กันยายน 8, 2020 In ประมวลกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 1

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
	บรรพ 1
	หลักทั่วไป
	ลักษณะ 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 4 กฎหมายนั้นต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัว
อักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
	เมื่อไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตามจารีตประเพณีแห่งท้อง
ถิ่น  ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง
และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
	มาตรา 5 ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี  ในการชำระหนี้ก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต
	มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต
	มาตรา 7 ถ้าจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่กันและมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรมหรือโดยบท
กฎหมายอันชัดแจ้ง ให้ใช้อัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี
	มาตรา 8 คำว่า  "เหตุสุดวิสัย"  หมายความว่า  เหตุใดๆ อันจะเกิดขึ้นก็ดี  จะให้ผลพิบัติก็ดี เป็น
เหตุที่ไม่อาจป้องกันได้ แม้ทั้งบุคคลผู้ต้องประสบหรือใกล้จะต้องประสบเหตุนั้นจะได้จัดการ
ระมัดระวังตามสมควรอันพึงคาดหมายได้จากบุคคลในฐานะและภาวะเช่นนั้น
	มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่
จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
	ลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับ  หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงใน
เอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับ
ลงลายมือชื่อ
	ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ  แกงได  ตราประทับ  หรือเครื่อง
หมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่
	**หมายเหตุ  มาตรา 9 “เอกสารที่มีการใช้ตราประทับแทนการลงลายมือชื่อตาม มาตรา 9.
วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก่อนการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ซึ่ง
ได้กระทำขึ้นก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้มีผลสมบูรณ์เสมือนกับลงลายมือชื่อต่อไป”
(มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 10 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในเอกสารอาจตีความได้สองนัย นัยไหนจะทำให้เป็นผลบังคับได้
ให้ถือเอาตามนัยนั้นดีกว่าที่จะถือเอานัยที่ไร้ผล
	มาตรา 11 ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียใน
มูลหนี้นั้น
	มาตรา 12 ในกรณีที่จำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลข  ถ้าตัวอักษร
กับตัวเลขไม่ตรงกันและมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้  ให้ถือเอาจำนวนเงินหรือปริมาณที่
เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ
	มาตรา 13 ถ้าจำนวนเงินหรือปริมาณในเอกสารแสดงไว้เป็นตัวอักษรหลายแห่ง หรือเป็นตัวเลข
หลายแห่ง  แต่ที่แสดงไว้หลายแห่งนั้นไม่ตรงกัน และมิอาจหยั่งทราบเจตนาอันแท้จริงได้  ให้ถือ
เอาจำนวนเงินหรือปริมาณน้อยที่สุดเป็นประมาณ
	มาตรา 14 ในกรณีที่เอกสารทำขึ้นไว้หลายภาษา  ไม่ว่าจะเป็นฉบับเดียวกันหรือหลายฉบับก็ตาม
โดยมีภาษาไทยด้วย ถ้าข้อความในหลายภาษานั้นแตกต่างกัน  และมิอาจหยั่งทราบเจตนาของ
คู่กรณีได้ว่าจะใช้ภาษาใดบังคับ  ให้ถือตามภาษาไทย

	ลักษณะ 2
	บุคคล
	หมวด 1
	บุคคลธรรมดา
	ส่วนที่ 1
	สภาพบุคคล

	มาตรา 15 สภาพบุคคลย่อมเริ่มแต่เมื่อคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารกและสิ้นสุดลงเมื่อตาย
	ทารกในครรภ์มารดาก็สามารถมีสิทธิต่างๆ ได้ หากว่าภายหลังคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
	มาตรา 16 การนับอายุของบุคคลให้เริ่มนับแต่วันเกิด  ในกรณีที่รู้ว่าเกิดในเดือนใดแต่ไม่รู้วันเกิด
ให้นับวันที่หนึ่งแห่งเดือนนั้นเป็นวันเกิด  แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะหยั่งรู้เดือนและวันเกิดของบุคคลใด
ให้นับอายุบุคคลนั้นตั้งแต่วันต้นปีปฏิทินซึ่งเป็นปีที่บุคคลนั้นเกิด
	มาตรา 17 ในกรณีบุคคลหลายคนตายในเหตุภยันตรายร่วมกัน  ถ้าเป็นการพ้นวิสัยที่จะกำหนดได้
ว่าคนไหนตายก่อนหลัง  ให้ถือว่าตายพร้อมกัน
	มาตรา 18 สิทธิของบุคคลในการที่จะใช้นามอันชอบที่จะใช้ได้นั้นถ้ามีบุคคลอื่นโต้แย้งก็ดี หรือ
บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามนั้นต้องเสื่อมเสียประโยชน์  เพราะการที่มีผู้อื่นมาใช้นามเดียวกันโดยมิได้
รับอำนาจให้ใช้ได้ก็ดี  บุคคลผู้เป็นเจ้าของนามจะเรียกให้บุคคลนั้นระงับความเสียหายก็ได้ ถ้าและ
เป็นที่พึงวิตกว่าจะต้องเสียหายอยู่สืบไปจะร้องขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้

	ส่วนที่ 2
	ความสามารถ

	มาตรา 19 บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์
	มาตรา 20 ผู้เยาว์ย่อมบรรลุนิติภาวะเมื่อทำการสมรส หากการสมรสนั้นได้ทำตามบทบัญญัติ
มาตรา 1448.
	มาตรา 21 ผู้เยาว์จะทำนิติกรรมใดๆ ต้องได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมก่อน  การใดๆ
ที่ผู้เยาว์ได้ทำลงปราศจากความยินยอมเช่นว่านั้นเป็นโมฆียะ  เว้นแต่จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 22 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นหากเป็นเพียงเพื่อจะได้ไปซึ่งสิทธิอันใดอันหนึ่ง หรือเป็น
การเพื่อให้หลุดพ้นจากหน้าที่อันใดอันหนึ่ง
	มาตรา 23 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการต้องทำเองเฉพาะตัว
	มาตรา 24 ผู้เยาว์อาจทำการใดๆ ได้ทั้งสิ้นซึ่งเป็นการสมแก่ฐานานุรูปแห่งตน และเป็นการอันจำเป็น
ในการดำรงชีพตามสมควร
	มาตรา 25 ผู้เยาว์อาจทำพินัยกรรมได้เมื่ออายุสิบห้าปีบริบูรณ์
	มาตรา 26 ถ้าผู้แทนโดยชอบธรรมอนุญาตให้ผู้เยาว์จำหน่ายทรัพย์สินเพื่อการอันใดอันหนึ่งอันได้
ระบุไว้  ผู้เยาว์จะจำหน่ายทรัพย์สินนั้นเป็นประการใดภายในขอบของการที่ระบุไว้นั้นก็ทำได้ตาม
ใจสมัคร  อนึ่ง ถ้าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายทรัพย์สินโดยมิได้ระบุว่าเพื่อการอันใด  ผู้เยาว์ก็
จำหน่ายได้ตามใจสมัคร
	มาตรา 27 ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ในการประกอบธุรกิจทางการค้า หรือ
ธุรกิจอื่น หรือในการทำสัญญาเป็นลูกจ้างในสัญญาจ้างแรงงานได้ ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรม
ไม่ให้ความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร  ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตได้
	ในความเกี่ยวพันกับการประกอบธุรกิจหรือการจ้างแรงงานตามวรรคหนึ่ง  ให้ผู้เยาว์มี
ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว
	ถ้าการประกอบธุรกิจหรือการทำงานที่ได้รับความยินยอมหรือที่ได้รับอนุญาตตามวรรค
หนึ่ง  ก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดหรือเสื่อมเสียแก่ผู้เยาว์  ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจบอกเลิก
ความยินยอมที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์เสียได้ หรือในกรณีที่ศาลอนุญาต  ผู้แทนโดยชอบธรรมอาจร้องขอ
ต่อศาลให้เพิกถอนการอนุญาตที่ได้ให้แก่ผู้เยาว์นั้นเสียได้
	ในกรณีที่ผู้แทนโดยชอบธรรมบอกเลิกความยินยอมโดยไม่มีเหตุอันสมควร  ผู้เยาว์อาจ
ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการบอกเลิกความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรมได้
	การบอกเลิกความยินยอมโดยผู้แทนโดยชอบธรรมหรือการเพิกถอนการอนุญาตโดยศาล
ย่อมทำให้ฐานะเสมือนดังบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วของผู้เยาว์สิ้นสุดลง แต่ไม่กระทบกระเทือน
การใดๆ ที่ผู้เยาว์ได้กระทำไปแล้วก่อนมีการบอกเลิกความยินยอมหรือเพิกถอนการอนุญาต
	มาตรา 28 บุคคลวิกลจริตผู้ใด ถ้าคู่สมรสก็ดี ผู้บุพการี กล่าวคือ บิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ทวดก็ดี
ผู้สืบสันดาน กล่าวคือ ลูกหลาน เหลนลื่อก็ดี ผู้ปกครองหรือผู้พิทักษ์ก็ดี ผู้ซึ่งปกครองดูแลบุคคล
นั้นอยู่ก็ดี  หรือพนักงานอัยการก็ดี  ร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความ
สามารถ  ศาลจะสั่งให้บุคคลวิกลจริตผู้นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
	บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้อยู่ในความอนุบาล
การแต่งตั้งผู้อนุบาล  อำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาลและการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไป
ตามบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
	คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
	มาตรา 29 การใดๆ อันบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง  การนั้นเป็นโมฆียะ
	มาตรา 30 การใดๆ อันบุคคลวิกลจริตซึ่งศาลยังมิได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถได้กระทำลง
การนั้นจะเป็นโมฆียะต่อเมื่อได้กระทำในขณะที่บุคคลนั้นจริตวิกลอยู่  และคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้
รู้แล้วด้วยว่าผู้กระทำเป็นคนวิกลจริต
	มาตรา 31 ถ้าเหตุที่ทำให้เป็นคนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว และเมื่อบุคคลผู้นั้นเองหรือ
บุคคลใดๆ ดังกล่าวมาใน มาตรา 28 ร้องขอต่อศาล  ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งที่ให้เป็นคน
ไร้ความสามารถนั้น
	คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
	มาตรา 32 บุคคลใดมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบหรือประพฤติสุรุ่ยสุร่ายเสเพลเป็น
อาจิณ หรือติดสุรายาเมาหรือมีเหตุอื่นใดทำนองเดียวกันนั้นจนไม่สามารถจะจัดทำการงานโดย
ตนเองได้ หรือจัดกิจการไปในทางที่อาจจะเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว  เมื่อ
บุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28  ร้องขอต่อศาล  ศาลจะสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความ
สามารถก็ได้
	บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถตามวรรคหนึ่งต้องจัดให้อยู่ใน
ความพิทักษ์  การแต่งตั้งผู้พิทักษ์ให้เป็นไปตามบทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้
	ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการสิ้นสุดของความเป็นผู้ปกครองใน บรรพ 5 แห่งประมวล
กฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การสิ้นสุดของการเป็นผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
	คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
	มาตรา 33 ในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนไร้ความสามารถเพราะวิกลจริต  ถ้า
ศาลพิจารณาได้ความว่าบุคคลนั้นไม่วิกลจริต แต่มีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ  เมื่อศาล
เห็นสมควรหรือเมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28  ศาลอาจสั่งให้
บุคคลนั้นเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้  หรือในคดีที่มีการร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็น
คนเสมือนไร้ความสามารถเพราะมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ  ถ้าทางพิจารณาได้ความว่าบุคคล
นั้นวิกลจริตเมื่อมีคำขอของคู่ความหรือของบุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28   ศาลอาจสั่งให้บุคคล
นั้นเป็นคนไร้ความสามารถก็ได้
	มาตรา 34 คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการ
อย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
	(1) นำทรัพย์สินไปลงทุน
	(2) รับคืนทรัพย์สินที่ไปลงทุนต้นเงินหรือทุนอย่างอื่น
	(3) กู้ยืมหรือให้กู้ยืมเงินยืม หรือให้ยืมสังหาริมทรัพย์อันมีค่า
	(4) รับประกันโดยประการใดๆอันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
	(5) เช่าหรือให้เช่าสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าหกเดือน หรือ
อสังหาริมทรัพย์มีกำหนดระยะเวลาเกินกว่าสามปี
	(6) ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูป เพื่อการกุศล การสังคม หรือตาม
หน้าที่ธรรมจรรยา
	(7) รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
	(8) ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อจะได้มาหรือปล่อยไปซึ่งสิทธิในอสังหาริมทรัพย์หรือใน
สังหาริมทรัพย์อันมีค่า
	(9) ก่อสร้างหรือดัดแปลงโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น หรือซ่อมแซมอย่างใหญ่
	(10) เสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ  เว้นแต่การร้องขอตาม มาตรา 35
หรือการร้องขอถอนผู้พิทักษ์
	(11) ประนีประนอมยอมความหรือมอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
	ถ้ามีกรณีอื่นใดนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่งซึ่งคนเสมือนไร้ความสามารถอาจจัดการไป
ในทางเสื่อมเสียแก่ทรัพย์สินของตนเองหรือครอบครัว  ในการสั่งให้บุคคลใดเป็นคนเสมือนไร้
ความสามารถหรือเมื่อผู้พิทักษ์ร้องขอในภายหลัง  ศาลมีอำนาจสั่งให้คนเสมือนไร้ความสามารถ
นั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนจึงจะทำการนั้นได้
	ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาใน
วรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเองเพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณี
เช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม
	คำสั่งของศาลตามมาตรานี้ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
	การใดกระทำลงโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรานี้  การนั้นเป็นโมฆียะ
	**หมายเหตุ  มาตรา 34 (3) “บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการให้กู้ยืมเงิน
ที่ผู้เสมือนไร้ความสามารถได้กระทำขึ้นก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ” (มาตรา 5 แห่ง
พระราชบัญญัติ ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระ
ใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 35 ในกรณีที่ผู้พิทักษ์ไม่ยินยอมให้คนเสมือนไร้ความสามารถกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ตาม มาตรา 34 โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อคนเสมือนไร้ความสามารถร้องขอ  ศาลจะมี
คำสั่งอนุญาตให้กระทำการนั้นโดยไม่ต้องรับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก็ได้ ถ้าการนั้นจะเป็นคุณ
ประโยชน์แก่คนเสมือนไร้ความสามารถ
	มาตรา 36 ถ้าเหตุที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้สิ้นสุดไปแล้ว  ให้นำบทบัญญัติ
มาตรา 31  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

	ส่วนที่ 3
	ภูมิลำเนา

	มาตรา 37 ภูมิลำเนาของบุคคลธรรมดา ได้แก่ถิ่นอันบุคคลนั้นมีสถานที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญ
	มาตรา 38 ถ้าบุคคลธรรมดามีถิ่นที่อยู่หลายแห่งซึ่งอยู่สับเปลี่ยนกันไป หรือมีหลักแหล่งที่ทำการงาน
เป็นปกติหลายแห่ง  ให้ถือเอาแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
	มาตรา 39 ถ้าภูมิลำเนาไม่ปรากฏ ให้ถือว่าถิ่นที่อยู่เป็นภูมิลำเนา
	มาตรา 40 บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้ไม่มีที่อยู่ปกติเป็นหลักแหล่ง  หรือเป็นผู้ครองชีพในการเดินทาง
ไปมาปราศจากหลักแหล่งที่ทำการงาน พบตัวในถิ่นไหนให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาของบุคคลนั้น
	มาตรา 41 ภูมิลำเนาย่อมเปลี่ยนไปด้วยการย้ายถิ่นที่อยู่พร้อมด้วยเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะเปลี่ยน
ภูมิลำเนา
	มาตรา 42 ถ้าบุคคลใดได้เลือกเอาถิ่นใดโดยมีเจตนาปรากฏชัดแจ้งว่าจะให้เป็นภูมิลำเนาเฉพาะการ
เพื่อทำการใด  ให้ถือว่าถิ่นนั้นเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการสำหรับการนั้น
	มาตรา 43 ภูมิลำเนาของสามีและภริยา  ได้แก่ถิ่นที่อยู่ที่สามีและภริยาอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
เว้นแต่สามีหรือภริยาได้แสดงเจตนาให้ปรากฏว่ามีภูมิลำเนาแยกต่างหากจากกัน
	มาตรา 44 ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้แทนโดยชอบธรรมซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
หรือผู้ปกครอง
	ในกรณีที่ผู้เยาว์อยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา ถ้าบิดาและมารดามีภูมิลำเนา
แยกต่างหากจากกัน  ภูมิลำเนาของผู้เยาว์ได้แก่ภูมิลำเนาของบิดาหรือมารดาซึ่งตนอยู่ด้วย
	มาตรา 45 ภูมิลำเนาของคนไร้ความสามารถ ได้แก่ภูมิลำเนาของผู้อนุบาล
	มาตรา 46 ภูมิลำเนาของข้าราชการ  ได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ทำการตามตำแหน่งหน้าที่  หากมิใช่เป็น
ตำแหน่งหน้าที่ชั่วคราวชั่วระยะเวลาหรือเป็นเพียงแต่งตั้งไปเฉพาะการครั้งเดียวคราวเดียว
	มาตรา 47 ภูมิลำเนาของผู้ที่ถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วย
กฎหมาย  ได้แก่เรือนจำหรือทัณฑสถานที่ถูกจำคุกอยู่จนกว่าจะได้รับการปล่อยตัว

	ส่วนที่ 4
	สาบสูญ

	มาตรา 48 ถ้าบุคคลใดไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่โดยมิได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้
และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือไม่  เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ
ศาลจะสั่งให้ทำการอย่างหนึ่งอย่างใดไปพลางก่อนตามที่จำเป็นเพื่อจัดการทรัพย์สินของบุคคล
ผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้
	เมื่อเวลาได้ล่วงเลยไปหนึ่งปีนับแต่วันที่ผู้ไม่อยู่นั้นไปเสียจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่
และไม่มีผู้ใดได้รับข่าวเกี่ยวกับบุคคลนั้นประการใดเลยก็ดี หรือหนึ่งปีนับแต่วันมีผู้ได้พบเห็นหรือ
ได้ทราบข่าวมาเป็นครั้งหลังสุดก็ดี  เมื่อบุคคลตามวรรคหนึ่งร้องขอ  ศาลจะตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน
ของผู้ไม่อยู่ขึ้นก็ได้
	มาตรา 49 ในกรณีที่ผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปไว้และสัญญาตัวแทนระงับสิ้นไป
หรือปรากฏว่าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปได้จัดการทรัพย์สินนั้นในลักษณะที่อาจเสียหายแก่
บุคคลดังกล่าว  ให้นำ มาตรา 48  มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 50 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ  ศาลจะสั่งให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจ
ทั่วไปจัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ขึ้นตามที่ศาลจะมีคำสั่งก็ได้
	มาตรา 51 ภายใต้บังคับ มาตรา 802 ถ้าตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปเห็นเป็นการจำเป็นจะต้องทำ
การอันใดอันหนึ่งเกินขอบอำนาจที่ได้รับไว้  ต้องขออนุญาตต่อศาลและเมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึง
จะกระทำการนั้นได้
	มาตรา 52 ผู้จัดการทรัพย์สินที่ศาลได้ตั้งขึ้นต้องทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ให้เสร็จภายในสาม
เดือนนับแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล  แต่ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอต่อศาลให้ขยายเวลาก็ได้
	**หมายเหตุ  มาตรา 52 “ผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ที่ศาลได้ตั้งขึ้นก่อนวันพระราช
บัญญัตินี้ใช้บังคับ หากยังมิได้จัดทำบัญชีทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือจัดทำยังไม่แล้วเสร็จให้จัดทำ
ให้แล้วเสร็จภายในสามเดือน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้นำมาตรา 52 และ
มาตรา 53 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัติขึ้นมาใช้
บังคับ” มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติที่บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 53 บัญชีทรัพย์สินตาม มาตรา 50 และ มาตรา 52 ต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองความ
ถูกต้องอย่างน้อยสองคน  พยานสองคนนั้นต้องเป็นคู่สมรสหรือญาติของผู้ไม่อยู่ซึ่งบรรลุนิติภาวะ
แล้ว  แต่ถ้าไม่มีคู่สมรสหรือหาญาติไม่ได้ หรือคู่สมรสและญาติไม่ยอมเป็นพยาน  จะให้ผู้อื่นซึ่ง
บรรลุนิติภาวะแล้วเป็นพยานก็ได้
	มาตรา 54 ผู้จัดการทรัพย์สินมีอำนาจหน้าที่อย่างเดียวกับตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปตาม
มาตรา 801 และ มาตรา 802  ถ้าผู้จัดการทรัพย์สินเห็นเป็นการจำเป็นจะต้องทำการอันใดอันหนึ่ง
เกินขอบอำนาจต้องขออนุญาตต่อศาลและเมื่อศาลสั่งอนุญาตแล้วจึงจะกระทำการนั้นได้
	มาตรา 55 ถ้าผู้ไม่อยู่ได้ตั้งตัวแทนผู้รับมอบอำนาจเฉพาะการอันใดไว้  ผู้จัดการทรัพย์สินจะเข้าไป
เกี่ยวข้องกับการอันเป็นอำนาจเฉพาะการนั้นไม่ได้ แต่ถ้าปรากฏว่าการที่ตัวแทนจัดทำอยู่นั้นอาจ
จะเสียหายแก่ผู้ไม่อยู่  ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอให้ศาลถอดถอนตัวแทนนั้นเสียก็ได้
	มาตรา 56 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอหรือเมื่อศาลเห็นสมควร  ศาลอาจสั่งอย่าง
หนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
	(1)  ให้ผู้จัดการทรัพย์สินหาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่
ตลอดจนการมอบคืนทรัพย์สินนั้น
	(2)  ให้ผู้จัดการทรัพย์สินแถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่
	(3)  ถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และตั้งผู้อื่นให้เป็นผู้จัดการทรัพย์สินแทนต่อไป
	มาตรา 57 ในคำสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สิน  ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้จัดการทรัพย์สินโดยจ่าย
จากทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่นั้นก็ได้ ถ้าศาลมิได้กำหนด ผู้จัดการทรัพย์สินจะร้องขอต่อศาลให้
กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้
	ถ้าผู้จัดการทรัพย์สินหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอหรือเมื่อมีกรณีปรากฏ
แก่ศาลว่าพฤติการณ์เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลจะสั่งกำหนดบำเหน็จ งด
ลดเพิ่มหรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้จัดการทรัพย์สินอีกก็ได้
	มาตรา 58 ความเป็นผู้จัดการทรัพย์สินย่อมสิ้นสุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  ผู้ไม่อยู่นั้นกลับมา
	(2)  ผู้ไม่อยู่นั้นมิได้กลับมา แต่ได้จัดการทรัพย์สินหรือตั้งตัวแทนเพื่อจัดการทรัพย์สิน
ของตนแล้ว
	(3)  ผู้ไม่อยู่ถึงแก่ความตาย หรือศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
	(4)  ผู้จัดการทรัพย์สินลาออก หรือถึงแก่ความตาย
	(5)  ผู้จัดการทรัพย์สินเป็นคนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
	(6)  ผู้จัดการทรัพย์สินเป็นบุคคลล้มละลาย
	(7)  ศาลถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน
	มาตรา 59 ในกรณีที่ความเป็นผู้จัดการทรัพย์สินสิ้นสุดลงเพราะเหตุตาม มาตรา 58 (4) (5) หรือ (6)
ผู้จัดการทรัพย์สินหรือทายาทของผู้จัดการทรัพย์สิน  ผู้จัดการมรดก  ผู้อนุบาล  ผู้พิทักษ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์  หรือผู้มีหน้าที่ดูแลทรัพย์สินของผู้จัดการทรัพย์สิน แล้วแต่กรณี  จะต้อง
แถลงให้ศาลทราบถึงความสิ้นสุดนั้นโดยไม่ชักช้าเพื่อศาลจะได้มีคำสั่งเกี่ยวกับผู้จัดการทรัพย์สิน
ต่อไปตามที่เห็นสมควร ในระหว่างเวลาดังกล่าวนั้นบุคคลดังกล่าวจะต้องจัดการตามควรแก่
พฤติการณ์เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ไม่อยู่จนกว่าจะได้ส่งมอบทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ให้แก่บุคคล
หนึ่งบุคคลใดตามที่ศาลจะได้มีคำสั่ง
	มาตรา 60 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่การจัดการ
ทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่โดยอนุโลม
	มาตรา 61 ถ้าบุคคลใดได้ไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และไม่มีใครรู้แน่ว่าบุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่
หรือไม่ตลอดระยะเวลาห้าปี เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ  ศาลจะสั่งให้บุคคล
นั้นเป็นคนสาบสูญก็ได้
	ระยะเวลาตามวรรคหนึ่งให้ลดเหลือสองปี
	(1)  นับแต่วันที่การรบหรือสงครามสิ้นสุดลง  ถ้าบุคคลนั้นอยู่ในการรบหรือสงคราม
และหายไปในการรบหรือสงครามดังกล่าว
	(2)  นับแต่วันที่ยานพาหนะที่บุคคลนั้นเดินทางอับปาง ถูกทำลาย หรือสูญหายไป
	(3)  นับแต่วันที่เหตุอันตรายแก่ชีวิตนอกจากที่ระบุไว้ใน (1) หรือ (2) ได้ผ่านพ้นไป ถ้า
บุคคลนั้นตกอยู่ในอันตรายเช่นว่านั้น
	มาตรา 62 บุคคลซึ่งศาลได้มีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ  ให้ถือว่าถึงแก่ความตายเมื่อครบกำหนด
ระยะเวลาดังที่ระบุไว้ใน มาตรา 61
	มาตรา 63 เมื่อบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นเองหรือมีผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการ
ร้องขอต่อศาล และพิสูจน์ได้ว่าบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ก็ดี  หรือว่า
ตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดังระบุไว้ใน มาตรา 62 ก็ดี  ให้ศาลสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ
นั้น  แต่การถอนคำสั่งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์แห่งการทั้งหลายอันได้ทำไป
โดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่ศาลมีคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญจนถึงเวลาถอนคำสั่งนั้น
	บุคคลผู้ได้ทรัพย์สินมาเนื่องแต่การที่ศาลสั่งให้บุคคลใดเป็นคนสาบสูญ  แต่ต้องเสียสิทธิ
ของตนไปเพราะศาลสั่งถอนคำสั่งให้บุคคลนั้นเป็นคนสาบสูญ  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควร
ได้แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 64 คำสั่งศาลให้เป็นคนสาบสูญหรือคำสั่งถอนคำสั่งให้เป็นคนสาบสูญ  ให้ประกาศใน
ราชกิจจานุเบกษา

	หมวด 2
	นิติบุคคล
	ส่วนที่ 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 65 นิติบุคคลจะมีขึ้นได้ก็แต่ด้วยอาศัยอำนาจแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
	**หมายเหตุ  มาตรา 65 “ให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กฎหมายให้เป็นทบวงการเมืองตาม
มาตราความหมายของมาตรา 72 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งถูกยกเลิกโดยมาตรา 3
(1) แห่งพระราชบัญญัตินี้ คงมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่อไป” (มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
ภายในขอบแห่งอำนาจหน้าที่หรือวัตถุประสงค์ดังได้บัญญัติหรือกำหนดไว้ในกฎหมาย ข้อบังคับ
หรือตราสารจัดตั้ง
	มาตรา 67 ภายใต้บังคับ มาตรา 66 นิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา
เว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น
	มาตรา 68 ภูมิลำเนาของนิติบุคคลได้แก่ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่หรือถิ่นอันเป็นที่ตั้งที่ทำการ
หรือถิ่นที่ได้เลือกเอาเป็นภูมิลำเนาเฉพาะการตามข้อบังคับหรือตราสารจัดตั้ง
	มาตรา 69 ในกรณีที่นิติบุคคลมีที่ตั้งทำการหลายแห่งหรือมีสำนักงานสาขา ให้ถือว่าถิ่นอันเป็นที่ตั้ง
ของที่ทำการหรือของสำนักงานสาขาเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการอันได้กระทำ ณ ที่นั้นด้วย
	มาตรา 70 นิติบุคคลต้องมีผู้แทนคนหนึ่งหรือหลายคนทั้งนี้ตามที่กฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสาร
จัดตั้งจะได้กำหนดไว้
	ความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล
	มาตรา 71 ในกรณีที่นิติบุคคลมีผู้แทนหลายคน การดำเนินกิจการของนิติบุคคลให้เป็นไปตามเสียง
ข้างมากของผู้แทนของนิติบุคคลนั้น  เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้เป็นประการอื่นในกฎหมาย
ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้ง
	มาตรา 72 การเปลี่ยนตัวผู้แทนของนิติบุคคล หรือการจำกัดหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้แทน
ของนิติบุคคล ให้มีผลต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งแล้ว แต่จะยกขึ้น
เป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตมิได้
	มาตรา 73 ถ้ามีตำแหน่งว่างลงในจำนวนผู้แทนของนิติบุคคล และมีเหตุอันควรเชื่อว่าการปล่อย
ตำแหน่งว่างไว้น่าจะเกิดความเสียหายขึ้นได้ เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการร้องขอ  ศาล
จะแต่งตั้งผู้แทนชั่วคราวขึ้นก็ได้
	มาตรา 74 ถ้าประโยชน์ได้เสียของนิติบุคคลขัดกับประโยชน์ได้เสียของผู้แทนของนิติบุคคลในการ
อันใด  ผู้แทนของนิติบุคคลนั้นจะเป็นผู้แทนในการอันนั้นไม่ได้
	มาตรา 75 ถ้ากรณีตาม มาตรา 74  เป็นเหตุให้ไม่มีผู้แทนของนิติบุคคลเหลืออยู่  หรือผู้แทนของ
นิติบุคคลที่เหลืออยู่มีจำนวนไม่พอจะเป็นองค์ประชุมหรือไม่พอจะกระทำการอันนั้นได้ หาก
กฎหมายข้อบังคับ หรือตราสารจัดตั้งของนิติบุคคลนั้นมิได้มีข้อกำหนดในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น
ให้นำความใน มาตรา 73 มาใช้บังคับเพื่อตั้งผู้แทนเฉพาะการโดยอนุโลม
	มาตรา 76 ถ้าการกระทำตามหน้าที่ของผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล
เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น  นิติบุคคลนั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อ
ความเสียหายนั้น แต่ไม่สูญเสียสิทธิที่จะไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ก่อความเสียหาย
	ถ้าความเสียหายแก่บุคคลอื่นเกิดจากการกระทำที่ไม่อยู่ในขอบวัตถุประสงค์หรืออำนาจ
หน้าที่ของนิติบุคคลบรรดา  บุคคลดังกล่าวตามวรรคหนึ่งที่ได้เห็นชอบให้กระทำการนั้นหรือได้
เป็นผู้กระทำการดังกล่าว  ต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายนั้น
	มาตรา 77 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทนแห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับแก่ความเกี่ยวพัน
ระหว่างนิติบุคคลกับผู้แทนของนิติบุคคลและระหว่างนิติบุคคลหรือผู้แทนของนิติบุคคลกับบุคคล
ภายนอกโดยอนุโลม

	ส่วนที่ 2
	สมาคม

	มาตรา 78 การก่อตั้งสมาคมเพื่อกระทำการใดๆ อันมีลักษณะต่อเนื่องร่วมกันและมิใช่เป็นการ
หาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันต้องมีข้อบังคับและจดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้
	**หมายเหตุ มาตรา 78 “ให้บรรดาสมาคมที่ได้ให้บรรดาสมาคมที่ได้มีประมวลกฎ
หมายแพ่งและพาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นสมาคมตามบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 8
วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1
วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 79 ข้อบังคับของสมาคม อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
	(1)  ชื่อสมาคม
	(2)  วัตถุประสงค์ของสมาคม
	(3)  ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง
	(4)  วิธีรับสมาชิก และการขาดจากสมาชิกภาพ
	(5)  อัตราค่าบำรุง
	(6)  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของสมาคม  ได้แก่  จำนวนกรรมการ  การตั้ง
กรรมการ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ และการ
ประชุมของคณะกรรมการ
	(7)  ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการสมาคม การบัญชี และทรัพย์ของสมาคม
	(8)  ข้อกำหนดเกี่ยวกับการประชุมใหญ่
	**หมายเหตุ มาตรา 79 “สมาคมตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใด มีวิธีจัดการโดยไม่มี
คณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามมาตรา 79 (6) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ถ้าสมาคมนั้นไม่ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไข
ข้อบังคับของสมาคมและจัดให้มีคณะกรรมการเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมภายในสองปีนับแต่
วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียน” (มาตรา 9
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้พระราชบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้
ตรวจตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 80 สมาคมต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "สมาคม" ประกอบกับชื่อของสมาคม
	**หมายเหตุ มาตรา 80 “สมาคมใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า “สมาคม” ประกอบกับชื่อ ของสมาคม
ให้ยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของสมาคมให้ถูกต้องตามมาตรา 80 แห่งประมวลกฎหมายกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัติ
นี้ใช้บังคับ” (มาตรา 80 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42
หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 81 การขอจดทะเบียนสมาคมนั้นให้ผู้จะเป็นสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคน
ร่วมกันยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของสมาคมจะตั้งขึ้น
พร้อมกับแนบข้อบังคับของสมาคม รายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นสมาชิกไม่น้อยกว่าสิบคน
และรายชื่อ ที่อยู่ และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมมากับคำขอด้วย
	**หมายเหตุ มาตรา 81 “สมาคมตามมาตรา 8 วรรคหนึ่ง สมาคมใดมีสมาชิกไม่ถึงสิบคน
หากสมาคมนั้นไม่ได้จัดให้มีจำนวนสมาชิกตามมาตรา 81 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้
นายทะเบียนถอนชื่อสมาคมนั้นออกจากทะเบียนตามมาตรา 102 (5) แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้
บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราช
กิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 82 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอจดทะเบียนพร้อมทั้งข้อบังคับแล้วเห็นว่าคำขอนั้นถูกต้อง
ตาม มาตรา 81 และข้อบังคับถูกต้องตาม มาตรา 79 และวัตถุประสงค์ของสมาคมไม่ขัดต่อ
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน
หรือความมั่นคงของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ของสมาคม และผู้จะเป็นกรรมการของสมาคมนั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสม  ในการ
ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดง
การจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้นและประกาศการจัดตั้งสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตาม มาตรา 81 หรือ มาตรา 79 หรือ
รายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสมาคม หรือผู้จะเป็น
กรรมการของสมาคมมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์
ของสมาคม  ให้มีคำสั่งให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไขหรือ
เปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่สมาคมนั้น
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อ
กฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน
หรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน  ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและ
แจ้ง คำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนไปยังผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนโดยมิชักช้า
	ผู้ยื่นคำของจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงมหาดไทย โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับ
แจ้งคำสั่งไม่รับจดทะเบียน
	ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์
ทราบภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์ คำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
	มาตรา 83 สมาคมที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
	มาตรา 84 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับของสมาคมจะกระทำได้ก็แต่โดยมติของที่ประชุมใหญ่
และสมาคมต้องนำข้อบังคับที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่สำนักงาน
ใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ลงมติและให้นำความใน มาตรา 82 มาใช้
บังคับโดยอนุโลม  เมื่อนายทะเบียนได้จดทะเบียนแล้วให้มีผลใช้บังคับได้
	มาตรา 85 การแต่งตั้งกรรมการของสมาคมขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของสมาคม
ให้กระทำตามข้อบังคับของสมาคม และสมาคมต้องนำไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่
สำนักงานใหญ่ของสมาคมตั้งอยู่ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีการแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลง
กรรมการของสมาคม
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของสมาคมตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีฐานะหรือความประพฤติ
ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของสมาคม นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียน
กรรมการของสมาคมผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของสมาคม
นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้สมาคมทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำขอ
จดทะเบียน และให้นำความใน มาตรา 82 วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
	ในระหว่างที่ยังไม่มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่ ถ้าข้อบังคับของสมาคม
มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้กรรมการของสมาคมชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่กรรมการของสมาคม
ต่อไปจนกว่าจะได้มีการจดทะเบียนกรรมการของสมาคมชุดใหม่
	มาตรา 86 คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้ดำเนินกิจการของสมาคมตามกฎหมายและข้อบังคับ
ภายใต้การควบคุมดูแลของที่ประชุมใหญ่
	มาตรา 87 คณะกรรมการของสมาคมเป็นผู้แทนของสมาคมในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
	มาตรา 88 บรรดากิจการที่คณะกรรมการของสมาคมได้กระทำไปแม้จะปรากฏในภายหลังว่ามี
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของสมาคม กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์
	มาตรา 89 สมาชิกของสมาคมมีสิทธิที่จะตรวจตรากิจการและทรัพย์สินของสมาคมในระหว่างเวลา
ทำการของสมาคมได้
	มาตรา 90 สมาชิกของสมาคมต้องชำระค่าบำรุงเต็มจำนวนในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกหรือในวัน
เริ่มต้นของระยะเวลาชำระค่าบำรุงแล้วแต่กรณี  เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 91 สมาชิกของสมาคมจะลาออกจากสมาคมเมื่อใดก็ได้ เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะ
กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 92 สมาชิกแต่ละคนมีความรับผิดชอบในหนี้ของสมาคมไม่เกินจำนวนค่าบำรุงที่สมาชิกนั้น
ค้างชำระอยู่
	มาตรา 93 คณะกรรมการของสมาคมต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญอย่างน้อยปีละครั้ง
	มาตรา 94 คณะกรรมการของสมาคมจะเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเมื่อใดก็สุดแต่จะเห็นสมควร
	สมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดหรือสมาชิกจำนวนไม่
น้อยกว่าหนึ่งร้อยคน หรือสมาชิกจำนวนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในข้อบังคับจะทำหนังสือร้องขอ
ต่อคณะกรรมการของสมาคมให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญก็ได้  ในหนังสือร้องขอนั้นต้องระบุว่า
ประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
	เมื่อคณะกรรมการของสมาคมได้รับหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมใหญ่วิสามัญตาม
วรรคสอง  ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่วิสามัญโดยจัดให้มีการประชุมขึ้น
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ
	ถ้าคณะกรรมการของสมาคมไม่เรียกประชุมภายในระยะเวลาตามวรรคสาม สมาชิกที่
เป็นผู้ร้องขอให้เรียกประชุมหรือสมาชิกอื่นรวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่าจำนวนสมาชิกที่กำหนด
ตามวรรคสองจะเรียกประชุมเองก็ได้
	มาตรา 95 ในการเรียกประชุมใหญ่  คณะกรรมการของสมาคมต้องส่งหนังสือนัดประชุมไปยัง
สมาชิกทุกคนซึ่งมีชื่อในทะเบียนของสมาคมก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน  หรือลงพิมพ์
โฆษณาอย่างน้อยสองคราวในหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายในท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่
น้อยกว่าเจ็ดวันก็ได้
	การเรียกประชุมใหญ่ต้องระบุสถานที่ วัน เวลา และระเบียบวาระการประชุมและจัดส่ง
รายละเอียดและเอกสารที่เกี่ยวข้องตามควรไปพร้อมกันด้วยสำหรับการเรียกประชุมใหญ่โดยการ
พิมพ์โฆษณา  รายละเอียดและเอกสารดังกล่าวต้องจัดไว้และพร้อมที่จะมอบให้แก่สมาชิกที่ร้อง
ขอ ณ สถานที่ที่ผู้เรียกประชุมกำหนด
	มาตรา 96 การประชุมใหญ่ของสมาคมต้องมีสมาชิกมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน
สมาชิกทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดองค์ประชุมไว้เป็นอย่างอื่น
	ในการประชุมใหญ่ครั้งใด  ถ้าไม่ได้องค์ประชุมตามที่กำหนดไว้และการประชุมใหญ่นั้น
ได้เรียกตามคำร้องขอของสมาชิกก็ให้งดการประชุม แต่ถ้าเป็นการประชุมใหญ่ที่สมาชิกมิได้เป็น
ผู้ร้องขอ  ให้คณะกรรมการของสมาคมเรียกประชุมใหญ่อีกครั้งหนึ่งโดยจัดให้มีการประชุมขึ้น
ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่นัดประชุมครั้งแรก   การประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจำต้องครบ
องค์ประชุม
	มาตรา 97 มติของที่ประชุม  ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ เว้นแต่กรณีที่ข้อบังคับของ
สมาคมกำหนดเสียงข้างมากไว้เป็นพิเศษโดยเฉพาะ
	สมาชิกคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนนถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน  ให้ประธาน
ในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นได้อีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
	มาตรา 98 สมาชิกจะมอบอำนาจให้สมาชิกผู้ใดมาเข้าประชุมและออกเสียงลงคะแนนแทนตนก็ได้
เว้นแต่ข้อบังคับของสมาคมจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 99 ในกรณีที่จะมีมติในเรื่องใด  ถ้าส่วนได้เสียของกรรมการหรือสมาชิกของสมาคมผู้ใดขัด
กับประโยชน์ได้เสียของสมาคมกรรมการ  หรือสมาชิกของสมาคมผู้นั้นจะออกเสียงลงคะแนนใน
เรื่องนั้นไม่ได้
	มาตรา 100 ในการประชุมใหญ่ครั้งใด ถ้าได้มีการนัดประชุมหรือการลงมติโดยไม่ปฏิบัติตามหรือ
ฝ่าฝืนข้อบังคับของสมาคมหรือบทบัญญัติในส่วนนี้  สมาชิกหรือพนักงานอัยการอาจร้องขอให้
ศาลสั่งเพิกถอนมติในการประชุมใหญ่ครั้งนั้นได้ แต่ต้องร้องขอต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่
วันที่ที่ประชุมใหญ่ลงมติ
	มาตรา 101 สมาคมย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
	(1)  เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ
	(2)  ถ้าสมาคมตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น
	(3)  ถ้าสมาคมตั้งขึ้นเพื่อกระทำกิจการใด เมื่อกิจการนั้นสำเร็จแล้ว
	(4)  เมื่อที่ประชุมใหญ่มีมติให้เลิก
	(5)  เมื่อสมาคมล้มละลาย
	(6)  เมื่อนายทะเบียนถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนตาม มาตรา 102
	(7)  เมื่อศาลสั่งให้เลิกตาม มาตรา 104
	มาตรา 102 ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งถอนชื่อสมาคมออกจากทะเบียนได้ในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  เมื่อปรากฏในภายหลังการจดทะเบียนว่าวัตถุประสงค์ของสมาคมขัดต่อกฎหมาย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือ
ความมั่นคงของรัฐและนายทะเบียนได้สั่งให้แก้ไขแล้วแต่สมาคมไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่
นายทะเบียนกำหนด
	(2)  เมื่อปรากฏว่าการดำเนินกิจการของสมาคมขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
	(3)  เมื่อสมาคมหยุดดำเนินกิจการติดต่อกันตั้งแต่สองปีขึ้นไป
	(4)  เมื่อปรากฏว่าสมาคมให้หรือปล่อยให้บุคคลอื่นซึ่งมิใช่กรรมการของสมาคมเป็น
ผู้ดำเนินกิจการของสมาคม
	(5)  เมื่อสมาคมมีสมาชิกเหลือน้อยกว่าสิบคนมาเป็นเวลาติดต่อกันกว่าสองปี
	มาตรา 103 เมื่อนายทะเบียนมีคำสั่งให้ถอนชื่อสมาคมใดออกจากทะเบียนตาม มาตรา 102 แล้ว
ให้นายทะเบียนแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลไปยังสมาคมนั้นโดยมิชักช้าและประกาศการเลิก
สมาคมในราชกิจจานุเบกษา
	กรรมการคนหนึ่งคนใดหรือสมาชิกของสมาคมจำนวนไม่น้อยกว่าสามคนมีสิทธิอุทธรณ์
คำสั่งของนายทะเบียนตามวรรคหนึ่งต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ โดยทำเป็นหนังสือ
ยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง และให้นำความใน มาตรา 82
วรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 104 เมื่อมีกรณีตาม มาตรา 102  ผู้มีส่วนได้เสียอาจร้องขอให้นายทะเบียนถอนชื่อสมาคม
ออกจากทะเบียนได้  ถ้านายทะเบียนไม่ปฏิบัติตามคำร้องขอโดยไม่แจ้งเหตุผลให้ผู้ร้องขอทราบ
ภายในเวลาอันสมควร หรือนายทะเบียนได้แจ้งเหตุผลให้ทราบแล้วแต่ผู้ร้องขอไม่พอใจในเหตุผล
ดังกล่าว  ผู้ร้องขอนั้นจะร้องขอต่อศาลให้สั่งเลิกสมาคมนั้นเสียก็ได้
	มาตรา 105 เมื่อสมาคมมีเหตุต้องเลิกตาม มาตรา 101 (1) (2) (3) หรือ (4) ให้คณะกรรมการของ
สมาคมที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกสมาคมแจ้งการเลิกสมาคมต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วัน
นับแต่วันที่มีการเลิกสมาคม
	ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้สมาคมล้มละลายตาม มาตรา 101 (5)
หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกสมาคมตาม มาตรา 104 ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้
นายทะเบียนทราบด้วย
	ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกสมาคมในราชกิจจานุเบกษา
	มาตรา 106 ในกรณีที่มีการเลิกสมาคม ให้มีการชำระบัญชีสมาคมและให้นำบทบัญญัติใน บรรพ 3
ลักษณะ 22 ว่าด้วยการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน  ห้างหุ้นส่วนจำกัด  และบริษัทจำกัด
มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีสมาคมโดยอนุโลม
	มาตรา 107 เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว  ถ้ามีทรัพย์สินเหลืออยู่เท่าใด จะแบ่งให้แก่สมาชิกของสมาคม
นั้นไม่ได้  ทรัพย์สินที่เหลือนั้นจะต้องโอนให้แก่สมาคมหรือมูลนิธิหรือนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์
เกี่ยวกับการสาธารณกุศลตามที่ได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของสมาคม หรือถ้าข้อบังคับไม่ได้ระบุ
ชื่อไว้ก็ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ แต่ถ้าข้อบังคับของสมาคมหรือที่ประชุมใหญ่มิได้ระบุ
ผู้รับโอนทรัพย์สินดังกล่าวไว้ หรือระบุไว้แต่ไม่สามารถปฏิบัติได้  ให้ทรัพย์สินที่เหลืออยู่นั้นตก
เป็นของแผ่นดิน
	มาตรา 108 ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับสมาคมที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ หรือจะขอให้
นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน
และเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนปฏิบัติตามคำขอนั้น
	มาตรา 109 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ และให้มีอำนาจ
แต่งตั้งนายทะเบียน กับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ
	(1)  การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน
	(2)  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน  การขอตรวจเอกสาร  การคัดสำเนาเอกสาร  และ
ค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับสมาคม รวมทั้งการยกเว้นค่าธรรม
เนียมดังกล่าว
	(3)  การดำเนินกิจการของสมาคมและการทะเบียนสมาคม
	(4)  การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้
	กฎกระทรวงนั้น  เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
	**หมายเหตุ มาตรา 109 “บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 97 และมาตรา
1297 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้
ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้
ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1
แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109
ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)

	ส่วนที่ 3
	มูลนิธิ

	มาตรา 110 มูลนิธิได้แก่ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้โดยเฉพาะสำหรับวัตถุประสงค์เพื่อการกุศลสาธารณะ
การศาสนา ศิลป วิทยาศาสตร์ วรรณคดี การศึกษาหรือเพื่อสาธารณประโยชน์อย่างอื่น โดยมิได้
มุ่งหาผลประโยชน์มาแบ่งปันกัน และได้จดทะเบียนตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้
	การจัดการทรัพย์สินของมูลนิธิต้องมิใช่เป็นการหาผลประโยชน์เพื่อบุคคลใดนอกจาก
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นเอง
	**หมายเหตุ มาตรา 110 “ให้บรรดามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นมูลนิธิตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้และให้ถือว่าตราสารก่อตั้งมูลนิธิดังกล่าว
เป็นข้อบังคับมูลนิธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัติ
นี้” (มาตรา 11แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)	
	มาตรา 111 มูลนิธิต้องมีข้อบังคับและต้องมีคณะกรรมการของมูลนิธิประกอบด้วยบุคคลอย่างน้อย
สามคนเป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ
	**หมายเหตุ มาตรา 111 “มูลนิธิตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง มูลนิธิใดมีข้อบังคับที่
กำหนดให้มีผู้จัดการของมูลนิธิไม่ถึงสามคนในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ถ้สมูลนิธินั้นไม่
ดำเนินการยื่นคำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิเพื่อให้มีคณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยบุคคลไม่น้อย
กว่าสามคนเป็นผู้ดำเนินกิจการของมูลนิธิภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้
ใช้บังคับ ให้นายทะเบียนดำเนินการตามมาตรา 128 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้
ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ เพื่อสั่งการให้แก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตาม
กฎหมายต่อไป ถ้าปรากฎว่ามูลนิธิใดไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้ ก็ให้นายทะเบียนร้อง
ขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตามมาตรา 131 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจ
ชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้” (มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน
ที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 112 ข้อบังคับของมูลนิธิ อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
	(1)  ชื่อมูลนิธิ
	(2)  วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ
	(3)  ที่ตั้งสำนักงานใหญ่และที่ตั้งสำนักงานสาขาทั้งปวง
	(4)  ทรัพย์สินของมูลนิธิขณะจัดตั้ง
	(5)  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคณะกรรมการของมูลนิธิ ได้แก่ จำนวนกรรมการ การตั้งกรรมการ
วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการ  การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการ  และการประชุมของ
คณะกรรมการ
	(6)  ข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดการมูลนิธิ การจัดการทรัพย์สินและบัญชีของมูลนิธิ
	มาตรา 113 มูลนิธิต้องใช้ชื่อซึ่งมีคำว่า "มูลนิธิ"  ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ
	**หมายเหตุ มาตรา 113 “มูลนิธิใดที่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก่อนวันที่พระราชบัญญัติใช้บังคับ มิได้ใช้ชื่อว่ามีคำว่า “มูลนิธิ” ประกอบกับชื่อของมูลนิธิ ให้ยื่น
คำขอแก้ไขข้อบังคับของมูลนิธิให้ถูกต้องตามมาตรา 113 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่
ได้ตรวจชำระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ภายในสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”
(มาตรา 11 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอน 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 114 การขอจดทะเบียนมูลนิธินั้น  ให้ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิยื่นคำขอเป็นหนังสือต่อนายทะเบียน
แห่งท้องที่ที่สำนักงานใหญ่ของมูลนิธิจะตั้งขึ้น  ในคำขออย่างน้อยต้องระบุเจ้าของทรัพย์สินและ
รายการทรัพย์สินที่จะจัดสรรสำหรับมูลนิธิ  รายชื่อ  ที่อยู่  และอาชีพของผู้จะเป็นกรรมการของ
มูลนิธิทุกคนพร้อมกับแนบข้อบังคับของมูลนิธิมากับคำขอด้วย
	**หมายเหตุ มาตรา 114 “บรรดามูลนิธิอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับและมิได้
เป็นนิติบุคคล ถ้าประสงค์จะจัดตั้งเป็นนิติบุคคลและใช้คำว่า “มูลนิธิ” ประกอบชื่อของตนต่อไป
ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนตามมาตรา 114 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระ
ใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ”
(มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่
ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 115 เมื่อนายทะเบียนได้รับคำขอแล้วเห็นว่า  คำขอนั้นถูกต้องตาม มาตรา 114 และข้อบังคับ
ถูกต้องตาม มาตรา 112  และวัตถุประสงค์เป็นไปตาม มาตรา 110  และไม่ขัดต่อกฎหมาย หรือ
ศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่เป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคง
ของรัฐ และรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิและผู้จะ
เป็นกรรมการของมูลนิธินั้นมีฐานะและความประพฤติเหมาะสมในการดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ ให้นายทะเบียนรับจดทะเบียน และออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน
ให้แก่มูลนิธินั้นและประกาศการจัดตั้งมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่าคำขอหรือข้อบังคับไม่ถูกต้องตาม มาตรา 114 หรือ มาตรา 112
หรือรายการซึ่งจดแจ้งในคำขอหรือข้อบังคับไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ หรือผู้จะ
เป็นกรรมการของมูลนิธิมีฐานะหรือความประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตาม
วัตถุประสงค์ของมูลนิธิ  ให้มีคำสั่งให้ผู้ขอจดทะเบียนแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้อง เมื่อแก้ไข
หรือเปลี่ยนแปลงถูกต้องแล้ว  ให้รับจดทะเบียนและออกใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่
มูลนิธินั้น
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่าไม่อาจรับจดทะเบียนได้เนื่องจากวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่เป็น
ไปตาม มาตรา 110 หรือขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรืออาจเป็นภยันตรายต่อ
ความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ หรือผู้ขอจดทะเบียนไม่แก้ไขหรือ
เปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำสั่งของนายทะเบียน  ให้นายทะเบียน
มีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและแจ้งคำสั่งพร้อมด้วยเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้ผู้ขอจดทะเบียน
ทราบโดยมิชักช้า
	ผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนนั้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
มหาดไทยโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งไม่
รับจดทะเบียน
	ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์และแจ้งคำวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์
ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่นายทะเบียนได้รับหนังสืออุทธรณ์   คำวินิจฉัยของ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยให้เป็นที่สุด
	มาตรา 116 ก่อนที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ  ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีสิทธิขอถอนการจัดตั้งมูลนิธิ
ได้โดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อนายทะเบียน  สิทธิที่จะขอถอนการจัดตั้งมูลนิธินี้ไม่ตกทอดไปยังทายาท
	ในกรณีที่มีผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิหลายคน ถ้าผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิคนหนึ่งคนใดใช้สิทธิถอนการ
จัดตั้งมูลนิธิ  ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธินั้นเป็นอันระงับไป
	มาตรา 117 ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ ถ้าผู้ตาย
มิได้ทำพินัยกรรมยกเลิกการจัดตั้งมูลนิธิที่ขอจัดตั้งไว้  ให้คำขอจัดตั้งมูลนิธิที่ผู้ตายได้ยื่นไว้ต่อ
นายทะเบียนยังคงใช้ได้ต่อไป  และให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกหรือผู้ซึ่งผู้ตายมอบหมาย ดำเนิน
การในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิต่อไป ถ้าบุคคลดังกล่าวไม่ดำเนินการภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวัน
นับแต่วันที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตาย  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียหรือ  พนักงานอัยการจะดำเนิน
การในฐานะเป็นผู้ขอจัดตั้งมูลนิธินั้นต่อไปก็ได้
	ในกรณีที่ไม่สามารถจัดตั้งมูลนิธิขึ้นได้ตามวัตถุประสงค์ที่ผู้ตายกำหนดไว้  ถ้าหากไม่มี
พินัยกรรมของผู้ตายสั่งการในเรื่องนี้ไว้เป็นอย่างอื่น ให้นำความใน มาตรา 1679 วรรคสอง มาใช้
บังคับโดยอนุโลม  ถ้าไม่สามารถดำเนินการตาม มาตรา 1679 วรรคสอง หรือมูลนิธิจัดตั้งขึ้นไม่
ได้ตาม มาตรา 115 ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ตกเป็นมรดกของผู้ตาย
	มาตรา 118 ในกรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้งมูลนิธิตาม มาตรา 1676  ให้บุคคลซึ่งมีหน้าที่
ที่จะต้องจัดตั้งมูลนิธิตาม มาตรา 1677 วรรคหนึ่งดำเนินการตาม มาตรา 114 และตามบทบัญญัติ
แห่งมาตรานี้
	ถ้าบุคคลซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องจัดตั้งมูลนิธิตามวรรคหนึ่งมิได้ขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิ
ภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวได้รู้หรือควรรู้ข้อกำหนดพินัยกรรมให้ก่อตั้ง
มูลนิธิบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธิก็ได้
	ถ้าผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิไม่ดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามคำสั่ง
ของนายทะเบียนตาม มาตรา 115   จนเป็นเหตุให้นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนมูลนิธิเพราะเหตุ
ดังกล่าว  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดหรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ขอจดทะเบียนมูลนิธินั้น
อีกก็ได้
	ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรานี้  จะขอถอนการก่อตั้งมูลนิธิตาม
มาตรา 116 ไม่ได้
	ในกรณีที่มีผู้คัดค้านต่อนายทะเบียนว่าพินัยกรรมนั้นมิได้กำหนดให้ก่อตั้งเป็นมูลนิธิ
ให้นายทะเบียนแจ้งให้ผู้คัดค้านไปร้องต่อศาลภายในหกสิบนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน
และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาการจดทะเบียนไว้ก่อนเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือ
คำสั่งของศาล  ถ้าผู้คัดค้านไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด ให้นายทะเบียนพิจารณา
การจดทะเบียนมูลนิธินั้นต่อไป
	มาตรา 119 กรณีที่มีข้อกำหนดพินัยกรรมให้จัดตั้งมูลนิธิ  ถ้าพินัยกรรมที่ทำไว้มิได้มี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับรายการตาม มาตรา 112 (1) (3) (5) หรือ (6) ให้ผู้ยื่นคำขอตาม มาตรา 118 กำหนด
รายการดังกล่าวได้  ถ้าผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดคัดค้านให้นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรแล้ว
แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอและผู้คัดค้านทราบพร้อมทั้งแจ้งด้วยว่า หากผู้ยื่นคำขอหรือผู้คัดค้านไม่พอใจใน
คำสั่งดังกล่าวก็ให้ไปร้องคัดค้านต่อศาลภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากนายทะเบียน
และให้นายทะเบียนรอการพิจารณาจดทะเบียนไว้ก่อนเพื่อดำเนินการตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง
ของศาล  แต่ถ้าไม่มีการร้องคัดค้านต่อศาลภายในเวลาที่กำหนด  ให้นายทะเบียนพิจารณา
จดทะเบียนมูลนิธิตามที่ได้มีคำสั่งไว้นั้นต่อไป
	มาตรา 120 ในกรณีที่มีบุคคลหลายรายยื่นคำขอจดทะเบียนมูลนิธิตามพินัยกรรมของเจ้ามรดก
รายเดียวกัน  ถ้าคำขอนั้นมีข้อขัดแย้งกัน  ให้นายทะเบียนเรียกผู้ยื่นคำขอมาตกลงกัน และถ้า
ผู้ยื่นคำขอไม่มาตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด   ให้
นายทะเบียนมีคำสั่งตามที่เห็นสมควรและให้นำความใน มาตรา 119 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 121 เมื่อได้จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว  ถ้าผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิมีชีวิตอยู่ให้ทรัพย์สินที่จัดสรร
ไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิเป็นต้นไป
	ในกรณีที่ผู้ขอจัดตั้งมูลนิธิถึงแก่ความตายก่อนนายทะเบียนรับจดทะเบียนมูลนิธิ เมื่อได้
จดทะเบียนมูลนิธิแล้ว ให้ทรัพย์สินที่จัดสรรไว้เพื่อการนั้นตกเป็นของมูลนิธิตั้งแต่เวลาที่ผู้ขอจัดตั้ง
มูลนิธินั้นถึงแก่ความตาย
	มาตรา 122 มูลนิธิที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล
	มาตรา 123 คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้แทนของมูลนิธิในกิจการอันเกี่ยวกับบุคคลภายนอก
	มาตรา 124 บรรดากิจการที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้กระทำไปแม้จะปรากฏในภายหลังว่ามี
ข้อบกพร่องเกี่ยวกับการแต่งตั้งหรือคุณสมบัติของกรรมการของมูลนิธิ กิจการนั้นย่อมมีผลสมบูรณ์
	มาตรา 125 การแต่งตั้งกรรมการของมูลนิธิขึ้นใหม่ทั้งชุด หรือการเปลี่ยนแปลงกรรมการของ
มูลนิธิให้กระทำตามข้อบังคับของมูลนิธิ และมูลนิธิต้องนำไปจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มี
การแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงกรรมการของมูลนิธิ
	ถ้านายทะเบียนเห็นว่ากรรมการของมูลนิธิตามวรรคหนึ่งผู้ใดมีฐานะหรือความประพฤติ
ไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ  นายทะเบียนจะไม่รับจดทะเบียน
กรรมการของมูลนิธิผู้นั้นก็ได้ ในกรณีที่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิ
นายทะเบียนต้องแจ้งเหตุผลที่ไม่รับจดทะเบียนให้มูลนิธิทราบภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ยื่น
คำขอจดทะเบียน และให้นำความใน มาตรา 115 วรรคสี่และวรรคห้ามาใช้บังคับโดยอนุโลม
	ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิพ้นจากตำแหน่งและไม่มีกรรมการของมูลนิธิเหลืออยู่ หรือ
กรรมการของมูลนิธิที่เหลืออยู่ไม่สามารถดำเนินการตามหน้าที่ได้ ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้
กำหนดการปฏิบัติหน้าที่ไว้เป็นอย่างอื่น ให้กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งปฏิบัติหน้าที่
กรรมการของมูลนิธิต่อไปจนกว่านายทะเบียนจะได้แจ้งการรับจดทะเบียนกรรมการของมูลนิธิที่
ตั้งใหม่
	กรรมการของมูลนิธิที่พ้นจากตำแหน่งเพราะถูกถอดถอนโดยคำสั่งศาลตาม มาตรา 129
จะปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคสามไม่ได้
	มาตรา 126 ภายใต้บังคับ มาตรา 127  ให้คณะกรรมการของมูลนิธิเป็นผู้มีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติม
ข้อบังคับของมูลนิธิ  แต่ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้
การแก้ไขเพิ่มเติมต้องเป็นไปตามที่ข้อบังคับกำหนด และให้มูลนิธินำข้อบังคับที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้น
ไปจดทะเบียนต่อนายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่คณะกรรมการของมูลนิธิได้แก้ไข
เพิ่มเติมข้อบังคับของมูลนิธิและให้นำความใน มาตรา 115 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 127 การแก้ไขเพิ่มเติมรายการในข้อบังคับของมูลนิธิตาม มาตรา 112 (2) จะกระทำ
ได้แต่เฉพาะในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  เพื่อให้สามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ หรือ
	(2)  พฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปเป็นเหตุให้วัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นมีประโยชน์น้อย
หรือไม่อาจดำเนินการให้สมประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นได้และวัตถุประสงค์ของ
มูลนิธิที่แก้ไขเพิ่มเติมนั้นใกล้ชิดกับวัตถุประสงค์เดิมของมูลนิธิ
	มาตรา 128 ให้นายทะเบียนมีอำนาจตรวจตราและควบคุมดูแลการดำเนินกิจการของมูลนิธิให้เป็น
ไปตามกฎหมายและข้อบังคับของมูลนิธิ  เพื่อการนี้ให้นายทะเบียนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่ง
นายทะเบียนมอบหมายเป็นหนังสือมีอำนาจ
	(1)  มีคำสั่งเป็นหนังสือให้กรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือตัวแทนของมูลนิธิชี้แจงแสดง
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของมูลนิธิ หรือเรียกบุคคลดังกล่าวมาสอบถาม หรือให้ส่งหรือแสดง
สมุดบัญชีและเอกสารต่างๆ ของมูลนิธิเพื่อตรวจสอบ
	(2)  เข้าไปในสำนักงานของมูลนิธิในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
เพื่อตรวจสอบกิจการของมูลนิธิ
	ในการปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง  ถ้าเป็นนายทะเบียนให้แสดงบัตรประจำตัว และถ้า
เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับมอบหมาย ให้แสดงบัตรประจำตัวและหนังสือมอบหมายของ
นายทะเบียนต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
	มาตรา 129 ในกรณีที่กรรมการของมูลนิธิผู้ใดดำเนินกิจการของมูลนิธิผิดพลาดเสื่อมเสียต่อ
มูลนิธิหรือดำเนินกิจการฝ่าฝืนกฎหมายหรือข้อบังคับของมูลนิธิหรือกลายเป็นผู้มีฐานะหรือความ
ประพฤติไม่เหมาะสมในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิ นายทะเบียน พนักงานอัยการ
หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิผู้นั้นได้
	ในกรณีที่การกระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำของคณะกรรมการของมูลนิธิ  หรือ
ปรากฏว่าคณะกรรมการของมูลนิธิไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมูลนิธิโดยไม่มีเหตุอัน
สมควรนายทะเบียน พนักงานอัยการ  หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาลให้มี
คำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิทั้งคณะได้
	ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งถอดถอนกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิตาม
วรรคหนึ่งหรือวรรคสอง ศาลจะแต่งตั้งบุคคลอื่นเป็นกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของ
มูลนิธิแทนกรรมการของมูลนิธิหรือคณะกรรมการของมูลนิธิที่ศาลถอดถอนก็ได้ เมื่อศาลมีคำสั่ง
แต่งตั้งบุคคลใดเป็นกรรมการของมูลนิธิแล้ว ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนไปตามนั้น
	มาตรา 130 มูลนิธิย่อมเลิกด้วยเหตุหนึ่งเหตุใดดังต่อไปนี้
	(1)  เมื่อมีเหตุตามที่กำหนดในข้อบังคับ
	(2)  ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นไว้เฉพาะระยะเวลาใด เมื่อสิ้นระยะเวลานั้น
	(3)  ถ้ามูลนิธิตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด และได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์สำเร็จ
บริบูรณ์แล้ว หรือวัตถุประสงค์นั้นกลายเป็นการพ้นวิสัย
	(4)  เมื่อมูลนิธินั้นล้มละลาย
	(5)  เมื่อศาลมีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิตาม มาตรา 131
	มาตรา 131 นายทะเบียน พนักงานอัยการ หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดอาจร้องขอต่อศาล
ให้มีคำสั่งให้เลิกมูลนิธิได้ในกรณีหนึ่งกรณีใด  ดังต่อไปนี้
	(1)  เมื่อปรากฏว่าวัตถุประสงค์ของมูลนิธิขัดต่อกฎหมาย
	(2)  เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิกระทำการขัดต่อกฎหมายหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือ
อาจเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชนหรือความมั่นคงของรัฐ
	(3)  เมื่อปรากฏว่ามูลนิธิไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ หรือ
หยุดดำเนินกิจการตั้งแต่สองปีขึ้นไป
	มาตรา 132 เมื่อมูลนิธิมีเหตุต้องเลิกตาม มาตรา 130 (1) (2) หรือ (3) แล้ว  ให้คณะกรรมการ
ของมูลนิธิที่อยู่ในตำแหน่งขณะมีการเลิกมูลนิธิแจ้งการเลิกมูลนิธิต่อนายทะเบียนภายในสิบสี่วันนับ
แต่วันที่มีการเลิกมูลนิธิ
	ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดให้มูลนิธิล้มละลายตาม มาตรา 130 (4)
หรือมีคำสั่งถึงที่สุดให้เลิกมูลนิธิตาม มาตรา 131  ให้ศาลแจ้งคำพิพากษาหรือคำสั่งดังกล่าวให้
นายทะเบียนทราบด้วย
	ให้นายทะเบียนประกาศการเลิกมูลนิธิในราชกิจจานุเบกษา
	มาตรา 133 ในกรณีที่มีการเลิกมูลนิธิ ให้มีการชำระบัญชีมูลนิธิ และให้นำบทบัญญัติใน 
บรรพ 3 ลักษณะ 22 ว่าด้วยการชำระบัญชีห้าง หุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด
มาใช้บังคับแก่การชำระบัญชีมูลนิธิโดยอนุโลม ทั้งนี้ให้ผู้ชำระบัญชีเสนอรายงานการชำระบัญชี
ต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนเป็นผู้อนุมัติรายงานนั้น
	มาตรา 134 เมื่อได้ชำระบัญชีแล้ว  ให้โอนทรัพย์สินของมูลนิธิให้แก่มูลนิธิหรือนิติบุคคล
ที่มีวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 110 ซึ่งได้ระบุชื่อไว้ในข้อบังคับของมูลนิธิ  ถ้าข้อบังคับของมูลนิธิมิได้
ระบุชื่อมูลนิธิหรือนิติบุคคลดังกล่าวไว้  พนักงานอัยการ ผู้ชำระบัญชี หรือผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด
อาจร้องขอต่อศาลให้จัดสรรทรัพย์สินนั้นแก่มูลนิธิหรือนิติบุคคลอื่นที่ปรากฏว่ามีวัตถุประสงค์
ใกล้ชิดที่สุดกับวัตถุประสงค์ของมูลนิธินั้นได้
	ถ้ามูลนิธินั้นถูกศาลสั่งให้เลิกตาม มาตรา 131 (1) หรือ (2) หรือการจัดสรรทรัพย์สิน
ตามวรรคหนึ่งไม่อาจกระทำได้  ให้ทรัพย์สินของมูลนิธิตกเป็นของแผ่นดิน
	มาตรา 135 ผู้ใดประสงค์จะขอตรวจเอกสารเกี่ยวกับมูลนิธิที่นายทะเบียนเก็บรักษาไว้ 
หรือจะขอให้นายทะเบียนคัดสำเนาเอกสารดังกล่าวพร้อมด้วยคำรับรองว่าถูกต้อง ให้ยื่นคำขอต่อ
นายทะเบียนและเมื่อได้เสียค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแล้ว ให้นายทะเบียนปฏิบัติ
ตามคำขอนั้น
	มาตรา 136 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามบทบัญญัติในส่วนนี้ 
และให้มีอำนาจแต่งตั้งนายทะเบียนกับออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับ
	(1)  การยื่นคำขอจดทะเบียนและการรับจดทะเบียน
	(2)  ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน  การขอตรวจเอกสาร  การคัดสำเนาเอกสารและ
ค่าธรรมเนียมการขอให้นายทะเบียนดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับมูลนิธิ รวมทั้งการยกเว้น
ค่าธรรมเนียมดังกล่าว
	(3)  แบบบัตรประจำตัวของนายทะเบียนและพนักงานเจ้าหน้าที่
	(4)  การดำเนินกิจการของมูลนิธิและการทะเบียนมูลนิธิ
	(5)  การอื่นใดเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในส่วนนี้
	กฎกระทรวงนั้น  เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
	**หมายเหตุ มาตรา 136 “บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา 97
และมาตรา 1297 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่
พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชะระใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 17
แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 42 หน้า 1 วันที่ 8
เมษายน 2535)

	ลักษณะ 3
	ทรัพย์

	มาตรา 137 ทรัพย์  หมายความว่า  วัตถุมีรูปร่าง
	มาตรา 138 ทรัพย์สิน หมายความรวมทั้งทรัพย์และวัตถุไม่มีรูปร่างซึ่งอาจมีราคาและ
อาจถือเอาได้
	มาตรา 139 อสังหาริมทรัพย์  หมายความว่า  ที่ดินและทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินมีลักษณะเป็น
การถาวรหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้น และหมายความรวมถึงทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับที่ดินหรือ
ทรัพย์อันติดอยู่กับที่ดินหรือประกอบเป็นอันเดียวกับที่ดินนั้นด้วย
	มาตรา 140 สังหาริมทรัพย์  หมายความว่า  ทรัพย์สินอื่นนอกจากอสังหาริมทรัพย์ และหมายความ
รวมถึงสิทธิอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นด้วย
	มาตรา 141 ทรัพย์แบ่งได้  หมายความว่า  ทรัพย์อันอาจแยกออกจากกันเป็นส่วนๆ ได้จริงถนัดชัดแจ้ง
แต่ละส่วนได้รูปบริบูรณ์ลำพังตัว
	มาตรา 142 ทรัพย์แบ่งไม่ได้  หมายความว่า  ทรัพย์อันจะแยกออกจากกันไม่ได้นอกจากเปลี่ยนแปลง
ภาวะของทรัพย์ และหมายความรวมถึงทรัพย์ที่มีกฎหมายบัญญัติว่าแบ่งไม่ได้ด้วย
	มาตรา 143 ทรัพย์นอกพาณิชย์  หมายความว่า  ทรัพย์ที่ไม่สามารถถือเอาได้ และทรัพย์ที่โอนแก่กัน
มิได้โดยชอบด้วยกฎหมาย
	มาตรา 144 ส่วนควบของทรัพย์  หมายความว่า  ส่วนซึ่งโดยสภาพแห่งทรัพย์หรือโดยจารีตประเพณี
แห่งท้องถิ่นเป็นสาระสำคัญในความเป็นอยู่ของทรัพย์นั้น และไม่อาจแยกจากกันได้  นอกจากจะ
ทำลายทำให้บุบสลาย หรือทำให้ทรัพย์นั้นเปลี่ยนแปลงรูปทรงหรือสภาพไป
	เจ้าของทรัพย์ย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบของทรัพย์นั้น
	มาตรา 145 ไม้ยืนต้นเป็นส่วนควบกับที่ดินที่ไม้นั้นขึ้นอยู่
	ไม้ล้มลุกหรือธัญชาติอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี
ไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
	มาตรา 146 ทรัพย์ซึ่งติดกับที่ดินหรือติดกับโรงเรือนเพียงชั่วคราวไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินหรือ
โรงเรือนนั้น ความข้อนี้ให้ใช้บังคับแก่โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่น
ใช้สิทธินั้นปลูกสร้างไว้ในที่ดินนั้นด้วย
	มาตรา 147 อุปกรณ์  หมายความว่า  สังหาริมทรัพย์ซึ่งโดยปกตินิยมเฉพาะถิ่นหรือโดยเจตนาชัดแจ้ง
ของเจ้าของทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นของใช้ประจำอยู่กับทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นอาจิณเพื่อ
ประโยชน์แก่การจัดดูแลใช้สอย หรือรักษาทรัพย์ที่เป็นประธานและเจ้าของทรัพย์ได้นำมาสู่ทรัพย์
ที่เป็นประธานโดยการนำมาติดต่อหรือปรับเข้าไว้ หรือทำโดยประการอื่นใดในฐานะเป็นของใช้
ประกอบกับทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
	อุปกรณ์ที่แยกออกจากทรัพย์ที่เป็นประธานเป็นการชั่วคราวก็ยังไม่ขาดจากการเป็น
อุปกรณ์ของทรัพย์ที่เป็นประธานนั้น
	อุปกรณ์ย่อมตกติดไปกับทรัพย์ที่เป็นประธาน เว้นแต่จะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 148 ดอกผลของทรัพย์  ได้แก่  ดอกผลธรรมดาและดอกผลนิตินัย
	ดอกผลธรรมดา  หมายความว่า  สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของทรัพย์ซึ่งได้มาจากตัว
ทรัพย์ โดยการมีหรือใช้ทรัพย์นั้นตามปกตินิยม และสามารถถือเอาได้เมื่อขาดจากทรัพย์นั้น
	ดอกผลนิตินัย  หมายความว่า  ทรัพย์หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้มาเป็นครั้งคราวแก่
เจ้าของทรัพย์จากผู้อื่นเพื่อการที่ได้ใช้ทรัพย์นั้น และสามารถคำนวณและถือเอาได้เป็นรายวัน
หรือตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

	ลักษณะ 4
	นิติกรรม
	หมวด 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 149 นิติกรรม  หมายความว่า  การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่ง
โดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ
	มาตรา 150 การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัด
ต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  การนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 151 การใดเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติของกฎหมาย   ถ้ามิใช่กฎหมายอันเกี่ยวกับความ
สงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน  การนั้นไม่เป็นโมฆะ
	มาตรา 152 การใดมิได้ทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายบังคับไว้  การนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 153 การใดมิได้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยความสามารถของบุคคล  การนั้น
เป็นโมฆียะ

	หมวด 2
	การแสดงเจตนา

	มาตรา 154 การแสดงเจตนาใดแม้ในใจจริงผู้แสดงจะมิได้เจตนาให้ตนต้องผูกพันตามที่แสดงออก
มาก็ตาม  หาเป็นมูลเหตุให้การแสดงเจตนานั้นเป็นโมฆะไม่ เว้นแต่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะได้รู้ถึง
เจตนาอันซ่อนอยู่ในใจของผู้แสดงนั้น
	มาตรา 155 การแสดงเจตนาลวงโดยสมรู้กับคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นโมฆะ แต่จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต  และต้องเสียหายจากการแสดงเจตนาลวงนั้นมิได้
	ถ้าการแสดงเจตนาลวงตามวรรคหนึ่งทำขึ้นเพื่ออำพรางนิติกรรมอื่น  ให้นำบทบัญญัติ
ของกฎหมายอันเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางมาใช้บังคับ
	มาตรา 156 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ
	ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิด
ในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม และความสำคัญผิด
ในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น
	มาตรา 157 การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ
	ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่งต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติ ซึ่งตามปกติถือว่าเป็น
สาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว  การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
	มาตรา 158 ความสำคัญผิดตาม มาตรา 156 หรือ มาตรา 157 ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนาบุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้เป็นประโยชน์แก่ตนไม่ได้
	มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ
	การถูกกลฉ้อฉลที่จะเป็นโมฆียะตามวรรคหนึ่ง จะต้องถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลดัง
กล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น
	ถ้าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลโดยบุคคลภายนอก การแสดงเจตนานั้น
จะเป็นโมฆียะต่อเมื่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้รู้ หรือควรจะได้รู้ถึงกลฉ้อฉลนั้น
	มาตรา 160 การบอกล้างโมฆียะกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉลตาม มาตรา 159 ห้ามมิให้ยกเป็นข้อต่อสู้
บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริต
	มาตรา 161 ถ้ากลฉ้อฉลเป็นแต่เพียงเหตุจูงใจให้คู่กรณีฝ่ายหนึ่งยอมรับข้อกำหนดอันหนักยิ่งกว่าที่
คู่กรณีฝ่ายนั้นจะยอมรับโดยปกติ คู่กรณีฝ่ายนั้นจะบอกล้างการนั้นหาได้ไม่  แต่ชอบที่จะเรียกเอา
ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากกลฉ้อฉลนั้นได้
	มาตรา 162 ในนิติกรรมสองฝ่าย การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งจงใจนิ่งเสียไม่แจ้งข้อความจริงหรือคุณสมบัติ
อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้ การนั้นจะเป็นกลฉ้อฉลหากพิสูจน์ได้ว่า  ถ้ามิได้นิ่งเสียเช่นนั้น นิติกรรม
นั้นก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
	มาตรา 163 ถ้าคู่กรณีต่างได้กระทำการโดยกลฉ้อฉลด้วยกันทั้งสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะกล่าว
อ้างกลฉ้อฉลของอีกฝ่ายหนึ่งเพื่อบอกล้างการนั้นหรือเรียกค่าสินไหมทดแทนมิได้
	มาตรา 164 การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
	การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้
จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูกข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น  การนั้น
ก็คงจะมิได้กระทำขึ้น
	มาตรา 165 การขู่ว่าจะใช้สิทธิตามปกตินิยม  ไม่ถือว่าเป็นการข่มขู่
	การใดที่กระทำไปเพราะนับถือยำเกรง  ไม่ถือว่าการนั้นได้กระทำเพราะถูกข่มขู่
	มาตรา 166 การข่มขู่ย่อมทำให้การแสดงเจตนาเป็นโมฆียะแม้บุคคลภายนอกจะเป็นผู้ข่มขู่
	มาตรา 167 ในการวินิจฉัยกรณีความสำคัญผิด กลฉ้อฉล หรือการข่มขู่  ให้พิเคราะห์ถึงเพศ  อายุ
ฐานะ สุขภาพอนามัย และภาวะแห่งจิตของผู้แสดงเจตนา  ตลอดจนพฤติการณ์และสภาพแวดล้อม
อื่นๆ อันเกี่ยวกับการนั้นด้วย
	มาตรา 168 การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งอยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่ผู้รับการแสดง
เจตนาได้ทราบการแสดงเจตนานั้น ความข้อนี้ให้ใช้ตลอดถึงการที่บุคคลหนึ่งแสดงเจตนาไปยัง
บุคคลอีกคนหนึ่งโดยทางโทรศัพท์ หรือโดยเครื่องมือสื่อสารอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่นซึ่งสามารถติดต่อ
ถึงกันได้ทำนองเดียวกัน
	มาตรา 169 การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า ให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การ
แสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นก่อนหรือ
พร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล
	การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้น
ผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตายหรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
	มาตรา 170 การแสดงเจตนาซึ่งกระทำต่อผู้เยาว์หรือผู้ที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคน
เสมือนไร้ความสามารถจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับการแสดงเจตนาไม่ได้ เว้นแต่ผู้แทนโดยชอบธรรม
ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณีของผู้รับการแสดงเจตนานั้นได้รู้ด้วย  หรือได้ให้ความยินยอม
ไว้ก่อนแล้ว
	ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับ ถ้าการแสดงเจตนานั้นเกี่ยวกับการที่กฎหมายบัญญัติ
ให้ผู้เยาว์หรือคนเสมือนไร้ความสามารถกระทำได้เองโดยลำพัง
	มาตรา 171 ในการตีความการแสดงเจตนานั้น  ให้เพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำ สำนวน
หรือตัวอักษร

	หมวด 3
	โมฆะกรรมและโมฆียะกรรม

	มาตรา 172 โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้  และผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะยกความ
เสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างก็ได้
	ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรม ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้แห่ง
ประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ
	มาตรา 173 ถ้าส่วนหนึ่งส่วนใดของนิติกรรมเป็นโมฆะ นิติกรรมนั้นย่อมตกเป็นโมฆะทั้งสิ้น เว้นแต่
จะพึงสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า คู่กรณีเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะนั้นแยกออก
จากส่วนที่เป็นโมฆะได้
	มาตรา 174 การใดเป็นโมฆะแต่เข้าลักษณะเป็นนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะ ให้ถือตามนิติกรรม
ซึ่งไม่เป็นโมฆะ  ถ้าสันนิษฐานได้โดยพฤติการณ์แห่งกรณีว่า หากคู่กรณีได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะแล้ว
ก็คงจะได้ตั้งใจมาตั้งแต่แรกที่จะทำนิติกรรมอย่างอื่นซึ่งไม่เป็นโมฆะนั้น
	มาตรา 175 โมฆียะกรรมนั้น  บุคคลต่อไปนี้จะบอกล้างเสียก็ได้
	(1)  ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วแต่ผู้เยาว์จะบอกล้างก่อนที่ตน
บรรลุนิติภาวะก็ได้ ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม
	(2)  บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ เมื่อ
บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถแล้ว หรือผู้อนุบาล
หรือผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี แต่คนเสมือนไร้ความสามารถจะบอกล้างก่อนที่ตนจะพ้นจากการเป็น
คนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ถ้าได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์
	(3)  บุคคลผู้แสดงเจตนาเพราะสำคัญผิด หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
	(4)  บุคคลวิกลจริตผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30  ในขณะที่จริตของ
บุคคลนั้นไม่วิกลแล้ว
	ถ้าบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะถึงแก่ความตายก่อนมีการบอกล้างโมฆียะกรรม
ทายาทของบุคคลดังกล่าวอาจบอกล้างโมฆียะกรรมนั้นได้
	มาตรา 176 โมฆียะกรรมเมื่อบอกล้างแล้ว  ให้ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก และให้เป็นคู่กรณีกลับ
คืนสู่ฐานะเดิม  ถ้าเป็นการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนเช่นนั้นได้ ก็ให้ได้รับค่าเสียหายชดใช้ให้แทน
	ถ้าบุคคลใดได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าการใดเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างแล้วให้ถือว่าบุคคลนั้น
ได้รู้ว่าการนั้นเป็นโมฆะนับแต่วันที่ได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าเป็นโมฆียะ
	ห้ามมิให้ใช้สิทธิเรียกร้องอันเกิดแต่การกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามวรรคหนึ่งเมื่อพ้นหนึ่งปี
นับแต่วันบอกล้างโมฆียะกรรม
	มาตรา 177 ถ้าบุคคลผู้มีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตาม มาตรา 175  ผู้หนึ่งผู้ใดได้ให้สัตยาบันแก่
โมฆียะกรรม ให้ถือว่าการนั้นเป็นอันสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก  แต่ทั้งนี้ย่อมไม่กระทบกระเทือนถึง
สิทธิของบุคคลภายนอก
	มาตรา 178 การบอกล้างหรือให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมย่อมกระทำได้โดยการแสดงเจตนาแก่
คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นบุคคลที่มีตัวกำหนดได้แน่นอน
	มาตรา 179 การให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมนั้น  จะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้กระทำภายหลังเวลาที่มูลเหตุ
ให้เป็นโมฆียะกรรมนั้นหมดสิ้นไปแล้ว
	บุคคลซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ หรือบุคคล
วิกลจริต ผู้กระทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะตาม มาตรา 30 จะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้ต่อเมื่อ
ได้รู้เห็นซึ่งโมฆียะกรรมนั้นภายหลังที่บุคคลนั้นพ้นจากการเป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือน
ไร้ความสามารถ หรือในขณะที่จริตของบุคคลนั้นไม่วิกล แล้วแต่กรณี
	ทายาทของบุคคลผู้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะจะให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรมได้นับแต่
เวลาที่ผู้ทำนิติกรรมนั้นถึงแก่ความตาย  เว้นแต่สิทธิที่จะบอกล้างโมฆียะกรรมของผู้ตายนั้นได้สิ้น
สุดลงแล้ว
	บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสองมิให้ใช้บังคับ ถ้าการให้สัตยาบันแก่โมฆียะกรรม
กระทำโดยผู้แทนโดยชอบธรรม ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์
	มาตรา 180 ภายหลังเวลาอันพึงให้สัตยาบันได้ตาม มาตรา 179  ถ้ามีพฤติการณ์อย่างหนึ่งอย่างใด
ดังต่อไปนี้เกิดขึ้นเกี่ยวด้วยโมฆียะกรรม โดยการกระทำของบุคคลซึ่งมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรม
ตาม มาตรา 175  ถ้ามิได้สงวนสิทธิไว้แจ้งชัดประการใด ให้ถือว่าเป็นการให้สัตยาบัน
	(1)  ได้ปฏิบัติการชำระหนี้แล้วทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
	(2)  ได้มีการเรียกให้ชำระหนี้นั้นแล้ว
	(3)  ได้มีการแปลงหนี้ใหม่
	(4)  ได้มีการให้ประกันเพื่อหนี้นั้น
	(5)  ได้มีการโอนสิทธิหรือความรับผิดทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
	(6)  ได้มีการกระทำอย่างอื่นอันแสดงได้ว่าเป็นการให้สัตยาบัน
	มาตรา 181 โมฆียะกรรมนั้นจะบอกล้างมิได้เมื่อพ้นเวลาหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อาจให้สัตยาบันได้ หรือ
เมื่อพ้นเวลาสิบปีนับแต่ได้ทำนิติกรรมอันเป็นโมฆียะนั้น

	หมวด 4
	เงื่อนไขและเงื่อนเวลา

	มาตรา 182 ข้อความใดอันบังคับไว้ให้นิติกรรมเป็นผลหรือสิ้นผลต่อเมื่อมีเหตุการณ์อันไม่แน่นอนว่า
จะเกิดขึ้นหรือไม่ในอนาคตข้อความนั้นเรียกว่าเงื่อนไข
	มาตรา 183 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน  นิติกรรมนั้นย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
	นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลัง นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
	ถ้าคู่กรณีแห่งนิติกรรมได้แสดงเจตนาไว้ด้วยกันว่า  ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นให้มีผล
ย้อนหลังไปถึงเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนสำเร็จ ก็ให้เป็นไปตามเจตนาเช่นนั้น
	มาตรา 184 ในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ  คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแห่งนิติกรรมอันอยู่ในบังคับเงื่อน
ไขจะต้องงดเว้นไม่กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่ง
ซึ่งจะพึงได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้น
	มาตรา 185 ในระหว่างที่เงื่อนไขยังมิได้สำเร็จนั้น สิทธิและหน้าที่ต่างๆ ของคู่กรณีมีอย่างไรจะจำหน่าย
จะรับมรดก จะจัดการป้องกันรักษา หรือจะทำประกันไว้ประการใดตามกฎหมายก็ย่อมทำได้
	มาตรา 186 ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดเสียเปรียบ  และคู่กรณีฝ่ายนั้น
กระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นไม่สำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว
	ถ้าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขจะเป็นทางให้คู่กรณีฝ่ายใดได้เปรียบ และคู่กรณีฝ่ายนั้น
กระทำการโดยไม่สุจริตจนเป็นเหตุให้เงื่อนไขนั้นสำเร็จ ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นมิได้สำเร็จเลย
	มาตรา 187 ถ้าเงื่อนไขสำเร็จแล้วในเวลาทำนิติกรรม หากเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนให้ถือว่านิติกรรม
นั้นไม่มีเงื่อนไข หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลังให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
	ถ้าเป็นอันแน่นอนในเวลาทำนิติกรรมว่าเงื่อนไขไม่อาจสำเร็จได้ หากเป็นเงื่อนไขบังคับ
ก่อนให้ถือว่านิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ หากเป็นเงื่อนไขบังคับหลังให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข
	ตราบใดที่คู่กรณียังไม่รู้ว่าเงื่อนไขได้สำเร็จแล้วตามวรรคหนึ่ง หรือไม่อาจสำเร็จได้ตาม
วรรคสอง  ตราบนั้นคู่กรณียังมีสิทธิและหน้าที่ตาม มาตรา 184 และ มาตรา 185
	มาตรา 188 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขอันไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีล
ธรรมอันดีของประชาชน  นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 189 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
	นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับหลังและเงื่อนไขนั้นเป็นการพ้นวิสัย  ให้ถือว่านิติกรรมนั้นไม่มีเงื่อนไข
	มาตรา 190 นิติกรรมใดมีเงื่อนไขบังคับก่อน และเป็นเงื่อนไขอันจะสำเร็จได้หรือไม่ สุดแล้วแต่ใจของ
ฝ่ายลูกหนี้  นิติกรรมนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 191 นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาเริ่มต้นกำหนดไว้  ห้ามมิให้ทวงถามให้ปฏิบัติการตามนิติกรรม
นั้นก่อนถึงเวลาที่กำหนด
	นิติกรรมใดมีเงื่อนเวลาสิ้นสุดกำหนดไว้  นิติกรรมนั้นย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนด
	มาตรา 192 เงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลาสิ้นสุดนั้น  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อ
ประโยชน์แก่ฝ่ายลูกหนี้ เว้นแต่จะปรากฏโดยเนื้อความแห่งตราสารหรือโดยพฤติการณ์แห่งกรณี
ว่าได้ตั้งใจจะให้เป็นประโยชน์แก่ฝ่ายเจ้าหนี้หรือแก่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายด้วยกัน
	ถ้าเงื่อนเวลาเป็นประโยชน์แก่ฝ่ายใด ฝ่ายนั้นจะสละประโยชน์นั้นเสียก็ได้ หากไม่
กระทบกระเทือนถึงประโยชน์อันคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะพึงได้รับจากเงื่อนเวลานั้น
	มาตรา 193 ในกรณีดังต่อไปนี้  ฝ่ายลูกหนี้จะถือเอาประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเริ่มต้นหรือเงื่อนเวลา
สิ้นสุดมิได้
	(1)  ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
	(2)  ลูกหนี้ไม่ให้ประกันในเมื่อจำต้องให้
	(3)  ลูกหนี้ได้ทำลาย หรือทำให้ลดน้อยถอยลงซึ่งประกันอันได้ให้ไว้
	(4)  ลูกหนี้นำทรัพย์สินของบุคคลอื่นมาให้เป็นประกันโดยเจ้าของทรัพย์สินนั้นมิได้ยิน
ยอมด้วย

	ลักษณะ 5
	ระยะเวลา

	"มาตรา 193/1 การนับระยะเวลาทั้งปวงให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งลักษณะนี้ เว้นแต่
จะมีกฎหมายคำสั่งศาล ระเบียบข้อบังคับ หรือนิติกรรม กำหนดเป็นอย่างอื่น
	"มาตรา 193/2  การคำนวณระยะเวลาให้คำนวณเป็นวัน  แต่ถ้ากำหนดเป็นหน่วยเวลาที่
สั้นกว่าวัน ก็ให้คำนวณตามหน่วยเวลาที่กำหนดนั้น
	"มาตรา 193/3 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นหน่วยเวลาที่สั้นกว่าวัน  ให้เริ่มต้นนับในขณะที่
เริ่มการนั้น
	ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นวัน สัปดาห์ เดือนหรือปี  มิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลานั้นรวม
เข้าด้วยกันเว้นแต่จะเริ่มการในวันนั้นเองตั้งแต่เวลาที่ถือได้ว่าเป็นเวลาเริ่มต้นทำการงานกันตามประเพณี
	"มาตรา 193/4 ในทางคดีความ ในทางราชการ หรือทางธุรกิจการค้าและอุตสาหกรรม  วัน
หมายความว่าเวลาทำการตามที่ได้กำหนดขึ้นโดยกฎหมาย คำสั่งศาล หรือระเบียบข้อบังคับ หรือเวลา
ทำการตามปกติของกิจการนั้น แล้วแต่กรณี
	"มาตรา 193/5 ถ้ากำหนดระยะเวลาเป็นสัปดาห์ เดือนหรือปี ให้คำนวณตามปีปฏิทิน
	ถ้าระยะเวลามิได้กำหนดนับแต่วันต้นแห่งสัปดาห์ วันต้นแห่งเดือนหรือปี    ระยะเวลา
ย่อมสิ้นสุดลงในวันก่อนหน้าจะถึงวันแห่งสัปดาห์ เดือนหรือปีสุดท้าย อันเป็นวันตรงกับวันเริ่มระยะ
เวลานั้น  ถ้าในระยะเวลานับเป็นเดือนหรือปีนั้น ไม่มีวันตรงกันในเดือนสุดท้าย ให้ถือเอาวันสุดท้าย
แห่งเดือนนั้นเป็นวันสิ้นสุดระยะเวลา
	"มาตรา 193/6 ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นเดือนและวัน หรือกำหนดเป็นเดือนและส่วน
ของเดือน ให้นับจำนวนเดือนเต็มก่อน แล้วจึงนับจำนวนวัน หรือส่วนของเดือนเป็นวัน
	ถ้าระยะเวลากำหนดเป็นส่วนของปี ให้คำนวณส่วนของปีเป็นเดือนก่อน หากมีส่วนของ
เดือน ให้นับส่วนของเดือนเป็นวัน
	การคำนวณส่วนของเดือนตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้ถือว่าเดือนหนึ่งมีสามสิบวัน
	"มาตรา 193/7 ถ้ามีการขยายระยะเวลาออกไปโดยมิได้มีการกำหนดวันเริ่มต้นแห่งระยะ
เวลาที่ขยายออกไป  ให้นับวันที่ต่อจากวันสุดท้ายของระยะเวลาเดิมเป็นวันเริ่มต้น
	"มาตรา 193/8 ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการ
หรือตามประเพณีให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา

	ลักษณะ 6
	อายุความ
	หมวด 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	"มาตรา 193/9 สิทธิเรียกร้องใดๆ ถ้ามิได้ใช้บังคับภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
สิทธิเรียกร้องนั้นเป็นอันขาดอายุความ
	"มาตรา 193/10 สิทธิเรียกร้องที่ขาดอายุความ  ลูกหนี้มีสิทธิที่จะปฏิเสธการชำระหนี้
ตามสิทธิเรียกร้องนั้นได้
	"มาตรา 193/11 อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น คู่กรณีจะตกลงกันให้งดใช้หรือ
ขยายออกหรือย่นเข้าไม่ได้
	"มาตรา 193/12 อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป
ถ้าเป็นสิทธิเรียกร้องให้งดเว้นกระทำการอย่างใด  ให้เริ่มนับแต่เวลาแรกที่ฝ่าฝืนกระทำการนั้น
	"มาตรา 193/13 "สิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้ยังไม่อาจบังคับได้จนกว่าจะได้ทวงถามให้
ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน ให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่เวลาแรกที่อาจทวงถามได้เป็นต้นไป  แต่ถ้าลูกหนี้
ยังไม่ต้องชำระหนี้จนกว่าระยะเวลาหนึ่งจะได้ล่วงพ้นไปแล้วนับแต่เวลาที่ได้ทวงถามนั้น  ให้เริ่ม
นับอายุความตั้งแต่ระยะเวลานั้นสิ้นสุดไปแล้ว
	"มาตรา 193/14 "อายุความย่อมสะดุดหยุดลงในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  ลูกหนี้รับสภาพหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องโดยทำเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ให้
ชำระหนี้ให้บางส่วน ชำระดอกเบี้ย ให้ประกัน หรือกระทำการใดๆ อันปราศจากข้อสงสัยแสดงให้
เห็นเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามสิทธิเรียกร้อง
	(2)  เจ้าหนี้ได้ฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้
	(3)  เจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
	(4)  เจ้าหนี้ได้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณา
	(5)  เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี
	"มาตรา 193/15 "เมื่ออายุความสะดุดหยุดลงแล้ว ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้า
ในอายุความ
	เมื่อเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงสิ้นสุดเวลาใด ให้เริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่
เวลานั้น
	"มาตรา 193/16 หนี้ใดซึ่งตามมูลแห่งหนี้นั้น เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้เป็นคราวๆ  เจ้าหนี้
มีสิทธิเรียกให้ลูกหนี้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้ในเวลาใดเวลาหนึ่งก่อนอายุความครบบริบูรณ์เพื่อ
เป็นหลักฐานว่าอายุความสะดุดหยุดลง
	"มาตรา 193/17 ในกรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะเหตุตาม มาตรา 193/14 (2) หาก
คดีนั้นได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกคำฟ้อง หรือคดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้อง
หรือทิ้งฟ้องให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลง
	ในกรณีที่คดีนั้นศาลไม่รับ หรือคืนหรือให้ยกคำฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล
หรือศาลให้ยกคำฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะฟ้องใหม่ และปรากฏว่าอายุความครบกำหนดไป
แล้วในระหว่างการพิจารณา หรือจะครบกำหนดภายในหกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่ง
นั้นถึงที่สุด  ให้เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้อง หรือเพื่อให้ชำระหนี้ภายใน
หกสิบวันนับแต่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุด
	"มาตรา 193/18 ให้นำ มาตรา 193/17 มาใช้บังคับแก่กรณีที่อายุความสะดุดหยุดลงเพราะ
เหตุตามมาตรา 193/14 (3) (4) และ (5) โดยอนุโลม
	"มาตรา 193/19 ในขณะที่อายุความจะครบกำหนดนั้น  ถ้ามีเหตุสุดวิสัยมาขัดขวางมิให้
เจ้าหนี้กระทำการตาม มาตรา 193/14 ให้อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะพ้นสามสิบวันนับ
แต่วันที่เหตุสุดวิสัยนั้นได้สิ้นสุดลง
	"มาตรา 193/20 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่ง
ให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม  ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความ
สามารถเต็มภูมิหรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล
อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็ม
ภูมิหรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี  แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมี
ระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่ง
ปีดังกล่าว
	"มาตรา 193/21 อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือของคนไร้ความสามารถหรือของ
คนเสมือนไร้ความสามารถที่จะฟ้องร้องผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ของตนนั้น
ถ้าจะครบกำหนดลงในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือในระหว่างหนึ่งปี
นับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์  อายุความนั้นยังไม่ครบ
กำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้ลุถึงความสามารถเต็มภูมิหรือได้มีผู้แทนโดย
ชอบธรรมหรือผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี  แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลา
น้อยกว่าหนึ่งปี  ก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว
	"มาตรา 193/22 อายุความสิทธิเรียกร้องระหว่างสามีภริยา ถ้าจะครบกำหนดก่อนหรือ
ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปี
นับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง
	"มาตรา 193/23 อายุความสิทธิเรียกร้องอันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้ตาย ถ้าจะครบ
กำหนดภายในหนึ่งปีนับแต่วันตาย  อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่
วันตาย
	"มาตรา 193/24 เมื่ออายุความครบกำหนดแล้ว ลูกหนี้จะสละประโยชน์แห่งอายุความ
นั้นเสียก็ได้ แต่การสละประโยชน์เช่นว่านี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกหรือผู้ค้ำประกัน
	"มาตรา 193/25 เมื่ออายุความครบกำหนดแล้วให้มีผลย้อนหลังขึ้นไปถึงวันที่เริ่มนับ
อายุความ
	"มาตรา 193/26 เมื่อสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความ  ให้สิทธิเรียกร้องส่วน
ที่เป็นอุปกรณ์นั้นขาดอายุความด้วย  แม้ว่าอายุความของสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นอุปกรณ์นั้นจะยังไม่
ครบกำหนดก็ตาม
	"มาตรา 193/27 ผู้รับจำนอง ผู้รับจำนำ ผู้ทรงสิทธิยึดหน่วง หรือผู้ทรงบุริมสิทธิเหนือ
ทรัพย์สินของลูกหนี้อันตนได้ยึดถือไว้  ยังคงมีสิทธิบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนอง จำนำ หรือ
ที่ได้ยึดถือไว้  แม้ว่าสิทธิเรียกร้องส่วนที่เป็นประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม  แต่จะใช้สิทธินั้น
บังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างย้อนหลังเกินห้าปีขึ้นไปไม่ได้
	"มาตรา 193/28 การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องซึ่งขาดอายุความแล้วนั้นไม่ว่ามากน้อย
เพียงใดจะเรียกคืนไม่ได้  แม้ว่าผู้ชำระหนี้จะไม่รู้ว่าสิทธิเรียกร้องขาดอายุความแล้วก็ตาม
	บทบัญญัติในวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับแก่การที่ลูกหนี้รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐาน
เป็นหนังสือหรือโดยการให้ประกันด้วย แต่จะอ้างความข้อนี้ขึ้นเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันเดิมไม่ได้
	"มาตรา 193/29 เมื่อไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลจะอ้างเอาอายุความมาเป็น
เหตุยกฟ้องไม่ได้

	หมวด 2
	กำหนดอายุความ

	"มาตรา 193/30 อายุความนั้นถ้าประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติไว้
โดยเฉพาะให้มีกำหนดสิบปี
	"มาตรา 193/31 สิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาค่าภาษีอากรให้มีกำหนดอายุความ
สิบปี  ส่วนสิทธิเรียกร้องของรัฐที่จะเรียกเอาหนี้อย่างอื่นให้บังคับตามบทบัญญัติในลักษณะนี้
	"มาตรา 193/32 สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดหรือโดย
สัญญาประนีประนอมยอมความให้มีกำหนดอายุความสิบปี  ทั้งนี้ ไม่ว่าสิทธิเรียกร้องเดิมจะมี
กำหนดอายุความเท่าใด
	"มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความห้าปี
	(1)  ดอกเบี้ยค้างชำระ
	(2)  เงินที่ต้องชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ
	(3)  ค่าเช่าทรัพย์สินค้างชำระ เว้นแต่ค่าเช่าสังหาริมทรัพย์ตาม มาตรา 193/34 (6)
	(4)  เงินค้างจ่าย คือ เงินเดือน เงินปี เงินบำนาญ ค่าอุปการะเลี้ยงดู และเงินอื่นๆ ใน
ลักษณะทำนองเดียวกับที่มีการกำหนดจ่ายเป็นระยะเวลา
	(5)  สิทธิเรียกร้องตาม มาตรา 193/34 (1) (2) และ(5)  ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี
	"มาตรา 193/34 สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ให้มีกำหนดอายุความสองปี
	(1)  ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม ผู้ประกอบหัตถกรรม ผู้ประกอบศิลปอุตสาหกรรม
หรือช่างฝีมือ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ ค่าการงานที่ได้ทำ หรือค่าดูแลกิจการของผู้อื่น รวมทั้งเงิน
ที่ได้ออกทดรองไป เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
	(2)  ผู้ประกอบเกษตรกรรมหรือการป่าไม้ เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบอันเป็นผลิตผล
ทางเกษตรหรือป่าไม้เฉพาะที่ใช้สอยในบ้านเรือนของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง
	(3)  ผู้ขนส่งคนโดยสารหรือสิ่งของหรือผู้รับส่งข่าวสาร  เรียกเอาค่าโดยสาร  ค่าระวาง
ค่าเช่า  ค่าธรรมเนียม  รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
	(4)  ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมหรือหอพัก ผู้ประกอบธุรกิจในการจำหน่ายอาหารและ
เครื่องดื่ม หรือผู้ประกอบธุรกิจสถานบริการตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ เรียกเอาค่าที่พัก
อาหารหรือเครื่องดื่ม ค่าบริการหรือค่าการงานที่ได้ทำให้แก่ผู้มาพักหรือใช้บริการ รวมทั้งเงินที่ได้
ออกทดรองไป
	(5)  ผู้ขายสลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือสลากที่คล้ายคลึงกัน เรียกเอาค่าขายสลาก
เว้นแต่เป็นการขายเพื่อการขายต่อ
	(6)  ผู้ประกอบธุรกิจในการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เรียกเอาค่าเช่า
	(7)  บุคคลซึ่งมิได้เข้าอยู่ในประเภทที่ระบุไว้ใน (1) แต่เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการดูแล
กิจการของผู้อื่นหรือรับทำงานการต่างๆ เรียกเอาสินจ้างอันจะพึงได้รับในการนั้น  รวมทั้งเงินที่ได้
ออกทดรองไป
	(8)  ลูกจ้างซึ่งรับใช้การงานส่วนบุคคล เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่นเพื่อการงาน
ที่ทำ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป  หรือนายจ้างเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
	(9)  ลูกจ้างไม่ว่าจะเป็น ลูกจ้างประจำ  ลูกจ้างชั่วคราว  หรือลูกจ้างรายวัน  รวมทั้ง
ผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าจ้างหรือสินจ้างอย่างอื่น  รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไปหรือนายจ้างเรียก
เอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
	(10)  ครูสอนผู้ฝึกหัดงาน เรียกเอาค่าฝึกสอนและค่าใช้จ่ายอย่างอื่นตามที่ได้ตกลงกันไว้
รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
	(11)  เจ้าของสถานศึกษาหรือสถานพยาบาล เรียกเอาค่าธรรมเนียมการเรียนและ
ค่าธรรมเนียมอื่นๆ หรือค่ารักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอย่างอื่น  รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
	(12)  ผู้รับคนไว้เพื่อการบำรุงเลี้ยงดูหรือฝึกสอน เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้  รวมทั้งเงิน
ที่ได้ออกทดรองไป
	(13)  ผู้รับเลี้ยงหรือฝึกสอนสัตว์ เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป
	(14)  ครูหรืออาจารย์ เรียกเอาค่าสอน
	(15)  ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ทันตกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ ผู้ประกอบการ
บำบัดโรคสัตว์หรือผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้รวมทั้งเงินที่ได้ออก
ทดรองไป
	(16)  ทนายความหรือผู้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมาย รวมทั้งพยานผู้เชี่ยวชาญ เรียกเอา
ค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือคู่ความเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้
จ่ายล่วงหน้าไป
	(17)  ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม ผู้สอบบัญชี หรือผู้ประกอบวิชาชีพ
อิสระอื่น เรียกเอาค่าการงานที่ทำให้ รวมทั้งเงินที่ได้ออกทดรองไป หรือผู้ว่าจ้างให้ประกอบการงาน
ดังกล่าวเรียกเอาคืนซึ่งเงินเช่นว่านั้นที่ตนได้จ่ายล่วงหน้าไป
	"มาตรา 193/35 ภายใต้บังคับ มาตรา 193/27  สิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นจากการที่ลูกหนี้
รับสภาพความรับผิดโดยมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือโดยการให้ประกันตาม มาตรา 193/28 วรรคสอง
ให้มีกำหนดอายุความสองปีนับแต่วันที่ได้รับสภาพความรับผิดหรือให้ประกัน

Leave a Reply