กันยายน 7, 2020 In คำพิพากษา

คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562-ถือเป็นสัญญาจ้างแรงงาน

คําพิพากษาฎีกาที่ 1468/2562
เนติฯ
	คู่กรณี
โจทก์	
	นาย ร. 
จําเลย
	บริษัท อ.  
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
	มาตรา 575		จ้างแรงงาน 
	พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 
	มาตรา 5
-
ข้อมูลย่อ
	จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมีจํานวนแน่นอน
เท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทํางาน ไม่ได้ 
คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้ตลอดระยะเวลาที่
โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนพนักงาน
ลูกจ้างคนอื่นของจําเลย โจทก์ปฏิบัติงานไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่
ภายใต้การบังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมีอํานาจสั่งให้โจทก์ไปทํางาน
ที่โครงการอื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องปฏิบัติตาม
ระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลยอย่างเคร่งครัด 
แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้กรรมการของจําเลยทราบก่อน
โจทก์จึงไม่ได้มีอิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลย
จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
มาตรา 575 และพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2551 จําเลยตกลงจ้าง 
โจทก์ทํางานให้จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการประจําสาขา  
เกาะสมุย โครงการซามูจาน่า ได้รับเงินเดือนอัตราสุดท้ายเดือนละ 
145,000 บาท และได้รับเงินช่วยเหลือค่าครองชีพเป็นเงินค่าเช่าบ้าน 
เป็นรายเดือนจํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือนเดือนละ 17,000 บาท 
กําหนดจ่ายเงินทั้งสองจํานวนดังกล่าวแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน รวมเป็น 
ค่าจ้างเดือนละ 202,000 บาท ต่อมาวันที่ 7 พฤษภาคม 2556 จําเลยบอก
เลิกจ้างโจทก์โดยโจทก์ไม่ได้กระทําผิดและไม่ได้บอกกล่าว ล่วงหน้า 
เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และถือ
ว่าจําเลยจงใจ ทําให้โจทก์ได้รับความเสียหายต่อชื่อเสียง ระหว่าง
ทํางานโจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิลาหยุดพักผ่อนประจําปีและต้อง ทํางานใน
วันหยุด  ขอให้บังคับจําเลยจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าเท่า
กับค่าจ้าง 1 เดือน เป็นเงิน 202,000 บาท พร้อมดอกเบี้ย ในอัตรา 
ร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว ให้จําเลยจ่ายค่าทํางาน ในวันหยุด 
47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี  101,000 บาท 
และค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยใน อัตราร้อยละ 15 ต่อปี 
ของเงินต้นทั้งสามจํานวนดังกล่าว กับให้ จําเลย ใช้ค่าเสียหายที่ได้
กระทําละเมิดต่อโจทก์เป็นเงิน 500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 9  มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะ
ชําระเสร็จแก่โจทก์ 
	จําเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้เป็นลูกจ้างของจําเลย แต่จําเลย 
เป็นผู้ว่าจ้างและโจทก์เป็นผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทําการงานสิ่งใดสิ่ง
หนึ่ง ให้สําเร็จ ซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทําของ กล่าวคือ โจทย์ตกลง 
รับจ้างทําการงาน เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างบ้านพักตากอากาศให้แก่ 
ลูกค้าของจําเลยชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ “ซามูจาน่า” โดย 
จําเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสําเร็จแห่งการงานที่ทํานั้นเป็นราย 
เดือนเดือนละ 145,000 บาท โดยโจทย์ตกลงให้จําเลยหักเงิน ค่ารับ
จ้างทําการงานดังกล่าวในอัตราร้อยละ 3 ของเงินค่ารับจ้างทําการงาน
อันเป็นสัญญาจ้างทําของ มิใช่สัญญาจ้างแรงงาน ตามที่โจทก์ กล่าวอ้าง 
ดังนั้นโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าชดเชย สินจ้างแทน การ
บอกกล่าวล่วงหน้า ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและ 
ค่าทํางานในวันหยุดตามฟ้อง เมื่อบ้านพักตากอากาศของลูกค้าใน 
โครงการ “ซามูจาน่า” ที่จําเลยตกลงจ้างโจทก์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง 
ดําเนินการแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2555 สัญญาจ้างทําของในการ 
รับทําการงานของโจทก์ให้แก่จําเลยก็สิ้นสุดลงและจําเลย ตกลงที่จะ 
จ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนพิเศษให้แก่โจทก์รวม 5 เดือน ในอัตราเดือน ละ 
202,000 บาท โดยโจทก์ได้รับไปครบถ้วน แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิ 
เรียกร้องค่าชดเชย นอกจากนี้เมื่อโจทก์และจําเลยต่างรับทราบถึงการ 
สิ้นสุดของโครงการดังกล่าวดีอยู่ แล้วจึงถือได้ว่าจําเลยได้บอกกล่าว
ล่วง หน้ายกเลิกการจ้างกับโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้อง
สินจ้างแทน การ บอกกล่าวล่วงหน้า และการยกเลิกการจ้างของจําเลย
ไม่ทําให้โจทก์ เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือ จึง
ไม่ เป็นการเลิก จ้างที่ไม่เป็นธรรม โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหาย
จากการเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม ขอให้ยกฟ้อง 
	ศาลแรงงานภาค 4 วินิจฉัยว่า โจทก์เป็นผู้จ้างของจําเลย 
ทํางานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 5 ปี มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่  
น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 150 วัน โจทก์ได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 
เป็นเงินเดือนละ 202,000 บาท จําเลยจึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย แก่
โจทก์รวม 1,212,000 บาท ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 
ปรากฏว่าจําเลยบอกเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 7  พฤษภาคม 2556 โดย
ก่อนหน้านั้นไม่ได้มีการบอกกล่าวให้โจทก์ทราบล่วงหน้า จําเลยจึง 
ต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ 202,000 
บาท สําหรับค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี และค่าทํางานใน 
วันหยุดตามประเพณี ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า นับแต่โจทก์เข้าทํางาน 
โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดงานในวันหยุดพักผ่อนประจําปีและวันหยุดตาม 
 ประเพณีรวมเป็นเวลา 15 วัน และ 7 วัน ตามลําดับ โดยไม่ได้รับ ค่า
จ้างสําหรับวันหยุดนั้น จําเลยจึงต้องจ่ายค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อน 
ประจําปีจํานวน 15 วัน เป็นเงิน 101,000 บาท และค่าทํางานใน วัน
หยุดรวม 47,133 บาท และเมื่อจําเลยเลิกจ้าง โจทก์โดยโจทก์ไม่มี 
ความผิดต้องทําให้โจทก์กลายเป็นผู้ตกงานกะทันหันต้องขาดรายได้ 
ขณะถูกเลิกจ้างโจทก์มีอายุสูงถึง 63  ปียากที่จะไปหางานใหม่ทําและ 
ส่งผลเสียทั้งด้านชื่อเสียงของโจทก์ ทําให้โจทก์ขาดความน่าเชื่อถือจาก 
ผู้ประกอบการ จึง กําหนดค่าเสียหายให้โจทก์จํานวน 202,000 บาท 
พิพากษาให้จําเลยชําระสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า 202,000 
บาท  พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง (วันที่ 20 
กรกฎาคม 2556) เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้ จําเลย
ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยจ่ายค่าทํางานในวันหยุด
รวม 47,133 บาท ค่าจ้างสําหรับวันหยุดพักผ่อนประจําปี 101,000 บาท 
ค่าชดเชย 1,212,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตรา  ร้อยละ 15 ต่อปี นับ
แต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่า จะชําระเสร็จแก่โจทก์ ให้
จําเลยใช้ค่าเสียหาย 202,000 บาท  พร้อม ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 
ต่อปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2556 เป็นต้นไปจนกว่าจะชําระเสร็จแก่
โจทก์ 
	จําเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา 
	ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานเห็นว่า ศาลแรงงานภาค 8 รับฟัง 
ข้อเท็จจริงมาไม่พอที่จะวินิจฉัยข้อตกลงว่าสัญญาระหว่างโจทก์กับ  
จําเลยเป็นสัญญาจ้างแรงงานหรือไม่ จึงให้ย้อนสํานวนให้ศาลแรงงาน 
ภาค 4 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ให้จําหน่ายคดีออกจากสารบบของ 
ศาลฎีกา ศาลแรงงานภาค 8 รับฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมและส่งสํานวน 
คืนศาลฎีกา 
	ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานภาค 6 
ฟังข้อเท็จจริงและข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า จําเลยเป็นนิติบุคคลประเภท  
บริษัทจํากัด มีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการด้านรับเหมาก่อสร้าง 
อาคารและบ้านพักตากอากาศให้แก่ลูกค้าทั่วไป สํานักงานใหญ่ตั้งอยู่ 
ที่กรุงเทพมหานคร โจทก์เดินทางมาทํางานในประเทศไทยเมื่อปี 2551 
โดยนายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยติดต่อให้ทํางานกับ 
จําเลยในตําแหน่งผู้อํานวยการโครงการ เริ่มงานตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 
2551 ประจําสาขาเกาะสมุย ตั้งอยู่ที่โครงการซามูจาน่า อําเภอบ่อผุด 
อําเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลักษณะงานที่ทําคือการให้คํา
ปรึกษา วางแผนบริหาร และดูแลงานภายในโครงการอินฟินิตี้ของ 
จําเลย โดยได้รับมอบหมายให้ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้า 
ชาวต่างชาติชื่อนายดาเห็น คอนเวย์ ไม่ปรากฏว่าโจทก์ต้องเริ่มทํางาน 
เวลาใดถึงเวลาใด แต่การปฏิบัติเป็นที่เข้าใจได้ว่าโจทก์ต้องมาดูแลและ 
อยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา หากลูกค้ามีปัญหาโจทก์จะต้องเป็นผู้ติดต่อ 
ประสานงานกับลูกค้าและแจ้งให้พนักงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบแก้ 
ปัญหาเฉพาะด้านต่อไป จําเลยอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่น 
ได้ไม่เฉพาะแต่งานก่อสร้างบ้านรายนายดาเห็น คอนเวย์ ในโครงการ 
ซามูจาน่าเท่านั้น โดยจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับจําเลยใน  
โครงการชื่ออินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเห็น แม้บ้าน 
นายดาเห็นจะสร้างเสร็จแล้วโจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วนใน 
เรื่องการ ลาหยุดงานได้ความว่ากรณีโจทก์ป่วย โจทก์ต้องโทรศัพท์ให้
นายเควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบก่อน  โจทย์ไม่อาจ
หยุดงานได้ตามอําเภอใจ สําหรับการจ่ายค่าจ้างโจทก์ได้รับค่าจ้างเป็น
รายเดือนมี จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน อันมีลักษณะเป็นการจ่าย 
เพื่อตอบแทน การทํางานโดยมิได้คํานึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ แต่
เป็นการจ่าย ค่าจ้างตลอดเวลาที่โจทก์ทํางาน กล่าวคือ  แม้สร้างบ้าน
นายดาเร็นเสร็จ แล้ว จําเลยยังคงจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ต่อไปอีกและ
โจทก์ยังได้รับ สวัสดิการต่าง ๆ ดังเช่น พนักงานรายอื่นของจําเลย ระ
หว่างทํางานโจทก์ ได้รับเงินเดือนเดือนละ 185,000 บาท เงินช่วย
เหลือค่าครองชีพเป็น ค่าเช่าบ้าน เดือนละ 17,000 บาท จําเลยได้ทํา
ประกันสังคมให้แก่ โจทก์โดยแจ้งว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย วันที่ 7 
พฤษภาคม 2556 นายเควินบอกเลิกจ้างโจทก์โดยจ่ายค่าจ้างถึงเดือน
เมษายน 2556 ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2556 จําเลยคัดชื่อโจทก์ออกจาก 
ทะเบียน ลูกจ้างที่ยื่นต่อสํานักงานประกันสังคม แล้วศาลแรงงานภาค 6 
วินิจฉัย ว่า ลักษณะงานของโจทก์เป็นเป็นสัญญาแรงงาน ไม่ใช่สัญญา
จ้าง ทําของ 
	คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจําเลยประการเดียวว่า 
โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลยหรือไม่ โดยจําเลยอุทธรณ์สรุปว่า จําเลย  
ตกลงให้โจทก์เป็นผู้ประสานงานแทนจําเลยระหว่างลูกค้ารายนาย
ดาเห็น คอนเวย์ กับจําเลยกรณีลูกค้ารายนี้มีปัญหาเท่านั้น โดยกําหนด
เวลา การจ้างจนกว่าจําเลยจะก่อสร้างบ้านให้นายดาเห็นแล้วเสร็จ 
ลักษณะ การทํางานของโจทก์ไม่ได้อยู่ภายใต้ บังคับบัญชาของจําเลย 
จําเลยไม่ ได้มอบหมายงานหรือกําหนดเวลาให้โจทก์ต้องทําอะไรบ้าง
ในแต่ละวัน ไม่มีการออกกฎระเบียบข้อบังคับการทํางานแก่โจทก์ว่า
ต้องเข้าออกงาน เวลาใด โจทก์ไม่ต้องลงเวลาทํางาน ไม่มีการบังคับ
บัญชาหรือลงโทษทางวินัยแก่โจทก์ หรือเพิ่มเงินเดือนตามระยะเวลา
การทํางาน โจทก์มีอิสระในการทํางาน ในแต่ละวันโจทก์จะมาทํางาน
หรือไม่ก็ได้ เว้นแต่ นายดาเห็นเจ้าของบ้านมีปัญหาในการก่อสร้างก็จะ
โทรศัพท์เรียกโจทก์ ไปดูแลเพื่อแก้ไขหรือรับทราบปัญหาต่าง ๆ เท่านั้น 
แต่ผู้แก้ไขงานคือ วิศวกรผู้ควบคุมงาน จําเลยตกลงให้ค่าตอบแทนแก่
โจทก์สูงกว่าลูกจ้าง ทั่วไปมากซึ่งจําเลยหักภาษีไว้ในอัตราร้อยละ 3 
ตามสัญญาจ้างทําของ สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยเป็นสัญญาจ้าง
ทําของ โจทก์จึงไม่ใช่ ลูกจ้างของ จําเลยนั้น เห็นว่า การพิจารณาว่า
สัญญาใดเป็นสัญญาจ้างแรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
มาตรา 575 และพระ ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 
สัญญาจ้างทําของตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 557 
นั้น จะต้อง พิจารณาถึงการจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างและการจัดหา เครื่อง
มือสัมภาระ ในการทํางานประกอบด้วยว่ากรณีสัญญาจ้างแรงงานนาย
จ้างต้องจ่าย สินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทํางานให้ แต่
สัญญาจ้างทํา ของผู้ว่าจ้างต้องจ่ายสินจ้างตามความสําเร็จของการงาน
ที่ตกลงกัน และสัญญาจ้างแรงงาน ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือหรือ
สัมภาระใน การทํางานส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้างเป็นผู้จัดหา
เครื่องมือสําหรับ ใช้ทําการงาน และข้อแตกต่างสําคัญระหว่างสัญญา
จ้างแรงงานกับ สัญญาจ้างทําของอีกประการหนึ่งคือ เรื่องการบังคับ
บัญชา กล่าวคือ สัญญาจ้างแรงงานลูกจ้างต้องทํางานตามคําสั่งของ
นายจ้างและมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง 
และพาณิชย์ มาตรา 543 ซึ่งบัญญัติว่า “ถ้าลูกจ้างจงใจขัดคําสั่งของ
นายจ้างอันชอบ ด้วยกฎหมายก็ดี หรือละเลยไม่นําพาต่อคําสั่งเช่นว่า
นั้นเป็นอาจิณ ก็ดี...ท่านว่านายจ้างจะไล่ออกโดยมิพักต้องบอกกล่าว
ล่วงหน้าหรือให้ สินไหมทดแทนก็ได้" ส่วนสัญญาจ้างทําของผู้รับจ้าง
ไม่ต้องทํางานตาม คําสั่งเพียงแต่ทําให้แล้วเสร็จตามที่ตกลงเท่านั้น ซึ่ง
ในปัญหานี้ศาล แรงงานภาค 8 ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาว่า โจทก์ได้รับ
มอบหมายให้ ทําหน้าที่ติดต่อประสานงานกับลูกค้าชาวต่างชาติชื่อ
นายดาเห็น แม้ไม่ปรากฏว่าต้องเริ่มทํางานเวลาใดถึงเวลาใด แต่ทาง
ปฏิบัติเป็นที่เข้าใจว่าโจทก์ต้องมาดูแลและอยู่ในพื้นที่ตลอดเวลา และ
จําเลย ยังอาจสั่งให้โจทก์ไปทํางานที่โครงการอื่นได้ไม่เฉพาะแต่งาน
ก่อสร้างรายนายดาเห็น เท่านั้น ดังจะเห็นได้จากโจทก์เริ่มทํางานกับ
จําเลยใน โครงการชื่อ อินฟินิตี้ก่อนที่จะมีการสร้างบ้านนายดาเร็น แม้
บ้านนายดาเห็นจะสร้าง เสร็จแล้ว โจทก์ก็ยังคงทํางานอยู่ต่อ ส่วน 
การลาหยุดงานได้ความว่า กรณีโจทก์ป่วยโจทย์ต้องโทรศัพท์ให้นาย
เควิน ไมเคิล เฟรฮี กรรมการ ของจําเลยทราบก่อน โดยโจทก์ไม่อาจ
หยุดงานได้ตามอําเภอใจ ทั้งจําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นรายเดือนมี
จํานวนแน่นอนเท่ากันทุกเดือน มีลักษณะเป็นการจ่ายเพื่อตอบแทน
การทํางาน ไม่ได้คํานึงถึงผลสําเร็จของงานเป็นสําคัญ และจ่ายให้
ตลอดระยะเวลาที่โจทก์ทํางาน ทั้งโจทก์ได้รับสิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ 
เหมือนพนักงานลูกจ้างคนอื่นของจําเลย เช่นนี้เท่ากับโจทก์ปฏิบัติงาน
ไม่เป็นอิสระแต่ต้องอยู่ภายใต้การ บังคับบัญชาของจําเลย จําเลยมี
อํานาจสั่งให้โจทก็ไปทํางานที่โครงการ อื่นของจําเลยได้ แม้ไม่ปรากฏ
ว่า โจทก์ต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อ บังคับเกี่ยวกับการทํางานของ
จําเลยอย่างเคร่งครัด แต่การที่จําเลยจะหยุดงานต้องแจ้งให้ นายเควิน 
ไมเคิล เฟรฮี กรรมการของจําเลยทราบ ก่อนเช่นนี้ โจทก์จึงไม่ได้มี
อิสระในการทํางาน สัญญาระหว่างโจทก์กับจําเลยจึงเป็นสัญญาจ้าง
แรงงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 575 และพระ
ราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 5 ที่ศาลแรงงานภาค 6 
วินิจฉัยมานั้น ศาลฎีกาเห็น พ้องด้วย อุทธรณ์ของจําเลยฟังไม่ขึ้น” 
	พิพากษายืน 
-
(สมจิตร์ ทองศรี - วุฒิชัย หรูจิตตวิวัฒน์ - จักรชัย เยพิทักษ์) 
องค์คณะผู้ตัดสิน

Leave a Reply