กันยายน 8, 2020 In ประมวลกฎหมาย

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 4 – บรรพ 6

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

        บรรพ 4
	ทรัพย์สิน
	ลักษณะ 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 1298 ทรัพยสิทธิทั้งหลายนั้น ท่านว่าจะก่อตั้งขึ้นได้แต่ด้วยอาศัยอำนาจในประมวลกฎหมาย
นี้หรือกฎหมายอื่น
	มาตรา 1299 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น  ท่านว่าการได้มา
โดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่
นิติกรรมจะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มากับพนักงานเจ้าหน้าที่
	ถ้ามีผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอก
จากนิติกรรม สิทธิของผู้ได้มานั้นถ้ายังมิได้จดทะเบียนไซร้ ท่านว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงทาง
ทะเบียนไม่ได้ และสิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนนั้น  มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมา
โดยเสียค่าตอบแทน และโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว
	มาตรา 1300 ถ้าได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
เป็นทางเสียเปรียบแก่บุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนไซร้ ท่านว่า
บุคคลนั้นอาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ แต่การโอนอันมีค่าตอบแทนซึ่งผู้รับโอน
กระทำการโดยสุจริตนั้น ไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด ท่านว่าจะเรียกให้เพิกถอนทะเบียนไม่ได้
	มาตรา 1301 บทบัญญัติแห่งสองมาตราก่อนนี้  ท่านให้ใช้บังคับถึงการเปลี่ยนแปลง ระงับ และกลับคืน
มาแห่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์นั้นด้วยโดยอนุโลม
	มาตรา 1302 บทบัญญัติแห่งสามมาตราก่อนนี้ ให้ใช้บังคับถึงเรือมีระวางตั้งแต่ห้าตัน ทั้งแพและสัตว์
พาหนะด้วยโดยอนุโลม	
	“แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1303 ถ้าบุคคลหลายคนเรียกเอาสังหาริมทรัพย์เดียวกันโดยอาศัยหลักกรรมสิทธิ์ต่างกันไซร้
ท่านว่าทรัพย์สินตกอยู่ในครอบครองของบุคคลใด  บุคคลนั้นมีสิทธิยิ่งกว่าบุคคลอื่นๆ แต่ต้องได้
ทรัพย์นั้นมาโดยมีค่าตอบแทนและได้การครอบครองโดยสุจริต
	ท่านมิให้ใช้มาตรานี้บังคับถึงสังหาริมทรัพย์ซึ่งระบุไว้ในมาตราก่อนและในเรื่องทรัพย์สิน
หาย  กับทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำผิด
	มาตรา 1304 สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณ
ประโยชน์ หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน เช่น
	(1)  ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้ง หรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน
โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน
	(2)  ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
	(3)  ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะเป็นต้นว่า ป้อม และโรงทหาร
สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธ ยุทธภัณฑ์
	มาตรา 1305 ทรัพย์สินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น จะโอนแก่กันมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจ
แห่งบทกฎหมายเฉพาะ หรือพระราชกฤษฎีกา
	มาตรา 1306 ท่านห้ามมิให้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้กับแผ่นดินในเรื่องทรัพย์สินอันเป็นสาธารณ
สมบัติของแผ่นดิน
	มาตรา 1307 ท่านห้ามมิให้ยึดทรัพย์สินของแผ่นดิน  ไม่ว่าทรัพย์สินนั้นจะเป็นสาธารณสมบัติของ
แผ่นดินหรือไม่

	ลักษณะ 2
	กรรมสิทธิ์
	หมวด 1
	การได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์

	มาตรา 1308 ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
	มาตรา 1309 เกาะที่เกิดในทะเลสาบ หรือในทางน้ำ หรือในเขตน่านน้ำของประเทศก็ดี และท้องทางน้ำ
ที่เขินขึ้นก็ดี เป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
	มาตรา 1310 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินเป็นเจ้าของ
โรงเรือนนั้นๆ แต่ต้องใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้นให้แก่ผู้สร้าง
	แต่ถ้าเจ้าของที่ดินสามารถแสดงได้ว่ามิได้มีความประมาทเลินเล่อจะบอกปัดไม่ยอมรับ
โรงเรือนนั้น และเรียกให้ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมก็ได้  เว้นไว้แต่ถ้าการนี้จะ
ทำไม่ได้โดยใช้เงินพอควรไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้ผู้สร้างซื้อที่ดินทั้งหมด หรือแต่บางส่วน
ตามราคาตลาดก็ได้
	มาตรา 1311 บุคคลใดสร้างโรงเรือนในที่ดินของผู้อื่นโดยไม่สุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นต้องทำที่ดินให้
เป็นตามเดิมแล้วส่งคืนเจ้าของ เว้นแต่เจ้าของจะเลือกให้ส่งคืนตามที่เป็นอยู่ ในกรณีเช่นนี้เจ้า
ของที่ดินต้องใช้ราคาโรงเรือนหรือใช้ค่าแห่งที่ดินเพียงที่เพิ่มขึ้นเพราะสร้างโรงเรือนนั้น แล้วแต่จะเลือก
	มาตรา 1312 บุคคลใดสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นโดยสุจริตไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นเป็น
เจ้าของโรงเรือนที่สร้างขึ้น  แต่ต้องเสียเงินให้แก่เจ้าของที่ดินเป็นค้าใช้ที่ดินนั้น และจดทะเบียนสิทธิ
เป็นภารจำยอม  ต่อภายหลังถ้าโรงเรือนนั้นสลายไปทั้งหมดเจ้าของที่ดินจะเรียกให้เพิกถอน
การจดทะเบียนเสียก็ได้
	ถ้าบุคคลผู้สร้างโรงเรือนนั้น กระทำการโดยไม่สุจริต  ท่านว่าเจ้าของที่ดินจะเรียกให้
ผู้สร้างรื้อถอนไป และทำที่ดินให้เป็นตามเดิมโดยผู้สร้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
	มาตรา 1313 ถ้าผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขสร้างโรงเรือนในที่ดินนั้น และภายหลังที่ดินตกเป็น
ของบุคคลอื่นตามเงื่อนไขไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ
	มาตรา 1314 ท่านให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 1310 ,1311 และ 1313 บังคับตลอดถึงการก่อสร้างใดๆ
ซึ่งติดที่ดินและการเพาะปลูกต้นไม้หรือธัญชาติด้วยโดยอนุโลม
	แต่ข้าวหรือธัญชาติอย่างอื่นอันจะเก็บเกี่ยวรวงผลได้คราวหนึ่งหรือหลายคราวต่อปี
เจ้าของที่ดินต้องยอมให้บุคคลผู้กระทำการโดยสุจริต  หรือผู้เป็นเจ้าของที่ดินโดยมีเงื่อนไขซึ่งได้
เพราะปลูกลงไว้นั้น  คงครองที่ดินจนกว่าจะเสร็จการเก็บเกี่ยวโดยใช้เงินคำนวณตามเกณฑ์
ค่าเช่าที่ดินนั้น หรือเจ้าของที่ดินจะเข้าครอบครองในทันทีโดยใช้ค่าทดแทนให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งก็ได้
	มาตรา 1315 บุคคลใดสร้างโรงเรือน หรือทำการก่อสร้างอย่างอื่นซึ่งติดที่ดิน หรือเพาะปลูกต้นไม้
หรือธัญชาติในที่ดินของตนด้วยสัมภาระของผู้อื่น  ท่านว่าบุคคลนั้นเป็นเจ้าของสัมภาระ แต่ต้อง
ใช้ค่าสัมภาระ
	มาตรา 1316 ถ้าเอาสังหาริมทรัพย์ของบุคคลหลายคนมารวมเข้ากันจนเป็นส่วนควบหรือแบ่งแยกไม่
ได้ไซร้  ท่านว่าบุคคลเหล่านั้นเป็นเจ้าของรวมแห่งทรัพย์ที่รวมเข้ากัน แต่ละคนมีส่วนตามค่าแห่ง
ทรัพย์ของตนในเวลาที่รวมเข้ากับทรัพย์อื่น
	ถ้าทรัพย์อันหนึ่งอาจถือได้ว่าเป็นทรัพย์ประธานไซร้  ท่านว่าเจ้าของทรัพย์นั้นเป็นเจ้าของ
ทรัพย์ที่รวมเข้ากันแต่ผู้เดียว แต่ต้องใช้ค่าแห่งทรัพย์อื่นๆ ให้แก่เจ้าของทรัพย์นั้นๆ
	มาตรา 1317 บุคคลใดใช้สัมภาระของบุคคลอื่นทำสิ่งใดขึ้นใหม่ไซร้ ท่านว่าเจ้าของสัมภาระเป็นเจ้า
ของสิ่งนั้นโดยมิต้องคำนึงว่าสัมภาระนั้นจะกลับคืนตามเดิมได้หรือไม่ แต่ต้องใช้ค่าแรงงาน
	แต่ถ้าค่าแรงงานเกินกว่าค่าสัมภาระที่ใช้นั้นมากไซร้ ท่านว่าผู้ทำเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ทำขึ้น
แต่ต้องใช้ค่าสัมภาระ
	มาตรา 1318 บุคคลอาจได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์แห่งสังหาริมทรัพย์อันไม่มีเจ้าของโดยเข้าถือเอา  เว้นแต่
การเข้าถือเอานั้นต้องห้ามตามกฎหมายหรือฝ่าฝืนสิทธิของบุคคลอื่นที่จะเข้าถือเอา
สังหาริมทรัพย์นั้น
	มาตรา 1319 ถ้าเจ้าของสังหาริมทรัพย์เลิกครอบครองทรัพย์ด้วยเจตนาสละกรรมสิทธิ์ไซร้  ท่านว่า
สังหาริมทรัพย์นั้นไม่มีเจ้าของ
	มาตรา 1320 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ท่านว่าสัตว์ป่าไม่มีเจ้าของ
ตราบเท่าที่ยังอยู่อิสระ สัตว์ป่าในสวนสัตว์และปลาในบ่อ หรือในที่น้ำซึ่งเจ้าของกั้นไว้นั้น  ท่านว่าไม่
ใช่สัตว์ไม่มีเจ้าของ
	สัตว์ป่าที่คนจับได้นั้น  ถ้ามันกลับคืนอิสระและเจ้าของไม่ติดตามโดยพลันหรือเลิกติดตาม
เสียแล้ว ฉะนี้ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
	สัตว์ซึ่งเลี้ยงเชื่องแล้ว  ถ้ามันทิ้งที่ไปเลย ท่านว่าไม่มีเจ้าของ
	มาตรา 1321 ภายในบังคับแห่งกฎหมายเฉพาะและกฎข้อบังคับในเรื่องนั้น ผู้ใดจับสัตว์ป่าได้ในที่รก
ร้างว่างเปล่าหรือในที่น้ำสาธารณะก็ดี หรือจับได้ในที่ดิน หรือที่น้ำมีเจ้าของ โดยเจ้าของมิได้แสดง
ความหวงห้ามก็ดี ท่านว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของสัตว์
	มาตรา 1322 บุคคลใดทำให้สัตว์ป่าบาดเจ็บแล้วติดตามไป และบุคคลอื่นจับสัตว์นั้นได้ก็ดี หรือสัตว์นั้น
ตายลงในที่ดินของบุคคลอื่นก็ดี ท่านว่าบุคคลแรกเป็นเจ้าของสัตว์
	มาตรา 1323 บุคคลเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายต้องทำอย่างหนึ่งอย่างใดดั่งต่อไปนี้
	(1)  ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่ผู้ของหาย หรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น หรือ
	(2)  แจ้งแก่ผู้ของหาย หรือเจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นโดยมิชักช้าหรือ
	(3) ส่งมอบทรัพย์สินนั้นแก่เจ้าพนักงานตำรวจ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นภายในสามวัน
และแจ้งพฤติการณ์ตามที่ทราบอันอาจเป็นเครื่องช่วยในการสืบหาตัวบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น”
	แต่ถ้าไม่ทราบตัวผู้ของหาย เจ้าของ หรือบุคคลอื่นผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินก็ดี หรือบุคคล
ดั่งระบุนั้นไม่รับมอบทรัพย์สินก็ดี ท่านให้ดำเนินการตามวิธีอันบัญญัติไว้ใน อนุมาตรา (3)
	ทั้งนี้  ท่านว่าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายต้องรักษาทรัพย์สินนั้นไว้ด้วยความระมัดระวังอัน
สมควรจนกว่าจะส่งมอบ
	“(3) แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1324 ผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหาย อาจเรียกร้องเอารางวัลจากบุคคลผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้น
เป็นจำนวนร้อยละสิบแห่งค่าทรัพย์สินภายในราคาสามหมื่นบาทและถ้าราคาสูงกว่านั้นขึ้นไปให้
คิดให้อีกร้อยละห้าในจำนวนที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ส่งมอบทรัพย์สินแก่
เจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น ให้เสียเงินอีกร้อยละสองครึ่งแห่งค่าทรัพย์สินเป็น
ค่าธรรมเนียมแก่ทบวงการนั้นๆ เพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากรางวัลซึ่งให้แก่ผู้เก็บได้ แต่
ค่าธรรมเนียมนี้ให้จำกัดไว้ไม่เกินหนึ่งพันบาท
	ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติในมาตราก่อนไซร้ ท่านว่าผู้นั้น
ไม่มีสิทธิจะรับรางวัล
	“วรรคหนึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1325 ถ้าผู้เก็บได้ซึ่งทรัพย์สินหายได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติ มาตรา 1323 แล้ว และผู้มีสิทธิจะ
รับทรัพย์สินนั้นมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เก็บได้ไซร้ ท่านว่ากรรมสิทธิ์ตกแก่ผู้เก็บได้
	แต่ถ้าทรัพย์สินซึ่งไม่มีผู้เรียกเอานั้นเป็นโบราณวัตถุไซร้กรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินนั้นตกแก่
แผ่นดิน  แต่ผู้เก็บได้มีสิทธิจะได้รับรางวัลร้อยละสิบแห่งค่าทรัพย์สินนั้น
	มาตรา 1326 การเก็บได้ซึ่งทรัพย์สินอันตกหรือทิ้งทะเลหรือทางน้ำหรือน้ำซัดขึ้นฝั่งนั้น ท่านให้บังคับ
ตามกฎหมายและกฎข้อบังคับว่าด้วยการนั้น
	มาตรา 1327 ภายในบังคับแห่งกฎหมายอาญา  กรรมสิทธิ์แห่งสิ่งใดๆ ซึ่งได้ใช้ในการกระทำผิด หรือ
ได้มาโดยการกระทำผิด หรือเกี่ยวกับการกระทำผิดโดยประการอื่น และได้ส่งไว้ในความรักษาของ
กรมในรัฐบาลนั้น  ท่านว่าตกเป็นของแผ่นดิน ถ้าเจ้าของมิได้เรียกเอาภายในหนึ่งปีนับแต่วันส่ง
หรือถ้าได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้วนับแต่วันที่คำพิพากษาถึงที่สุด  แต่ถ้าไม่ทราบตัวเจ้าของ
ท่านให้ผ่อนเวลาออกไปเป็นห้าปี
	ถ้าทรัพย์สินเป็นของเสียง่าย หรือถ้าหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงความเสียหาย หรือค่าใช้
จ่ายจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สินนั้นไซร้  ท่านว่ากรมในรัฐบาลจะจัดให้เอาออกขายทอดตลาด
ก่อนถึงกำหนดก็ได้  แต่ก่อนที่จะขายให้จัดการตามควรเพื่อบันทึกรายการอันเป็นเครื่องให้บุคคล
ผู้มีสิทธิจะรับทรัพย์สินนั้นอาจทราบว่าเป็นทรัพย์สินของตนและพิสูจน์สิทธิได้  เมื่อขายแล้วได้เงิน
เป็นจำนวนสุทธิเท่าใดให้ถือไว้แทนตัวทรัพย์สิน
	มาตรา 1328 สังหาริมทรัพย์มีค่าซึ่งซ่อนหรือฝังไว้นั้น ถ้ามีผู้เก็บได้โดยพฤติการณ์ซึ่งไม่มีผู้ใดสามารถ
อ้างว่าเป็นเจ้าของได้ ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของแผ่นดิน ผู้เก็บได้ต้องส่งมอบทรัพย์นั้นแก่เจ้าพนักงาน
ตำรวจหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่น แล้วมีสิทธิจะได้รางวัลหนึ่งในสามแห่งค่าทรัพย์นั้น
	“แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1329 สิทธิของบุคคลผู้ได้มาซึ่งทรัพย์สินโดยมีค่าตอบแทนและโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไป
ถึงแม้ว่าผู้โอนทรัพย์สินให้จะได้ทรัพย์สินนั้นมาโดยนิติกรรมอันเป็นโมฆียะ และนิติกรรมนั้นได้ถูก
บอกล้างภายหลัง
	มาตรา 1330 สิทธิของบุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินโดยสุจริตในการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาล หรือคำสั่ง
เจ้าพนักงานรักษาทรัพย์ในคดีล้มละลายนั้น  ท่านว่ามิเสียไป ถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์
สินนั้นมิใช่ของจำเลย หรือลูกหนี้โดยคำพิพากษา หรือผู้ล้มละลาย
	มาตรา 1331 สิทธิของบุคคลผู้ได้เงินตรามาโดยสุจริตนั้น ท่านว่ามิเสียไปถึงแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้
ว่าเงินนั้นมิใช่ของบุคคลซึ่งได้โอนให้มา
	มาตรา 1332 บุคคลผู้ซื้อทรัพย์สินมาโดยสุจริตในการขายทอดตลาดหรือในท้องตลาด  หรือจากพ่อค้า
ซึ่งขายของชนิดนั้น ไม่จำต้องคืนให้แก่เจ้าของแท้จริง เว้นแต่เจ้าของจะชดใช้ราคาที่ซื้อมา
	มาตรา 1333 ท่านว่ากรรมสิทธิ์นั้น  อาจได้มาโดยอายุความตามที่บัญญัติไว้ใน ลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้
	มาตรา 1334 ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืน หรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดิน
โดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดินนั้น  ท่านว่าบุคคลอาจได้มาตามกฎหมายที่ดิน

	หมวด 2
	แดนแห่งกรรมสิทธิ์ และการใช้กรรมสิทธิ์

	มาตรา 1335 ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติในประมวลกฎหมายนี้ หรือกฎหมายอื่น ท่านว่าแดนแห่ง
กรรมสิทธิ์ที่ดินนั้นกินทั้งเหนือพ้นพื้นดินและใต้พื้นดินด้วย
	มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย  เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตน
และได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคล
ผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบ
ด้วยกฎหมาย
	มาตรา 1337 บุคคลใดใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือ
เดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพ
และตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบไซร้  ท่านว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีสิทธิจะ
ปฏิบัติการเพื่อยังความเสียหายหรือเดือดร้อนนั้นให้สิ้นไป  ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิที่จะเรียกเอาค่าทดแทน
	มาตรา 1338 ข้อจำกัดสิทธิแห่งเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้นั้น ท่านว่าไม่จำต้อง
จดทะเบียน
	ข้อจำกัดเช่นนี้  ท่านว่าจะถอนหรือแก้ให้หย่อนลงโดยนิติกรรมไม่ได้ นอกจากจะได้ทำ
นิติกรรมเป็นหนังสือและจดทะเบียนกับพนักงานเจ้าหน้าที่
	ข้อจำกัดซึ่งกำหนดไว้เพื่อสาธารณประโยชน์นั้น ท่านว่าจะถอนหรือแก้ให้หย่อนลงมิได้เลย
	มาตรา 1339 เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลตามธรรมดาจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตน
	น้ำไหลตามธรรมดามายังที่ดินต่ำ และจำเป็นแก่ที่ดินนั้นไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินซึ่งอยู่สูง
กว่าจะกันเอาไว้ได้เพียงที่จำเป็นแก่ที่ดินของตน
	มาตรา 1340 เจ้าของที่ดินจำต้องรับน้ำซึ่งไหลเพราะระบายจากที่ดินสูงมาในที่ดินของตน  ถ้าก่อนที่
ระบายนั้นน้ำได้ไหลเข้ามาในที่ดินของตนตามธรรมดาอยู่แล้ว
	ถ้าได้รับความเสียหายเพราะการระบายน้ำ ท่านว่าเจ้าของที่ดินต่ำอาจเรียกร้องให้เจ้าของ
ที่ดินสูงทำทางระบายน้ำและออกค่าใช้จ่ายในการนั้นเพื่อระบายน้ำไปให้ตลอดที่ดินต่ำจนถึงทางน้ำ
หรือท่อน้ำสาธารณะ ทั้งนี้ไม่ลบล้างสิทธิแห่งเจ้าของที่ดินต่ำในอันจะเรียกเอาค่าทดแทน
	มาตรา 1341 ท่านมิให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ทำหลังคาหรือการปลูกสร้างอย่างอื่นซึ่งทำให้น้ำฝนตก
ลงยังทรัพย์สินซึ่งอยู่ติดต่อกัน
	มาตรา 1342 บ่อ สระ หลุมรับน้ำโสโครก หรือหลุมรับปุ๋ยหรือขยะมูลฝอยนั้น  ท่านว่าจะขุดในระยะ
สองเมตรจากแนวเขตที่ดินไม่ได้
	คูหรือการขุดร่องเพื่อวางท่อน้ำใต้ดินหรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันนั้น ท่านว่าจะทำใกล้แนวเขตที่
ดินกว่าครึ่งหนึ่งแห่งส่วนลึกของคูหรือร่องนั้นไม่ได้  แต่ถ้าทำห่างแนวเขตหนึ่งเมตรหรือกว่านั้น
ท่านว่าทำได้
	ถ้ากระทำการดั่งกล่าวไว้ในสองวรรคก่อนใกล้แนวเขตไซร้ ท่านว่าต้องใช้ความ
ระมัดระวังตามควรเพื่อป้องกันมิให้ดินหรือทรายพังลง หรือมิให้น้ำหรือสิ่งโสโครกซึมเข้าไป
	มาตรา 1343 ห้ามมิให้ขุดดินหรือบรรทุกน้ำหนักบนที่ดินเกินควรจนอาจเป็นเหตุอันตรายแก่ความอยู่
มั่นแห่งที่ดินติดต่อ เว้นแต่จะจัดการเพียงพอเพื่อป้องกันความเสียหาย
	มาตรา 1344 รั้ว กำแพง รั้วต้นไม้ คูซึ่งหมายเขตที่ดินนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดิน
ทั้งสองข้างเป็นเจ้าของรวมกัน
	มาตรา 1345 เมื่อรั้วต้นไม้ หรือคูซึ่งมิได้ใช้เป็นทางระบายน้ำเป็นของเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างรวมกัน
ท่านว่าเจ้าของข้างใดข้างหนึ่งมีสิทธิที่จะตัดรั้วต้นไม้ หรือถมคูนั้นได้ถึงแนวเขตที่ดินของตน แต่ต้อง
ก่อกำแพง  หรือทำรั้วตามแนวเขตนั้น
	มาตรา 1346 ถ้ามีต้นไม้อยู่บนแนวเขตที่ดิน  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของที่ดินทั้งสองข้างเป็น
เจ้าของต้นไม้รวมกัน  ดอกผลเป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนเสมอกัน และถ้าตัดต้นลงไซร้ ไม้นั้น
เป็นของเจ้าของที่ดินคนละส่วนดุจกัน
	เจ้าของแต่ละฝ่ายจะต้องการให้ขุดหรือตัดต้นไม้ก็ได้ ค่าใช้จ่ายในการนั้นต้องเสียเท่ากัน
ทั้งสองฝ่าย  แต่ถ้าเจ้าของอีกฝ่ายหนึ่งสละสิทธิในต้นไม้ไซร้ ฝ่ายที่ต้องการขุดหรือตัดต้องเสียค่า
ใช้จ่ายฝ่ายเดียว  ถ้าต้นไม้นั้นเป็นหลักเขตและจะหาหลักเขตอื่นไม่เหมาะเหมือน ท่านว่าฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายใดจะต้องการให้ขุดหรือตัดไม่ได้
	มาตรา 1347 เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกเข้ามาจากที่ดินติดต่อและเอาไว้เสีย ถ้ากิ่งไม้ยื่นล้ำเข้ามา
เมื่อเจ้าของที่ดินได้บอกผู้ครอบครองที่ดินติดต่อให้ตัดภายในเวลาอันสมควรแล้ว แต่ผู้นั้นไม่ตัด
ท่านว่าเจ้าของที่ดินตัดเอาเสียได้
	มาตรา 1348 ดอกผลแห่งต้นไม้ที่หล่นตามธรรมดาลงในที่ดินติดต่อแปลงใด ท่านให้สันนิษฐานไว้
ก่อนว่าเป็นดอกผลของที่ดินแปลงนั้น
	มาตรา 1349 ที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ไซร้  ท่านว่า
เจ้าของที่ดินแปลงนั้นจะผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้
	ที่ดินแปลงใดมีทางออกได้ แต่เมื่อต้องข้ามสระ บึง หรือทะเล หรือมีที่ชันอันระดับที่ดิน
กับทางสาธารณะสูงกว่ากันมากไซร้ ท่านว่าให้ใช้ความในวรรคต้นบังคับ
	ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้
คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดที่จะเป็นได้  ถ้าจำเป็นผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนน
เป็นทางผ่านก็ได้
	ผู้มีสิทธิจะผ่านต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ล้อมอยู่ เพื่อความเสียหายอันเกิด
แต่เหตุที่มีทางผ่านนั้น  ค่าทดแทนนั้นนอกจากค่าเสียหายเพราะสร้างถนน ท่านว่าจะกำหนดเป็น
เงินรายปีก็ได้
	มาตรา 1350 ถ้าที่ดินแบ่งแยกหรือแบ่งโอนกันเป็นเหตุให้แปลงหนึ่งไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ
ไซร้  ท่านว่าเจ้าของที่ดินแปลงนั้นมีสิทธิเรียกร้องเอาทางเดินตามมาตราก่อนได้เฉพาะบนที่ดิน
แปลงที่ได้แบ่งแยก หรือแบ่งโอนกัน และไม่ต้องเสียค่าทดแทน
	มาตรา 1351 เจ้าของที่ดินเมื่อบอกล่วงหน้าตามสมควรแล้ว อาจใช้ที่ดินติดต่อเพียงที่จำเป็นในการ
ปลูกสร้างหรือซ่อมแซมรั้ว กำแพงหรือโรงเรือน ตรงหรือใกล้แนวเขตของตน  แต่จะเข้าไปในเรือน
ที่อยู่ของเพื่อนบ้านข้างเคียงไม่ได้ เว้นแต่ได้รับความยินยอม
	ถ้าได้ก่อความเสียหายให้เกิดขึ้นไซร้ ท่านว่าเพื่อนบ้านข้างเคียงจะเรียกเอาค่าทดแทนก็ได้
	มาตรา 1352 ท่านว่าถ้าเจ้าของที่ดินได้รับค่าทดแทนตามสมควรแล้วต้องยอมให้ผู้อื่นวางท่อน้ำ
ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้า หรือสิ่งอื่นซึ่งคล้ายกันผ่านที่ดินของตน เพื่อประโยชน์แก่ที่ดินติดต่อ
ซึ่งถ้าไม่ยอมให้ผ่านก็ไม่มีทางจะวางได้ หรือถ้าจะวางได้ก็เปลืองเงินมากเกินควร แต่เจ้าของที่ดิน
อาจให้ยกเอาประโยชน์ของตนขึ้นพิจารณาด้วย
	เมื่อมีเหตุผลพิเศษ ถ้าจะต้องวางเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าเจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ซื้อที่ดิน
ของตนบางส่วนตามควรที่จะใช้ในการนั้น โดยราคาคุ้มค่าที่ดินและค่าทดแทนความเสียหาย
ซึ่งอาจมีเพราะการขายนั้นด้วย
	ถ้าพฤติการณ์เปลี่ยนไป  เจ้าของที่ดินอาจเรียกให้ย้ายถอนสิ่งที่วางนั้นไปไว้ ณ ส่วนอื่น
แห่งที่ดินของตนตามแต่จะเหมาะแก่ประโยชน์แห่งเจ้าของที่ดิน
	ค่าย้ายถอนนั้น เจ้าของที่ดินติดต่อเป็นผู้เสีย แต่ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษไซร้ ท่านว่าจะให้
เจ้าของที่ดินอีกฝ่ายหนึ่งช่วยเสียค่าย้ายถอนตามส่วนอันควรก็ได้
	มาตรา 1353 บุคคลอาจพาปศุสัตว์ของตนผ่านหรือเข้าไปในที่ดินของผู้อื่นซึ่งมิได้กั้นเพื่อไปเลี้ยง และ
อาจเข้าไปเอาน้ำในบ่อหรือสระในที่เช่นว่านั้นมาใช้ได้  เว้นแต่ที่ดินเป็นที่เพาะปลูก หรือเตรียมเพื่อ
เพาะปลูก หว่าน หรือมีธัญชาติขึ้นอยู่แล้ว  แต่ท่านว่าเจ้าของที่ดินย่อมห้ามได้เสมอ
	มาตรา 1354 ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้และถ้าเจ้าของไม่ห้าม  บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า
ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผัก เห็ด และสิ่งเช่นกัน
	มาตรา 1355 เจ้าของที่ดินริมทางน้ำ หรือมีทางน้ำผ่าน ไม่มีสิทธิจะชักเอาน้ำไว้เกินกว่าที่จำเป็นแก่
ประโยชน์ของตนตามควรให้เป็นเหตุเสื่อมเสียแก่ที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ตามทางน้ำนั้น

	หมวด 3
	กรรมสิทธิ์รวม

	มาตรา 1356 ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ  
เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 1357 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้เป็นเจ้าของรวมกันมีส่วนเท่ากัน
	มาตรา 1358 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน
	ในเรื่องจัดการตามธรรมดา ท่านว่าพึงตกลงโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม  แต่
เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาได้  เว้นแต่ฝ่ายข้างมากได้
ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น  แต่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอ
	ในเรื่องจัดการอันเป็นสารสำคัญ ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม
และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์สิน
	การเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์นั้น ท่านว่าจะตกลงกันได้ก็แต่เมื่อเจ้าของรวมเห็นชอบ
ทุกคน
	มาตรา 1359 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อ
ต่อสู้บุคคลภายนอก แต่ในการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนนั้น ท่านว่าต้องอยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขที่
ระบุไว้ใน มาตรา 302 แห่งประมวลกฎหมายนี้
	มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวม
คนอื่นๆ
	ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มี
ในทรัพย์สินนั้น
	มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิด
ภารติดพันก็ได้
	แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันได้ ก็แต่ด้วย
ความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
	ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภารติดพันทรัพย์สินโดยมิได้
รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่
ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์
	มาตรา 1362 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จำต้องช่วยเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตามส่วนของตนในการออก
ค่าจัดการ ค่าภาษีอากร และค่ารักษากับทั้งค่าใช้ทรัพย์สินรวมกันด้วย
	มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้  เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่
หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
	สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
	ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
	มาตรา 1364 การแบ่งทรัพย์สินพึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม  
หรือโดยขายทรัพย์สินแล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน
	ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่าจะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ
ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็
ได้  ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากัน
ระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้
	มาตรา 1365 ถ้าเจ้าของรวมต้องรับผิดร่วมกันต่อบุคคลภายนอกในหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวม 
หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมดั่งว่านั้นก็ดี  ในเวลาแบ่ง เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ จะเรียกให้
เอาทรัพย์สินรวมนั้นชำระหนี้เสียก่อน หรือให้เอาเป็นประกันก็ได้
	ถ้าเจ้าของรวมคนหนึ่งต้องรับผิดต่อเจ้าของรวมคนอื่นในหนี้ซึ่งเกิดจากการเป็นเจ้าของ
รวม หรือในหนี้ซึ่งได้ก่อขึ้นใหม่เพื่อชำระหนี้เดิมดั่งว่านั้นก็ดี ในเวลาแบ่ง เจ้าของรวมผู้เป็นเจ้าหนี้
จะเรียกให้เอาส่วนซึ่งจะได้แก่ลูกหนี้ของตนในทรัพย์สินรวมนั้นชำระหนี้เสียก่อน หรือให้เอาเป็น
ประกันก็ได้
	สิทธิที่กล่าวมาข้างต้นนี้อาจใช้แก่ผู้รับโอน หรือผู้สืบกรรมสิทธิ์ในส่วนของเจ้าของรวมนั้น
	ถ้าจำเป็นจะต้องขายทรัพย์สินรวมไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา ก่อนมาใช้บังคับ
	มาตรา 1366 เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ต้องรับผิดตามส่วนของตนเช่นเดียวกับผู้ขายในทรัพย์สินซึ่งเจ้า
ของรวมคนอื่นๆ ได้รับไปในการแบ่ง

	ลักษณะ 3
	ครอบครอง

	มาตรา 1367 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินโดยเจตนาจะยึดถือเพื่อตน  ท่านว่าบุคคลนั้นได้ซึ่งสิทธิครอบครอง
	มาตรา 1368 บุคคลอาจได้มาซึ่งสิทธิครอบครองโดยผู้อื่นยึดถือไว้ให้
	มาตรา 1369 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินไว้  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลนั้นยึดถือเพื่อตน
	มาตรา 1370 ผู้ครอบครองนั้น  ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าครอบครองโดยสุจริต โดยความสงบและ
โดยเปิดเผย
	มาตรา 1371 ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลใดครอบครองทรัพย์สินเดียวกันสองคราว ท่านให้สันนิษฐานไว้
ก่อนว่าบุคคลนั้นได้ครอบครองติดต่อกันตลอดเวลา
	มาตรา 1372 สิทธิซึ่งผู้ครอบครองใช้ในทรัพย์สินที่ครอบครองนั้น ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสิทธิ
ซึ่งผู้ครอบครองมีตามกฎหมาย
	มาตรา 1373 ถ้าทรัพย์สินเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
บุคคลผู้มีชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครอง
	มาตรา 1374 ถ้าผู้ครอบครองถูกรบกวนในการครอบครองทรัพย์สินเพราะมีผู้สอดเข้าเกี่ยวข้องโดย
มิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะให้ปลดเปลื้องการรบกวนนั้นได้  ถ้าเป็นที่
น่าวิตกว่าจะยังมีการรบกวนอีก ผู้ครอบครองจะขอต่อศาลให้สั่งห้ามก็ได้
	การฟ้องคดีเพื่อปลดเปลื้องการรบกวนนั้น  ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูก
รบกวน
	มาตรา 1375 ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครอง
มีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครอง  เว้นแต่อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้
เรียกคืนจากผู้ครอบครองได้
	การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปีหนึ่งนับแต่เวลา
ถูกแย่งการครอบครอง
	มาตรา 1376 ถ้าจะต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่บุคคลผู้มีสิทธิเอาคืนไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412
ถึง 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1377 ถ้าผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครองหรือไม่ยึดถือทรัพย์สินต่อไปไซร้ การครอบครอง
ย่อมสุดสิ้นลง
	ถ้าเหตุอันมีสภาพเป็นเหตุชั่วคราวมีมาขัดขวางมิให้ผู้ครอบครองยึดถือทรัพย์สินไซร้
ท่านว่าการครอบครองไม่สุดสิ้นลง
	มาตรา 1378 การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้นย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สินที่ครอบครอง
	มาตรา 1379 ถ้าผู้รับโอนหรือผู้แทนยึดถือทรัพย์สินอยู่แล้ว ท่านว่าการโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำ
เพียงแสดงเจตนาก็ได้
	มาตรา 1380 การโอนไปซึ่งการครอบครองย่อมเป็นผลแม้ผู้โอนยังยึดถือทรัพย์สินอยู่  ถ้าผู้โอนแสดง
เจตนาว่าต่อไปจะยึดถือทรัพย์สินนั้นแทนผู้รับโอน
	ถ้าทรัพย์สินนั้นผู้แทนของผู้โอนยึดถืออยู่  การโอนไปซึ่งการครอบครองจะทำโดยผู้โอน
สั่งผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทนผู้รับโอนก็ได้
	มาตรา 1381 บุคคลใดยึดถือทรัพย์สินอยู่ในฐานะเป็นผู้แทนผู้ครอบครอง บุคคลนั้นจะเปลี่ยนลักษณะ
แห่งการยึดถือได้ก็แต่โดยบอกกล่าวไปยังผู้ครอบครองว่าไม่เจตนาจะยึดถือทรัพย์สินแทน
ผู้ครอบครองต่อไป หรือตนเองเป็นผู้ครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอก
	มาตรา 1382 บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็น
เจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้
ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปีไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์
	มาตรา 1383 ทรัพย์สินอันได้มาโดยการกระทำผิดนั้น ท่านว่าผู้กระทำผิดหรือผู้รับโอนไม่สุจริตจะได้
กรรมสิทธิ์โดยอายุความก็แต่เมื่อพ้นกำหนดอายุความอาญา หรือพ้นเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา
ก่อน ถ้ากำหนดไหนยาวกว่า ท่านให้ใช้กำหนดนั้น
	มาตรา 1384 ถ้าผู้ครอบครองขาดยึดถือทรัพย์สินโดยไม่สมัคร และได้คืนภายในเวลาปีหนึ่งนับตั้งแต่
วันขาดยึดถือหรือได้คืนโดยฟ้องคดีภายในกำหนดนั้นไซร้  ท่านมิให้ถือว่าการครอบครองสะดุดหยุดลง
	มาตรา 1385 ถ้าโอนการครอบครองแก่กัน ผู้รับโอนจะนับเวลาซึ่งผู้โอนครอบครองอยู่ก่อนนั้นรวมเข้ากับ
เวลาครอบครองของตนก็ได้ ถ้าผู้รับโอนนับรวมเช่นนั้น และถ้ามีข้อบกพร่องในระหว่างครอบครอง
ของผู้โอนไซร้  ท่านว่าข้อบกพร่องนั้นอาจยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้รับโอนได้
	มาตรา 1386 บทบัญญัติว่าด้วยอายุความในประมวลกฎหมายนี้  ท่านให้ใช้บังคับในเรื่องอายุความได้
สิทธิอันกล่าวไว้ในลักษณะนี้โดยอนุโลม

	ลักษณะ 4
	ภารจำยอม

	มาตรา 1387 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารจำยอมอันเห็นเหตุให้เจ้าของต้องยอมรับกรรม
บางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนหรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์
ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่น
	มาตรา 1388 เจ้าของสามยทรัพย์ไม่มีสิทธิทำการเปลี่ยนแปลงในภารยทรัพย์หรือในสามยทรัพย์ซึ่งทำ
ให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์
	มาตรา 1389 ถ้าความต้องการแห่งเจ้าของสามยทรัพย์เปลี่ยนแปลงไป ท่านว่าความเปลี่ยนแปลงนั้น
ไม่ให้สิทธิแก่เจ้าของสามยทรัพย์ที่จะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ได้
	มาตรา 1390 ท่านมิให้เจ้าของภารยทรัพย์ประกอบกรรมใดๆ อันจะเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอม
ลดไปหรือเสื่อมความสะดวก
	มาตรา 1391 เจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิทำการทุกอย่างอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภารจำยอม แต่ต้อง
เสียค่าใช้จ่ายของตนเอง ในการนี้เจ้าของสามยทรัพย์จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ภารยทรัพย์ได้
ก็แต่น้อยที่สุดตามพฤติการณ์
	เจ้าของสามยทรัพย์ต้องเสียค่าใช้จ่ายของตนเองรักษาซ่อมแซมการที่ได้ทำไปแล้วให้
เป็นไปด้วยดี  แต่ถ้าเจ้าของภารยทรัพย์ได้รับประโยชน์ด้วยไซร้ ท่านว่าต้องออกค่าใช้จ่ายตาม
ส่วนแห่งประโยชน์ที่ได้รับ
	มาตรา 1392 ถ้าภารจำยอมแตะต้องเพียงส่วนหนึ่งแห่งภารยทรัพย์  เจ้าของทรัพย์นั้นอาจเรียกให้ย้าย
ไปยังส่วนอื่นก็ได้ แต่ต้องแสดงได้ว่าการย้ายนั้นเป็นประโยชน์แก่ตนและรับเสียค่าใช้จ่าย  ทั้งนี้
ต้องไม่ทำให้ความสะดวกของเจ้าของสามยทรัพย์ลดน้อยลง
	มาตรา 1393 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภารจำยอมไซร้ ท่านว่าภารจำ
ยอมย่อมติดไปกับสามยทรัพย์ซึ่งได้จำหน่ายหรือตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่น
	ท่านว่าจะจำหน่ายหรือทำให้ภารจำยอมตกไปในบังคับแห่งสิทธิอื่นต่างหากจาก
สามยทรัพย์ไม่ได้
	มาตรา 1394 ถ้ามีการแบ่งแยกภารยทรัพย์  ท่านว่าภารจำยอมยังคงมีอยู่ทุกส่วนที่แยกออก แต่ถ้าใน
ส่วนใดภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการ ท่านว่าเจ้าของส่วนนั้นจะเรียกให้พ้นจาก
ภารจำยอมก็ได้
	มาตรา 1395 ถ้ามีการแบ่งแยกสามยทรัพย์ ท่านว่าภารจำยอมยังคงมีอยู่เพื่อประโยชน์แก่ทุกส่วนที่
แยกออกนั้น แต่ถ้าภารจำยอมนั้นไม่ใช้และใช้ไม่ได้ตามรูปการเพื่อประโยชน์แก่ส่วนใดไซร้  ท่านว่า
เจ้าของภารยทรัพย์จะเรียกให้พ้นจากภารจำยอมอันเกี่ยวกับทรัพย์ส่วนนั้นก็ได้
	มาตรา 1396 ภารจำยอมซึ่งเจ้าของรวมแห่งสามยทรัพย์คนหนึ่งได้มาหรือใช้อยู่นั้น ท่านให้ถือว่า
เจ้าของรวมได้มาหรือใช้อยู่ด้วยกันทุกคน
	มาตรา 1397 ถ้าภารยทรัพย์หรือสามยทรัพย์สลายไปทั้งหมด ท่านว่าภารจำยอมสิ้นไป
	มาตรา 1398 ถ้าภารยทรัพย์และสามยทรัพย์ตกเป็นของเจ้าของคนเดียวกัน ท่านว่าเจ้าของจะให้
เพิกถอนการจดทะเบียนภารจำยอมก็ได้  แต่ถ้ายังมิได้เพิกถอนทะเบียนไซร้ ภารจำยอมยังคงมีอยู่
ในส่วนบุคคลภายนอก
	มาตรา 1399 ภารจำยอมนั้น ถ้ามิได้ใช้สิบปี  ท่านว่าย่อมสิ้นไป
	มาตรา 1400 ถ้าภารจำยอมหมดประโยชน์แก่สามยทรัพย์ไซร้ ท่านว่าภารจำยอมนั้นสิ้นไป แต่ถ้า
ความเป็นไปมีทางให้กลับใช้ภารจำยอมได้ไซร้  ท่านว่าภารจำยอมนั้นกลับมีขึ้นอีกแต่ต้องยังไม่
พ้นอายุความที่ระบุไว้ในมาตราก่อน
	ถ้าภารจำยอมยังเป็นประโยชน์แก่สามยทรัพย์อยู่บ้าง  แต่เมื่อเทียบกับภาระอันตกอยู่
แก่ภารยทรัพย์แล้วประโยชน์นั้นน้อยนักไซร้ ท่านว่าเจ้าของภารยทรัพย์จะขอให้พ้นจากภารจำยอม
ทั้งหมด หรือแต่บางส่วนก็ได้ แต่ต้องใช้ค่าทดแทน
	มาตรา 1401 ภารจำยอมอาจได้มาโดยอายุความ  ท่านให้นำบทบัญญัติว่าด้วยอายุความได้สิทธิอัน
กล่าวไว้ใน ลักษณะ 3 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม

	ลักษณะ 5
	อาศัย

	มาตรา 1402 บุคคลใดได้รับสิทธิอาศัยในโรงเรือน  บุคคลนั้นย่อมมีสิทธิอยู่ในโรงเรือนนั้นโดยไม่ต้อง
เสียค่าเช่า
	มาตรา 1403 สิทธิอาศัยนั้น  ท่านว่าจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้อาศัยก็ได้
	ถ้าไม่มีกำหนดเวลา  ท่านว่าสิทธินั้นจะเลิกเสียในเวลาใดๆ ก็ได้  แต่ต้องบอกล่วงหน้า
แก่ผู้อาศัยตามสมควร
	ถ้าให้สิทธิอาศัยโดยมีกำหนดเวลา  กำหนดนั้นท่านมิให้เกินสามสิบปี  ถ้ากำหนดไว้
นานกว่านั้น ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปีการให้สิทธิอาศัยจะต่ออายุก็ได้ แต่ต้องกำหนดเวลาไม่เกิน
สามสิบปีนับแต่วันทำต่อ
	มาตรา 1404 สิทธิอาศัยนั้นจะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก
	มาตรา 1405 สิทธิอาศัยนั้นถ้ามิได้จำกัดไว้ชัดแจ้งว่าให้เพื่อประโยชน์แก่ผู้อาศัยเฉพาะตัวไซร้ บุคคล
ในครอบครัวและในครัวเรือนของผู้อาศัยจะอยู่ด้วยก็ได้
	มาตรา 1406 ถ้าผู้ให้อาศัยมิได้ห้ามไว้ชัดแจ้ง ผู้อาศัยจะเก็บเอาดอกผลธรรมดาหรือผลแห่งที่ดินมาใช้
เพียงที่จำเป็นแก่ความต้องการของครัวเรือนก็ได้
	มาตรา 1407 ผู้ให้อาศัยไม่จำต้องบำรุงรักษาทรัพย์สินให้อยู่ในความซ่อมแซมอันดี
	ผู้อาศัยจะเรียกให้ชดใช้ค่าใช้จ่ายซึ่งได้ออกไปในการทำให้ทรัพย์สินดีขึ้นหาได้ไม่
	มาตรา 1408 เมื่อสิทธิอาศัยสิ้นลง ผู้อาศัยต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่ผู้ให้อาศัย
	มาตรา 1409 ท่านให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยหน้าที่และความรับผิดของผู้เช่าอัน
กล่าวไว้ใน มาตรา 552 ถึง 555  มาตรา 558  562  และ 563  มาใช้บังคับโดยอนุโลม

	ลักษณะ 6
	สิทธิเหนือพื้นดิน

	มาตรา 1410 เจ้าของที่ดินอาจก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินเป็นคุณแก่บุคคลอื่นโดยให้บุคคลนั้นมีสิทธิ
เป็นเจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งเพาะปลูก บนดินหรือใต้ดินนั้น
	มาตรา 1411 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินไซร้ ท่านว่าสิทธินั้น
อาจโอนได้และรับมรดกกันได้
	มาตรา 1412 สิทธิเหนือพื้นดินนั้นจะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตเจ้าของที่ดิน หรือ
ตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินนั้นก็ได้
	ถ้าก่อให้เกิดสิทธิเหนือพื้นดินโดยมีกำหนดเวลาไซร้ ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403
วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1413 ถ้าสิทธิเหนือพื้นดินนั้นไม่มีกำหนดเวลาไซร้ ท่านว่าคู่กรณีฝ่ายใดจะบอกเลิกเสียใน
เวลาใดก็ได้ แต่ต้องบอกล่วงหน้าแก่อีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร  ถ้ามีค่าเช่าซึ่งจำต้องให้แก่กันไซร้
ท่านว่าต้องบอกล่วงหน้าปีหนึ่ง หรือให้ค่าเช่าปีหนึ่ง
	มาตรา 1414 ถ้าผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินละเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเป็นสารสำคัญซึ่งระบุไว้ใน
นิติกรรมก่อตั้งสิทธินั้นก็ดี หรือถ้ามีค่าเช่าซึ่งจะต้องให้แก่กัน แต่ผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินละเลย
ไม่ชำระถึงสองปีติดๆ กันก็ดี ท่านว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสิทธิเหนือพื้นดินก็ได้
	มาตรา 1415 สิทธิเหนือพื้นดินไม่สิ้นไปโดยเหตุที่โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือสิ่งเพาะปลูกสลายไป แม้
การสลายนั้นจะเป็นเพราะเหตุสุดวิสัย
	มาตรา 1416 เมื่อสิทธิเหนือพื้นดินสิ้นไป  ผู้ทรงสิทธิจะรื้อถอนโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง สิ่งเพาะปลูกของ
ตนไปก็ได้  แต่ต้องทำให้ที่ดินเป็นตามเดิม
	แต่ถ้าเจ้าของที่ดินจะไม่ยอมให้รื้อถอนไป และบอกเจตนาจะซื้อตามราคาท้องตลาดไซร้
ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเหนือพื้นดินจะไม่ยอมขายไม่ได้ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร

	ลักษณะ 7
	สิทธิเก็บกิน

	มาตรา 1417 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในบังคับสิทธิเก็บกินอันเป็นเหตุให้ผู้ทรงสิทธินั้นมีสิทธิ
ครอบครอง ใช้ และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินนั้น
	ผู้ทรงสิทธิเก็บกินมีอำนาจจัดการทรัพย์สิน
	ผู้ทรงสิทธิเก็บกินในป่าไม้ เหมืองแร่ หรือที่ขุดหิน มีสิทธิทำการแสวงประโยชน์จากป่าไม้
เหมืองแร่ หรือที่ขุดหินนั้น
	มาตรา 1418 สิทธิเก็บกินนั้น จะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตแห่งผู้ทรงสิทธิก็ได้
	ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสิทธิเก็บกินมีอยู่ตลอดชีวิตผู้ทรงสิทธิ
	ถ้ามีกำหนดเวลา  ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403 วรรค 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินถึงแก่ความตาย ท่านว่าสิทธินั้นย่อมสิ้นไปเสมอ
	มาตรา 1419 ถ้าทรัพย์สินสลายไปโดยไม่ได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้าของไม่จำต้องทำให้คืนดี แต่ถ้า
เจ้าของทำให้ทรัพย์สินคืนดีขึ้นเพียงใด ท่านว่าสิทธิเก็บกินก็กลับมีขึ้นเพียงนั้น
	ถ้าได้ค่าทดแทนไซร้ ท่านว่าเจ้าของหรือผู้ทรงสิทธิเก็บกิน ต้องทำให้ทรัพย์สินคืนดีเพียงที่
สามารถทำได้ตามจำนวนเงินค่าทดแทนที่ได้รับ และสิทธิเก็บกินกลับมีขึ้นเพียงที่ทรัพย์สินกลับคืนดี
แต่ถ้าพ้นวิสัยที่จะทำให้กลับคืนดีได้  สิทธิเก็บกินก็เป็นอันสิ้นไปและค่าทดแทนนั้นต้องแบ่งกัน
ระหว่างเจ้าของทรัพย์สิน และผู้ทรงสิทธิเก็บกินตามส่วนแห่งความเสียหายของตน
	วิธีนี้ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมถึงกรณีซึ่งทรัพย์สินถูกบังคับซื้อ และกรณีซึ่งทรัพย์สินสลาย
ไปแต่บางส่วน  หรือการทำให้คืนดีนั้นพ้นวิสัยในบางส่วน
	มาตรา 1420 เมื่อสิทธิเก็บกินสิ้นลง  ผู้ทรงสิทธิต้องส่งทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ
	ถ้าทรัพย์สินสลายไป หรือเสื่อมราคาลง  ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องรับผิด เว้นแต่จะพิสูจน์ได้
ว่าความเสียหายนั้นมิได้เกิดขึ้นเพราะความผิดของตน
	ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินใช้ทรัพย์สินสิ้นเปลืองไปโดยมิชอบ ท่านว่าต้องทำให้มีมาแทน
	ถ้าทรัพย์สินเสื่อมราคาเพราะการใช้ตามควรไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินไม่จำต้องใช้
ค่าทดแทน
	มาตรา 1421 ในการใช้สิทธิเก็บกินนั้น  ผู้ทรงสิทธิต้องรักษาทรัพย์สินเสมอกับที่วิญญูชนพึงรักษา
ทรัพย์สินของตนเอง
	มาตรา 1422 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดสิทธิเก็บกินไซร้ ท่านว่าผู้ทรงสิทธิ
จะโอนการใช้สิทธิของตนให้บุคคลภายนอกก็ได้ ในกรณีเช่นนั้นเจ้าของทรัพย์สินอาจฟ้องร้องผู้รับ
โอนโดยตรง
	มาตรา 1423 เจ้าของทรัพย์สินจะคัดค้านมิให้ใช้ทรัพย์สินในทางอันมิชอบด้วยกฎหมาย หรือมิสมควร
ก็ได้
	ถ้าเจ้าของพิสูจน์ได้ว่าสิทธิของตนตกอยู่ในภยันตราย ท่านว่าจะเรียกให้ผู้ทรงสิทธิเก็บ
กินหาประกันให้ก็ได้ เว้นแต่ในกรณีซึ่งผู้ให้ทรัพย์สินสงวนสิทธิเก็บกินในทรัพย์สินนั้นไว้เพื่อตนเอง
	ถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินละเลยไม่หาประกันมาให้ภายในเวลาอันควร ซึ่งกำหนดให้เพื่อการ
นั้น  หรือถ้าผู้ทรงสิทธิเก็บกินมินำพาต่อคำคัดค้านแห่งเจ้าของ  ยังคงใช้ทรัพย์สินนั้นในทางอันมิ
ชอบด้วยกฎหมาย หรือมิสมควรไซร้  ท่านว่าศาลจะตั้งผู้รักษาทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สินแทนผู้
ทรงสิทธิเก็บกินก็ได้ แต่เมื่อหาประกันมาให้แล้ว ศาลจะถอนผู้รักษาทรัพย์ที่ตั้งขึ้นไว้นั้นก็ได้
	มาตรา 1424 ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้องสงวนภาวะแห่งทรัพย์สินมิให้เปลี่ยนไปในสารสำคัญ กับต้อง
บำรุงรักษาปกติ และซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย
	ถ้าจำเป็นต้องซ่อมแซมใหญ่ หรือมีการสำคัญอันต้องทำเพื่อรักษาทรัพย์สินไซร้  ท่านว่า
ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องแจ้งแก่เจ้าของทรัพย์สินโดยพลัน และต้องยอมให้จัดทำการนั้นๆ ไป
ถ้าเจ้าของทรัพย์สินละเลยเสีย ท่านว่าผู้ทรงสิทธิเก็บกินจะจัดทำการนั้นไปโดยให้เจ้าของทรัพย์สิน
ออกค่าใช้จ่ายก็ได้
	มาตรา 1425 ค่าใช้จ่ายอันเป็นการจรนั้น  ท่านว่าเจ้าของต้องเป็นผู้ออก แต่เพื่อจะออกค่าใช้จ่ายเช่น
ว่านี้ หรือค่าใช้จ่ายตามความในมาตราก่อน เจ้าของจะจำหน่ายทรัพย์สินบางส่วนก็ได้ เว้นแต่ผู้
ทรงสิทธิเก็บกินจะเต็มใจทดรองเงินตามที่จำเป็นโดยไม่คิดดอกเบี้ย
	มาตรา 1426 ในระหว่างที่สิทธิเก็บกินยังมีอยู่ ผู้ทรงสิทธิต้องออกค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพย์สิน
ตลอดจนเสียภาษีอากร กับทั้งต้องใช้ดอกเบี้ยหนี้สินซึ่งติดพันทรัพย์สินนั้น
	มาตรา 1427 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินต้องการ ผู้ทรงสิทธิเก็บกินจำต้องเอาทรัพย์สินประกันวินาศภัยเพื่อ
ประโยชน์แก่เจ้าของทรัพย์สิน และถ้าทรัพย์สินนั้นได้เอาประกันภัยไว้แล้ว ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้อง
ต่อสัญญาประกันนั้นเมื่อถึงคราวต่อ
	ผู้ทรงสิทธิเก็บกินต้องเสียเบี้ยประกันภัยระหว่างที่สิทธิของตนยังมีอยู่
	มาตรา 1428 อันเกี่ยวกับสิทธิเก็บกินในระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับผู้ทรงสิทธิเก็บกิน หรือผู้รับโอนนั้น
ท่านห้ามมิให้ฟ้องเมื่อเกินปีหนึ่งนับแต่วันสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง แต่ในคดีที่เจ้าของทรัพย์สินเป็นโจทก์
นั้น  ถ้าเจ้าของไม่อาจรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลงเมื่อใดท่านให้นับอายุความปีหนึ่งนั้นตั้งแต่เวลาที่
เจ้าของทรัพย์สินได้รู้หรือควรรู้ว่าสิทธิเก็บกินสุดสิ้นลง

	ลักษณะ 8
	ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์

	มาตรา 1429 อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภารติดพันอันเป็นเหตุให้ผู้รับประโยชน์มีสิทธิได้รับ
การชำระหนี้เป็นคราวๆ จากทรัพย์สินนั้น  หรือได้ใช้และถือเอาซึ่งประโยชน์แห่งทรัพย์สินตามที่
ระบุไว้
	มาตรา 1430 ภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์นั้น จะก่อให้เกิดโดยมีกำหนดเวลา หรือตลอดชีวิตแห่ง
ผู้รับประโยชน์ก็ได้
	ถ้าไม่มีกำหนดเวลา ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าภารติดพันในอสังหาริมทรัพย์มีอยู่
ตลอดชีวิตผู้รับประโยชน์
	ถ้ามีกำหนดเวลา  ท่านให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1403 วรรค 3  มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1431 ถ้ามิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในนิติกรรมอันก่อให้เกิดภารติดพันไซร้ ท่านว่าภารติดพัน
ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะโอนกันไม่ได้แม้โดยทางมรดก
	มาตรา 1432 ถ้าผู้รับประโยชน์ละเลยไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอันเป็นสารสำคัญซึ่งระบุไว้ในนิติกรรม
ก่อตั้งภารติดพันนั้นไซร้ ท่านว่าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกสิทธิของผู้รับประโยชน์เสียก็ได้
	มาตรา 1433 ถ้าเจ้าของทรัพย์สินมิได้ชำระหนี้ตามภารติดพันไซร้ ท่านว่านอกจากทางแก้สำหรับการ
ไม่ชำระหนี้  ผู้รับประโยชน์อาจขอให้ศาลตั้งผู้รักษาทรัพย์เพื่อจัดการทรัพย์สิน  และชำระหนี้แทน
เจ้าของ หรือสั่งให้เอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาด  และเอาเงินที่ขายได้จ่ายให้ผู้รับประโยชน์
ตามจำนวนที่ควรได้ เพราะเจ้าของทรัพย์สินไม่ชำระหนี้ กับทั้งค่าแห่งภารติดพันด้วย
	ถ้าเจ้าของทรัพย์สินหาประกันมาให้แล้ว ศาลจะไม่ออกคำสั่งตั้งผู้รักษาทรัพย์ หรือคำสั่ง
ขายทอดตลาด หรือจะถอนผู้รักษาทรัพย์ที่ตั้งขึ้นไว้นั้นก็ได้
	มาตรา 1434 ท่านให้นำ มาตรา 1388 ถึง 1395 และ มาตรา 1397 ถึง 1400 มาใช้บังคับถึงภารติด
พันในอสังหาริมทรัพย์โดยอนุโลม

	บรรพ 5
	ครอบครัว
	ลักษณะ 1
	การสมรส
	หมวด 1
	การหมั้น

	มาตรา 1435 การหมั้นจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว
	การหมั้นที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติวรรคหนึ่งเป็นโมฆะ
	มาตรา 1436 ผู้เยาว์จะทำการหมั้นได้ต้องได้รับความยินยอมของบุคคลดังต่อไปนี้
	(1)  บิดาและมารดา ในกรณีที่มีทั้งบิดามารดา
	(2)  บิดาหรือมารดา ในกรณีที่มารดาหรือบิดาตาย หรือถูกถอนอำนาจปกครอง หรือไม่อยู่
ในสภาพหรือฐานะที่อาจให้ความยินยอม หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมจาก
มารดาหรือบิดาได้
	(3)  ผู้รับบุตรบุญธรรม  ในกรณีที่ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม
	(4)  ผู้ปกครอง ในกรณีที่ไม่มีบุคคลซึ่งอาจให้ความยินยอมตาม (1) (2) และ (3) หรือมี
แต่บุคคลดังกล่าวถูกถอนอำนาจปกครอง
	การหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวเป็นโมฆียะ
	**แก้ไขโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1437 การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้น
ให้แก่หญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น
	เมื่อหมั้นแล้วให้ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิง
	สินสอด เป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม  หรือผู้ปกครอง
ฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี  เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส  ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญ
อันเกิดแก่หญิงหรือโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจ
สมรสกับหญิงนั้น  ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
	ถ้าจะต้องคืนของหมั้นหรือสินสอดตามหมวดนี้  ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 412 ถึง
มาตรา 418 แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	**แก้ไขโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1438 การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ถ้าได้มีข้อตกลงกันไว้
ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 1439 เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้
ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้น  ให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชายด้วย
	**แก้ไขโดย มาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1440 ค่าทดแทนนั้นอาจเรียกได้ ดังต่อไปนี้
	(1)  ทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
	(2)  ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดา  หรือบุคคลผู้กระทำการ
ในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่ายหรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริต
และตามสมควร
	(3)  ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยว
แก่อาชีพหรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส
	ในกรณีที่หญิงเป็นผู้มีสิทธิได้ค่าทดแทน  ศาลอาจชี้ขาดว่าของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่
หญิงนั้นเป็นค่าทดแทนทั้งหมดหรือเป็นส่วนหนึ่งของค่าทดแทนที่หญิงพึงได้รับ  หรือศาลอาจให้
ค่าทดแทนโดยไม่คำนึงถึงของหมั้นที่ตกเป็นสิทธิแก่หญิงนั้นก็ได้
	มาตรา 1441 ถ้าคู่หมั้นฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส อีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกร้องค่าทดแทนมิได้ ส่วน
ของหมั้นหรือสินสอดนั้นไม่ว่าชายหรือหญิงตาย  หญิงหรือฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
	**แก้ไขโดย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1442 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น 
ชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้ และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย
	มาตรา 1443 ในกรณีมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น 
หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นแก่ชาย
	มาตรา 1444 ถ้าเหตุอันทำให้คู่หมั้นบอกเลิกสัญญาหมั้นเป็นเพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของ
คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งได้กระทำภายหลังการหมั้น คู่หมั้นผู้กระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น ต้องรับผิดใช้
ค่าทดแทนแก่คู่หมั้นผู้ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นเสมือนเป็นผู้ผิดสัญญาหมั้น
	มาตรา 1445 ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากชายอื่นซึ่งได้ร่วมประเวณีกับคู่หมั้น
ของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้น เมื่อได้บอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 หรือมาตรา 1443
แล้วแต่กรณี
	มาตรา 1446 ชายหรือหญิงคู่หมั้นอาจเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งได้ข่มขืนกระทำชำเราหรือพยายาม
ข่มขืนกระทำชำเราคู่หมั้นของตนโดยรู้หรือควรจะรู้ถึงการหมั้นนั้นได้ โดยไม่จำต้องบอกเลิกสัญญาหมั้น
*มาตรา 1445 และมาตรา 1446 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550
	มาตรา 1447 ค่าทดแทนอันจะพึงชดใช้แก่กันตามหมวดนี้  ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์
	สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามหมวดนี้ นอกจากค่าทดแทนตาม มาตรา 1440 (2) ไม่อาจ
โอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท เว้นแต่สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือ หรือผู้เสียหาย
ได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว
	**แก้ไขโดย มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1447/1 สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1439 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ผิด
สัญญาหมั้น
	สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตาม มาตรา 1444 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันรู้หรือควรรู้
ถึงการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงอันเป็นเหตุให้บอกเลิกสัญญาหมั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วัน
กระทำการดังกล่าว
	สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนตามมาตรา ๑๔๔๕ และมาตรา ๑๔๔๖ ให้มีอายุความหกเดือน
นับแต่วันที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นรู้หรือควรรู้ถึงการกระทำของผู้อื่นอันจะเป็นเหตุให้เรียกค่าทดแทน
และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าทดแทนนั้น แต่ต้องไม่เกินห้าปีนับแต่วันที่ผู้อื่นนั้นได้กระทำการดังกล่าว
	**วรรคสามแก้ไขโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550
	"มาตรา 1447/2 สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1439  ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วั
นที่ผิดสัญญาหมั้น
	สิทธิเรียกคืนของหมั้นตาม มาตรา 1442 ให้มีอายุความหกเดือนนับแต่วันที่ได้บอกเลิก
สัญญาหมั้น
	**แก้ไขโดย มาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)

	หมวด 2
	เงื่อนไขแห่งการสมรส

	มาตรา 1448 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุสิบเจ็ดปีบริบูรณ์แล้ว  แต่ในกรณีที่มีเหตุ
อันสมควร  ศาลอาจอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้
	มาตรา 1449 การสมรสจะกระทำมิได้ถ้าชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้
เป็นคนไร้ความสามารถ
	มาตรา 1450 ชายหญิงซึ่งเป็นญาติสืบสาโลหิตโดยตรงขึ้นไปหรือลงมาก็ดี เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดา
หรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาก็ดี จะทำการสมรสกันไม่ได้  ความเป็นญาติดังกล่าวมานี้ให้ถือตาม
สายโลหิตโดยไม่คำนึงว่าจะเป็นญาติโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
	มาตรา 1451 ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้
	มาตรา 1452 ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ไม่ได้
	มาตรา 1453 หญิงที่สามีตายหรือที่การสมรสสิ้นสุดลงด้วยประการอื่นจะทำการสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อ
การสิ้นสุดแห่งการสมรสได้ผ่านพ้นไปแล้วไม่น้อยกว่าสามร้อยสิบวัน เว้นแต่
	(1)  คลอดบุตรแล้วในระหว่างนั้น
	(2)  สมรสกับคู่สมรสเดิม
	(3)  มีใบรับรองแพทย์ประกาศนียบัตรหรือปริญญาซึ่งเป็นผู้ประกอบการรักษาโรคใน
สาขาเวชกรรมได้ตามกฎหมายว่ามิได้มีครรภ์  หรือ
	(4)  มีคำสั่งของศาลให้สมรสได้
	มาตรา 1454 ผู้เยาว์จะทำการสมรสให้นำความใน มาตรา 1436 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1455 การให้ความยินยอมให้ทำการสมรสจะกระทำได้แต่โดย
	(1)  ลงลายมือชื่อในทะเบียนขณะจดทะเบียนสมรส
	(2)  ทำเป็นหนังสือแสดงความยินยอมโดยระบุชื่อผู้จะสมรสทั้งสองฝ่ายและลงลายมือ
ชื่อของผู้ให้ความยินยอม
	(3)  ถ้ามีเหตุจำเป็น จะให้ความยินยอมด้วยวาจาต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนก็ได้
	ความยินยอมนั้น  เมื่อให้แล้วถอนไม่ได้
	มาตรา 1456 ถ้าไม่มีผู้ที่มีอำนาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 หรือมีแต่ไม่ให้ความยินยอม
หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอม  หรือโดยพฤติการณ์ผู้เยาว์ไม่อาจขอความยินยอมได้
ผู้เยาว์อาจร้องขอต่อศาลเพื่ออนุญาตให้ทำการสมรส
	มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น
	มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน และต้องแสดงการยินยอม
นั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย
	มาตรา 1459 การสมรสในต่างประเทศระหว่างคนที่มีสัญชาติไทยด้วยกัน หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมี
สัญชาติไทย จะทำตามแบบที่กำหนดไว้ตามกฎหมายไทยหรือกฎหมายแห่งประเทศนั้นก็ได้
	ในกรณีที่คู่สมรสประสงค์จะจดทะเบียนตามกฎหมายไทยให้พนักงานทูต หรือกงสุล
ไทยเป็นผู้รับจดทะเบียน
	มาตรา 1460 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งไม่อาจทำการจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนได้ 
เพราะชายหรือหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรืออยู่ในภาวะการรบ
หรือสงคราม ถ้าชายและหญิงนั้นได้แสดงเจตนาจะสมรสกันต่อหน้าบุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะที่อยู่
ณ ที่นั้นแล้ว   ให้บุคคลดังกล่าวจดแจ้งการแสดงเจตนาขอทำการสมรสของชายและหญิงนั้นไว้
เป็นหลักฐาน และต่อมาชายหญิงได้จดทะเบียนสมรสกันภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่อาจทำการ
จดทะเบียนต่อนายทะเบียนได้ โดยแสดงหลักฐานต่อนายทะเบียน และให้นายทะเบียนจดแจ้งวัน
เดือน ปี สถานที่ที่แสดงเจตนาขอทำการสมรส  และพฤติการณ์พิเศษนั้นไว้ในทะเบียนสมรส ให้
ถือว่าวันแสดงเจตนาขอทำการสมรสต่อบุคคลดังกล่าวเป็นวันจดทะเบียนสมรสต่อนายทะเบียนแล้ว
	ความในมาตรานี้มิให้ใช้บังคับถ้าหากจะมีการสมรสในวันแสดงเจตนาขอทำการสมรส
การสมรสนั้นจะตกเป็นโมฆะ

	หมวด 3
	ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา

	มาตรา 1461 สามีภริยาต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
	สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถ และฐานะของตน
	มาตรา 1462 ในกรณีที่สามีภริยาไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้
หรือถ้าการอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจหรือทำลายความผาสุกอย่างมาก สามีหรือภริยา
ฝ่ายที่ไม่สามารถที่จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุขได้หรือฝ่ายที่จะต้องรับอันตรายหรือถูกทำลาย
ความผาสุก อาจร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากในระหว่างที่เหตุนั้น ๆ ยังมีอยู่ก็ได้
ในกรณีเช่นนี้ศาลจะกำหนดจำนวนค่าอุปการะเลี้ยงดูให้ฝ่ายหนึ่งจ่ายให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งตามควรแก่
พฤติการณ์ก็ได้
*แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
	มาตรา 1463 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
ภริยาหรือสามีย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ แต่เมื่อผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ และถ้ามี
เหตุสำคัญ  ศาลจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ก็ได้
	มาตรา 1464 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริตไม่ว่าศาลจะได้สั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถหรือไม่ ถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูฝ่ายที่วิกลจริตตาม มาตรา 1461 วรรคสอง
หรือกระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใดอันเป็นเหตุให้ฝ่ายที่วิกลจริตตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิด
อันตรายแก่กายหรือจิตใจ หรือตกอยู่ในภาวะอันน่าจะเกิดความเสียหายทางทรัพย์สินถึงขนาด
บุคคลตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 28 หรือผู้อนุบาลอาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
ให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริตหรือขอให้ศาลมีคำสั่งใดๆ เพื่อคุ้มครองฝ่ายที่วิกลจริตนั้นได้
	ในกรณีฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูตามวรรคหนึ่ง ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของศาลว่าคู่สมรส
ซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถก็ให้ขอต่อศาลในคดีเดียวกันให้ศาลมีคำสั่งว่าคู่สมรสซึ่งวิกล
จริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ  โดยขอให้ตั้งตนเองหรือผู้อื่นที่ศาลเห็นสมควรเป็นผู้อนุบาล หรือ
ถ้าได้มีคำสั่งของศาลแสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถอยู่แล้ว จะขอให้ถอดถอน
ผู้อนุบาลคนเดิมและแต่งตั้งผู้อนุบาลคนใหม่ก็ได้
	ในการขอให้ศาลมีคำสั่งใดๆ เพื่อคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตโดยมิได้เรียกค่าอุปการะ
เลี้ยงดูด้วยนั้น จะไม่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้คู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ หรือจะ
ไม่ขอเปลี่ยนผู้อนุบาลก็ได้ แต่ถ้าศาลเห็นว่าวิธีการคุ้มครองที่ขอนั้นจำต้องมีผู้อนุบาลหรือเปลี่ยน
ผู้อนุบาล ให้ศาลมีคำสั่งให้จัดการทำนองเดียวกับที่บัญญัติไว้ในวรรคสอง  แล้วจึงมีคำสั่งคุ้มครอง
ตามที่เห็นสมควร
	"มาตรา 1464/1 ในระหว่างการพิจารณาคดีตาม มาตรา 1464 ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนด
วิธีการชั่วคราวเกี่ยวกับการอุปการะเลี้ยงดู หรือการคุ้มครองคู่สมรสฝ่ายที่วิกลจริตได้ตามที่เห็นสมควร
และหากเป็นกรณีฉุกเฉิน ให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความแพ่งมาใช้บังคับ
	**แก้ไขโดย มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)

	หมวด 4
	ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา

	มาตรา 1465 ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส  
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้นให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้
	ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้นๆ เป็นโมฆะ
	มาตรา 1466 สัญญาก่อนสมรสเป็นโมฆะ  ถ้ามิได้จดแจ้งข้อตกลงกันเป็นสัญญาก่อน
สมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ
คู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรส  และได้จดไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับ
การจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้
	มาตรา 1467 เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจาก
จะได้รับอนุญาตจากศาล
	เมื่อได้มีคำสั่งของศาลถึงที่สุดให้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสแล้ว ให้ศาล
แจ้งไปยังนายทะเบียนสมรสเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
	มาตรา 1468 ข้อความในสัญญาก่อนสมรสไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้ทำการโดยสุจริตไม่ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงเพิกถอนโดยคำสั่งของศาลหรือไม่ก็ตาม
	มาตรา 1469 สัญญาที่เกี่ยวกับทรัพย์สินใดที่สามีภริยาได้ทำไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยากันนั้น
ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกล้างเสียในเวลาใดที่เป็นสามีภริยากันอยู่หรือภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่
วันที่ขาดจากการเป็นสามีภริยากันก็ได้  แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการ
โดยสุจริต
	มาตรา 1470 ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา นอกจากที่ได้แยกไว้เป็นสินส่วนตัว ย่อมเป็นสินสมรส
	มาตรา 1471 สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
	(1)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส
	(2)  ที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ
หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
	(3)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดก หรือโดยการให้โดยเสน่หา
	(4)  ที่เป็นของหมั้น
	มาตรา 1472 สินส่วนตัวนั้น ถ้าได้แลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาก็ดี หรือขายได้
เป็นเงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
	สินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินอื่นหรือเงินมาทดแทน
ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัว
	มาตรา 1473 สินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใด  ให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ
	มาตรา 1474 สินสมรสได้แก่ทรัพย์สิน
	(1)  ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
	(2)  ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือเมื่อ
พินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่าเป็นสินสมรส
	(3)  ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
	ถ้ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือมิใช่  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เป็นสินสมรส
	มาตรา 1475 ถ้าสินสมรสใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 แห่งประมวลกฎหมายนี้ หรือที่มี
เอกสารเป็นสำคัญ  สามีหรือภริยาจะร้องขอให้ลงชื่อตนเป็นเจ้าของรวมกันในเอกสารนั้นก็ได้
	มาตรา 1476 สามีและภริยาต้องจัดการสินสมรสร่วมกัน หรือได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
ในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง  ซึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
	(2)  ก่อตั้งหรือกระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิ
เหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน หรือภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์
	(3)  ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
	(4)  ให้กู้ยืมเงิน
	(5)  ให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ที่พอควรแก่ฐานานุรูปของครอบครัวเพื่อการกุศล เพื่อ
การสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา
	(6)  ประนีประนอมยอมความ
	(7)  มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
	(8)  นำทรัพย์สินไปเป็นประกันหรือหลักประกันต่อเจ้าพนักงานหรือศาล
	การจัดการสินสมรสนอกจากกรณีที่บัญญัติไว้ในวรรคหนึ่ง สามีหรือภริยาจัดการได้โดย
มิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
	**แก้ไขโดย มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1476/1 สามีและภริยาจะจัดการสินสมรสให้แตกต่างไปจากที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1476
ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ก็ต่อเมื่อได้ทำสัญญาก่อนสมรสไว้ตามที่บัญญัติใน มาตรา 1465 และ มาตรา 1466
ในกรณีดังกล่าวนี้  การจัดการสินสมรสให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรส
	ในกรณีที่สัญญาก่อนสมรสระบุการจัดการสินสมรสไว้แต่เพียงบางส่วนของ มาตรา 1476
การจัดการสินสมรสนอกจากที่ระบุไว้ในสัญญาก่อนสมรสให้เป็นไปตาม มาตรา 1476
	**เพิ่มเติมแก้ไขโดย มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1477 สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีเกี่ยวกับการสงวนบำรุง
รักษาสินสมรสหรือเพื่อประโยชน์แก่สินสมรส  หนี้อันเกิดแต่การฟ้อง ต่อสู้ หรือดำเนินคดีดังกล่าวให้ถือว่า
เป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
	**แก้ไขโดย มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1478 เมื่อฝ่ายใดต้องให้ความยินยอมหรือลงชื่อกับอีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องจัดการทรัพย์สิน 
แต่ไม่ให้ความยินยอม หรือไม่ยอมลงชื่อ โดยปราศจากเหตุผล หรือไม่อยู่ในสภาพที่อาจให้ความยินยอมได้
อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตแทนได้
	มาตรา 1479 การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมร่วมกัน และถ้าการนั้นมี
กฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็น
หนังสือ
	มาตรา 1480 การจัดการสินสมรส  ซึ่งต้องจัดการร่วมกัน หรือต้องได้รับความยินยอมจากอีก
ฝ่ายหนึ่งตาม มาตรา 1476  ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปแต่เพียงฝ่ายเดียว หรือโดยปราศจาก
ความยินยอมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้
เว้นแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบันแก่นิติกรรมนั้นแล้ว หรือในขณะที่ทำนิติกรรมนั้นบุคคล
ภายนอกได้กระทำโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
	การฟ้องให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่
ได้รู้เหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรมนั้น
	**แก้ไขโดย มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1481 สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่
บุคคลใดได้
	มาตรา 1482 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
ก็ยังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามสมควรแก่อัตภาพได้  ค่าใช้จ่าย
ในการนี้ย่อมผูกพันสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย
	ถ้าสามีหรือภริยาจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวเป็นที่เสียหายถึง
ขนาด  อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจนี้เสียได้
	มาตรา 1483 ในกรณีที่สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว  ถ้าสามีหรือภริยา
จะกระทำหรือกำลังกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งในการจัดการสินสมรสอันพึงเห็นได้ ว่าจะเกิดความเสียหาย
ถึงขนาด  อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งห้ามมิให้กระทำการนั้นได้
	มาตรา 1484 ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายซึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรส
	(1)  จัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด
	(2)  ไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง
	(3)  มีหนี้สินล้นพ้นตัว หรือทำหนี้เกินกึ่งหนึ่งของสินสมรส
	(4)  ขัดขวางการจัดการสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
	(5)  มีพฤติการณ์ปรากฏว่าจะทำความหายนะให้แก่สินสมรส
	อีกฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว หรือสั่งให้
แยกสินสมรสได้
	ในกรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้ามีคำขอ ศาลอาจกำหนดวิธีคุ้มครองชั่วคราวเพื่อจัดการสินสมรส
ได้ตามที่เห็นสมควร  และหากเป็นกรณีฉุกเฉิน  ให้นำบทบัญญัติเรื่องคำขอในเหตุฉุกเฉิน
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
	**มาตรา 1482,1483,1484 แก้ไขโดย มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1484/1 ในกรณีที่ศาลได้มีคำสั่งห้ามหรือจำกัดอำนาจในการจัดการสินสมรสของ
สามีหรือภริยาตาม มาตรา 1482  มาตรา 1483 หรือ มาตรา 1484  ถ้าต่อมาเหตุแห่งการนั้นหรือพฤติการณ์
ได้เปลี่ยนแปลงไป  สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงคำสั่งที่ห้าม  หรือ
จำกัดอำนาจจัดการสินสมรสนั้นได้ ในการนี้ศาลจะมีคำสั่งใดๆ ตามที่เห็นสมควรก็ได้
	**เพิ่มเติมโดย มาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1485 สามีหรือภริยาอาจร้องขอต่อศาลให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสโดยเฉพาะอย่างใด
อย่างหนึ่งหรือเข้าร่วมจัดการในการนั้นได้  ถ้าการที่จะทำเช่นนั้นจะเป็นประโยชน์ยิ่งกว่า
	มาตรา 1486 เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุดตามความใน มาตรา 1482 วรรคสอง
มาตรา 1483  มาตรา 1484  มาตรา 1484/1  หรือ มาตรา 1485  อันเป็นคุณแก่ผู้ร้องขอ หรือตาม
มาตรา 1491  มาตรา 1492/1  หรือ มาตรา 1598/17  หรือเมื่อสามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคล
ล้มละลาย ให้ศาลแจ้งไปยังนายทะเบียนเพื่อจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรส
	มาตรา 1487 ในระหว่างที่เป็นสามีภริยากัน  ฝ่ายใดจะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของอีกฝ่ายหนึ่ง
ไม่ได้ เว้นแต่เป็นการยึดหรืออายัดทรัพย์สินในคดีที่ฟ้องร้องเพื่อการปฏิบัติหน้าที่หรือรักษาสิทธิระหว่าง
สามีภริยาตามที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในประมวลกฎหมายนี้ หรือที่ประมวลกฎหมายนี้บัญญัติไว้
โดยเฉพาะให้สามีภริยาฟ้องร้องกันเองได้ หรือเป็นการยึด หรืออายัดทรัพย์สินสำหรับค่าอุปการะ
เลี้ยงดูและค่าฤชาธรรมเนียมที่ยังมิได้ชำระตามคำพิพากษาของศาล
	**มาตรา 1486,1487 แก้ไขโดย มาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1488 ถ้าสามีหรือภริยาต้องรับผิดเป็นส่วนตัวเพื่อชำระหนี้ที่ก่อไว้ก่อนหรือระหว่างสมรส 
ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน  เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น
	มาตรา 1489 ถ้าสามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของ
ทั้งสองฝ่าย
	มาตรา 1490 หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น  ให้รวมถึงหนี้ที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นใน
ระหว่างสมรสดังต่อไปนี้
	(1)  หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะ
เลี้ยงดู  ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัว  และการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
	(2)  หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส
	(3)  หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
	(4)  หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน
	**มาตรา 1490 (1) แก้ไขโดย มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1491 ถ้าสามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้ล้มละลาย สินสมรสย่อมแยกจากกัน
โดยอำนาจกฎหมายนับแต่วันที่ศาลพิพากษาให้ล้มละลายนั้น
	มาตรา 1492 เมื่อได้แยกสินสมรสตาม มาตรา 1484 วรรคสอง  มาตรา 1491 หรือ มาตรา 
1598/17 วรรคสองแล้ว  ให้ส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยา และบรรดาทรัพย์สินที่
ฝ่ายใดได้มาในภายหลังไม่ให้ถือเป็นสินสมรส แต่ให้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้น และสินสมรสที่คู่สมรสได้
มาโดยพินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือตาม มาตรา 1474 (2) ในภายหลัง ให้ตกเป็นสินส่วนตัว
ของสามีและภริยาฝ่ายละครึ่ง
	ดอกผลของสินส่วนตัวที่ได้มาหลังจากที่ได้แยกสินสมรสแล้ว ให้เป็นสินส่วนตัว
	**แก้ไขโดย มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1492/1 ในกรณีที่มีการแยกสินสมรสโดยคำสั่งศาล  การยกเลิกการแยกสินสมรส
ให้กระทำได้เมื่อสามีหรือภริยาร้องขอต่อศาล และศาลได้มีคำสั่งให้ยกเลิก แต่ถ้าภริยาหรือสามีคัดค้าน
ศาลจะสั่งยกเลิกการแยกสินสมรสได้ต่อเมื่อเหตุแห่งการแยกสินสมรสได้สิ้นสุดลงแล้ว
	เมื่อมีการยกเลิกการแยกสินสมรสตามวรรคหนึ่ง หรือการแยกสินสมรสสิ้นสุดลงเพราะ
สามีหรือภริยาพ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ให้ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวอยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่ง
หรือในวันที่พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ยังคงเป็นสินส่วนตัวต่อไปตามเดิม
	**เพิ่มเติมโดย มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1493 ในกรณีที่ไม่มีสินสมรสแล้ว  สามีและภริยาต้องช่วยกันออกค่าใช้สอยสำหรับ
การบ้านเรือนตามส่วนมากและน้อยแห่งสินส่วนตัวของตน

	หมวด 5
	ความเป็นโมฆะของการสมรส

	มาตรา 1494 การสมรสจะเป็นโมฆะก็แต่เฉพาะที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
	มาตรา 1495 การสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449 มาตรา 1450 มาตรา 1452 และ มาตรา 1458 
เป็นโมฆะ
	มาตรา 1496 คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน มาตรา 1449  มาตรา 1450
และ มาตรา 1458  เป็นโมฆะ
	คู่สมรส บิดามารดา หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรสอาจร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรส
เป็นโมฆะได้  ถ้าไม่มีบุคคลดังกล่าว ผู้มีส่วนได้เสียจะร้องขอให้อัยการเป็นผู้ร้องขอต่อศาลก็ได้
	มาตรา 1497 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะ
กล่าวอ้างขึ้น หรือจะร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะก็ได้
	**มาตรา 1495,1496,1497 แก้ไขโดย มาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1497/1 ในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าการสมรสใดเป็นโมฆะ  ให้ศาลแจ้งไปยัง
นายทะเบียนเพื่อบันทึกความเป็นโมฆะไว้ในทะเบียนสมรส
	**เพิ่มเติมโดย มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1498 การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
	ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ  ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดมีหรือได้มาไม่ว่าก่อนหรือหลังการสมรส
รวมทั้งดอกผลคงเป็นของฝ่ายนั้น   ส่วนบรรดาทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกัน ให้แบ่งคนละครึ่ง เว้น
แต่ศาลจะเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น เมื่อได้พิเคราะห์ถึงภาระในครอบครัว ภาระในการหาเลี้ยง
ชีพ และฐานะของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ตลอดจนพฤติการณ์อื่นทั้งปวงแล้ว
	มาตรา 1499 การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449  มาตรา 1450  หรือ มาตรา 1458  
ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด
ให้เป็นโมฆะ
	การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452  ไม่ทำให้ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริต
เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสก่อนที่ชายหรือหญิงนั้นรู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
แต่การสมรสที่เป็นโมฆะดังกล่าว  ไม่ทำให้คู่สมรสเกิดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของ
คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
	การสมรสที่เป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449  มาตรา 1450  หรือ มาตรา 1458
หรือฝ่าฝืน มาตรา 1452  ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดได้สมรสโดยสุจริต  ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้
และถ้าการสมรสที่เป็นโมฆะนั้นทำให้ฝ่ายที่ได้สมรสโดยสุจริตต้องยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอ
จากทรัพย์สิน หรือจากการงานที่เคยทำอยู่ก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุด หรือก่อนที่จะได้รู้ว่าการสมรส
ของเป็นโมฆะ แล้วแต่กรณี  ฝ่ายนั้นมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ด้วย สิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพในกรณีนี้
ให้นำ มาตรา 1526 วรรคหนึ่ง  และ มาตรา 1528  มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	สิทธิเรียกร้องค่าทดแทน  หรือค่าเลี้ยงชีพตามวรรคสาม  มีกำหนดอายุความสองปีนับ
แต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด สำหรับกรณีการสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1449  มาตรา
1450  หรือ มาตรา 1458  หรือนับแต่วันที่รู้ถึงเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ  สำหรับกรณีการ
สมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452
	**มาตรา 1498,1499 แก้ไขโดย มาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1499/1 ในกรณีที่การสมรสเป็นโมฆะ  ข้อตกลงระหว่างคู่สมรสว่าฝ่ายใดจะเป็น
ผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใดหรือฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็น
จำนวนเงินเท่าใด  ให้ทำเป็นหนังสือ หากตกลงกันไม่ได้ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด ในการพิจารณาชี้ขาด
ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ ตาม มาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจ
ปกครองของคู่สมรสและสั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุก
และประโยชน์ของบุตรนั้นเป็นสำคัญ และให้นำความใน มาตรา 1521 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	**เพิ่มเติมโดย มาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1500 การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำการ
โดยสุจริตซึ่งได้มาก่อนมีการบันทึกความเป็นโมฆะ ไว้ในทะเบียนสมรสตาม มาตรา 1497/1.
	**แก้ไขโดย มาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)

	หมวด 6
	การสิ้นสุดแห่งการสมรส

	มาตรา 1501 การสมรสย่อมสิ้นสุดลงด้วยความตาย การหย่า หรือศาลพิพากษา
ให้เพิกถอน
	มาตรา 1502 การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน
	มาตรา 1503 เหตุที่จะขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการสมรสเพราะเหตุว่าเป็นโมฆียะ 
มีเฉพาะในกรณีที่คู่สมรสทำการฝ่าฝืน มาตรา 1448  มาตรา 1505  มาตรา 1506  มาตรา 1507  และ
มาตรา 1509
	มาตรา 1504 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1448  ผู้มีส่วนได้เสียขอให้
เพิกถอนการสมรสได้ แต่บิดามารดาหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมแล้วจะขอให้เพิกถอนการ
สมรสไม่ได้
	ถ้าศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสจนชายหญิงมีอายุครบตาม มาตรา 1448 หรือเมื่อ
หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบตาม มาตรา 1448  ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
	มาตรา 1505 การสมรสที่ได้กระทำไปโดยคู่สมรสฝ่ายหนึ่งสำคัญผิดตัวคู่สมรส การสมรส
นั้นเป็นโมฆียะ
	สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะสำคัญผิดตัวคู่สมรสเป็นอันระงับ เมื่อเวลาได้ผ่านพ้น
ไปแล้วเก้าสิบวันนับแต่วันสมรส
	มาตรา 1506 ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลอันถึงขนาดซึ่งถ้ามิได้มีกลฉ้อฉลนั้น
จะไม่ทำการสมรส  การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
	ความในวรรคหนึ่ง ไม่ใช้บังคับในกรณีที่กลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลที่สามโดยคู่สมรส
อีกฝ่ายหนึ่งมิได้รู้เห็นด้วย
	สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้ว
เก้าสิบวันนับแต่วันที่รู้หรือควรได้รู้ถึงกลฉ้อฉล  หรือเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปีนับแต่วันสมรส
	มาตรา 1507 ถ้าคู่สมรสได้ทำการสมรสโดยถูกข่มขู่อันถึงขนาด  ซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่นั้น
จะไม่ทำการสมรส  การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
	สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเพราะถูกข่มขู่เป็นอันระงับเมื่อเวลาได้ผ่านพ้นไปแล้วหนึ่งปี
นับแต่วันที่พ้นจากการข่มขู่
	มาตรา 1508 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะคู่สมรสสำคัญผิดตัว หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่
 เฉพาะแต่คู่สมรสที่สำคัญผิดตัว หรือถูกกลฉ้อฉล หรือถูกข่มขู่เท่านั้นขอเพิกถอนการสมรสได้
	ในกรณีที่ผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นบุคคลที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตาม มาตรา 29
ขอเพิกถอนการสมรสได้ด้วย  แต่ถ้าผู้มีสิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นคนวิกลจริตที่ศาลยังไม่ได้สั่ง
ให้เป็นคนไร้ความสามารถ บุคคลดังกล่าวจะร้องขอเพิกถอนการสมรสก็ได้ แต่ต้องขอให้ศาลสั่งให้
คนวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถพร้อมกันด้วย  ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอให้ศาลสั่งเป็น
คนไร้ความสามารถ ก็ให้ศาลมีคำสั่งยกคำขอการเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวนั้นเสียด้วย
	คำสั่งศาลให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลตามวรรคสองไม่กระทบกระเทือน
สิทธิการขอเพิกถอนการสมรสของคู่สมรส แต่คู่สมรสจะต้องใช้สิทธินั้นภายในกำหนดระยะเวลาที่
คู่สมรสมีอยู่   ถ้าระยะเวลาดังกล่าวเหลืออยู่ไม่ถึงหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิก
ถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าวหรือไม่มีเหลืออยู่เลย  ก็ให้ขยายระยะเวลานั้นออกไปได้ให้ครบ
หกเดือนหรืออีกหกเดือนนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ยกคำขอเพิกถอนการสมรสของบุคคลดังกล่าว
แล้วแต่กรณี
	มาตรา 1509 การสมรสที่มิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวใน มาตรา 1454  
การสมรสนั้นเป็นโมฆียะ
	มาตรา 1510 การสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะมิได้รับความยินยอมของบุคคลดังกล่าวใน 
มาตรา 1454 เฉพาะบุคคลที่อาจให้ความยินยอมตาม มาตรา 1454 เท่านั้น ขอให้เพิกถอนการสมรสได้
	สิทธิขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้เป็นอันระงับเมื่อคู่สมรสนั้นมีอายุครบยี่สิบปี
บริบูรณ์หรือเมื่อหญิงมีครรภ์
	การฟ้องขอเพิกถอนการสมรสตามมาตรานี้ให้มีอายุความหนึ่งปีนับแต่วันทราบการสมรส
	มาตรา 1511 การสมรสที่ได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนนั้น  ให้ถือว่าสิ้นสุดลงในวันที่
คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้  เว้นแต่
จะได้จดทะเบียนการเพิกถอนการสมรสนั้นแล้ว
	มาตรา 1512 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยผลของการหย่าโดยคำพิพากษามาใช้บังคับแก่ผล
ของการเพิกถอนการสมรสโดยอนุโลม
	มาตรา 1513 ถ้าปรากฏว่าคู่สมรสที่ถูกฟ้องเพิกถอนการสมรสได้รู้เห็นเป็นใจในเหตุแห่ง
โมฆียะกรรม คู่สมรสนั้นจะต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนความเสียหายซึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับต่อกาย  
ชื่อเสียงหรือทรัพย์สิน เนื่องจากการสมรสนั้น  และให้นำ มาตรา 1525 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	ถ้าหากการเพิกถอนการสมรสตามวรรคหนึ่งทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง และไม่มีรายได้
พอจากทรัพย์สินหรือจากการงานตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส  คู่สมรสที่ถูกฟ้องนั้นจะต้องรับผิด
ในค่าเลี้ยงชีพดังที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1526 ด้วย
	มาตรา 1514 การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษา
ของศาล
	การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน
	มาตรา 1515 เมื่อได้จดทะเบียนสมรสตามประมวลกฎหมายนี้ การหย่าโดยความยินยอม
จะสมบูรณ์ต่อเมื่อสามีและภริยาได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
	มาตรา 1516 เหตุฟ้องหย่ามีดังต่อไปนี้
	(1) สามีหรือภริยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันภริยาหรือสามี เป็นชู้หรือมีชู้ หรือ
ร่วมประเวณีกับผู้อื่นเป็นอาจิณ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
	(2)  สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่
ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
	(ก) ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง
	(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชัง เพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาของฝ่ายที่
ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป หรือ
	(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และ
ความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ
	อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(3)  สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ หรือหมิ่นประมาทหรือเหยียด
หยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(4)  สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(4/1)  สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปี ใน
ความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดหรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการ
กระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสีย
หายหรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(4/2)  สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้
โดยปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี  ฝ่ายใดฝ่าย
หนึ่งฟ้องหย่าได้
	(5)  สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่เป็น
เวลาเกินสามปีโดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
	(6)  สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำ
การเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีก
ฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควรในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึง
ประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(7)  สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะ
หายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้อง
หย่าได้
	(8)  สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ  อีกฝ่าย
หนึ่งฟ้องหย่าได้
	(9)  สามีหรือภริยาเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงอันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่ง และโรคมี
ลักษณะเรื้อรัง ไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
	(10) สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้นไม่อาจร่วมประเวณีได้
ตลอดกาล  อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
	*มาตรา 1516 (4/1)(4/2) เพิ่มเติมโดย มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
	*มาตรา 1516 (5)แก้ไขโดย มาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	*มาตรา 1516 (1) แก้ไขโดย พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2550
	มาตรา 1517 เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (1) และ (2)  ถ้าสามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี 
ได้ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำที่เป็นเหตุหย่านั้น ฝ่ายที่ยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจนั้นจะยก
เป็นเหตุฟ้องหย่านั้นไม่ได้
	เหตุฟ้องหย่าตาม มาตรา 1516 (10) ถ้าเกิดเพราะการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง  อีกฝ่าย
หนึ่งนั้นจะยกเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
	ในกรณีฟ้องหย่า โดยอาศัยเหตุแห่งการผิดทัณฑ์บนตาม มาตรา 1516 (8) นั้น  ถ้าศาล
เห็นว่าความประพฤติของสามีหรือภริยาอันเป็นเหตุให้ทำทัณฑ์บนเป็นเหตุเล็กน้อยหรือไม่สำคัญ
เกี่ยวแก่การอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติสุข ศาลจะไม่พิพากษาให้หย่าก็ได้
	มาตรา 1518 สิทธิฟ้องหย่าย่อมหมดไปในเมื่อฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้กระทำการอันแสดง
ให้เห็นว่าได้ให้อภัยในการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดสิทธิฟ้องหย่านั้นแล้ว
	มาตรา 1519 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนวิกลจริต และมีเหตุหย่าเกิดขึ้น ไม่ว่า
เหตุนั้นจะได้เกิดขึ้นก่อนหรือภายหลังการเป็นคนวิกลจริต  ให้บุคคลซึ่งอาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้บุคคล
วิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารตาม มาตรา 28 มีอำนาจฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งขอให้ศาลพิพากษาให้หย่า
ขาดจากกัน และแบ่งทรัพย์สินได้  ในกรณีเช่นว่านี้ ถ้ายังมิได้มีคำสั่งของศาลแสดงว่าคู่สมรสซึ่งวิกล
จริตเป็นคนไร้ความสามารถ ก็ให้บุคคลดังกล่าวร้องขอต่อศาลในคดีเดียวกันนั้นให้ศาลมีคำสั่งว่า
คู่สมรสซึ่งวิกลจริตนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ
	เมื่อบุคคลดังกล่าวเห็นสมควร จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งตาม มาตรา 1526 หรือ
มาตรา 1530 ด้วยก็ได้
	ในกรณีที่คู่สมรสซึ่งถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริตยังไม่ได้ถูกสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หากศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นยังไม่เป็นคนที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ  ก็ให้ยกฟ้องคดีนั้นเสีย
ถ้าเห็นว่าเป็นบุคคลที่ควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถแต่ยังไม่สมควรจะให้มีการหย่า ก็ให้ศาล
สั่งให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ โดยจะไม่สั่งเรื่องผู้อนุบาลหรือจะตั้งผู้อื่นเป็นผู้อนุบาล
ตาม มาตรา 1463 ก็ได้  คงพิพากษายกแต่เฉพาะข้อหย่า  ในกรณีเช่นนี้ ศาลจะสั่งกำหนดค่า
เลี้ยงชีพด้วยก็ได้  ในกรณีที่ศาลเห็นว่าคู่สมรสนั้นวิกลจริตอันควรสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
และทั้งมีเหตุควรให้หย่าด้วย ก็ให้ศาลสั่งในคำพิพากษาให้คู่สมรสนั้นเป็นคนไร้ความสามารถ  ตั้ง
ผู้อนุบาล  และให้หย่า
	ในกรณีนี้ ถ้าศาลเห็นว่าเหตุหย่าที่ยกขึ้นอ้างในการฟ้องร้องนั้นไม่เหมาะสมแก่สภาพของ
คู่สมรสซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถที่จะหย่าจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งก็ดี ตามพฤติการณ์ไม่สมควรที่
จะให้มีการหย่าขาดจากกันก็ดี   ศาลจะพิพากษาไม่ให้หย่าก็ได้
	**แก้ไขโดย มาตรา 15 (2) แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษยน 2535)
	มาตรา 1520 ในกรณีหย่าโดยความยินยอม  ให้สามีภริยาทำความตกลงเป็นหนังสือว่าฝ่ายใด
จะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด  ถ้ามิได้ตกลงกันหรือตกลงกันไม่ได้ ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
	ในกรณีหย่าโดยคำพิพากษาของศาล  ให้ศาลซึ่งพิจารณาคดีฟ้องหย่านั้นชี้ขาดด้วยว่า
ฝ่ายใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรคนใด ในการพิจารณาชี้ขาด ถ้าศาลเห็นว่ามีเหตุที่จะถอน
อำนาจปกครองของคู่สมรสนั้นได้ตาม มาตรา 1582 ศาลจะถอนอำนาจปกครองของคู่สมรส และ
สั่งให้บุคคลภายนอกเป็นผู้ปกครองก็ได้ ทั้งนี้ ให้ศาลคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร
นั้นเป็นสำคัญ
	**แก้ไขโดย มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1521 ถ้าปรากฏว่าผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตาม มาตรา 1520 ประพฤติ
ตนไม่สมควรหรือภายหลังพฤติการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป ศาลมีอำนาจสั่งเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครอง 
หรือผู้ปกครองโดยคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรเป็นสำคัญ
	**แก้ไขโดย มาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1522 ถ้าสามีภริยาหย่าโดยความยินยอม ให้ทำความตกลงกันไว้ในสัญญาหย่าว่าสามี
ภริยาทั้งสองฝ่าย หรือสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง จะออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเงินเท่าใด
	ถ้าหย่าโดยคำพิพากษาของศาลหรือในกรณีที่สัญญาหย่ามิได้กำหนดเรื่องค่าอุปการะ
เลี้ยงดูบุตรไว้  ให้ศาลเป็นผู้กำหนด
	มาตรา 1523 เมื่อศาลพิพากษาให้หย่ากันเพราะเหตุตาม มาตรา 1516 (1)  ภริยาหรือสามีมีสิทธิ
ได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยาและจากผู้ซึ่งได้รับการอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่อง หรือผู้ซึ่งเป็นเหตุ
แห่งการหย่านั้น
	สามีจะเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินภริยาไปในทำนองชู้สาวก็ได้และภริยาจะเรียก
ค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่แสดงตนโดยเปิดเผยเพื่อแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับสามีในทำนอง
ชู้สาวก็ได้
	ถ้าสามีหรือภริยายินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้อีกฝ่ายหนึ่งกระทำการตาม มาตรา 1516
(1) หรือให้ผู้อื่นกระทำการตามวรรคสอง  สามีหรือภริยานั้นจะเรียกค่าทดแทนไม่ได้
*วรรคหนึ่ง แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 16)
พ.ศ. 2550
	มาตรา 1524 ถ้าเหตุแห่งการหย่าตาม มาตรา 1516 (3) (4) หรือ (6) เกิดขึ้นเพราะฝ่ายผู้ต้อง
รับผิดชอบก่อให้เกิดขึ้นโดยมุ่งประสงค์ให้อีกฝ่ายหนึ่งไม่อาจทนได้ จึงต้องฟ้องหย่า อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิ
ได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิด
	มาตรา 1525 ค่าทดแทนตาม มาตรา 1523 และ มาตรา 1524 นั้น  ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติ
การณ์ โดยศาลจะสั่งให้ชำระครั้งเดียวหรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็น
สมควรก็ได้
	ในกรณีที่ผู้จะต้องชำระค่าทดแทนเป็นคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง  ให้ศาลคำนึงถึงจำนวน
ทรัพย์สินที่คู่สมรสนั้นได้รับไปจากการแบ่งสินสมรส เพราะการหย่านั้นด้วย
	มาตรา 1526 ในคดีหย่า ถ้าเหตุแห่งการหย่าเป็นความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่ฝ่ายเดียว
และการหย่านั้นจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งยากจนลง เพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สิน หรือจากการงาน
ตามที่เคยทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นจะขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้
ค่าเลี้ยงชีพนี้ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้และฐานะของ
ผู้รับและให้นำบทบัญญัติ มาตรา 1598/39  มาตรา 1598/40 และ มาตรา 1598/41 มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
	สิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพเป็นอันสิ้นสุด  ถ้ามิได้ฟ้องหรือฟ้องแย้งในคดีหย่านั้น
	มาตรา 1527 ถ้าหย่าขาดจากกันเพราะเหตุวิกลจริตตาม มาตรา 1516 (7) หรือเพราะเหตุเป็นโรคติดต่อ
อย่างร้ายแรงตาม มาตรา 1516 (9)  คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งต้องออกค่าเลี้ยงชีพให้แก่ฝ่ายที่วิกลจริต
หรือฝ่ายที่เป็นโรคติดต่อนั้นโดยคำนวณค่าเลี้ยงชีพอนุโลมตาม มาตรา 1526
	มาตรา 1528 ถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงชีพสมรสใหม่ สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพย่อมหมดไป
	มาตรา 1529 สิทธิฟ้องร้องโดยอาศัยเหตุใน มาตรา 1516 (1) (2) (3) หรือ (6) หรือ มาตรา 1523 ย่อม
ระงับไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันผู้กล่าวอ้างรู้หรือควรรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง
	เหตุอันจะยกขึ้นฟ้องหย่าไม่ได้แล้วนั้น อาจนำสืบสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอย่างอื่น
	มาตรา 1530 ขณะคดีฟ้องหย่าอยู่ในระหว่างพิจารณา ถ้าฝ่ายใดร้องขอ ศาลอาจสั่งชั่วคราวให้จัดการ
ตามที่เห็นสมควร เช่น ในเรื่องสินสมรส ที่พักอาศัย การอุปการะเลี้ยงดูสามีภริยา และการพิทักษ์
อุปการะเลี้ยงดูบุตร
	มาตรา 1531 การสมรสที่จดทะเบียนตามกฎหมายนั้นการหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย
มีผลนับแต่เวลาจดทะเบียนการหย่าเป็นต้นไป
	การหย่าโดยคำพิพากษามีผลแต่เวลาที่คำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิ
ของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่านั้นแล้ว
	มาตรา 1532 เมื่อหย่ากันแล้ว ให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา
	แต่ในระหว่างสามีภริยา
	(ก)  ถ้าเป็นการหย่ากันโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายให้จัดการแบ่งทรัพย์สินของสามี
ภริยาตามที่มีอยู่ในเวลาจดทะเบียนการหย่า
	(ข)  ถ้าเป็นการหย่าโดยคำพิพากษาของศาล คำพิพากษาส่วนที่บังคับทรัพย์สินระหว่าง
สามีภริยานั้น มีผลย้อนหลังไปถึงวันฟ้องหย่า
	มาตรา 1533 เมื่อหย่ากันให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่ากัน
	มาตรา 1534 สินสมรสที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจำหน่ายไปเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวก็ดี จำหน่ายไป
โดยเจตนาทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งเสียหายก็ดี จำหน่ายไปโดยมิได้รับความยินยอมของคู่สมรส
อีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่กฎหมายบังคับว่าการจำหน่ายนั้นจะต้องได้รับความยินยอมของอีกฝ่ายหนึ่ง
ด้วยก็ดี จงใจทำลายให้สูญหายไปก็ดี ให้ถือเสมือนว่าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่เพื่อจัดแบ่งสินสมรส
ตาม มาตรา 1533  และถ้าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้รับส่วนแบ่งสินสมรสไม่ครบตามจำนวนที่ควร
จะได้ ให้คู่สมรสฝ่ายที่ได้จำหน่ายหรือจงใจทำลายสินสมรสนั้นชดใช้จากสินสมรสส่วนของตนหรือ
สินส่วนตัว
	มาตรา 1535 เมื่อการสมรสสิ้นสุดลง ให้แบ่งความรับผิดในหนี้ที่จะต้องรับผิดด้วยกัน
ตามส่วนเท่ากัน

	ลักษณะ 2
	บิดามารดากับบุตร
	หมวด 1
	บิดามารดา

	มาตรา 1536 เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชาย หรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่
การสมรสสิ้นสุดลง  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคย
เป็นสามีแล้วแต่กรณี
	ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิง ก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น
	มาตรา 1537 ในกรณีที่หญิงทำการสมรสใหม่นั้นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 1453 และคลอดบุตร
ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้นเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่ และห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานใน มาตรา 1536
ที่ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาล
แสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีคนใหม่นั้น
	มาตรา 1538 ในกรณีที่ชายหรือหญิงสมรสฝ่าฝืน มาตรา 1452 เด็กที่เกิดในระหว่างการสมรส
ที่ฝ่าฝืนนั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรส
ครั้งหลัง
	ในกรณีที่หญิงสมรสฝ่าฝืน มาตรา 1452 ถ้ามีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กมิใช่บุตร
ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามีซึ่งได้จดทะเบียนสมรสครั้งหลัง ให้นำข้อสันนิษฐานใน
มาตรา 1536 มาใช้บังคับ
	ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่เด็กที่เกิดภายในสามร้อยสิบวัน นับแต่วันที่ศาล
มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้การสมรสเป็นโมฆะเพราะฝ่าฝืน มาตรา 1452 ด้วย
	**แก้ไขโดย มาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1539 ในกรณีที่สันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นหรือ
เคยเป็นสามีตาม มาตรา 1536  มาตรา 1537 หรือ มาตรา 1538 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะไม่รับเด็ก
เป็นบุตรของตนก็ได้ โดยฟ้องเด็กกับมารดาเด็กร่วมกันเป็นจำเลยและพิสูจน์ได้ว่าตนไม่ได้อยู่ร่วมกับ
มารดาเด็กในระยะเวลาตั้งครรภ์คือระหว่างหนึ่งร้อยแปดสิบวันถึงสามร้อยสิบวันก่อนเด็กเกิด
หรือตนไม่สามารถเป็นบิดาของเด็กได้เพราะเหตุอย่างอื่น
	แต่ถ้าในขณะยื่นฟ้องมารดาเด็กไม่มีชีวิตอยู่  จะฟ้องเด็กแต่ผู้เดียวเป็นจำเลยก็ได้ ถ้าเด็ก
ไม่มีชีวิตอยู่ไม่ว่ามารดาของเด็กจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงว่าเด็กนั้นไม่เป็น
บุตรก็ได้ ในกรณีที่มารดาของเด็กหรือทายาทของเด็กยังมีชีวิตอยู่  ให้ศาลส่งสำเนาคำร้องนี้
ไปให้ด้วย  และถ้าศาลเห็นสมควรจะส่งสำเนาคำร้องไปให้อัยการพิจารณาเพื่อดำเนินคดีแทนเด็ก
ด้วยก็ได้
	**แก้ไขโดย มาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1540 (ยกเลิก)
	**ยกเลิกโดย มาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1541 ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีจะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1539 
ไม่ได้   ถ้าปรากฏว่าตนเป็นผู้แจ้งการเกิดของเด็กในทะเบียนคนเกิดเองว่าเป็นบุตรของตน หรือจัด 
หรือยอมให้มีการแจ้งดังกล่าว
	มาตรา 1542 การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร  ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีต้องฟ้องภายใน
หนึ่งปีนับแต่วันรู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
	ในกรณีที่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็น
สามีคนใหม่ตาม มาตรา 1537 หรือชายผู้เป็นสามีในการสมรสครั้งหลังตาม มาตรา 1538
ถ้าชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีซึ่งต้องด้วยบทสันนิษฐานว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของตน
ตาม มาตรา 1536 ประสงค์จะฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ให้ฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ว่า
มีคำพิพากษาถึงที่สุด
	**แก้ไขโดย มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1543 ในกรณีที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีได้ฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรแล้ว และ
ตายก่อนคดีนั้นถึงที่สุด ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิรับมรดกเพราะการเกิดของเด็ก
นั้นจะขอเข้าเป็นคู่ความแทนที่หรืออาจถูกเรียกให้เข้ามาเป็นคู่ความแทนที่ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีก็ได้
	มาตรา 1544 การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตร ผู้มีสิทธิได้รับมรดกร่วมกับเด็กหรือผู้จะเสียสิทธิ
รับมรดกเพราะการเกิดของเด็กอาจฟ้องได้ในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  ชายผู้เป็นหรือเคยเป็นสามีตายก่อนพ้นระยะเวลาที่ชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามีจะ
พึงฟ้องได้
	(2)  เด็กเกิดภายหลังการตายของชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามี
	การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณี (1) ต้องฟ้องภายในหกเดือนนับแต่วันที่รู้ถึงการตาย
ของชายผู้เป็น หรือเคยเป็นสามี  การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรในกรณี (2) ต้องฟ้องภายในหกเดือน
นับแต่วันที่รู้ถึงการเกิดของเด็ก แต่ไม่ว่าเป็นกรณีใด ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันเกิดของเด็ก
	ให้นำ มาตรา 1539 มาใช้บังคับแก่การฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรตามวรรคหนึ่งโดยอนุโลม
	มาตรา 1545 เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงต่อเด็กว่าตนมิได้เป็นบุตรสืบสายโลหิตของชายผู้เป็นสามี
ของมารดาตน เด็กจะร้องขอต่ออัยการให้ฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายนั้นก็ได้
	การฟ้องคดีตามวรรคหนึ่ง ถ้าเด็กได้รู้ข้อเท็จจริงก่อนบรรลุนิติภาวะว่าตนมิได้เป็นบุตร
ของชายผู้เป็นสามีของมารดา ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุนิติภาวะ แต่
ถ้าเด็กรู้ข้อเท็จจริงดังกล่าวหลังจากบรรลุนิติภาวะแล้ว  ห้ามอัยการฟ้องคดีเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่
วันที่เด็กรู้เหตุนั้น
	ไม่ว่ากรณีใดๆ ห้ามมิให้ฟ้องคดีปฏิเสธความเป็นบุตรเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันที่เด็กบรรลุ
นิติภาวะ
	**มาตรา 1543,1544,1545 แก้ไขโดย มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1546 เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้มีการสมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ของหญิงนั้นเว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
*แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
	มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อ
บิดามารดาได้สมรสกันในภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตร หรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
	มาตรา 1548 บิดาจะจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอม
ของเด็กและมารดาเด็ก
	ในกรณีที่เด็กและมารดาเด็กไม่ได้มาให้ความยินยอมต่อหน้านายทะเบียน  ให้
นายทะเบียนแจ้งการขอจดทะเบียนของบิดาไปยังเด็กและมารดาเด็ก  ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กไม่
คัดค้านหรือไม่ให้ความยินยอมภายในหกสิบวันนับแต่การแจ้งนั้นถึงเด็กหรือมารดาเด็ก ให้
สันนิษฐานว่าเด็กหรือมารดาเด็กไม่ให้ความยินยอม  ถ้าเด็กหรือมารดาเด็กอยู่นอกประเทศไทย
ให้ขยายเวลานั้นเป็นหนึ่งร้อยแปดสับวัน
	ในกรณีที่เด็กหรือมารดาเด็กคัดค้านว่าผู้ขอจดทะเบียนไม่ใช่บิดา หรือไม่ให้ความยินยอม
หรือไม่อาจให้ความยินยอมได้ การจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรต้องมีคำพิพากษาของศาล
	เมื่อศาลได้พิพากษาให้บิดาจดทะเบียนเด็กเป็นบุตรได้ และบิดาได้นำคำพิพากษาไป
ขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ให้นายทะเบียนดำเนินการจดทะเบียนให้
	**แก้ไขโดย มาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1549 เมื่อนายทะเบียนได้แจ้งการขอจดทะเบียนขอรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ไปยังเด็กและมารดาเด็กตาม มาตรา 1548 แล้ว ไม่ว่าเด็กหรือมารดาเด็กจะคัดค้านการจดทะเบียนรับเด็ก
เป็นบุตรตาม มาตรา 1548 หรือไม่ ภายในกำหนดเวลาไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันแจ้งการขอ
จดทะเบียนถึงเด็กหรือมารดาเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กอาจแจ้งให้นายทะเบียนจดบันทึกไว้ได้ว่า
ผู้ขอจดทะเบียนไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด
	เมื่อได้มีคำแจ้งของเด็กหรือมารดาเด็กดังกล่าวในวรรคหนึ่งแล้ว แม้จะได้มีการจดทะเบียน
รับเด็กเป็นบุตรตาม มาตรา 1548 บิดาของเด็กก็ยังใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดตามที่
เด็กหรือมารดาเด็กแจ้งว่าบิดาไม่สมควรเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองนั้นไม่ได้  จนกว่าศาลจะพิพากษา
ให้บิดาของเด็กใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด หรือกำหนดเวลาเก้าสิบวันนับแต่วันที่เด็ก
หรือมารดาเด็กแจ้งต่อนายทะเบียนว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่สมควรใช้อำนาจปกครอง
บางส่วนหรือทั้งหมดนั้นได้ล่วงพ้นไป  โดยเด็กหรือมารดาเด็กมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิพากษาว่า
ผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรไม่เป็นผู้สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด
	ในคดีที่ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรเป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครอง
บางส่วนหรือทั้งหมด ศาลจะพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นให้ผู้ใดเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือเป็น
ผู้ปกครองเพื่อการปกครองบางส่วน  หรือทั้งหมดก็ได้
	มาตรา 1550 (ยกเลิก)
	**ยกเลิกโดย มาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1551 ในกรณีที่มีการคัดค้านว่าผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรมิใช่บิดาของเด็ก 
เมื่อผู้ซึ่งขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรนำคดีไปสู่ศาลขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้ขอจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร
เป็นบิดาของเด็ก เด็กหรือมารดาเด็กจะขอให้ศาลพิพากษาในคดีเดียวกันนั้นก็ได้ว่า ผู้ขอจดทะเบียนรับ
เด็กเป็นบุตรแม้จะเป็นบิดาของเด็กก็เป็นผู้ไม่สมควรใช้อำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ในกรณี
เช่นว่านี้ให้นำความในวรรคสามของ มาตรา 1549 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1552 กรณีที่เด็กไม่มีมารดาหรือมีมารดา แต่มารดาถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือ
ทั้งหมดและศาลได้ตั้งผู้อื่นเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดไว้ก่อนมีการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร บิดา
ซึ่งจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วจะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งถอนความเป็นผู้ปก
ครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครอง  และให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้  ถ้าศาลเห็นว่า
บิดาอาจใช้อำนาจปกครองเพื่อความผาสุกและประโยชน์ของเด็กได้ดียิ่งกว่าผู้ปกครอง ศาลจะมีคำ
สั่งถอนความเป็นผู้ปกครองบางส่วนหรือทั้งหมดของผู้ปกครอง  และให้บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองก็ได้
	**แก้ไขโดย มาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1553 (ยกเลิก)
	**ยกเลิกโดย มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1554 ผู้มีส่วนได้เสียจะขอให้ศาลถอนการจดทะเบียนรับเด็กเป็นบุตร เพราะเหตุว่าผู้ขอให้
จดทะเบียนนั้นมิใช่บิดาก็ได้  แต่ต้องฟ้องภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้การจดทะเบียนนั้น อนึ่ง
ห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันจดทะเบียน
	มาตรา 1555 ในคดีฟ้องขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
เด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายเมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
	(1) เมื่อมีการข่มขืนกระทำชำเรา ฉุดคร่า หรือหน่วงเหนี่ยวกักขังหญิงมารดาโดยมิชอบด้วย
กฎหมายในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
	(2) เมื่อมีการลักพาหญิงมารดาไปในทางชู้สาวหรือมีการล่อลวงร่วมประเวณีกับหญิงมารดา
ในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้
	(3) เมื่อมีเอกสารของบิดาแสดงว่าเด็กนั้นเป็นบุตรของตน
	(4) เมื่อปรากฏในทะเบียนคนเกิดว่าเด็กเป็นบุตรโดยมีหลักฐานว่าบิดาเป็นผู้แจ้งการเกิด
หรือรู้เห็นยินยอมในการแจ้งนั้น
	(5) เมื่อบิดามารดาได้อยู่กินด้วยกันอย่างเปิดเผยในระยะเวลาซึ่งหญิงมารดาอาจตั้งครรภ์ได้
	(6) เมื่อได้มีการร่วมประเวณีกับหญิงมารดาในระยะเวลาซึ่งหญิงนั้นอาจตั้งครรภ์ได้ และมีเหตุ
อันควรเชื่อได้ว่าเด็กนั้นมิได้เป็นบุตรของชายอื่น
	(7) เมื่อมีพฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตร”
	พฤติการณ์ที่รู้กันทั่วไปตลอดมาว่าเป็นบุตรนั้น ให้พิจารณาข้อเท็จจริงที่แสดงความเกี่ยวข้อง
ฉันบิดากับบุตรซึ่งปรากฎในระหว่างตัวเด็กกับครอบครัวที่เด็กอ้างว่าตนสังกัดอยู่ เช่น บิดาให้การศึกษา
ให้ความอุปการะเลี้ยงดูหรือยอมให้เด็กนั้นใช้ชื่อสกุลของตนหรือโดยเหตุประการอื่น
	ในกรณีใดกรณีหนึ่งดังกล่าวข้างต้น ถ้าปรากฏว่าชายไม่อาจเป็นบิดาของเด็กนั้นได้
ให้ยกฟ้องเสีย
	*วรรคหนึ่ง(1)-(7) แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
	มาตรา 1556 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่เด็กเป็นผู้เยาว์ ถ้าเด็กมีอายุยังไม่ครบสิบห้า
ปีบริบูรณ์  ผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กเป็นผู้ฟ้องแทน ในกรณีที่เด็กไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม
หรือมีแต่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่สามารถทำหน้าที่ได้ ญาติสนิทของเด็กหรืออัยการอาจร้องขอต่อ
ศาลให้ตั้งผู้แทนเฉพาะคดีเพื่อทำหน้าที่ฟ้องคดีแทนเด็กก็ได้
	เมื่อเด็กมีอายุสิบห้าปีบริบูรณ์  เด็กต้องฟ้องเอง ทั้งนี้โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอม
ของผู้แทนโดยชอบธรรม
	ในกรณีที่เด็กบรรลุนิติภาวะแล้ว จะต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันบรรลุนิติภาวะ
	ในกรณีที่เด็กตายในระหว่างที่เด็กนั้นยังมีสิทธิฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรอยู่
ผู้สืบสันดานของเด็กจะฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรก็ได้  ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอ
ให้รับเด็กเป็นบุตรมาก่อนวันที่เด็กนั้นตาย ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่
วันที่เด็กนั้นตาย ถ้าผู้สืบสันดานของเด็กได้รู้เหตุที่อาจขอให้รับเด็กเป็นบุตรภายหลังที่เด็กนั้นตาย
ผู้สืบสันดานของเด็กจะต้องฟ้องภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้เหตุดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่พ้นสิบปีนับ
แต่วันที่เด็กนั้นตาย
	การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรในระหว่างที่ผู้สืบสันดานของเด็กเป็นผู้เยาว์ ให้นำความ
ในวรรคหนึ่งและวรรคสองมาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1557 การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 1547 ให้มีผลนับแต่วันที่
เด็กเกิด แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่
เด็กเกิดจนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึง
ที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้
*แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551
	มาตรา 1558 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความ
มรดก ถ้าศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะ
ทายาทโดยธรรม
	ในกรณีที่ได้มีการแบ่งมรดกไปแล้ว ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
เรื่องลาภมิควรได้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1559 เมื่อได้จดทะเบียนเด็กเป็นบุตรแล้วจะถอนมิได้
	มาตรา 1560 บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังนั้น  ให้ถือว่าเป็น
บุตรชอบด้วยกฎหมาย

	หมวด 2
	สิทธิและหน้าที่ของบิดามารดาและบุตร

	มาตรา 1561 บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของบิดา
	ในกรณีที่บิดาไม่ปรากฏ  บุตรมีสิทธิใช้ชื่อสกุลของมารดา
	มาตรา 1562 ผู้ใดจะฟ้องบุพการีของตนเป็นคดีแพ่ง หรือคดีอาญามิได้แต่เมื่อผู้นั้นหรือ
ญาติสนิทของผู้นั้นร้องขอ อัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวก็ได้
	มาตรา 1563 บุตรจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
	มาตรา 1564 บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดู และให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่าง
ที่เป็นผู้เยาว์
	บิดามารดาจำต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่เฉพาะผู้ทุพพลภาพและ
หาเลี้ยงตนเองมิได้
	มาตรา 1565 การร้องขอค่าอุปการะเลี้ยงบุตรหรือขอให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดู
โดยประการอื่นนอกจากอัยการจะยกคดีขึ้นว่ากล่าวตาม มาตรา 1562 แล้ว  บิดาหรือมารดาจะนำคดี
ขึ้นว่ากล่าวก็ได้
	มาตรา 1566 บุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดา
	อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา ในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  มารดาหรือบิดาตาย
	(2)  ไม่แน่นอนว่ามารดาหรือบิดามีชีวิตอยู่หรือตาย
	(3)  มารดาหรือบิดาถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
	(4)  มารดาหรือบิดาต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเพราะจิตฟั่นเฟือน
	(5)  ศาลสั่งให้อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดา
	(6)  บิดาและมารดาตกลงกันตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ให้ตกลงกันได้
	**แก้ไขโดย มาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1567 ผู้ใช้อำนาจการปกครองมีสิทธิ
	(1)  กำหนดที่อยู่ของบุตร
	(2)  ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน
	(3)  ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป
	(4)  เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย
	มาตรา 1568 เมื่อบุคคลใดมีบุตรติดมาได้สมรสกับบุคคลอื่น  อำนาจปกครองที่มีต่อบุตร
อยู่กับผู้ที่บุตรนั้นติดมา
	มาตรา 1569 ผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตร ในกรณีที่บุตรถูกศาล
สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ  ผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมเป็นผู้อนุบาลหรือ
ผู้พิทักษ์แล้วแต่กรณี
	"มาตรา 1569/1 ในกรณีที่ผู้เยาว์ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และศาลมีคำสั่งตั้ง
บุคคลอื่นซึ่งมิใช่ผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือผู้ปกครองเป็นอนุบาล  ให้คำสั่งนั้นมีผลเป็นการถอนผู้ใช้
อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองที่เป็นอยู่ในขณะนั้น
	ในกรณีที่บุคคลซึ่งบรรลุนิติภาวะ และไม่มีคู่สมรสถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ
หรือเสมือนไร้ความสามารถ ให้บิดามารดาหรือบิดาหรือมารดาเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์  แล้ว
แต่กรณี  เว้นแต่ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
	*เพิ่มเติมโดย มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1570 คำบอกกล่าวที่ผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1566  หรือ มาตรา 1568  
แจ้งไปหรือรับแจ้งมา  ให้ถือว่าเป็นคำบอกกล่าวที่บุตรได้แจ้งไปหรือรับแจ้งมา
	มาตรา 1571 อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการ
ทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ
	มาตรา 1572 ผู้ใช้อำนาจปกครองจะทำหนี้ที่บุตรจะต้องทำเองโดยมิได้รับความยินยอม
ของบุตรไม่ได้
	มาตรา 1573 ถ้าบุตรมีเงินได้ ให้ใช้เงินนั้นเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาก่อน ส่วน
ที่เหลือผู้ใช้อำนาจปกครองต้องเก็บรักษาไว้เพื่อส่งมอบแก่บุตร แต่ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองไม่มีเงินได้
เพียงพอแก่การครองชีพตามสมควรแก่ฐานะ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะใช้เงินนั้นตามสมควรก็ได้  เว้นแต่จะ
เป็นเงินได้ที่เกิดจากทรัพย์สินโดยการให้โดยเสน่หาหรือพินัยกรรมซึ่งมีเงื่อนไขว่ามิให้ผู้ใช้อำนาจ
ปกครองได้ประโยชน์จากทรัพย์สินนั้นๆ
	มาตรา 1574 นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครอง
จะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
	(1)  ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง  หรือโอนสิทธิจำนอง  ซึ่ง
อสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้
	(2)  กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพยสิทธิของผู้เยาว์ อันเกี่ยวกับ
อสังหาริมทรัพย์
	(3)  ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพยสิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์
	(4)  จำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิใน
อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้  หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่นว่านั้น
ของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพย์สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น
	(5)  ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี
	(6)  ก่อข้อผูกพันใดๆ ที่มุ่งให้เกิดผลตาม (1) (2) หรือ (3)
	(7)  ให้กู้ยืมเงิน
	(8)  ให้โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ
เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้ พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์
	(9)  รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา
	(10)  ประกันโดยประการใดๆ  อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้  หรือทำ
นิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น
	(11)  นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1598/4
(1) (2) หรือ (3)
	(12)  ประนีประนอมยอมความ
	(13)  มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย
	**แก้ไขโดย มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1575 ถ้าในกิจการใด ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือประโยชน์ของคู่สมรส 
หรือบุตรของผู้ใช้อำนาจปกครองขัดกับประโยชน์ของผู้เยาว์  ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องได้รับอนุญาตจาก
ศาลก่อนจึงทำกิจการนั้นได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
	มาตรา 1576 ประโยชน์ของผู้ใช้อำนาจปกครอง หรือของคู่สมรส หรือบุตรของผู้ใช้อำนาจ
ปกครองตามมาตรา 1575 ให้หมายความรวมถึงประโยชน์ในกิจการดังต่อไปนี้ด้วย คือ
	(1)  ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนสามัญที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน
	(2)  ประโยชน์ในกิจการที่กระทำกับห้างหุ้นส่วนจำกัดที่บุคคลดังกล่าวนั้นเป็นหุ้นส่วน
จำพวกไม่จำกัดความรับผิด
	มาตรา 1577 บุคคลใดจะโอนทรัพย์สินให้ผู้เยาว์โดยพินัยกรรมหรือโดยการให้โดยเสน่หา 
ซึ่งมีเงื่อนไขให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นผู้จัดการจนกว่าผู้เยาว์จะบรรลุนิติภาวะก็ได้ 
ผู้จัดการนั้นต้องเป็นผู้ซึ่งผู้โอนระบุชื่อไว้หรือถ้ามิได้ระบุไว้ก็ให้ศาลสั่ง แต่การจัดการทรัพย์สินนั้นต้อง
อยู่ภายใต้บังคับ มาตรา 56  มาตรา 57   มาตรา 60
	**แก้ไขโดย มาตรา 15 (4) แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1578 ในกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นไปเพราะผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ  ผู้ใช้อำนาจปกครอง
ต้องรับส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการ และบัญชีในการนั้นให้ผู้บรรลุนิติภาวะเพื่อรับรอง ถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับ
เรื่องจัดการทรัพย์สินนั้น ก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี
	ในกรณีที่อำนาจปกครองสิ้นไปเพราะเหตุอื่นนอกจากที่กล่าวในวรรคหนึ่ง ให้มอบ
ทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวกับเรื่องจัดการทรัพย์สินให้แก่ผู้ใช้อำนาจปกครอง ถ้ามี หรือ
ผู้ปกครองแล้วแต่กรณี  เพื่อรับรอง
	มาตรา 1579 ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตายและมีบุตรที่เกิดด้วยกัน และคู่สมรสอีก
ฝ่ายหนึ่งจะสมรสใหม่  ถ้าคู่สมรสนั้นได้ครอบครองทรัพย์สินอันเป็นสัดส่วนของบุตรไว้อย่างถูกต้องแล้ว
จะส่งมอบทรัพย์สินให้แก่บุตรในเมื่อสามารถจัดการก็ได้ หรือมิฉะนั้นจะเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้บุตร
เมื่อถึงเวลาอันสมควรก็ได้  แต่ถ้าทรัพย์สินใดเป็นจำพวกที่ระบุไว้ใน มาตรา 456 หรือที่มีเอกสาร
เป็นสำคัญ  ให้ลงชื่อบุตรเป็นเจ้าของรวมในเอกสารนั้นก่อนที่จะจัดการดังกล่าวคู่สมรสนั้นจะทำ
การสมรสมิได้
	ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร ศาลจะมีคำสั่งให้คู่สมรสดังกล่าวทำการสมรสไปก่อนก็ได้ คำสั่ง
ศาลเช่นว่านี้ให้ระบุไว้ด้วยว่าให้คู่สมรสปฏิบัติการแบ่งแยกทรัพย์สินและทำบัญชีทรัพย์สินตาม
ความในวรรคหนึ่งภายในกำหนดเวลาเท่าใดภายหลังการสมรสนั้นด้วย
	ในกรณีที่การสมรสได้กระทำไปโดยมิได้ปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง หรือในกรณีที่คู่สมรสไม่
ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลดังกล่าวในวรรคสอง เมื่อความปรากฏแก่ศาลเอง หรือเมื่อญาติของผู้เยาว์
หรืออัยการร้องขอ ศาลมีอำนาจสั่งให้ถอนอำนาจปกครองจากคู่สมรสนั้น หรือจะมอบให้บุคคลหนึ่ง
บุคคลใดทำบัญชีและลงชื่อบุตรเป็นเจ้าของรวมในเอกสารดังกล่าวแทนโดยให้คู่สมรสเสียค่าใช้จ่ายก็ได้
	เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ให้ถือว่าบุตรบุญธรรมของคู่สมรสที่ตายไป และที่มีชีวิตอยู่
ทั้งสองฝ่ายเป็นบุตรที่เกิดจากคู่สมรส
	มาตรา 1580 ผู้เยาว์ซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้ว  ผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองจะให้การรับรอง
การจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ได้ต่อเมื่อได้รับมอบทรัพย์สิน บัญชี และเอกสารตาม มาตรา 1578 แล้ว
	**แก้ไขโดย มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1581 คดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินในระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครองนั้น ห้าม
มิให้ฟ้องเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่อำนาจปกครองสิ้นไป
	ถ้าอำนาจปกครองสิ้นไปขณะบุตรยังเป็นผู้เยาว์อยู่ ให้เริ่มนับอายุความในวรรคหนึ่งตั้งแต่
เวลาที่ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะ หรือเมื่อมีผู้แทนโดยชอบธรรมขึ้นใหม่
	มาตรา 1582 ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถโดยคำสั่ง
ของศาลก็ดี ใช้อำนาจปกครองเกี่ยวแก่ตัวผู้เยาว์โดยมิชอบก็ดี ประพฤติชั่วร้ายก็ดี ในกรณีเหล่านี้
ศาลจะสั่งเอง หรือจะสั่งเมื่อญาติของผู้เยาว์หรืออัยการร้องขอให้ถอนอำนาจปกครองเสียบางส่วน
หรือทั้งหมดก็ได้
	ถ้าผู้ใช้อำนาจปกครองล้มละลายก็ดี หรือจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ในทางที่ผิดจนอาจ
เป็นภัยก็ดี ศาลจะสั่งตามวิธีในวรรคหนึ่งให้ถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินเสียก็ได้
	มาตรา 1583 ผู้ถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วน หรือทั้งหมดนั้น ถ้าเหตุดังกล่าวไว้ใน มาตรา ก่อนสิ้น
ไปแล้ว และเมื่อตนเองหรือญาติของผู้เยาว์ร้องขอ   ศาลจะสั่งให้มีอำนาจปกครองดังเดิมก็ได้
	มาตรา 1584 การที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้น
พ้นจากหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ตามกฎหมาย
	"มาตรา 1584/1 บิดาหรือมารดาย่อมมีสิทธิที่จะติดต่อกับบุตรของตนได้ตามควรแก่พฤติการณ์
ไม่ว่าบุคคลใดจะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองก็ตาม
	**เพิ่มเติมโดย มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)

	หมวด 3
	ความปกครอง

	มาตรา 1585 บุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและไม่มีบิดามารดาหรือบิดามารดาถูกถอนอำนาจปกครอง
เสียแล้วนั้น จะจัดให้มีผู้ปกครองขึ้นในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ก็ได้
	ในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนตาม มาตรา 1582 วรรค
หนึ่ง ศาลจะตั้งผู้ปกครองในส่วนที่ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจปกครองนั้นก็ได้ หรือในกรณีที่
ผู้ใช้อำนาจปกครองถูกถอนอำนาจจัดการทรัพย์สินตาม มาตรา 1582 วรรคสอง  ศาลจะตั้ง
ผู้ปกครองเพื่อจัดการทรัพย์สินก็ได้
	**วรรคสอง แก้ไขโดย มาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1586 ผู้ปกครองตาม มาตรา 1585 นั้น ให้ตั้งโดยคำสั่งศาลเมื่อมีการร้องขอของญาติของผู้เยาว์
อัยการ หรือผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายทีหลังได้ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ปกครอง
	ภายใต้บังคับ มาตรา 1590  การตั้งผู้ปกครองนั้น  ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรม ก็ให้ศาล
ตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม  เว้นแต่พินัยกรรมนั้นไม่มีผลบังคับหรือบุคคลที่ระบุชื่อไว้ในพินัยกรรม
นั้นเป็นบุคคลที่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม มาตรา 1587
	มาตรา 1587 บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้วอาจถูกตั้งเป็นผู้ปกครองได้ เว้นแต่
	(1)  ผู้ซึ่งศาลสั่งว่าเป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ
	(2)  ผู้ซึ่งเป็นบุคคลล้มละลาย
	(3)  ผู้ซึ่งไม่เหมาะสมจะที่ปกครองผู้เยาว์หรือทรัพย์สินของผู้เยาว์
	(4)  ผู้ซึ่งมีหรือเคยมีคดีในศาลกับผู้เยาว์ ผู้บุพการีหรือพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่
บิดาหรือมารดากับผู้เยาว์
	(5)  ผู้ซึ่งบิดาหรือมารดาที่ตายได้ทำหนังสือระบุชื่อห้ามไว้มิให้เป็นผู้ปกครอง
	** (5) แก้ไขโดย มาตรา 45 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1588 หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองเป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้ปกครองตาม
มาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้ปกครองโดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรือ
อัยการร้องขอ ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองนั้นเสีย  และมีคำสั่งเกี่ยวกับผู้ปกครองต่อไป
ตามที่เห็นสมควร
	การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองตามวรรคหนึ่ง ไม่กระทบระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอก
ผู้กระทำการโดยสุจริต  เว้นแต่ในกรณีการเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ปกครองที่ต้องห้ามตาม มาตรา 1587
(1) หรือ (2) การกระทำของผู้ปกครองไม่ผูกพันผู้เยาว์  ไม่ว่าบุคคลภายนอกจะได้กระทำการโดย
สุจริตหรือไม่
	**แก้ไขโดย มาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1589 (ยกเลิก)
	"ยกเลิกโดย มาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1590 ผู้ปกครองมีได้คราวหนึ่งเพียงคนเดียว แต่ในกรณีมีข้อกำหนดพินัยกรรมให้ตั้งผู้ปกครอง
หลายคน  หรือเมื่อมีผู้ร้องขอโดยมีเหตุผลอันสมควร ให้ศาลมีอำนาจตั้งผู้ปกครองได้ตามจำนวน
ที่ศาลเห็นว่าจำเป็น  ในกรณีที่ตั้งผู้ปกครองหลายคนศาลจะกำหนดให้ผู้ปกครองเหล่านั้นกระทำ
การร่วมกัน หรือกำหนดอำนาจเฉพาะสำหรับคนหนึ่งๆ ก็ได้
	มาตรา 1591 ความเป็นผู้ปกครองนั้นเริ่มแต่วันทราบคำสั่งตั้งของศาล
	มาตรา 1592 ให้ผู้ปกครองรีบทำบัญชีทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองให้เสร็จภายในสามเดือน
นับแต่วันที่ทราบคำสั่งตั้งของศาล  แต่ผู้ปกครองจะร้องต่อศาลก่อนสิ้นกำหนดขอให้ยืดเวลาก็ได้
	บัญชีนั้นต้องมีพยานรับรองความถูกต้องอย่างน้อยสองคนพยานสองคนนั้นต้องเป็น
ผู้บรรลุนิติภาวะและเป็นญาติของผู้อยู่ในปกครอง แต่ถ้าหาญาติไม่ได้ จะให้ผู้อื่นเป็นพยานก็ได้
	**มาตรา 1590,1591,1592 แก้ไขโดย มาตรา 48 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1593 ให้ผู้ปกครองยื่นสำเนาบัญชีทรัพย์สินที่ตนรับรองว่าถูกต้องต่อศาลฉบับหนึ่ง
ภายในสิบวันนับแต่วันที่ได้ทำบัญชีทรัพย์สินแล้ว และศาลจะสั่งให้ผู้ปกครองชี้แจงเพิ่มเติมหรือให้นำ
เอกสารมาประกอบเพื่อแสดงให้เห็นว่าบัญชีนั้นถูกต้องแล้วก็ได้
	ถ้าศาลมิได้มีคำสั่งเป็นอย่างอื่นภายในสิบห้าวันนับแต่วันยื่นบัญชี หรือวันชี้แจงเพิ่มเติม
หรือวันนำเอกสารยื่นประกอบแล้วแต่กรณี ให้ถือว่าศาลยอมรับบัญชีนั้นแล้ว
	**วรรคสอง แก้ไขโดย มาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	มาตรา 1594 ถ้าผู้ปกครองไม่ปฏิบัติเกี่ยวแก่การทำบัญชีทรัพย์สินหรือการยื่นบัญชีทรัพย์สินให้ถูก
ต้องครบถ้วนตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1592 หรือ มาตรา 1593 หรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลซึ่ง
สั่งตาม มาตรา 1593 หรือศาลไม่พอใจในบัญชีทรัพย์สินเพราะทำขึ้นด้วยความเลินเล่ออย่างร้าย
แรง หรือไม่สุจริต หรือเห็นได้ชัดว่าผู้ปกครองหย่อนความสามารถ  ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองนั้นเสียก็ได้	
	มาตรา 1595 ก่อนที่ศาลยอมรับบัญชีนั้น ห้ามมิให้ผู้ปกครองทำกิจการใด เว้นแต่เป็นการเร่งร้อนและ
จำเป็น แต่จะยกข้อห้ามดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้กระทำการโดยสุจริตและเสียค่า
ตอบแทนไม่ได้
	มาตรา 1596 ถ้ามีหนี้เป็นคุณแก่ผู้ปกครอง แต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง  หรือเป็นคุณแก่
ผู้อยู่ในปกครอง แต่เป็นโทษต่อผู้ปกครอง  ให้ผู้ปกครองแจ้งข้อความเหล่านั้นต่อศาลก่อนลงมือ
ทำบัญชีทรัพย์สิน
	ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นคุณแก่ตน แต่เป็นโทษต่อผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความ
นั้นต่อศาล หนี้ของผู้ปกครองนั้นย่อมสูญไป
	ถ้าผู้ปกครองรู้ว่ามีหนี้เป็นโทษต่อตน แต่เป็นคุณแก่ผู้อยู่ในปกครอง และมิได้แจ้งข้อความ
นั้นต่อศาล ศาลจะสั่งถอนผู้ปกครองก็ได้
	มาตรา 1597 เมื่อศาลเห็นสมควรโดยลำพัง หรือเมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรืออัยการร้องขอ ศาลอาจ
สั่งให้ผู้ปกครอง
	(1) หาประกันอันสมควรในการจัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง ตลอดจนการมอบคืน
ทรัพย์สินนั้น
	(2) แถลงถึงความเป็นอยู่แห่งทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครอง
	มาตรา 1598 ในระหว่างปกครอง  ถ้าผู้อยู่ในปกครองได้ทรัพย์สินอันมีค่ามาโดยทางมรดกหรือ
การให้โดยเสน่หา ให้นำ มาตรา 1592 ถึง มาตรา 1597 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	"มาตรา 1598/1 ให้ผู้ปกครองทำบัญชีทรัพย์สินส่งต่อศาลปีละครั้งนับแต่วันเป็นผู้ปกครอง
แต่เมื่อศาลได้รับบัญชีปีแรกแล้ว จะสั่งให้ส่งบัญชีเช่นว่านั้นในระยะเวลาเกินหนึ่งปีก็ได้
	"มาตรา 1598/2 ผู้ปกครองมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ใช้อำนาจปกครองตาม มาตรา 1564
วรรคหนึ่งและ มาตรา 1567
	"มาตรา 1598/3 ผู้ปกครองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้อยู่ในปกครอง
	ให้นำ มาตรา 1570 มาตรา 1571มาตรา 1572  มาตรา 1574  มาตรา 1575  มาตรา 1576  และ
มาตรา 1577   มาใช้บังคับแก่ผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครองโดยอนุโลม
	"มาตรา 1598/4 เงินได้ของผู้อยู่ในปกครองนั้น ผู้ปกครองย่อมใช้ได้ตามสมควรเพื่อการ
อุปการะเลี้ยงดูและการศึกษาของผู้อยู่ในปกครอง  ถ้ามีเหลือให้ใช้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ เฉพาะ
ในเรื่องต่อไปนี้
	(1)  ซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทยหรือพันธบัตรที่รัฐบาลไทยค้ำประกัน
	(2)  รับขายฝากหรือรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ในลำดับแรก แต่จำนวนเงินที่รับขายฝาก
หรือรับจำนองต้องไม่เกินกึ่งราคาตลาดของอสังหาริมทรัพย์นั้น
	(3)  ฝากประจำในธนาคารที่ได้ตั้งขึ้นโดยกฎหมายหรือที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการ
ในราชอาณาจักร
	(4)  ลงทุนอย่างอื่นซึ่งศาลอนุญาตเป็นพิเศษ
	"มาตรา 1598/5 ถ้าผู้อยู่ในปกครองรู้จักผิดชอบและมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์  เมื่อ
ผู้ปกครองจะทำกิจการใดที่สำคัญ   ให้ปรึกษาหารือผู้อยู่ในปกครองก่อนเท่าที่จะทำได้
	การที่ผู้อยู่ในปกครองได้ยินยอมด้วยนั้น  หาคุ้มผู้ปกครองให้พ้นจากความรับผิดไม่
	"มาตรา 1598/6 ความปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้อยู่ในปกครองตายหรือบรรลุนิติภาวะ
	"มาตรา 1598/7 ความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลงเมื่อผู้ปกครอง
	(1)  ตาย
	(2)  ลาออกโดยได้รับอนุญาตจากศาล
	(3)  เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ
	(4)  เป็นบุคคลล้มละลาย
	(5)  ถูกถอนโดยคำสั่งศาล
	"มาตรา 1598/8 ให้ศาลสั่งถอนผู้ปกครองในกรณีดังต่อไปนี้
	(1)  ผู้ปกครองละเลยไม่กระทำการตามหน้าที่
	(2)  ผู้ปกครองประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงในหน้าที่
	(3)  ผู้ปกครองใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ
	(4)  ผู้ปกครองประพฤติมิชอบซึ่งไม่สมควรแก่หน้าที่
	(5)  ผู้ปกครองหย่อนความสามารถในหน้าที่จนน่าจะเป็นอันตรายแก่ประโยชน์ของผู้อยู่
ในปกครอง
	(6)  มีกรณีดังบัญญัติไว้ใน มาตรา 1587 (3) (4) หรือ (5)
	**มาตรา 1598/6,1598/8 แก้ไขโดย มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/9 การร้องขอให้ถอนผู้ปกครองตาม มาตรา 1598/8 นั้น ผู้อยู่ในปกครองซึ่ง
มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์ หรือญาติของผู้ในปกครอง หรืออัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
	"มาตรา 1598/10 ในระหว่างพิจารณาคำร้องขอให้ถอนผู้ปกครอง ศาลจะตั้งผู้จัดการ
ชั่วคราวให้จัดการทรัพย์สินของผู้อยู่ในปกครองแทนผู้ปกครองก็ได้
	"มาตรา 1598/11 ถ้าความปกครองหรือความเป็นผู้ปกครองสิ้นสุดลง ให้ผู้ปกครองหรือ
ทายาทรีบส่งมอบทรัพย์สินที่จัดการแก่ผู้อยู่ในปกครอง หรือทายาท หรือผู้ปกครองคนใหม่ และให้
ทำบัญชีในการจัดการทรัพย์สินส่งมอบภายในเวลาหกเดือน และถ้ามีเอกสารเกี่ยวกับเรื่องจัดการ
ทรัพย์สินนั้นก็ให้ส่งมอบพร้อมกับบัญชี แต่เมื่อผู้ปกครองหรือทายาทร้องขอ  ศาลจะสั่งให้ยืดเวลา
ก็ได้
	ให้นำ มาตรา 1580 และ มาตรา 1581 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	"มาตรา 1598/12 นับแต่วันส่งมอบบัญชี  ให้เริ่มคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินซึ่งผู้ปกครองหรือ
ผู้อยู่ในปกครองจะต้องคืนให้แก่กัน
	ถ้าผู้ปกครองใช้เงินของผู้อยู่ในปกครองนอกจากเพื่อประโยชน์ของผู้อยู่ในปกครองแล้ว
ให้เสียดอกเบี้ยร้อยละสิบห้าต่อปีในจำนวนเงินนั้นตั้งแต่วันใช้เป็นต้นไป
	"มาตรา 1598/13 ผู้อยู่ในปกครองมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของผู้ปกครองเพื่อ
ชำระหนี้ซึ่งค้างอยู่แก่ตน
	บุริมสิทธินี้ให้อยู่ในลำดับที่หกถัดจากบุริมสิทธิสามัญอย่างอื่นตาม มาตรา 253 แห่ง
ประมวลกฎหมายนี้
	"มาตรา 1598/14 ผู้ปกครองไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ  เว้นแต่ในกรณีต่อไปนี้
	(1)  มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จ ในกรณีเช่นว่านี้ ให้ผู้ปกครอง
ได้รับบำเหน็จเท่าที่กำหนดในพินัยกรรม
	(2)  ในกรณีที่พินัยกรรมไม่ได้กำหนดบำเหน็จไว้  แต่ไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครองรับ
บำเหน็จ ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่
เพียงใดก็ได้
	(3)  ในกรณีที่ไม่มีคำสั่งตั้งผู้ปกครองไว้ในพินัยกรรม และไม่มีข้อกำหนดห้ามผู้ปกครอง
รับบำเหน็จ ศาลจะกำหนดบำเหน็จให้แก่ผู้ปกครองในคำสั่งตั้งผู้ปกครองก็ได้ หรือถ้าศาลมิได้
กำหนด ผู้ปกครองจะร้องขอต่อศาลให้กำหนดบำเหน็จในภายหลังก็ได้ ศาลจะกำหนดให้หรือไม่
เพียงใดก็ได้
	ในการพิจารณากำหนดบำเหน็จ  ให้ศาลพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ รายได้ และฐานะ
ความเป็นอยู่ของผู้ปกครองและผู้อยู่ในปกครอง
	ถ้าผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองแสดงได้ว่าพฤติการณ์รายได้ หรือฐานะความเป็นอยู่
ของผู้ปกครองหรือผู้อยู่ในปกครองได้เปลี่ยนแปลงไปภายหลังที่ได้เข้ารับหน้าที่ผู้ปกครอง ศาลจะ
สั่งให้บำเหน็จ งด ลด เพิ่ม หรือกลับให้บำเหน็จแก่ผู้ปกครองอีกก็ได้ แล้วแต่กรณี  ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับ
แก่กรณีที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ในพินัยกรรมมิให้ผู้ปกครองได้รับบำเหน็จด้วย
	"มาตรา 1598/15 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและภริยา
หรือสามีเป็นผู้อนุบาล  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับ
โดยอนุโลมเว้นแต่สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3)
	**แก้ไขโดย มาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/16 คู่สมรสซึ่งเป็นผู้อนุบาลของคู่สมรสที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถมีอำนาจจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง และมีอำนาจจัดการสินสมรสแต่ผู้เดียว
แต่การจัดการสินส่วนตัวและสินสมรสตามกรณีที่ระบุไว้ใน มาตรา 1476 วรรคหนึ่ง คู่สมรสนั้น
จะจัดการไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
	"มาตรา 1598/17 ในกรณีที่ศาลสั่งให้สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและศาล
เห็นไม่สมควรให้คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล และตั้งบิดาหรือมารดาหรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาล
ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้อนุบาลเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันกับคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง  เว้นแต่ถ้ามี
เหตุสำคัญอันจะเกิดความเสียหายแก่คนไร้ความสามารถ ศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่นก็ได้
	อย่างไรก็ตาม เมื่อมีกรณีดังกล่าวตามวรรคหนึ่ง  คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิร้องขอต่อศาล
ให้สั่งแยกสินสมรสได้
	"มาตรา 1598/18 ในกรณีที่บิดามารดาเป็นผู้อนุบาลบุตร ถ้าบุตรนั้นยังไม่บรรลุนิติภาวะ
ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม  แต่ถ้าบุตรนั้น
บรรลุนิติภาวะแล้ว  ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับ
โดยอนุโลม  เว้นแต่สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3)
	ในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาล  ให้นำบทบัญญัติว่า
ด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลม  แต่ถ้าผู้อยู่ในความอนุบาล
บรรลุนิติภาวะแล้ว จะใช้สิทธิตาม มาตรา 1567 (2) และ (3) ไม่ได้

	หมวด 4
	บุตรบุญธรรม

	"มาตรา 1598/19 บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบห้าปีจะรับบุคคลอื่นเป็นบุตรบุญธรรมก็ได้
แต่ผู้นั้นต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อยสิบห้าปี
	**มาตรา 1598/18,1598/19 แก้ไขโดย มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประ
มวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/20 การรับบุตรบุญธรรม ถ้าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปี
ผู้นั้นต้องให้ความยินยอมด้วย
	"มาตรา 1598/21 การรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมจะกระทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของ
บิดาและมารดาของผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม  ในกรณีที่บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอน
อำนาจปกครองต้องได้รับความยินยอมของมารดาหรือบิดาซึ่งยังมีอำนาจปกครอง
	ถ้าไม่มีผู้มีอำนาจให้ความยินยอมดังกล่าวในวรรคหนึ่ง  หรือมีแต่บิดาหรือมารดาคนใด
คนหนึ่งหรือทั้งสองคนไม่สามารถแสดงเจตนาให้ความยินยอมได้หรือไม่ให้ความยินยอมและการ
ไม่ให้ความยินยอมนั้นปราศจากเหตุผลอันสมควรและเป็นปฏิปักษ์ต่อสุขภาพ ความเจริญหรือ
สวัสดิภาพของผู้เยาว์ มารดาหรือบิดาหรือผู้ประสงค์จะขอรับบุตรบุญธรรมหรืออัยการจะร้องขอ
ต่อศาลให้มีคำสั่งอนุญาตแทนการให้ความยินยอมตามวรรคหนึ่งก็ได้
	"มาตรา 1598/22 ในการรับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรม  ถ้าผู้เยาว์เป็นผู้ถูกทอดทิ้งและอยู่
ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก ให้
สถานสงเคราะห์เด็กเป็นผู้ให้ความยินยอมแทนบิดาและมารดา ถ้าสถานสงเคราะห์เด็กไม่ให้
ความยินยอม  ให้นำความใน มาตรา 1598/21 วรรคสอง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	"มาตรา 1598/23 ในกรณีที่ผู้เยาว์มิได้ถูกทอดทิ้ง แต่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของสถาน
สงเคราะห์ เด็กตามกฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์และคุ้มครองเด็ก บิดาและมารดา หรือบิดา หรือ
มารดาในกรณีที่มารดา หรือบิดาคนใดคนหนึ่งตายหรือถูกถอนอำนาจปกครอง จะทำหนังสือมอบ
อำนาจให้สถานสงเคราะห์เด็กดังกล่าวเป็นผู้มีอำนาจให้ความยินยอมในการรับผู้เยาว์เป็นบุตร
บุญธรรมแทนตนก็ได้  ในกรณีเช่นนั้นให้นำความใน มาตรา 1598/22 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	หนังสือมอบอำนาจตามวรรคหนึ่งจะถอนเสียมิได้ตราบเท่าที่ผู้เยาว์ยังอยู่ในความอุปการะ
เลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้น
	"มาตรา 1598/24 ผู้มีอำนาจให้ความยินยอมแทนสถานสงเคราะห์เด็กในการรับบุตร
บุญธรรมตามมาตรา 1598/22 หรือ มาตรา 1598/23  จะรับผู้เยาว์ซึ่งอยู่ในความดูแลหรืออยู่ในความ
อุปการะเลี้ยงดูของสถานสงเคราะห์เด็กนั้นเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองได้ต่อเมื่อศาลได้มีคำสั่ง
อนุญาตตามคำขอของผู้นั้น แทนการให้ความยินยอมของสถานสงเคราะห์เด็ก
	"มาตรา 1598/25 ผู้จะรับบุตรบุญธรรมหรือผู้จะเป็นบุตรบุญธรรม ถ้ามีคู่สมรสอยู่ต้อง
ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน  ในกรณีที่คู่สมรสไม่อาจให้ความยินยอมได้หรือไปเสียจาก
ภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่และหาตัวไม่พบเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี ต้องร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่ง
อนุญาตแทนการให้ความยินยอมของคู่สมรสนั้น
	**มาตรา 1598/21,1598/22,1598/23,1598/24,1598/25 แก้ไขโดย มาตรา 53 แห่งพระ
ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107
ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/26 ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดอยู่จะเป็นบุตรบุญธรรมของ
บุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่เป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
	ถ้าคู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียนรับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นบุตรบุญธรรมของตนด้วย จะต้องได้รับความยินยอมของคู่สมรสซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมอยู่
แล้วและมิให้นำ มาตรา 1598/21  มาใช้บังคับ
	**วรรคสอง เพิ่มเติมโดย มาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตร
บุญธรรมก่อน
	**แก้ไขโดย มาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/28 บุตรบุญธรรมย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ผู้รับบุตรบุญธรรมนั้นแต่ไม่สูญสิทธิและหน้าที่ในครอบครัวที่ได้กำเนิดมา ในกรณีเช่นนี้ให้บิดา
มารดาโดยกำเนิดหมดอำนาจปกครองนับแต่วันเวลาที่เด็กเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว
	ให้นำบทบัญญัติใน ลักษณะ 2 หมวด 2 แห่งบรรพนี้มาใช้บังคับโดยอนุโลม
	"มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม
ในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการรับบุตรบุญธรรมนั้น
	"มาตรา 1598/30 ถ้าบุตรบุญธรรมซึ่งไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดานตายก่อนผู้รับบุตร
บุญธรรม  ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจาก
กองมรดกของบุตรบุญธรรมเพียงเท่าที่ทรัพย์สินนั้นยังคงเหลืออยู่ภายหลังที่ชำระหนี้ของกอง
มรดกเสร็จสิ้นแล้ว
	ห้ามมิให้ฟ้องคดีเรียกร้องสิทธิตามวรรคหนึ่งเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตร
บุญธรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของบุตรบุญธรรม หรือเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันที่บุตร
บุญธรรมตาย
	"มาตรา 1598/31 การเลิกรับบุตรบุญธรรม  ถ้าบุตรบุญธรรมบรรลุนิติภาวะแล้วจะเลิก
โดยความตกลงกันในระหว่างผู้รับบุตรบุญธรรมกับบุตรบุญธรรมเมื่อใดก็ได้
	ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับ
ความยินยอมของบิดาและมารดา และให้นำ มาตรา 1598/20 และ  มาตรา 1598/21 มาใช้บังคับ
โดยอนุโลม
	ในกรณีที่ได้รับผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมตาม มาตรา 1598/21 วรรคสอง  มาตรา 1598/22
มาตรา 1598/23  มาตรา 1598/24  หรือ มาตรา 1598/26 วรรคสอง ถ้าบุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติ
ภาวะ การเลิกรับบุตรบุญธรรมให้กระทำได้ต่อเมื่อมีคำสั่งศาลโดยคำร้องขอของผู้มีส่วนได้เสีย หรือ
อัยการ
	การเลิกรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
	**วรรคสาม แก้ไขโดย มาตรา 56 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่ง
และพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/32 การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิก เมื่อมีการสมรสฝ่าฝืน
มาตรา 1451
	"มาตรา 1598/33 คดีฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรมนั้นเมื่อ
	(1)  ฝ่ายหนึ่งทำการชั่วร้ายไม่ว่าจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ เป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
อับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินควร
อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
	(2)  ฝ่ายหนึ่งหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่งหรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่งอัน
เป็นการร้ายแรง อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้ ถ้าบุตรบุญธรรมกระทำการดังกล่าวต่อคู่สมรสของผู้รับ
บุตรบุญธรรม ให้ผู้รับบุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
	(3)  ฝ่ายหนึ่งกระทำการประทุษร้ายอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการี หรือคู่สมรสของอีกฝ่ายหนึ่ง
เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอย่างร้ายแรง และการกระทำนั้นเป็นความผิดที่มี
โทษอาญา อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
	(4)  ฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
	(5)  ฝ่ายหนึ่งจงใจละทิ้งอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องเลิกได้
	(6)  ฝ่ายหนึ่งต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกเกินสามปี เว้นแต่ความผิดที่กระทำโดย
ประมาท อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องเลิกได้
	(7)  ผู้รับบุตรบุญธรรมทำผิดหน้าที่บิดามารดา และการกระทำนั้นเป็นการละเมิดหรือ
ไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 1564  มาตรา 1571  มาตรา 1573  มาตรา 1574 หรือ มาตรา 1575 เป็น
เหตุให้เกิดหรืออาจเกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อบุตรบุญธรรม บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
	(8)  ผู้รับบุตรบุญธรรมผู้ใดถูกถอนอำนาจปกครองบางส่วนหรือทั้งหมด และเหตุที่ถูกถอน
อำนาจปกครองนั้นมีพฤติการณ์แสดงให้เห็นว่า  ผู้นั้นไม่สมควรเป็นผู้รับบุตรบุญธรรมต่อไป
บุตรบุญธรรมฟ้องเลิกได้
	(9)  (ยกเลิก)
	**มาตรา 1598/33 (1)(2)และ(3) แก้ไขโดย มาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
	**มาตรา 1598/33 (8) แก้ไขโดย มาตรา 58 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
	**มาตรา 1598/33 (9) แก้ไขโดย มาตรา 59 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน
2533)
	"มาตรา 1598/34 ห้ามมิให้ฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับ
แต่วันที่ผู้ขอเลิกการรับบุตรบุญธรรมรู้ หรือควรได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุให้เลิกการนั้น หรือเมื่อ
พ้นกำหนดสิบปีนับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
	"มาตรา 1598/35 การฟ้องเลิกการรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุไม่ครบ
สิบห้าปีบริบูรณ์  ให้บิดามารดาโดยกำเนิดเป็นผู้มีอำนาจฟ้องแทน แต่ถ้าบุตรบุญธรรมมีอายุ
สิบห้าปีบริบูรณ์แล้วบุตรบุญธรรมฟ้องได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใด
	ในกรณีตามวรรคหนึ่ง อัยการจะฟ้องคดีแทนบุตรบุญธรรมก็ได้
	**มาตรา 1598/35 แก้ไขโดย มาตรา 60 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2533 (รจ. เล่ม 107 ตอนที่ 187 วันที่ 26 กันยายน 2533)
	"มาตรา 1598/36 การเลิกรับบุตรบุญธรรมโดยคำพิพากษาของศาล  ย่อมมีผลแต่เวลาที่
คำพิพากษาถึงที่สุดแต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่
ได้จดทะเบียนแล้ว
	"มาตรา 1598/37 เมื่อผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือมีการเลิกรับบุตรบุญธรรม ถ้าบุตรบุญธรรม
ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้บิดามารดาโดยกำเนิดกลับมีอำนาจปกครองนับแต่เวลาที่ผู้รับบุตรบุญธรรมตาย
หรือนับแต่เวลาที่จดทะเบียนเลิกการรับบุตรบุญธรรมตามมาตรา 1598/31 หรือนับแต่เวลาที่ศาลมี
คำพิพากษาถึงที่สุดให้เลิกการรับบุตรบุญธรรม เว้นแต่ศาลเห็นสมควรสั่งเป็นประการอื่น
	ในกรณีที่มีการตั้งผู้ปกครองของผู้เป็นบุตรบุญธรรมไว้ก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตาย หรือก่อน
การเลิกรับบุตรบุญธรรม ให้ผู้ปกครองยังคงมีอำนาจหน้าที่เช่นเดิมต่อไป เว้นแต่บิดามารดาโดยกำเนิด
จะร้องขอ และศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องขอเป็นผู้มีอำนาจปกครอง
	การเปลี่ยนผู้ใช้อำนาจปกครองตามวรรคหนึ่งหรือผู้ปกครองตามวรรคสองไม่เป็นเหตุเสื่อมสิทธิ
ที่บุคคลภายนอกได้มาโดยสุจริตก่อนผู้รับบุตรบุญธรรมตายหรือก่อนจดทะเบียนเลิกการรับ
บุตรบุญธรรม
	ให้พนักงานอัยการเป็นผู้มีอำนาจร้องขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งเป็นประการอื่นตามวรรคหนึ่ง
	**มาตรา 1598/37 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2551

	ลักษณะ 3
	ค่าอุปการะเลี้ยงดู

	"มาตรา 1598/38 ค่าอุปการะเลี้ยงดูระหว่างสามีภริยา หรือระหว่างบิดามารดากับบุตรนั้น
ย่อมเรียกจากกันได้เมื่อฝ่ายที่ควรได้รับอุปการะเลี้ยงดู ไม่ได้รับการอุปการะเลี้ยงดู  หรือได้รับการ
อุปการะเลี้ยงดูไม่เพียงพอแก่อัตภาพ  ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้  ศาลอาจให้เพียงใดหรือไม่ให้ก็ได้
โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้มีหน้าที่ต้องให้ ฐานะของผู้รับ และพฤติการณ์แห่งกรณี
	"มาตรา 1598/39 เมื่อผู้มีส่วนได้เสียแสดงว่าพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของคู่กรณีได้
เปลี่ยนแปลงไปศาลจะสั่งแก้ไขในเรื่องค่าอุปการะเลี้ยงดูโดยให้เพิกถอน ลด เพิ่ม หรือกลับให้ค่า
อุปการะเลี้ยงดูอีกก็ได้
	ในกรณีที่ศาลไม่พิพากษาให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู เพราะเหตุแต่เพียงอีกฝ่ายหนึ่งไม่อยู่ใน
ฐานะที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ในขณะนั้น  หากพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของอีกฝ่ายหนึ่ง
นั้นได้เปลี่ยนแปลงไป  และพฤติการณ์ รายได้ หรือฐานะของผู้เรียกร้องอยู่ในสภาพที่ควรได้รับค่า
อุปการะเลี้ยงดู ผู้เรียกร้องอาจร้องขอให้ศาลเปลี่ยนแปลงคำสั่งในคดีนั้นใหม่ได้
	"มาตรา 1598/40 ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น ให้ชำระเป็นเงินโดยวิธีชำระเป็นครั้งคราวตาม
กำหนด เว้นแต่คู่กรณีจะตกลงกันให้ชำระเป็นอย่างอื่น  ถ้าไม่มีการตกลงกันและมีเหตุพิเศษ เมื่อฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งร้องขอและศาลเห็นสมควร จะกำหนดให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูเป็นอย่างอื่นหรือโดยวิธีอื่น
โดยจะให้ชำระเป็นเงินด้วยหรือไม่ก็ได้
	ในกรณีขอค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร  เมื่อมีเหตุพิเศษ  และศาลเห็นเป็นการสมควรเพื่อ
ประโยชน์แก่บุตร จะกำหนดให้บุตรได้รับการอุปการะเลี้ยงดูโดยประการใดๆ นอกจากที่คู่กรณี
ตกลงกัน หรือนอกจากที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอก็ได้ เช่น ให้ไปอยู่ในสถานการศึกษา หรือวิชาชีพ
โดยให้ผู้ที่มีหน้าที่ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูออกค่าใช้จ่ายในการนี้
	"มาตรา 1598/41 สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนั้น จะสละ หรือโอนมิได้ และไม่อยู่
ในข่ายแห่งการบังคับคดี

	บรรพ 6
	มรดก
	ลักษณะ 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป
	หมวด 1
	การตกทอดแห่งทรัพย์มรดก

	มาตรา 1599 เมื่อบุคคลใดตาย มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
	ทายาทอาจเสียไปซึ่งสิทธิในมรดกได้แต่โดยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
	มาตรา 1600 ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้  กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สิน
ทุกชนิดของผู้ตาย  ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่  ละความรับผิดต่างๆ  เว้นแต่ตามกฎหมาย หรือว่าโดย
สภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
	มาตรา 1601 ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน
	มาตรา 1602 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 62 แห่งประมวลกฎหมายนี้
มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่ทายาท
	ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นยังคงมีชีวิตอยู่ หรือตายในเวลาอื่นผิดไปจากเวลาดั่งระบุไว้ใน
คำสั่งที่สั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้ใช้บทบัญญัติ มาตรา 63 แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับแก่ทายาท
ของบุคคลนั้น
	**แก้ไขโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจ
ชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1603 กองมรดกย่อมตกทอดแก่ทายาทโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรม
	ทายาทที่มีสิทธิตามกฎหมาย  เรียกว่า  "ทายาทโดยธรรม"
	ทายาทที่มีสิทธิตามพินัยกรรม  เรียกว่า  "ผู้รับพินัยกรรม"

	หมวด 2
	การเป็นทายาท

	มาตรา 1604 บุคคลธรรมดาจะเป็นทายาทได้ก็ต่อเมื่อมีสภาพบุคคลหรือสามารถมีสิทธิได้ตาม
มาตรา 15 แห่งประมวลกฎหมายนี้  ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
	เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้  ให้ถือว่าเด็กที่เกิดมารอดอยู่ภายในสามร้อยสิบวันนับแต่เวลา
ที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายนั้น เป็นทารกในครรภ์มารดาอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
	มาตรา 1605 ทายาทคนใดยักย้าย หรือปิดบังทรัพย์มรดกเท่าส่วนที่ตนจะได้หรือมากกว่านั้นโดยฉ้อฉล
หรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่น  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกเลย
แต่ถ้าได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกน้อยกว่าส่วนที่ตนจะได้  ทายาทคนนั้นต้องถูกกำจัดมิให้ได้
มรดกเฉพาะส่วนที่ได้ยักย้ายหรือปิดบังไว้นั้น
	มาตรานี้มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรม  ซึ่งผู้ตายได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้เฉพาะ
สิ่งเฉพาะอย่าง ในอันที่จะได้รับทรัพย์สินนั้น
	มาตรา 1606 บุคคลดั่งต่อไปนี้ต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควร  คือ
	(1)  ผู้ที่ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าได้เจตนากระทำ หรือพยายามกระทำ ให้เจ้ามรดก
หรือผู้มีสิทธิได้รับมรดกก่อนตนถึงแก่ความตายโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
	(2)  ผู้ที่ได้ฟ้องเจ้ามรดกหาว่าทำความผิดโทษประหารชีวิต และตนเองกลับต้องคำ
พิพากษาถึงที่สุดว่ามีความผิดฐานฟ้องเท็จ หรือทำพยานเท็จ
	(3)  ผู้ที่รู้แล้วว่าเจ้ามรดกถูกฆ่าโดยเจตนา แต่มิได้นำข้อความนั้นขึ้นร้องเรียนเพื่อเป็นทาง
ที่จะเอาตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ  แต่ข้อนี้มิให้ใช้บังคับ ถ้าบุคคลนั้นมีอายุยังไม่ครบสิบหกปีบริบูรณ์
หรือเป็นคนวิกลจริตไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือถ้าผู้ที่ฆ่านั้นเป็นสามีภริยาหรือผู้บุพการี หรือ
ผู้สืบสันดานของตนโดยตรง
	(4)  ผู้ที่ฉ้อฉลหรือข่มขู่ให้เจ้ามรดกทำ หรือเพิกถอน หรือเปลี่ยนแปลงพินัยกรรมแต่
บางส่วนหรือทั้งหมดซึ่งเกี่ยวกับทรัพย์มรดก หรือไม่ให้กระทำการดั่งกล่าวนั้น
	(5)  ผู้ที่ปลอม ทำลาย หรือปิดบังพินัยกรรมแต่บางส่วนหรือทั้งหมด
	เจ้ามรดกอาจถอนข้อกำจัดฐานเป็นผู้ไม่สมควรเสียก็ได้ โดยให้อภัยไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
	มาตรา 1607 

	การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบ
มรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว  แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมา
เช่นนี้ ทายาทที่ว่านั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดั่งที่ระบุไว้ใน บรรพ 5 ลักษณะ 2  หมวด 3  แห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้ มาตรา 1548 บังคับโดยอนุโลม

	หมวด 3
	การตัดมิให้รับมรดก

	มาตรา 1608 เจ้ามรดกจะตัดทายาทโดยธรรมของตนคนใดมิให้รับมรดกก็ได้แต่ด้วยแสดง
เจตนาชัดแจ้ง
	(1)  โดยพินัยกรรม
	(2)  โดยทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
	ตัวทายาทผู้ถูกตัดมิให้รับมรดกนั้นต้องระบุไว้ให้ชัดเจน
	แต่เมื่อบุคคลใดได้ทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์มรดกเสียทั้งหมดแล้ว ให้ถือว่าบรรดา
ทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรม เป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก
	มาตรา 1609 การแสดงเจตนาตัดมิให้รับมรดกนั้นจะถอนเสียก็ได้
	ถ้าการตัดมิให้รับมรดกนั้นได้ทำโดยพินัยกรรมจะถอนเสียได้ก็แต่โดยพินัยกรรมเท่านั้น
แต่ถ้าการตัดมิให้รับมรดกได้ทำเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ การถอนจะทำตามแบบใด
แบบหนึ่งดั่งบัญญัติไว้ใน มาตรา 1608 (1) หรือ (2) ก็ได้

	หมวด 4
	การสละมรดกและอื่นๆ

	มาตรา 1610 ถ้ามรดกตกทอดแก่ผู้เยาว์ หรือบุคคลวิกลจริต หรือบุคคล ผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงาน
ของตนเองได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้  และบุคคลนั้นยังไม่มีผู้แทน
โดยชอบธรรม หรือผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการร้องขอ ก็ให้ศาล
ตั้งผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี
	มาตรา 1611 ทายาทซึ่งเป็นผู้เยาว์ บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลผู้ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเอง
ได้ตามความหมายแห่ง มาตรา 32 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะทำการดั่งต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่จะได้
รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ แล้วแต่กรณี และได้รับอนุมัติ
จากศาลแล้ว คือ
	(1)  สละมรดก
	(2)  รับมรดกอันมีค่าภาระติดพันหรือเงื่อนไข
	**มาตรา 1610,1611 แก้ไขโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42
วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1612 การสละมรดกนั้น ต้องแสดงเจตนาชัดแจ้งเป็นหนังสือมอบไว้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
หรือทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ
	มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมีเงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้
	การสละมรดกนั้น จะถอนเสียมิได้
	มาตรา 1614 ถ้าทายาทสละมรดกด้วยวิธีใดโดยที่รู้อยู่ว่าการที่ทำเช่นนั้นจะทำให้เจ้าหนี้ของตนเสีย
เปรียบ  เจ้าหนี้มีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนการสละมรดกนั้นเสียได้ แต่ความข้อนี้มิให้ใช้บังคับ
ถ้าปรากฏว่าในขณะที่สละมรดกนั้น  บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริง
อันเป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการสละมรดกโดยเสน่หา  เพียงแต่
ทายาทผู้สละมรดกเป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
	เมื่อได้เพิกถอนการสละมรดกแล้ว  เจ้าหนี้จะร้องขอให้ศาลสั่งเพื่อให้ตนรับมรดกแทนที่
ทายาทและในสิทธิของทายาทนั้นก็ได้
	ในกรณีเช่นนี้ เมื่อได้ชำระหนี้ของทายาทนั้นให้แก่เจ้าหนี้แล้ว  ถ้าส่วนของทายาทนั้นยัง
มีเหลืออยู่อีก ก็ให้ได้แก่ผู้สืบสันดานของทายาทนั้นหรือทายาทอื่นของเจ้ามรดกแล้วแต่กรณี
	มาตรา 1615 การที่ทายาทสละมรดกนั้น  มีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกตาย
	เมื่อทายาทโดยธรรมคนใดสละมรดก ผู้สืบสันดานของทายาทคนนั้นสืบมรดกได้ตามสิทธิ
ของตน และชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากับส่วนแบ่งที่ผู้สละมรดกนั้นจะได้รับ แต่ผู้สืบสันดานนั้น
ต้องไม่ใช่ผู้ที่บิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้อนุบาล แล้วแต่กรณี ได้บอกสละมรดกโดยสมบูรณ์
ในนามของผู้สืบสันดานนั้น
	มาตรา 1616 ถ้าผู้สืบสันดานของผู้สละมรดกได้มรดกมาดั่งกล่าวไว้ใน มาตรา 1615 แล้ว ผู้ที่ได้สละ
มรดกนั้นไม่มีสิทธิในส่วนทรัพย์สินอันผู้สืบสันดานของตนได้รับมรดกมาในอันที่จะจัดการและใช้
ดั่งที่ระบุไว้ใน บรรพ 5 ลักษณะ 2 หมวด 3 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และให้ใช้ มาตรา 1548
บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1617 ผู้รับพินัยกรรมคนใดสละมรดก  ผู้นั้นรวมตลอดทั้งผู้สืบสันดานไม่มีสิทธิจะรับมรดกที่ได้
สละแล้วนั้น
	มาตรา 1618 ถ้าทายาทโดยธรรมผู้ที่ได้สละมรดกไม่มีผู้สืบสันดานที่จะรับมรดกได้ หรือผู้รับพินัยกรรม
ได้สละมรดก ให้ปันส่วนแบ่งของผู้ที่ได้สละมรดกนั้นๆ แก่ทายาทอื่นของเจ้ามรดกต่อไป
	มาตรา 1619 ผู้ใดจะสละหรือจำหน่ายจ่ายโอนโดยประการใดซึ่งสิทธิอันหากจะมีในภายหน้าในการ
สืบมรดกผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นไม่ได้

	ลักษณะ 2
	สิทธิโดยธรรมในการรับมรดก
	หมวด 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 1620 ถ้าผู้ใดตายโดยไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ หรือทำพินัยกรรมไว้ แต่ไม่มีผลบังคับได้ ให้ปันทรัพย์
มรดกทั้งหมดแก่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายนั้นตามกฎหมาย
	ถ้าผู้ใดตายโดยได้ทำพินัยกรรมไว้ แต่พินัยกรรมนั้นจำหน่ายทรัพย์หรือมีผลบังคับได้แต่
เพียงบางส่วนแห่งทรัพย์มรดก ให้ปันส่วนที่มิได้จำหน่ายโดยพินัยกรรม หรือส่วนที่พินัยกรรมไม่มี
ผลบังคับให้แก่ทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย
	มาตรา 1621 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้แสดงเจตนากำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น  แม้ทายาท
โดยธรรมคนใดจะได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดตามพินัยกรรม  ทายาทคนนั้นก็ยังมีสิทธิที่จะ
เรียกเอาส่วนโดยธรรมของตนจากทรัพย์มรดกส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายโดยพินัยกรรมจนเต็มอีกก็ได้
	มาตรา 1622 พระภิกษุนั้น  จะเรียกร้องเอาทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมไม่ได้  เว้นแต่
จะได้สึกจากสมณเพศมาเรียกร้องภายในกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754
	แต่พระภิกษุนั้น อาจเป็นผู้รับพินัยกรรมได้
	มาตรา 1623 ทรัพย์สินของพระภิกษุที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศนั้น  เมื่อพระภิกษุนั้นถึง
แก่มรณภาพ ให้ตกเป็นสมบัติของวัดที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุนั้น  เว้นไว้แต่พระภิกษุนั้นจะ
ได้จำหน่ายไปในระหว่างชีวิตหรือโดยพินัยกรรม
	มาตรา 1624 ทรัพย์สินใดเป็นของบุคคลก่อนอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  ทรัพย์สินนั้นหาตกเป็นสมบัติ
ของวัดไม่ และให้เป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของบุคคลนั้น หรือบุคคลนั้นจะจำหน่าย
โดยประการใดตามกฎหมายก็ได้
	มาตรา 1625 ถ้าผู้ตายเป็นผู้สมรสแล้ว  การคิดส่วนแบ่ง และการปันทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่
ยังมรชีวิตอยู่ให้เป็นไปดั่งนี้
	(1)  ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยการหย่าโดยยินยอมทั้งสองฝ่าย อันมีบทบัญญัติเพิ่มเติมให้บริบูรณ์ใน
มาตรา 1637 และ 1638 และโดยเฉพาะต้องอยู่ในบังคับแห่ง มาตรา 1513 ถึง 1517 แห่งประมวล
กฎหมายนี้ แต่การคิดส่วนแบ่งนั้นมีผลตั้งแต่วันที่การสมรสได้สิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น
	(2)  ในเรื่องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดกของผู้ตาย ให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งบรรพนี้
นอกจาก มาตรา 1637 และ 1638
	มาตรา 1626 เมื่อได้ปฏิบัติตาม มาตรา 1625 (1) แล้ว ให้คิดส่วนแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดย
ธรรมดั่งต่อไปนี้
	(1)  ทรัพย์มรดกนั้นให้แบ่งแก่ทายาทตามลำดับและชั้นต่างๆ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน หมวด 2
แห่งลักษณะนี้
	(2)  ส่วนแบ่งอันจะได้แก่ทายาทในลำดับและชั้นต่างๆนั้น ให้แบ่งในระหว่างบรรดาทายาท
ในลำดับและชั้นนั้นๆ ดั่งที่บัญญัติไว้ใน หมวด 3  แห่งลักษณะนี้
	มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน
เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
	มาตรา 1628 สามีภริยาที่ร้างกัน หรือแยกกันอยู่โดยยังมิได้หย่าขาดจากกันตามกฎหมาย มิได้สิ้นไป
ซึ่งสิทธิโดยธรรมในการสืบมรดกซึ่งกันและกัน

	หมวด 2
	การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ

	มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น  และภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละ
ลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดั่งต่อไปนี้  คือ
	(1)  ผู้สืบสันดาน
	(2)  บิดามารดา
	(3)  พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
	(4)  พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
	(5)  ปู่ ย่า ตา ยาย
	(6)  ลุง ป้า น้า อา
	คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง
มาตรา 1635
	มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่  หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสายแล้วแต่กรณี ใน
ลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629  ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดก
ของผู้ตายเลย
	แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมี
ผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี	และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่  ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดา
ได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร
	มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมี
สิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

	หมวด 3
	การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรมในลำดับและชั้นต่างๆ
	ส่วนที่ 1
	ญาติ

	มาตรา 1632 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1629 วรรคสุดท้าย  การแบ่งส่วนมรดกของทายาทโดยธรรม
ในลำดับญาติให้เป็นไปตามบทบัญญัติใน ส่วนที่ 1 แห่งหมวดนี้
	มาตรา 1633 ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกันในลำดับหนึ่งๆ ที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629 นั้น  ชอบที่จะ
ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว  ทายาทโดยธรรมคนนั้นมีสิทธิได้
รับส่วนแบ่งทั้งหมด
	มาตรา 1634 ระหว่างผู้สืบสันดานที่รับมรดกแทนที่กันในส่วนแบ่งของสายหนึ่งๆ ตามบทบัญญัติใน
ลักษณะ 2 หมวด 4 นั้น  ให้ได้รับส่วนแบ่งมรดกดั่งนี้
	(1)  ถ้ามีผู้สืบสันดานต่างชั้นกัน บุตรของผู้ตายซึ่งอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับ
มรดก ผู้สืบสันดานในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่
	(2)  ผู้สืบสันดานในชั้นเดียวกันได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน
	(3)  ถ้าในชั้นหนึ่งมีผู้สืบสันดานคนเดียว  ผู้สืบสันดานคนนั้นมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

	ส่วนที่ 2
	คู่สมรส

	มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดั่ง
ต่อไปนี้
	(1)  ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่แล้วแต่กรณี
คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร
	(2)  ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่
หรือถ้าไม่มีทายาทตาม มาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตาม  มาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่
ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง
	(3)  ถ้ามีทายาทตาม มาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับ
มรดกแทนที่ หรือมีทายาทตาม มาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่มีสิทธิได้มรดก
สองส่วนในสาม
	(4)  ถ้าไม่มีทายาทดั่งที่ระบุไว้ใน มาตรา 1629  คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดก
ทั้งหมด
	มาตรา 1636 ถ้าเจ้ามรดกมีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บรรพ 5  หลายคนยังมีชีวิตอยู่ ภริยาเหล่านั้นทั้งหมดรวมกันมีสิทธิได้รับมรดกตามลำดับชั้นและ
ส่วนแบ่งดั่งระบุไว้ใน มาตรา 1635 แต่ในระหว่างกันเอง ให้ภริยาน้อยแต่ละคนมีสิทธิได้รับมรดก
กึ่งส่วนที่ภริยาหลวงจะพึงได้รับ
	มาตรา 1637 ถ้าคู่สมรสฝ่ายใดที่ยังมีชีวิตอยู่เป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิต  คู่สมรสฝ่ายนั้น
มีสิทธิรับจำนวนเงินทั้งหมดที่ได้ตกลงไว้กับผู้รับประกันภัย แต่จำต้องเอาจำนวนเบี้ยประกันภัยเพียง
เท่าที่พิสูจน์ได้ว่าสูงกว่าจำนวนเงินที่ผู้ตายจะพึงส่งใช้เป็นเบี้ยประกันภัยได้ตามรายได้ หรือฐานะ
ของตนโดยปกติไปชดใช้สินเดิมของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งหรือสินสมรส แล้วแต่กรณี
	ถึงอย่างไรก็ดี  จำนวนเงินเบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนตามบทบัญญัติข้างต้นนั้น รวมทั้ง
สิ้นต้องไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้รับประกันภัยได้ชำระให้
	มาตรา 1638 เมื่อคู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้ลงทุนออกเงินในการทำสัญญาและตามสัญญานั้นทั้งสองฝ่าย
จะต้องได้รับเงินปีในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ร่วมกัน และเมื่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดตาย ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่ยังจะ
ต้องได้รับเงินปีต่อไปตลอดอายุ ฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่จำต้องชดใช้สินเดิมของอีกฝ่ายหนึ่ง หรือสินสมรส
แล้วแต่กรณี สุดแต่ว่าได้เอาเงินสินเดิม หรือสินสมรสไปใช้ในการลงทุนนั้น เงินที่จะต้องชดใช้สินเดิม
หรือสินสมรสดั่งว่านี้ ให้ชดใช้เท่าจำนวนเงินซึ่งผู้จ่ายเงินรายปีจะเรียกให้ใช้เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษ  เพื่อผู้
จ่ายจะได้จ่ายเงินรายปีให้แก่คู่สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นต่อไป

	หมวด 4
	การรับมรดกแทนที่กัน

	มาตรา 1639 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย
หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดก
แทนที่  ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน
ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่ง
ของบุคคลเป็นรายๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย
	มาตรา 1640 เมื่อบุคคลใดต้องถือว่าถึงแก่ความตายตามความใน มาตรา 65 แห่งประมวลกฎหมายนี้
ให้มีการรับมรดกแทนที่กันได้
	มาตรา 1641 ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตาม มาตรา 1629 (2)หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัด
มิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย  ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตก
ได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป
	มาตรา 1642 การรับมรดกแทนที่กันนั้น  ให้ใช้บังคับแต่ในระหว่างทายาทโดยธรรม
	มาตรา 1643 สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดั่ง
นั้นไม่
	มาตรา 1644 ผู้สืบสันดานจะรับมรดกแทนที่ได้ต่อเมื่อมีสิทธิบริบูรณ์ในการรับมรดก
	มาตรา 1645 การที่บุคคลใดสละมรดกของบุคคลอีกคนหนึ่งนั้น ไม่ตัดสิทธิของผู้สละที่จะรับมรดก
แทนที่บุคคลอีกคนหนึ่งนั้นในการสืบมรดกบุคคลอื่น

	ลักษณะ 3
	พินัยกรรม
	หมวด 1
	บทเบ็ดเสร็จทั่วไป

	มาตรา 1646 บุคคลใดจะแสดงเจตนาโดยพินัยกรรมกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สินของตนเอง
หรือในการต่างๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายเมื่อตนตายก็ได้
	มาตรา 1647 การแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายนั้น  ย่อมทำได้ด้วยคำสั่งครั้งสุดท้ายกำหนดไว้ใน
พินัยกรรม
	มาตรา 1648 พินัยกรรมนั้นต้องทำตามแบบซึ่งระบุไว้ใน หมวด 2 แห่งลักษณะนี้
	มาตรา 1649 ผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ตายตั้งไว้ย่อมมีอำนาจและหน้าที่ในอันที่จะจัดการทำศพของผู้ตาย
เว้นแต่ผู้ตายจะได้ตั้งบุคคลอื่นไว้โดยเฉพาะให้จัดการดั่งว่านั้น
	ถ้าผู้ตายมิได้ตั้งผู้จัดการมรดกหรือบุคคลใดไว้ให้เป็นผู้จัดการทำศพ หรือทายาทมิได้
มอบหมายตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการทำศพ  บุคคลผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยพินัยกรรมหรือโดยสิทธิ
โดยธรรมเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและตกอยู่ในหน้าที่ต้องจัดการทำศพ เว้นแต่ศาลจะ
เห็นเป็นการสมควรตั้งบุคคลอื่นให้จัดการเช่นนั้น ในเมื่อบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอขึ้น
	มาตรา 1650 ค่าใช้จ่ายเกิดมีหนี้เป็นคุณแก่บุคคลใดในการจัดทำศพนั้นให้เรียกเอาได้ตามบุริมสิทธิที่
ระบุไว้ใน มาตรา 253 (2) แห่งประมวลกฎหมายนี้
	ถ้าการจัดการทำศพ  ต้องชักช้าไปด้วยประการใดๆ ให้บุคคลผู้มีอำนาจตามความใน
มาตราก่อนกันเงินเป็นจำนวนอันสมควรจากสินทรัพย์แห่งกองมรดกเพื่อใช้ในการนี้  โดยให้บุคคลผู้
มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องต่อศาลได้  ในกรณีที่ไม่ตกลงหรือคัดค้านการกันเงินจำนวนนั้น
	กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม เงินค่าใช้จ่ายหรือเงินที่กันไว้อันเกี่ยวกับการจัดการทำศพนั้น
ให้กันไว้ได้แต่เพียงจำนวนตามสมควรแก่ฐานะในสมาคมของผู้ตาย  แต่จะต้องไม่เป็นการเสื่อม
เสียต่อสิทธิของเจ้าหนี้ของผู้ตาย
	มาตรา 1651 ภายใต้บังคับบทบัญญัติ ลักษณะ 4
	(1)  เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์มรดกทั้งหมดของ
เจ้ามรดก หรือตามเศษส่วน หรือตามส่วนที่เหลือแห่งทรัพย์มรดกซึ่งมิได้แยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษ
จากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่าผู้รับพินัยกรรมลักษณะทั่วไป และมีสิทธิและความรับผิดเช่นเดียว
กับทายาทโดยธรรม
	(2)  เมื่อตามข้อกำหนดพินัยกรรม บุคคลใดมีสิทธิที่จะได้รับทรัพย์สินเฉพาะสิ่งเฉพาะ
อย่าง ซึ่งเจาะจงไว้โดยเฉพาะ หรือแยกไว้ต่างหากเป็นพิเศษจากกองมรดก บุคคลนั้นเรียกว่าผู้รับ
พินัยกรรมลักษณะเฉพาะและมีสิทธิและความรับผิดที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเท่านั้น
	ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
	มาตรา 1652 บุคคลผู้อยู่ในความปกครองนั้น จะทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่ผู้ปกครอง
หรือคู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดาน หรือพี่น้องของผู้ปกครองไม่ได้  จนกว่าผู้ปกครองจะได้ทำ
คำแถลงการณ์ปกครองตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1577 และ มาตราต่อๆ ไปแห่งประมวลกฎหมาย
นี้เสร็จสิ้นแล้ว
	มาตรา 1653 ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้
	ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย
	พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตาม มาตรา 1663
ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้
	มาตรา 1654 ความสามารถของผู้ทำพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ทำพินัยกรรมเท่านั้น
	ความสามารถของผู้รับพินัยกรรมนั้น ให้พิจารณาแต่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตายเท่านั้น

	หมวด 2
	แบบพินัยกรรม

	มาตรา 1655 พินัยกรรมนั้นจะทำได้ก็แต่ตามแบบใดแบบหนึ่งดั่งที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้
	มาตรา 1656 พินัยกรรมนั้นจะทำตามแบบดั่งนี้ก็ได้ กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะ
ที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยาน
สองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น
	การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์
เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้
	มาตรา 1657 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารเขียนเองทั้งฉบับก็ได้ กล่าวคือผู้ทำพินัยกรรมต้องเขียน
ด้วยมือตนเองซึ่งข้อความทั้งหมด วัน เดือน ปี และลายมือชื่อของตน
	การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์
เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ทำด้วยมือตนเอง และลงลายมือชื่อกำกับไว้
	บทบัญญัติ มาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายนี้  มิให้ใช้บังคับแก่พินัยกรรมที่ทำขึ้นตามมาตรานี้
	มาตรา 1658 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารฝ่ายเมืองก็ได้ กล่าวคือ
	(1)  ผู้ทำพินัยกรรมต้องไปแจ้งข้อความที่ตนประสงค์จะให้ใส่ไว้ในพินัยกรรมของตนแก่
กรมการอำเภอต่อหน้าพยานอีกอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน
	(2)  กรมการอำเภอต้องจดข้อความที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งให้ทราบนั้นลงไว้ และอ่านข้อ
ความนั้นให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานฟัง
	(3)  เมื่อผู้ทำพินัยกรรมและพยานทราบแน่ชัดว่าข้อความที่กรมการอำเภอจดนั้นเป็นการ
ถูกต้องตรงกันกับที่ผู้ทำพินัยกรรมแจ้งไว้แล้ว ให้ผู้ทำพินัยกรรมและพยานลงลายมือชื่อไว้เป็น
สำคัญ
	(4)  ข้อความที่กรมการอำเภอจดไว้นั้น ให้กรมการอำเภอลงลายมือชื่อและลงวัน เดือน
ปี ทั้งจดลงไว้ด้วยตนเองเป็นสำคัญว่าพินัยกรรมนั้นได้ทำขึ้นถูกต้องตามบทบัญญัติ อนุมาตรา (1)
ถึง (3) ข้างต้น  แล้วประทับตราตำแหน่งไว้เป็นสำคัญ
	การขูดลบ ตก เติมหรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์
เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม พยานและกรมการอำเภอจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
	มาตรา 1659 การทำพินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองนั้นจะทำนอกที่ว่าการอำเภอก็ได้ เมื่อมีการร้อง
ขอเช่นนั้น
	มาตรา 1660 พินัยกรรมนั้นจะทำเป็นเอกสารลับก็ได้ กล่าวคือ
	(1)  ผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อในพินัยกรรม
	(2)  ผู้ทำพินัยกรรมต้องผนึกพินัยกรรมนั้น แล้วลงลายมือชื่อคาบรอยผนึกนั้น
	(3)  ผู้ทำพินัยกรรมต้องนำพินัยกรรมที่ผนึกนั้นไปแสดงต่อกรมการอำเภอและพยานอีก
อย่างน้อยสองคน และให้ถ้อยคำต่อบุคคลทั้งหมดเหล่านั้นว่าเป็นพินัยกรรมของตน ถ้าพินัยกรรม
นั้นผู้ทำพินัยกรรมมิได้เป็นผู้เขียนเองโดยตลอด  ผู้ทำพินัยกรรมจะต้องแจ้งนามและภูมิลำเนา
ของผู้เขียนให้ทราบด้วย
	(4)  เมื่อกรมการอำเภอจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม และวัน เดือน ปี ที่นำพินัยกรรม
มาแสดงไว้บนซองนั้นและประทับตราตำแหน่งแล้วให้กรมการอำเภอ ผู้ทำพินัยกรรม  และพยาน
ลงลายมือชื่อบนซองนั้น
	การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้น
ย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้ลงลายมือชื่อกำกับไว้
	มาตรา 1661 ถ้าบุคคลผู้เป็นทั้งใบ้และหูหนวกหรือผู้ที่พูดไม่ได้มีความประสงค์จะทำพินัยกรรมเป็น
แบบเอกสารลับ  ให้ผู้นั้นเขียนด้วยตนเองบนซองพินัยกรรมต่อหน้ากรมการอำเภอและพยานซึ่ง
ข้อความว่าพินัยกรรมที่ผนึกนั้นเป็นของตนแทนการให้ถ้อยคำดั่งที่กำหนดไว้ใน มาตรา 1660 (3)
และถ้าหากมีผู้เขียน  ก็ให้เขียนชื่อกับภูมิลำเนาของผู้เขียนพินัยกรรมนั้นไว้ด้วย
	ให้กรมการอำเภอจดลงไว้บนซองเป็นสำคัญว่าผู้ทำพินัยกรรมได้ปฏิบัติตามข้อความใน
วรรคก่อนแล้ว แทนการจดถ้อยคำของผู้ทำพินัยกรรม
	มาตรา 1662 พินัยกรรมซึ่งได้ทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมืองหรือเอกสารลับนั้น กรมการอำเภอจะเปิดเผย
แก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมจะเรียกให้กรมการ
อำเภอส่งมอบพินัยกรรมนั้นแก่ตนในเวลาใดๆ กรมการอำเภอจำต้องส่งมอบให้
	ถ้าพินัยกรรมนั้นทำเป็นแบบเอกสารฝ่ายเมือง ก่อนส่งมอบพินัยกรรม ให้กรมการอำเภอ
คัดสำเนาพินัยกรรมไว้แล้วลงลายมือชื่อประทับตราตำแหน่งเป็นสำคัญ สำเนาพินัยกรรมนั้นจะ
เปิดเผยแก่บุคคลอื่นใดไม่ได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่
	มาตรา 1663 เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษซึ่งบุคคลใดไม่สามารถจะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้
เช่น ตกอยู่ในอันตรายใกล้ความตาย หรือเวลามีโรคระบาด หรือสงคราม  บุคคลนั้นจะทำพินัยกรรม
ด้วยวาจาก็ได้
	เพื่อการนี้  ผู้ทำพินัยกรรมต้องแสดงเจตนากำหนดข้อพินัยกรรมต่อหน้าพยานอย่างน้อย
สองคนซึ่งอยู่พร้อมกัน ณ ที่นั้น
	พยานสองคนนั้นต้องไปแสดงตนต่อกรมการอำเภอโดยมิชักช้าและแจ้งข้อความที่ผู้ทำ
พินัยกรรมได้สั่งไว้ด้วยวาจานั้น ทั้งต้องแจ้งวัน เดือน ปี สถานที่ที่ทำพินัยกรรม และพฤติการณ์
พิเศษนั้นไว้ด้วย
	ให้กรมการอำเภอจดข้อความที่พยานแจ้งนั้นไว้ และพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อ
ไว้  หรือมิฉะนั้นจะให้เสมอกับการลงลายมือชื่อได้ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลาย
มือชื่อรับรองสองคน
	มาตรา 1664 ความสมบูรณ์แห่งพินัยกรรมซึ่งทำขึ้นตามมาตราก่อนนั้นย่อมสิ้นไปเมื่อพ้นกำหนดหนึ่ง
เดือนนับแต่เวลาผู้ทำพินัยกรรมกลับมาสู่ฐานะที่จะทำพินัยกรรมตามแบบอื่นที่กำหนดไว้ได้
	มาตรา 1665 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมจะต้องลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656 , 1658, 1660 จะให้เสมอกับ
ลงลายมือชื่อได้ ก็แต่ด้วยลงลายพิมพ์นิ้วมือโดยมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนใน
ขณะนั้น
	มาตรา 1666 บทบัญญัติ มาตรา 9 วรรคสองแห่งประมวลกฎหมายนี้  มิให้ใช้บังคับแก่พยานผู้ที่จะต้อง
ลงลายมือชื่อตาม มาตรา 1656 , 1658, 1660
	**แก้ไขโดยพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1667 เมื่อคนในบังคับไทยจะทำพินัยกรรมในต่างประเทศ  พินัยกรรมนั้นอาจทำตามแบบซึ่ง
กฎหมายของประเทศที่ทำพินัยกรรมบัญญัติไว้ หรือตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ก็ได้
	เมื่อทำพินัยกรรมตามแบบที่กฎหมายไทยบัญญัติไว้ อำนาจและหน้าที่ของกรมการอำเภอ
ตาม มาตรา 1658 , 1660 , 1661 , 1662 , 1663  ให้ตกแก่บุคคลดั่งต่อไปนี้ คือ
	(1)  พนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย กระทำการตามขอบอำนาจของตน หรือ
	(2)  พนักงานใดๆ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายของต่างประเทศนั้นๆ ที่จะรับบันทึกข้อแจ้ง
ความไว้เป็นหลักฐานได้
	มาตรา 1668 ผู้ทำพินัยกรรมไม่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อความในพินัยกรรมนั้นให้พยานทราบ  เว้นแต่
กฎหมายจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 1669 ในระหว่างเวลาที่ประเทศตกอยู่ในภาวะการรบหรือการสงคราม บุคคลที่รับราชการทหาร
หรือทำการเกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารจะทำพินัยกรรมตามแบบที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 1658
มาตรา 1660  หรือ  มาตรา 1663 ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านั้นให้นายทหารหรือข้าราชการฝ่ายทหารชั้น
สัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ
	บทบัญญัติวรรคก่อนให้นำมาใช้บังคับแก่กรณีที่บุคคลที่รับราชการทหารหรือทำการ
เกี่ยวข้องอยู่กับราชการทหารทำพินัยกรรมในต่างประเทศในระหว่างที่ปฏิบัติการเพื่อประเทศใน
ภาวะการรบหรือการสงครามในต่างประเทศโดยอนุโลม  และในกรณีเช่นว่านี้ ให้นายทหารหรือ
ข้าราชการฝ่ายทหารชั้นสัญญาบัตรมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานทูตหรือกงสุลฝ่ายไทย
	ถ้าผู้ทำพินัยกรรมตามความในสองวรรคก่อนนั้นป่วยเจ็บหรือต้องบาดเจ็บ และอยู่ใน
โรงพยาบาล  ให้แพทย์แห่งโรงพยาบาลนั้นมีอำนาจและหน้าที่เช่นเดียวกับกรมการอำเภอ หรือ
พนักงานทูต หรือกงสุลฝ่ายไทย แล้วแต่กรณีด้วย
	**แก้ไขโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ (ฉบับที่ 6 ) พ.ศ. 2495 (รจ. เล่ม 69 ตอนที่ 12 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2495)
	มาตรา 1670 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้
	(1)  ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
	(2)  บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
	(3)  บุคคลที่หูหนวก เป็นใบ้ หรือจักษุบอดทั้งสองข้าง
	มาตรา 1671 เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม  บุคคลนั้นต้อง
ลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน
	ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อ
ของตนเช่นเดียวกับพยานอื่นๆ
	มาตรา 1672 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กลาโหม และต่างประเทศมีอำนาจและหน้าที่เท่าที่
เกี่ยวกับกระทรวงนั้นๆ ที่จะออกกฎกระทรวงเพื่อให้การเป็นไปตามประมวลกฎหมายบรรพนี้ รวมทั้ง
กำหนดอัตราค่าฤชาธรรมเนียมอันเกี่ยวกับการนั้น
	**แก้ไขโดย มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พ.ศ. 2479 (รจ. เล่ม 53 ตอนที่ 45 วันที่ 22 พฤศจิกายน 2479)

	หมวด 3
	ผลและการตีความแห่งพินัยกรรม

	มาตรา 1673 สิทธิและหน้าที่ใดๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรม  ให้มีผลบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำ
พินัยกรรมตายเป็นต้นไป เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาให้มีผลบังคับ
เรียกร้องกันได้ภายหลัง
	มาตรา 1674 ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมมีเงื่อนไข และเงื่อนไขนั้นสำเร็จเสียก่อนเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย
หากว่าเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นมีผลเมื่อผู้ทำพินัยกรรมตาย   หากว่าเป็น
เงื่อนไขบังคับหลัง  ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันไร้ผล
	ถ้าเงื่อนไขบังคับก่อนสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่
เวลาเงื่อนไขสำเร็จ
	ถ้าเงื่อนไขบังคับหลังสำเร็จภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ข้อกำหนดพินัยกรรมมีผลตั้งแต่
เวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย แต่ตกเป็นอันไร้ผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จ
	แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมว่า  ในกรณีที่กล่าวมาในสองวรรคก่อนนั้น
ให้ความสำเร็จแห่งเงื่อนไขมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย  ก็ให้เป็นไปตามเจตนาของ
ผู้ทำพินัยกรรมนั้น
	มาตรา 1675 เมื่อพินัยกรรมมีเงื่อนไขบังคับก่อน  ผู้รับประโยชน์ตามข้อความแห่งพินัยกรรมนั้น จะร้อง
ต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นจนกว่าจะถึงเวลาที่เงื่อนไขสำเร็จ
หรือจนกว่าความสำเร็จแห่งเงื่อนไขตกเป็นอันพ้นวิสัยก็ได้
	ถ้าศาลเห็นเป็นการสมควร จะตั้งผู้ร้องนั้นเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเสียเอง และเรียกให้ผู้ร้อง
นั้นวางประกันตามที่สมควรก็ได้
	มาตรา 1676 พินัยกรรมจะทำขึ้นโดยให้บุคคลใดตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องก่อตั้งมูลนิธิ หรือจะสั่ง
จัดสรรทรัพย์สินไว้โดยตรงเพื่อประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งตามบทบัญญัติ มาตรา 110 แห่ง
ประมวลกฎหมายนี้ก็ได้
	มาตรา 1677 เมื่อมีพินัยกรรมก่อตั้งมูลนิธิขึ้นตามมาตราก่อน  ให้เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้จัดการ
มรดกแล้วแต่กรณี  ที่จะต้องร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจจัดตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลตาม มาตรา 118
แห่งประมวลกฎหมายนี้ เว้นแต่จะได้มีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
	ถ้าบุคคลดั่งกล่าวแล้วมิได้ร้องขอให้รัฐบาลให้อำนาจบุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใด
หรือพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้
	**มาตรา 1676,1677 แก้ไขโดย พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1678 เมื่อมูลนิธิใดซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมได้ตั้งขึ้นเป็นนิติบุคคลแล้ว  ให้ถือว่าทรัพย์สินซึ่ง
ผู้ทำพินัยกรรมจัดสรรไว้เพื่อการนั้น ตกเป็นของนิติบุคคลนั้นตั้งแต่เวลาซึ่งพินัยกรรมมีผล  เว้นแต่
จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น
	มาตรา 1679 ถ้าจัดตั้งมูลนิธิขึ้นไม่ได้ตามวัตถุที่ประสงค์ ให้ทรัพย์สินตกทอดไปตามที่ระบุไว้ในพินัย
กรรม
	ถ้าพินัยกรรมไม่ได้ระบุไว้ เมื่อทายาท หรือผู้จัดการมรดก หรือพนักงานอัยการ หรือ
บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งร้องขอให้ศาลจัดสรรทรัพย์สินนั้นให้แก่นิติบุคคลอื่น  ซึ่งปรากฏ
ว่ามีวัตถุที่ประสงค์ใกล้ชิดที่สุดกับความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรม
	ถ้าหากว่าจัดสรรทรัพย์สินอย่างนี้ไม่ได้ก็ดี หรือว่ามูลนิธินั้นตั้งขึ้นไม่ได้เพราะเป็นการ
ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ดี ข้อกำหนด
พินัยกรรมในการจัดตั้งมูลนิธินั้นเป็นอันไร้ผล
	มาตรา 1680 เจ้าหนี้ของผู้ทำพินัยกรรมมีสิทธิที่จะร้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งก่อตั้งมูล
นิธินั้นได้เพียงเท่าที่ตนต้องเสียประโยชน์เนื่องแต่การนั้น
	มาตรา 1681 ถ้าทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมนั้นได้สูญหาย ทำลาย หรือบุบสลายไป และ
พฤติการณ์ทั้งนี้เป็นผลให้ได้ทรัพย์สินอื่นมาแทน หรือได้สิทธิเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทน
ทรัพย์สินนั้น  ผู้รับพินัยกรรมจะเรียกให้ส่งมอบของแทนซึ่งได้รับมานั้นหรือจะเรียกร้องเอา
ค่าสินไหมทดแทนเสียเองก็ได้ แล้วแต่กรณี
	มาตรา 1682 เมื่อพินัยกรรมทำขึ้นเป็นการปลดหนี้ หรือโอนสิทธิเรียกร้อง  พินัยกรรมนั้นมีผลเพียง
จำนวนซึ่งคงค้างชำระอยู่ในเวลาที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้เป็น
อย่างอื่น
	ถ้ามีเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่ปลดให้หรือสิทธิเรียกร้องที่โอนไปนั้น ก็ให้ส่งมอบ
แก่ผู้รับพินัยกรรม และให้ใช้ มาตรา 303 ถึง 313 , 340  แห่งประมวลกฎหมายนี้บังคับโดยอนุโลม
แต่ถ้าผู้ทำพินัยกรรมจะต้องกระทำการหรือดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งตามมาตรานั้นๆ แล้ว
บุคคลผู้ต้องจัดการตามพินัยกรรมหรือผู้รับพินัยกรรมจะกระทำการหรือดำเนินการนั้นๆ แทนผู้ทำ
พินัยกรรมก็ได้
	มาตรา 1683 พินัยกรรมที่บุคคลทำให้แก่เจ้าหนี้คนใดของตนนั้นให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามิได้ทำขึ้น
เพื่อชำระหนี้อันค้างชำระแก่เจ้าหนี้คนนั้น
	มาตรา 1684 เมื่อความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมอาจตีความได้เป็นหลายนัย  ให้ถือเอาตามนัยที่จะ
สำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุด
	มาตรา 1685 ในกรณีที่ผู้ทำพินัยกรรมได้กำหนดผู้รับพินัยกรรมไว้โดยคุณสมบัติที่ทราบตัวแน่นอนได้
ถ้ามีบุคคลหลายคนทรงไว้ซึ่งคุณสมบัติที่จะเป็นผู้รับพินัยกรรมตามที่ผู้ทำพินัยกรรมกำหนดไว้ดั่ง
นั้นได้ ในกรณีที่มีข้อสงสัย ให้ถือว่าทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับส่วนปันเท่าๆ กัน

	หมวด 4
	พินัยกรรมที่ตั้งผู้ปกครองทรัพย์

	มาตรา 1686 อันว่าทรัสต์นั้นจะก่อตั้งขึ้นโดยตรงหรือโดยทางอ้อมด้วยพินัยกรรมหรือด้วยนิติกรรมใดๆ
ที่มีผลในระหว่างชีวิตก็ดี  หรือเมื่อตายแล้วก็ดี  หามีผลไม่  เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่ง
กฎหมายเพื่อการก่อตั้งทรัสต์เท่านั้น
*แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2550
	มาตรา 1687 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมประสงค์จะยกทรัพย์สินให้แก่ผู้เยาว์ หรือผู้ซึ่งศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้
ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือแก่ผู้ซึ่งต้องรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเพราะเหตุ
วิกลจริต แต่ต้องการมอบการเก็บรักษาและจัดการทรัพย์สินนั้นแก่บุคคลอื่นนอกจากบิดามารดา
ผู้ปกครอง ผู้อนุบาล หรือผู้พิทักษ์ของบุคคลเช่นนั้น  ผู้ทำพินัยกรรมต้องตั้งผู้ปกครองทรัพย์ขึ้น
	การตั้งผู้ปกครองทรัพย์นี้  ห้ามมิให้ตั้งขึ้นเป็นเวลาเกินกว่ากำหนดแห่งการเป็นผู้เยาว์
หรือกำหนดที่ศาลได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ หรือกำหนดที่ต้อง
รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล แล้วแต่กรณี
	มาตรา 1688 การตั้งผู้ปกครองทรัยพ์นั้น ในส่วนที่เกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิใดๆ อัน
เกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ย่อมไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
	บทบัญญัติที่กล่าวมาในวรรคก่อนหนี้ ให้ใช้บังคับแก่เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งแพ
และสัตว์พาหนะด้วย
	“วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1689 นอกจากบุคคลที่ระบุไว้ใน มาตรา 1557 แห่งประมวลกฎหมายนี้ นิติบุคคล หรือบุคคล
ธรรมดาที่มีความสามารถบริบูรณ์จะรับตั้งเป็นผู้ปกครองทรัพย์ก็ได้
	มาตรา 1690 ผู้ปกครองทรัพย์นั้น  ย่อมตั้งขึ้นได้โดย
	(1)  ผู้ทำพินัยกรรม
	(2)  บุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้ตั้ง
	มาตรา 1691 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในพินัยกรรม  ผู้ปกครองทรัพย์จะทำ
พินัยกรรมตั้งบุคคลอื่นให้ทำการสืบแทนตนก็ได้
	มาตรา 1692 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรมจะได้กำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น ในส่วนที่เกี่ยวด้วย
ทรัพย์สินที่ได้รับมอบไว้  ผู้ปกครองทรัพย์มีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ปกครองตามความหมายใน
บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายนี้

	หมวด 5
	การเพิกถอนและการตกไปแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม

	มาตรา 1693 ผู้ทำพินัยกรรมจะเพิกถอนพินัยกรรมของตนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนในเวลาใดก็ได้
	มาตรา 1694 ถ้าจะเพิกถอนพินัยกรรมฉบับก่อนเสียทั้งหมดหรือแต่บางส่วนด้วยพินัยกรรมฉบับหลัง
การเพิกถอนจะสมบูรณ์ต่อเมื่อพินัยกรรมฉบับหลังนั้นได้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งที่กฎหมายบัญญัติไว้
	มาตรา 1695 ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับแต่ฉบับเดียว ผู้ทำพินัยกรรมอาจเพิกถอนพินัยกรรมนั้น
ทั้งหมดหรือบางส่วนได้ โดยทำลายหรือขีดฆ่าเสียด้วยความตั้งใจ
	ถ้าพินัยกรรมได้ทำเป็นต้นฉบับหลายฉบับ  การเพิกถอนนั้นไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้กระทำ
แก่ต้นฉบับเหล่านั้นทุกฉบับ
	มาตรา 1696 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ซึ่งทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งข้อกำหนดพินัยกรรม
ใดด้วยความตั้งใจ ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้นเป็นอันเพิกถอนไป
	วิธีเดียวกันนี้ให้ใช้บังคับ  เมื่อผู้ทำพินัยกรรมได้ทำลายทรัพย์สินนั้นด้วยความตั้งใจ
	มาตรา 1697 ถ้าผู้ทำพินัยกรรมมิได้แสดงเจตนาไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น และปรากฏว่าพินัยกรรม
ฉบับก่อนกับฉบับหลังขัดกัน ให้ถือว่าพินัยกรรมฉบับก่อนเป็นอันเพิกถอนโดยพินัยกรรมฉบับหลัง
เฉพาะในส่วนที่มีข้อความขัดกันนั้นเท่านั้น
	มาตรา 1698 ข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ย่อมตกไป
	(1)  เมื่อผู้รับพินัยกรรมตายก่อนผู้ทำพินัยกรรม
	(2)  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นผลใช้ได้ต่อเมื่อเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งสำเร็จลง
และผู้รับพินัยกรรมตายเสียก่อนเงื่อนไขสำเร็จ หรือปรากฏเป็นที่แน่นอนอยู่แล้วว่าเงื่อนไขนั้นไม่
อาจจะสำเร็จได้
	(3)  เมื่อผู้รับพินัยกรรมบอกสละพินัยกรรม
	(4)  เมื่อทรัพย์สินทั้งหมดที่ยกให้สูญหาย หรือถูกทำลาย โดยผู้ทำพินัยกรรมมิได้ตั้งใจ
ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ และผู้ทำพินัยกรรมมิได้ได้มาซึ่งของแทน หรือซึ่งสิทธิที่จะ
เรียกค่าทดแทนในการที่ทรัพย์สินนั้นสูญหายไป
	มาตรา 1699 ถ้าพินัยกรรมหรือข้อกำหนดในพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินรายใดเป็นอันไร้ผลด้วย
ประการใดๆ ทรัพย์สินรายนั้นตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือได้แก่แผ่นดิน แล้วแต่กรณี

	หมวด 6
	ความเสียเปล่าแห่งพินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรม

	มาตรา 1700 ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติในหมวดนี้ บุคคลจะจำหน่ายทรัพย์สินใดๆ โดยนิติกรรมที่มี
ผลในระหว่างมีชีวิตหรือเมื่อตายแล้ว โดยมีข้อกำหนดห้ามมิให้ผู้รับประโยชน์โอนทรัพย์สินนั้นก็ได้
แต่ต้องมีบุคคลใดบุคคลหนึ่งนอกจากผู้รับประโยชน์กำหนดไว้สำหรับเป็นผู้จะได้รับทรัพย์สินนั้น
เป็นสิทธิเด็ดขาด ในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอน
	ผู้ซึ่งกำหนดขึ้นดั่งกล่าวนั้นต้องเป็นผู้สามารถจะมีสิทธิต่างๆ ได้อยู่ในขณะที่การจำหน่าย
ทรัพย์สินนั้นมีผลบังคับ
	ถ้ามิได้กำหนดบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์สินในเมื่อมีการละเมิดข้อกำหนดห้ามโอนไว้ ให้
ถือว่าข้อกำหนดห้ามโอนนั้นเป็นอันไม่มีเลย
	มาตรา 1701 ข้อกำหนดห้ามโอนตามมาตราก่อนนั้นจะให้มีกำหนดเวลาหรือตลอดชีวิตของผู้รับ
ประโยชน์ก็ได้
	ถ้าไม่ได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้  ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็นบุคคลธรรมดา ให้ถือว่า
ข้อกำหนดห้ามโอนมีระยะเวลาอยู่ตลอดชีวิตของผู้รับประโยชน์  แต่ในกรณีที่ผู้รับประโยชน์เป็น
นิติบุคคล ให้มีระยะเวลาเพียงสามสิบปี
	ถ้าได้กำหนดเวลาห้ามโอนไว้  กำหนดนั้นมิให้เกินสามสิบปี  ถ้ากำหนดไว้นานกว่านั้น
ก็ให้ลดลงมาเป็นสามสิบปี
	มาตรา 1702 ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับสังหาริมทรัพย์ซึ่งไม่อาจจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ได้นั้น
ให้ถือว่าเป็นอันไม่มีเลย
	ข้อกำหนดห้ามโอนอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์
นั้น ไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการห้ามโอนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
	บทบัญญัติในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับแก่เรือมีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป ทั้งแพและสัตว์
พาหนะด้วย
	“วรรคสามแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
(ฉบับที่ 14) พ.ศ.2548”
	มาตรา 1703 พินัยกรรมซึ่งบุคคลที่มีอายุยังไม่ครบสิบห้าปีบริบูรณ์ทำขึ้นนั้น  เป็นโมฆะ
	มาตรา 1704 พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถทำขึ้นนั้นเป็นโมฆะ
	พินัยกรรมซึ่งบุคคลผู้ถูกอ้างว่าเป็นคนวิกลจริต  แต่ศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความ
สามารถทำขึ้นนั้น จะเป็นอันเสียเปล่าก็แต่เมื่อพิสูจน์ได้ว่าในเวลาที่ทำพินัยกรรมนั้น ผู้ทำจริตวิกลอยู่
	มาตรา 1705 พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น  ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652
, 1653 , 1656 , 1657 , 1658 , 1660 , 1661 หรือ 1663  ย่อมเป็นโมฆะ
	มาตรา 1706 ข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นโมฆะ
	(1)  ถ้าตั้งผู้รับพินัยกรรมไว้โดยมีเงื่อนไขว่า ให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินของเขา
เองโดยพินัยกรรมให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม หรือแก่บุคคลภายนอก
	(2)  ถ้ากำหนดบุคคลซึ่งไม่อาจที่จะทราบตัวแน่นอนได้เป็นผู้รับพินัยกรรม  แต่ผู้รับพินัย
กรรมตามพินัยกรรมลักษณะเฉพาะนั้น  อาจกำหนดโดยให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นผู้ระบุเลือกเอา
จากบุคคลอื่นหลายคนหรือจากบุคคลอื่นหมู่ใดหมู่หนึ่ง ซึ่งผู้ทำพินัยกรรมระบุไว้ก็ได้
	(3)  ถ้าทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมระบุไว้ไม่ชัดแจ้งจนไม่อาจที่จะทราบแน่นอนได้
หรือถ้าให้บุคคลใดคนหนึ่งกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ
	มาตรา 1707 ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมตั้งผู้รับพินัยกรรมโดยมีเงื่อนไขว่าให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่าย
ทรัพย์สินที่ยกให้โดยพินัยกรรมนั้นแก่บุคคลอื่น ให้ถือว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลย
	มาตรา 1708 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว  บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิก
ถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะเหตุข่มขู่ก็ได้ แต่หากผู้ทำพินัยกรรมยังมีชีวิตอยู่ต่อมาเกินหนึ่งปี
นับแต่ผู้ทำพินัยกรรมพ้นจากการข่มขู่แล้ว จะมีการร้องขอเช่นว่านั้นไม่ได้
	มาตรา 1709 เมื่อผู้ทำพินัยกรรมตายแล้ว บุคคลผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะร้องขอให้ศาลสั่งเพิก
ถอนพินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นเพราะสำคัญผิด หรือกลฉ้อฉลได้ก็ต่อเมื่อความสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉล
นั้นถึงขนาด  ซึ่งถ้ามิได้มีความสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลเช่นนั้น พินัยกรรมนั้นก็จะมิได้ทำขึ้น
	ความในวรรคก่อนนี้ให้ใช้บังคับ  แม้ถึงว่ากลฉ้อฉลนั้น บุคคลซึ่งมิใช่เป็นผู้รับประโยชน์
ตามพินัยกรรมได้ก่อขึ้น
	แต่พินัยกรรมซึ่งได้ทำขึ้นโดยสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลย่อมมีผลบังคับได้ เมื่อผู้ทำพินัยกรรม
มิได้เพิกถอนพินัยกรรมนั้นภายในหนึ่งปีนับแต่ที่ได้รู้ถึงการสำคัญผิดหรือกลฉ้อฉลนั้น
	มาตรา 1710 คดีฟ้องขอให้เพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดดั่งนี้
	(1)  สามเดือนภายหลังที่ผู้ทำพินัยกรรมตาย ในกรณีที่โจทก์รู้เหตุแห่งการที่จะขอให้เพิก
ถอนได้ ในระหว่างที่ผู้ทำพินัยกรรมมีชีวิตอยู่ หรือ
	(2)  สามเดือนภายหลังที่โจทก์ได้รู้เหตุเช่นนั้น ในกรณีอื่นใด  แต่ถ้าโจทก์ไม่รู้ว่ามี
ข้อกำหนดพินัยกรรมอันกระทบกระทั่งถึงส่วนได้เสียของตน แม้ว่าโจทก์จะได้รู้เหตุแห่งการที่จะขอ
ให้เพิกถอนได้ก็ดี อายุความสามเดือนให้เริ่มนับแต่ขณะที่โจทก์รู้หรือควรจะได้รู้ว่ามีข้อกำหนด
พินัยกรรมนั้น
	แต่อย่างไรก็ดี  ห้ามมิให้ฟ้องคดีเช่นนี้เมื่อพ้นสิบปีนับแต่ผู้ทำพินัยกรรมตาย

	ลักษณะ 4
	วิธีจัดการและปันทรัพย์มรดก
	หมวด 1
	ผู้จัดการมรดก

	มาตรา 1711 ผู้จัดการมรดกนั้น รวมตลอดทั้งบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยพินัยกรรมหรือโดยคำสั่งศาล
	มาตรา 1712 ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมอาจตั้งขึ้นได้
	(1)  โดยผู้ทำพินัยกรรมเอง
	(2)  โดยบุคคลซึ่งระบุไว้ในพินัยกรรม ให้เป็นผู้ตั้ง
	มาตรา 1713 ทายาท หรือผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้
ในกรณีดั่งต่อไปนี้
	(1)  เมื่อเจ้ามรดกตาย ทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมได้สูญหายไป หรืออยู่นอก
ราชอาณาเขต หรือเป็นผู้เยาว์
	(2)  เมื่อผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ หรือมีเหตุขัดข้อง
ในการจัดการ หรือในการแบ่งปันมรดก
	(3)  เมื่อข้อกำหนดพินัยกรรมซึ่งตั้งผู้จัดการมรดกไว้ ไม่มีผลบังคับได้ด้วยประการใดๆ
	การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม
และถ้าไม่ข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์ และโดยคำนึง
ถึงเจตนาของเจ้ามรดก แล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร
	มาตรา 1714 เมื่อศาลตั้งให้ผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเพื่อการใดโดยเฉพาะผู้นั้นไม่จำต้องทำบัญชีทรัพย์
มรดก เว้นแต่จะจำเป็นเพื่อการนั้นหรือศาลสั่งให้ทำ
	มาตรา 1715 ผู้ทำพินัยกรรมจะตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนให้เป็นผู้จัดการมรดกก็ได้
	เว้นแต่จะมีข้อกำหนดไว้ในพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น  ถ้ามีผู้จัดการมรดกหลายคน แต่ผู้
จัดการเหล่านั้นบางคนไม่สามารถ หรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่
คนเดียว ผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่หลายคน  ให้
สันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้จัดการเหล่านั้นแต่ละคนจะจัดการโดยลำพังไม่ได้
	มาตรา 1716 หน้าที่ผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง  ให้เริ่มนับแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
	มาตรา 1717 ในเวลาใดๆ ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เจ้ามรดกตาย แต่ต้องเป็นเวลาภายหลังที่เจ้ามรดก
ตายแล้วสิบห้าวัน ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งจะแจ้งความถามไปยังผู้ที่ถูกตั้งเป็น
ผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรมว่าจะรับเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ก็ได้
	ถ้าผู้ที่ได้รับแจ้งความมิได้ตอบรับเป็นผู้จัดการมรดกภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันรับแจ้ง
ความนั้น ให้ถือว่าผู้นั้นปฏิเสธ แต่การรับเป็นผู้จัดการมรดกนั้นจะทำภายหลังหนึ่งปีนับแต่วันที่
เจ้ามรดกตายไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต
	มาตรา 1718 บุคคลต่อไปนี้จะเป็นผู้จัดการมรดกไม่ได้
	(1)  ผู้ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ
	(2)  บุคคลวิกลจริต หรือบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นผู้เสมือนไร้ความสามารถ
	(3)  บุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย
	มาตรา 1719 ผู้จัดการมรดกมีสิทธิและหน้าที่ที่จะทำการอันจำเป็นเพื่อให้การเป็นไปตามคำสั่งแจ้งชัด
หรือโดยปริยายแห่งพินัยกรรม และเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไป หรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก
	มาตรา 1720 ผู้จัดการมรดกต้องรับผิดต่อทายาทตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 809 ถึง 812 , 819 , 823
แห่งประมวลกฎหมายนี้โดยอนุโลม และเมื่อเกี่ยวกับบุคคลภายนอก ให้ใช้มาตรา 831 บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1721 ผู้จัดการมรดกไม่มีสิทธิที่จะได้รับบำเหน็จจากกองมรดกเว้นแต่พินัยกรรม หรือทายาท
โดยจำนวนข้างมากจะได้กำหนดให้ไว้
	มาตรา 1722 ผู้จัดการมรดกจะทำนิติกรรมใดๆ ซึ่งตนมีส่วนได้เสียเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดกหาได้ไม่
เว้นแต่พินัยกรรมจะได้อนุญาตไว้ หรือได้รับอนุญาตจากศาล
	มาตรา 1723 ผู้จัดการมรดกต้องจัดการโดยตนเอง เว้นแต่จะทำการโดยตัวแทนได้ตามอำนาจที่ให้ไว้
ชัดแจ้ง หรือโดยปริยายในพินัยกรรม หรือโดยคำสั่งศาล หรือในพฤติการณ์เพื่อประโยชน์แก่กองมรดก
	มาตรา 1724 ทายาทย่อมมีความผูกพันต่อบุคคลภายนอกในกิจการทั้งหลายอันผู้จัดการมรดกได้ทำ
ไปภายในขอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก
	ถ้าผู้จัดการมรดกเข้าทำนิติกรรมกับบุคคลภายนอกโดยเห็นแก่ทรัพย์สินอย่างใดๆ หรือ
ประโยชน์อย่างอื่นใดอันบุคคลภายนอกได้ให้ หรือได้ให้คำมั่นว่าจะให้เป็นลาภส่วนตัว ทายาทหา
ต้องผูกพันไม่ เว้นแต่ทายาทจะได้ยินยอมด้วย
	มาตรา 1725 ผู้จัดการมรดกต้องสืบหาโดยสมควรซึ่งตัวผู้มีส่วนได้เสียและแจ้งไปให้ทราบถึงข้อ
กำหนดพินัยกรรมที่เกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นภายในเวลาอันสมควร
	มาตรา 1726 ถ้าผู้จัดการมรดกมีหลายคน  การทำการตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดกนั้นต้องถือเอา
เสียงข้างมาก เว้นแต่จะมีข้อกำหนดพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น  ถ้าเสียงเท่ากัน เมื่อผู้มีส่วนได้เสีย
ร้องขอ ก็ให้ศาลเป็นผู้ชี้ขาด
	มาตรา 1727 ผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งคนใดจะร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดก เพราะเหตุผู้จัดการ
มรดกละเลยไม่ทำการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุอย่างอื่นที่สมควรก็ได้ แต่ต้องร้องขอเสียก่อนที่
การปันมรดกเสร็จสิ้นลง
	แม้ถึงว่าจะได้เข้ารับตำแหน่งแล้วก็ดี  ผู้จัดการมรดกจะลาออกจากตำแหน่งโดยมีเหตุ
อันสมควรก็ได้แต่ต้องได้รับอนุญาตจากศาล
	มาตรา 1728 ผู้จัดการมรดกต้องลงมือจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกภายในสิบห้าวัน
	(1)  นับแต่เจ้ามรดกตาย ถ้าในขณะนั้นผู้จัดการมรดกได้รู้ถึงการตั้งแต่งตามพินัยกรรม
ที่มอบหมายไว้แก่ตน หรือ
	(2)  นับแต่วันที่เริ่มหน้าที่ผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1716  ในกรณีที่ศาลตั้งเป็นผู้จัด
การมรดก หรือ
	(3)  นับแต่วันที่ผู้จัดการมรดกรับเป็นผู้จัดการมรดกในกรณีอื่น
	มาตรา 1729 ผู้จัดการมรดกต้องจัดทำบัญชีทรัพย์มรดกให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่เวลาที่ระบุ
ไว้ในมาตรา 1728 แต่กำหนดเวลานี้ เมื่อผู้จัดการมรดกร้องขอก่อนสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งเดือน
ศาลจะอนุญาตให้ขยายต่อไปอีกก็ได้
	บัญชีนั้นต้องทำต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคน ซึ่งต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในกองมรดก
นั้นด้วย
	บุคคลซึ่งจะเป็นพยานในการทำพินัยกรรมไม่ได้ตามมาตรา 1670 จะเป็นพยานในการ
ทำบัญชีใดๆ ที่ต้องทำขึ้นตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ไม่ได้
	มาตรา 1730 ให้นำมาตรา 1563 , 1564 วรรค 1 และ 2 และ 1565 แห่งประมวลกฎหมายนี้มาใช้บังคับ
โดยอนุโลมในระหว่างทายาทกับผู้จัดการมรดกโดยพินัยกรรม และในระหว่างศาลกับผู้จัดการมรดกที่ศาลตั้ง
	มาตรา 1731 ถ้าผู้จัดการมรดกมิได้จัดทำบัญชีภายในเวลาและตามแบบที่กำหนดไว้  หรือถ้าบัญชี
นั้นไม่เป็นที่พอใจแก่ศาลเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง หรือการทุจริต หรือความไม่
สามารถอันเห็นประจักษ์ของผู้จัดการมรดก ศาลจะถอนผู้จัดการมรดกเสียก็ได้
	มาตรา 1732 ผู้จัดการมรดกต้องจัดการตามหน้าที่ และทำรายงานแสดงบัญชีการจัดการ และแบ่งปัน
มรดกให้เสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ระบุไว้ในมาตรา 1728 เว้นแต่ผู้ทำพินัยกรรม ทายาทโดย
จำนวนข้างมาก หรือศาลจะได้กำหนดเวลาให้ไว้เป็นอย่างอื่น
	มาตรา 1733 การให้อนุมัติ การปลดเปลื้องความรับผิด หรือข้อตกลงอื่นๆ อันเกี่ยวกับรายงานแสดง
บัญชีการจัดการมรดกดั่งที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1732 นั้น  จะสมบูรณ์ต่อเมื่อรายงานแสดงบัญชี
นั้นได้ส่งมอบล่วงหน้าแก่ทายาทพร้อมด้วยเอกสารอันเกี่ยวกับการนั้นไม่น้อยกว่าสิบวันก่อนแล้ว
	คดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกนั้น  มิให้ทายาทฟ้องเกินกว่าห้าปีนับแต่การจัดการมรดก
สิ้นสุดลง

	หมวด 2
	การรวบรวมจำหน่ายทรัพย์มรดกเป็นตัวเงินและการชำระหนี้กับแบ่งปันทรัพย์มรดก

	มาตรา 1734 เจ้าหนี้กองมรดกชอบแต่จะได้รับการชำระหนี้จากทรัพย์สินในกองมรดกเท่านั้น
	มาตรา 1735 ทายาทจำต้องบอกทรัพย์มรดกและหนี้สินของผู้ตายตามที่ตนรู้ทั้งหมดแก่ผู้จัดการมรดก
	มาตรา 1736 ตราบใดที่เจ้าหนี้กองมรดก  หรือผู้รับพินัยกรรมที่ปรากฏตัว ยังไม่ได้รับชำระหนี้ หรือ
ส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคนให้ถือว่าทรัพย์มรดกยังคงอยู่ในระหว่างจัดการ
	ในระหว่างเวลาเช่นว่านั้น  ผู้จัดการมรดกชอบที่จะทำการใดๆ ในทางจัดการตามที่จำ
เป็นได้ เช่น ฟ้องคดีหรือแก้ฟ้องในศาลและอื่นๆ  อนึ่ง ผู้จัดการมรดกต้องทำการทุกอย่างตามที่
จำเป็นเพื่อเรียกเก็บหนี้สินซึ่งค้างชำระอยู่แก่กองมรดกภายในเวลาอันเร็วที่สุดที่จะทำได้  และ
เมื่อเจ้าหนี้กองมรดกได้รับชำระหนี้แล้ว ผู้จัดการมรดกต้องทำการแบ่งปันมรดก
	มาตรา 1737 เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับสิทธิเรียกร้องต่อทายาทคนใดก็ได้ แต่ถ้ามีผู้จัดการมรดก ให้
เจ้าหนี้เรียกเข้ามาในคดีด้วย
	มาตรา 1738 ก่อนแบ่งมรดก  เจ้าหนี้กองมรดกจะบังคับชำระหนี้เต็มจำนวนจากกองมรดกก็ได้ ใน
กรณีเช่นนี้  ทายาทคนหนึ่งๆ อาจเรียกให้ชำระหนี้จากทรัพย์มรดกของเจ้ามรดก หรือให้เอาเป็น
ประกันก็ได้จนถึงเวลาแบ่งมรดก
	เมื่อแบ่งมรดกแล้ว  เจ้าหนี้อาจเรียกให้ทายาทคนใดคนหนึ่งชำระหนี้ได้เพียงไม่เกิน
ทรัพย์มรดกที่ทายาทคนนั้นได้รับไป ในกรณีเช่นนี้ทายาทคนใดซึ่งได้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้กองมรดก
เกินกว่าส่วนที่ตนจะต้องเฉลี่ยใช้หนี้ ทายาทคนนั้นมีสิทธิไล่เบี้ยจากทายาทคนอื่นได้
	มาตรา 1739 ให้ชำระหนี้ที่กองมรดกค้างชำระตามลำดับต่อไปนี้และตามบทบัญญัติแห่งประมวล
กฎหมายนี้ว่าด้วยบุริมสิทธิ  โดยต้องไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่บรรดาเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิพิเศษตาม
ประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น  และบรรดาเจ้าหนี้ที่มีประกันโดยการจำนำหรือการจำนอง
	(1)  ค่าใช้จ่ายเพื่อประโยชน์อันร่วมกันของกองมรดก
	(2)  ค่าใช้จ่ายในการทำศพเจ้ามรดก
	(3)  ค่าภาษีอากรซึ่งกองมรดกค้างชำระอยู่
	(4)  ค่าจ้างซึ่งเจ้ามรดกค้างชำระแก่เสมียน คนใช้ และคนงาน
	(5)  ค่าเครื่องอุปโภคบริโภคอันจำเป็นประจำวันซึ่งส่งให้แก่เจ้ามรดก
	(6)  หนี้สินสามัญของเจ้ามรดก
	(7)  บำเหน็จของผู้จัดการมรดก
	มาตรา 1740 เว้นแต่เจ้ามรดกหรือกฎหมายจะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ให้จัดสรรทรัพย์สินของ
เจ้ามรดกเพื่อชำระหนี้ตามลำดับต่อไปนี้
	(1)  ทรัพย์สินนอกจากอสังหาริมทรัพย์
	(2)  อสังหาริมทรัพย์ซึ่งจัดสรรไว้ชัดแจ้งในพินัยกรรมว่าสำหรับชำระหนี้  ถ้าหากว่ามี
ทรัพย์สินเช่นนั้น
	(3)  อสังหาริมทรัพย์ซึ่งทายาทโดยธรรมชอบที่จะได้รับในฐานะเช่นนั้น
	(4)  อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้นั้นต้อง
ชำระหนี้ของเจ้ามรดก
	(5)  อสังหาริมทรัพย์ซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะทั่วไปดั่งบัญญัติไว้ใน
มาตรา 1651
	(6)  ทรัพย์สินเฉพาะอย่างซึ่งเจ้ามรดกทำพินัยกรรมให้โดยลักษณะเฉพาะดั่งบัญญัติไว้ใน
มาตรา 1651
	ทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งได้จัดสรรไว้ตามความที่กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น ให้เอา
ออกขายทอดตลาด  แต่ทายาทคนใดคนหนึ่งอาจมิให้มีการขายเช่นว่านั้นได้โดยชำระราคาทรัพย์
สินนั้นทั้งหมด หรือแต่บางส่วนตามที่ผู้ตีราคาซึ่งศาลตั้งขึ้นได้กำหนดให้จนพอแก่จำนวนที่จะ
ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้
	มาตรา 1741 เจ้าหนี้กองมรดกคนใดคนหนึ่ง จะคัดค้านการขายทอดตลาดหรือการตี
ราคาทรัพย์สินดั่งระบุไว้ในมาตราก่อนโดยเสียค่าใช้จ่ายของตนเองก็ได้ ถ้าเจ้าหนี้ได้ร้องคัดค้านแล้ว 
ยังได้กระทำการขายทอดตลาดหรือตีราคาไป จะยกการขายทอดตลาดหรือตีราคานั้นขึ้นยันต่อเจ้าหนี้
ผู้ร้องคัดค้านแล้วนั้นหาได้ไม่
	มาตรา 1742 ถ้าในการชำระหนี้ซึ่งค้างชำระอยู่แก่ตน  เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้รับตั้งใน
ระหว่างที่ผู้ตายมีชีวิตอยู่ให้เป็นผู้รับประโยชน์ในการประกันชีวิต  เจ้าหนี้คนนั้นชอบที่จะได้รับเงิน
ทั้งหมดซึ่งได้ตกลงไว้กับผู้รับประกัน  อนึ่ง เจ้าหนี้เช่นว่านั้นจำต้องส่งเบี้ยประกันภัยคืนเข้ากองมรดก
ก็ต่อเมื่อเจ้าหนี้คนอื่นๆ พิสูจน์ได้ว่า
	(1)  การที่ผู้ตายชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้โดยวิธีดั่งกล่าวมานั้น เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ
มาตรา 237 แห่งประมวลกฎหมายนี้ และ
	(2)  เบี้ยประกันภัยเช่นว่านั้นเป็นจำนวนสูงเกินส่วน เมื่อเทียบกับรายได้หรือฐานะของ
ผู้ตาย
	ถึงอย่างไรก็ดี  เบี้ยประกันภัยซึ่งจะพึงส่งคืนเข้ากองมรดกนั้นต้องไม่เกินกว่าจำนวนเงิน
ที่ผู้รับประกันชำระให้
	มาตรา 1743 ทายามโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมโดยลักษณะทั่วไป ไม่จำต้องปฏิบัติตาม
ข้อกำหนดในพินัยกรรมลักษณะเฉพาะเกินกว่าจำนวนทรัพย์มรดกที่ตนได้รับ
	มาตรา 1744 ผู้จัดการมรดกไม่จำต้องส่งมอบทรัพย์มรดก หรือส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งทรัพย์
มรดกให้แก่ทายาทก่อนปีหนึ่งนับแต่วันที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย  เว้นแต่เจ้าหนี้กองมรดกและผู้รับ
พินัยกรรมที่ปรากฏตัวได้รับชำระหนี้  และส่วนได้ตามพินัยกรรมแล้วทุกคน

	หมวด 3
	การแบ่งมรดก

	มาตรา 1745 ถ้ามีทายาทหลายคน ทายาทเหล่านั้นมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับทรัพย์มรดกร่วมกัน
จนกว่าจะได้แบ่งมรดกกันเสร็จแล้ว และให้ใช้ มาตรา 1356 ถึง มาตรา 1366 แห่งประมวลกฎหมายนี้
บังคับเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับบทบัญญัติแห่งบรรพนี้
	มาตรา 1746 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย หรือข้อความในพินัยกรรมถ้าหากมี  ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า
ผู้เป็นทายาทด้วยกันมีส่วนเท่ากันในกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
	มาตรา 1747 การที่ทายาทคนใดได้รับทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด หรือประโยชน์อย่างอื่นใดจาก
เจ้ามรดกโดยการให้ หรือโดยการอย่างอื่นใดซึ่งทำให้โดยเสน่หาในระหว่างเวลาที่เจ้ามรดกยังมีชีวิต
อยู่นั้น  หาทำให้สิทธิในการแบ่งปันทรัพย์มรดกของทายาทคนนั้นต้องเสื่อมเสียไปแต่โดยประการใดไม่
	มาตรา 1748 ทายาทคนใดครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งกันทายาทคนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้อง
ให้แบ่งทรัพย์มรดกนั้นได้ แม้ว่าจะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม มาตรา 1754 แล้วก็ดี
	สิทธิจะเรียกให้แบ่งทรัพย์มรดกตามวรรคก่อน จะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
	มาตรา 1749 ถ้ามีคดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ผู้ซึ่งอ้างว่าตนเป็นทายาทมีสิทธิในทรัพย์มรดกนั้น จะร้อง
สอดเข้ามาในคดีก็ได้
	แต่ศาลจะเรียกทายาทอื่น นอกจากคู่ความ หรือผู้ร้องสอด ให้เข้ามารับส่วนแบ่งหรือกัน
ส่วนแห่งทรัพย์มรดกไว้เพื่อทายาทอื่นนั้นไม่ได้
	มาตรา 1750 การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น  อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด
หรือโดยการขายทรัพย์มรดกแล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท
	ถ้าการแบ่งปันมิได้เป็นไปตามวรรคก่อน แต่ได้ทำโดยสัญญา จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหา
ได้ไม่ เว้นแต่จะมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดหรือตัวแทน
ของฝ่ายนั้นเป็นสำคัญ ในกรณีเช่นนี้ให้นำ มาตรา 850 , 852  แห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วย
ประนีประนอมยอมความมาใช้บังคับโดยอนุโลม
	มาตรา 1751 ภายหลังที่ได้แบ่งมรดกกันแล้ว  ถ้าทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งทายาทคนใดคน
หนึ่งได้รับตามส่วนแบ่งปันนั้นหลุดมือไปจากทายาทคนนั้นเนื่องจากการรอนสิทธิ ทายาทคนอื่นๆ
จำต้องใช้ค่าทดแทน
	หนี้เช่นว่านั้นเป็นอันระงับเมื่อมีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น หรือการรอนสิทธิเป็นผลเนื่อง
มาจากความผิดของทายาทผู้ถูกรอนสิทธิ หรือเนื่องมาจากเหตุซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการแบ่งปัน
	ทายาทคนอื่นๆ ต้องใช้ค่าทดแทนให้แก่ทายาทผู้ถูกรอนสิทธิตามส่วนแห่งส่วนแบ่งของตน
แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วนเฉลี่ยซึ่งทายาทผู้ถูกรอนสิทธิจะต้องออกกับเขาด้วยนั้นออกเสีย แต่ถ้า
ทายาทคนใดคนหนึ่งเป็นคนหนี้สินล้นพ้นตัว ทายาทคนอื่นๆ ต้องรับผิดในส่วนของทายาทคนนั้น
ตามส่วนเฉลี่ยเช่นเดียวกัน แต่ให้หักจำนวนที่เป็นส่วนเฉลี่ยซึ่งทายาทผู้ที่จะได้รับค่าทดแทน จะต้อง
ออกแทนทายาทผู้ที่มีหนี้สินพ้นตัวนั้นออกเสีย
	บทบัญญัติในวรรคก่อนๆ มิให้ใช้บังคับแก่ผู้รับพินัยกรรมลักษณะเฉพาะ
	มาตรา 1752 คดีฟ้องให้รับผิดเนื่องจากการรอนสิทธิตาม มาตรา 1751 นั้น  มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด
สามเดือนนับแต่เมื่อถูกรอนสิทธิ

	ลักษณะ 5
	มรดกที่ไม่มีผู้รับ

	มาตรา 1753 ภายใต้บังคับแห่งสิทธิของเจ้าหนี้กองมรดกเมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตายโดยไม่มีทายาท
โดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม หรือการตั้งมูลนิธิตามพินัยกรรม มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่
แผ่นดิน

	ลักษณะ 6
	อายุความ

	มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อ
ทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
	คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับ
พินัยกรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
	ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้
อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี
นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
	ถึงอย่างไรก็ดี  สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อนๆ นั้น  มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนด
สิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
	**แก้ไขโดย พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535 (รจ. เล่ม 109 ตอนที่ 42 วันที่ 8 เมษายน 2535)
	มาตรา 1755 อายุความหนึ่งปีนั้น จะยกขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่โดยบุคคลซึ่งเป็นทายาท หรือบุคคลซึ่งชอบที่
จะใช้สิทธิของทายาท หรือโดยผู้จัดการมรดก


-

Leave a Reply