section119-6

กฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (6)
-
           *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (6))
 -
           มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด
 ดังต่อไปนี้
           ".........................
           (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
           ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็น
 เหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
 -
           ข้อสังเกต
           ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ 2541 มาตรา 119 (6)
 เป็นเรื่องที่นายจ้างสามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยต้องไม่จ่ายค่าชดเชย
 ดังนั้น ในกรณีลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
 ในระหว่างเป็นลูกจ้าง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
           ถ้าเป็นการกระทำความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 หากเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ได้รับความเสียหาย ไม่สามารถอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
 -
 -
 - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
 -
 คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2909/2524
           ข้อยกเว้นซึ่งนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างประจำซึ่งเลิกจ้างตามประกาศกระทรวง
 มหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา
 ถึงที่สุดให้จำคุกหมายถึงได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำคุกคดีถึงที่สุดขณะที่เป็นลูกจ้างหาใช่ได้
 รับโทษและพ้นโทษมาแล้วจึงมาเป็นลูกจ้างไม่
           - ตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้มีข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์สมัครเข้าทำงาน ในแบบฟอร์มและ
 เงื่อนไขในการสมัครงานอันถือเป็นสภาพการจ้างได้กล่าวไว้ชัดเจนว่าผู้สมัครงานต้องไม่เคยรับโทษตามคำ
 พิพากษาถึงจำคุก การที่โจทก์ปกปิดความจริงย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าทำให้จำเลยเสียหายเพราะจำเลยจ้าง
 โจทก์ปฏิบัติงานในหน้าที่พนักงานเก็บเงิน จึงต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนนั้น เห็นว่าข้อนี้คดีไม่ปรากฏว่า
 จำเลยได้รับความเสียหายใด ๆและศาลแรงงานกลางได้วินิจฉัยว่าการที่โจทก์ไม่แจ้งประวัติเคยต้องโทษมา
 ก่อนสมัครทำงาน โจทก์มิได้จงใจจะทำความเสียหายให้จำเลยจำเลยจะอุทธรณ์ว่าการกระทำของโจทก์เช่น
 นั้นย่อมเล็งผลทำให้จำเลยเสียหายอันเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยในข้อเท็จจริงหาได้ไม่ ต้องห้ามตามพระราช
 บัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 54 วรรคแรก
           และข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่า เมื่อโจทก์เคยได้รับโทษถึงจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาล
 จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามข้อ 47(6)ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การ
 คุ้มครองแรงงาน นั้น ศาลฎีกาได้พิเคราะห์ความในข้อ 47(6) ของประกาศดังกล่าวแล้วเห็นพ้องกับคำ
 วินิจฉัยของศาลแรงงานกลางว่า ข้อกำหนดดังกล่าวหมายถึงการได้รับโทษตามคำพิพากษาของศาลให้จำ
 คุกคดีถึงที่สุดในขณะที่เป็นลูกจ้าง หาใช่ได้รับโทษและพ้นโทษมาแล้ว จึงมาเป็นลูกจ้างดังเช่นคดีนี้ไม่
 กรณีของโจทก์ไม่ต้องด้วยข้อ 47(6) ของประกาศกระทรวงมหาดไทยข้างต้น จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยแก่
 โจทก์
 -

Leave a Reply