กันยายน 7, 2020 In อธิบายกฏหมาย

คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การเลิกสัญญาจ้าง

คำอธิบายกฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การเลิกสัญญาจ้าง
-
           *การเลิกสัญญาจ้าง
 -
 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17
           สัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดย มิต้องบอกกล่าว
 ล่วงหน้า
           ในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกําหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจ บอกเลิกสัญญาจ้าง
 โดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบในเมื่อ ถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง
 คราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญา กันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้แต่
 ไม่จําต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าเกินสามเดือน ทั้งนี้ ให้ถือว่าสัญญาจ้างทดลองงานเป็นสัญญาจ้างที่ไม่
 มีกําหนดระยะเวลาด้วย
           การบอกเลิกสัญญาจ้างตามวรรคสอง นายจ้างอาจจ่ายค่าจ้างให้ตาม จํานวนที่จะต้องจ่าย
 จนถึงเวลาเลิกสัญญาตามกําหนดที่บอกกล่าวและให้ลูกจ้าง ออกจากงานทันทีได้
           การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตาม มาตรา 119 แห่ง
 พระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์
 -
           ข้อสังเกต
           1) การบอกเลิกสัญญาจ้าง แบ่งออกเป็น
                     1. กรณีสัญญาจ้างกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้
                     - การบอกเลิกทําได้โดยมิต้องมีหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าเพราะถือว่า สัญญา
 สิ้นสุดลงทันทีแต่หากสิ้นสุดระยะเวลาตามสัญญาจ้างแล้วลูกจ้างยังคงทํางาน ต่อไปอีกและนายจ้าง
 ทราบแต่ก็ไม่ทักท้วงเช่นนี้ถือว่านายจ้างกับลูกจ้างได้ทําสัญญาจ้าง กันใหม่โดยผูกพันกันอย่างเดียว
 กับสัญญาเดิมและถือว่าสัญญาจ้างใหม่นี้เป็นสัญญาจ้าง ที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาไว้การบอกเลิก
 สัญญาจ้างนายจ้างต้องบอกเลิกโดยบอกกล่าว ล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรคสอง
                     2. กรณีสัญญาจ้างไม่ได้กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้
                     - การบอกเลิกจ้างทําโดย การบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายทราบ
                     - การบอกเลิกมีผลเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างในคราวต่อไป
                     - กรณีนายจ้างต้องการให้ลูกจ้างออกทันที ต้องจ่ายค่าจ้างล่วงหน้า ให้แก่
 ลูกจ้างด้วย
                     - กรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยตาม จํานวน
 ที่กฎหมายกําหนดตามมาตรา 118
 -
           2) หนังสือบอกเลิกจ้างต้องระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างด้วย (มาตรา 119 วรรคสาม)
 
           3) การบอกกล่าวล่วงหน้าไม่นําใช้บังคับกับการเลิกจ้างตามเหตุดังนี้
           1. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
           2. ลูกจ้างจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
           3. ลูกจ้างประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่าง ร้ายแรง
           4. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน
           5. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน
           6. ลูกจ้างได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก
 
           4) ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญา นายจ้างต้องระบุเหตุผลไว้ใน หนังสือบอก
 เลิกสัญญาจ้าง หากไม่ระบุเหตุแห่งการเลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตาม มาตรา 119 ขึ้นอ้างในภายหลัง
 ไม่ได้ (มาตรา 17 วรรคสาม)
 
           - ข้อห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม จํากัดอยู่เฉพาะแต่ในเรื่องการฟ้อง เรียกค่าชดเชย ไม่
 รวมถึงการฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหาย จากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
 (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7922/2547)
 -
 - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5131/2550 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17
 วรรคสอง ไม่มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่างการทดลองงานตามสัญญาจ้างทดลอง งานที่ไม่มี
 กําหนดระยะเวลาการจ้างไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า เมื่อจําเลยที่ 1 ผู้เป็น นายจ้างไม่ได้บอกกล่าวเลิก
 จ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือให้โจทก์ผู้เป็นลูกจ้างทราบในเมื่อถึง หรือก่อนจะถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างเพื่อให้
 เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง คราวถัดไปข้างหน้า จําเลยที่ 1 จึงต้องจ่ายสินจ้างแทน
 การบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6881-6892/2549 คณะกรรมการสวัสดิการแรงงานได้วินิจฉัยแล้วว่า
 การที่โจทก์ย้ายโรงงานและสํานักงานแห่งใหญ่ที่กรุงเทพมหานคร ไปรวมกับสํานักงาน สาขาที่
 จังหวัดนครพนม เป็นการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ สถานที่อื่น อันมี ผลกระทบสําคัญต่อ
 การดํารงชีวิตตามปกติของลูกจ้างหรือครอบครัว จําเลยทั้งสิบสอง ซึ่งเป็นลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิก
 สัญญาจ้างโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษตามพระราช บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120
 หากโจทก์ไม่พอใจคําสั่งดังกล่าว โจทก์ ย่อมมีสิทธินําคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วัน นับแต่
 วันที่ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยตามมาตรา 120 วรรคสี่ โจทก์ได้รับแจ้งคําวินิจฉัยของคณะกรรมการ
 สวัสดิการแรงงานแล้ว โจทก์ไม่อุทธรณ์ คําวินิจฉัยของคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานจึงเป็นที่สุด
 และย่อม ผูกพันโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะยกประเด็นเรื่องการย้ายสถานประกอบกิจการไปตั้ง ณ
 สถานที่อื่น และการใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามมาตรา 120 วรรคห้า ซึ่งยุติไปแล้ว มาอ้างในชั้นนี้
           จําเลยทั้งสิบสองใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาจ้างตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดย เฉพาะ ตาม
 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 120 จึงไม่อยู่ภายใต้ บังคับประมวลกฎหมาย
 แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสอง และ
 ระเบียบของโจทก์ฉบับที่ 2 เรื่อง การลา อันเป็น กฎหมายและระเบียบที่ใช้บังคับแก่การบอกเลิก
 สัญญาจ้างในกรณีทั่วไป
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6559/2549 จําเลยมีคําสั่งให้เปลี่ยนหน้าที่โจทก์จากแผนกตัดไป
 แผนก เย็บโดยไม่ได้มีการลดเงินเดือนและลดตําแหน่ง เมื่อแผนกตัดและแผนกเย็บก็ทํางานอยู่ ใน
 ที่เดียวกันและตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานก็ให้สิทธิจําเลยโอนย้ายหรือเปลี่ยนแปลง ตําแหน่ง
 หน้าที่ของพนักงานได้ตามความจําเป็นและเหมาะสม และแม้ว่าในใบสมัครของ โจทก์จะระบุ
 ตําแหน่งที่โจทก์ต้องการสมัครคือช่างแพทเทิร์น และจําเลยได้ให้โจทก์ ทํางานในตําแหน่งหัวหน้า
 ช่างเย็บ แต่ก็มิได้ระบุเป็นข้อตกลงพิเศษที่จะยกเว้นมิให้ ใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน อีกทั้งการ
 ปรับเปลี่ยนตําแหน่งของโจทก์เพราะโจทก์ ไม่สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายของจําเลยโดยมิได้
 มีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ ดังนั้น จําเลยจึงเปลี่ยนแปลงตําแหน่งหน้าที่ของโจทก์ได้
           จําเลยมิได้เลิกจ้างโจทก์ จึงมิใช่กรณีที่นายจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดย บอกกล่าว
 ล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ และมิใช่กรณีที่นายจ้างเลิกจ้างโดย ลูกจ้างมิได้มีความผิด
 ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างมิได้มีความ
 ผิดตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 ที่นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูก
 จ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อน ประจําปีหรือกรณีที่นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง
 ตามพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคสองมาตรา 67 และมาตรา 118
 วรรคหนึ่ง และมิใช่กรณีเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณา
 คดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 49
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4026/2548 โจทก์ประกอบกิจการขุดและดูดทรายเพื่อใช้เป็นวัตถุ
 ดิบใน การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จเพื่อจําหน่าย โจทก์มีหน่วยงานบ่อดูดทรายที่ ต. ปลายนา อ.ศรีประ
 จันต์ จ.สุพรรณบุรี ดังนั้น งานขุดและดูดทรายที่บ่อทรายรวมทั้งงานอื่นๆ ที่เกี่ยว เนื่องกับกิจการดัง
 กล่าว จึงเป็นงานตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ การที่โจทก์ ว่าจ้างให้จําเลยที่ 1 ทําหน้าที่
 ขับรถบริการทําหน้าที่ส่งเอกสารและพัสดุประจําหน่วยงาน ดังกล่าว จึงต้องถือว่าเป็นการปฏิบัติงาน
 ตามปกติของธุรกิจหรือการค้าของโจทก์ด้วย แม้ การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 1 จะมี
 กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและ โจทก์ได้เลิกจ้างจําเลยที่ 1 ตามกําหนดระยะเวลานั้นก็ตาม
 จําเลยที่ 1 ก็มิใช่ลูกจ้างที่มี กําหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา
 118 วรรคสาม และวรรคสี่ เมื่อโจทก์เลิกจ้างจําเลยที่ 1 ซึ่งทํางานมาเป็นเวลา 1 ปี 9 เดือน จําเลยที่ 1
 ย่อมมีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 90 วัน
           ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้านั้น เมื่อสัญญาจ้างระหว่างโจทก์และ จําเลยที่ 1
 มีกําหนดระยะเวลาสิ้นสุดแน่นอน ซึ่งจําเลยที่ 1 ทราบดีอยู่แล้วและโจทก็ได้ บอกเลิกจ้างจําเลยที่ 1
 ตามระยะเวลาที่กําหนดไว้ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจําเลย ที่ 1 ย่อมสิ้นสุดลงเมื่อครบ
 กําหนดระยะเวลาตามสัญญาจ้างโดยโจทก์ไม่ต้องบอกกล่าว ล่วงหน้าตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
 มาตรา 17
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7365/2548 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม ที่กําหนด
 ให้นายจ้างระบุเหตุแห่งการเลิกจ้างลูกจ้างมีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองลูกจ้างมิให้ถูกนายจ้าง หาเหตุ
 กลั่นแกล้งบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่เป็นความจริง แต่นายจ้างอาจระบุเพียงเหตุผล อันเป็นหลักแห่ง
 การกระทําความผิดของลูกจ้างโดยไม่จําเป็นต้องระบุเหตุผลอันเป็น รายละเอียดข้อเท็จจริงของการ
 กระทําความผิดทั้งหมดของลูกจ้างก็ได้ เพียงแต่ต้องระบุ เหตุผลตามความเป็นจริงและเพียงพอที่จะ
 ให้ลูกจ้างได้ทราบถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น การที่โจทก์ได้ระบุเหตุผลการเลิกสัญญาจ้างว่า ป.
 ได้กระทําทุจริตต่อหน้าที่ กระทํา ความผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง จงใจทําให้นายจ้างได้รับความ
 เสียหาย และฝ่าฝืน ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ คําสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง
 แม้จะ ไม่มีรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทําความผิดของ ป. ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้าง ก็ตาม
 ก็เพียงพอที่ทําให้ ป. ได้ทราบถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างที่แท้จริงแล้ว ถือได้ว่า โจทก์ได้ระบุเหตุผล
 แห่งการเลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างของโจทก์โดยชอบแล้ว
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2548 แม้สัญญาจ้างแรงงานจะกําหนดระยะเวลาการจ้างไว้
 1 ปี แต่ในข้อ 2 ของสัญญามีข้อความว่า นายจ้างจัดให้มีระยะเวลาทดลองงานเป็นระยะ เวลา 4 เดือน
 นับแต่วันทําสัญญา หากนายจ้างเห็นว่าความรู้ความสามารถ ฝีมือ หรือ ความเอาใจใส่ของลูกจ้างไม่
 เป็นที่น่าพอใจ นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาฉบับนี้ในเวลา ใดๆ ในระหว่างอายุสัญญาทดลองงานก็
 ได้ เช่นนี้ ย่อมหมายถึงโจทก์ตกลงจ้างให้จําเลย ทํางานโดยมีเวลาทดลองงาน 4 เดือน หากจําเลยผ่าน
 การทดลองงานโจทก์จะจ้างต่อไป ถ้าหากไม่ผ่านการทดลองงานโจทก์มีสิทธิเลิกจ้างได้ซึ่งไม่แน่
 นอนว่าสัญญาจ้างจะสิ้นสุด เมื่อใด จึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนดระยะเวลาตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง
 แรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสอง
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3922/2547 ข้อห้ามตามมาตรา 17 วรรคสาม จํากัดอยู่เฉพาะ
 แต่ใน เรื่องการฟ้องเรียกค่าชดเชย ไม่รวมถึงการฟ้องเรียกสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
 และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828-830/2547 หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างระบุว่า ลูกจ้างได้ครอบ
 ครองเก็บรักษาเงินของบริษัทตามหน้าที่ แล้วทําให้เงินจํานวน 446,637 บาทหายไปจาก ที่เก็บรักษา
 ของตน เป็นการระบุเหตุผลไว้ในหนังสือเลิกจ้างตามมาตรา 17 วรรคสามแล้ว การปรับบทกฎหมาย
 หากปรับคลาดเคลื่อนไปศาลมีอํานาจปรับบทเสียใหม่ให้ถูกต้องได้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5321/2545 ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคสาม
 การบอกเลิกสัญญาจ้างไม่ว่าจะกระทําเป็นหนังสือหรือกระทําด้วยวาจา นายจ้างต้องระบุ เหตุผลใน
 การเลิกสัญญาจ้างให้ลูกจ้างทราบ หากกระทําเป็นหนังสือก็ต้องระบุเหตุผล ไว้ในหนังสือบอกเลิก
 สัญญาจ้าง แต่หากกระทําด้วยวาจาก็ต้องระบุเหตุผลไว้ในขณะที่ บอกเลิกสัญญาจ้างนั้น เมื่อจําเลย
 บอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์ด้วยวาจา แต่มิได้ระบุหรือ แจ้งเหตุผลในการบอกเลิกจ้างไว้ในขณะที่บอก
 เลิกสัญญาจ้าง จําเลยจึงไม่อาจยกเหตุ โจทก์ทําผิด พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ ตามมาตรา 119 ขึ้นอ้าง
 ภายหลังได้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2545 สัญญาจ้างที่กําหนดระยะเวลาทดลองงานไม่เกิน 120
 วัน หมายถึง นายจ้างตกลงจ้างลูกจ้างให้ทํางานโดยมีเวลาทดลองงานไม่เกิน 120 วัน หากผ่านการ
 ทดลองงานนายจ้างจะจ้างต่อไป ถ้าไม่ผ่านการทดลองงานนายจ้างมีสิทธิ เลิกจ้างได้ซึ่งไม่แน่นอนว่า
 สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อใดจึงเป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกําหนด ระยะเวลาตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
 มาตรา 17 วรรคสอง การบอกเลิกสัญญาจ้างแต่เดิมบัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 582 แต่ปัจจุบัน
 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ นําบทบัญญัติดังกล่าวมาบัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็น กฎหมายที่เกี่ยว
 กับความสงบเรียบร้อยของประชาชน นายจ้างและลูกจ้างจึงไม่มีสิทธิ จะตกลงเกี่ยวกับการเลิก
 สัญญาจ้างให้เป็นอย่างอื่นได้ การจ้างและเลิกจ้างคดีนี้เกิดขึ้น หลังจากที่ใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
 แล้ว จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 17 ซึ่งให้เลิกสัญญาจ้างโดยไม่
 ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไว้ 3 กรณี คือ สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเมื่อครบกําหนดระยะเวลา และนายจ้าง
 เลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจาก ลูกจ้างกระทําผิดกรณีใดกรณีหนึ่งตามมาตรา 119 และตาม ป.พ.พ. มาตรา
 583 โดย พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 มิได้มีข้อยกเว้นว่าการเลิกจ้างในระหว่าง ทดลองงาน
 นั้นไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าเมื่อจําเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เข้าทั้ง 3 กรณี ดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. คุ้ม
 ครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคหนึ่งและวรรคท้าย จําเลยจึง ต้องบอกเลิกสัญญาจ้างเป็นหนังสือให้
 โจทก์ทราบ ในเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกําหนดจ่าย ค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใด เพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญา
 กันเมื่อถึงกําหนดจ่ายค่าจ้างคราว ถัดไป เมื่อจําเลยบอกเลิกสัญญาจ้างโจทก์โดยมิได้บอกกล่าวล่วง
 หน้า จึงต้องจ่ายสิน จ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ
 มาตรา 17 วรรคสอง และวรรคสี่
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2035/2551 เมื่อโจทก์ทราบว่าจําเลยมีคําสั่งบริษัท ส. เรื่อง การลง
 บันทึกเวลาในระดับผู้บริหารที่ไปจัดการธุรกิจให้บริษัทซึ่งเป็นคําสั่งในหน้าที่เพื่อควบคุม การปฏิบัติ
 งานโดยชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่ปฏิบัติตาม การกระทําของโจทก์จึงเป็นการ จงใจขัดคําสั่งของนาย
 จ้างอันชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งนายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้สินไหมทด
 แทนก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 และ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคห้า โจทก์
 จึงไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการ บอกกล่าวล่วงหน้า
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1641-1642/2548 จําเลยที่ 1 มอบหมายให้โจทก์ดํารงตําแหน่ง
 ผู้จัดการส่วนเรือขนส่ง มีหน้าที่กํากับดูแลการขนส่งทางทะเลและท่าเทียบเรือของจําเลย ที่ 1 รับผิด
 ชอบความปลอดภัยของเรือที่รับขนส่งน้ำมันให้แก่จําเลยที่ 1 ซึ่งก่อนทําสัญญา กับผู้รับขนส่ง โจทก์
 ต้องตรวจเรือที่มารับขนส่งให้ได้มาตรฐานเสียก่อน โดยจําเลยที่ 1 มีนโยบายให้ตรวจปีละครั้งโดย
 เคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยในการขนส่งและเพื่อ ประโยชน์ของจําเลยที่ 1 ตําแหน่งหน้าที่ของโจทก์
 จึงมีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการรักษา ผลประโยชน์ของจําเลยที่ 1 การที่โจทก์รับเงินค่าที่ปรึกษา
 จากบริษัท ป. ซึ่งนําเรือมา รับขนส่งน้ำมันให้แก่จําเลยที่ 1 ย่อมเห็นได้ว่าเป็นการกระทําที่ขัดต่อ
 ตําแหน่งหน้าที่ อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการขนส่งน้ำมันในท่าเทียบเรือของจําเลยที่ 1
 ทําให้ลูกค้าของจําเลยที่ 1 เสียความเชื่อถือในการให้บริการท่าเทียบเรือ การกระทําของ โจทก์ดัง
 กล่าวจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานข้อ 8.1 (6) ของจําเลย ที่ 1 ที่ระบุว่า “เสนอหรือ
 รับของมีค่าหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อแลกกับการบรรจุเข้าทํางาน ตําแหน่งหน้าที่ การประมูลการเช่า
 การทําสัญญาหรือสิ่งอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับบริษัทโดย มิชอบผู้อื่น” เป็นความผิดซึ่งนับเป็นกรณีร้ายแรง
 จําเลยที่ 1 ย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการ
 บอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย
 และ ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (4) ทั้งมิใช่การเลิกจ้าง ที่ไม่เป็น
 ธรรม จําเลยที่ 1 จึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายให้แก่โจทก์ด้วย
 -

 

Leave a Reply