กันยายน 7, 2020 In คำพิพากษา

คําพิพากษาฎีกาที่ 499/2562-ผลของการตั๋วสัญญาใช้เงินฝ่าฝืนกฎหมาย

คําพิพากษาฎีกาที่ 499/2562
เนติฯ
	คู่กรณี
โจทก์	
	นายสุรพล ประทักษิธร 
จําเลย
	บริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จํากัด 
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง	
	ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
	มาตรา 150		โมฆะกรรม 
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
	มาตรา 88		บัญชีพยาน 
-
ข้อมูลย่อ
	โจทก์ทราบว่าจะต้องอ้างสัญญาจ้างระหว่างบริษัท อ.กับ 
บริษัท ส. และแบบยื่นรายการหักภาษี ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) เป็นพยาน 
หลักฐานในชั้นพิจารณาและรู้อยู่แล้วว่าสรรพเอกสารที่จะอ้างมีอะไร บ้าง 
ดังนี้ถือไม่ได้ว่ามีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐาน
ดังกล่าวเพิ่มเติมในชั้นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
มาตรา 84 วรรคสาม ประกอบมาตรา 246 และ 247 (เดิม) 
      	จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทนในการที่ 
โจทก์ช่วยจําเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงมีวัตถุประสงค์ เป็น
การต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย และเป็นการขัดต่อความสงบ เรียบร้อย
หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตาม ประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จําเลยชําระ
เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ 
-
รายละเอียด

     	โจทก์ฟ้องว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด เมื่อ 
วันที่ 2 พฤศจิกายน 2551 จําเลยทําบันทึกข้อตกลงออกตั๋วสัญญาใช้เงิน
จํานวน 23,500,000 บาท แก่โจทก์ กําหนดใช้เงินภายใน 5 ปี ต่อมาวันที่ 
26 พฤศจิกายน 2551 จําเลยมอบตั๋วสัญญาใช้เงินลง วันที่ 25 พฤศจิกายน 
2551 แก่โจทก์ สัญญาจะจ่ายเงินจํานวน 23,400,000 บาท ในวันที่ 26 
พฤศจิกายน 2556 เมื่อถึงกําหนด ใช้เงิน จําเลยไม่ชําระ โจทก์บอกกล่าว
ทวงถามแล้ว คิดดอกเบี้ยถึงวัน ฟ้องเป็นเงิน 2,951,095.50 บาท ขอให้
บังคับจําเลยชําระเงิน 26,351,095.50 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 
15 ต่อปี ของ ต้นเงินตามตัวสัญญาใช้เงิน 23,400,000 บาท นับถัดจาก
วันฟ้อง เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ 
   	จําเลยให้การว่า จําเลยไม่เคยออกตั๋วสัญญาใช้เงินแก่โจทก์ 
ลายมือชื่อผู้ออกตัวและตราบริษัทจําเลยที่ประทับในตั๋วสัญญาใช้เงิน 
พิพาทเป็นลายมือชื่อปลอมและตราประทับปลอม ขอให้ยกฟ้อง 
	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ 	
	โจทก์อุทธรณ์ 
   	ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์
ให้ เป็นพับ 
	โจทก์ฎีกา 
   	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ได้โต้แย้งกัน รับ
ฟังได้ว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจํากัด มีนายอุทัย ธเนศวรกุล 
นางวราภรณ์ ธเนศวรกุล และนางสาวอังคณา ธเนศวรกุล เป็นกรรมการ 
กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสําคัญของบริษัทมี
อํานาจกระทําการแทนจําเลยได้ตามหนังสือรับรองเอกสารหมาย จ.4 เมื่อ
วันที่ 26 พฤศจิกายน 2541 จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 25 
พฤศจิกายน 2551 สัญญาจะใช้เงินจํานวน 23,500,000 บาท ให้แก่โจทก์ 
ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2556 ตามตั๋วสัญญาใช้เงินเอกสารหมาย จ.6 เมื่อ
ตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าว ถึงกําหนดใช้เงิน จําเลยไม่ชําระเงินตามตั๋ว
สัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ ที่ โจทย์ยื่นคําร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติม
ในชั้นฎีกาอ้างว่าเป็น เอกสารสําคัญที่แสดงถึงรายจ่ายที่นํามาหักภาษีเงิน
ได้นิติบุคคลซึ่งมี อยู่ก่อนการทําบันทึกข้อตกลงกับจําเลยนั้น เห็นว่า 
สัญญาจ้างระหว่าง บริษัท ไอ.พี.เทรดดิ้ง จํากัด กับบริษัทธเนศพัฒนา 
จํากัด ลงวันที่ 15 ตุลาคม 2551 และใบแจ้งหนี้ฉบับลงวันที่ 20 ธันวาคม 
2542 ของ บริษัทสยามเมติก จํากัด นั้น โจทก์ได้ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่ม
เติมไว้แล้ว เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2555 ตามบัญชีพยานโจทก์เพิ่มเติม ครั้ง
ที่ 4 ส่วนสัญญาจ้างระหว่างบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด กับบริษัท 
สยามเมติก จํากัด และแบบยื่นรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) ลงวันที่ 
7 มกราคม 2553 นั้น โจทก์ย่อมทราบว่าจะอ้างพยานหลัก ฐานใดในชั้น
พิจารณาและรู้อยู่แล้วว่าสรรพเอกสารที่จะอ้างมีอะไรบ้าง จึงถือไม่ได้ว่า
มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์อ้างพยานหลักฐานเพิ่ม ในชั้นฎีกาตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 วรรคสาม ประกอบ
มาตรา 246 และ 247 (เดิม) ให้ยกคําร้อง 
     	คดีมีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า มูลหนี้ตาม
ตั๋วสัญญาใช้เงินขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ
ประชาชนหรือไม่ โจทก์เบิกความว่า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 
นายอุทัย  ธเนศวรกุล กรรมการคนหนึ่งของจําเลยเรียกโจทก์ไปพบบอก
ว่าจําเลยจะออกผลิตภัณฑ์ตัวใหม่เป็นนมเปรี้ยวพร้อมดื่มใช้ชื่อ ไอวี่ 
เมื่อวางตลาดแล้วจําเลยจะมีกําไรประมาณปีละ 100,000,000 บาท ซึ่งมี 
ผลให้จําเลยต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 30,000,000 
บาท ขอให้โจทก์หาทางเสียภาษีอย่างประหยัด โจทก์ บอกนายอุทัยว่า
โจทก์สามารถทําให้จําเลยเสียภาษีอย่างถูกต้องและ น้อยลงได้ หลังจาก
นั้นโจทก์ได้ตรวจสอบบัญชีของจําเลยกับบริษัทอื่น ๆ ในเครือของจําเลย
อีก 4 บริษัท พบว่าหากสามารถบันทึกค่าใช้จ่าย เพิ่มขึ้นได้อีกปีละ 
34,000,000 บาท ทําให้ภาษีเงินได้นิติบุคคลของ จําเลยลดลงได้ปีละ 
11,700,000 บาท โจทก์จึงแจ้งให้นายอุทัยทราบ นายอุทัยถามโจทก์ว่า
กรมสรรพากรจะไม่ประเมินภาษีเพิ่มใช่หรือไม่ และหากโจทก์ทําถูกต้อง
จําเลยจะให้รางวัลโจทย์ที่ประหยัดภาษีได้ โจทก์ขอให้นายอุทัยทําบันทึก
ข้อตกลงที่จะให้รางวัลโจทก์นายอุทัยให้ โจทก์ร่างบันทึกข้อตกลงตาม
เอกสารหมาย จ.5 แล้วลงลายมือชื่อไว้ โดยจําเลยตกลงจะออกตั๋วสัญญา
ใช้เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้แก่โจทก์เพื่อเป็นรางวัล ต่อมาเมื่อวันที่ 
26 พฤศจิกายน 2551 จําเลยได้มอบตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจําเลยสัญญาจะจ่าย
เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้แก่โจทก์หรือผู้ถือในวันที่ 26 พฤศจิกายน 
2546 ตามเอกสารหมาย จ.6 นับตั้งแต่โจทก์วางแผนภาษีให้แก่จําเลย 
จนถึงปี 2546 จําเลยไม่เคยถูกเจ้าพนักงานกรมสรรพากรตรวจสอบ
เกี่ยวกับภาษี ซึ่งโจทก์ได้เบิกความตอบทนายจําเลยถามค้านว่า ใน 
บันทึกข้อตกลงเอกสารหมาย จ.5 ที่ระบุว่าบริษัทจําเลยจะมีกําไร
สุทธิ เพิ่มขึ้นอีกประมาณปีละ 100,000,000 บาท หมายความเฉพาะ 
ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยวยี่ห้อ ไอวี่ เท่านั้น ซึ่งจําเลยต้องเสียภาษีเงินได้ 
นิติบุคคลอัตราร้อยละ 30 เป็นเงินปีละ 30,000,000 บาท นายอุทัย 
จึงตกลงให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบคิดหาวิธีการให้จําเลย 
เสียภาษีน้อยลงไม่ต่ำกว่าปีละ 10,000,000 บาท โจทก์ตรวจสอบดู 
หลักฐานแล้วสามารถทําให้จําเลยเสียภาษีต่ำลงปีละ 11,700,000 บาท 
จําเลยจึงพอใจและจะให้ค่าตอบแทน 2 ปี จากจํานวนภาษีที่ลด ลงเป็น
จํานวนเงิน 23,400,000 บาท เท่ากับจํานวนเงินที่ออกตัว สัญญาใช้เงิน 
และโจทก์ได้เบิกความอธิบายข้อความในบันทึกข้อตกลง ที่ว่า จําเลยจะ
ออกตัวสัญญาใช้เงินจํานวน 23,400,000 บาท ให้ แก่โจทก์โดยมีเงื่อนไข
ว่าจะจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินนี้ ถ้าการทํา หลักฐานประกอบการลง
บัญชีให้เสียภาษีน้อยลงได้ผลและไม่ถูกกรม สรรพากรตรวจพบหมาย
ความว่า ถ้าโจทก์ทําหลักฐานประกอบการลง บัญชีเป็นผลให้เสียภาษี
น้อยลงได้โดยกรมสรรพากรตรวจสอบไม่พบ ถ้าหากโจทก์ทําหลักฐาน
ประกอบการลงบัญชีแล้วถูกกรมสรรพากร ตรวจพบให้ถือว่างานชิ้นนี้
ไม่สําเร็จ แสดงว่าสาระสําคัญของการจ่าย เงิน 23,400,000 บาท ตามตั๋ว
สัญญาใช้เงินดังกล่าวให้แก่โจทก์อยู่ ที่ต้องไม่ให้กรมสรรพากรตรวจ
สอบพบว่าเอกสารที่นํามาใช้หักเป็น รายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิของ
จําเลยไม่ถูกต้องอีกทั้งก่อนคดีนี้ โจทก์เคยฟ้องจําเลยต่อศาลแรงงานกลาง 
ขอให้จ่ายโบนัสและค่าขาด ประโยชน์ตามฟ้องแก่โจทก์ตามสําเนา
คําฟ้องคดีแรงงานเอกสารหมาย จ.10 และ ล.1 ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่า 
ปี 2542 บริษัทจําเลยมีผล กําไรที่แท้จริงประมาณ 100,000,000 บาท ต้อง
เสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลในอัตรา 30 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินปีละ 30,000,000 
บาท นายอุทัยจึงมีคําสั่งให้โจทก์หาทางให้จําเลยเสียภาษีน้อยลงซึ่ง
ขณะนั้น จําเลยต้องช่วยจ่ายผลขาดทุนให้บริษัทธเนศพัฒนา จํากัด และ
บริษัท สยามเมติก จํากัด จึงตกลงจะนําเงินจากบริษัทจําเลยและบริษัท 
ไอ.พี. แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ไปจ่ายโดยสร้างหลักฐานว่า บริษัทจําเลย
จ้าง บริษัทธเนศพัฒนา จํากัด วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท 
และบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด จ้างบริษัทสยามเมติก จํากัด 
ทําการวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 4,000,000 บาท ซึ่งไม่มี การจ้างกันจริง 
จากการทําเช่นนี้ทําให้กําไรของบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟค เจอริ่ง จํากัด 
ลดลงไป 39,000,000 บาท สามารถหลบเลี่ยงภาษีใน ปี 2552 ได้จํานวน 
11,700,000 บาท ทําให้บริษัทจําเลยขึ้นเงิน เดือนให้โจทก์ 10,400 บาท 
ต่อเดือน และจ่ายโบนัสเป็นเงิน 2 เท่า ตามที่ตกลงกัน ในปี 2553 โจทก์
ยังคงใช้วิธีการเดียวกัน โดยบริษัท จําเลยจ้างบริษัทธเนศพัฒนา จํากัด 
วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท และบริษัท ไอ.พี.แมนูแฟคเจอ
ริ่ง จํากัด จ้าง บริษัทสยามเมติก จํากัด ทําการวิจัยเกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 
9,000,000 บาท ซึ่งไม่มีการจ้างกันจริงจากการทําเช่นนี้สามารถหลบ
เลี่ยงภาษีในปี 2543 ได้จํานวน 11,700,000 บาท แต่บริษัทจําเลยไม่ยอม
จ่าย โบนัสและเลิกจ้างโจทก์ซึ่งโจทก์ก็เบิกความตอบทนายจําเลยถามค้าน 
ยอมรับว่า เงินกําไรจํานวน 39,000,000 บาท ที่ลดลง สามารถหลบเลี่ยง
ภาษีเงินได้นิติบุคคลของจําเลยในปี 2552 เป็นเงิน 11,700,000 บาท ตาม
ที่ปรากฏในคําฟ้องคดีแรงงานดังกล่าวคือ เงินจํานวนเดียวกันกับที่โจทก์
สามารถบันทึกค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และเป็นเรื่องเดียวกันกับที่ได้มีการทํา
บันทึกข้อตกลงกันไว้ตามเอกสารหมาย จ.5 เห็นว่า การที่บริษัทจําเลย
สามารถลดภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี 2542 เป็นเงิน 11,700,000 บาท 
เนื่องจากโจทก์ทําหลักฐานว่ามี รายจ่ายซึ่งโจทก์กําหนดขึ้นเองโดยไม่มี
การจ่ายจริงและนําไปหักออก จากกําไรจากการประกอบกิจการของจําเลย 
ในข้อนี้ปรากฏตามคําเบิก ความของนางสาวสุรัตน์ ธนวิทยาสุทธิกุล เจ้า
หน้าที่ตรวจสอบบัญชี 7 ประจําสํานักงานสรรพากรภาค 4 พยานโจทก์ 
ตอบทนายจําเลยถาม ค้านว่า การนําเงินจากบริษัทจําเลยและบริษัท 
ไอ.พี.แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด ไปจ่ายโดยสร้างหลักฐานว่าบริษัทจําเลย
จ้างบริษัทธเนศพัฒนา จํากัด วางแผนการขายเป็นเงิน 30,000,000 บาท 
และบริษัท ไอ.พี. แมนูแฟคเจอริ่ง จํากัด จ้างบริษัทสยามเมติก จํากัด ทํา
การวิจัย เกี่ยวกับสินค้าเป็นเงิน 9,000,000 บาท ซึ่งไม่มีการจ้างจริงตาม 
สําเนาคําฟ้องคดีแรงงานเอกสารหมาย ล.1 นั้นจะนําไปหักค่าใช้จ่าย ไม่
ได้และถือว่าผิดกฎหมายซึ่งเป็นไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 65 ตรี ที่
บัญญัติว่า รายการต่อไปนี้ ไม่ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไร 

สุทธิ (9) รายจ่ายซึ่งกําหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง...ฉะนั้น โจทก์ 
จึงไม่อาจนําเงินค่าใช้จ่ายจํานวน 39,000,000 บาท ที่โจทก์กําหนด 
ขึ้นเองดังกล่าวไปหักออกจากกําไรสุทธิจํานวน 100,000,000 บาท 
ของจําเลยในปี 2542 ซึ่งโจทก์และจําเลยควรรู้ได้ว่าการกระทํา 
เช่นนั้นเป็นการไม่ชอบ ดังนั้นการที่จําเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินจํานวน 
23,500,000 บาท ตามเอกสารหมาย จ.6 ให้แก่โจทก์เพื่อตอบแทน 
ในการที่โจทก์ช่วยจําเลยหลีกเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ 
ของประชาชนคนไทยผู้มีเงินได้ที่ต้องเสียตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ใน 
การพัฒนาประเทศ จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดย 
กฎหมาย และเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของ 
ประชาชน จึงตกเป็นโมฆะเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและ 
พาณิชย์ มาตรา 150 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จําเลยชําระเงินตามตั๋ว 
สัญญาใช้เงินดังกล่าวแก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกา 
เห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ฟังไม่ขึ้น” 
   	พิพากษายืน ค่าทนายความชั้นฎีกาให้เป็นพับ 
-
(ชูชีพ ปิณฑะสิริ - วรงค์พร จิระภาค - ชัยเจริญ ดุษฎีพร) 
องค์คณะผู้ตัดสิน

Leave a Reply