กันยายน 7, 2020 In อธิบายกฏหมาย

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-การกระทําอันไม่เป็นธรรม

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-การกระทําอันไม่เป็นธรรม
-
    *การกระทําอันไม่เป็นธรรม 
 -
 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121
           ห้ามมิให้นายจ้าง
           (1) เลิกจ้าง หรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้าง ผู้แทน ลูกจ้าง กรรมการสหภาพ
 แรงงาน หรือกรรมการสหพันธ์แรงงาน ไม่สามารถทน ทํางานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือ
 สหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน
 หรือให้หลักฐาน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานหรือนายทะเบียน
 พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงาน ผู้ชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน หรือกรรมการแรงงาน สัมพันธ์
 ตามพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อศาลแรงงาน หรือเพราะเหตุที่ลูกจ้าง หรือ สหภาพแรงงานกําลังจะ
 กระทําการดังกล่าว
           (2) เลิกจ้างหรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถ ทน ทํางานอยู่ต่อไปได้
 เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
           (3) ขัดขวางในการที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกหรือให้ลูกจ้างออกจากการเป็น สมาชิกของ
 สหภาพแรงงาน หรือให้ หรือตกลงจะให้เงิน หรือทรัพย์สินแก่ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของสหภาพแรง
 งานเพื่อมิให้สมัครหรือรับสมัครลูกจ้างเป็นสมาชิก หรือเพื่อให้ออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพ
 แรงงาน
           (4) ขัดขวางการดําเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน หรือขัดขวางการ
 ใช้สิทธิของลูกจ้างในการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือ
           (5) เข้าแทรกแซงในการดําเนินการของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์ แรงงานโดยไม่มี
 อํานาจโดยชอบด้วยกฎหมาย
 -
           ข้อสังเกต
           1) ห้ามมิให้นายจ้างกระทําการดังนี้
                     1. เลิกจ้าง เพราะเหตุที่ลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานได้นัดชุมนุม ทําคําร้อง
 ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง เป็นพยานหรือให้หลักฐานต่อเจ้าพนักงาน
                     2. เลิกจ้างหรือกระทําการใดๆ อันอาจเป็นผลให้ลูกจ้างไม่สามารถทน
 ทํางานอยู่ต่อไปได้เพราะเหตุที่ลูกจ้างนั้นเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน
                     3. ขัดขวาง
                     - การที่ลูกจ้างเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน
                     - การดําเนินงานของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน 4. แทรกแซงการ
 ดําเนินการของของสหภาพแรงงานหรือสหพันธ์แรงงาน
           2) การกระทําที่ห้ามนายจ้างกระทําและถือเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม เช่น
                     - ลดวันทํางานจากสัปดาห์ละ 6 วันเหลือ 2 วัน และจ่ายค่าจ้างเฉพาะ วันที่มา
 เท่านั้น
                     - ยุบเลิกแผนกเนื่องจากลูกจ้างแผนกนั้นแจ้งข้อเรียกร้อง
           3) การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างบางกรณีอาจเป็นทั้งการกระทําอันไม่เป็น ธรรม ตาม พ.ร.บ.
 แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 121 หรือมาตรา 123 และเป็นการเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้ง
 ศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 ด้วยก็ได้
 -
           - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3808/2547 แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ และ พ.ร.บ.
 คุ้มครองแรงงานฯ จะกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเยียวยาแก่ลูกจ้างไว้แตกต่างกัน และเป็น
 กฎหมายคนละฉบับแต่ก็เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ไม่ให้ถูกนายจ้าง
 เลิกจ้างโดยไม่ได้กระทําความผิดเช่นเดียวกัน ในกรณีที่การเลิกจ้างนั้น เป็นทั้งการกระทําอันไม่เป็น
 ธรรมและการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้กระทําความผิด แม้ ลูกจ้างจะมีสิทธิยื่นคําร้องได้ทั้งต่อคณะ
 กรรมการแรงงานสัมพันธ์และพนักงานตรวจ แรงงานก็ตาม แต่ลูกจ้างจะถือเอาประโยชน์จากคําสั่ง
 ของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ และคําสั่งของพนักงานตรวจแรงงานซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิก
 จ้างเดียวกันทั้งสองทาง มิได้ เพราะจะเป็นการซ้ำซ้อนกันไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย
 ลูกจ้างจะต้อง เลือกรับเอาประโยชน์ตามคําสั่งดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว
 โจทก์ถูกจําเลยเลิกจ้างจึงยื่นคําร้องทั้งต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และ พนักงานตรวจแรงงาน
 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานมีคําสั่งให้จําเลยจ่ายค่าชดเชยให้แก่ โจทก์พร้อมดอกเบี้ย และโจทก์ได้รับ
 ค่าชดเชยพร้อมดอกเบี้ยตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานไปครบถ้วนแล้ว อันเป็นการเลือกเข้า
 ถือเอาประโยชน์ตามคําสั่งของพนักงาน ตรวจแรงงานแล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์สละสิทธิไม่ถือเอา
 ประโยชน์ตามคําสั่งของ คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งมาจากเหตุแห่งการเลิกจ้างเดียวกันไปแล้ว
 ไม่ว่าจะเป็น คําสั่งในส่วนให้จําเลยรับโจทก์กลับเข้าทํางานหรือให้จ่ายค่าเสียหายนับแต่วันถูกเลิกจ้าง
 จนถึงวันที่รับกลับเข้าทํางาน โจทก์จึงไม่สิทธิฟ้องร้องบังคับจําเลยตามคําสั่งของ คณะกรรมการแรง
 งานสัมพันธ์ได้อีก
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 993/2546 โจทก์มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างให้ลูกจ้างทํางาน
 วันละ 3 กะ แต่ในทางปฏิบัติให้ทํางานวันละ 2 กะเป็นส่วนใหญ่ โดยให้ทํากะละ 12 ชั่วโมง จํานวน
 8 ชั่วโมงแรกเป็นการทํางานปกติ พัก 1 ชั่วโมง อีก 3 ชั่วโมงเป็นการทํางาน ล่วงเวลา การที่โจทก์มี
 คําสั่งให้จําเลยร่วมกับพวกซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องทํางาน วันละ 3 กะ แม้จะเป็นสิทธิของโจทก์
 จะสั่งได้ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ ก็เป็นการเลือกปฏิบัติเพื่อบีบคั้นไม่ให้ทนทํางานอยู่
 ต่อไปได้เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้อง หรือเป็นตัวแทนเจรจาอันถือว่าเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม
 ตามพระราชบัญญัติแรงงาน สัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 (1) การที่จําเลยได้มีคําสั่งคณะกรรมการ
 แรงงานสัมพันธ์ ให้โจทก์เปลี่ยนแปลงเวลาทํางานสําหรับจําเลยร่วมกับพวกเป็นเวลาการทํางานตาม
 เดิม และวินิจฉัยว่าการสั่งให้ลูกจ้างทํางานล่วงเวลาเป็นสิทธิของนายจ้างที่จะพิจารณาสั่งให้ ทําหรือ
 ไม่ก็ได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และไม่มี
 กฎหมายรองรับให้จําเลยออกคําสั่งบังคับให้โจทก์สั่งให้จําเลยร่วมกับพวก ทํางานล่วงเวลาได้
 จึงเป็นคําสั่งและคําวินิจฉัยที่ชอบแล้ว
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2544 มาตรา 121 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างฯลฯ
 เพราะเหตุที่ลูกจ้างนัดชุมนุม ทําคําร้อง ยื่นข้อเรียกร้อง เจรจา หรือดําเนินการฟ้องร้อง หรือเป็นพยาน
 หรือให้หลักฐานต่อเจ้าหน้าที่ หรือเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรือมี เหตุใดเหตุหนึ่งใน 5 เหตุ ที่ระบุ
 ไว้ในมาตรา 121 หากนายจ้างกระทําการดังกล่าวก็เป็น การกระทําอันไม่เป็นธรรม ในคดีนี้แม้ลูกจ้าง
 จะเป็นประธานสหภาพแรงงานและเป็น ผู้เกี่ยวข้องกับการยื่นข้อเรียกร้อง แต่นายจ้างเลิกจ้างโดยเข้า
 ใจว่าลูกจ้างมึนเมาสุราใน ขณะทํางานเพราะดื่มสุราก่อนมาทํางานเพียงไม่นาน โดยมีอาการหน้าแดง
 และพูดเสียงดัง กว่าปกติมิใช่เลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากการยื่นข้อเรียกร้อง การเลิกจ้างดังกล่าวจึงมิใช่
 การ กระทําอันไม่เป็นธรรม
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2157/2543 การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะเป็นการกระทําอันไม่เป็น
 ธรรมหรือไม่ หรือจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น แม้บทบัญญัติของ พ.ร.บ. แรงงาน
 สัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 จะกําหน
 ดหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้แตกต่างกันและเป็นกฎหมายต่าง ฉบับกันก็ตาม แต่ก็เป็นเรื่องที่มี
 วัตถุประสงค์จะให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างในการได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากนายจ้างเช่นเดียวกัน
 สําหรับกรณีที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ หรือศาลแรงงานไม่เห็นสมควรให้นายจ้างรับลูกจ้าง
 กลับเข้าทํางานอีก โจทก์นําสาเหตุจากการที่จําเลยเลิกจ้างไปยื่นคําร้องกล่าวหาจําเลยต่อ คณะ
 กรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม ขอให้จําเลยชําระค่า เสียหายแก่โจทก์
 และต่อมาโจทก์ได้นําเหตุแห่งการเลิกจ้างดังกล่าวไปฟ้องจําเลยต่อศาล แรงงาน ขอให้บังคับจําเลย
 ชดใช้ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเป็นเงินอีก จํานวนหนึ่ง พร้อมทั้งให้จําเลยชําระเงินค่า
 ชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า แล้วโจทก์กับจําเลยได้ตกลงทําสัญญาประนีประนอม
 ยอมความกัน โดยจําเลยยอมชําระ เงินให้แก่โจทก์บางส่วนและโจทก์ตกลงรับเงินดังกล่าวและไม่ติด
 ใจเรียกร้องค่าเสียหาย และเงินอื่นใดจากจําเลยอีก ศาลแรงงานมีคําพิพากษาไปตามสัญญาประนี
 ประนอมยอม ความแล้ว ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจําเลยดังกล่าวหมายความว่า โจทก์พอใจจํานวน
 เงิน ค่าเสียหายที่จําเลยชําระตอบแทนในการที่จําเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว ซึ่งรวมทั้งโจทก์ไม่ติดใจ เรียก
 ร้องค่าเสียหายที่โจทก์ยื่นคําร้องขอให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีคําสั่งให้ จําเลยชําระให้แก่
 โจทก์ด้วย แม้ภายหลังจากที่โจทก์และจําเลยได้ตกลงทําสัญญาประนี้ ประนอมยอมความต่อกันแล้ว
 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะมีวินิจฉัยว่าการที่จําเลย เลิกจ้างโจทก์เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม
 และมีคําสั่งให้จําเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ โจทก์ก็ตาม
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3985-3987/2529 เมื่อที่ประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานได้เลือกตั้ง
 ผู้ใดเป็นกรรมการสหภาพแรงงาน ผู้นั้นย่อมได้ชื่อว่าเป็นกรรมการสหภาพแรงงานตาม ความหมาย
 ในมาตรา 121 แล้ว เมื่อสหภาพแรงงานมีมติแต่งตั้งให้ลูกจ้างเป็นกรรมการ สหภาพแรงงาน แม้นาย
 จ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างในขณะที่นายทะเบียนยังไม่ได้จดทะเบียน กรรมการ สหภาพแรงงานดังกล่าว
 ก็ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 121
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1600/2526 ลูกจ้างเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในการเตรียมการยื่นข้อ
 เรียกร้อง ต่อนายจ้าง โดยเข้าร่วมประชุมปรึกษากับลูกจ้าง แม้จะไม่มีชื่อและลายมือชื่อของลูกจ้าง
 ดังกล่าว ในหนังสือแจ้งข้อเรียกร้องต่อนายจ้าง ก็ถือว่าลูกจ้างเป็นผู้ที่ได้ยื่นข้อเรียกร้อง ด้วย การที่
 นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 121 (1)
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602-2603/2523 การที่ลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องต่อบริษัทผู้เป็นนายจ้าง
 แม้จะยื่นในระหว่างที่ยังใช้ข้อบังคับเดิมที่ตกลงกันก็ถือได้ว่าได้มีการยื่นข้อเรียกร้องแล้ว บริษัท
 นายจ้างจึงต้องห้ามมิให้เลิกจ้างลูกจ้าง เพราะเหตุที่ยื่นข้อเรียกร้องดังกล่าว ตาม พระราชบัญญัติแรง
 งานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 121 การเลิกจ้างจึงไม่ชอบ
 -

Leave a Reply