้า เป็นจำนวนมากที่กรอกเพียงคำว่า หมาแดง ในช่องชื่อผลิตภัณฑ์ที่ใช้ ทั้งยังปรากฏว่า มีลูกค้าบางรายส่งบัตรชิงโชคโดยเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์ของจำเลยเป็นผลิตภัณฑ์ ของโจทก์ โดยระบุในบัตรชิงโชคของโจทก์ว่าผลิตภัณฑ์ที่ใช้คือ เมล็ดข้าวโพด ตราหมาแดง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของจำเลย สอดคล้องกับที่จำเลยรับในอุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าของโจทก์สาธารณชนทั่วไปอาจเรียกขานได้ว่า หมาแดง หรือ ป.เคมีเทค หรือ หมาแดง ป.เคมีเทค เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของโจทก์ครั้งแรกเมื่อปี 2542 ส่วนจำเลยจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าของจำเลยครั้งแรกเมื่อปี 2547 ซึ่งเป็นระยะเวลาหลังจากที่โจทก์ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วหลายปี ย่อมเป็นไปได้ว่าสาธารณชน รวมทั้งจำเลยรู้จักและคุ้นเคยกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้ว เมื่อเห็นเครื่องหมาย การค้าของจำเลย สาธารณชนอาจนึกถึงเชื่อมโยงไปถึงเครื่องหมายการค้าของโจทก์ และสับสนหรือหลงผิดได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยเกี่ยวข้องกับ โจทก์ เครื่องหมายการค้าของจำเลยและของโจทก์จึงเป็นเครื่องหมายการค้าคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือ แหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และ ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาก่อนจำเลย โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้เครื่องหมายการค้า ของโจทก์นั้นได้ จำเลยไม่มีสิทธินำเครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งคล้ายกับ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวไปขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การที่ จำเลยนำเครื่องหมายการค้าที่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไปขอจดทะเบียน และใช้กับสินค้าของจำเลยที่มีลักษณะอย่างเดียวกันกับสินค้าของโจทก์นำออกจำหน่าย ต่อสาธารณชน ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ประกอบกับ พฤติการณ์ที่ว่าจำเลยอยู่ในวงการค้าขายสินค้าประเภทเดียวกับโจทก์ แสดงให้เห็นว่า จำเลยน่าจะรู้ถึงการมีอยู่ของเครื่องหมายการค้าและสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า ดังกล่าวของโจทก์ที่มีอยู่ในวงการสินค้าเกี่ยวกับเกษตรกรรมก่อนจำเลยยื่นคำขอ จดทะเบียนแล้ว ทั้งเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนก็คล้ายกับของโจทก์ จนยากที่จะเป็นไปโดยบังเอิญ น่าเชื่อว่าจำเลยเลียนและดัดแปลงเครื่องหมายการค้า ที่ยื่นขอจดทะเบียนมาจากเครื่องหมายการค้าของโจทก์ การขอจดทะเบียนของจำเลย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากโจทก์จึงเป็นไปโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจะรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่เกิดจากการที่จำเลยขอจดทะเบียนโดยไม่สุจริต โจทก์จึงมีสิทธิขอให้ ห้ามจำเลยใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้ อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อมามีว่า จำเลยต้องรับผิด ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์หรือไม่ เพียงใด เห็นว่า แม้โจทก์จะนำสืบไม่ได้ว่าได้รับ ความเสียหายตามที่เรียกร้องไว้ แต่การที่จำเลยละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้า ของโจทก์โดยอาศัยแอบอิงนำเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งโจทก์ได้ลงทุนโฆษณา ประชาสัมพันธ์เครื่องหมายการค้าของโจทก์โดยใช้งบประมาณจำนวนมากมาใช้ เพื่อผลประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย ย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ซึ่งศาล อาจกำหนดค่าเสียหายให้ได้ตามสมควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด คดีนี้โจทก์เรียกร้องให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 50,000,000 บาท และค่าเสียหาย วันละ 20,000 บาท นับแต่วันถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะเลิกใช้ชื่อ และเครื่องหมายการค้าตราหมาแดง การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้า ระหว่างประเทศกลางกำหนดให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 730,000 บาท จึงนับว่าเหมาะสมแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยข้อต่อมามีว่า กรณีมีเหตุเพิกถอน การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค204838 และ ค212584 ของ จำเลยหรือไม่ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นสมควรวินิจฉัยก่อนว่า โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามทะเบียนเลขที่ ค204838 และ ค212584 ภายในกำหนดระยะเวลา 5 ปี นับแต่ วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 หรือไม่ เห็นว่า พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าใด ตามมาตรา 40 ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้านั้นได้ หากแสดงได้ว่าตนมีสิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นดีกว่า ผู้ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้านั้น ดังนั้นการร้องขอหรือฟ้องให้ศาล เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายของจำเลยจึงต้อง กระทำภายในห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมาย เมื่อเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค204838 และเลขที่ ค212584 ของจำเลย นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้จดทะเบียน เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2547 และ 18 มกราคม 2548 ตามลำดับ โจทก์ฟ้องคดีนี้ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2554 เกินกว่าห้าปีนับแต่วันที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า มีคำสั่งให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายแล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายของจำเลยคดีนี้ ปัญหานี้แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบ เรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 (5) กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ข้ออื่นของจำเลยอีกต่อไปเนื่องจาก ไม่อาจทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่เพิกถอนเครื่องหมายการค้าทะเบียนเลขที่ ค204838 และ ค 212584 ของจำเลย นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลทรัพย์สิน ทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ - (ฉัตรไชย จันทร์พรายศรี - นวลน้อย ผลทวี - อนันต์ วงษ์ประภารัตน์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาฎีกาที่ 2828/2561-ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ-เครื่องหมายการค้า
คำพิพากษาฎีกาที่ 2828/2561-ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ-เครื่องหมายการค้ากันยายน 7, 2020คำพิพากษาฎีกาที่ 2828/2561 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ อัคโซ โนเบล โคทติ้งส์ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. จำเลย กรมทรัพย์สินทางปัญญา กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 มาตรา 16 มาตรา 17 - ข้อมูลย่อ ความหมายของคำว่า “INSPIRE” คือ กระตุ้นหรือส่งอิทธิพล ให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์นำคำว่า “INSPIRE”ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่นน้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้งทินเนอร์และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติม ใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้ เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์สารกันสนิมสารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยาง เรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ใน ลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า “INSPIRE” ไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรง ว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้ สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าวจูงใจ ให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจให้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่า สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือ มีอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ แต่เป็นการใช้จินตนาการ ตีความหมายถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคาที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า “INSPIRE” จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แล้ว เมื่อนำคำว่า“INSPIRE” มาใช้ประกอบกับคำว่า “DULUX” เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ในลักษณะที่ไม่มี คำใดเป็นจุดเด่นกว่าคำใด ทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระ สำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญของ. เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่ เมื่อเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534มาตรา 7 วรรคสอง (2) เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วนหนึ่งส่วนใด อันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับ จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 16 และพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 เมื่อคำว่า “INSPIRE”เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) ประกอบกับไม่ปรากฏว่าเป็นคำที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับ สินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรณีไม่จำต้องให้ โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้ คำว่า “INSPIRE” ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1) - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตาม กฎหมายประเทศเนเธอร์แลนด์ เ1และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า คำว่า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบกับคำอื่น ๆ โดยโจทก์ จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศไทยแล้วตั้งแต่ปี 2491เป็นต้นมาเพื่อใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วกับสินค้า สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์สารทำให้เกิดสี สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซิน ธรรมชาติ (ยางมัสติก) และสีโป๊ว เป็นต้น สินค้าภายใต้เครื่องหมาย การค้าดังกล่าวมีจำหน่ายและโฆษณาในประเทศไทยมานานจนมี ชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป คำว่า “DULUX” เป็นเครื่องหมายหลัก (House Mark) ของโจทก์ที่สาธารณชนและผู้ใช้สินค้าต่างเข้าใจกันดี ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบ กับคำอื่น ๆ เป็นสินค้าคุณภาพสูงของโจทก์ที่แตกต่างจากสินค้าที่ใช้ เครื่องหมายการค้าอื่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ยื่น คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” เพื่อใช้ กับสินค้าจำพวกที่ 2 รายการสินค้า สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิด สีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นใน ลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สีน้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้าย ตำแหน่ง ใหม่ได้ เป็นคำขอเลขที่ 796011 โดยโจทก์ขอให้ถือเอา วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” นอกราชอาณาจักรครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553 เป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักร ตามมาตรา 28 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต่อมานายทะเบียน เครื่องหมายการค้ามีคำสั่ง. ให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพราะเห็นว่า คำว่า “INSPIRE”ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว เนื่องจากไม่ได้แสดงเหตุผลว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เพราะเหตุใดโจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมาย การค้ามีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” มีคำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญ ซึ่งตามพจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI DICTIONARY” คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือ ส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็น สินค้าที่ยอดเยี่ยม นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอ จดทะเบียนโดยตรงถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา7วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย การค้าของโจทก์จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ให้โจทก์ยื่นคำชี้แจงหรือส่งหลักฐานใน ประเด็นดังกล่าวก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์จึงทำคำชี้แจงต่อ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่า คำว่า “INSPIRE” มีลักษณะบ่ง เฉพาะเพราะมิได้เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าตามที่ขอ จดทะเบียนโดยตรง ทั้งเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนมี คำว่า “DULUX” เป็นสาระสำคัญอันพึงรับจดทะเบียนได้ การที่คณะ กรรมการเครื่องหมายการค้าจะปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้าดังกล่าวทั้งคำขอตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นั้นไม่ถูกต้อง ต่อมาคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยที่ 780/2557 ให้ระงับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์ เนื่องจากเห็นว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” มีภาค ส่วนคำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ซึ่งคำดังกล่าว เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนโดยตรง ถือว่า ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าของโจทก์ จึงไม่ชอบที่จะรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 ส่วนการที่โจทก์เคย ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศอินโดนีเซีย มาก่อน ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ สำหรับคำพิพากษา ศาลฎีกาที่โจทก์อ้างถึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เห็นว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มี ลักษณะบ่งเฉพาะและสั่งให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามหนังสือที่ พณ 0704/ 4221 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 780/2557 ที่ให้ระงับการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม คำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์ทั้งคำขอนั้นไม่ถูกต้องและไม่ชอบ ด้วยกฎหมาย เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ประกอบด้วยคำว่า “DULUX”และคำว่า “INSPIRE”โดยคำว่า “DULUX” เป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมายหรือคำแปลในพจนานุกรม จึงมี ลักษณะบ่งเฉพาะและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาแล้ว ทั้งโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบกับภาคส่วนอื่น ๆ กับสินค้าจำพวกที่ 2 ดังกล่าวมาเป็นเวลา นานคำว่า “DULUX”จึงเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก(House Mark)ของ โจทก์ที่สาธารณชนใช้ในการสังเกตจดจำและแยกแยะสินค้าของโจทก์ ออกจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นได้ดี ส่วนคำว่า “INSPIRE” มีความหมายในพจนานุกรมหลายประการ สำหรับความหมายที่แปลว่า ดลใจ หรือแปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม นั้น หมายถึง ดีใจหรือกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้บุคคลกระทำหรือ สามารถกระทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมหรือสิ่งที่สร้างสรรค์ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน นอกจากนี้คำว่า “INSPIRE”ยังมีความหมายหรือแปลได้ว่าหายใจเข้า อีกหนึ่งความหมาย เมื่อคำว่า “INSPIRE” มีหลายความหมายซึ่งไม่ เกี่ยวข้องกับสินค้าตามที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน สาธารณชนจึงไม่ อาจทราบความหมายได้แน่ชัดว่าคำว่า “INSPIRE” หมายถึงสิ่งใด จึง ไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่ โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนได้ในทันที คำว่า “INSPIRE” จึงไม่เป็นคำที่ เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน โดยตรง เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ อันพึงรับจดทะเบียนตามขั้นตอนของกฎหมายได้ โดยโจทก์ไม่ จำต้องแสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้ คำว่า “INSPIRE”และเนื่องจากเครื่องหมายการค้า “DULUXINSPIRE” ประกอบด้วยสาระสำคัญสองภาคส่วน คือ ภาคส่วนคำว่า “DULUX” ซึ่งเป็นคำพยางค์แรกที่มีลักษณะบ่งเฉพาะและเป็นเครื่องหมายการค้า หลัก (House Mark) และภาคส่วนคำว่า “INSPIRE” ซึ่งมีลักษณะบ่ง เฉพาะในตัวเองดังกล่าวข้างต้นแล้ว คำว่า “INSPIRE” จึงไม่ใช่ภาค ส่วนเดียวที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าตามคำวินิจฉัย ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ประชาชนหรือใช้สินค้าย่อม สังเกตจดจำเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ทั้งสองภาค ส่วนและทำให้ทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” แตกต่างไปจากสินค้าอื่น เมื่อเครื่องหมายการค้า “DULUXINSPIRE”มีคำว่า “DULUX”เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ด้วย มิได้มีสาระสำคัญเพียงคำว่า “INS.PIRE” ตามคำวินิจฉัยของ คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงไม่ใช่กรณีที่เครื่องหมายการค้า ทั้งเครื่องหมายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย การค้านั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 อันไม่ พึงรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 16 แห่งพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และแม้คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าจะเห็นว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ แต่เครื่องหมายการค้า “DULUXINSPIRE” ตามคำขอเลขที่ 796011 ทั้งเครื่องหมายก็ยังพึงรับจดทะเบียนได้และกรณีที่คณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่า โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับการจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศอินโดนีเซียนั้นเป็นความ คลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างในคำอุทธรณ์ว่า โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” ใน ประเทศอินโดนีเซียโจทก์เพียงอ้างคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขอให้ถือเอาวันที่ยื่น คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” นอก ราชอาณาจักรครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียเมื่อวันที่6ตุลาคม2553 เป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักรตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เท่านั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้า คำว่า “DULUX INSPIRE” ยังมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตาม มาตรา7วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ..ศ.2534 ขอให้พิพากษาว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” ตามคำขอ เลขที่ 796011 มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้โดย โจทก์ไม่ต้องแสดงการปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของโจทก์แต่ผู้เดียว ในอันที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” และกรณีไม่อาจปฏิเสธการรับ จดทะเบียนคำขอเลขที่ 796011 ทั้งคำขอ กับให้เพิกถอนคำสั่งของ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามหนังสือที่ พณ 0704/4221. ลงวันที่3กุมภาพันธ์2555และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าที่ 780/2557 และให้จำเลยทั้งสองหรือ นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า คำขอเลขที่796011 ตามกฎหมายต่อไป จำเลยทั้งสองให้การว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมาย การค้า และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็น คำสั่งและคำวินิจฉัยที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วในชั้นพิจารณา ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมาย การค้า โจทก์ไม่ได้แสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องหมายการค้าที่ โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนนั้นมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ ดังนั้น เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่ง เฉพาะจากการใช้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534ขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม หนังสือที่ พณ 0704/4221 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 และ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 780/2557. และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า “DULUX INSPIRE” ของโจทก์ ตามคำขอเลขที่796011 ต่อไปค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง ประเทศวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกัน ในชั้นอุทธรณ์รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ตามกฎหมายเนเธอร์แลนด์ และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบกับคำอื่น ๆ โดยโจทก์จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศไทยแล้วตั้งแต่ปี 2491 เป็นต้นมา ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.2 และ จ.3 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 รายการสินค้า สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติม ใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสาร เติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อม สภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือ แลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ เป็น คำขอเลขที่796011ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เอกสารหมาย จ.4 โจทก์ขอให้ถือเอาวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” นอกราชอาณาจักรครั้งแรก ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553 เป็นวันยื่นคำขอ ในราชอาณาจักรตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ.2534 ตามสำเนาคำขอถือสิทธิวันที่ยื่นคำขอนอก ราชอาณาจักรครั้งแรกหรือวันที่นำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายออกแสดง ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นวันที่ยื่นคำขอในราชอาณาจักร ตามมาตรา 28, 28 ทวิ เอกสารหมาย จ.6 ต่อมานายทะเบียน เครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามมาตรา 17 แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพราะเห็นว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามสำเนาหนังสือที่ พณ 0704/ 4221 เอกสารหมาย จ.7 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ตาม สำเนาคำอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.8 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” มีคำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญ ซึ่งพจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI DICTIONARY” คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้ สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยม นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนโดยตรง ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราช บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย การค้าของโจทก์ จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6 แห่งพระราช บัญญัติเดียวกัน ให้โจทก์ยื่นคำชี้แจงหรือส่งหลักฐานในประเด็น ดังกล่าวภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามสำเนา หนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่พณ0702/ 796011 เอกสารหมาย จ.9 โจทก์ทำคำชี้แจงต่อคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าตามสำเนาหนังสือนำส่งเอกสารหลักฐานและ คำชี้แจงเอกสารหมาย จ.10 ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามี คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่780/2557ให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมาย การค้าตามคำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์ เนื่องจากเห็นว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า“DULUXINSPIRE”มีภาคส่วนคำว่า“INSPIRE”. เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายซึ่งตามพจนานุกรม “TWP ENGLISH- THAI DICTIONARY คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพล ให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่2ดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ ยอดเยี่ยม คำดังกล่าวจึงเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอ จดทะเบียนโดยตรงถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา7วรรคสอง (2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย การค้าของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง พระราชบัญญัติเดียวกัน ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าเคยได้รับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศ เช่นอินโดนีเซีย มาก่อนไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้คณะกรุรมการเครื่องหมายการค้าต้อง รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ สำหรับคำพิพากษา ศาลฎีกาที่โจทก์อ้างถึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้รับ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ตามสำเนาคำวินิจฉัย อุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 780/2557. เอกสารหมาย จ.11 คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์ยื่นขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ตาม คำขอเลขที่ 796011 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะ บ่งเฉพาะอันพึงให้ได้รับการจดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เพราะคำว่า “INSPIRE” เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงหรือไม่โดยจำเลย ที่ 2 อุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์ ยื่นขอจดทะเบียนประกอบด้วย 2 ภาคส่วน ภาคส่วนแรกเป็นอักษรโรมัน คำว่า “DULUX” กับภาคส่วนที่สองเป็นอักษรโรมันคำว่า “INSPIRE” โดยภาคส่วนทั้งสองต่างปรากฏเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า เมื่อปรากฏหลักฐานตามพจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI DICTIONARY” คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้ สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม เมื่อโจทก์นำภาพส่วนอักษรโรมันดังกล่าว มาใช้กับสินค้าประเภทสี ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้บริโภค ทั่วไปที่ได้พบเห็นเป็นประจำได้ โดยสีมีคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้น หรือส่งอิทธิพลต่อผู้ที่พบเห็นให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ จึงเป็น คำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมาย การค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมหาได้เป็นคำที่มีลักษณะโน้มน้าวให้ บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะซื้อสีเกิดความสนใจในสินค้านั้นดังที่ศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไม่ เมื่อ ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า “INSPIRE” ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งอันเป็น สาระสำคัญของเครื่องหมายเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แม้ภาคส่วนอักษร โรมันคำว่า “DULUX” เป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมายซึ่งมีลักษณะ บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของ เครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนทั้งเครื่องหมายจึงไม่ชอบ ที่จะได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์ยื่นขอ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคส่วน สำหรับภาคส่วนคำว่า “DULUX” นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการมี ลักษณะบ่งเฉพาะในตนเองแล้วของคำดังกล่าว ส่วนภาคส่วนคำว่า “INSPIRE” นั้นแม้จะเป็นคำภาษาต่างประเทศแต่ก็เป็นคำธรรมดา ทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรม ซึ่งจำเลยทั้งสองมี พจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI DICTIONARY” เอกสารหมาย ล.12 อ้างส่งประกอบบันทึกถ้อยคำพยานจำเลยทั้งสองปากนายธนกร รตนวัณณ์และโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงตามเอกสารที่จำเลยทั้งสอง นำส่งนี้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามเอกสารดังกล่าวว่า คำว่า “INSPIRE” มีความหมายหนึ่งว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่คำภาษาต่างประเทศที่มีความหมายตามพจนานุกรมจะเป็นคำที่ ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติ ของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าความ หมายของคำที่ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้. สินค้าสามา1รถทราบได้ทันทีหรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้อง กับสินค้าใด หากเป็นเครื่องหมายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นการ บรรยายถึงลักษณะของสินค้าซึ่งทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด จึงจะถือว่าเป็น เครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ใน ขณะที่เครื่องหมายที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือ คุณสมบัติของสินค้านั้นทางอ้อมผู้ใช้สินค้าต้องใช้ความคิดและ จินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะ รู้ว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด แม้อาจเป็นเครื่องหมายที่ เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็เป็นไปโดยทางอ้อม หาใช่ เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอ จดทะเบียนโดยตรงไม่ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “INSPIRE” ที่ปรากฏตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบกล่าวอ้างดังกล่าว คือ กระตุ้นหรือ ส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับรายการสินค้าที่ โจทก์นำคำว่า “INSPIRE” ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิด สีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นใน ลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้าย ตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า “INSPIRE”ดังกล่าวไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอก ถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภค ใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ได้แต่อย่างใด ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า. คำว่า “INSPIRE” เมื่อนำมาใช้กับรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียน ดังกล่าวแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้ เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้จินตนาการเกินเลยไปกว่า ความหมายที่ปรากฏของคำดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาข้างต้น และแม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าว จูงใจให้สาธารณชนทั่วไป เข้าใจให้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่าสินค้าที่โจทก์ใช้ เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลให้ สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ ก็เป็นการใช้จินตนาการตีความหมาย ถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคำที่ เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า “INSPIRE” จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แล้ว เมื่อนำ คำว่า “INSPIRE” มาใช้ประกอบกับคำว่า “DULUX” เป็นเครื่องหมาย การค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ในลักษณะที่ไม่มีคำใดเป็นจุดเด่น กว่าคำใดทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า “INSPIRE” จะเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่ โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า คำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย การค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วน หนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึง รับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และเมื่อ วินิจฉัยแล้วว่า คำว่า “INSPIRE” เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา 7วรรคสอง (2) ประกอบกับไม่ปรากฏว่าคำว่า “INSPIRE” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญใน การค้าขายสำหรับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึง ไม่จำต้องให้โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว ในอันที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตาม มาตรา 17 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ตามคำขอจดทะเบียน คำขอนี้ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตามพระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม หรือไม่อีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ การค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนาย ทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามหนังสือที่ พณ 0704/4221 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ เครื่องหมายการค้าที่ 780/2557 และให้นายทะเบียนเครื่องหมาย การค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า “DELUX INSPIRE” (ที่ถูก “DULUX INSPIRE”) ของโจทก์มานั้น ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ - (สุรางคนา กมลละคร – สุรพันธุ์ ละอองมณี – นิพันธ์ ช่วยสกุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2560-ไม่ถือเป็นความลับทางการค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2560-ไม่ถือเป็นความลับทางการค้ากันยายน 7, 2020คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1323/2560 กองผู้ช่วยฯ คู่กรณี โจทก์ บริษัท ซิดาร์ เฟรท แอนด์ เทอร์มินัล จำกัด จำเลย ห้างหุ้นส่วนจำกัด โชคอนันต์ ทรานส์ เซอร์วิส กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 - ข้อมูลย่อ พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับ ทางการค้าว่า "ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิง พาณิชย์เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ" โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าข้อมูลเกี่ยว กับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้อง ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นความลับทาง การค้า มีลักษณะครบถ้วนที่จะเป็นความลับทางการค้าตามที่มาตรา 3 ดังกล่าว กำหนดไว้ การที่พนักงานบริษัทโจทก์คนอื่นนอกเหนือจากจำเลยที่ 2 สามารถเข้าถึง ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นข้อมูลใน เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าว ไว้เป็นความลับ ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้องโจทก์ จึงไม่ ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 - รายละเอียด พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับ ทางการค้าว่า "ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคล ซึ่งโดยปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิง พาณิชย์เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้ มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ" โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าข้อมูลเกี่ยว กับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้อง ที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นความลับทาง การค้า มีลักษณะครบถ้วนที่จะเป็นความลับทางการค้าตามที่มาตรา 3 ดังกล่าว กำหนดไว้ การที่พนักงานบริษัทโจทก์คนอื่นนอกเหนือจากจำเลยที่ 2 สามารถเข้าถึง ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นข้อมูลใน เครื่องคอมพิวเตอร์แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าว ไว้เป็นความลับ ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้องโจทก์ จึงไม่ ใช่ความลับทางการค้า ตาม พ.ร.บ.ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 โจทก์ฟ้องและแก้ไขคำฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เงินจำนวน 1,851,300 บาทให้แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจำนวน ดังกล่าวนับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระแก่โจทก์เสร็จสิ้น และให้จำเลยทั้ง สองร่วมกันคืนเงินผลประโยชน์ที่จำเลยทั้งสองได้รับจากการละเมิดสิทธิความลับทาง การค้าของโจทก์ในปี 2555 เป็นเงินจำนวน 1,010,000 บาท ให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การและแก้ไขคำให้การขอให้ยกฟ้อง ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่โต้แย้งกันในชั้นอุทธรณ์รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจำกัด มีนายชะเลงศักดิ์ และนางรัตนาวดี เป็นกรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำ การแทนโจทก์ โจทก์ประกอบการขนส่งและขนถ่ายสินค้า รวมทั้งรับบริการนำ ของออกจากท่าเรือตามพิธีศุลกากรและการจัดระวางการขนส่งทุกชนิด ตามหนังสือ รับรองเอกสาร และสำเนาหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อสกุล จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 โดยมี จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 2 เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกับนาย ชะเลงศักดิ์ และเคยทำงานเป็นพนักงานบริษัทโจทก์ ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555 จำเลยที่ 2 ลาออกจากการเป็นพนักงานบริษัทโจทก์ จำเลยที่ 1 ประกอบกิจการ ประเภทเดียวกับโจทก์ และรับจ้างบริษัทฟูดเบลสซิ่ง (1998) จำกัด บริษัทเอส.เค.ฟู้ดส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาขน) บริษัทอุตสาหกรรมพันท้ายนรสิงห์สินค้าพื้นเมือง จำกัด และบริษัทลัคกี้ แคนเนอรี่ จำกัด ซึ่งเคยเป็นลูกค้าบริษัทโจทก์ มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ข้อแรกว่า ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้อง เป็นความลับทางการค้าหรือไม่ เห็นว่า พระราช บัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 บัญญัตินิยามของความลับทางการค้า ว่า "ข้อมูลการค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดย ปกติแล้วต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าว โดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากเป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่ เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ" โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบว่าข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่ อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้อง มีลักษณะครบถ้วนที่จะเป็นความลับทางการค้า ตามที่มาตรา 3 ดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งโจทก์มีนางรัตนาวดี กรรมการผู้มีอำนาจบริษัท โจทก์เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของพยานว่า ในการติดต่อกับลูกค้าแต่ละรายเพื่อให้ว่าจ้างโจทก์ โจทก์โดยกรรมการบริษัทต้องใช้ ความรู้ความสามารถในการเจรจาเสนอเงื่อนไขจนเป็นที่พอใจของลูกค้าแต่ละรายและ ว่าจ้างโจทก์ให้ขนส่งตู้บรรจุสินค้าของลูกค้าเป็นประจำ โดยเฉพาะเงื่อนไขเกี่ยวกับ เรื่องราคาค่าจ้าง เมื่อโจทก์กับลูกค้าตกลงหรือทำสัญญาว่าจ้างกันแล้ว พยานจะนำ ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อลูกค้า ที่อยู่ และราคาขนส่งที่ได้ตกลงกับลูกค้าแต่ละรายส่งให้ จำเลยที่ 2 เพื่อบันทึกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์ เสร็จแล้วจำเลยที่ 2 จะต้องนำเอกสารที่ ได้บันทีกข้อมูลลงในคอมพิวเตอร์แล้วมาส่งมอบให้พยานนำไปเก็บรักษาในที่ทำงาน ของพยาน พยานมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้ควบคุมดูแลข้อมูลของลูกค้าที่บันทึกลง ในคอมพิวเตอร์แต่เพียงผู้เดียว แม้แต่กรรมการบริษัทโจทก์หรือพนักงานคนอื่นก็ไม่ ทราบรหัสผ่านเพื่อเปิดใช้คอมพิวเตอร์ เมื่อพิจารณาคำเบิกความดังกล่าวแล้วได้ความ เพียงว่ามาตรการที่โจทก์ใช้เพื่อรักษาข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อลูกค้า ที่อยู่ และราคาค่า จ้างขนส่งคือมอบหมายให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดเก็บข้อมูลดังกล่าวโดยใช้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่มีรหัสผ่านเป็นอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูล และไม่ปรากฏว่าโจทก์มี มาตรการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ เช่น ข้อกำหนดภายในบริษัทเกี่ยวกับการจำแนก ข้อมูลที่เป็นความลับและวิธีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว การทำเครื่องหมายในเอกสาร เพื่อแสดงว่าเอกสารนั้นเป็นเอกสารลับ หรือการทำสัญญาว่าจ้างพนักงานที่มีข้อตกลง ห้ามพนักงานที่ลาออกใช้ความลับของบริษัท เป็นต้น ข้อเท็จจริงกลับได้ความจากนาง รัตนาวดีตอบคำถามค้านและคำถามติงว่า หลังจากจำเลยที่ 2 บันทึกข้อมูลแล้วจะมี การพิมพ์ใบเสนอราคาซึ่งจะปรากฏราคาค่าขนส่งที่ตกลงไว้กับลูกค้าแต่ละรายมาเป็น เอกสารเพื่อจัดส่งให้แก่ลูกค้า และมีสำเนาเอกสารเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารโดยเก็บไว้ที่ ฝ่ายบัญชีคือจำเลยที่ 2 โดยปกติใบเสนอราคาย่อมปรากฏชื่อและที่อยู่ของลูกค้า กับ จำนวนเงินที่ลูกค้าต้องชำระแก่โจทก์ ดังนั้นใบเสนอราคาจึงแสดงถึงข้อมูลชื่อลูกค้า ที่ อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่งอันเป็นข้อมูลที่โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้อง การที่โจทก์กำหนด ให้มีการพิมพ์ใบเสนอราคา และจัดเก็บสำเนาใบเสนอราคาในแฟ้มเอกสารโดยไม่ได้ กำหนดมาตรการที่จะป้องกันหรือเก็บรักษาเอกสารดังกล่าวไว้เป็นความลับ ทำให้ ข้อมูลดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างเดียว อีกทั้งทำให้ข้อมูลนั้นมีลักษณะ เปิดเผยและพนักงานอื่นนอกจากจำเลยที่ 2 สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย ซึ่งปรากฏ จากคำเบิกความของนางสาวสุพรรษา พยานจำเลยทั้งสองซึ่งเคยเป็นพนักงานบริษัท โจทก์ในตำแหน่งผู้ช่วยธุรการบัญชีว่า ใบวางบิลหรือใบเสนอราคาเก็บอยู่ในแฟ้ม เอกสารซึ่งเก็บไว้ในตู้ข้างโต๊ะทำงานของนางรัตนาวดี พนักงานทุกคนในบริษัท สามารถดูเอกสารในแฟ้มดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานหักล้างคำเบิกความของ นางสาวสุพรรษาเกี่ยวกับวิธีการเก็บรักษาสำเนาใบเสนอราคาดังกล่าวให้เห็นเป็น อย่างอื่น จึงต้องฟังว่าพนักงานบริษัทโจทก์ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ ประกอบกับในส่วนข้อมูลที่จัดเก็บโดยบันทึกลงเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จำเลยทั้งสอง มีจำเลยที่ 2 เบิกความประกอบบันทึกถ้อยคำยืนยันข้อเท็จจริงหรือความเห็นของ พยานว่า พยานจดรหัสผ่านไว้บนกระดาษโน้ตสีฟ้าซึ่งมีกาวที่หัวกระดาษขนาด ประมาณ 1 นิ้ว คูณ 2 นิ้ว และปิดไว้ที่หน้าคอมพิวเตอร์ มีพยานและนางสาวสุพรรษารู้ หากพยานไม่อยู่ นางสาวสุพรรษาสามารถทำแทนได้ และจำเลยทั้งสองยังมีนางสาวสุ พรรษามาเบิกความเป็นพยานทำนองเดียวกันว่า รหัสผ่านในการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 2 อยู่บนกระดาษติดไว้ที่มุมขวาของจอคอมพิวเตอร์ ส่วน นางรัตนาวดีและนายชะเลงศักดิ์ กรรมการบริษัทผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เบิก ความตอบทนายจำเลยทั้งสองถามค้านว่า ไม่มีการปิดข้อความว่า "*54321 KING" ซึ่ง เป็นรหัสผ่านที่ผนังห้องที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ของจำเลยที่ 2 เห็นว่า หน้าที่หลักของ นางรัตนาวดีคือโทรศัพท์ติดต่อกับลูกค้า ส่วนนายชะเลงศักดิ์มีหน้าที่ควบคุมรถที่ใช้ใน การขนส่ง ทั้งสองคนไม่มีหน้าที่เกี่ยวกับงานด้านบัญชีและการเงิน ส่วนนางสาวสุ พรรษาแม้ทำงานที่บริษัทโจทก์ในระยะเวลาสั้นแต่ทำหน้าที่ด้านบัญชีการเงินเช่น เดียวกับจำเลยที่ 2 และเป็นผู้ช่วยจำเลยที่ 2 จึงมีเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องรู้รหัส ผ่านเพื่อใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้นางสาวสุพรรษาเป็นพยานคนกลาง ไม่ มีสาเหตุขัดแย้งกับโจทก์ อีกทั้งไม่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายใด คำเบิก ความจึงน่าเชื่อถือ เมื่อคำเบิกความของนางสาวสุพรรษาสอดคล้องกับจำเลยที่ 2 พยานหลักฐานของจำเลยทั้งสองมีน้ำหนักและเหตุผลดีกว่าพยานหลักฐานของโจทก์ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่ามีการติดรหัสผ่านที่หน้าจอ คอมพิวเตอร์จริง ซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้พนักงานอื่นนอกจากจำเลยที่ 2 สามารถ เข้าถึงข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวได้ การที่พนักงานบริษัทโจทก์คนอื่นนอก เหนือจากจำเลยที่ 2 สามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และราคาค่าจ้างขนส่ง ทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ใช้มาตรการที่ เหมาะสมเพื่อรักษาข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ ข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อ ที่อยู่ และ ราคาค่าจ้างขนส่งตามฟ้องโจทก์ จึงไม่ใช่ความลับทางการค้า ตามพระราชบัญญัติ ความลับทางการค้า พ.ศ.2545 มาตรา 3 อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้ฟังไม่ขึ้น กรณีไม่จำ ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ข้ออื่นอีกต่อไป เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น ศาล ฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นพ้องด้วย พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ - (ไมตรี ศรีอรุณ-ปริญญา ดีผดุง-ไมตรี สุเทพากุล) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาฎีกาที่ 600/2557-เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาฎีกาที่ 600/2557-เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้ากันยายน 7, 2020คำพิพากษาฎีกาที่ 600/2557 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ นายธีระเดช เดชาติวงศ์ ณ อยุธยา จำเลย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กับพวก - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จ้างแรงงาน เลิกจ้าง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน ฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 49 - ข้อมูลย่อ จำเลยทั้งสองลงโทษโจทก์ในความผิดฐานเปิดสอนพิเศษให้ แก่นักศึกษาและรับเงินค่าสอนจากนักศึกษาด้วยการลดขั้นเงินเดือน 1 ขั้น จำเลยทั้งสองไม่อาจนำความผิดนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ส่วนความผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาของโจทก์แม้ ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่โจทก์เป็นถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่กลับ มีพฤติกรรมไม่ทำตามคำสั่งของจำเลยทั้งสองหลายประการ จึงมีเหตุ สมควรเพียงพอที่จำเลยทั้งสองจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลยทั้งสอง เลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ทั้งการกระทำของโจทก์ยัง เป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูก ต้องและสุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอก กล่าวล่วงหน้า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 เป็นอธิการบดี มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เมื่อ วันที่ 20 มิถุนายน 2533 จำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้าง ตำแหน่งอาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นคณะ ศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 19,480 บาท (เป็นค่าจ้าง 17,980 บาท ค่าที่ปรึกษาชมรม 1,500 บาท) กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกสิ้นเดือน ต่อมาวันที่ 15 พฤศจิกายน 2546 จำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เป็นหนังสืออ้างว่าประพฤติตนไม่เป็น ไปตามระเบียบวินัยตามข้อบังคับของจำเลยว่าด้วยการบริหารงาน บุคคล พ.ศ. 2541 โดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดและมิได้บอกกล่าว ล่วงหน้า จำเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงิน 29,220 บาท แต่จำเลยให้โจทก์เพียง 17,980 บาท ยังขาดอยู่อีก 11,140 บาท โจทก์ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปี จำเลยต้องจ่ายค่า ชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 300 วัน เป็นเงิน 194,800 บาท แต่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เพียง 179,800 บาท ยังขาดอยู่อีก 15,000 บาท โจทก์ยังมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของ จำเลยว่าด้วยการบริหารงานบุคคล พ.ศ. 2541 โดยคำนวณจากเงิน เดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปี เศษของปีให้คำนวณตามส่วน โจทก์ ทำงานมา 13 ปี 4 เดือน 25 วัน จึงมีสิทธิรับเงินบำเหน็จ 261,067.57 บาท แต่จำเลยจะจ่ายให้เพียง 61,164.83 บาท ยัง ขาดอยู่อีก 199,902.74 บาท โจทก์จึงยังไม่รับ และการเลิกจ้าง โจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 2,426,400 บาท โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยไม่ชำระ ขอให้ บังคับจำเลยชำระค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 11,240 บาท เงินบำเหน็จ 199,902.74 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าชดเชย 15,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับตั้งแต่วัน เลิกจ้าง (วันที่ 15 พฤศจิกายน 2546) จนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ค่าเสียหายกรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 2,426,400 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่ โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ 17,980 บาท ส่วนค่าที่ปรึกษาชมรมรักบี้จำนวน 1,500 บาท จำเลยที่ 1 จ่ายให้เพื่อเป็นสวัสดิการและเป็นขวัญกำลังใจไม่ใช่ค่าจ้าง สาเหตุที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2546 สืบเนื่อง มาจากเมื่อประมาณกลางเดือนมิถุนายน 2546 จำเลยที่ 1 ได้รับ คำร้องเรียนจากผู้ปกครองนักศึกษาว่าโจทก์เปิดสอนพิเศษ วิชาคณิต ศาสตร์และเรียกเก็บเงินจากนักศึกษา อันเป็นการขัดนโยบายของ จำเลยที่ 1 ต่อมาวันที่ 26 มิถุนายน 2546 จำเลยที่ 1 แต่งตั้งคณะ กรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ผลการสอบสวนคณะกรรมการมีความ เห็นว่าเป็นที่น่าเชื่อได้ว่าโจทก์จัดเปิดสอนพิเศษวิชาคณิตศาสตร์และ เรียกเก็บเงินจากนักศึกษาจริง การกระทำดังกล่าวเป็นการขัดจรรยา บรรณของการเป็นอาจารย์และเป็นการผิดวินัย จำเลยที่ 1 จึงมีคำสั่ง ลงโทษโดยลดเงินเดือนโจทก์ 1 ขั้น และสั่งห้ามโจทก์มิให้สอนนักศึกษา กับมอบหมายให้โจทก์เขียนเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับความรู้พื้น ฐานด้านคณิตศาสตร์ โดยให้โจทก์ไปนั่งประจำที่ห้องทำงานของหมวด วิชาวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ แต่โจทก์มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว ถือเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอันชอบด้วยกฎหมายและ เป็นธรรม ละทิ้งหน้าที่การงาน ในวันที่ 8 ตุลาคม 2546 จำเลยที่ 1 แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประสิทธิภาพในการทำงานและสภาพ การเป็นพนักงานของโจทก์ ต่อมาวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546 จำเลย ที่ 1 มีมติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบุคคลจำเลยที่ 1 ให้เลิกจ้าง โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จ่ายเงินให้โจทก์เป็นค่าชดเชย 10 เดือน เป็นเงิน 179,800 บาท ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 17,980 บาท เงินบำเหน็จ 61,164.83 บาท เงินเดือนระหว่างวันที่ 1 ถึง 15 พฤศจิกายน 2546 เป็นเงิน 8,990 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 267,934.83 บาท ส่วนค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ ไม่มีสิทธิได้รับเพราะโจทก์กระทำการอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 583 แต่จำเลยที่ 1 จ่ายให้เท่ากับเงินเดือนโจทก์ 1 เดือน จึงถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์ จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิด เป็นการส่วนตัวเพราะได้กระทำไปในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และ การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม โจทก์ไม่เสียหายตามฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่า จ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 11,239.85 บาท และค่าเสียหาย เนื่องจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม 253,240 บาท พร้อมดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันที่ 29 พฤศจิกายน 2546 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แต่ทั้งนี้จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับ ผิดเป็นการส่วนตัว คำขออื่นให้ยก จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานกลางฟัง ข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2533 ตำแหน่งอาจารย์สอนวิชาคณิตศาสตร์ และเป็นที่ปรึกษา ชมรมรักบี้ให้แก่จำเลยที่ 1 หลังเวลาเลิกเรียน โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตรา สุดท้ายเดือนละ 17,980 บาท และได้รับเงินค่าที่ปรึกษาชมรมรักบี้ เดือนละ 1,500 บาท กำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2546 จำเลยทั้งสองบอกกล่าวเลิกจ้างโจทก์โดยให้มีผล ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2546 จำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า 17,980 บาท แล้ววินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ไปนั่ง ประจำหมวดวิชาวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณที่จัดไว้ให้ แต่กลับทิ้งหน้าที่ ไปทำงานให้กับชมรมรักบี้ในเวลาทำงานปกติที่โจทก์เป็นที่ปรึกษาซึ่ง ต้องมาทำหน้าที่หลังเลิกงานแล้วและไม่ทำเอกสารทางวิชาการให้ สำเร็จลุล่วงไปตามคำสั่งในเวลาอันสมควร ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำผิด ฐานฝ่าฝืนคำสั่งผู้บังคับบัญชา การที่จำเลยทั้งสองนำเหตุที่โจทก์ กระทำผิดวินัยกรณีเปิดสอนพิเศษแล้วเรียกเงินจากนักศึกษาซึ่งโจทก์ เคยถูกลงโทษลดชั้นเงินเดือนไปแล้วมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ ทั้งที่ คณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเห็นว่าความผิดที่เกิดขึ้นใหม่เป็น ความผิดที่ไม่ร้ายแรง จำเลยทั้งสองอาจลงโทษโจทก์ฐานอื่นได้ แต่จำเลยทั้งสองเลือกที่จะลงโทษเลิกจ้างโจทก์ จึงเป็นการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรม คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า จำเลย ทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ศาลแรงงานกลางฟัง ข้อเท็จจริงว่า โจทก์เคยถูกสอบสวนทางวินัยโดยคณะกรรมการ สอบสวนมีความเห็นว่าโจทก์เปิดสอนพิเศษให้แก่นักศึกษาและรับเงิน ค่าสอนจากนักศึกษา เป็นการขัดจรรยาบรรณของการเป็นอาจารย์ ตามเอกสารหมาย ล.8 ต่อมาโจทก์กระทำผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งผู้บังคับ บัญชาที่ไม่ไปนั่งประจำหมวดวิชาวิทยาศาสตร์เชิงปริมาณ แต่กลับทิ้ง หน้าที่ไปทำงานให้แก่ชมรมรักบี้ในเวลาทำงานปกติซึ่งโจทก์ต้องทำ หน้าที่ดังกล่าวหลังเลิกงานแล้ว และโจทก์ไม่จัดทำเอกสารทางวิชา การให้สำเร็จลุล่วงตามคำสั่งภายในเวลาอันควร ความผิดฐานฝ่าฝืน คำสั่งผู้บังคับบัญชาดังกล่าวเป็นความผิดที่โจทก์กระทำขึ้นใหม่ จำเลย ทั้งสองเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุว่า แม้การกระทำผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาของโจทก์จะไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่ได้ พิจารณาการกระทำที่โจทก์เรียกเงินพิเศษจากนักศึกษาซึ่งถูกลงโทษ ไปแล้วจึงสมควรเลิกจ้างโจทก์ เห็นว่า ความผิดของโจทก์ฐานเปิดสอน พิเศษให้แก่นักศึกษาและรับเงินค่าสอนจากนักศึกษานั้น จำเลยทั้ง สองลงโทษโจทก์ในความผิดดังกล่าวด้วยการลดขึ้นเงินเดือน 1 ขั้น จำเลยทั้งสองย่อมไม่อาจนำความผิดนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างได้อีก ส่วน ความผิดวินัยฐานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาของโจทก์แม้ไม่ใช่ ความผิดร้ายแรง แต่โจทก์เป็นถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่กลับมี พฤติกรรมไม่ทำตามคำสั่งของจำเลยทั้งสองหลายประการ กรณีจึงมี เหตุสมควรเพียงพอที่จำเลยทั้งสองจะเลิกจ้างโจทก์ได้ การที่จำเลย ทั้งสองเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม ทั้งการกระทำของ โจทก์ดังกล่าวยังเป็นการกระทำอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 583 ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่นของจำเลยทั้งสองไม่จำต้อง วินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง” พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์เสียทั้งหมด - (พงษ์เทพ ศิริพงศ์ติกานนท์ - ชัยวัฒน์ เวียงธีรวัฒน์ - พิทยา บุญชู) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คําพิพากษาฎีกาที่ 499/2562-ผลของการตั๋วสัญญาใช้เงินฝ่าฝืนกฎหมาย
คําพิพากษาฎีกาที่ 499/2562-ผลของการตั๋วสัญญาใช้เงินฝ่าฝืนกฎหมายกันยายน 7, 2020คําพิพากษาฎีกาที่ 499/2562 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ นายสุรพล ประทักษิธร จําเลย บริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จํากัด - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โมฆะกรรม  ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 บัญชีพยาน  - ข้อมูลย่อ โจทก์ทราบว่าจะต้องอ้างสัญญาจ้างระหว่างบริษัท อ.กับ บริษัท ส. และแบบยื่นรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) เป็นพยาน หลักฐานในชั้นพิจารณาและรู้อยู่แล้วว่าสรรพเอกสารที่จะอ้างมีอะไร บ้าง ดังนี้ถือไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐาน ดังกล่าวเพิ่มเติมในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 วรรคสาม ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม)  จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนในการที่ โจทก์ช่วยจําเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงมีวัตถุประสงค์ เป็น การต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตาม ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จําเลยชําระ เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์  - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด เมื่อ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 จําเลยทําบันทึกข้อตกลงออกตั๋วสัญญาใช้เงิน จํานวน 23,500,000 บาท แก่โจทก์ กําหนดใช้เงินภายใน 5 ปี ต่อมาวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 จําเลยมอบตั๋วสัญญาใช้เงินลง วันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 แก่โจทก์ สัญญาจะจ่ายเงินจํานวน 23,400,000 บาท ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 เมื่อถึงกําหนด ใช้เงิน จําเลยไม่ชําระ โจทก์บอกกล่าว ทวงถามแล้ว คิดดอกเบี้ยถึงวัน ฟ้องเป็นเงิน 2,951,095.50 บาท ขอให้ บังคับจําเลยชําระเงิน 26,351,095.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของ ต้นเงินตามตัวสัญญาใช้เงิน 23,400,000 บาท นับถัดจาก วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์  จําเลยให้การว่า จําเลยไม่เคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ ลายมือชื่อผู้ออกตัวและตราบริษัทจําเลยที่ประทับในตั๋วสัญญาใช้เงิน พิพาทเป็นลายมือชื่อปลอมและตราประทับปลอม ขอให้ยกฟ้อง  ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ โจทก์อุทธรณ์  ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ ให้ เป็นพับ  โจทก์ฎีกา  ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกัน รับ ฟังได้ว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด มีนายอุทัย ธเนศวรกุล นางวราภรณ์ ธเนศวรกุล และนางสาวอังคณา ธเนศวรกุล เป็นกรรมการ กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสําคัญของบริษัทมี อํานาจกระทําการแทนจําเลยได้ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.4 เมื่อ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2551 สัญญาจะใช้เงินจํานวน 23,500,000 บาท ให้แก่โจทก์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.6 เมื่อ ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ถึงกําหนดใช้เงิน จําเลยไม่ชําระเงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ที่ โจทย์ยื่นคําร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม ในชั้นฎีกาอ้างว่าเป็น เอกสารสําคัญที่แสดงถึงรายจ่ายที่นํามาหักภาษีเงิน ได้นิติบุคคลซึ่งมี อยู่ก่อนการทําบันทึกข้อตกลงกับจําเลยนั้น เห็นว่า สัญญาจ้างระหว่าง บริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จํากัด กับบริษัทธเนศพัฒนา จํากัด ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 และใบแจ้งหนี้ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 2542 ของ บริษัทสยามเมติก จํากัด นั้น โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่ม เติมไว้แล้ว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ตามบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติม ครั้ง ที่ 4 ส่วนสัญญาจ้างระหว่างบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด กับบริษัท สยามเมติก จํากัด และแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) ลงวันที่ 7 มกราคม 2553 นั้น โจทก์ย่อมทราบว่าจะอ้างพยานหลัก ฐานใดในชั้น พิจารณาและรู้อยู่แล้วว่าสรรพเอกสารที่จะอ้างมีอะไรบ้าง จึงถือไม่ได้ว่า มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานเพิ่ม ในชั้นฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 วรรคสาม ประกอบ มาตรา 246 และ 247 (เดิม) ให้ยกคําร้อง  คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มูลหนี้ตาม ตั๋วสัญญาใช้เงินขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชนหรือไม่ โจทก์เบิกความว่า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 นายอุทัย  ธเนศวรกุล กรรมการคนหนึ่งของจําเลยเรียกโจทก์ไปพบบอก ว่าจําเลยจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มใช้ชื่อ ไอวี่ เมื่อวางตลาดแล้วจําเลยจะมีกําไรประมาณปีละ 100,000,000 บาท ซึ่งมี ผลให้จําเลยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 30,000,000 บาท ขอให้โจทก์หาทางเสียภาษีอย่างประหยัด โจทก์ บอกนายอุทัยว่า โจทก์สามารถทําให้จําเลยเสียภาษีอย่างถูกต้องและ น้อยลงได้ หลังจาก นั้นโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของจําเลยกับบริษัทอื่น ๆ ในเครือของจําเลย อีก 4 บริษัท พบว่าหากสามารถบันทึกค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นได้อีกปีละ 34,000,000 บาท ทําให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลของ จําเลยลดลงได้ปีละ 11,700,000 บาท โจทก์จึงแจ้งให้นายอุทัยทราบ นายอุทัยถามโจทก์ว่า กรมสรรพากรจะไม่ประเมินภาษีเพิ่มใช่หรือไม่ และหากโจทก์ทําถูกต้อง จําเลยจะให้รางวัลโจทย์ที่ประหยัดภาษีได้ โจทก์ขอให้นายอุทัยทําบันทึก ข้อตกลงที่จะให้รางวัลโจทก์นายอุทัยให้ โจทก์ร่างบันทึกข้อตกลงตาม เอกสารหมาย จ.5 แล้วลงลายมือชื่อไว้ โดยจําเลยตกลงจะออกตั๋วสัญญา ใช้เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นรางวัล ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2551 จําเลยได้มอบตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจําเลยสัญญาจะจ่าย เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้แก่โจทก์หรือผู้ถือในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2546 ตามเอกสารหมาย จ.6 นับตั้งแต่โจทก์วางแผนภาษีให้แก่จําเลย จนถึงปี 2546 จําเลยไม่เคยถูกเจ้าพนักงานกรมสรรพากรตรวจสอบ เกี่ยวกับภาษี ซึ่งโจทก์ได้เบิกความตอบทนายจําเลยถามค้านว่า ใน บันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.5 ที่ระบุว่าบริษัทจําเลยจะมีกําไร สุทธิ เพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 100,000,000 บาท หมายความเฉพาะ ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวยี่ห้อ ไอวี่ เท่านั้น ซึ่งจําเลยต้องเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลอัตราร้อยละ 30 เป็นเงินปีละ 30,000,000 บาท นายอุทัย จึงตกลงให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบคิดหาวิธีการให้จําเลย เสียภาษีน้อยลงไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000,000 บาท โจทก์ตรวจสอบดู หลักฐานแล้วสามารถทําให้จําเลยเสียภาษีต่ำลงปีละ 11,700,000 บาท จําเลยจึงพอใจและจะให้ค่าตอบแทน 2 ปี จากจํานวนภาษีที่ลด ลงเป็น จํานวนเงิน 23,400,000 บาท เท่ากับจํานวนเงินที่ออกตัว สัญญาใช้เงิน และโจทก์ได้เบิกความอธิบายข้อความในบันทึกข้อตกลง ที่ว่า จําเลยจะ ออกตัวสัญญาใช้เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้ แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไข ว่าจะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ ถ้าการทํา หลักฐานประกอบการลง บัญชีให้เสียภาษีน้อยลงได้ผลและไม่ถูกกรม สรรพากรตรวจพบหมาย ความว่า ถ้าโจทก์ทําหลักฐานประกอบการลง บัญชีเป็นผลให้เสียภาษี น้อยลงได้โดยกรมสรรพากรตรวจสอบไม่พบ ถ้าหากโจทก์ทําหลักฐาน ประกอบการลงบัญชีแล้วถูกกรมสรรพากร ตรวจพบให้ถือว่างานชิ้นนี้ ไม่สําเร็จ แสดงว่าสาระสําคัญของการจ่าย เงิน 23,400,000 บาท ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อยู่ ที่ต้องไม่ให้กรมสรรพากรตรวจ สอบพบว่าเอกสารที่นํามาใช้หักเป็น รายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิของ จําเลยไม่ถูกต้องอีกทั้งก่อนคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจําเลยต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้จ่ายโบนัสและค่าขาด ประโยชน์ตามฟ้องแก่โจทก์ตามสําเนา คําฟ้องคดีแรงงานเอกสารหมาย จ.10 และ ล.1 ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า ปี 2542 บริษัทจําเลยมีผล กําไรที่แท้จริงประมาณ 100,000,000 บาท ต้อง เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินปีละ 30,000,000 บาท นายอุทัยจึงมีคําสั่งให้โจทก์หาทางให้จําเลยเสียภาษีน้อยลงซึ่ง ขณะนั้น จําเลยต้องช่วยจ่ายผลขาดทุนให้บริษัทธเนศพัฒนา จํากัด และ บริษัท สยามเมติก จํากัด จึงตกลงจะนําเงินจากบริษัทจําเลยและบริษัท ไอ.พี. แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ไปจ่ายโดยสร้างหลักฐานว่า บริษัทจําเลย จ้าง บริษัทธเนศพัฒนา จํากัด วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท และบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด จ้างบริษัทสยามเมติก จํากัด ทําการวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 4,000,000 บาท ซึ่งไม่มี การจ้างกันจริง จากการทําเช่นนี้ทําให้กําไรของบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟค เจอริ่ง จํากัด ลดลงไป 39,000,000 บาท สามารถหลบเลี่ยงภาษีใน ปี 2552 ได้จํานวน 11,700,000 บาท ทําให้บริษัทจําเลยขึ้นเงิน เดือนให้โจทก์ 10,400 บาท ต่อเดือน และจ่ายโบนัสเป็นเงิน 2 เท่า ตามที่ตกลงกัน ในปี 2553 โจทก์ ยังคงใช้วิธีการเดียวกัน โดยบริษัท จําเลยจ้างบริษัทธเนศพัฒนา จํากัด วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท และบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอ ริ่ง จํากัด จ้าง บริษัทสยามเมติก จํากัด ทําการวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 9,000,000 บาท ซึ่งไม่มีการจ้างกันจริงจากการทําเช่นนี้สามารถหลบ เลี่ยงภาษีในปี 2543 ได้จํานวน 11,700,000 บาท แต่บริษัทจําเลยไม่ยอม จ่าย โบนัสและเลิกจ้างโจทก์ซึ่งโจทก์ก็เบิกความตอบทนายจําเลยถามค้าน ยอมรับว่า เงินกําไรจํานวน 39,000,000 บาท ที่ลดลง สามารถหลบเลี่ยง ภาษีเงินได้นิติบุคคลของจําเลยในปี 2552 เป็นเงิน 11,700,000 บาท ตาม ที่ปรากฏในคําฟ้องคดีแรงงานดังกล่าวคือ เงินจํานวนเดียวกันกับที่โจทก์ สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้มีการทํา บันทึกข้อตกลงกันไว้ตามเอกสารหมาย จ.5 เห็นว่า การที่บริษัทจําเลย สามารถลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2542 เป็นเงิน 11,700,000 บาท เนื่องจากโจทก์ทําหลักฐานว่ามี รายจ่ายซึ่งโจทก์กําหนดขึ้นเองโดยไม่มี การจ่ายจริงและนําไปหักออก จากกําไรจากการประกอบกิจการของจําเลย ในข้อนี้ปรากฏตามคําเบิก ความของนางสาวสุรัตน์ ธนวิทยาสุทธิกุล เจ้า หน้าที่ตรวจสอบบัญชี 7 ประจําสํานักงานสรรพากรภาค 4 พยานโจทก์ ตอบทนายจําเลยถาม ค้านว่า การนําเงินจากบริษัทจําเลยและบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ไปจ่ายโดยสร้างหลักฐานว่าบริษัทจําเลย จ้างบริษัทธเนศพัฒนา จํากัด วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท และบริษัท ไอ.พี. แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด จ้างบริษัทสยามเมติก จํากัด ทํา การวิจัย เกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 9,000,000 บาท ซึ่งไม่มีการจ้างจริงตาม สําเนาคําฟ้องคดีแรงงานเอกสารหมาย ล.1 นั้นจะนําไปหักค่าใช้จ่าย ไม่ ได้และถือว่าผิดกฎหมายซึ่งเป็นไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี ที่ บัญญัติว่า รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไร  สุทธิ (9) รายจ่ายซึ่งกําหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง...ฉะนั้น โจทก์ จึงไม่อาจนําเงินค่าใช้จ่ายจํานวน 39,000,000 บาท ที่โจทก์กําหนด ขึ้นเองดังกล่าวไปหักออกจากกําไรสุทธิจํานวน 100,000,000 บาท ของจําเลยในปี 2542 ซึ่งโจทก์และจําเลยควรรู้ได้ว่าการกระทํา เช่นนั้นเป็นการไม่ชอบ ดังนั้นการที่จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินจํานวน 23,500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.6 ให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทน ในการที่โจทก์ช่วยจําเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ ของประชาชนคนไทยผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ใน การพัฒนาประเทศ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย กฎหมาย และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ ประชาชน จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จําเลยชําระเงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกา เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น”  พิพากษายืน ค่าทนายความชั้นฎีกาให้เป็นพับ - (ชูชีพ ปิณฑะสิริ - วรงค์พร จิระภาค - ชัยเจริญ ดุษฎีพร)  องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561-ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561-ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลากันยายน 7, 2020คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ บริษัทพรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด จำเลย นายวชิระ แก่นทรัพย์ ในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยร่วม นายมานัติ ปันกันทา - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 มาตรา 65 - ข้อมูลย่อ งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ ของจำเลยร่วม มีกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับ ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 ที่ออกตามความ ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9) กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยข้อ 2 กำหนดให้งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือ ทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้างเป็นงานที่ลูกจ้างไม่ มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541มาตรา 61จึงไม่อาจนำกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้บังคับกับงานเฝ้าดูแล สถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ จำเลยร่วมซึ่งมี ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือ ทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวัน ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 เท่านั้น โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้ จำเลยร่วมชอบแล้ว - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด นายมานัติ ปันกันทา เป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย ประจำสำนักงานสาขาภาคเหนือ สถานที่ทำงานสุดท้ายบริษัทสยาม แม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือห้างแม็คโคร สาขาจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายมานัยื่นคำร้องต่อจำเลยในฐานะ พนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ไม่จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงาน ที่ทำเกินแปดชั่วโมง รวมทั้งไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าชดเชย จำเลยสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งให้โจทก์จ่าย ค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกินแปดชั่วโมงแก่นายมานัติ 43,425 บาท โดยอ้างกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) 1ออก ตามความในพระราซบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบ กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชรที่ 9/ 2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วย กฎหมายเพราะโดยประเภท ลักษณะ หรือสภาพของงานที่โจทก์จ้าง นายมานัติทำงานเป็นงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่ ทำการงานปกติของลูกจ้างซึ่งอยู่ในบังคับมาตรา 65(9) แห่งพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงาน ที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 กรณีไม่อาจนำกฎกระทรวงตามที่จำเลยอ้างในคำสั่ง พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดกำแพงเพชรที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 มาใช้ บังคับได้ ทั้งโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงานแปด ชั่วโมงวันละ 300 บาท จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกิน แปดชั่วโมงวันละสี่ชั่วโมง ชั่วโมงละ 37.50 บาท เป็นเงินวันละ 150 บาท ครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจ แรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ของจำเลย กับให้ศาลสั่ง คืนเงินที่วางไว้ต่อศาลในชั้นยื่นฟ้องคดี 43,425บาท แก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์กำหนดให้นายมานัติ ปันกันทา ทำงาน ในหน้าที่พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งรับจ้างเป็นรายวัน ทำงาน สัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 12 ชั่วโมง นายมานัติจึงได้รับการคุ้มครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยมิได้สั่งให้โจทก์จ่าย ค่าล่วงเวลาเพราะทราบดีว่านายมานัติไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่ นายมานัติคงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใน วันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำทั้งโจทก์ไม่เคยขอความยินยอมจาก นายมานัติเพื่อให้ทำงานล่วงเวลา เหตุผลตามที่โจทก์ฟ้องเป็นคนละ เรื่องกับเหตุผลที่จำเลยมีคำสั่ง คำสั่งของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มี เหตุที่จะเพิกถอนขอให้ยกฟ้อง ระหว่างพิจารณา ศาลแรงงานภาค 6 มีคำสั่งเรียกนายมานัติ ปันกันทา เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ แพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 จำเลยร่วมให้การด้วยวาจาขอถือคำให้การจำเลยเป็นของจำเลย ร่วม ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจ แรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชร ที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ของจำเลย เฉพาะส่วนที่ให้ โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกินแปดชั่วโมงแก จำเลยร่วม 43,425บาท คำขออื่นให้ยก จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกeดืแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานภาค 6ฟัง ข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 จำเลยร่วม เข้าทำงานเป็นลูกจ้างรายวันของโจทก์ ในตำแหน่งพนักงานรักษา ความปลอดภัยมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของบริษัทห้างร้าน ที่เป็นลูกค้าของโจทก์ โจทก์กำหนดวันและเวลาทำงานสำหรับ พนักงานรักษาความปลอดภัยรวมถึงจำเลยร่วมว่าสัปดาห์หนึ่งทำงาน 6 วัน วันเสาร์เป็นวันหยุด วันหนึ่งแบ่งการทำงานเป็น 2 กะ กะละ 12 ชั่วโมง กะกลางวันทำงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกา กะกลางคืนทำงานตั้งแต่เวลา 18นาRกาถึง 6นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 14 เมษายน 2558 จำเลยร่วมปฏิบัติงานพนักงานรักษาความปลอดภัยเฉพาะวันทำงาน ในกะกลางคืนวันละ 12 ชั่วโมง โจทก์จ่ายค่าจ้างสำหรับการทำงาน 8 ชั่วโมง 300 บาท และการทำงานอีก 4ชั่วโมง โจทก์จ่ายค่าตอบแทน การทำงานเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ซึ่ง ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 37.50 บาท รวม 4ชั่วโมง เป็นเงิน 150 บาท รวมแล้วการทำงาน12ชั่วโมงต่อวันโจทก์จ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทน ให้แก่จำเลยร่วม 450 บาท ซึ่งจำเลยร่วมได้รับแล้ว ดังนั้นโจทก์ซึ่ง เป็นนายจ้างจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน4ชั่วโมง แก่จำเลยร่วมมานั้น จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9)ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา และค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 การที่จำเลยอ้างกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ.2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออก ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้ออก คำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงาน 4 ชั่วโมง โดยใช้ อัตราหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานแล้ว กำหนด ให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยร่วม 43,425 บาท นั้น เป็นคำสั่งที่ ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยเฉพาะในส่วนที่ให้ โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกิน 8 ชั่วโมง ไปอีก วันละ 4ชั่วโมง แก่จำเลยร่วม 43,425บาท คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ต้อง จ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้แก่จำเลยหรือไม่ จำเลย อุทธรณ์ว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการทำความสะอาดและรักษา ความปลอดภัย ซึ่งตรงกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออก ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎ กระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยข้อ 2 ใช้คำว่า งานอาชีพ ด้านบริการ จำเลยร่วมเป็นลูกจ้างของโจทก์ในงานดังกล่าวมีผลทำให้ โจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อ 1 ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานส่วนที่เกิน 8 ชั่วโมง อีกวันละ 4ชั่วโมง เป็นเงิน 43425บาทนั้น เห็นว่า เมื่องานเฝ้าดูแล สถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ มีกฎกระทรวง กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาใน วันหยุด พ.ศ.2552 กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยข้อ 2 กำหนดให้งาน เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง เป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 จึงไม่อาจนำกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ.2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออก ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้ บังคับกับงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงาน ปกติดังที่จำเลยอ้าง จำเลยร่วมซึ่งมีตำแหน่งพนักงานรักษาความ ปลอดภัยทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การ ทำงานปกติจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน เป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ซึ่งในวันทำงานของจำเลยร่วมระหว่างวันที่ 8มิถุนายน2556ถึงวันที่ 14 เมษายน 2558 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้จำเลยร่วม ครบถ้วนแล้ว ที่ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน - (นิติ เอื้อจรัสพันธุ์ - วิชัย เอื้ออังคณากุล – จักษ์ชัย เยพิทักษ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]
คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน
คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงานกันยายน 7, 2020คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562 เนติฯ คู่กรณี โจทก์ นาย ร. จําเลย บริษัท อ. - กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 จ้างแรงงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 - ข้อมูลย่อ จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมีจํานวนแน่นอน เท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทํางาน ไม่ได้ คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่ โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงาน ลูกจ้างคนอื่นของจําเลย โจทก์ปฏิบัติงานไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ ภายใต้การบังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมีอํานาจสั่งให้โจทก์ไปทํางาน ที่โครงการอื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตาม ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้กรรมการของจําเลยทราบก่อน โจทก์จึงไม่ได้มีอิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลย จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 - รายละเอียด โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 จําเลยตกลงจ้าง โจทก์ทํางานให้จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการประจําสาขา เกาะสมุย โครงการซามูจาน่า ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 145,000 บาท และได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นเงินค่าเช่าบ้าน เป็นรายเดือนจํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือนเดือนละ 17,000 บาท กําหนดจ่ายเงินทั้งสองจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน รวมเป็น ค่าจ้างเดือนละ 202,000 บาท ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 จําเลยบอก เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทําผิดและไม่ได้บอกกล่าว ล่วงหน้า เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และถือ ว่าจําเลยจงใจ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ระหว่าง ทํางานโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจําปีและต้อง ทํางานใน วันหยุด ขอให้บังคับจําเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่า กับค่าจ้าง 1 เดือน เป็นเงิน 202,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว ให้จําเลยจ่ายค่าทํางาน ในวันหยุด 47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี 101,000 บาท และค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของเงินต้นทั้งสามจํานวนดังกล่าว กับให้ จําเลย ใช้ค่าเสียหายที่ได้ กระทําละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะ ชําระเสร็จแก่โจทก์ จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจําเลย แต่จําเลย เป็นผู้ว่าจ้างและโจทก์เป็นผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทําการงานสิ่งใดสิ่ง หนึ่ง ให้สําเร็จ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทําของ กล่าวคือ โจทย์ตกลง รับจ้างทําการงาน เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างบ้านพักตากอากาศให้แก่ ลูกค้าของจําเลยชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ “ซามูจาน่า” โดย จําเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการงานที่ทํานั้นเป็นราย เดือนเดือนละ 145,000 บาท โดยโจทย์ตกลงให้จําเลยหักเงิน ค่ารับ จ้างทําการงานดังกล่าวในอัตราร้อยละ 3 ของเงินค่ารับจ้างทําการงาน อันเป็นสัญญาจ้างทําของ มิใช่สัญญาจ้างแรงงาน ตามที่โจทก์ กล่าวอ้าง ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและ ค่าทํางานในวันหยุดตามฟ้อง เมื่อบ้านพักตากอากาศของลูกค้าใน โครงการ “ซามูจาน่า” ที่จําเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง ดําเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2555 สัญญาจ้างทําของในการ รับทําการงานของโจทก์ให้แก่จําเลยก็สิ้นสุดลงและจําเลย ตกลงที่จะ จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนพิเศษให้แก่โจทก์รวม 5 เดือน ในอัตราเดือน ละ 202,000 บาท โดยโจทก์ได้รับไปครบถ้วน แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ เรียกร้องค่าชดเชย นอกจากนี้เมื่อโจทก์และจําเลยต่างรับทราบถึงการ สิ้นสุดของโครงการดังกล่าวดีอยู่ แล้วจึงถือได้ว่าจําเลยได้บอกกล่าว ล่วง หน้ายกเลิกการจ้างกับโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง สินจ้างแทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า และการยกเลิกการจ้างของจําเลย ไม่ทําให้โจทก์ เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือ จึง ไม่ เป็นการเลิก จ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ขอให้ยกฟ้อง ศาลแรงงานภาค 4 วินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้จ้างของจําเลย ทํางานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 5 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่ น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 150 วัน โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย เป็นเงินเดือนละ 202,000 บาท จําเลยจึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย แก่ โจทก์รวม 1,212,000 บาท ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ปรากฏว่าจําเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 โดย ก่อนหน้านั้นไม่ได้มีการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จําเลยจึง ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 202,000 บาท สําหรับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี และค่าทํางานใน วันหยุดตามประเพณี ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นับแต่โจทก์เข้าทํางาน โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดงานในวันหยุดพักผ่อนประจําปีและวันหยุดตาม ประเพณีรวมเป็นเวลา 15 วัน และ 7 วัน ตามลําดับ โดยไม่ได้รับ ค่า จ้างสําหรับวันหยุดนั้น จําเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อน ประจําปีจํานวน 15 วัน เป็นเงิน 101,000 บาท และค่าทํางานใน วัน หยุดรวม 47,133 บาท และเมื่อจําเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยโจทก์ไม่มี ความผิดต้องทําให้โจทก์กลายเป็นผู้ตกงานกะทันหันต้องขาดรายได้ ขณะถูกเลิกจ้างโจทก์มีอายุสูงถึง 63 ปียากที่จะไปหางานใหม่ทําและ ส่งผลเสียทั้งด้านชื่อเสียงของโจทก์ ทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือจาก ผู้ประกอบการ จึง กําหนดค่าเสียหายให้โจทก์จํานวน 202,000 บาท พิพากษาให้จําเลยชําระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 202,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 20 กรกฎาคม 2556) เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้ จําเลย ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยจ่ายค่าทํางานในวันหยุด รวม 47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี 101,000 บาท ค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา ร้อยละ 15 ต่อปี นับ แต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่า จะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้ จําเลยใช้ค่าเสียหาย 202,000 บาท พร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่ โจทก์ จําเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานเห็นว่า ศาลแรงงานภาค 8 รับฟัง ข้อเท็จจริงมาไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อตกลงว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับ จําเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ จึงให้ย้อนสํานวนให้ศาลแรงงาน ภาค 4 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบของ ศาลฎีกา ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและส่งสํานวน คืนศาลฎีกา ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานภาค 6 ฟังข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภท บริษัทจํากัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านรับเหมาก่อสร้าง อาคารและบ้านพักตากอากาศให้แก่ลูกค้าทั่วไป สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์เดินทางมาทํางานในประเทศไทยเมื่อปี 2551 โดยนายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยติดต่อให้ทํางานกับ จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการ เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2551 ประจําสาขาเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่โครงการซามูจาน่า อําเภอบ่อผุด อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะงานที่ทําคือการให้คํา ปรึกษา วางแผนบริหาร และดูแลงานภายในโครงการอินฟินิตี้ของ จําเลย โดยได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้า ชาวต่างชาติชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องเริ่มทํางาน เวลาใดถึงเวลาใด แต่การปฏิบัติเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ต้องมาดูแลและ อยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา หากลูกค้ามีปัญหาโจทก์จะต้องเป็นผู้ติดต่อ ประสานงานกับลูกค้าและแจ้งให้พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ ปัญหาเฉพาะด้านต่อไป จําเลยอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่น ได้ไม่เฉพาะแต่งานก่อสร้างบ้านรายนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ ซามูจาน่าเท่านั้น โดยจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับจําเลยใน โครงการชื่ออินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเห็น แม้บ้าน นายดาเห็นจะสร้างเสร็จแล้วโจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วนใน เรื่องการ ลาหยุดงานได้ความว่ากรณีโจทก์ป่วย โจทก์ต้องโทรศัพท์ให้ นายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบก่อน โจทย์ไม่อาจ หยุดงานได้ตามอําเภอใจ สําหรับการจ่ายค่าจ้างโจทก์ได้รับค่าจ้างเป็น รายเดือนมี จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน อันมีลักษณะเป็นการจ่าย เพื่อตอบแทน การทํางานโดยมิได้คํานึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ แต่ เป็นการจ่าย ค่าจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ทํางาน กล่าวคือ แม้สร้างบ้าน นายดาเร็นเสร็จ แล้ว จําเลยยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อไปอีกและ โจทก์ยังได้รับ สวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่น พนักงานรายอื่นของจําเลย ระ หว่างทํางานโจทก์ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 185,000 บาท เงินช่วย เหลือค่าครองชีพเป็น ค่าเช่าบ้าน เดือนละ 17,000 บาท จําเลยได้ทํา ประกันสังคมให้แก่ โจทก์โดยแจ้งว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย วันที่ 7 พฤษภาคม 2556 นายเควินบอกเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าจ้างถึงเดือน เมษายน 2556 ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2556 จําเลยคัดชื่อโจทก์ออกจาก ทะเบียน ลูกจ้างที่ยื่นต่อสํานักงานประกันสังคม แล้วศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัย ว่า ลักษณะงานของโจทก์เป็นเป็นสัญญาแรงงาน ไม่ใช่สัญญา จ้าง ทําของ คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจําเลยประการเดียวว่า โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลยหรือไม่ โดยจําเลยอุทธรณ์สรุปว่า จําเลย ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานแทนจําเลยระหว่างลูกค้ารายนาย ดาเห็น คอนเวย์ กับจําเลยกรณีลูกค้ารายนี้มีปัญหาเท่านั้น โดยกําหนด เวลา การจ้างจนกว่าจําเลยจะก่อสร้างบ้านให้นายดาเห็นแล้วเสร็จ ลักษณะ การทํางานของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้ บังคับบัญชาของจําเลย จําเลยไม่ ได้มอบหมายงานหรือกําหนดเวลาให้โจทก์ต้องทําอะไรบ้าง ในแต่ละวัน ไม่มีการออกกฎระเบียบข้อบังคับการทํางานแก่โจทก์ว่า ต้องเข้าออกงาน เวลาใด โจทก์ไม่ต้องลงเวลาทํางาน ไม่มีการบังคับ บัญชาหรือลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ หรือเพิ่มเงินเดือนตามระยะเวลา การทํางาน โจทก์มีอิสระในการทํางาน ในแต่ละวันโจทก์จะมาทํางาน หรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ นายดาเห็นเจ้าของบ้านมีปัญหาในการก่อสร้างก็จะ โทรศัพท์เรียกโจทก์ ไปดูแลเพื่อแก้ไขหรือรับทราบปัญหาต่าง ๆ เท่านั้น แต่ผู้แก้ไขงานคือ วิศวกรผู้ควบคุมงาน จําเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่ โจทก์สูงกว่าลูกจ้าง ทั่วไปมากซึ่งจําเลยหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 3 ตามสัญญาจ้างทําของ สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยเป็นสัญญาจ้าง ทําของ โจทก์จึงไม่ใช่ ลูกจ้างของ จําเลยนั้น เห็นว่า การพิจารณาว่า สัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 สัญญาจ้างทําของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 557 นั้น จะต้อง พิจารณาถึงการจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างและการจัดหา เครื่อง มือสัมภาระ ในการทํางานประกอบด้วยว่ากรณีสัญญาจ้างแรงงานนาย จ้างต้องจ่าย สินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางานให้ แต่ สัญญาจ้างทํา ของผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสําเร็จของการงาน ที่ตกลงกัน และสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือหรือ สัมภาระใน การทํางานส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา เครื่องมือสําหรับ ใช้ทําการงาน และข้อแตกต่างสําคัญระหว่างสัญญา จ้างแรงงานกับ สัญญาจ้างทําของอีกประการหนึ่งคือ เรื่องการบังคับ บัญชา กล่าวคือ สัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างต้องทํางานตามคําสั่งของ นายจ้างและมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 543 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคําสั่งของ นายจ้างอันชอบ ด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นําพาต่อคําสั่งเช่นว่า นั้นเป็นอาจิณ ก็ดี...ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าหรือให้ สินไหมทดแทนก็ได้" ส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้าง ไม่ต้องทํางานตาม คําสั่งเพียงแต่ทําให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงเท่านั้น ซึ่ง ในปัญหานี้ศาล แรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า โจทก์ได้รับ มอบหมายให้ ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้าชาวต่างชาติชื่อ นายดาเห็น แม้ไม่ปรากฏว่าต้องเริ่มทํางานเวลาใดถึงเวลาใด แต่ทาง ปฏิบัติเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ต้องมาดูแลและอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา และ จําเลย ยังอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่นได้ไม่เฉพาะแต่งาน ก่อสร้างรายนายดาเห็น เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับ จําเลยใน โครงการชื่อ อินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเร็น แม้ บ้านนายดาเห็นจะสร้าง เสร็จแล้ว โจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วน การลาหยุดงานได้ความว่า กรณีโจทก์ป่วยโจทย์ต้องโทรศัพท์ให้นาย เควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการ ของจําเลยทราบก่อน โดยโจทก์ไม่อาจ หยุดงานได้ตามอําเภอใจ ทั้งจําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมี จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทน การทํางาน ไม่ได้คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้ ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงานลูกจ้างคนอื่นของจําเลย เช่นนี้เท่ากับโจทก์ปฏิบัติงาน ไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้การ บังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมี อํานาจสั่งให้โจทก็ไปทํางานที่โครงการ อื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏ ว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อ บังคับเกี่ยวกับการทํางานของ จําเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้ นายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบ ก่อนเช่นนี้ โจทก์จึงไม่ได้มี อิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยจึงเป็นสัญญาจ้าง แรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ศาลแรงงานภาค 6 วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็น พ้องด้วย อุทธรณ์ของจําเลยฟังไม่ขึ้น” พิพากษายืน - (สมจิตร์ ทองศรี - วุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ - จักรชัย เยพิทักษ์) องค์คณะผู้ตัดสิน [...]