กันยายน 7, 2020 In คำพิพากษา

คำพิพากษาฎีกาที่ 2828/2561-ถือว่ามีลักษณะบ่งเฉพาะ-เครื่องหมายการค้า

คำพิพากษาฎีกาที่ 2828/2561
เนติฯ
	คู่กรณี
โจทก์
	อัคโซ โนเบล โคทติ้งส์ อินเตอร์เนชั่นแนล บี.วี. 
จำเลย
	กรมทรัพย์สินทางปัญญา กับพวก 
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
	พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 
	มาตรา 7 มาตรา 16 มาตรา 17
-
ข้อมูลย่อ
	ความหมายของคำว่า “INSPIRE” คือ กระตุ้นหรือส่งอิทธิพล 
ให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์นำคำว่า
“INSPIRE”ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่นน้ำมันชักเงา แลกเกอร์
สารทำให้แห้งทินเนอร์และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี
สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติม
ใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้
เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์สารกันสนิมสารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ 
สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยาง 
เรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ใน
ลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า “INSPIRE”
ไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรง
ว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้
สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าวจูงใจ
ให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจให้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่า 
สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือ
มีอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ แต่เป็นการใช้จินตนาการ
ตีความหมายถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม
มิได้เป็นคาที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง
	คำว่า “INSPIRE” จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
แล้ว เมื่อนำคำว่า“INSPIRE” มาใช้ประกอบกับคำว่า “DULUX”
เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ในลักษณะที่ไม่มี
คำใดเป็นจุดเด่นกว่าคำใด ทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระ
สำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญของ.
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่
เมื่อเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า
พ.ศ.2534มาตรา 7 วรรคสอง (2) เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX
INSPIRE” จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วนหนึ่งส่วนใด
อันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับ
จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา
16 และพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6
	เมื่อคำว่า “INSPIRE”เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2)
ประกอบกับไม่ปรากฏว่าเป็นคำที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับ
สินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรณีไม่จำต้องให้
โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้
คำว่า “INSPIRE” ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตามพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 (1)
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดตาม
กฎหมายประเทศเนเธอร์แลนด์ เ1และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า
คำว่า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบกับคำอื่น ๆ โดยโจทก์
จดทะเบียน เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศไทยแล้วตั้งแต่ปี
2491เป็นต้นมาเพื่อใช้เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้วกับสินค้า
สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง
ทินเนอร์สารทำให้เกิดสี สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม
สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซิน
ธรรมชาติ (ยางมัสติก) และสีโป๊ว เป็นต้น สินค้าภายใต้เครื่องหมาย
การค้าดังกล่าวมีจำหน่ายและโฆษณาในประเทศไทยมานานจนมี
ชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป คำว่า “DULUX” เป็นเครื่องหมายหลัก
(House Mark) ของโจทก์ที่สาธารณชนและผู้ใช้สินค้าต่างเข้าใจกันดี
ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้า “DULUX” และ “DULUX” ประกอบ
กับคำอื่น ๆ เป็นสินค้าคุณภาพสูงของโจทก์ที่แตกต่างจากสินค้าที่ใช้
เครื่องหมายการค้าอื่น เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ยื่น
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” เพื่อใช้
กับสินค้าจำพวกที่ 2 รายการสินค้า สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น
น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง
ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิด
สีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์
สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม
สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นใน
ลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว 
สีน้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้าย
ตำแหน่ง ใหม่ได้ เป็นคำขอเลขที่ 796011 โดยโจทก์ขอให้ถือเอา
วันที่ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE”
นอกราชอาณาจักรครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม
2553 เป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักร ตามมาตรา 28 แห่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 ต่อมานายทะเบียน
เครื่องหมายการค้ามีคำสั่ง. ให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น
สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามมาตรา 17 แห่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพราะเห็นว่า คำว่า
“INSPIRE”ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะซึ่งโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว
เนื่องจากไม่ได้แสดงเหตุผลว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
เพราะเหตุใดโจทก์จึงอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมาย
การค้ามีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE”
มีคำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญ ซึ่งตามพจนานุกรม “TWP
ENGLISH-THAI DICTIONARY”  คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือ
ส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่
2 ดังกล่าว ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็น
สินค้าที่ยอดเยี่ยม นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอ
จดทะเบียนโดยตรงถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา7วรรคสอง
(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย
การค้าของโจทก์จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6
แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ให้โจทก์ยื่นคำชี้แจงหรือส่งหลักฐานใน
ประเด็นดังกล่าวก่อนการวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์จึงทำคำชี้แจงต่อ
คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าว่า คำว่า “INSPIRE” มีลักษณะบ่ง 
เฉพาะเพราะมิได้เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าตามที่ขอ
จดทะเบียนโดยตรง ทั้งเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนมี
คำว่า “DULUX” เป็นสาระสำคัญอันพึงรับจดทะเบียนได้ การที่คณะ
กรรมการเครื่องหมายการค้าจะปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าดังกล่าวทั้งคำขอตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 นั้นไม่ถูกต้อง ต่อมาคณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยที่ 780/2557 ให้ระงับการ 
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์
เนื่องจากเห็นว่าเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” มีภาค
ส่วนคำว่า “INSPIRE” เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย ซึ่งคำดังกล่าว
เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนโดยตรง ถือว่า
ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมายการค้าของโจทก์
จึงไม่ชอบที่จะรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 ส่วนการที่โจทก์เคย
ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศอินโดนีเซีย
มาก่อน ก็ไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
ต้องรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ สำหรับคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่โจทก์อ้างถึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้รับ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ โจทก์เห็นว่าคำสั่งของ
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่เห็นว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มี
ลักษณะบ่งเฉพาะและสั่งให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น
สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามหนังสือที่ พณ 0704/
4221 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่
780/2557 ที่ให้ระงับการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม
คำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์ทั้งคำขอนั้นไม่ถูกต้องและไม่ชอบ
ด้วยกฎหมาย เนื่องจากเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE”
ประกอบด้วยคำว่า “DULUX”และคำว่า “INSPIRE”โดยคำว่า “DULUX”
เป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมายหรือคำแปลในพจนานุกรม จึงมี
ลักษณะบ่งเฉพาะและได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามาแล้ว
ทั้งโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX” และ “DULUX”
ประกอบกับภาคส่วนอื่น ๆ กับสินค้าจำพวกที่ 2 ดังกล่าวมาเป็นเวลา
นานคำว่า “DULUX”จึงเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก(House Mark)ของ
โจทก์ที่สาธารณชนใช้ในการสังเกตจดจำและแยกแยะสินค้าของโจทก์
ออกจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่นได้ดี ส่วนคำว่า “INSPIRE” 
มีความหมายในพจนานุกรมหลายประการ สำหรับความหมายที่แปลว่า 
ดลใจ หรือแปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม 
นั้น หมายถึง ดีใจหรือกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้บุคคลกระทำหรือ 
สามารถกระทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมหรือสิ่งที่สร้างสรรค์ซึ่งไม่เกี่ยวข้อง
โดยตรงกับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ขอจดทะเบียน 
นอกจากนี้คำว่า “INSPIRE”ยังมีความหมายหรือแปลได้ว่าหายใจเข้า
อีกหนึ่งความหมาย เมื่อคำว่า “INSPIRE” มีหลายความหมายซึ่งไม่
เกี่ยวข้องกับสินค้าตามที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน สาธารณชนจึงไม่ 
อาจทราบความหมายได้แน่ชัดว่าคำว่า “INSPIRE” หมายถึงสิ่งใด จึง
ไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่
โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนได้ในทันที คำว่า “INSPIRE” จึงไม่เป็นคำที่
เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าตามที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน 
โดยตรง เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” จึงมีลักษณะบ่งเฉพาะ
อันพึงรับจดทะเบียนตามขั้นตอนของกฎหมายได้ โดยโจทก์ไม่
จำต้องแสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้
คำว่า “INSPIRE”และเนื่องจากเครื่องหมายการค้า “DULUXINSPIRE”
ประกอบด้วยสาระสำคัญสองภาคส่วน คือ ภาคส่วนคำว่า “DULUX”
ซึ่งเป็นคำพยางค์แรกที่มีลักษณะบ่งเฉพาะและเป็นเครื่องหมายการค้า 
หลัก (House Mark) และภาคส่วนคำว่า “INSPIRE” ซึ่งมีลักษณะบ่ง
เฉพาะในตัวเองดังกล่าวข้างต้นแล้ว คำว่า “INSPIRE” จึงไม่ใช่ภาค
ส่วนเดียวที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าตามคำวินิจฉัย
ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ประชาชนหรือใช้สินค้าย่อม
สังเกตจดจำเครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ทั้งสองภาค
ส่วนและทำให้ทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า
“DULUX INSPIRE” แตกต่างไปจากสินค้าอื่น เมื่อเครื่องหมายการค้า
“DULUXINSPIRE”มีคำว่า “DULUX”เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย
ด้วย มิได้มีสาระสำคัญเพียงคำว่า “INS.PIRE” ตามคำวินิจฉัยของ
คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงไม่ใช่กรณีที่เครื่องหมายการค้า
ทั้งเครื่องหมายหรือส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย
การค้านั้นไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา 6 อันไม่
พึงรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 16 แห่งพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 และแม้คณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้าจะเห็นว่า คำว่า “INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ
แต่เครื่องหมายการค้า “DULUXINSPIRE” ตามคำขอเลขที่ 796011
ทั้งเครื่องหมายก็ยังพึงรับจดทะเบียนได้และกรณีที่คณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้าวินิจฉัยว่า โจทก์อ้างว่าโจทก์ได้รับการจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศอินโดนีเซียนั้นเป็นความ
คลาดเคลื่อนในข้อเท็จจริง เพราะโจทก์ไม่ได้อ้างในคำอุทธรณ์ว่า
โจทก์ได้รับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” ใน
ประเทศอินโดนีเซียโจทก์เพียงอ้างคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
“DULUX INSPIRE” ในประเทศอินโดนีเซีย เพื่อขอให้ถือเอาวันที่ยื่น
คำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” นอก
ราชอาณาจักรครั้งแรกในประเทศอินโดนีเซียเมื่อวันที่6ตุลาคม2553
เป็นวันยื่นคำขอในราชอาณาจักรตามมาตรา28แห่งพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เท่านั้น นอกจากนี้เครื่องหมายการค้า
คำว่า “DULUX INSPIRE” ยังมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตาม
มาตรา7วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ..ศ.2534
ขอให้พิพากษาว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” ตามคำขอ
เลขที่ 796011 มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงรับจดทะเบียนได้โดย
โจทก์ไม่ต้องแสดงการปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของโจทก์แต่ผู้เดียว
ในอันที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” และกรณีไม่อาจปฏิเสธการรับ 
จดทะเบียนคำขอเลขที่ 796011 ทั้งคำขอ กับให้เพิกถอนคำสั่งของ
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามหนังสือที่ พณ 0704/4221.
ลงวันที่3กุมภาพันธ์2555และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้าที่ 780/2557 และให้จำเลยทั้งสองหรือ
นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า
คำขอเลขที่796011 ตามกฎหมายต่อไป
	จำเลยทั้งสองให้การว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมาย
การค้า และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็น
คำสั่งและคำวินิจฉัยที่ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายแล้วในชั้นพิจารณา 
ของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมาย
การค้า โจทก์ไม่ได้แสดงหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่าเครื่องหมายการค้าที่
โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนนั้นมีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ ดังนั้น
เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่ใช่เครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่ง
เฉพาะจากการใช้ตามมาตรา 7 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534ขอให้ยกฟ้อง
	ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง
พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม
หนังสือที่ พณ 0704/4221 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2555 และ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 780/2557.
และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า “DULUX INSPIRE” ของโจทก์
ตามคำขอเลขที่796011 ต่อไปค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
	จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
	ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่าง
ประเทศวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่โจทก์และจำเลยทั้งสองไม่โต้แย้งกัน
ในชั้นอุทธรณ์รับฟังได้ว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด
ตามกฎหมายเนเธอร์แลนด์ และเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าคำว่า
“DULUX” และ “DULUX” ประกอบกับคำอื่น ๆ โดยโจทก์จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ในประเทศไทยแล้วตั้งแต่ปี 2491
เป็นต้นมา ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.2
และ จ.3 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 
รายการสินค้า สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ 
สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติม 
ใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสาร
เติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง 
ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อม
สภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/
ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือ
แลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ เป็น
คำขอเลขที่796011ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า
เอกสารหมาย จ.4 โจทก์ขอให้ถือเอาวันที่ยื่นคำขอจดทะเบียน 
เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” นอกราชอาณาจักรครั้งแรก
ในประเทศอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2553 เป็นวันยื่นคำขอ
ในราชอาณาจักรตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมาย
การค้า พ.ศ.2534 ตามสำเนาคำขอถือสิทธิวันที่ยื่นคำขอนอก
ราชอาณาจักรครั้งแรกหรือวันที่นำสินค้าที่ใช้เครื่องหมายออกแสดง
ในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศเป็นวันที่ยื่นคำขอในราชอาณาจักร
ตามมาตรา 28, 28 ทวิ เอกสารหมาย จ.6 ต่อมานายทะเบียน
เครื่องหมายการค้ามีคำสั่งให้โจทก์แสดงการปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็น
สิทธิของตนแต่ผู้เดียวที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ตามมาตรา 17 แห่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เพราะเห็นว่า คำว่า
“INSPIRE” ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ตามสำเนาหนังสือที่ พณ 0704/
4221 เอกสารหมาย จ.7 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ตาม
สำเนาคำอุทธรณ์เอกสารหมาย จ.8 คณะกรรมการเครื่องหมายการค้า
มีหนังสือแจ้งโจทก์ว่า เครื่องหมายการค้า “DULUX INSPIRE” มีคำว่า
“INSPIRE” เป็นสาระสำคัญ ซึ่งพจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI
DICTIONARY” คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้
สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ดังกล่าว
ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยม
นับว่าเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอจดทะเบียนโดยตรง
ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่งพระราช
บัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย การค้าของโจทก์
จึงไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนตามมาตรา 6 แห่งพระราช
บัญญัติเดียวกัน ให้โจทก์ยื่นคำชี้แจงหรือส่งหลักฐานในประเด็น
ดังกล่าวภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งตามสำเนา
หนังสือแจ้งคำสั่งของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่พณ0702/
796011 เอกสารหมาย จ.9 โจทก์ทำคำชี้แจงต่อคณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้าตามสำเนาหนังสือนำส่งเอกสารหลักฐานและ
คำชี้แจงเอกสารหมาย จ.10 ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามี
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่780/2557ให้ระงับการจดทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าตามคำขอเลขที่ 796011 ของโจทก์ เนื่องจากเห็นว่า
เครื่องหมายการค้าคำว่า“DULUXINSPIRE”มีภาคส่วนคำว่า“INSPIRE”.
เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายซึ่งตามพจนานุกรม “TWP ENGLISH-
THAI DICTIONARY คำว่า “INSPIRE” แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพล 
ให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมเมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่2ดังกล่าว 
ทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่
ยอดเยี่ยม คำดังกล่าวจึงเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่ยื่นขอ
จดทะเบียนโดยตรงถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา7วรรคสอง
(2) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 เครื่องหมาย
การค้าของโจทก์จึงไม่ชอบที่จะรับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่ง
พระราชบัญญัติเดียวกัน ส่วนการที่โจทก์อ้างว่าเคยได้รับการ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในต่างประเทศ เช่นอินโดนีเซีย 
มาก่อนไม่อาจนำมาเป็นเหตุให้คณะกรุรมการเครื่องหมายการค้าต้อง
รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้แก่โจทก์ สำหรับคำพิพากษา
ศาลฎีกาที่โจทก์อ้างถึงไม่อาจนำมากล่าวอ้างเพื่อเป็นเหตุให้รับ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ตามสำเนาคำวินิจฉัย
อุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ 780/2557.
เอกสารหมาย จ.11
	คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองว่า
เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์ยื่นขอ
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกที่ 2 ตาม
คำขอเลขที่ 796011 เป็นเครื่องหมายการค้าที่ไม่มีลักษณะ
บ่งเฉพาะอันพึงให้ได้รับการจดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 เพราะคำว่า “INSPIRE”
เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงหรือไม่โดยจำเลย
ที่ 2 อุทธรณ์ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์
ยื่นขอจดทะเบียนประกอบด้วย 2 ภาคส่วน ภาคส่วนแรกเป็นอักษรโรมัน
คำว่า “DULUX” กับภาคส่วนที่สองเป็นอักษรโรมันคำว่า “INSPIRE”
โดยภาคส่วนทั้งสองต่างปรากฏเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า
เมื่อปรากฏหลักฐานตามพจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI
DICTIONARY” คำว่า “INSPIRE”  แปลว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้
สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม เมื่อโจทก์นำภาพส่วนอักษรโรมันดังกล่าว
มาใช้กับสินค้าประเภทสี ซึ่งเป็นสินค้าที่มีอิทธิพลโดยตรงต่อผู้บริโภค
ทั่วไปที่ได้พบเห็นเป็นประจำได้ โดยสีมีคุณสมบัติที่สามารถกระตุ้น
หรือส่งอิทธิพลต่อผู้ที่พบเห็นให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ จึงเป็น
คำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมาย
การค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมหาได้เป็นคำที่มีลักษณะโน้มน้าวให้
บุคคลทั่วไปที่ประสงค์จะซื้อสีเกิดความสนใจในสินค้านั้นดังที่ศาล
ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวินิจฉัยไม่ เมื่อ
ภาคส่วนอักษรโรมันคำว่า “INSPIRE” ซึ่งเป็นภาคส่วนหนึ่งอันเป็น
สาระสำคัญของเครื่องหมายเป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
ถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แม้ภาคส่วนอักษร
โรมันคำว่า “DULUX” เป็นคำประดิษฐ์ที่ไม่มีความหมายซึ่งมีลักษณะ 
บ่งเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของ
เครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียนได้ตาม
มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 แล้ว
เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนทั้งเครื่องหมายจึงไม่ชอบ
ที่จะได้รับการจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน
เห็นว่า แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ที่โจทก์ยื่นขอ 
จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคส่วน 
สำหรับภาคส่วนคำว่า “DULUX” นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า
และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการมี
ลักษณะบ่งเฉพาะในตนเองแล้วของคำดังกล่าว ส่วนภาคส่วนคำว่า
“INSPIRE” นั้นแม้จะเป็นคำภาษาต่างประเทศแต่ก็เป็นคำธรรมดา
ทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรม ซึ่งจำเลยทั้งสองมี 
พจนานุกรม “TWP ENGLISH-THAI DICTIONARY” เอกสารหมาย ล.12
อ้างส่งประกอบบันทึกถ้อยคำพยานจำเลยทั้งสองปากนายธนกร
รตนวัณณ์และโจทก์มิได้โต้แย้งข้อเท็จจริงตามเอกสารที่จำเลยทั้งสอง
นำส่งนี้ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามเอกสารดังกล่าวว่า คำว่า “INSPIRE” 
มีความหมายหนึ่งว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม
แต่คำภาษาต่างประเทศที่มีความหมายตามพจนานุกรมจะเป็นคำที่ 
ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติ
ของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าความ
หมายของคำที่ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้.
สินค้าสามา1รถทราบได้ทันทีหรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้อง
กับสินค้าใด หากเป็นเครื่องหมายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นการ
บรรยายถึงลักษณะของสินค้าซึ่งทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้
ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด จึงจะถือว่าเป็น
เครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ใน
ขณะที่เครื่องหมายที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือ
คุณสมบัติของสินค้านั้นทางอ้อมผู้ใช้สินค้าต้องใช้ความคิดและ
จินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะ
รู้ว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด แม้อาจเป็นเครื่องหมายที่
เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็เป็นไปโดยทางอ้อม หาใช่
เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอ
จดทะเบียนโดยตรงไม่ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า “INSPIRE”
ที่ปรากฏตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบกล่าวอ้างดังกล่าว คือ กระตุ้นหรือ
ส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับรายการสินค้าที่
โจทก์นำคำว่า “INSPIRE” ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น
น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสีซึ่ง
ทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่สี สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิด
สีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่น้ำมันชักเงา สารทำให้แห้ง ทินเนอร์
สารทำให้เกิดสีซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม
สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นใน
ลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ (ยางมัสติก) สีโป๊ว สี
น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้าย 
ตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า “INSPIRE”ดังกล่าวไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอก
ถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภค
ใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม
ได้แต่อย่างใด ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า.
คำว่า “INSPIRE” เมื่อนำมาใช้กับรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียน 
ดังกล่าวแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้
เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้จินตนาการเกินเลยไปกว่า 
ความหมายที่ปรากฏของคำดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองนำสืบมาข้างต้น
และแม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าว จูงใจให้สาธารณชนทั่วไป 
เข้าใจให้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่าสินค้าที่โจทก์ใช้
เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลให้ 
สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ ก็เป็นการใช้จินตนาการตีความหมาย
ถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคำที่
เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า
“INSPIRE” จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แล้ว เมื่อนำ 
คำว่า “INSPIRE” มาใช้ประกอบกับคำว่า “DULUX” เป็นเครื่องหมาย 
การค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ในลักษณะที่ไม่มีคำใดเป็นจุดเด่น 
กว่าคำใดทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย
แม้คำว่า “INSPIRE” จะเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่
โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่เมื่อวินิจฉัยแล้วว่า
คำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามพระราชบัญญัติเครื่องหมาย
การค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) เครื่องหมายการค้าคำว่า
“DULUX INSPIRE” จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วน
หนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึง
รับจดทะเบียนตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และเมื่อ
วินิจฉัยแล้วว่า คำว่า “INSPIRE” เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะตาม
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ.2534มาตรา 7วรรคสอง (2)
ประกอบกับไม่ปรากฏว่าคำว่า “INSPIRE” เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญใน
การค้าขายสำหรับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึง
ไม่จำต้องให้โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียว
ในอันที่จะใช้คำว่า “INSPIRE” ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ ตาม
มาตรา 17 (1) แห่งพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534
และกรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า
เครื่องหมายการค้าคำว่า “DULUX INSPIRE” ตามคำขอจดทะเบียน
คำขอนี้ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้ตามพระราชบัญญัติ
เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสาม หรือไม่อีกต่อไป
เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
การค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งของนาย
ทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามหนังสือที่ พณ 0704/4221 ลงวันที่
3 กุมภาพันธ์ 2555 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการ
เครื่องหมายการค้าที่ 780/2557 และให้นายทะเบียนเครื่องหมาย
การค้าดำเนินการเกี่ยวกับคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า 
“DELUX INSPIRE” (ที่ถูก “DULUX INSPIRE”) ของโจทก์มานั้น 
ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
เห็นพ้องด้วย อุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองฟังไม่ขึ้น” 
	พิพากษายืนค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ 
-
(สุรางคนา กมลละคร – สุรพันธุ์ ละอองมณี – นิพันธ์ ช่วยสกุล) 
องค์คณะผู้ตัดสิน

Leave a Reply