Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
อธิบายกฏหมาย
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5กันยายน 7, 2020อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5 - *ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5 - พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 ข้อพิพาทแรงงาน หมายความว่า ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เกี่ยวกับสภาพ การจ้าง - ข้อสังเกต ต้องเป็นการขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หากเป็นเรื่องอื่น ไม่ใช่ข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องด้วยบทนิยามดังกล่าว - - การนัดหยุดงาน มาตรา 5 การนัดหยุดงาน หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทํางานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาท แรงงาน - ข้อสังเกต 1. เป็นกรณีที่ลูกจ้างนัดหยุดงานเพื่อกดดันนายจ้างให้ยอมตามข้อเรียกร้อง ของลูกจ้าง 2. ข้อที่เรียกร้องต้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น หากเป็นเหตุส่วนตัวหรือ เหตุอื่น ก็ไม่ถือเป็นการนัดหยุดงานตามความหมายมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ 3. เมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้วสมาชิกของสหภาพแรงงาน ทุกคนก็มีสิทธิ จะนัดหยุดงานได้ สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นบท บัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535) - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158-1016/2539 การที่ลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุด งานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลา หรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อ ประโยชน์ของ นายจ้าง จึงไม่อาจนําระยะเวลาระหว่างการหยุดงานของลูกจ้างดังกล่าว รวมคํานวณเป็นระยะเวลา ทํางานของลูกจ้างได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2537 นายจ้างได้เปลี่ยนเวลาทํางานและเพิ่มชั่วโมงทํางาน จาก 7 ชั่วโมงเป็น 8 ชั่วโมง นายจ้างได้เชิญกรรมการสหภาพแรงงานเข้าประชุมกรรมการสหภาพแรงงาน ไม่ยินยอมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้มีการ เจรจากันเรื่องการจ่ายค่าจ้างเพิ่ม นาย จ้างนัดหมายว่าจะแจ้งคําตอบแก่พนักงาน พนักงานจึงไม่เข้าทํางานและไปรวมตัวกันฟังคําตอบจาก นายจ้างตามที่นายจ้าง นัดหมาย การที่ลูกจ้างไม่เข้าทํางานด้วยเหตุดังกล่าวไม่ใช่การนัดหยุดงานตาม มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523 ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทํางานเป็นผลัดหรือเป็น กะโดยลูกจ้างไม่ ยินยอมไม่ได้ เพราะการทํางานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศ ระเบียบข้อบังคับการทํางานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ ยินยอมแล้วยังไม่ได้ การไม่เข้าทํางานจึง มิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงาน การเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการ จ้างในระหว่างที่ข้อตกลง ยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรง งานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพ การจ้างหากจําเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันที่แต่ไม่อาจหยุดงานได้ การหยุด งานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ซึ่งศาลแรง งานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่ ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(6)
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(6)กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (6) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (6)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ "......................... (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็น เหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย - ข้อสังเกต ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 มาตรา 119 (6) เป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยต้องไม่จ่ายค่าชดเชย ดังนั้น ในกรณีลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในระหว่างเป็นลูกจ้าง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ถ้าเป็นการกระทำความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ หากเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้ - - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2524 ข้อยกเว้นซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างตามประกาศกระทรวง มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา ถึงที่สุดให้จำคุกหมายถึงได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำคุกคดีถึงที่สุดขณะที่เป็นลูกจ้างหาใช่ได้ รับโทษและพ้นโทษมาแล้วจึงมาเป็นลูกจ้างไม่ - ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้มีข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์สมัครเข้าทำงาน ในแบบฟอร์มและ เงื่อนไขในการสมัครงานอันถือเป็นสภาพการจ้างได้กล่าวไว้ชัดเจนว่าผู้สมัครงานต้องไม่เคยรับโทษตามคำ พิพากษาถึงจำคุก การที่โจทก์ปกปิดความจริงย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าทำให้จำเลยเสียหายเพราะจำเลยจ้าง โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน จึงต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนนั้น เห็นว่าข้อนี้คดีไม่ปรากฏว่า จำเลยได้รับความเสียหายใด ๆและศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่แจ้งประวัติเคยต้องโทษมา ก่อนสมัครทำงาน โจทก์มิได้จงใจจะทำความเสียหายให้จำเลยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์เช่น นั้นย่อมเล็งผลทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยในข้อเท็จจริงหาได้ไม่ ต้องห้ามตามพระราช บัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก และข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์เคยได้รับโทษถึงจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 47(6)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน นั้น ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ความในข้อ 47(6) ของประกาศดังกล่าวแล้วเห็นพ้องกับคำ วินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า ข้อกำหนดดังกล่าวหมายถึงการได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำ คุกคดีถึงที่สุดในขณะที่เป็นลูกจ้าง หาใช่ได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้ว จึงมาเป็นลูกจ้างดังเช่นคดีนี้ไม่ กรณีของโจทก์ไม่ต้องด้วยข้อ 47(6) ของประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ โจทก์ - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การนําคดีไปสู่ศาล
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การนําคดีไปสู่ศาลกันยายน 7, 2020อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การนําคดีไปสู่ศาล - -การนําคดีไปสู่ศาล มาตรา 125 - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 - *การนําคดีไปสู่ศาล มาตรา 125 - มาตรา 125 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคําสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้ นําคดีไปสู่ศาลได้ภายในสาม สิบวันนับแต่วันทราบคําสั่ง ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ ความตาย ไม่นําคดีไป สู่ศาลภายในกําหนด ให้คําสั่งนั้นเป็นที่สุด ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายนําคดีไปสู่ศาล นายจ้างต้องวางเงินต่อศาล ตามจํานวนที่ถึง กําหนดจ่ายตามคําสั่งนั้น จึงจะฟ้องคดีได้ เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจํานวนใดให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรม ของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย ให้ศาลมีอํานาจจ่ายเงินที่นาย จ้างวางไว้ต่อศาลให้แก่ลูกจ้างหรือทายาท โดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตาย หรือกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ได้จ่ายเงินตามมาตรา 134 ได้แล้วแต่กรณี - ข้อสังเกต 1. เป็นกรณีที่พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตามมาตรา 124 เช่น - มีคําสั่งเห็นว่าลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ - มีคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินให้ลูกจ้าง เป็นต้น 2. นายจ้าง ลูกจ้าง หรือทายาทของลูกจ้างไม่เห็นด้วยกับคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงาน 3. การนําคดีไปสู่ศาลแยกเป็น ก. ลูกจ้างหรือทายาทให้ฟ้องศาลภายใน 30 วันนับแต่ทราบคําสั่ง ข. นายจ้างเป็นผู้ฟ้องคดี - ต้องฟ้องภายใน 30 วันนับแต่ทราบคําสั่ง - ต้องวางเงินต่อศาล ตามจํานวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จ่าย แก่ลูกจ้าง 4. ผลของการไม่นําคดีมาฟ้องต่อศาลภายในกําหนด 30 วันนับแต่ทราบ คําสั่งให้คําสั่งนั้น เป็นที่สุด 5. ศาลมีอํานาจในการนําเงินที่นายจ้างวางต่อศาล จ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือ ทายาท กรณีคดีถึง ที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่าย - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10406/2550 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจําเลยค้างจ่ายค่าจ้าง และค่าทํางานในวันหยุดแก่โจทก์ โจทก์จึงร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานกลุ่มสวัสดิการ และคุ้มครอง แรงงานพื้นที่ 8 พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคําสั่งให้ จําเลยจ่ายค่าจ้างและค่าทํา งานในวันหยุดแก่โจทก์และได้ส่งคําสั่งให้จําเลยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 143 วรรคหนึ่ง จําเลยได้รับทราบคําสั่งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2548 แล้ว จําเลยไม่นําคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน สามสิบวันนับแต่วันทราบ คําสั่ง คําสั่งดังกล่าวจึงเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง จําเลยมีหน้าที่ ต้องจ่ายเงิน ตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานให้โจทก์ภายในสิบห้าวันนับแต่วันทราบคําสั่งตาม มาตรา 124 วรรคสาม โดยไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ตามคําให้การซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงาน ตรวจแรงงานมา กล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจําเลยจ่าย เงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรง งานอีก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5371/2549 วัตถุประสงค์ของการวางเงินตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว และนายจ้างมี หน้าที่ต้องจ่ายเงินลูกจ้างหรือทายาทโดยชอบธรรมของลูกจ้างที่ถึงแก่ ความตายจะได้รับเงินจํานวนที่มี สิทธินั้น เงินที่นายจ้างนําไปวางจึงยังไม่ตกเป็นของ ลูกจ้าง ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์ ซึ่งเป็นนายจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับ พนักงานตรวจแรงงานจําเลยที่ 1 แต่ศาลแรงงานกลางก็พิพากษาให้จํา เลยที่ 2 ชําระเงิน ที่จําเลยที่ 2 ยักยอกไป จําเลยที่ 2 จึงอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์ ในหนี้เงินที่จําเลยที่ 2 ยักยอกไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคําพิพากษาย่อมมีสิทธิ ที่จะบังคับคดีแก่ ทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคําพิพากษาได้ตามกฎหมาย การที่โจทก์ยื่น คําร้องขอให้ศาลแรงงานกลาง งดการจ่ายเงินที่โจทก์ได้วางศาลไว้ก่อนฟ้องคดีตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสาม เป็นกรณีที่โจทก์ ร้องขอก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะมีคําสั่งให้จ่ายเงินที่โจทก์วางไว้ดัง กล่าวให้แก่ลูกจ้าง หรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรง งาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคสี่ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์และเพื่อบังคับตาม คําพิพากษาที่ จําเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษาของโจทก์ อันเป็นการร้องขอตาม พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรง งานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 58 ซึ่งโจทก์สามารถกระทําได้และกรณีสมควรมี คําสั่งคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์เพื่อบังคับ ตามคําพิพากษาต่อไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2192/2548 โจทก์ฟ้องว่าพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งที่ 31/2545 สั่ง ให้จําเลยชําระค่าจ้างและเงินประกันแก่โจทก์ พ้นกําหนดระยะเวลาตามที่กฎหมาย บัญญัติแล้ว จําเลย ไม่นําคดีไปสู่ศาลและไม่ปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ขอให้บังคับจําเลยปฏิบัติตามคําสั่ง พนักงานตรวจแรงงานที่ 31/2545 การที่จําเลย ไม่นําคดีไปสู่ศาลทําให้คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็น ที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ซึ่งจําเลยต้องปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานนั้น ไม่มีสิทธิ นําคดีในเรื่องเดียวกันนี้ไปสู่ศาลอีก ตามคําฟ้องจึงเป็นกรณีโจทก์ฟ้องขอบังคับ ให้จําเลย ปฏิบัติตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานอันเป็นที่สุดแล้ว ไม่เกี่ยวกับเรื่องโจทก์ยักยอก ทรัพย์จํา เลย ที่จําเลยฟ้องแย้งว่าโจทก์ยักยอกทรัพย์ของจําเลย โจทก์ต้องชดใช้ราคา ทรัพย์ที่ยักยอกโดยจําเลยขอ นําเงินตามจํานวนที่พนักงานตรวจแรงงานสั่งให้จําเลย ชําระมาหักกับราคาทรัพย์แล้วให้โจทก์ชําระ ส่วนที่เหลือ จึงไม่เกี่ยวกับคําฟ้องเดิมของ โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6076-6077/25449 โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจําเลยจ่ายเงินต่าง ๆ ตาม คํา สั่งพนักงานตรวจแรงงาน คดีมีประเด็นข้อพิพาทแต่เพียงว่า คําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเป็นที่สุดหรือ ไม่ และจําเลยได้จ่ายเงินตามฟ้องให้โจทก์แล้วหรือไม่เท่านั้น ปัญหา ว่าโจทก์เป็นลูกจ้างจําเลยหรือไม่ เป็นกรณีที่จําเลยจะต้องโต้แย้งให้เป็นประเด็นไว้ใน ชั้นสอบสวนของพนักงานตรวจแรงงาน และหาก พนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งอย่างใด แล้ว จําเลยไม่พอใจ จําเลยย่อมมีสิทธินําคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ ภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่ง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง หาก ไม่นําคดีไปสู่ศาลภายในกําหนด คําสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง เมื่อ จําเลยมิได้ใช้สิทธินํา คดีสู่ศาลแรงงานตามบทบัญญัติดังกล่าว คําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด จําเลยจึง หามีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องความเป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันซึ่งยุติไปแล้วในชั้นพนักงานตรวจแรงงาน มากล่าวอ้างในชั้นที่โจทก์มาฟ้องต่อ ศาลแรงงานกลางขอให้บังคับจําเลยจ่ายเงินตามคําสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานไม่ ที่ศาล แรงงานกลางวินิจฉัยประเด็นนี้มาว่าโจทก็ไม่ได้เป็นลูกจ้างจําเลยจึงไม่ชอบ ปัญหา ดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์มิได้ อุทธรณ์ ศาล ฎีกาก็มีอํานาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2548 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 กําหนดว่า ในกรณีที่นายจ้างไม่พอใจคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้าง จ่ายเงินให้แก่ ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนําคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอน คําสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวาง เงินตามจํานวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาล ซึ่งอาจ เป็นจํานวนทั้งหมดตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงาน หรือเพียงบางส่วนก็ได้ และใน กรณีที่เป็นการโต้แย้งคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน เพียงบางส่วน นายจ้างจะต้อง ชําระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อน นายจ้างจึงจะมี อํานาจฟ้อง จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่ฐ กับ พวกรวม 43 คน ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์รวม 6,505,487 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ ควรจ่ายเงินให้แก่ ฐ กับพวก เพียง 497,801 บาท เท่านั้น แต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชําระเงินจํานวนดังกล่าวให้แก่ ฐ. กับพวก ฉะนั้น หากโจทก์ต้องการนําคดีไปสู่ศาลแรงงาน เพื่อขอให้เพิกถอนคําสั่งของจําเลยที่ 2 โจทก์ต้องวางเงิน จํานวน 6,505,487 บาท ต่อ ศาลแรงงานกลางก่อน โจทก์จึงจะมีอํานาจฟ้อง มิใช่วางเงินจํานวน 497,801 บาท ตาม ที่โจทก์อ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2547 ความใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าในกรณีที่นายจ้างหรือลูกจ้างไม่นําคดีไปสู่ศาลภายในกําหนดให้คําสั่งนั้นเป็น ที่สุด ต่อเนื่อง มาจากความในวรรคหนึ่งที่ว่า เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งตาม มาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้าง หรือ ลูกจ้าง ไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้นําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วันนับแต่วันทราบคําสั่ง ซึ่งเป็นการเปิด โอกาสหรือให้สิทธิแก่นายจ้างหรือลูกจ้างที่ ไม่เห็นชอบด้วยกับคําสั่งนําคดีไปฟ้องศาลเพื่อให้ตรวจสอบ คําสั่งดังกล่าวอีกชั้นหนึ่ง แต่หากนายจ้างหรือลูกจ้างไม่ประสงค์จะใช้สิทธิดังกล่าว แสดงว่านายจ้าง หรือลูกจ้างไม่มีข้อโต้แย้งคําสั่งดังกล่าว ความในวรรคสองจึงบัญญัติให้เป็นที่สุด ซึ่งหมายถึงเป็น ที่สุด สําหรับนายจ้างหรือลูกจ้างด้วย มิใช่เป็นที่สุดเฉพาะในทางบริหาร เมื่อศาลแรงงานกลางวินิจฉัยคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด จําเลยที่ 1 มีหน้าที่ ต้องปฏิบัติตาม จะโต้แย้งหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้อีกไม่ได้ กรณีมิใช่เรื่อง การนําบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง มาตัดสิทธิในการต่อสู้คดีของจําเลย ที่ 1 จึงเป็นการบังคับใช้หรือตีความ กฎหมายโดยชอบแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6288-6383/2546 บริษัทจําเลยมีคําสั่งให้ลูกจ้างรวมถึงโจทก์ทั้ง เก้าสิบหก หยุดงานโดยจ่ายค่าจ้างสําหรับวันที่ไม่มาทํางานร้อยละห้าสิบของค่าจ้างปกติ ต่อมาตัวแทน โจทก์ทั้งเก้าสิบหกได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการออกคําสั่งดังกล่าวต่อพนักงาน ตรวจแรงงาน พนักงาน ตรวจแรงงานสอบสวนแล้วมีคําสั่งให้จําเลยจ่ายค่าจ้างเต็มจํานวน แก่ลูกจ้างที่ให้หยุดงานชั่วคราว จําเลยทราบคําสั่งดังกล่าวแล้วไม่ได้ฟ้องขอเพิกถอน คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานภายในสามสิบวัน นับแต่วันทราบคําสั่ง แต่จําเลยได้อุทธรณ์ คําสั่งพนักงานตรวจแรงงานซึ่งเป็นคําสั่งทางปกครองต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร และผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาครมีคําสั่งไม่เห็นด้วยกับการพิจารณา ของพนักงาน ตรวจแรงงาน การดําเนินการดังกล่าวของจําเลยผู้เป็นนายจ้างหาชอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 ไม่ เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติให้นายจ้างซึ่ง ไม่พอใจคําสั่ง ของพนักงานตรวจแรงงานจะต้องนําคดีไปสู่ศาลแรงงาน เมื่อจําเลยมิได้ นําคดีไปสู่ศาลแรงงานกลาง เพื่อฟ้องขอให้เพิกถอนคําสั่งภายในสามสิบวันนับแต่วัน ทราบคําสั่ง คําสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน ย่อมเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 แสดงให้เห็นว่ากฎหมายฉบับนี้ได้กําหนดวิธี ปฏิบัติราชการทางปกครองไว้ โดยเฉพาะ และมีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรม ทั้งมีมาตรฐานใน การปฏิบัติ ราชการไม่ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กําหนดใน พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ มาตรา 3 กรณีดังกล่าวจึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 จําเลยต้อง ปฏิบัติตามคําสั่งของ พนักงานตรวจแรงงาน โดยต้องจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์ทั้งเก้าสิบหก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6374/2544 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 กําหนด ให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานสามารถนําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่วัน ทราบคําสั่ง โดยนายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหนด จ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจแรง งานจึงจะฟ้องคดีได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นกรรมการ ผู้มีอํานาจทําการแทนบริษัทนายจ้าง ซึ่งถือว่าเป็น นายจ้างไม่พอใจคําสั่งของจําเลยซึ่ง เป็นพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งตามมาตรา 124 แล้วเป็นฝ่ายนําคดี มาฟ้องจําเลยเพื่อ ขอให้เพิกถอนคําสั่งดังกล่าว ก็จะต้องนําเงินที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งของจําเลยมา วางศาล แต่โจทก์ไม่นําเงินมาวางต่อศาลแรงงานภายในเวลาที่ศาลแรงงานกําหนด โจทก์จึงไม่มี อํานาจฟ้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7964/2543 เมื่อคดีถึงที่สุดและนายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินจํานวนใด ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรมของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 125 วรรคสี่ บัญญัติให้ศาลมีอํานาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาล ให้แก่ลูกจ้างหรือทายาทโดยธรรม ของลูกจ้างซึ่งถึงแก่ความตายได้ มิได้จํากัดว่าคดี จะต้องถึงที่สุดด้วยคําพิพากษาของศาลเท่านั้น ดังนี้ แม้โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาล แรงงานมีคําสั่งให้จําหน่ายคดีจากสารบบความ แต่เมื่อคดีถึงที่สุด และโจทก์มีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินดังกล่าว ศาลแรงงานจึงมีอํานาจจ่ายเงินที่โจทก์นํามาวางไว้ให้แก่จําเลย ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3811/2542 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กําหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานนําคดีไปสู่ศาล ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคําสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่นํา คดีไปสู่ศาลต้องวางเงินต่อศาล ตามจํานวนที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงาน จึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จะต้องให้สอดคล้องกับ ความไม่พอใจ คําสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเท่าใด ก็วางเงินที่ตน โต้แย้งไม่จําต้องวางเต็มจํานวนตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเสมอไป ดังนั้น เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือ โต้แย้งคําสั่งจําเลยแต่เพียงค่าชดเชยและ สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจํานวน 369,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจํานวน ดังกล่าวได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2542 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 125 วรรคหนึ่ง กําหนด ให้นายจ้างที่ไม่พอใจคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานนําคดีไปสู่ศาลได้ภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่ง โดยมาตรา 125 วรรคสาม กําหนดให้นายจ้างที่นําคดีไปสู่ศาลต้องวาง เงินต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหน ดจ่ายตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงานจึงจะฟ้องคดีได้ ส่วนการวางเงินตามคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน จะต้องให้สอดคล้องกับความไม่พอใจ คําสั่งดังกล่าวด้วย โดยนายจ้างไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่ง พนักงานตรวจแรงงานเท่าใด ก็วางเงินที่ตนโต้แย้ง ไม่จําต้องวางเต็มจํานวนตามคําสั่งพนักงานตรวจ แรงงานเสมอไป เมื่อโจทก์ไม่พอใจหรือโต้แย้งคําสั่งจําเลยทั้งสองแต่เพียงค่าชดเชยและสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นเงินจํานวน 120,000 บาท โจทก์จึงวางเงินเฉพาะจํานวนดังกล่าว ได้และศาล แรงงานกลางชอบที่จะสั่งรับคําฟ้องของโจทก์ไว้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2172/2542 แม้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 125 วรรค สาม จะกําหนดให้นายจ้างที่ประสงค์จะฟ้องเพิกถอนคําสั่งพนักงานตรวจแรงงาน ตามมาตรา 124 ต้อง นําเงินมาวางต่อศาลตามจํานวนที่ถึงกําหนดจ่ายตามคําสั่งพนัก งานตรวจแรงงานพร้อมกับคําฟ้องก็ตาม แต่ก็ไม่ห้ามนายจ้างที่จะยื่นคําร้องขอให้ศาล แรงงานขยายระยะเวลาวางเงินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาล แรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องพร้อมกับ ยื่นคําร้อง ขอขยายระยะเวลาวางเงินบางส่วนต่อศาล ศาลแรงงานกลางจะต้องมีคําสั่งคําร้องขอ ดังกล่าวก่อนที่จะพิจารณาสั่งคําฟ้อง การที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาสั่งคําฟ้องโดย ไม่พิจารณาสั่ง คําร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินก่อนเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการพิจารณา ตามมาตรา 243 (2) ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงาน และวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542 ลูกจ้างได้ยื่นคําร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้นายจ้าง จ่ายค่าชดเชยตาม มาตรา 124 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคําสั่งตามมาตรา 124 แล้ว ถ้านายจ้างไม่พอใจคําสั่งนั้น ให้ นําคดีไปสู่ศาลได้ภายในกําหนด ให้คําสั่งนั้นเป็นที่สุด ตามมาตรา 125 ดังนี้ เมื่อจําเลยผู้เป็นนายจ้างไม่ นําคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่ วันทราบคําสั่งซึ่งวินิจฉัยว่าจําเลยเลิกจ้างและสั่งให้จําเลยจ่ายค่าชด เชยให้แก่โจทก์ คําสั่ง ดังกล่าวจึงถึงที่สุด จําเลยจะดําเนินการในศาลแรงงานในปัญหาดังกล่าวซึ่งรวม ตลอด ถึงการให้การต่อสู้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดี แรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นําคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จําเลยปฏิบัติ ตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงาน จําเลยจึงไม่มีสิทธิต่อสู้คดีว่าคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานดังกล่าวอันเป็นการโต้แย้ง คําสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้ - [...]
คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การเลิกสัญญาจ้าง
คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การเลิกสัญญาจ้างกันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การเลิกสัญญาจ้าง - *การเลิกสัญญาจ้าง - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดย มิต้องบอกกล่าว ล่วงหน้า ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจ บอกเลิกสัญญาจ้าง โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อ ถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง คราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญา กันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้แต่ ไม่จําต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่ มีกําหนดระยะเวลาด้วย การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตาม จํานวนที่จะต้องจ่าย จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกําหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้าง ออกจากงานทันทีได้ การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตาม มาตรา 119 แห่ง พระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ - ข้อสังเกต 1) การบอกเลิกสัญญาจ้าง แบ่งออกเป็น 1. กรณีสัญญาจ้างกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้ - การบอกเลิกทําได้โดยมิต้องมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะถือว่า สัญญา สิ้นสุดลงทันทีแต่หากสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแล้วลูกจ้างยังคงทํางาน ต่อไปอีกและนายจ้าง ทราบแต่ก็ไม่ทักท้วงเช่นนี้ถือว่านายจ้างกับลูกจ้างได้ทําสัญญาจ้าง กันใหม่โดยผูกพันกันอย่างเดียว กับสัญญาเดิมและถือว่าสัญญาจ้างใหม่นี้เป็นสัญญาจ้าง ที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาไว้การบอกเลิก สัญญาจ้างนายจ้างต้องบอกเลิกโดยบอกกล่าว ล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคสอง 2. กรณีสัญญาจ้างไม่ได้กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้ - การบอกเลิกจ้างทําโดย การบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบ - การบอกเลิกมีผลเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างในคราวต่อไป - กรณีนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างออกทันที ต้องจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า ให้แก่ ลูกจ้างด้วย - กรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตาม จํานวน ที่กฎหมายกําหนดตามมาตรา 118 - 2) หนังสือบอกเลิกจ้างต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างด้วย (มาตรา 119 วรรคสาม) 3) การบอกกล่าวล่วงหน้าไม่นําใช้บังคับกับการเลิกจ้างตามเหตุดังนี้ 1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 2. ลูกจ้างจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่าง ร้ายแรง 4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน 5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน 6. ลูกจ้างได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก 4) ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา นายจ้างต้องระบุเหตุผลไว้ใน หนังสือบอก เลิกสัญญาจ้าง หากไม่ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตาม มาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลัง ไม่ได้ (มาตรา 17 วรรคสาม) - ข้อห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม จํากัดอยู่เฉพาะแต่ในเรื่องการฟ้อง เรียกค่าชดเชย ไม่ รวมถึงการฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2547) - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2550 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง ไม่มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงานตามสัญญาจ้างทดลอง งานที่ไม่มี กําหนดระยะเวลาการจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจําเลยที่ 1 ผู้เป็น นายจ้างไม่ได้บอกกล่าวเลิก จ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบในเมื่อถึง หรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้ เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง คราวถัดไปข้างหน้า จําเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881-6892/2549 คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า การที่โจทก์ย้ายโรงงานและสํานักงานแห่งใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ไปรวมกับสํานักงาน สาขาที่ จังหวัดนครพนม เป็นการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมี ผลกระทบสําคัญต่อ การดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว จําเลยทั้งสิบสอง ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิก สัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 หากโจทก์ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าว โจทก์ ย่อมมีสิทธินําคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยตามมาตรา 120 วรรคสี่ โจทก์ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของคณะกรรมการ สวัสดิการแรงงานแล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจึงเป็นที่สุด และย่อม ผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 วรรคห้า ซึ่งยุติไปแล้ว มาอ้างในชั้นนี้ จําเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดย เฉพาะ ตาม พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้ บังคับประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และ ระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็น กฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิก สัญญาจ้างในกรณีทั่วไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2549 จําเลยมีคําสั่งให้เปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากแผนกตัดไป แผนก เย็บโดยไม่ได้มีการลดเงินเดือนและลดตําแหน่ง เมื่อแผนกตัดและแผนกเย็บก็ทํางานอยู่ ใน ที่เดียวกันและตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานก็ให้สิทธิจําเลยโอนย้ายหรือเปลี่ยนแปลง ตําแหน่ง หน้าที่ของพนักงานได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม และแม้ว่าในใบสมัครของ โจทก์จะระบุ ตําแหน่งที่โจทก์ต้องการสมัครคือช่างแพทเทิร์น และจําเลยได้ให้โจทก์ ทํางานในตําแหน่งหัวหน้า ช่างเย็บ แต่ก็มิได้ระบุเป็นข้อตกลงพิเศษที่จะยกเว้นมิให้ ใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน อีกทั้งการ ปรับเปลี่ยนตําแหน่งของโจทก์เพราะโจทก์ ไม่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายของจําเลยโดยมิได้ มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ดังนั้น จําเลยจึงเปลี่ยนแปลงตําแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้ จําเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่นายจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดย บอกกล่าว ล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ และมิใช่กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดย ลูกจ้างมิได้มีความผิด ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความ ผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูก จ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อน ประจําปีหรือกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสองมาตรา 67 และมาตรา 118 วรรคหนึ่ง และมิใช่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2548 โจทก์ประกอบกิจการขุดและดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุ ดิบใน การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อจําหน่าย โจทก์มีหน่วยงานบ่อดูดทรายที่ ต. ปลายนา อ.ศรีประ จันต์ จ.สุพรรณบุรี ดังนั้น งานขุดและดูดทรายที่บ่อทรายรวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยว เนื่องกับกิจการดัง กล่าว จึงเป็นงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ การที่โจทก์ ว่าจ้างให้จําเลยที่ 1 ทําหน้าที่ ขับรถบริการทําหน้าที่ส่งเอกสารและพัสดุประจําหน่วยงาน ดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติงาน ตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ด้วย แม้ การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 1 จะมี กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและ โจทก์ได้เลิกจ้างจําเลยที่ 1 ตามกําหนดระยะเวลานั้นก็ตาม จําเลยที่ 1 ก็มิใช่ลูกจ้างที่มี กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสาม และวรรคสี่ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจําเลยที่ 1 ซึ่งทํางานมาเป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน จําเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และ จําเลยที่ 1 มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดแน่นอน ซึ่งจําเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วและโจทก็ได้ บอกเลิกจ้างจําเลยที่ 1 ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจําเลย ที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบ กําหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2548 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม ที่กําหนด ให้นายจ้างระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้าง หาเหตุ กลั่นแกล้งบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นความจริง แต่นายจ้างอาจระบุเพียงเหตุผล อันเป็นหลักแห่ง การกระทําความผิดของลูกจ้างโดยไม่จําเป็นต้องระบุเหตุผลอันเป็น รายละเอียดข้อเท็จจริงของการ กระทําความผิดทั้งหมดของลูกจ้างก็ได้ เพียงแต่ต้องระบุ เหตุผลตามความเป็นจริงและเพียงพอที่จะ ให้ลูกจ้างได้ทราบถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น การที่โจทก์ได้ระบุเหตุผลการเลิกสัญญาจ้างว่า ป. ได้กระทําทุจริตต่อหน้าที่ กระทํา ความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จงใจทําให้นายจ้างได้รับความ เสียหาย และฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ คําสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง แม้จะ ไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําความผิดของ ป. ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ก็ตาม ก็เพียงพอที่ทําให้ ป. ได้ทราบถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ได้ระบุเหตุผล แห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างของโจทก์โดยชอบแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2548 แม้สัญญาจ้างแรงงานจะกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้ 1 ปี แต่ในข้อ 2 ของสัญญามีข้อความว่า นายจ้างจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานเป็นระยะ เวลา 4 เดือน นับแต่วันทําสัญญา หากนายจ้างเห็นว่าความรู้ความสามารถ ฝีมือ หรือ ความเอาใจใส่ของลูกจ้างไม่ เป็นที่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ในเวลา ใดๆ ในระหว่างอายุสัญญาทดลองงานก็ ได้ เช่นนี้ ย่อมหมายถึงโจทก์ตกลงจ้างให้จําเลย ทํางานโดยมีเวลาทดลองงาน 4 เดือน หากจําเลยผ่าน การทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าหากไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ซึ่งไม่แน่ นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุด เมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2547 ข้อห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม จํากัดอยู่เฉพาะ แต่ใน เรื่องการฟ้องเรียกค่าชดเชย ไม่รวมถึงการฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828-830/2547 หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างระบุว่า ลูกจ้างได้ครอบ ครองเก็บรักษาเงินของบริษัทตามหน้าที่ แล้วทําให้เงินจํานวน 446,637 บาทหายไปจาก ที่เก็บรักษา ของตน เป็นการระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามมาตรา 17 วรรคสามแล้ว การปรับบทกฎหมาย หากปรับคลาดเคลื่อนไปศาลมีอํานาจปรับบทเสียใหม่ให้ถูกต้องได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2545 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าจะกระทําเป็นหนังสือหรือกระทําด้วยวาจา นายจ้างต้องระบุ เหตุผลใน การเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบ หากกระทําเป็นหนังสือก็ต้องระบุเหตุผล ไว้ในหนังสือบอกเลิก สัญญาจ้าง แต่หากกระทําด้วยวาจาก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในขณะที่ บอกเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจําเลย บอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ด้วยวาจา แต่มิได้ระบุหรือ แจ้งเหตุผลในการบอกเลิกจ้างไว้ในขณะที่บอก เลิกสัญญาจ้าง จําเลยจึงไม่อาจยกเหตุ โจทก์ทําผิด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ตามมาตรา 119 ขึ้นอ้าง ภายหลังได้ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2545 สัญญาจ้างที่กําหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างให้ทํางานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการ ทดลองงานนายจ้างจะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้ซึ่งไม่แน่นอนว่า สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนด ระยะเวลาตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 582 แต่ปัจจุบัน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ นําบทบัญญัติดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็น กฎหมายที่เกี่ยว กับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิ จะตกลงเกี่ยวกับการเลิก สัญญาจ้างให้เป็นอย่างอื่นได้ การจ้างและเลิกจ้างคดีนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ แล้ว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 17 ซึ่งให้เลิกสัญญาจ้างโดยไม่ ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ 3 กรณี คือ สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลา และนายจ้าง เลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจาก ลูกจ้างกระทําผิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา 119 และตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 โดย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 มิได้มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่าง ทดลองงาน นั้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจําเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เข้าทั้ง 3 กรณี ดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. คุ้ม ครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย จําเลยจึง ต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้ โจทก์ทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่าย ค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญา กันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราว ถัดไป เมื่อจําเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วง หน้า จึงต้องจ่ายสิน จ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง และวรรคสี่ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551 เมื่อโจทก์ทราบว่าจําเลยมีคําสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลง บันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคําสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุม การปฏิบัติ งานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทําของโจทก์จึงเป็นการ จงใจขัดคําสั่งของนาย จ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทด แทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์ จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641-1642/2548 จําเลยที่ 1 มอบหมายให้โจทก์ดํารงตําแหน่ง ผู้จัดการส่วนเรือขนส่ง มีหน้าที่กํากับดูแลการขนส่งทางทะเลและท่าเทียบเรือของจําเลย ที่ 1 รับผิด ชอบความปลอดภัยของเรือที่รับขนส่งน้ำมันให้แก่จําเลยที่ 1 ซึ่งก่อนทําสัญญา กับผู้รับขนส่ง โจทก์ ต้องตรวจเรือที่มารับขนส่งให้ได้มาตรฐานเสียก่อน โดยจําเลยที่ 1 มีนโยบายให้ตรวจปีละครั้งโดย เคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งและเพื่อ ประโยชน์ของจําเลยที่ 1 ตําแหน่งหน้าที่ของโจทก์ จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการรักษา ผลประโยชน์ของจําเลยที่ 1 การที่โจทก์รับเงินค่าที่ปรึกษา จากบริษัท ป. ซึ่งนําเรือมา รับขนส่งน้ำมันให้แก่จําเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทําที่ขัดต่อ ตําแหน่งหน้าที่ อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันในท่าเทียบเรือของจําเลยที่ 1 ทําให้ลูกค้าของจําเลยที่ 1 เสียความเชื่อถือในการให้บริการท่าเทียบเรือ การกระทําของ โจทก์ดัง กล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานข้อ 8.1 (6) ของจําเลย ที่ 1 ที่ระบุว่า “เสนอหรือ รับของมีค่าหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการบรรจุเข้าทํางาน ตําแหน่งหน้าที่ การประมูลการเช่า การทําสัญญาหรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดย มิชอบผู้อื่น” เป็นความผิดซึ่งนับเป็นกรณีร้ายแรง จําเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย และ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ทั้งมิใช่การเลิกจ้าง ที่ไม่เป็น ธรรม จําเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ด้วย -   [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(5)
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(5)กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (5) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (5)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ .......................................................................................................... (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มี เหตุอันสมควร - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15918/2553 เมื่อโจทก์ทั้งสามละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยย่อม เลิกจ้างโจทก์ทั้งสามได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (5) ไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 ประกอบ ป.พ.พ. มาตรา 583 และถือว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสามโดยมีเหตุอันสมควร จึงไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่า เสียหายแก่โจทก์ทั้งสาม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49 - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3198/2551 การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้โจทก์ทั้งแปดสิบสอง ซึ่งเป็นลูกจ้างทำงานอยู่ที่ จังหวัดปราจีนบุรีไปทำงานที่โรงพยาบาลเปาโล จังหวัดสมุทรปราการ มาจากเหตุที่ จำเลยที่ 1 หมดสัญญาอนุญาตให้บริการขายอาหารระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้เสนอให้โจทก์ทั้งแปดสิบสองเลือกไปทำงานในสาขาอื่นของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่ในจังหวัดสมุทรปราการและกรุงเทพมหานคร โดยจะให้เงินช่วยเหลือเป็นค่า เช่าบ้านเดือนละ 1,000 บาท เมื่อโจทก์ทั้งแปดสิบสองไม่เลือกและไม่แสดงความจำนง ให้จำเลยที่ 1 ทราบ จำเลยที่ 1 จึงมีความจำเป็นต้องส่งให้โจทก์ทั้งแปดสิบสองไป ทำงานที่โรงพยาบาลเปาโล จังหวัดสมุทรปราการในตำแหน่งไม่ต่ำกว่าเดิม เมื่อโจทก์ ทั้งแปดสิบสองมีหนังสือแจ้งจำเลยที่ 1 ว่าไม่ประสงค์จะไปปฏิบัติงานหน่วยงาน แห่งอื่นของจำเลยที่ 1 และไม่ไปปฏิบัติหน้าที่ตามวันเวลาที่จำเลยที่ 1 กำหนด จึง เป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5) และเป็นการละทิ้งการงานไปซึ่งจำเลยที่ 1 จะไล่ออก โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทดแทนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และการเลิกจ้างด้วยเหตุดังกล่าวเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและสมควร จึงมิใช่การ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ทั้งแปดสิบสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4105/2550 ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยบทที่ 7 ระเบียบวินัย โทษทาง วินัย และการทำงานอย่างมีระเบียบข้อ 47 ระบุว่าจำเลยมีสิทธิโอนย้ายลูกจ้าง จากหน่วยงานหนึ่งไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งของจำเลยได้โดยไม่มีข้อความระบุว่า จำเลยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างในการย้ายก่อน ดังนั้น การที่จำเลย มีคำสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดเชียงใหม่ ไปที่งานที่หน่วยงานของจำเลยในจังหวัดอื่น ๆ จึงเป็นการย้ายโดยจำเลยมีสิทธิ กระทำได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานบทที่ 7 ข้อ 47 แม้การย้ายสถานที่ ทำงานจะมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวันในครอบครัวของผู้ถูกย้ายก็ถือเป็น เรื่องธรรมดา แต่ตำแหน่งใหม่ที่จำเลยสั่งย้ายโจทก์ทั้งสี่ไปทำงานและค่าจ้างที่ได้รับ ก็ไม่ต่ำกว่าตำแหน่งเดิม เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีการกระทำอื่นที่เป็นการกลั่นแกล้ง ย้ายโจทก์ทั้งสี่ คำสั่งย้ายของจำเลยจึงชอบด้วยข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าว และชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงาน ตามคำสั่งย้าย เมื่อโจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ ณ หน่วยงานตามคำสั่งย้าย จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่ในตำแหน่งใหม่โดยไม่มีเหตุอันสมควร แม้โจทก์ทั้งสี่จะยังคง ปฏิบัติงานตามหน้าที่เดิมที่จังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นการละทิ้งหน้าที่ จำเลยให้โจทก์ทั้งสี่ ไปปฏิบัติงานในหน้าที่ใหม่ในวันที่ 18 เมษายน 2548 แต่โจทก์ทั้งสี่ไม่ไปปฏิบัติ งานจนถึงวันที่ 20 เมษายน 2548 จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงาน ติดต่อกัน จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสี่ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 119 (5) - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 39/2545 โจทก์ทำหน้าที่เป็นพนักงานขับรถของจำเลยที่ 1 ซึ่งประจำอยู่สำนัก งานใหญ่ในกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 สามารถย้ายโจทก์ไปปฏิบัติงานในโครงการ ก่อสร้างจังหวัดใกล้เคียงได้ ดังนั้น คำสั่งของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ไปทำงานใน โครงการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำ จังหวัดนนทบุรี จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ไม่ยอมไปทำงานที่โครงการดังกล่าวแม้จะยังคงไปทำงานที่สำนักงานใหญ่ ทุกวัน ย่อมเป็นการละทิ้งหน้าที่สามวันติดต่อกันโดยไม่มีเหตุสมควร จำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (5) - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2526 โจทก์ถูกนายศิริวัฒน์ผู้จัดการฝ่ายขายของบริษัทจำเลยดูหมิ่นว่า โจทก์ได้เสียมีความ สัมพันธ์กับชายอื่นซึ่งมีภริยาแล้ว ทำให้โจทก์อับอายโจทก์จึงละทิ้งหน้าที่ไม่มาทำงานเกินสามวัน เป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้าง นายศิริวัฒน์จะมีฐานะเป็นนายจ้างหรือไม่ ไม่เป็นข้อสำคัญที่จำเป็นต้อง วินิจฉัย พฤติการณ์ที่นายศิริวัฒน์พูดเกี่ยวกับโจทก์นั้น หากเป็นจริง ก็เป็นเรื่องส่วนตัว ถ้าโจทก์ถือว่า เป็นการหมิ่นประมาททางอาญาหรือละเมิดทางแพ่ง โจทก์ก็อาจใช้สิทธิทางศาลดำเนินคดีต่อผู้ กระทำผิดได้ เหตุดังกล่าวเกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2526 ไม่มีเหตุอันสมควรใดๆ ที่โจทก์จะอ้างเป็น เหตุละทิ้งหน้าที่การงานไปตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันที่ 13 เดือนเดียวกัน และกรณีก็ไม่จำต้องวินิจฉัยล่วง เลยไปถึงว่า การที่นายศิริวัฒน์พูดเช่นนั้นเป็นการกลั่นแกล้งโจทก์หรือไม่ เพราะมิใช่เรื่องกีดกันมิให้ ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกินเจ็ดวันทำงาน โดยที่ลูกจ้างมิได้กระทำความผิด จึงถือได้ว่าโจทก์ละทิ้ง หน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จําเลยเลิกจ้างโจทก์ ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527 การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้าง และนายจ้างตกลงจะ ให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ หน้าที่สำคัญของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้แก่ นายจ้าง การลงเวลาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการจ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้อง ต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงานให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลง เวลามาทำงานของจำเลยในวันที่ 24 สิงหาคม 2526 แล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใด ๆ ให้แก่นาย จ้าง จึงถือว่าโจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ขาดงานในวันที่ 23และ 24 สิงหาคม 2526 โดยมิได้ลาตามระเบียบและไม่ปรากฏเหตุจำเป็น จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา สามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรกรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ คุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4)จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(4)
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(4)กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (4) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ "......................... (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้อง ตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - กรณีถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยชอบ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14433/2557 โจทก์ซึ่งมีสถานะเป็นผู้บังคับบัญชามีหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรงเกี่ยวกับการจัดเก็บเศษเหล็ก โจทก์ย่อมต้องปกปักรักษาทรัพย์ สินและผลประโยชน์ของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างเป็นสำคัญ การที่จำเลย ได้แจ้งความดำเนินคดีกับ ว. ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์และพวก ก็ เนื่องจากจำเลยพบว่ามีการขนย้ายเศษเหล็กออกนอกเส้นทางโดยไม่มี การบันทึกเวลาเข้าออก การที่โจทก์นำเอกสารเกี่ยวกับหนังสือโต้ตอบ เกี่ยวกับการจัดการเศษซากเพื่อปรับภูมิทัศน์ รายงานการประชุมเพื่อ กำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาเศษซาก ภาพถ่ายเกี่ยวกับ การจัดการเศษซากและสถานที่การจัดเก็บเศษซาก รายงานการ จัดการเศษซากและการขนย้ายเศษซาก ซึ่งจำเลยถือว่าเป็นเอกสาร ภายในและเป็นความลับของจำเลยไปเก็บไว้ที่บ้านของโจทก์และนำ ไปให้แก่ ว. โดยมิได้รับอนุญาตจากจำเลย แม้เป็นการนำไปเพื่อให้ ว. ต่อสู้คดีแต่ในการต่อสู้คดี ว. กับพวกสามารถขอให้ศาลหมายเรียก เอกสารดังกล่าวเข้ามาได้โดยไม่จำต้องให้โจทก์ลักลอบนำออกไป การ ที่โจทก์ลักลอบนำเอกสารซึ่งเป็นเอกสารสำคัญออกไป จึงเป็นการ ฝ่าฝืนวินัยการทำงานตามระเบียบข้อบังคับของจำเลย เป็นกรณี ร้ายแรง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องจ่ายค่าชดเชยและ ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคหนึ่ง 119 (4) ประกอบประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 ทั้งเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2557 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องมาจากโจทก์หยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของลูกค้าที่ธนาคาร ท. ซึ่งอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารจำเลยไปโดยไม่ได้ แจ้งให้ธนาคารดังกล่าวทราบและปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อป้องกันการ ติดตามของเจ้าของ รวมทั้งพยายามบอกขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้อื่น ถือว่าโจทก์มีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตอันเป็นความผิด ฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการประพฤติชั่วอย่าง ร้ายแรง แม้เป็นการกระทำต่อผู้อื่นที่มิใช่ลูกค้าหรือผู้มาติดต่องานกับ จำเลยและมิได้เกิดในสถานที่ทำงาน แต่ก็ยังคงเป็นความผิดอาญา หา เป็นเหตุให้โจทก์หลุดพ้นจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงไม่ อีกทั้ง การประพฤติชั่วนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะความประพฤติในขณะปฏิบัติ หน้าที่เท่านั้น ย่อมหมายความรวมถึงความประพฤติที่พึงต้องปฏิบัติ โดยทั่วไปด้วย การกระทำของโจทก์เป็นการไม่รักษาเกียรติยศชื่อเสียง ของจำเลยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการว่าจ้างและการทำงาน บทที่ 6 วินัยและการลงโทษทางวินัยข้อ 5 เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงที่เลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และ เป็นธรรม แล้ว - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2556 การพักงานที่เป็นโทษทางวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของ จำเลยต้องเป็นการพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้าง การที่จำเลยพักงานโจทก์ 7 วัน และหัก ค่าจ้างโจทก์ไว้ร้อยละ 50 โดยให้เหตุผลว่าเพื่อรอการสอบสวนหาข้อเท็จจริงการ กระทำผิดของโจทก์จึงไม่ใช่การลงโทษทางวินัย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานระบุว่าพนักงานต้องไม่ทำการทะเลาะวิวาท หรือใช้กำลังประทุษร้ายซึ่งกันและกันในบริเวณบริษัท เมื่อข้อเท็จจริงยุติว่าโจทก์ทำ ร้ายร่างกาย พ. ผู้บังคับบัญชาของโจทก์ในขณะปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยชกที่ใบหน้า ปาก และศีรษะ แสดงว่าโจทก์ไม่มีความยำเกรงต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เกรงกลัวต่อ กฎหมายหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำ งานกรณีร้ายแรง - - กรณีถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่ชอบ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 868/2548 จำเลยย้ายโจทก์จากตำแหน่งเลขานุการประจำสำนักงานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อ รัชดาภิเษก ไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ของจำเลย สาขาสุขาภิบาล 1 แล้วโจทก์ไม่ยอมย้ายไปทำงานในตำแหน่งดังกล่าว จำเลยจึงมี หนังสือเตือนให้โจทก์ไปปฏิบัติงานตามตำแหน่งใหม่ แต่โจทก์ก็ไม่ยอมไปทำงาน ในตำแหน่งใหม่ตามหนังสือเตือน จำเลยจึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์ตามเอกสารหมาย จล.4 ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2545 อ้างว่า โจทก์จงใจขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรมของจำเลยอันเป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือน เห็นว่า แม้นายจ้าง จะมีอำนาจบริหารในการโยกย้ายตำแหน่งงานของลูกจ้าง เพื่อให้เหมาะสมแก่งาน เพื่อให้การทำงานของลูกจ้างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง ก็ตาม แต่การย้ายนั้นต้องไม่เป็นการลดตำแหน่งหรือค่าจ้างของลูกจ้าง อีกทั้งไม่เป็น การกลั่นแกล้งลูกจ้างด้วย การที่จำเลยย้ายโจทก์ในตำแหน่งเลขานุการประจำสำนัก งานใหญ่ฝ่ายจัดซื้อ ซึ่งทำงานธุรการในฝ่ายจัดซื้อไปดำรงตำแหน่งพนักงานทั่วไป ประจำแผนกผักและผลไม้ สาขาสุขาภิบาล 1 ของจำเลยซึ่งทำหน้าที่จัดเตรียมสินค้า และชั่งผลไม้ รวมทั้งทำความสะอาดในบริเวณสถานที่ซึ่งมีลักษณะงานที่ด้อยกว่าเดิม อีกทั้งเป็นการย้ายโจทก์จากตำแหน่งเลขานุการ ซึ่งเป็นพนักงานระดับ 4 ไปเป็น พนักงานทั่วไปประจำแผนกผักและผลไม้ ซึ่งหัวหน้าแผนกดังกล่าวเป็นพนักงานระดับ 3 จึงเป็นการย้ายที่ลดตำแหน่งของโจทก์ลง แม้จะจ่ายค่าจ้างเท่าเดิม ก็เป็นคำสั่งย้ายที่ไม่ชอบ ด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ การที่โจทก์ปฏิเสธไม่ยอมไปทำงานในตำหน่งใหม่ ที่ต่ำกว่าเดิมนั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง จำเลยไม่อาจออกหนังสือเตือนในการกระทำของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่โจทก์ปฏิเสธ ไม่ยอมไปทำงานในตำแหน่งใหม่จึงมิใช่เป็นการกระทำผิดซ้ำหนังสือเตือนตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 (4) เมื่อโจทก์ทำงานกับจำเลยครบ 1 ปี แต่ยังไม่ครบ 3 ปี จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าวโดยไม่ได้บอกกล่าวล่วงหน้า จึงต้องจ่ายค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายจำนวน 90 วัน เป็นเงิน 47,700 บาท ตาม มาตรา 118 (2) และต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคสอง และวรรคสี่ ประกอบประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 และการที่จำเลย เลิกจ้างโจทก์โดยที่โจทก์มิได้ฝ่าฝืนคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของนายจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมต้องจ่ายค่าเสียหาย ให้แก่โจทก์ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์นั้นชอบแล้ว - ข้อสังเกต ในกรณีนี้ศาลเห็นว่า เป็นการออกหนังสือเตือนโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนายจ้างเลิกจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่มีเหตุอันสมควร ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่ลูกจ้าง - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9774/2558 เหตุที่โจทก์ยกขึ้นเป็นข้อเลิกจ้าง ข. ลูกจ้างเพราะกระทำผิดซ้ำคำเตือน ในข้อขัดคำสั่งของผู้บังคับบัญชาที่ได้เตือนเป็นหนังสือแล้ว การเตือนใน ครั้งแรกตามหนังสือเตือน ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2553 เป็นการเตือน เนื่องจาก ข. ขัดคำสั่งและโต้เถียงผู้บังคับบัญชาระดับสูงอันเป็นผลมาจาก การที่ ข. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในฐานดื่มสุราขณะขับขี่ยานพาหนะ และไม่สามารถมาปฏิบัติงานได้ แต่ในการกระทำผิดครั้งหลังเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 เป็นเรื่อง ข. ไม่ไปตรวจสอบสถานที่ตามคำสั่งของ ผู้บังคับบัญชาแล้วทำรายงานเท็จเสนอต่อโจทก์ว่าตรวจสอบแล้ว ซึ่งเป็น คนละกรณีกันไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน อันจะมีผลให้นายจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (4) - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(3)
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(3)กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (3) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (3)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ........................................................... (2) ........................................................... (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - กรณีถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13812/2557 การกระทำที่ไม่เป็นความผิดในคดีอาญา แต่อาจจะเป็นการกระทำความผิดทางวินัยตามข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานได้ แม้คดีอาญาจะเป็นความผิดที่เกี่ยวกับแผ่นดินซึ่งอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความผิด ทางวินัย แต่การพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อคดีอาญาหรือไม่ หรือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ ย่อมมีองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันไป ไม่อาจนำข้อสรุปของการพิจารณาแต่ละ กรณีมาใช้บังคับแก่กันได้ แม้คดีอาญาที่จำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์จะถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการมีคำ สั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นข้อยุติว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดทางวินัยด้วยได้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์ใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นพนักงานเก็บรักษาของอันเป็นการ ปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีย่อมมี เหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2548 ในหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ว่า โจทก์ทำงานด้วย ความสะเพร่าทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า เป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมเห็นได้ว่าที่โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าจนทำให้ มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่จำเลยส่งไปไห้แก่ลูกค้าเป็นการกระทำโดยประมาท เลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 119 (3) นั่นเอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้คดีโดยระบุ เหตุผลแห่งการเลิกจ้างตรงตามที่จำเลยได้ให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุ ให้จำเลยไต้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดย ไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดย ไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุ เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก - ข้อสังเกต ตามฎีกานี้ แม้นายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่า ชดเชยได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อได้ลงโทษในความผิดนี้แล้วจึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าว ได้หมดไปด้วยการลงโทษแล้ว - กรณีไม่ถือเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2552 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยไปเจรจาต่อรองขอลดภาษีโรงเรือนโดยตกลงจ่ายค่า อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่เขตเป็นเงิน 350,000 บาท ต่อมาได้ให้โจทก์ไปต่อรองขอลดค่า อำนวยความ สะดวกเหลือ 120,000 บาท และได้จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่เขตไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่า โจทก์ตรวจและผ่านเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าอำนวยความ สะดวกโดยไม่มีชื่อและลายมือชื่อ ผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐานเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ไม่ได้ เพราะการจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกเพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติ ของกฎหมาย เป็นการที่จำเลยใช้ให้โจทก์ไปทำผิดกฎหมาย เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามแล้วเกิด ข้อบกพร่องอย่างไรจำเลยจะนำเหตุนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2548 โจทก์ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบริหารของจำเลยกล่าวหาว่า น. และ ม. ลูกจ้าง ของจำเลยปลอมเอกสารอันเป็นความผิดอาญาและเสนอให้จำเลยดำเนินคดีแก่ บุคคลทั้งสอง ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ไม่ครบถ้วน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ผลของการกระทำของโจทก์คือจำเลยได้เลิกจ้าง น. และ ม. โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างจำเลย ทำให้ ระบบบริหารงานบุคคลของจำเลยเสียหาย และการดำเนินงานของจำเลยในส่วนที่ เกี่ยวกับการทำงานของบุคคลทั้งสองที่ถูกเลิกจ้างต้องหยุดชะงักไปด้วย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่า จำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณี ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาท เลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่ง ไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลย เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม มาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน - ข้อสังเกต เนื่องจากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างระบุว่า ลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้น ปลดออกจากงาน แต่เมื่อตามข้อเท็จจริงในคดีเป็นเพียงความเสียหายในระบบการ บริหารงาน จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับ ความเสียหายอย่างร้ายแรง - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(2)
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119(2)กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (2) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ........................................................... (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง - ข้อสังเกต กรณีถือว่าจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2525 โจทก์เป็นหัวหน้าคนงานควบคุมการขนย้ายมีหน้าที่ต้องคอยบังคับบัญชาดูแล ให้คนงานทำงานให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกที่ควร และมิให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย แต่โจทก์กลับเรียกคนงานซึ่งกำลังทำงานให้จำเลยเข้าไปในห้องพัก คนงานโดยไม่ยอมให้ออกมาทำงาน ทั้ง ๆ ที่ยังมีงานที่คนงานจะต้องทำอีกมาก จนจำเลย ต้องจัดคนงานอื่นมาทำงานแทนการกระทำของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นการจงใจ ทำให้ นายจ้างได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) และการกระทำ ดังกล่าวถือได้ด้วยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ต่อมาโจทก์ได้จด ทะเบียนตั้งบริษัท ค. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการ ของนายจ้างแม้ไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการ ของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นการจูงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างมี สิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราช บัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามใน หนังสือเลิกจ้างในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างและ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและ บริการธุรกิจของบริษัทนายจ้าง จะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ กิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวแก่บุคคลทั้งสองเองมิได้มี ผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2546 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) มีความมุ่งหมาย ที่จะให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างที่ตั้งใจหรือมีเจตนากระทำการโดยรู้ว่าการ กระทำของตนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเท่านั้น มิได้มุ่งเน้นที่ความเสียหาย ว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพียงใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือ ไม่ตั้งใจตามมาตรา 119(3) ที่มีเงื่อนไขว่า ความเสียหายที่นายจ้างได้รับจะต้องถึงขั้น เสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฉะนั้น ไม่ว่าการกระทำของโจทก์จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระ สำคัญที่จะนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2552 การที่โจทก์บางคนซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงาน หยุดงานเข้าร่วมชุมนุมกับลูกจ้างที่มีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เป็นเรื่องที่ โจทก์ดังกล่าวสามารถรู้สำนึกและคาดหมายถึงผลของการกระทำของ ตนกับพวกได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อ กิจการของจำเลยและทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ต้องถือว่าโจทก์ ทั้งหมดรวมกันจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ที่ศาลแรงงาน กลางวินิจฉัยโดยภาพรวมว่าโจทก์ทั้งสิบหกคนทั้งที่มีหน้าที่และไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานตามแผนการผลิตได้ละทิ้งหน้าที่ ไม่ไปปฏิบัติงานอันเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราช- บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จึงชอบแล้ว - - กรณีไม่ถือว่าเป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2540 แม้ข้อบังคับของจำเลยจะระบุให้ถือการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสาร หรือการกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทจำเลยมอบหมายและการ ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบังอำพรางการกระทำผิดของตนเองหรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัทเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็หามีผลว่าการกระทำเช่น นั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่าง ร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป โจทก์ที่ 1 ดำรง ตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง มีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้น ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองทราบว่าลูกจ้าง จำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะประเภทและชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไป ทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งเป็นการปิดบังอำพราง การกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยว กับการทำงาน ก็เป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดร้ายแรง ทั้งไม่เป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเมื่อจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2544 โจทก์อนุญาตให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนไม่ตรงกับใบสั่งจ่ายน้ำมันเข้าไปเติมน้ำมันใน บริษัทจำเลยและออกใบผ่านยามไม่ตรงกับความจริง ซึ่งปฏิบัติกันเป็นปกติเพราะไม่มีระเบียบ ปฏิบัติที่ชัดเจนไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จำเลยก็ เรียกเก็บเงินในภายหลังได้ตามปกติ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างเสียหายตามพระราช บัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ว่า “ไม่ ปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย ทำหลักฐานหรือรายงานหรือให้ข้อ ความเป็นเท็จแก่บริษัทฯ“ จำเลยจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545 กรณีลูกจ้างจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (2) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ หมายถึง ลูกจ้างกระทำได้โดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายโดยรู้ถึง ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นายจ้างด้วย การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงไปรายงาน โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติ แต่ โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่ นายจ้าง จึงไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อ หน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับ ผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย - [...]
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง(มาตรา 119(1) )
อธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง(มาตรา 119(1) )กันยายน 7, 2020คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้อง ตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มี เหตุอันสมควร (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็น เหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ *มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 - ข้อสังเกต เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างนั้น เว้นแต่ มีเหตุดังต่อไปนี้ที่นายจ้างยกขึ้นเป็นข้ออ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้ กับลูกจ้างที่ทุจริตต่อหน้าที่ หรือ กระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ดังนั้น เหตุแห่งการเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 (1) แบ่ง ออกเป็น - ทุจริตต่อหน้าที่ คือ การประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ซื่อตรง - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2557 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องมาจากโจทก์หยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของลูกค้าที่ธนาคาร ท. ซึ่งอยู่ที่ชั้นล่างของอาคารจำเลยไปโดยไม่ได้ แจ้งให้ธนาคารดังกล่าวทราบและปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อป้องกันการ ติดตามของเจ้าของ รวมทั้งพยายามบอกขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้อื่น ถือว่าโจทก์มีเจตนาเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตอันเป็นความผิด ฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการประพฤติชั่วอย่าง ร้ายแรง แม้เป็นการกระทำต่อผู้อื่นที่มิใช่ลูกค้าหรือผู้มาติดต่องานกับ จำเลยและมิได้เกิดในสถานที่ทำงาน แต่ก็ยังคงเป็นความผิดอาญา หา เป็นเหตุให้โจทก์หลุดพ้นจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงไม่ อีกทั้ง การประพฤติชั่วนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะความประพฤติในขณะปฏิบัติ หน้าที่เท่านั้น ย่อมหมายความรวมถึงความประพฤติที่พึงต้องปฏิบัติ โดยทั่วไปด้วย การกระทำของโจทก์เป็นการไม่รักษาเกียรติยศชื่อเสียง ของจำเลยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการว่าจ้างและการทำงาน บทที่ 6 วินัยและการลงโทษทางวินัยข้อ 5 เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงที่เลิกจ้างโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม แล้ว - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2552 ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าด้วย ระเบียบวินัยและการลงโทษพนักงานขอการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537 ข้อ 4 กำหนดว่าการไล่ออกจะกระทำได้ เมื่อพนักงาน ผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (ก) ทุจริตต่อหน้าที่...(ฉ) ประพฤติ ชั่วอย่างร้ายแรง การที่โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า นายณรงค์กับนายวีรพรรณ ผู้ใต้บังคับ บัญชาของโจทก์ไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้หยุดพักผ่อนประจำปีและบุคคล ทั้งสองยังคงปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีสิทธิหยุดพักผ่อนดังกล่าว แต่โจทก์ได้เบิกจ่ายเงิน ให้บุคคลภายนอกที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเพื่อให้มาปฏิบัติหน้าที่แทนโดยบุคคล ภายนอกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างจริง การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการ ประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่แล้ว ไม่ว่าความเสียหายที่จำเลย ที่ 1 ได้รับจะมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด และจำเลยที่ 1 มีสิทธิลงโทษไล่โจทก์ ออกจากงานตามข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นได้ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2552 โจทก์ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวต่อพ่วงกับอุปกรณ์ของจำเลยใน เวลาทำงานเพื่อทำการค้ากับบุคคลภายนอก นอกจากจะเป็นการ แสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากการใช้กระแสไฟฟ้า โทรศัพท์และ อุปกรณ์ของจำเลยแล้วยังเป็นการเบียดบังเวลาทำงานของจำเลยอีก ด้วย ย่อมทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยตักเตือนและ สั่งห้ามแล้ว โจทก์ยังกระทำเช่นนั้นอีกจนต้องมีการตักเตือนเช่นนั้นถึง 5 ครั้งย่อมถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ และเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอก กล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และตามพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ดังกล่าว ยังยากแก่ การบังคับบัญชา หากจ้างโจทก์ทำงานต่อไปก็มีแต่จะทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายมากขึ้น จำเลยย่อมมีเหตุผลที่จะไม่ไว้วางใจให้โจทก์ ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการ เลิกจ้างที่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มิได้ให้ความหมายคำว่า “ทุจริต”ไว้ และมิได้ใช้คำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรม คือความประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการ สอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่าโจทก์ได้รับกล้องที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่ เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วยความจำที่บันทึกภาพถ่ายใน กล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าว ไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการ นำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้โจทก์ก็น่าจะ ยอมรับว่าเอาไว้ใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้นไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้อง บันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้เป็นการส่วนตัวโจทก์จึง เพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้ พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่า ได้กล้องดังกล่าวมา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอา ไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบหาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วย เช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ.มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การปฏิบัติ หน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอก กล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10332/2550 แม้หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ระบุเหตุผลที่เลิกจ้างไว้ประการหนึ่งว่า โจทก์ไม่ได้มาทำงานในวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 แต่ได้ลงบันทึกข้อมูล ของบริษัทจำเลยว่าโจทก์มาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าอาหาร ให้โจทก์วันละ 10 บาท รวม 2 วัน เป็นเงิน 20 บาท อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ในวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 ซึ่งไม่ตรงกับที่ศาลแรงงานกลางฟัง ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่มาทำงานในวันที่ 24 มีนาคม 2547 แต่โจทก์แก้ไข ข้อมูลว่ามาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้รับประโยชน์เป็นเบี้ยขยันเดือนละ 300บาทและค่าอาหารวันละ10บาทอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ในวันที่24มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่คนละวันกัน แต่ก็เป็นการระบุเรื่องโจทก์ทุจริต ต่อหน้าที่เป็นเหตุผลให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว เพียงแต่ระบุวันที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ผิดพลาดไปซึ่งเป็นรายละเอียดเท่านั้น จำเลยย่อมยกเหตุผลที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ - [...]
อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-โมฆะกรรมและโมฆียกรรม
อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-โมฆะกรรมและโมฆียกรรมกันยายน 7, 2020อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-โมฆะกรรมและโมฆียกรรม - *โมฆะกรรม *มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความ เสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้ ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่ง ประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ อธิบาย -โมฆะกรรมเป็นเรื่องของผลของการทำนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ให้นิติกรรมนั้นมีผลเป็นโมฆะ เช่น นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย หรือ นิติกรรมที่มิได้ทำตามแบบ เป็นต้น -นิติกรรมใดเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมเสียเปล่า ไม่มีผลตามกฎหมายที่จะเรียกร้องให้บังคับกัน ได้ตามนิติกรรมนั้น -โมฆะกรรม มีสาเหตุจาก 6 ประการ คือ 1.เพราะนั้นมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตามมาตรา 150 ฎีกาที่ 701/2553 จำเลยที่ 1 และที่ 2 สมคบกันทำสัญญากู้ยืมเงินฉบับลงวันที่ 30 กันยายน 2541 จำนวนเงิน 500,000 บาท และฉบับลงวันที่ 30 เมษายน 2542 จำนวนเงิน 200,000 บาท โดยมิได้เป็นหนี้กันจริง แล้วดำเนินคดีและบังคับคดี ตามคำพิพากษาตามยอมในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 42/2545 ของศาลชั้นต้นต่อที่ดินโฉนดเลขที่ 47781 พร้อม สิ่งปลูกสร้างของจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1142/2544 ของ ศาลชั้นต้น บังคับคดีต่อทรัพย์สินดังกล่าวได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการจงใจทำผิดกฎหมาย อันเป็น ความผิดฐานโกงเจ้าหนี้ตาม ป.อ. มาตรา 350 สัญญากู้ยืมเงินทั้ง 2 ฉบับและสัญญาประนีประนอมยอมความ ในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 42/2545 ของศาลชั้นต้น จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายและ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150 โดยไม่ต้องเพิกถอน 2.เพราะมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ตามมาตรา 152 ฎีกาที่ 6190/2550 บทบัญญัติตามมาตรา 68 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ ศ. 2534 กำหนดให้ สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้ เครื่องหมายการค้าระหว่าง ก. กับโจทก์ที่ยังมิได้จดทะเบียน ย่อมตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 152 โจทก์จึงไม่มีสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยว่าละเมิดสิทธิ ในเครื่องหมายการค้านั้น 3.เพราะการแสดงเจตนาวิปริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 154 ถึง 156 คือ เกิดจากการะแสดงเจตนาซ่อนเร้น เจตนาลวง เจตนาอำพราง การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม 4.เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายตาม มาตรา 187 ถึง 190 คือเงื่อนไขที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น 5.เพราะขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายตามมาตรา 151 ฎีกาที่ 8211/2547 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 10 วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่นายจ้างเรียก หรือรับเงินประกันหรือทำสัญญาประกันกับลูกจ้างเพื่อชดใช้ความเสยหายที่งกจ้างเป็นผู้กระทำ เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง หรืองกจ้างลาออก หรือสัญญาประกันสิ้นอายุ ให้นายจ้างคืนเงินประกันพร้อมดอกเบี้ย (ถ้ามี) ให้แก่ลูกจ้างภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้าง หรือวันที่งกจ้างลาออก หรือวันที่สัญญาประกันสิ้นอายุ แล้วแต่กรณี" ดังนี้ ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับ ส. ที่ว่า หาก ส. ลาออกจากงานก่อน 24 เดือนส.ขอสละสิทธิไม่รับเงินประกัน แม้จะ ตกลงกันก่อนที่โจทก์จะจ้าง ส.แต่ก็เป็นข้อตกลงที่แตกต่างจากบทบัญญัติข้างต้นซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 6.นิติกรรมที่เป็นโมฆียะแล้วถูกบอกล้างโดยชอบตามมาตรา 176 -*ผลของโมฆะกรรม คือ 1. บุคคลผู้มีส่วนได้เสียสามารถยกขึ้นกล่าวอ้างได้ และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความเสียเปล่า แห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างได้ ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ มาใช้บังคับ *บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย หมายถึง ผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์จากนิติกรรมนั้น - บุคคลผู้มีส่วนได้เสียทุกคนสามารถยกเอาความเสียเปล่าขึ้นมากล่าวอ้างได้ โดยไม่จำกัดเฉพาะคู่กรณี ในการทำนิติกรรมเท่านั้น ฉะนั้นบุคคลผู้มีส่วนได้เสีย จึงหมายความรวมถึงบุคคลที่จะได้รับประโยชน์หรือ เสียประโยชน์ ถ้านิติกรรมนั้นเป็นผลหรือไม่เป็นผลหรือกลับกัน ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียจึงอาจรวมถึงผู้สืบสิทธิ เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือผู้ค้ำประกันของคู่กรณีด้วย -ฎีกา 3072/2536 คำว่า "ผู้มีส่วนได้เสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา133 เดิม (มาตรา172ใหม่) หมายถึง ผู้ที่จะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์หากนิติกรรมที่กล่าวอ้างว่าเป็นโมฆะเป็นผล หรือไม่เป็นหรือกลับกันเมื่อโจทก์ทั้งสี่ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าบิดาโจทก์ทั้งสี่ซื้อที่ดินพิพาท มาจาก ส.ผู้ล้มละลายต่อมาบิดาโจทก์ทั้งสี่ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทเป็นมรดกตกทอดแก่โจทก์ทั้งสี่และจำเลยให้การ ต่อสู้ว่าบิดาโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทจากส.ขณะที่ส.เป็นบุคคลล้มละลายนิติกรรมซื้อขายเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสี่ไม่มีอำนาจ ฟ้องจำเลยดังนี้จำเลยจึงเป็นผู้ที่จะได้ประโยชน์จากที่นิติกรรมซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส.กับบิดาโจทก์ทั้งสี่ เป็นโมฆะจำเลยจึงชอบที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นอ้างได้ -กำหนดเวลาการกล่าวอ้างความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรม กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าจะต้องกล่าวอ้าง ขึ้นเมื่อใด ฉะนั้น บุคคลผู้มีส่วนได้เสีย จึงสามารถยกขึ้นมากล่าวอ้างได้เสมอโดยไม่จำกัดเวลา ถ้าหากว่าโมฆะกรรม นั้นยังไม่มีการปฏิบัติหรือรับปฏิบัติชำระหนี้ไปตามนิติกรรม 2.โมฆะกรรมไม่อาจให้สัตยาบันได้ -*สัตยาบัน หมายถึง การยืนยันหรือการรับรอง -โดยทั่วไปการให้สัตยาบันจะทำแต่เฉพาะนิติกรรมที่เป็นโมฆียะกรรม คือ ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรม ที่เป็นโมฆียกรรมนั้น ยืนยันหรือรับรองให้นิติกรรมที่เป็นโมฆียกรรมนั้นเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ ทำให้ไม่อาจบอกล้างได้ แต่มาตรา 172 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่าโมฆะกรรมไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ ฉะนั้น โมฆะกรรมจึงไม่อาจมีการให้ สัตยาบันได้เพราะไม่สามารถทำให้นิติกรรมที่เป็นโมฆะไปแล้วกลับคืนมาเป็นสิ่งสมบูรณ์ได้และไม่ทำให้เกิดผล ในทางกฎหมายแต่อย่างใด -3.*การคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม โมฆะกรรมเป็นการทำนิติกรรมที่เสียเปล่า ไม่ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย คู่กรณีจึงยังคงอยู่ในฐานะเดิม เหมือนมิได้มีการทำนิติกรรมกันเลย ดังนั้น การชำระหนี้หรือการปฏิบัติตามโมฆะกรรมจึงเป็นการกระทำโดยปราศจาก มูลอันจะอ้างกฎหมายได้ บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินไป จึงจำต้องคืนทรัพย์สินให้แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งในฐานลาภมิควรได้ -บทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้ อยู่ในมาตรา 407 – 419 -การเรียกคืนทรัพย์ฐานลาภมิควรได้ ต้องตกอยู่ในอายุความการเรียกคืนทรัพย์ในเรื่องลาภมิควรได้ ตามมาตรา 419 คือ จะต้องเรียกคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ผู้เรียกคืนรู้ถึงสิทธิเรียกร้อง หรือภายใน 10 ปี นับแต่เวลา ที่สิทธินั้นได้มีขึ้น *นิติกรรมตกเป็นโมฆะบางส่วน *มาตรา 173 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่ จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออก จากส่วนที่เป็นโมฆะได้ อธิบาย -โดยปกติแล้วถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่มีกรณีที่พึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออก จากส่วนที่เป็นโมฆะได้ -ฎีกา 805/2536 จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ 10,000 บาท อีก 13,800 บาทเป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ซึ่งเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ตกเป็นโมฆะ ปรากฏว่าโจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทกัน โดยกำหนดราคาเท่ากับต้นเงินและดอกเบี้ยที่จำเลยค้างชำระดังกล่าว ดังนี้ แม้ราคาที่กำหนดในสัญญา จะรวมเอาเงินกู้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับจากจำเลยไว้ด้วยกันก็ตาม แต่โจทก์จำเลยไม่ได้เจตนาที่จะแยก การซื้อขายที่ดินพิพาทบางส่วนในราคาเงินต้น 10,000 บาท ที่จำเลยค้างชำระออกจากราคาที่ดินอีก 13,800 บาท ซึ่งเป็นดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะนั้น สัญญาซื้อขายจึงเกิดจากหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นโมฆะทั้งฉบับตามมาตรา 173 -ฎีกา 1647/2549 สัญญากู้ยืมเงินส่วนที่เกิน 350, 000 บาท เป็นดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินที่เกินอัตราที่กฎหมาย กำหนด แล้วนำมารวมเข้าเป็นต้นเงินกู้ที่ทำขึ้นใหม่ เป็นดอกเบี้ยต้องห้ามตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) ส่วนของต้นเงินที่มาจากดอกเบี้ยที่ไม่ชอบทั้งหมดย่อมตกเป็นโมฆะ แต่ไม่ทำให้ส่วนของต้น เงินที่ชอบจำนวน 350,000 บาท เสียไปด้วย เพราะพึงสันนิษฐานโดยพฤติการณ์แห่งกรณีได้ว่า โจทก์จำเลยเจตนาให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 173 โจทก์จึงคงมีสิทธิเรียกร้องตามสัญญากู้ยืมเงินในส่วนที่ชอบคือต้นเงิน 350, 000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 19 มกราคม 2540 ซึ่งเป็นวันทำสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมา เป็นมูลฟ้อง ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 19 มกราคม 2536 ซึ่งเป็นวันที่ กู้ยืมเงินตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับก่อนทั้งที่โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือ นอกจากคำฟ้อง ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ประกอบมาตรา 246 -ฎีกา 235/2551 เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 เป็นคู่สัญญาในสัญญาประนีประนอมยอมความ การที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงชดใช้ค่าเสียหายไม่ว่าในส่วนใดก็ต้องถือว่าลงลายมือชื่อในฐานะคู่สัญญา และแม้ข้อตกลงในส่วนที่โจทก์สละสิทธิในการดำเนินคด ็ไนข้อหาพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจาร ซึ่งเป็นความผิดต่อแผ่นดินจะขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนตกเป็นโมฆะก็ตาม ก็เป็นส่วนที่แยกออกจากส่วนที่ไม่เป็นโมฆะได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 173 สัญญาประนีประนอมยอมความ ในส่วนที่สมบูรณ์ยังมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 *นิติกรรมเป็นโมฆะแต่สมบูรณ์เป็นนิติกรรมอย่างอื่น *มาตรา 174 การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตามนิติกรรม ซึ่งไม่เป็นโมฆะ ถ้าสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะแล้ว ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น อธิบาย -นิติกรรมใดเป็นโมฆะ แต่หากเข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตาม นิติกรรมที่ไม่เป็นโมษะ หากสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะ ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น เช่น ทำสัญญาซื้อขายที่ดินมีเพียงสิทธิครอบครอง ไม่ได้ทำตามแบบย่อมตกเป็นโมฆะ แต่ เมื่อได้ส่งมอบการครอบครองแก่ผู้ซื้อแล้ว แม้สัญญาซื้อขายโมฆะไม่สมบูรณ์แต่ก็ถือว่าเจตนาสมบูรณ์ด้วย การส่งมอบการครอบครองแล้ว *การบอกล้างโมฆียะกรรม, *ผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม, *กำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรม *มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้ (1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตน บรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม (2) บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อ บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็น คนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ (3) บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ (4) บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 ในขณะที่จริตของ บุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้ อธิบาย -*บอกล้าง คือ การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญา ทำลายนิติกรรมให้กลายเป็นโมฆะ -โมฆียะกรรมเป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้บังคับกันได้ตามกฎหมายตั้งแต่ทำนิติกรรมนั้น จนกว่าจะถูกบอกล้าง ซึ่งถ้าหากถูกบอกล้างแล้วก็จะทำให้นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะย้อนไปถึงเวลา เริ่มแรกที่ได้มีการทำนิติกรรมนั้นขึ้น -นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ อาจเกิดจากความบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ทำนิติกรรม เช่น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลวิกลจริต เป็นต้น หรือความบกพร่อง เรื่องการแสดงเจตนา เช่น สำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ซึ่งเป็นสาระสำคัญ, ถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ เป็นต้น -*ผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ได้แก่ 1.กรณีโมฆียะกรรมได้กระทำขึ้นโดยผู้เยาว์ ได้แก่ 1.ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ หรือ 2.ผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตนบรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม 2.กรณีโมฆียะกรรมได้กระทำขึ้นโดยคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ได้แก่ 1.ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี 2.คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อบุคคลนั้นพ้นจากการเป็น คนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตน จะพ้นจากการเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ 3.กรณีโมฆียะกรรมได้กระทำขึ้นโดยบุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่ ได้แก่ 1. ตัวผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่นั้นเอง เมื่อได้ เข้าใจถูกต้องแล้ว หรือพ้นจากการข่มขู่แล้ว 4.กรณีโมฆียะกรรมได้กระทำขึ้นโดยบุคคลวิกลจริต ได้แก่ 1.ตัวบุคคลวิกลจริตนั้นเอง เมื่อในขณะบอกล้างจริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว 5-ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้ -ฎีกา 119/2519 การบอกล้างการแสดงเจตนาที่กระทำไปเพราะเหตุกลฉ้อฉลและเป็นโมฆียะนั้น กฎหมายให้สิทธิ แต่เฉพาะบุคคลที่ระบุไว้ในมาตรา 175 เท่านั้นที่มีสิทธิบอกล้าง จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่ากับโจทก์เพราะถูกกลฉ้อฉลถึงขนาด จำเลยที่ 1 เท่านั้นที่มีสิทธิบอกล้าง สัญญาเช่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิบอกล้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ได้บอกล้าง จำเลยที่ 2 ก็ไม่มีสิทธิยกข้อต่อสู้ว่า “จำเลยที่ 1 ถูกโจทก์ใช้กลฉ้อฉล” ขึ้นมาต่อสู้ เพราะจำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน ไม่ใช่ผู้มีสิทธิบอกล้างตามที่มาตรา 175 บัญญัติไว้ -ฎีกา 922/2542 สัญญาประกันชีวิตเป็นหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยซึ่งการใช้เงิน ย่อมอาศัยการทรงชีพหรือมรณะของตน ต้องเปิดเผยข้อความจริงให้ผู้รับประกันภัยทราบ ท. ผู้เอา ประกันชีวิตป่วยเป็นวัณโรคปอด ซึ่งเป็นโรคร้ายแรงและได้รับการรักษาเกี่ยวกับโรคดังกล่าวเป็น เวลานาน แต่มิได้แจ้งข้อความจริงให้จำเลยทราบเมื่อขอเอาประกันชีวิต ซึ่งหากจำเลยทราบก็อาจ เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นหรือไม่รับประกันชีวิต สัญญาประกันชีวิตจึงเป็นโมฆียะ ผู้รับประกันภัยย่อม มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมได้โดยมิต้องคำนึงว่าผู้เอาประกันภัยจะถึงแก่ความตายหรือไม่ หรือตาย ด้วยเหตุใด เมื่อผู้เอาประกันชีวิตถึงแก่ความตายแล้วจำเลยจะบอกล้างสัญญาประกันชีวิตอันเป็น โมฆียะต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาได้ เมื่อจำเลยบอกล้างสัญญาอันเป็นโมฆียะแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินให้โจทก์ - *กำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรม 1.กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ป.พ.พ.ไม่ได้กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิไว้โดยตรง แต่เมื่อดูจากมาตรา 175 คือ โดยทั้งไปผู้มีสิทธิบอกล้างจะใช้สิทธิบอกล้างเมื่อใดก็ได้คือเริ่มใช้สิทธิได้เมื่อตนพ้นจากสภาพหรือสภาวะ อันเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะแล้ว เช่น เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว, เมื่อพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว 2.กำหนดเวลาสิ้นสุดในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม (มาตรา 181) บอกล้างไม่ได้เมื่อ 1) พ้นเวลา 1 ปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ 2) พ้นเวลา 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ *ผลการบอกล้างโมฆียะกรรม *มาตรา 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้คู่กรณีกลับ คืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้น ได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่งเมื่อพ้นหนึ่งปี นับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม อธิบาย -*ผลของการบอกล้างนิติกรรมอันเป็นโมฆียะกรรม คือ ให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาตั้งแต่ เริ่มแรก และให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหาย ชดใช้ให้แทน *การให้สัตยาบัน, *ผู้มีสิทธิให้สัตยาบัน, *กำหนดเวลาให้สัตยาบัน, *ผลของการให้สัตยาบัน *มาตรา 177 ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตาม มาตรา 175 ผู้หนึ่งผู้ใดได้ให้สัตยาบันแก่ โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึง สิทธิของบุคคลภายนอก อธิบาย -*การให้สัตยาบัน คือ การให้การรับรองนิติกรรมหรือสัญญาที่ทำซึ่งเป็นโมฆียะให้มีผลสมบูรณ์ และหมดสิทธิที่จะบอกล้างนิติกรรมนั้นได้อีก -ผลของการให้สัตยาบัน คือ ทำให้นิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์มันแต่เริ่มแรก และไม่กระทบ กระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก -*ผู้มีสิทธิให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม ก็คือบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตามมาตรา 175 นั่นเอง -*กำหนดเวลาให้สัตยาบัน แยกเป็น 1.หลักทั่วไป คือ ผู้มีสิทธิให้สัตยาบันให้สัตยาบันเมื่อใดก็ได้ 2.ข้อยกเว้น กรณีผู้ทำนิติกรรมเป็นเหตุแห่งโมฆียะกรรมนั้น การให้สัตยาบันจะทำได้ก็ต่อเมื่อได้ กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุให้โมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว คือ 2.1 กรณีผู้เยาว์ ให้สัตยาบันได้เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว 2.2 กรณีคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ ให้สัตยาบันได้เมื่อพ้นจาก การเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้วและได้รู้เห็นโมฆียะกรรมนั้นแล้วด้วย 2.3 กรณีคนวิกลจริต ให้สัตยาบันได้เมื่อจริตของบุคคลนั้นไม่วิกลแล้วและได้รู้เห็นเรื่อง โมฆียะกรรมนั้นแล้วด้วย 2.4 กรณีแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดหรือถูกกลฉ้อฉลหรือถูกข่มขู่ ให้สัตยาบันได้เมื่อได้รู้ความจริง หรือพ้นจากการถูกข่มขู่แล้วแต่กรณี 3.กำหนดเวลาสิ้นสุดในการให้สัตยาบัน ป.พ.พ.ไม่ได้กำหนดไว้ *การบอกล้างโมฆียะกรรม, *การให้สัตยาบัน, *วิธีการให้สัตยาบัน *มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน อธิบาย -การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม กระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่คู่กรณี อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน -วิธีการบอกล้างหรือให้สัตยาบันกฎหมายไม่ได้กำหนดวิธีการไว้เฉพาะ ดังนั้นจึงอาจกระทำได้ ด้วยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ แต่ต้องกระทำโดยการแสดงเจตนาชัดแจ้งต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง (สำหรับ การบอกล้างจะกระทำโดยปริยายไม่ได้ แต่การให้สัตยาบันสามารถให้สัตยาบันโดยปริยายได้ตามมาตรา 180) -ผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมอยู่ในมาตรา 176 คือ 1.เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะมาตั้งแต่เริ่มแรก 2.ให้คู่กรณีกลับคืนสู่ฐานะเดิม 3.ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน 4.ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้น ได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ 5.ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิม เมื่อพ้น 1 ปีนับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม *การให้สัตยาบันของผู้ไร้ความสามารถ *มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุ ให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคล วิกลจริต ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ต่อเมื่อ ได้รู้เห็นซึ่งโมฆียะกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือน ไร้ความสามารถ หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะจะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้นับแต่ เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้น สุดลงแล้ว บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม กระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ *พฤติการณ์ที่ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน, *ให้สัตยาบันโดยปริยาย *มาตรา 180 ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตาม มาตรา 179 ถ้ามีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรม โดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ตาม มาตรา 175 ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน (1) ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (2) ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว (3) ได้มีการแปลงหนี้ใหม่ (4) ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น (5) ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (6) ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน อธิบาย -มาตรานี้ถือเป็นการให้สัตยาบันโดยปริยาย หากมีการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่กำหนดใน (1)-(6) -ฎีกา 6350/2541 สัญญาจะซื้อขายเป็นนิติกรรมที่ ส. ผู้จะขายเป็นบุคคลวิกลจริตและได้กระทำใน ขณะที่จริตวิกลอยู่ ทั้ง จ. ผู้จะซื้อได้รู้แล้วด้วยว่า ส. เป็นคนวิกลจริตนิติกรรมสัญญา จะซื้อขายจึงตกเป็นโมฆียะ แต่ผู้ร้องในฐานะผู้อนุบาลซึ่งมีสิทธิบอกล้างนิติกรรมอัน เป็นโมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมอันเป็น โมฆียะนั้นมิได้บอกล้างต่อผู้จะซื้อ ทั้งผู้ร้องยังได้แสดงเจตนาขอทำนิติกรรมซื้อขาย ที่ดินดังกล่าวแทน ส. โดยการไปติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดิน และยื่นคำร้องขอ ต่อศาลเพื่อขอทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินขายแทน ส. ซึ่งผู้รับมอบอำนาจของ จ. ผู้จะซื้อได้มาแถลงต่อศาลชั้นต้นว่าประสงค์จะซื้อที่ดินทุกแปลง พฤติการณ์ดังกล่าว ถือได้ว่าผู้ร้องได้ให้สัตยาบันแก่สัญญาจะซื้อขายซึ่งเป็นโมฆียะกรรมโดยการแสดง เจตนาแก่ จ. ผู้จะซื้อซึ่งเป็นคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 178 สัญญา จะซื้อขายจึงเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก ตามมาตรา 177 มีผลผูกพันให้ผู้ร้องต้อง ปฏิบัติตามสัญญา *กำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรม *มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ เมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น อธิบาย - *กำหนดเวลาบอกล้างโมฆียะกรรม 1.กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม ป.พ.พ.ไม่ได้กำหนดเวลาเริ่มต้นใช้สิทธิไว้โดยตรง แต่เมื่อดูจากมาตรา 175 คือ โดยทั้งไปผู้มีสิทธิบอกล้างจะใช้สิทธิบอกล้างเมื่อใดก็ได้คือเริ่มใช้สิทธิได้เมื่อตนพ้นจากสภาพหรือสภาวะ อันเป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะแล้ว เช่น เมื่อบรรลุนิติภาวะแล้ว, เมื่อพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถแล้ว 2.กำหนดเวลาสิ้นสุดในการใช้สิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม (มาตรา 181) บอกล้างไม่ได้เมื่อ 1) พ้นเวลา 1 ปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ 2) พ้นเวลา 10 ปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ -นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ คือ เวลาที่มูลเหตุให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว (มาตรา 179) -ฎีกา 8515/2538 ระยะเวลาบอกล้างโมฆียกรรมตามมาตรา 181 มี 2 ช่วงระยะเวลา กล่าวคือ ระยะเวลาช่วงแรก 1 ปี นับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ กับระยะเวลาอีกช่วงหนึ่ง 10 ปี นับแต่เวลาที่ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ เป็นเรื่องของกำหนดเวลาไม่ใช่เรื่องของอายุความ ฉะนั้น แม้อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาต่อสู้ แต่ถ้า ได้ความว่ามีการบอกล้างเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนด 1 ปี หรือ 10 ปี ตามที่กล่าวมานี้ ศาลก็มีอำนาจ ยกเอาเรื่องนี้ขึ้นมาวินิจฉัยได้ - [...]
อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-นิติกรรม
อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-นิติกรรมกันยายน 7, 2020อธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์-นิติกรรม - ความหมายของนิติกรรม ลักษณะของนิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ลักษณะของนิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆียะ - ลักษณะ 4 *นิติกรรม หมวด 1 บทเบ็ดเสร็จทั่วไป *มาตรา 149 นิติกรรม หมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่ง โดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ อธิบาย -นิติกรรม คือ การกระทำของบุคคลโดยชอบด้วยกฎหมาย กระทำด้วยความสมัครใจและ มุ่งต่อผลในกฎหมายที่จะเกิดขึ้นอันได้แก่ การเคลื่อนไหวแห่งสิทธิ มีการก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิหรือระงับซึ่งสิทธิ เช่น การทำสัญญาซื้อขาย, สัญญากู้เงิน, สัญญาจ้างแรงงาน, สัญญาให้ เป็นต้น -ฎีกา 3582/2538 การท้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลที่คู่ความตกลงกันให้ศาลวินิจฉัย ชี้ขาดในประเด็นที่คู่ความท้ากันเป็นข้อแพ้ชนะมิได้มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อเปลี่ยนแปลงโอนสงวนหรือระงับซึ่งสิทธิตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149 จึงไม่เป็นนิติกรรมที่อยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ -ประเภทของนิติกรรม ได้แก่ 1. *นิติกรรมฝ่ายเดียว คือ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคลฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว และมีผลตามกฎหมาย เช่น คำมั่นโฆษณาจะให้รางวัล, การรับสภาพหนี้, การผ่อนเวลาชำระหนี้ให้ลูกหนี้ การทำพินัยกรรม เป็นต้น 2. นิติกรรมสองฝ่าย (*นิติกรรมหลายฝ่าย) คือ นิติกรรมซึ่งเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาของบุคคล ตั้งแต่สองฝ่ายขึ้นไปและทุกฝ่ายต้องตกลงยินยอมระหว่างกันกล่าวคือฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาทำเป็นคำเสนอ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งแสดงเป็นเจตนาเป็นคำสนอง เมื่อคำเสนอและคำสนองถูกต้องตรงกันจึงเกิดมีนิติกรรมสองฝ่าย ขึ้น เช่น สัญญาซื้อขาย, สัญญากู้ยืม, สัญญาแลกเปลี่ยน, สัญญาจำนำ เป็นต้น *มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัด ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นเป็นโมฆะ อธิบาย -นิติกรรมที่มีผลเป็นโมฆะ ได้แก่ 1.นิติกรรมที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เช่น ซื้อขายที่ดินที่กฎหมายห้ามโอนขาย 2.นิติกรรมเป็นการพ้นวิสัย เช่น ทำการซื้อขายม้าสีเผือก แต่ขณะทำการซื้อขายม้าได้ตาย ไปก่อนแล้ว จึงพ้นวิสัยที่จะซื้อขายกันได้ 3.นิติกรรมเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน เช่น ทำสัญญา ตกลงเป็นเมียน้อย -ฎีกา 191/2539 ข้อตกลงตามสัญญาจ้างว่าความที่ให้โจทก์เป็นทนายความของจำเลยในคดีฟ้องขับไล่ โดยจำเลยจะชำระค่าจ้างให้แก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดและจำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีกับให้โจทก์ออกเงินทดรอง เป็นค่าขึ้นศาล ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายต่างๆในระหว่างดำเนินคดีไปก่อนจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ถ้าจำเลยไม่ได้รับที่ดินพิพาทคืน โจทก์จะไม่ได้รับค่าจ้าง มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์ จากการที่ผู้อื่น เป็นความกัน เป็นสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะ -ฎีกา 569/2547 โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2538 นับถึงวันที่ 17 มีนาคม 2544 ที่มีการทำสัญญาจ้างงานใหม่ โจทก์ทำงานติดต่อกันมาถึง 5 ปีเศษ สัญญาจ้างใหม่ระหว่างโจทก์กับจำเลย กำหนดว่าเมื่อสัญญาสิ้นสุดลงโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย ทั้งที่ก่อนหน้านั้นโจทก์เป็นลูกจ้างที่มีสิทธิ ได้รับค่าชดเชยอยู่แล้ว สัญญาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ที่จะหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 อันเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 -ฎีกา 847/2538 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2517 มาตรา26,44ห้ามมิให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขต โครงการจัดรูปที่ดินซึ่งได้มี พ.ร.ฎ.ออกใช้บังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24,25 แล้วจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิ ในที่ดินนับตั้งแต่วันที่ได้มีประกาศของรัฐมนตรีจนถึงวันครบกำหนดห้าปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงสิทธิ ในที่ดินโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองตกลงทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทและได้ส่งมอบการครอบครอง ที่ดินพิพาทให้แก่กันในระหว่างระยะเวลาดังกล่าวเป็นการทำสัญญาที่มีวัตถุประสงค์ต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงเป็นโมฆะโจทก์ทั้งสองและจำเลยทั้งสองต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมจำเลยทั้งสองไม่มีหน้าที่จะต้องไปยื่นคำร้องขอ อนุญาตโอนที่ดินเป็นหนังสือจากคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางการที่จำเลยทั้งสองไม่ไปยื่นคำร้องขออนุญาต ดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองผิดสัญญา *มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความ สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การนั้นไม่เป็นโมฆะ อธิบาย -นิติกรรมใดที่เป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย หากบทบัญญัติของกฎหมายนั้น ไม่ใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นิติกรรมนั้นๆ ไม่เป็นโมฆะ เช่น กฎหมายซื้อขาย มาตรา 457 กำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมในการทำสัญญาซื้อขายนั้น ผู้ซื้อผู้ขายพึงออกใช้ เท่ากันทั้งสองฝ่าย แต่คู่สัญญาอาจกำหนดให้ผู้ขายเป็นผู้ออกแต่เพียงผู้เดียวได้ ไม่เป็นโมฆะ -ฎีกา 1496/2548 การที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์โดยมีข้อความระบุว่าแม้สัญญาต้องเลิกกัน ผู้เช่าซื้อตกลงที่จะชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระก่อนเลิกสัญญาจนครบถ้วนแก่เจ้าของจนถึงวันที่เจ้าของ ได้รถยนต์คืน หรือวันบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาเช่นว่านี้ จึงเป็นข้อตกลงที่แตกต่างกับบทบัญญัติ ของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องเช่าซื้อ แต่ก็มิใช่เป็นบทกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ของประชาชนย่อมมีผลใช้บังคับแก่กันได้ ไม่เป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 151 -ฎีกา 3767/2547 ข้อตกลงตามสัญญาเช่าตึกแถวที่กำหนดว่า ถ้าผู้เช่าประพฤติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดหรือ กระทำผิดวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งข้อใดผู้เช่ายอมให้ผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ทันที ถือว่าไม่เป็นการแตกต่าง กับบทบัญญัติของกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 151 เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์จึง บอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีโดยไม่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 560 วรรคลอง *มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ การนั้นเป็นโมฆะ อธิบาย -นิติกรรมที่ไม่ได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ เช่น การจำนอง, การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์, การขายฝาก เป็นต้น -นิติกรรมที่ไม่มีแบบ เช่น การกู้ยืมเงิน, การจ้างทำของ, การซื้อขายสังหาริมทรัพย์ธรรมดา เป็นต้น -ฎีกา 4764/2533 ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ามีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นอสังหาริมทรัพย์ และคู่สัญญาเจตนาที่จะทำสัญญาขายฝากโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อคู่สัญญา มิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้ สัญญาขายฝากที่ทำกันเองจึงเป็นโมฆะจำเลยผู้ซื้อฝากจะอ้างสิทธิ การได้มาซึ่งการครอบครองโดยนิติกรรมการขายฝากนั้นไม่ได้ การที่จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเป็นการ ครอบครองแทนผู้ขายฝาก จำเลยจึงไม่ได้สิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท เมื่อสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทของ ผู้ขายฝากถูกถอนคืนการให้ตกเป็นของโจทก์ จำเลยจึงต้องคืนที่ดินพิพาทแก่โจทก์ *มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล การนั้น เป็นโมฆียะ อธิบาย -นิติกรรมใดที่ไม่ได้เป็นไปตามกฎหมายเรื่องความสามารถของบุคคล นิติกรรมนั้นเป็นโมฆียะ -ความสามารถของบุคคลในการทำนิติกรรมสัญญา โดยปกติบุคคลย่อมมีความสามารถในการทำนิติกรรม สัญญาได้ แต่ก็มีข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดให้บุคคลบางประเภทมีความสามารถในการทำนิติกรรมสัญญาที่จำกัด เช่น ผู้เยาว์, คนไร้ความสามารถ, คนเสมือนไร้ความสามารถ และบุคคลล้มละลาย -ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น (ป.พ.พ.ม.21) นิติกรรมที่ผู้เยาว์สามารถทำเองได้เฉพาะตัว ได้แก่ นิติกรรมที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ม.22,23,24,25 -การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง การนั้นเป็นโมฆียะ(ป.พ.พ.ม.29) -คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการบางอย่างได้ (ป.พ.พ.ม.34) -ฎีกา 3496/2537 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1574 ได้บัญญัติไว้เฉพาะในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง ของผู้เยาว์ทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์จะต้องได้รับอนุญาตจากศาลเสียก่อนแต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็น ผู้เยาว์เป็นผู้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยทั้งสองเองบิดาโจทก์เพียงแต่ลงลายมือชื่อในฐานะพยาน เท่านั้นจึงไม่ต้องได้รับอนุญาตจากศาลและถือได้ว่าบิดาโจทก์ซึ่งเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมให้ความยินยอมแล้ว สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงสมบูรณ์มีผลใช้บังคับได้ [...]
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-สภาพการจ้าง มาตรา 5
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-สภาพการจ้าง มาตรา 5กันยายน 7, 2020อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-สภาพการจ้าง มาตรา 5 - *สภาพการจ้าง มาตรา 5 - พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 “สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน - ข้อสังเกต 1. สภาพการจ้าง คือ นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการ จ้างหรือ การทํางาน ได้แก่ - เงื่อนไขการจ้าง - เงื่อนไขการทํางาน - กําหนดวันและเวลาทํางาน - กําหนดค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง 2. กรณีถือเป็นสภาพการจ้าง เช่น - ค่าจ้าง ดังนั้นการย้ายตําแหน่งโดยตําแหน่งใหม่ไม่ได้เงินประจํา ตําแหน่ง จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2547) - การที่นายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือเพื่อความปลอดภัยในการ ทํางาน ของลูกจ้าง ซึ่งเป็นสวัสดิการถือเป็นสภาพการจ้าง - การเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้าง หรือผล ประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้าง เป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 3. กรณีไม่ถือเป็นสภาพการจ้าง - การจัดที่พักให้ลูกจ้าง - การจ่ายค่าเช่าบ้านให้ - บันทึกของลูกจ้างที่ยอมให้หักเงินค่าจ้างเป็นค่าบํารุง และค่าฌาปนกิจ เป็นข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้าง - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - - กรณีมิใช่สภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2545 ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ในเรื่องที่ นายจ้างอนุญาตให้สหภาพแรงงานได้มีที่ทําการของสหภาพแรงงานอยู่ในบริเวณบริษัท นายจ้างเช่น เดิมต่อไปเป็นกรณีที่นายจ้างให้ความสะดวกเพื่อประโยชน์ของสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะมิใช่เรื่อง อันเป็น “สภาพการจ้าง” จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543 สัญญาจ้างกําหนดให้จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน ดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ไทยจึง ต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตรา แลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 38.40 บาท จําเลยจะประกาศกําหน ดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างใน ส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง เป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 การที่จําเลยประกาศ กําหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ เป็นคุณ แก่โจทก์เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ประกาศของจําเลยที่กําหนดอัตราแลกเปลี่ยน เงินขึ้น ใหม่จึงไม่มีผลใช้บังคับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2543 โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย แม้ไม่ปรากฏว่าได้มีการ ตกลงทําสัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม แต่ข้อตกลงการจ้างก็มีลักษณะเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แล้ว นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างระหว่างจําเลย กับผู้แทนสหภาพแรงงานระบุว่าสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ใช่ เรื่องผลต่างค่าจ้างขั้นต่ำกับเรื่องการปรับค่า จ้างประจําปีและโบนัสทั้งสองฝ่ายตกลง ให้คงเดิมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผล ผูกพันโจทก์ และจําเลยตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคสองแล้ว แม้จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอํานาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทํางานใน ตําแหน่งใดได้ ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. แรงงาน สัมพันธ์ฯ มาตรา 20 การที่จําเลยย้ายโจทก์จากตําแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงาน ธรรมดาในแผนกตัดเม็ด กระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทํางานในตําแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทํางานเป็นกะหมุนเวียนสับ เปลี่ยนเวลาเข้าทํางานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทํางานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ แก่โจทก์ยิ่งกว่า คําสั่งของจําเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทํางานที่ แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็น คําสั่งที่ไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8003/2543 ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกําหนดไว้แต่เพียงว่า จ่าย โบนัสปีละ 2 ครั้ง งวดมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ส่วนจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง จํานวนเท่าใดไม่ ได้กําหนดไว้ ที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างปีละ 4.5 ของเงินเดือน ตลอดมา (ระหว่างปี 2534 ถึง 2539 ซึ่งมีกําไร) ไม่เป็นสภาพการจ้างอันมีผลผูกพันให้ นายจ้างต้องจ่ายโบนัสให้จํานวนดังกล่าวตลอดไป การที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง ในปี 2541 (ระหว่างปี 2540 2541 ซึ่งขาดทุน) เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน จึงเป็นการ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 ข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานตามลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งยินยอมให้หักค่าจ้างไม่เกินคนละ 75 บาท ต่อเดือนแล้วส่ง ให้ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพแรงงานเพื่อเป็นค่าบํารุงและ ค่าฌาปนกิจ ถือเป็นข้อตกลงอย่าง อื่นไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างและลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางานแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงในเรื่องการหักค่าจ้าง ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ใน บังคับของพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่นายจ้างจะต้อง ปฏิบัติตาม - - กรณีเป็นสภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2551 การที่จําเลยจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้า ดีเด่นประจําเดือนแก่ลูกจ้างเป็นประจําตลอดมาทุกเดือน นับแต่ปี 2541 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 เงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่น ประจําเดือนจึงเป็นประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยว กับการจ้างงานหรือการทํางานและเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้ว่าเรื่องของการจ่ายเงินรางวัล พนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจําเดือน เป็นสภาพการจ้างอื่น ใดที่ไม่อยู่ในข้อ เรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เป็นสภาพการจ้างที่ปฏิบัติ สืบกันมาจึงเป็นสภาพการจ้างที่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ต้องคงไว้เช่นเดิม และ ยังเป็นข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายการยกเลิกรางวัลพนักงานดีเด่น และหัวหน้างานดีเด่นประจํา เดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากลูกจ้างและเป็นการเปลี่ยน แปลงที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นการ ไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 ประกาศว่าด้วยการให้เงินบําเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อ ตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จําเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จําเลยประกาศ ใช้ เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จําเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน โดย มีบทเฉพาะการ ว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จําเลยจ่ายสมทบให้ พร้อมผลประโยชน์จากกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคํานวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อ รวมค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบําเหน็จ ที่ได้กําหนดไว้ในประกาศเดิม และมิใช่เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อ โจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จําเลย แก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบําเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การทํางานจึงไม่มีผล ผูกพันโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 การที่จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือ อันเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการ ซึ่งเป็น สภาพการจ้าง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ก็ไม่ได้บังคับให้ต้อง ทําข้อตกลงเป็น หนังสือ แม้จําเลยกระทําแต่ฝ่ายเดียวและไม่ได้ทําเป็นหนังสือก็ถือได้ว่า เป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย แล้ว จําเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม แต่การจัดพยาบาล ประจําเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จําเลยจัดให้ แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกําหนด ไว้ เมื่อจําเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเกี่ยว กับสิทธิและหน้าที่ในการบริหาร กิจการของจําเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น จําเลยย่อมอาศัยระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้ ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จําเลยจัดให้ใหม่นี้ มิได้ ทําให้พนักงานของจําเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จําเลย จึงมี อํานาจกระทําได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานข้างต้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543 แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลย จะกําหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จําเลยจ่าย ค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจําตลอดมาย่อมถือได้ว่าจําเลย ตกลงกับลูกจ้างให้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกําหนดการ จ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์ ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือน จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึง กําหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้าง โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างใน คราวถัดไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2530 การจัดที่พักให้ลูกจ้างหรือการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่ ลูกจ้าง นั้น เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง สวัสดิการประเภทนี้มิใช่สวัสดิการที่กฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ฉบับหนึ่งฉบับใดบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นไปตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการ จ้างของสถานประกอบการแต่ละราย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2524 ลูกจ้างเรียกร้องให้ผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการ เรียกร้องเอาค่าจ้างหรือผลประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน ถือว่าเป็นการ เรียกร้องเกี่ยว กับสภาพการจ้าง - [...]
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-การกระทําอันไม่เป็นธรรม
อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-การกระทําอันไม่เป็นธรรมกันยายน 7, 2020อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-การกระทําอันไม่เป็นธรรม - *การกระทําอันไม่เป็นธรรม - พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 ห้ามมิให้นายจ้าง (1) เลิกจ้าง หรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทน ลูกจ้าง กรรมการสหภาพ แรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทน ทํางานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือ สหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐาน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือนายทะเบียน พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือกรรมการแรงงาน สัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือ สหภาพแรงงานกําลังจะ กระทําการดังกล่าว (2) เลิกจ้างหรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถ ทน ทํางานอยู่ต่อไปได้ เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน (3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็น สมาชิกของ สหภาพแรงงาน หรือให้ หรือตกลงจะให้เงิน หรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรง งานเพื่อมิให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพ แรงงาน (4) ขัดขวางการดําเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการ ใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ (5) เข้าแทรกแซงในการดําเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์ แรงงานโดยไม่มี อํานาจโดยชอบด้วยกฎหมาย - ข้อสังเกต 1) ห้ามมิให้นายจ้างกระทําการดังนี้ 1. เลิกจ้าง เพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง เป็นพยานหรือให้หลักฐานต่อเจ้าพนักงาน 2. เลิกจ้างหรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทน ทํางานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน 3. ขัดขวาง - การที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน - การดําเนินงานของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน 4. แทรกแซงการ ดําเนินการของของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน 2) การกระทําที่ห้ามนายจ้างกระทําและถือเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม เช่น - ลดวันทํางานจากสัปดาห์ละ 6 วันเหลือ 2 วัน และจ่ายค่าจ้างเฉพาะ วันที่มา เท่านั้น - ยุบเลิกแผนกเนื่องจากลูกจ้างแผนกนั้นแจ้งข้อเรียกร้อง 3) การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทําอันไม่เป็น ธรรม ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วยก็ได้ - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ จะกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็น กฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ไม่ให้ถูกนายจ้าง เลิกจ้างโดยไม่ได้กระทําความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้น เป็นทั้งการกระทําอันไม่เป็น ธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทําความผิด แม้ ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคําร้องได้ทั้งต่อคณะ กรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจ แรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคําสั่ง ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิก จ้างเดียวกันทั้งสองทาง มิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ลูกจ้างจะต้อง เลือกรับเอาประโยชน์ตามคําสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว โจทก์ถูกจําเลยเลิกจ้างจึงยื่นคําร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และ พนักงานตรวจแรงงาน เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้จําเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับ ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้า ถือเอาประโยชน์ตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอา ประโยชน์ตามคําสั่งของ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็น คําสั่งในส่วนให้จําเลยรับโจทก์กลับเข้าทํางานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้าง จนถึงวันที่รับกลับเข้าทํางาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจําเลยตามคําสั่งของ คณะกรรมการแรง งานสัมพันธ์ได้อีก คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546 โจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทํางาน วันละ 3 กะ แต่ในทางปฏิบัติให้ทํางานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ทํากะละ 12 ชั่วโมง จํานวน 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทํางานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมงเป็นการทํางาน ล่วงเวลา การที่โจทก์มี คําสั่งให้จําเลยร่วมกับพวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทํางาน วันละ 3 กะ แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์ จะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ ก็เป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นไม่ให้ทนทํางานอยู่ ต่อไปได้เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้อง หรือเป็นตัวแทนเจรจาอันถือว่าเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 (1) การที่จําเลยได้มีคําสั่งคณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์ ให้โจทก์เปลี่ยนแปลงเวลาทํางานสําหรับจําเลยร่วมกับพวกเป็นเวลาการทํางานตาม เดิม และวินิจฉัยว่าการสั่งให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ ทําหรือ ไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และไม่มี กฎหมายรองรับให้จําเลยออกคําสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จําเลยร่วมกับพวก ทํางานล่วงเวลาได้ จึงเป็นคําสั่งและคําวินิจฉัยที่ชอบแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544 มาตรา 121 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฯลฯ เพราะเหตุที่ลูกจ้างนัดชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน หรือให้หลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ หรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือมี เหตุใดเหตุหนึ่งใน 5 เหตุ ที่ระบุ ไว้ในมาตรา 121 หากนายจ้างกระทําการดังกล่าวก็เป็น การกระทําอันไม่เป็นธรรม ในคดีนี้แม้ลูกจ้าง จะเป็นประธานสหภาพแรงงานและเป็น ผู้เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเรียกร้อง แต่นายจ้างเลิกจ้างโดยเข้า ใจว่าลูกจ้างมึนเมาสุราใน ขณะทํางานเพราะดื่มสุราก่อนมาทํางานเพียงไม่นาน โดยมีอาการหน้าแดง และพูดเสียงดัง กว่าปกติมิใช่เลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้อง การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมิใช่ การ กระทําอันไม่เป็นธรรม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทําอันไม่เป็น ธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. แรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกําหน ดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่าง ฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มี วัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกัน สําหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้าง กลับเข้าทํางานอีก โจทก์นําสาเหตุจากการที่จําเลยเลิกจ้างไปยื่นคําร้องกล่าวหาจําเลยต่อ คณะ กรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม ขอให้จําเลยชําระค่า เสียหายแก่โจทก์ และต่อมาโจทก์ได้นําเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจําเลยต่อศาล แรงงาน ขอให้บังคับจําเลย ชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินอีก จํานวนหนึ่ง พร้อมทั้งให้จําเลยชําระเงินค่า ชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจําเลยได้ตกลงทําสัญญาประนีประนอม ยอมความกัน โดยจําเลยยอมชําระ เงินให้แก่โจทก์บางส่วนและโจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติด ใจเรียกร้องค่าเสียหาย และเงินอื่นใดจากจําเลยอีก ศาลแรงงานมีคําพิพากษาไปตามสัญญาประนี ประนอมยอม ความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจําเลยดังกล่าวหมายความว่า โจทก์พอใจจํานวน เงิน ค่าเสียหายที่จําเลยชําระตอบแทนในการที่จําเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจ เรียก ร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคําร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคําสั่งให้ จําเลยชําระให้แก่ โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจําเลยได้ตกลงทําสัญญาประนี้ ประนอมยอมความต่อกันแล้ว คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีวินิจฉัยว่าการที่จําเลย เลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม และมีคําสั่งให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ โจทก์ก็ตาม คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529 เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้ง ผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตาม ความหมาย ในมาตรา 121 แล้ว เมื่อสหภาพแรงงานมีมติแต่งตั้งให้ลูกจ้างเป็นกรรมการ สหภาพแรงงาน แม้นาย จ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่นายทะเบียนยังไม่ได้จดทะเบียน กรรมการ สหภาพแรงงานดังกล่าว ก็ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 121 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526 ลูกจ้างเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการเตรียมการยื่นข้อ เรียกร้อง ต่อนายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้าง แม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้าง ดังกล่าว ในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ก็ถือว่าลูกจ้างเป็นผู้ที่ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ด้วย การที่ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 (1) คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602-2603/2523 การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทผู้เป็นนายจ้าง แม้จะยื่นในระหว่างที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมที่ตกลงกันก็ถือได้ว่าได้มีการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว บริษัท นายจ้างจึงต้องห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติแรง งานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 การเลิกจ้างจึงไม่ชอบ - [...]
อธิบายกฎหมายเงินทดแทน-ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน
อธิบายกฎหมายเงินทดแทน-ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนกันยายน 7, 2020อธิบายกฎหมายเงินทดแทน-ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน - *ข้อยกเว้นให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน มาตรา 22 - พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 22 นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ของลูกจ้างเพราะเหตุ อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ (1) ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้ (2) ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตรายหรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตน ประสบอันตราย - ข้อสังเกต หลัก นายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนในการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง - ข้อยกเว้น 1. ลูกจ้างเสพของมึนเมาหรือสิ่งเสพติดอื่นจนไม่สามารถครองสติได้ 2. ลูกจ้างจงใจให้ตนเองประสบอันตราย หรือยอมให้ผู้อื่นทําให้ตนประสบอันตราย - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1898/2523 ลูกจ้างเป็นใต้ก๋งเรือมีอํานาจสั่งให้นําเรือประมงไปจับ ปลา ในบริเวณไหนก็ได้ ลูกจ้างสั่งให้นําเรือประมงไปจับปลาในน่านน้ำของประเทศกัมพูชา ถูกเรือ ไม่ปรากฏสัญชาติไล่ยิง เรือประมงดังกล่าวได้รับความเสียหาย ตัวลูกจ้างซึ่งเป็น ใต้ก๋งเรือถึงแก่ ความตาย ได้มีการเรียกร้องเงินทดแทนและมีการต่อสู้คดีนี้ว่าลูกจ้างจงใจ ทําให้ตนเองประสบ อันตรายเพื่อให้เข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินทดแทน ศาล ฎีกาวินิจฉัยว่า แม้ข้อเท็จจริง ปรากฏว่าเรือประมงที่เข้าไปจับปลาในเขตน่านน้ำกัมพูชา จะถูกยิง แต่ก็ไม่ปรากฏว่าถูกยิงเสมอไป บางลําก็ถูกยิงบางลําก็รอดกลับมาได้ การที่ ลูกจ้างถึงแก่ความตายจึงไม่ใช่กรณีที่เล็งเห็นผลได้ว่า จะต้องถูกยิงหรือน่าจะถูกยิงได้รับ อันตรายถึงแก่ความตายโดยแน่แท้ จึงไม่ใช่การจงใจทําให้ตนเอง ประสบอันตราย - - เงินทดแทนไม่อยู่ในบังคับการบังคับคดี มาตรา 23 ห้ามมิให้นายจ้างหักเงินทดแทนเพื่อการใดๆ และเงินทดแทนไม่อยู่ ในความรับผิดแห่ง การบังคับคดี - ข้อสังเกต 1. มาตรา 23 แห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทน ให้ความคุ้มครองเงินทดแทนที่ นายจ้าง ต้องจ่ายให้ แก่ลูกจ้างเนื่องจากเป็นเงินที่จะได้รับเพราะลูกจ้างต้องได้รับอันตราย หรือเจ็บป่วย ดังนั้น กฎหมาย จึงให้ความคุ้มครองเป็นพิเศษ 2. กรณีลูกจ้างก่อหนี้สินใดๆ ไว้กับนายจ้างโดยการทําสัญญาหรือละเมิด นายจ้างไม่ สามารถนํามาหักกับเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้กับลูกจ้างได้ 3. กรณีลูกหนี้ผู้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเป็นลูกหนี้ตามคําพิพากษา เจ้าหนี้ ไม่อาจ บังคับชําระหนี้เอากับเงินทดแทนที่ลูกจ้างจะได้รับจากนายจ้าง - - การจ่ายเงินทดแทน มาตรา 24 การจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 18 หรือมาตรา 19 นายจ้างและลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตาม มาตรา 20 แล้วแต่กรณี จะตกลงกันจ่ายค่าทดแทนในคราวเดียว เต็มจํานวนหรือเป็นระยะเวลาอย่าง อื่นก็ได้ แต่นายจ้างจะหักส่วนลดเกินอัตรา ที่กําหนดในกฎกระทรวงไม่ได้ - ข้อสังเกต 1. การจ่ายเงินทดแทนโดยหลักแล้วนายจ้างจะจ่ายเป็นรายเดือน เว้นแต่ ลูกจ้างนายจ้าง ตกลงกันจ่ายเป็นก้อนครั้งเดียว 2. สิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทน เมื่อลูกจ้างได้รับเงิน ทดแทนแล้ว ก็ยัง มีสิทธิที่จะได้รับเงินตามสิทธิที่มีตามกฎหมายอื่นอีกด้วย เช่น ลูกจ้าง ประสบอันตรายถึงแก่ความตาย ได้รับค่าสินไหมทดแทนจํานวน 1 ล้านบาท ที่บุตรธิดา ลูกจ้างได้รับจากบริษัทประกันภัยอันเนื่อง จากนายจ้างเดิมซึ่งเป็นเครือเดียวกันกับ นายจ้างใหม่ได้เอาประกันภัยไว้และได้ชําระเบี้ยประกันให้ ไม่ใช่เงินทดแทน การที่ นายจ้างเอาประกันและชําระเบี้ยประกันให้ก็เป็นการให้สวัสดิการเพื่อ บํารุงขวัญและ กําลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ของลูกจ้างเท่านั้น (เทียบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530) - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5788/2530 บริษัท ส. นายจ้างเดิมของ พ. ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเดียว กันบริษัทจําเลยที่ 2 นายจ้างคนใหม่ของ พ. ได้เอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลให้แก่ พ. กรมธรรม์ ประกันภัยมิได้มีข้อความกําหนดว่าต้องเป็นอุบัติเหตุอันเนื่องจากการ ทํางานให้แก่นายจ้างแต่เพียง ประการเดียว แม้ลูกจ้างผู้เอาประกันภัยจะประสบอันตราย โดยมิได้เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วย อันเนื่องจากการทํางานหรือป้องกันรักษา ประโยชน์ให้แก่นายจ้าง บริษัทประกันภัยก็ยังคงมีหน้าที่ ต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนตาม สัญญา แม้บริษัท ส. จะเป็นผู้ชําระเบี้ยประกันก็เป็นเพียงการให้ สวัสดิการเพื่อบํารุงขวัญ และเป็นกําลังใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของ พ. เท่านั้น ค่าสินไหมทด แทนที่โจทก์ ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ พ. ได้รับจากบริษัทประกันภัยจึงมิใช่เป็นเงินทดแทนตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นหน้าที่ของบริษัทจําเลย ที่ 2 ผู้เป็น นายจ้างที่จะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือ ถึงแก่ความตายเนื่องจาก การทํางานให้แก่นายจ้าง กรณีที่นายจ้างได้เอาประกันการจ่ายเงินทดแทนไว้กับบริษัทประกันภัย ตาม ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ประเภท ขนาดของกิจการและท้องที่ที่ให้นายจ้าง จ่ายเงินสมทบ กองทุนเงินทดแทน ฉบับที่ 13 ข้อ 4 นั้น เป็นกรณีที่นายจ้างได้เอาประกัน ไว้แล้วไม่ต้องจ่ายเงิน สมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนสําหรับลูกจ้างที่เอาประกันไว้เท่านั้น หาได้กําหนดว่าเงินที่เอาประกัน ภัยเป็นเงินทดแทนไม่ - - นายจ้างทดรองจ่ายเงินทดแทน มาตรา 25 การจ่ายเงินทดแทนตามหมวดนี้ ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้อง จ่ายเงินสมทบให้ สํานักงานจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 แทนนายจ้างนั้น แต่ถ้านายจ้างได้ ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ นั้นไปก่อน และเป็นกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีคํา วินิจฉัยว่าลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ ดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินทดแทน ให้นายจ้างขอรับเงินทดแทนที่ได้ ทดรองจ่ายไป คืนจากสํานักงานได้ตามระเบียบที่เลขาธิการกําหนด ในกรณีที่นายจ้างเป็นผู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ และได้ทดรอง จ่ายเงินทดแทนแก่ ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ไปก่อน ถ้าลูกจ้างหรือผู้มี สิทธินั้นมีสิทธิได้รับเงินทดแทนตามคํา สั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 50 หรือคําสั่งใหม่ตามมาตรา 51 นายจ้างมีสิทธินําเงินทดแทนที่ ได้จ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิดังกล่าวไปนั้นมาหักจากจํานวนเงินทดแทนตามคําสั่งของพนักงาน เจ้าหน้าที่ได้ไม่เกินจํานวนเงินทดแทนตามประเภทที่กําหนดไว้ในคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ - ข้อสังเกต การจ่ายเงินทดแทน 1. กรณีนายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบให้กับสํานักงานประกัน สังคม ได้จ่ายเงิน ทดรองจ่ายให้ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 นายจ้างขอรับเงิน ทดแทนที่ได้ทดรองจ่ายไปคืน จากสํานักงานประกันสังคมได้ 2. กรณีนายจ้างผู้ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทน แก่ลูกจ้าง หรือ ผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ไปก่อน นายจ้างมีสิทธินําเงินไปหักจากจํานวน เงินทดแทนตามคําสั่งของ พนักงานเจ้าหน้าที่ - - ฎีกาน่าสนใจ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 867/2548 พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 25 บัญญัติให้สิทธิแก่นายจ้าง ที่ได้ทดรองจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนแล้วขอรับเงินทดแทน คืนจากสํา นักงานประกันสังคมได้ หาใช่บทบัญญัติที่จะตัดสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้าง ผู้ประสบอันตรายตาม มาตรา 49 แต่ประการใด เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประสบ อันตรายได้ยื่นคําร้องขอรับเงินทดแทน จากจําเลยตามมาตรา 49 และนายจ้างได้แจ้ง การประสบอันตรายของโจทก์ต่อจําเลยตามมาตรา 48 แล้ว เมื่อจําเลยแจ้งมติของ คณะอนุกรรมการการแพทย์ให้โจทก์และนายจ้างของโจทก์ทราบแล้ว แม้ นายจ้าง ของโจทก์จะไม่ได้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการตามมาตรา 52 แต่โจทก์ได้อุทธรณ์ต่อ คณะ กรรมการกองทุนเงินทดแทนแล้ว อันเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา 52 ดังกล่าว เมื่อ โจทก์ไม่พอใจคํา วินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โจทก์ย่อมมีสิทธินําคดี ไปสู่ศาลแรงงานได้ตามมาตรา 53 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1964/2547 โจทก์เป็นลูกจ้างผู้ประสบอันตรายเนื่องจากการทํางาน ย่อมเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ และในฐานะที่โจทก์เป็น ผู้ประสบภัย จากรถ จึงเป็นผู้รับประโยชน์ที่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถฯ ส่วนบริษัท ศ. ซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์จะมีสิทธิขอรับเงิน ทดแทนต่อจําเลยได้ก็แต่เฉพาะที่ได้ ทดรองจ่ายเงินทดแทนไปก่อนแล้วขอรับเงินทดแทน ที่ได้ทดรองจ่ายไปนั้นคืนจากจําเลยตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 25 เท่านั้น และ แม้บริษัท ศ. จะเป็นผู้เอาประกันภัยรถโดยสารและประสบ อุบัติเหตุ แต่บริษัทดังกล่าว ก็ไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถฯ เพราะมิใช่ ผู้ประสบภัยจากรถ การที่บริษัท ศ. จ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อนแล้วมาขอรับเงินที่จ่าย ไปคืนจากบริษัทผู้รับประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะ ผู้เอา ประกันภัยนั้น เป็นการทดรองจ่ายแทนบริษัทผู้รับประกันภัยในฐานะผู้เอาประกันภัย ไม่ใช่ทดรอง จ่ายแทนจําเลยในฐานะนายจ้าง ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 25 จึงไม่มีสิทธิ์มา ขอรับเงินจํานวนดังกล่าวคืนจากจําเลย กับเมื่อบริษัท ผู้รับประกันภัยได้จ่ายเงินคืนให้แก่บริษัท ศ. ไปแล้ว ย่อมทําให้สิทธิที่จะเรียกร้องเงิน จํานวนดังกล่าวของบริษัท ศ. ระงับสิ้นลงแล้ว ไม่อาจสละ สิทธิในเงินจํานวนดังกล่าวนี้ได้ ประกอบกับ พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ มาตรา 7 บัญญัติว่า การเรียกร้อง หรือการได้มาซึ่งสิทธิ หรือประโยชน์ตาม พ.ร.บ. นี้ ไม่เป็นการตัดสิทธิหรือประโยชน์ที่ลูกจ้างจึงได้ ตาม กฎหมายอื่น ดังนี้ แม้บริษัท ศ. จะทําหนังสือสละสิทธิไปยังจําเลยก็ไม่มีผลกระทบต่อสิทธิ ที่ โจทก์จะพึงได้รับในฐานะผู้ประสบอันตรายตาม พ.ร.บ. เงินทดแทนฯ แต่ประการใด - - การแก้ไขคําสั่งเงินทดแทน มาตรา 51 ถ้าปรากฏภายหลังว่าผลของการประสบอันตรายหรือการเจ็บป่วยของ ลูกจ้างเปลี่ยน แปลงไปอันเป็นเหตุให้คําสั่งที่เกี่ยวกับเงินทดแทนตามมาตรา 50 ไม่เป็นไปตามมาตรา 18 หรือมี กรณีตามมาตรา 19 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจ ออกคําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนใหม่ได้ คําสั่ง ใหม่ให้มีผลเฉพาะการจ่ายเงิน ทดแทนในคราวต่อไป ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏขึ้นในภายหลังอันเป็นเหตุให้คําสั่งที่เกี่ยวกับ เงินทดแทนตาม มาตรา 50 คลาดเคลื่อนไป ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจออก คําสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนใหม่ได้ ในกรณีที่การเจ็บป่วยเกิดขึ้นภายหลังการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้ ลูกจ้างยื่นคําร้องขอ รับเงินทดแทนจากนายจ้างต่อสํานักงานแห่งท้องที่ที่ลูกจ้าง ทํางานอยู่หรือที่นายจ้างมีภูมิลําเนาได้ ภายในสองปีนับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย - - ข้อสังเกต 1. การแก้ไขเปลี่ยนแปลงคําสั่งเกี่ยวกับเงินทดแทนอาจเกิดขึ้นได้ในกรณี ดังต่อไปนี้ 1.1 ผลของการเปลี่ยนแปลงคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ของสํานักงาน ประกันสังคมเกี่ยวกับเงินทดรองตามมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.เงินทดแทนเนื่องจากผลของ การประสบ อันตรายหรือการเจ็บป่วยของลูกจ้างได้ปลี่ยนแปลงไปเช่นลูกจ้างที่ประสบ อันตรายได้ถึงแก่ความ ตายเพราะเหตุที่ประสบอันตรายนั้นซึ่งจากเดิมนายจ้างต้องจ่ายเงินทดแทนกรณีลูกจ้างทุพพลภาพ ซึ่งกําหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าทดแทนแก่ลูกจ้าง เป็นรายเดือนทั้งนี้ตามมาตรา 18 แต่เมื่อลูกจ้าง คนดังกล่าวถึงแก่ความตายพนักงาน เจ้าหน้าที่มีอํานาจที่จะออกคําสั่งใหม่ให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ให้แก่ผู้มีสิทธิในกรณี ลูกจ้างถึงแก่ความตายตามมาตรา 20 เป็นต้น 1.2 มีข้อเท็จจริงปรากฏในภายหลังว่าข้อเท็จจริงในภายหลังแตกต่าง จากข้อ เท็จจริงที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับไว้และใช้เป็นข้อมูลในการออกคําสั่งในตอนแรก ไม่ถูกต้อง เจ้าพนักงานจึงชอบที่จะออกคําสั่งใหม่เปลี่ยนแปลงไปจากคําสั่งเดิมได้ - - การอุทธรณ์คําสั่ง มาตรา 52 ในกรณีที่นายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิตามมาตรา 20 ซึ่งได้รับคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการ ประเมินเงินสมทบของพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งสั่งการตาม พระราชบัญญัตินี้แล้วไม่พอใจคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบนั้น ให้ผู้นั้นมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการได้ ภายในสามสิบวันนับแต่ วันที่ได้รับแจ้งคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบ ทั้งนี้ เว้นแต่ เป็น คําสั่งตามมาตรา 47 เมื่อคณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์แล้ว ให้แจ้งคําวินิจฉัยเป็น หนังสือให้ ผู้อุทธรณ์ทราบ - ข้อสังเกต 1. การอุทธรณ์คําสั่งตามมาตรา 52 นี้หมายถึงการอุทธรณ์คําสั่งของ เจ้าพนักงานตามมาตรา 51 ซึ่งผู้รับคําสั่งอาจได้รับความกระทบกระเทือนจากการ เปลี่ยนแปลงคําสั่งของเจ้าพนักงานนั้น 2. ผู้มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งได้แก่ 2.1 นายจ้าง 2.2 ลูกจ้าง 2.3 บุคคลตามมาตรา 20 3. เหตุแห่งการอุทธรณ์คําสั่ง ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการ ประเมินเงิน สบทบ 4. ระยะเวลาในการยื่นอุทธรณ์ ผู้อุทธรณ์ต้องอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อ คณะกรรมการภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง คําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมิน เงินสบทบ แต่กฎหมายมิได้กําหนดว่า คณะกรรมการจะต้องพิจารณาอุทธรณ์ให้เสร็จ ภายในกี่วัน 5. นายจ้าง ลูกจ้างหรือบุคคลตามมาตรา 20 ที่ไม่พอใจคําสั่งของเจ้าพนักงาน มีสิทธิที่จะ อุทธรณ์คําสั่ง คําวินิจฉัย หรือการประเมินเงินสมทบนี้ต่อคณะกรรมการ อุทธรณ์เท่านั้นไม่มีสิทธินํา คดีมายื่นฟ้องต่อศาลแรงงานเพื่อให้เพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลง คําสั่งของเจ้าพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ - - ฎีกาน่าสนใจ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7493/2538 ตามที่พระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 32 (5) ระบุว่าคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอํานาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม มาตรา 52 นั้น หมายความว่ามีอํานาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็นด้วยกับคําวินิจฉัยของ พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่ให้จ่าย เงินทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสามสิบห้าหรือไม่แต่จะมีคําสั่ง ระงับการจ่ายเงินทดแทนเป็นการชั่ว คราวหาได้ไม่เพราะการมีคําสั่งดังกล่าวย่อมมีผล เป็นการทุเลาปฏิบัติตามคําวินิจฉัยของพนักงาน เจ้าหน้าที่อันเป็นการขัดต่อมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ที่บัญญัติเป็นใจ ความว่าการอุทธรณ์หรือ นําคดีไปสู่ศาลไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคําสั่งหรือคําวินิจฉัยของ พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือของคณะกรรมการแล้วแต่กรณี แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมี อํานาจในการรวบรวมพยานหลักฐานโดยจะเป็นผู้รวบรวมเองหรือแต่งตั้งคณะอนุกรรม การช่วยรวบ รวมก็เป็นการกระทําเพื่อนํามาพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์นั่นเองและเมื่อยัง ไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดว่าเห็น ด้วยกับอุทธรณ์และสั่งให้เพิกถอนคําวินิจฉัยของพนักงานเงิน ทดแทนที่ให้จ่ายเงินทดแทนแก่โจทก์ ทั้งสามสิบห้าซึ่งคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ยังต้องวินิจฉัยต่อไป แต่ยังอยู่ในขั้นตอนการรวบ รวมพยานหลักฐานถ้าถือว่า คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนมีอํานาจที่จะมีคําสั่งระงับการจ่ายเงิน ทดแทนเป็น การชั่วคราวแล้วก็จะมีผลเป็นการเปิดช่องให้มีการหลีกเลี่ยงบทบัญญัติของมาตรา 54 ด้วยย่อมไม่ชอบด้วยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติในมาตราดังกล่าว - [...]
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา-อธิบายนิยามศัพท์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา-อธิบายนิยามศัพท์กันยายน 7, 2020ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา-นิยามศัพท์ - อธิบายนิยามศัพท์ - ภาค 1 ข้อความเบื้องต้น ลักษณะ 1 หลักทั่วไป *ศาล (court) -หมายความถึง ศาลยุติธรรมหรือผู้พิพากษา ซึ่งมีอำนาจทำการอันเกี่ยวกับคดีอาญา -ศาลยุติธรรม (Court of justice) คือ สถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการเกี่ยวกับคดีอาญา -ผู้พิพากษา (judge) คือตัวบุคคลที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับคดีอาญา *ผู้ต้องหา (accused) -หมายความถึง บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล -การกล่าวหาว่าบุคคลใดกระทำความผิดต้องเป็นการกล่าวหาต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ตามกฎหมาย ผู้ถูกกล่าวหาจึงจะตกเป็นผู้ต้องหา -ฎีกา 1341/2509 เมื่อมีผู้ไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนกล่าวหาว่าจำเลยบุกรุกที่ดิน จำเลยย่อม ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 2(2) แล้ว *จำเลย (accused) -หมายความถึง บุคคลซึ่งถูกฟ้องยังศาลแล้วโดยข้อหาว่าได้กระทำความผิด -ฎีกา 1440/2493 คดีที่อัยการเป็นโจทก์เมื่อยื่นฟ้องก็ถือว่าผู้ถูกฟ้องตกเป็นจำเลยทันที ผิดกับคดีที่ราษฎร เป็นโจทก์ ผู้ถูกฟ้องไม่เป็นจำเลยจนกว่าศาลจะประทับฟ้อง *ผู้เสียหาย (injured person) -หมายความถึง บุคคลผู้ได้รับความเสียหาย เนื่องจากการกระทำผิดฐานใดฐานหนึ่ง รวมทั้งบุคคลอื่น ที่มีอำนาจจัดการแทนได้ ดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 4 ,5 และ 6 -ผู้เสียหาย ตามมาตรา 2(4) แยกได้ เป็น 2 ประเภท คือ 1.ผู้เสียหายโดยตรง 2.ผู้มีอำนาจจัดการแทน ตามมาตรา 4, 5 และ 6 -ผู้เสียหายโดยตรง หรือ ผู้เสียหายที่แท้จริง หมายถึง 1) เกิดการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งแก่บุคคลนั้น 2) บุคคลนั้นได้รับความเสียหายจากการกระทำความผิดอาญาฐานใดฐานหนึ่งนั้น 3) บุคคลนั้นเป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย ซึ่งหมายความว่า ต้องเป็นผู้เสียหายที่ไม่มีส่วนร่วมในการกระทำผิด หรือไม่มีส่วนก่อหรือยินยอมให้เกิดความผิดนั้นๆ -ฎีกาที่ 7238/2549 ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วย ตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดี มีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า “ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..” ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครอง คือ อำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพรากดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตาม มาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ตูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลย ทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่ -ผู้มีอำนาจจัดการแทน ได้แก่ 1) ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตามมาตรา 4 คือ ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นหญิงมีสามี หญิงนั้น มีสิทธิฟ้องคดีได้เองโดยมิต้องได้รับอนุญาต ของสามีก่อน และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 5 (2) สามีมีสิทธิ ฟ้องคดีอาญาแทนภริยาได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตโดยชัดแจ้งจากภริยา 2) ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย ตามมาตรา 5 คือ 1) ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์หรือ ผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล 2) ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยา เฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหาย ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้ 3) ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่นๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น 3) ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย(ผู้แทนเฉพาะคดี) ตามมาตรา 6 คือ ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหาย เป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือคนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือ ซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้ง มีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง อาจร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ เมื่อได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี เมื่อไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทนให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครอง เป็นผู้แทน และห้ามมิให้เรียกค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี -ผู้เสียหาย หมายความรวมทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล *พนักงานอัยการ ( prosecuting attorney, public prosecutor ) -หมายความถึง เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการในกรมอัยการหรือ เจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้นก็ได้ *พนักงานสอบสวน ( inquiry official ) -หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน *คำร้องทุกข์ (petition) -หมายความถึง การที่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่ามีผู้กระทำความผิดขึ้น จะรู้ตัวผู้กระทำความผิดหรือไม่ก็ตามซึ่งกระทำให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหาย และการกล่าวหาเช่นนั้นได้กล่าวโดยมีเจตนาจะให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษ -หากกล่าวหาโดยไม่มีเจตนาจะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เช่น แจ้งความไว้เพื่อเป็นหลักฐาน ย่อมไม่เป็นคำร้องทุกข์แต่เป็นคำกล่าวโทษได้ -ฎีกาที่ 214/2487 คำแจ้งความของผู้เสียหายที่แจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าไม่ประสงค์ให้สอบสวนเป็นรูปคดีและ แจ้งเพื่อให้รับทราบเป็นหลักฐานเท่านั้น นั้นไม่เป็นคำร้องทุกข์ตามกฎหมาย -การจดบันทึกคำร้องทุกข์ในคดีที่ผู้เสียหายเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี กฎหมายให้นำ มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง วรรคสองและวรรคสาม มาใช้บังคับด้วย -มาตรา 133 ทวิ วรรคหนึ่ง ในคดีความผิดเกี่ยวกับเพศ ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายอันมิใช่ความผิดที่เกิดจากการชุลมุนต่อสู้ ความผิดเกี่ยวกับเสรีภาพ ความผิดฐานกรรโชก ชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี ความผิดตามกฎหมาย ว่าด้วยมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้าหญิงและเด็ก ความผิดตามกฎหมายว่าด้วย สถานบริการ หรือคดีความผิดอื่นที่มีอัตราโทษจำคุก ซึ่งผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ร้องขอ การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกินสิบแปดปี ให้พนักงานสอบสวน แยกกระทำเป็นส่วนสัดในสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมอยู่ด้วยในการถามปากคำเด็กนั้นและในกรณีที่นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์เห็นว่าการถามปากคำเด็กคนใดหรือคำถามใด อาจจะมีผลกระทบกระเทือน ต่อจิตใจเด็กอย่างรุนแรง ให้พนักงานสอบสวนถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ เป็นการเฉพาะตามประเด็นคำถามของพนักงานสอบสวน โดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน และห้ามมิให้ถามเด็กซ้ำซ้อนหลายครั้งโดยไม่มีเหตุอันสมควร -มาตรา 133 ทวิ วรรคสอง ให้เป็นหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะต้องแจ้งให้นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กทราบถึงสิทธิตามวรรคหนึ่งด้วย -มาตรา 133 ทวิ วรรคสาม นักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือพนักงานอัยการที่เข้าร่วมในการถามปากคำอาจถูกผู้เสียหาย หรือพยานซึ่งเป็นเด็กตั้งรังเกียจได้ หากมีกรณีดังกล่าวให้เปลี่ยนตัวผู้นั้น -แต่หากมีเหตุจำเป็น ไม่อาจหาหรือรอนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์บุคคลที่เด็กร้องขอและ พนักงานอัยการได้และเด็กไม่ประสงค์จะให้มีหรือรอบุคคลดังกล่าวต่อไป ให้ผู้รับคำร้องทุกข์บันทึกเหตุ ดังกล่าวไว้ในบันทึกคำร้องทุกข์ด้วย *คำกล่าวโทษ (accuse) -หมายความถึง การที่บุคคลอื่นซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายได้กล่าวหาต่อเจ้าหน้าที่ว่ามีบุคคลรู้ตัวหรือไม่ก็ดี ได้กระทำความผิดอย่างหนึ่งขึ้น *หมายอาญา -หมายความถึง หนังสือบงการซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อยผู้ต้องหา จำเลยหรือนักโทษ หรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้น อันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลข ว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจน สำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสารสื่ออีเลคโทรนิคส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ ประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 77 -หนังสือบงการ หมายถึง หนังสือที่ออกคำสั่งให้ปฏิบัติและต้องปฏิบัติตามนั้น -หมายอาญา มี 5 ประเภท ได้แก่ 1.หมายจับ warrant of arrest 2.หมายขัง warrant of detain 3.หมายจำคุก warrant of imprison 4.หมายปล่อย warrant of release 5.หมายค้น warrant of search *การสืบสวน (investigation) -หมายความถึง การแสวงหาข้อเท็จจริงและหลักฐานซึ่งพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้ปฏิบัติไป ตามอำนาจและหน้าที่ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชนและเพื่อที่จะทราบรายละเอียดแห่งความผิด *การสอบสวน (investigation) -หมายความถึง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการดำเนินการทั้งหลายอื่นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ซึ่งพนักงานสอบสวนได้ทำไปเกี่ยวกับความผิดที่กล่าวหา เพื่อที่จะทราบข้อเท็จจริง หรือพิสูจน์ความผิดและ เพื่อจะเอาตัวผู้กระทำผิดมาฟ้องลงโทษ -ฎีกา 2699/2516 การจับกุมกับการสอบสวนเป็นการดำเนินการคนละตอนกันเมื่อการสอบสวนได้ดำเนินไป โดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ถึงแม้การจับกุมจะมิชอบด้วยกฎหมาย.ก็เป็นเรื่องที่จะว่ากล่าวกันอีกส่วนหนึ่งต่างหาก หาทำให้กระทบกระเทือนถึงการฟ้องคดีอาญาไม่ *การไต่สวนมูลฟ้อง (preliminary examination ) -หมายความถึง กระบวนไต่สวนของศาลเพื่อวินิจฉัยถึงมูลคดีซึ่งจำเลยต้องหา -การไต่สวนมูลฟ้องของศาลนั้นเป็นการพิจารณาในเบื้องต้นว่าคดีที่โจทก์นำมาฟ้องนั้นมีมูลหรือไม่ หากมีมูลศาลก็จะประทับฟ้องไว้พิจารณาต่อไป *ที่รโหฐาน (privacy) -หมายความถึง ที่ต่างๆ ซึ่งมิใช่ที่สาธารณสถานดั่งบัญญัติไว้ในกฎหมายลักษณะอาญา -สาธารณสถาน ตามประมวลกฎหมายอาญา หมายถึง สถานที่ใดๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ -ที่รโหฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา จึงไม่ใช่ที่ที่ประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ -ที่รโหฐาน จึงหมายถึงที่ส่วนตัวเฉพาะบุคคล ที่ประชาชนทั่วไปไม่มีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ เช่น บ้านที่อยู่อาศัย *โจทก์ (plaintiff , complainant) -หมายความถึง พนักงานอัยการ หรือผู้เสียหายซึ่งฟ้องคดีอาญาต่อศาลหรือทั้งคู่ในเมื่อพนักงานอัยการและ ผู้เสียหายเป็นโจทก์ร่วมกัน -สามารถแยกผู้ที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ได้ดังนี้ คือ 1.พนักงานอัยการ 2.ผู้เสียหาย(หมายความรวมถึงผู้รับมอบอำนาจของผู้เสียหายด้วย) 3.พนักงานอัยการและผู้เสียหาย เป็นโจทก์ร่วมกัน *คู่ความ (litigants in a lawsuit) -หมายความถึง โจทก์ฝ่ายหนึ่งและจำเลยอีกฝ่ายหนึ่ง -ฎีกา 502/2523 เมื่อโจทก์ได้มอบหมายให้ผู้ใดเป็นตัวแทนโจทก์ในการดำเนินคดีอาญาแล้ว ผู้นั้นมีฐานะเป็นคู่ความในคดีในนามของโจทก์.ย่อมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะลงชื่อเป็นโจทก์ ในฟ้องเรียงหรือแต่งคำฟ้องและลงลายมือชื่อเป็นผู้เรียงฟ้องได้ หาเป็นการขัดต่อ พ.ร.บ.ทนายความฯ ม.36ไม่.ผู้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีแทนโจทก์ลงชื่อเป็นผู้เรียงมาในฟ้องฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.อ.ม.158(7) จะยกฟ้องโจทก์เพราะเหตุนี้หาได้ไม่ *พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ (administration officer , police) -หมายความถึง เจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน ให้รวมทั้งพัศดี เจ้าพนักงานกรมสรรพสามิต กรมศุลกากร กรมเจ้าท่า พนักงานตรวจคนเข้าเมืองและ เจ้าพนักงานอื่นๆ ในเมื่อทำการอันเกี่ยวกับการจับกุม ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งตนมีหน้าที่ ต้องจับกุมหรือปราบปราม *พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ -หมายความถึง เจ้าพนักงาน ดังต่อไปนี้ (ก) ปลัดกระทรวงมหาดไทย (ข) รองปลัดกระทรวงมหาดไทย (ค) ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย (ฆ) ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย (ง) อธิบดีกรมการปกครอง (จ) รองอธิบดีกรมการปกครอง (ฉ) ผู้อำนวยการกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง (ช) หัวหน้าฝ่ายและหัวหน้างานในกองการสอบสวนและนิติการกรมการปกครอง (ซ) ผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง (ฌ) ผู้ว่าราชการจังหวัด (governor of a province) (ญ) รองผู้ว่าราชการจังหวัด (ฎ) ปลัดจังหวัด (ฏ) นายอำเภอ (ฐ) ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ (ฑ) อธิบดีกรมตำรวจ (ฒ) รองอธิบดีกรมตำรวจ (ณ) ผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจ (ด) ผู้บัญชาการตำรวจ (ต) รองผู้บัญชาการตำรวจ (ถ) ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจ (ท) ผู้บังคับการตำรวจ (ธ) รองผู้บังคับการตำรวจ (น) หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (บ) รองหัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัด (ป) ผู้กำกับการตำรวจ (ผ) ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฝ) รองผู้กำกับการตำรวจ (พ) รองผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดเขต (ฟ) สารวัตรใหญ่ตำรวจ (ภ) สารวัตรตำรวจ (ม) ผู้บังคับกองตำรวจ (ย) หัวหน้าสถานีตำรวจ ซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป (ร) หัวหน้ากิ่งสถานีตำรวจซึ่งมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรี หรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไป ทั้งนี้ หมายความรวมถึงผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงานดังกล่าวแล้ว แต่ผู้รักษาการแทนเจ้าพนักงาน ใน (ม) (ย) และ (ร) ต้องมียศตั้งแต่ชั้นนายร้อยตำรวจตรีหรือเทียบเท่านายร้อยตำรวจตรีขึ้นไปด้วย *สิ่งของ (thing) - หมายความถึง สังหาริมทรัพย์ใดซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญาได้ ให้รวมทั้งจดหมายโทรเลข และเอกสารอย่างอื่นๆ *ถ้อยคำสำนวน - หมายความถึง หนังสือใดที่ศาลจดเป็นหลักฐานแห่งรายละเอียดทั้งหลายในการดำเนินคดีอาญาในศาลนั้น *บันทึก - หมายความถึง หนังสือใดที่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจจดไว้เป็นหลักฐานในการสอบสวนความผิดอาญา รวมทั้งบันทึกคำร้องทุกข์และคำกล่าวโทษด้วย *ควบคุม - หมายถึง การคุมหรือกักขังผู้ถูกจับโดยพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในระหว่างสืบสวนและสอบสวน *ขัง detain -หมายความถึง การกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล -เป็นอำนาจของศาลโดยเฉพาะ *ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย (มาตรา 5) -ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล หมายถึง ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลที่ศาลแต่งตั้งตามกฎหมาย -ผู้บุพการี หมายถึง บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย ทวด ของผู้เสียหาย ถือตามสายโลหิต -ผู้สืบสันดาน หมายถึง ลูก หลาน เหลน ลื่น ของผู้เสียหาย โดยถือตามสายโลหิต (บุตรบุญธรรมไม่เป็น ผู้สืบสันดานตามมาตรานี้) -สามีหรือภริยา หมายถึง สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมาย (จดทะเบียนสมรส) *ผู้แทนเฉพาะคดี (มาตรา 6) -เป็นกรณีที่ในคดีอาญาซึ่งผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือเป็นผู้วิกลจริตหรือ คนไร้ความสามารถไม่มีผู้อนุบาล หรือซึ่งผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลไม่สามารถจะทำการ ตามหน้าที่โดยเหตุหนึ่งเหตุใด รวมทั้งมีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ หรือคนไร้ความสามารถนั้น ๆ ญาติของผู้นั้นหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องสามารถร้องต่อศาลขอให้ตั้งเขาเป็นผู้แทนเฉพาะคดีได้ เมื่อศาลได้ไต่สวนแล้วให้ศาลตั้งผู้ร้องหรือบุคคลอื่น ซึ่งยินยอมตามที่เห็นสมควรเป็นผู้แทนเฉพาะคดี หรือหากไม่มีบุคคลใดเป็นผู้แทน ให้ศาลตั้งพนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้แทน และกฎหมายห้ามมิให้เรียก ค่าธรรมเนียมในเรื่องขอตั้งเป็นผู้แทนเฉพาะคดี *ล่าม (interpreter) (มาตรา 13) -ล่ามตามมาตรา 13 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ 1.กรณีต้องแปลภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่นหรือภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย หรือ ต้องแปลภาษาไทยเป็นภาษาไทยท้องถิ่นหรือภาษาถิ่น หรือภาษาต่างประเทศ 2.กรณีต้องแปลภาษามือ (กรณีที่ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย หรือพยานไม่สามารถพูดหรือได้ยิน ) -ล่ามต้องแปลให้ถูกต้อง ต้องสาบานหรือปฏิญาณตนว่าจะทำหน้าที่โดยสุจริตใจ จะไม่เพิ่มเติม หรือตัดทอนสิ่งที่แปลและล่ามต้องลงลายมือชื่อในคำแปลนั้น -กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าผู้ที่จะมาเป็นล่ามให้นั้นจะต้องมีใบอนุญาติให้เป็นล่าม -ฎีกา 5476/2537 การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้นไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการ ไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง -ฎีกา 1187/2539 ที่จำเลยฎีกาว่าจำเลยเป็นคนไทยแต่ไม่รู้ภาษาไทยเพียงพอและขณะศาลชั้นต้น สอบคำให้การจำเลยไม่มีล่ามช่วยแปลนั้นศาลชั้นต้น ได้ไต่สวนปัญหานี้ตามคำสั่งของศาลฎีกาแล้ว ปรากฏว่าจำเลยสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยสามารถตอบคำถามทนายจำเลยโจทก์ และศาลเป็นภาษาไทยโดยมิต้องใช้ล่ามแปลดังนั้นเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพโดยเข้าใจสภาพแห่งข้อหา และคำฟ้องแล้วกระบวนพิจารณา ที่ศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลยบันทึกคำให้การรับสารภาพของจำเลย ไว้จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ชอบไม่ชอบเหตุที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ *ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต (มาตรา 14) -ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือ จำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด -กรณีที่พนักงานสอบสวน หรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้งดการสอบสวนไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิตหรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัด หรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร -ศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้ -ฎีกา 65/2542 การมีเหตุอันควรเชื่อว่าจำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 นั้น จะต้องปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาส ในทำนองเป็นคนบ้า จำเลยมีอาชีพค้าขาย สามารถลงลายมือชื่อได้ถูกต้องเรียบร้อยสวยงาม สามารถเป็นเจ้าบ้าน ทำการเปลี่ยนชื่อและมีบุตรได้ตามปกติ พฤติการณ์แสดงว่ามิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ แม้หากจำเลยเป็นโรคจิตพวกจิตเภท อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคลิกภาพผิดปกติไป ก็เป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต -ฎีกา 2594/2542 ข้อเท็จจริงหรือเหตุที่ทำให้ศาลเชื่อหรือสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถ ต่อสู้คดีได้นั้น อาจเป็นเพราะศาลสังเกต เห็นจากอากัปกิริยาของจำเลยเอง หรือมีผู้เสนอข้อเท็จจริง ให้ศาลทราบก็ได้ ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์มิได้พิจารณาคำร้องของ ธ. น้องจำเลยที่อ้างว่า จำเลยวิกลจริตและไม่สามารถต่อสู่คดีได้ในขณะที่คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงเป็นการที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์และพิพากษาลงโทษจำเลยโดยไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนของ ป.วิ.อ. มาตรา 14 ก่อน ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ปัญหานี้เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 และศาลฎีกามีอำนาจตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225 สั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องต่อไปได้ *การนำ ป.วิ.แพ่ง มาใช้บังคับ (มาตรา 15) -หากวิธีพิจารณาข้อใดที่ ป.วิ.อาญา ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ก็ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.แพ่ง มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ เช่น เรื่องฟ้องซ้อนนำมาใช้ในคดีอาญาด้วย, ส่วนเรื่องการร้องสอด ไม่นำมาใช้ในคดีอาญาเพราะในคดีอาญามีบทบัญญัติเรื่องการเข้าเป็นโจทก์ร่วม ตามมาตรา 30 ไว้แล้ว จึงไม่นำ ป.วิ.แพ่ง มาใช้ [...]