กันยายน 7, 2020 In อธิบายกฏหมาย

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5
-
           *ข้อพิพาทแรงงาน มาตรา 5
 -
 พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5
           ข้อพิพาทแรงงาน หมายความว่า ข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เกี่ยวกับสภาพ
 การจ้าง
 -
           ข้อสังเกต
           ต้องเป็นการขัดแย้งกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง หากเป็นเรื่องอื่น
 ไม่ใช่ข้อพิพาทแรงงาน ไม่ต้องด้วยบทนิยามดังกล่าว
 -
           - การนัดหยุดงาน มาตรา 5
           การนัดหยุดงาน หมายความว่า การที่ลูกจ้างร่วมกันไม่ทํางานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาท
 แรงงาน
 -
           ข้อสังเกต
           1. เป็นกรณีที่ลูกจ้างนัดหยุดงานเพื่อกดดันนายจ้างให้ยอมตามข้อเรียกร้อง ของลูกจ้าง
           2. ข้อที่เรียกร้องต้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างเท่านั้น หากเป็นเหตุส่วนตัวหรือ เหตุอื่น
 ก็ไม่ถือเป็นการนัดหยุดงานตามความหมายมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์
           3. เมื่อได้มีการแจ้งนัดหยุดงานโดยชอบแล้วสมาชิกของสหภาพแรงงาน ทุกคนก็มีสิทธิ
 จะนัดหยุดงานได้ สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 อันเป็นบท
 บัญญัติเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1217/2535)
 -
           - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10158-1016/2539 การที่ลูกจ้างหยุดงานไปในวันที่มีการนัดหยุด
 งานและปิดงาน กรณีมิใช่วันหยุด วันลา หรือวันที่นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างหยุดงานเพื่อ ประโยชน์ของ
 นายจ้าง จึงไม่อาจนําระยะเวลาระหว่างการหยุดงานของลูกจ้างดังกล่าว รวมคํานวณเป็นระยะเวลา
 ทํางานของลูกจ้างได้
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7419/2537 นายจ้างได้เปลี่ยนเวลาทํางานและเพิ่มชั่วโมงทํางาน จาก
 7 ชั่วโมงเป็น 8 ชั่วโมง นายจ้างได้เชิญกรรมการสหภาพแรงงานเข้าประชุมกรรมการสหภาพแรงงาน
 ไม่ยินยอมเห็นว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างได้มีการ เจรจากันเรื่องการจ่ายค่าจ้างเพิ่ม นาย
 จ้างนัดหมายว่าจะแจ้งคําตอบแก่พนักงาน พนักงานจึงไม่เข้าทํางานและไปรวมตัวกันฟังคําตอบจาก
 นายจ้างตามที่นายจ้าง นัดหมาย การที่ลูกจ้างไม่เข้าทํางานด้วยเหตุดังกล่าวไม่ใช่การนัดหยุดงานตาม
 มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518
 
           คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2019-2022/2523 ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยว่า บริษัทโจทก์จะ
 เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างจากข้อตกลงเดิมเป็นให้ลูกจ้างทํางานเป็นผลัดหรือเป็น กะโดยลูกจ้างไม่
 ยินยอมไม่ได้ เพราะการทํางานเป็นผลัดนั้นไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างการที่ ลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งประกาศ
 ระเบียบข้อบังคับการทํางานฉบับใหม่จะถือว่าลูกจ้างได้ ยินยอมแล้วยังไม่ได้ การไม่เข้าทํางานจึง
 มิใช่การหยุดงานหรือการนัดหยุดงาน การเลิกจ้างจึงสืบเนื่องมาจากข้อเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการ
 จ้างในระหว่างที่ข้อตกลง ยังมีผลบังคับอยู่เป็นการกระทําอันไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติแรง
 งานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123 โจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์มีเจตนาที่จะเปลี่ยนแปลงข้อตกลงสภาพ
 การจ้างหากจําเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไม่เห็นด้วยก็ชอบที่จะโต้แย้งทันที่แต่ไม่อาจหยุดงานได้ การหยุด
 งานจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหาย ดังนี้ เป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริง ซึ่งศาลแรง
 งานกลางฟังมาและไม่มีความตอนใดที่เป็นปัญหาข้อกฎหมายโดยชัดแจ้ง จึงไม่เป็นอุทธรณ์ที่
 ศาลฎีกาจะรับวินิจฉัย
 -

Leave a Reply