ความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจสระว่ายน้ำ-คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543

กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 ความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจสระว่ายน้ำ

ตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ มีข้อกฎหมายที่ผู้ประกอบธุรกิจต้องจัดทำมาตรฐานของความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บริการ เมื่อไม่ปฏิบัติจึงต้องรับผิดตามกฎหมาย ผู้ประกอบธุรกิจหลายประเภท เช่น สถานพยาบาล สระว่ายน้ำ ห้างสรรพสินค้า ฯลฯ ต้องมีการจัดทำมาตรฐานตามเกณฑ์การประกอบธุรกิจ และการประกอบวิชาชีพ หากไม่จัดทำไว้อย่างเพียงพอ จึงเป็นเหตุให้ต้องรับผิดเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7292/2543 มาตรฐานของความปลอดภัยในการจัดตั้งสระว่ายน้ำจะต้องมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยและอุปกรณ์ในการช่วยชีวิต จําเลยเป็นเจ้าของสระว่ายน้ำเปิดให้บริการแก่บุคคลทั่วไปโดยเก็บค่าบริการจากผู้มาใช้บริการก็ต้องยึดถือตามมาตรฐานนั้นด้วย ยิ่งก่อนหน้านี้ก็มีผู้มาใช้บริการจมน้ำในสระว่ายน้ำของจําเลยมาแล้ว จําเลยยิ่งควรต้องเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้มากขึ้น แต่จําเลยมิได้ปรับปรุงแก้ไข ถือว่าละเว้นปฏิบัติ ในสิ่งซึ่งตามวิสัยของผู้ประกอบธุรกิจให้บริการสระว่ายน้ำควรต้องปฏิบัติ แม้จําเลยจะปิดประกาศไว้ที่สระว่ายน้ำว่าผู้มาใช้บริการหรือผู้ปกครองของผู้ใช้บริการจะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบด้วยตนเองก็ไม่ทําให้จําเลยพ้นจากความรับผิด เมื่อจําเลยไม่ระมัดระวังทําให้ ไม่มีผู้เข้าช่วยเหลือเด็กชาย ภ.ซึ่งจมน้ำได้ทันท่วงทีและถูกต้อง ทั้งไม่มีอุปกรณ์ช่วยชีวิตที่จะปฐมพยาบาลทําให้สมองขาดออกซิเจนเป็นเวลานานจนสมองพิการ จึงเป็นการกระทําโดยประมาทเลินเล่อของจําเลย

ผู้หมายเหตุ
ดร.พิชัย โชติชัยพร (Notarial Services Attorney)
Tel./Line 0862310999
Advanced Legal Law Office

www.advancedlaw9.com

Leave a Reply