คําพิพากษาฎีกาที่ 220/2562
เนติฯ
คู่กรณี
โจทก์
บริษัทลีสซึ่งไอซีบีซี (ไทย) จํากัด
จําเลย
นายทนงศักดิ์ บุญยังกับพวก
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 686
ผู้ค้ำประกัน ผิดนัด
-
ข้อมูลย่อ
ตามสัญญาค้ำประกันระบุว่า บรรดาหนังสือ จดหมาย คําบอกกล่าวใด ๆ
ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่งทางไปรษณีย์ลง
ทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะ ถึงตัว หรือไม่ถึงตัว และไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือไม่
มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือ ไม่ยอมมารับภายในกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับ ข้าพเจ้า
ยินยอม ผูกพันให้ถือว่าหนังสือ จดหมาย หรือคําบอกกล่าวใด ๆ นั้น ได้ส่งให้ ข้าพเจ้า
โดยชอบแล้ว เมื่อโจทก์ได้ส่งหนังสือขอให้ชําระหนี้และบอกเลิก สัญญาเช่าซื้อไปตาม
ที่อยู่ของจําเลยที่ 2 ตามที่แจ้งไว้ในสัญญา ค้ำประกัน แม้ทางไปรษณีย์จะคืนหนังสือที่
ส่งไปให้จําเลยที่ 2 เนื่องจาก จําเลยที่ 2 ไม่มารับภายในกําหนดก็ตาม ก็ถือว่าจําเลยที่ 2
ได้รับ หนังสือบอกกล่าวโดยชอบแล้ว โจทก์มีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 2 ให้รับ ผิดตาม
สัญญาค้ำประกันได้
จําเลยที่ 1 ผิดนัดตามสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้ เช่าซื้อมี
หนังสือบอกกล่าวให้จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันชําระหนี้ และบอกเลิกสัญญาพ้น
กําหนดเวลา 60 วัน นับแต่วันที่จําเลยที่ 1 ผิดนัด จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิด
ในดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60 วัน ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 686 วรรคสอง แต่หนี้การส่งมอบรถยนต์ที่
เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ประธาน จําเลยที่ 2 ย่อมไม่หลุดพ้น
จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามสัญญาค้ำประกันเมื่อ
วันที่ 15 ตุลาคม 2555 จะต้องรับผิดร่วมกับจําเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืน แก่
โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนและ ค่าขาด
ประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วันผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ
7.5 ต่อปี แก่โจทก์
-
รายละเอียด
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2555 จําเลยที่ 1 ทํา สัญญาเช่าซื้อรถยนต์
ยี่ห้อ มิตซูบิชิ หมายเลขทะเบียน ธน 2556 กรุงเทพมหานคร จากโจทก์ในราคา 142,595
บาท ตกลงชําระ ค่าเช่าซื้อเป็นงวดทุกวันที่ 25 ของเดือน งวดละ 3,561 บาท รวม 36
งวด มีจําเลยที่ 2 ทําสัญญาค้ำประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจําเลย ที่ 1 ชําระค่าเช่า
ซื้อ 30 งวด เป็นเงิน 118,430 บาท แล้วผิดนัดไม่ ชําระค่าเช่าซื้อตั้งแต่งวดที่ 31 ประจํา
วันที่ 25 พฤษภาคม 2558 ติดต่อกันเกินกว่าสามงวด โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว
จําเลย ทั้งสองจึงต้องคืนรถยนต์ที่เช่าซื้อแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน
50,000 บาท และร่วมกันชําระค่าขาดประโยชน์เดือนละ 3,900 บาท นับแต่วันที่ 25
พฤษภาคม 2555 ถึงวันฟ้องเป็นเวลา 6 เดือน เป็นเงิน 23,400 บาท ขอให้บังคับจําเลย
ทั้งสองร่วมกันส่ง มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ หากคืน
ไม่ได้ ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 50,000 บาท ร่วมกันชําระค่าเสียหาย 23,500 บาท และ
ค่าเสียหายเดือนละ 3,000 บาท นับถัดจากวัน ฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์พร้อม
ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของต้นเงิน 103,400 บาท นับถัดจากวันฟ้องจนกว่าจะ
ชําระเสร็จ แก่โจทก์
จําเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคําให้การ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จําเลยทั้งสองร่วมกันส่งมอบรถยนต์ที่ เช่าซื้อคืน
โจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคา แทนเป็นเงิน 10,000 บาท
กับให้จําเลยที่ 1 ให้ค่าเสียหายเป็นเงิน 5,400 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ของ
ต้นเงิน 5,500 บาท นับถัดจากวันฟ้อง (ฟ้องวันที่ 23 มีนาคม 2559) จนกว่าจะ ชําระ
เสร็จแก่โจทก์ กับให้จําเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทน โจทก์โดยกําหนด
ค่าทนายความ 3,000 บาท คําขออื่นให้ยก
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 แผนกคดีผู้บริโภคพิพากษาแก้เป็นว่า หากจําเลยที่ 1
คืนรถยนต์ที่เช่าซื้อไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน 20,000 บาท กับให้จําเลยที่ 1 ให้ค่าเสียหาย
เดือนละ 900 บาท นับถัดจากวันฟ้อง จนกว่าจะส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์
หรือใช้ราคาแทน แต่ไม่ เกิน 6 เดือน ยกฟ้องสําหรับจําเลยที่ 2 ค่าฤชาธรรมเนียมใน
ศาลชั้นต้น
ระหว่างโจทก์กับจําเลยที่ 2 และค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ให้ เป็นพับ
นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฎีกา โดยศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภคอนุญาตให้ฎีกา
ศาลฎีกาแผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า “ข้อเท็จจริงฟังได้เป็น ยุติว่า เมื่อวันที่
15 ตุลาคม 2555 จําเลยที่ 1 ทําสัญญาเช่าซื้อรถยนต์ ยี่ห้อ มิตซูบิชิ หมายเลขทะเบียน ธน
7546 กรุงเทพมหานคร จาก โจทย์ในราคา 142,596 บาท ตกลงชําระค่าเช่าซื้อเป็นงวด
ทุกวันที่ 25 ของเดือน งวดละ 3,961 บาท รวม 36 งวด มีจําเลยที่ 2 ทํา สัญญาค้ำ
ประกันยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม จําเลยที่ 1 ชําระค่าเช่า ซื้อ 30 งวด เป็นเงิน 118,430
บาท แล้วผิดนัดไม่ชําระค่าเช่าซื้อ ตั้งแต่งวดที่ 31 ประจําวันที่ 25 พฤษภาคม 2558
ติดต่อกันเกิน กว่าสามงวด โจทก์มีหนังสือบอกเลิกสัญญาแล้ว แต่จําเลยทั้งสองไม่ ส่ง
มอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ คดีสําหรับจําเลยที่ 1 เป็นอันยุติ ไปตามคําพิพากษา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามที่โจทก์ได้รับอนุญาตให้ฎีกาว่า จําเลยที่ 2 ต้อง
ร่วมกับจําเลยที่ 1 รับผิดชําระค่าเสียหายต่อโจทก์หรือ ไม่เพียงใด โดยโจทก์ฎีกาว่า แม้
การส่งหนังสือบอกกล่าวไปยังจําเลย ที่ 2 ไม่ได้เนื่องจากทางไปรษณีย์ส่งคืนว่าไม่มา
รับภายในกําหนดก็ตาม แต่โจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ที่จําเลยที่ 2 แจ้งไว้ในสัญญาค้ำ
ประกัน และ มีข้อสัญญาว่าบรรดาหนังสือส่งไปยังที่อยู่ตามที่ระบุไว้ในสัญญา ไม่ ว่า
จะมีผู้ใดยอมรับหรือไม่ยอมมารับตามกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้ ถือว่าหนังสือนั้นได้ส่ง
ไปถึงโดยชอบแล้ว จึงถือว่าหนังสือบอกกล่าวได้ ส่งไปถึงจําเลยที่ 2 แล้ว โจทก์จึงมี
สิทธิเรียกให้จําเลยที่ 2 รับผิดตาม สัญญาค้ำประกันเต็มจํานวน เห็นว่า ตามสัญญาค้ำ
ประกันเอกสาร หมาย จ.4 ข้อ 4 ระบุว่า บรรดาหนังสือ จดหมาย คําบอกกล่าวใด ๆ
ของเจ้าของที่ส่งไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าตามสัญญานี้ โดยส่งเองหรือส่ง ทางไปรษณีย์
ลงทะเบียน หรือไม่ลงทะเบียนไม่ว่าจะถึงตัว หรือไม่ถึง ตัว และไม่ว่าจะมีผู้ใดรับหรือ
ไม่มีผู้ใดยอมรับไว้ หรือไม่ยอมมารับ ภายในกําหนดที่ไปรษณีย์แจ้งให้มารับข้าพเจ้า
ยินยอมผูกพันให้ถือว่า หนังสือ จดหมาย หรือคําบอกกล่าวใด ๆ นั้น ได้ส่งให้ข้าพเจ้า
โดยชอบ แล้ว ข้อเท็จจริงปรากฏตามหนังสือขอให้ชําระหนี้และบอกเลิกสัญญา พร้อม
ใบตอบรับเอกสารหมาย จ.9 ว่าโจทก์ได้ส่งไปตามที่อยู่ของจําเลย ที่ 2 ตามที่แจ้งไว้ใน
สัญญาค้ำประกันดังกล่าว แม้ทางไปรษณีย์จะคืน หนังสือที่ส่งไปให้จําเลยที่ 2 เนื่อง
จากจําเลยที่ 2 ไม่มารับภายใน กําหนดก็ตาม ก็ถือว่าจําเลยที่ 2 ได้รับหนังสือบอกกล่าว
โดยชอบแล้ว โจทก์จึงมีอํานาจฟ้องจําเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกันได้ แต่
เมื่อจําเลยที่ 1 ผิดนัดตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2554 โจทก์มีหนังสือ บอกกล่าวให้จํา
เลยที่ 2 ชําระหนี้และบอกเลิกสัญญาเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559 จึงพ้นกําหนดเวลา 60
วัน นับแต่วันที่จําเลยที่ 1 ผิดนัด จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจากความรับผิดในดอกเบี้ยและ
ค่าสินไหม ทดแทนที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60 วัน ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 646 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณี ที่เจ้าหนี้มิได้มี
หนังสือบอกกล่าวภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความ
รับผิดในดอกเบี้ยและค่าสินไหม ทดแทนตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่ง
หนี้รายนั้นบรรดา ที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งเท่านั้น สําหรับ
หนี้ การส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อและหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนถือเป็นหนี้ ประธาน
แม้โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวแก่จําเลยที่ 2 เกิน 60 วัน นับ แต่วันผิดนัดก็ตาม จําเลยที่ 2
ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันย่อมไม่หลุดพ้น ส่วน หนี้ค่าขาดประโยชน์ถือเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้
จําเลยที่ 2 จึงหลุดพ้นจาก ความรับผิดเฉพาะที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกําหนดเวลา 60
วัน ดังนั้น จําเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมต้องรับผิดร่วม กับจํา
เลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนแก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย ใช้การได้ดี หากคืนไม่
ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 20,000 บาท และ จําเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดค่าขาด
ประโยชน์อันเป็นค่าเสียหายนับแต่วัน ผิดนัดแต่ไม่เกิน 60 วัน เป็นเงิน 1,800 บาท
พร้อมดอกเบี้ยอัตรา ร้อยละ 7.5 ต่อปี แก่โจทก์ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาในส่วน
ของจําเลยที่ 2 นั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วยฎีกาของโจทก์ฟังขึ้นบางส่วน
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จําเลยที่ 2 ร่วมกับจําเลยที่ 1 ส่งมอบ รถยนต์ที่เช่าซื้อ
คืนโจทก์ในสภาพเรียบร้อยใช้การได้ดี หากคืนไม่ได้ให้ ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 20,000
บาท และให้จําเลยที่ 1 ร่วมชําระ ค่าเสียหาย 1,500 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5
ต่อปี นับถัด จากวันฟ้องจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นฎีกาให้
เป็นพับ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคําพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1
-
(วัชรินทร์ สุขเกื้อ - เมทินี ชโลธร - น้ำเพชร ปานะถึก)
องค์คณะผู้ตัดสิน
Leave a Reply