กันยายน 7, 2020 In คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547-ขโมยข้อมูลที่ไม่ถือเป็นการลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5161/2547
ส่งเสริมตุลาการ
	คู่กรณี
โจทก์
	พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด	
โจทก์ร่วม
	บริษัทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
จำเลย
	นายดนู พันธ์ทองหรือพันธ์ทอง	
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายอาญา
	มาตรา 335	ลักทรัพย์โดยมีเหตุฉกรรจ์ 
-
ข้อมูลย่อ
	ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า “ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่า
เป็นข้อเท็จจริงสำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ” ส่วนข้อเท็จจริง
หมายความว่า “ข้อความแห่งเหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์
ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง” ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษร
ภาพแผนผัง และตราสารเป็นเพียงสัญลักษณ์ที่ถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจาก
แผ่นบันทึกข้อมูลโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อ ป.พ.พ.มาตรา137
บัญญัติว่า ทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่นบันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์
การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลของโจทก์ร่วม จึงไม่ 
เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา1 มาตรา 188, 335,	
357, 91 คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารแก่ผู้เสียหาย
	จำเลยให้การปฏิเสธ
	ระหว่างพิจารณา	บริษัทธรรมนิติ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้เสียหาย
ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นอนุญาต
	ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คืนแผ่นบันทึกข้อมูลและเอกสารให้โจทก์ร่วม
	โจทก์และโจทก์ร่วมอุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน	
	โจทก์ร่วมฎีกาโดยผู้พิพากษาซึ่งลงชื่อในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า "พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงที่คู่ความไม่ฎีกาโต้แย้งรับฟังได้
ในเบื้องต้นว่า จำเลยเป็นพนักงานแผนกต่างประเทศของโจทก์ร่วม มีหน้าที่เตรียม
เอกสารคำขอใบอนุญาตติดต่อหน่วยราชการ ติดต่อประสานงานกับลูกค้าต่างประเทศ
ในวันเวลาและสถานที่เกิดเหตุตามฟ้อง จำเลยนำเอกสาร จำนวนประมาณ 400 แผ่น	
ตามเอกสารหมาย จ.3 จากสำนักงานโจทก์ร่วมไปไว้ที่บ้านจำเลยเพื่อทำงานให้แก่
โจทก์ร่วม กับนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลในการดำเนินธุรกิจต่าง ๆ ของ 
โจทก์ร่วมจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม จำนวนรวม
41 แผ่น มีปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิด
ตามฟ้องหรือไม่ สำหรับความผิดฐานเอาไปเสียซึงเอกสารในประการที่น่าจะเกิด
ความเสียหายแก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่นนั้น โจทก์ร่วมฎีกาว่า โจทก์ร่วมมีระเบียบห้ามนำ
เอกสารออกนอกที่ทำการ แม้จะไม่ถือเป็นข้อห้ามเด็ดขาดตามระเบียบนั้น แต่มิได้
หมายความว่า เมื่อพนักงานนำงานออกจากที่ทำการของโจทก์ร่วมไปทำต่อที่บ้านแล้ว 
พนักงานไม่จำต้องนำเอกสารทีเหลือหรือมิได้ใช้งานแล้วมาคืนโจทก์ร่วม การที่จำเลย
ทำงานเสร็จแล้วกลับไม่นำเอกสารที่เกี่ยวข้องมาคืนเพื่อส่งคืนลูกค้า เป็นการทำให้
โจทก์ร่วมเสียหายแล้ว เพราะเอกสารส่วนหนึ่งเป็นความลับของลูกค้า เห็นว่า ตามคำเบิก 
ความของนางจิตติมา โสตถิพันธุ์พนักงานโจทก์ร่วม ตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายต่างประเทศ
ได้ความว่า เอกสารหมาย จ.3 ซึ่งลูกค้าส่งมาให้โจทก์ร่วมนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูล
เกี่ยวกับหนังสือรับรองของบริษัท บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น งบบัญชีกำไรขาดทุน และ
สำเนาหนังสือเดินทาง เอกสารดังกล่าวจึงล้วนเป็นเอกสารที่บุคคลสามารถไปขอ
ตรวจสอบและขอคัดสำเนาได้จากกรมทะเบียนการค้ากระทรวงพาณิชย์ จึงไม่ถือเป็น
ความลับของบริษัทลกค้าโจทก์ร่วมอันต้องปกปิด ดังนั้น การที่จำเลยใช้เอกสาร	
ดังกล่าวปฏิบัติในหน้าทีให้แก่โจทก์ร่วมเสร็จแล้วไม่นำกลับคืนแก่โจทก์ร่วมจึงไม่น่า
จะเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหรือลูกค้าของโจทก์ร่วมต้องเสียหาย การกระทำของจำเลย
จึงไม่เป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหาย
แก่โจทก์ร่วมหรือผู้อื่น ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยปัญหานี้ชอบแล้ว ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย
ฎีกาของโจทก์ร่วมข้อนี้ฟังไม่ขึ้น
	ปัญหาวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ร่วมต่อไปว่า การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูล
เปล่าลอกข้อมูลจากแผ่นบันทึกข้อมูลที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม เป็น	
ความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ โจทก์ร่วมฎีกาว่า ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์
ร่วมมีรูปร่างเป็นตัวอักษร ภาพ แผนผัง และตราสาร จึงเป็นทรัพย์ตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 137 การที่จำเลยเอาข้อมูลของโจทก์ร่วมดังกล่าวไป
จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์เห็นว่า ข้อมูลตามพจนานุกรมให้ความหมายว่า
	"ข้อเท็จจริงหรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมาน 
หาความจริงหรือการคำนวณ" ส่วนข้อเท็จจริงหมายความว่า "ข้อความแห่งเหตุการณ์
ที่เป็นมาหรือที่เป็นอยู่ตามจริงข้อความหรือเหตุการณ์ที่จะต้องวินิจฉัยว่าเท็จหรือจริง"
ดังนั้น ข้อมูลจึงไม่นับเป็นวัตถุมีรูปร่าง สำหรับตัวอักษรภาพ แผนผัง และตราสาร
เป็นเพียงสัญลักษณ์ทีถ่ายทอดความหมายของข้อมูลออกจากแผ่นบันทึกข้อมูล 
โดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์ มิใช่รูปร่างของข้อมูล เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์ มาตรา 137 บัญญัติว่าทรัพย์ หมายความว่า วัตถุมีรูปร่าง ข้อมูลในแผ่น
บันทึกข้อมูลจึงไม่ถือเป็นทรัพย์ การที่จำเลยนำแผ่นบันทึกข้อมูลเปล่าลอกข้อมูลจาก
แผ่นบันทึกข้อมลของโจทก์ร่วม  จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ตามฟ้อง ศาลล่าง
ทั้งสองพิพากษายกฟ้อง ศาลฎีกาเห็นพ้องด้วย ฎีกาของโจทก์ร่วมทุกข้อฟังไม่ขึ้น"
	พิพากษายืน

หมายเหตุ
	ท่านอาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ อธิบายว่า ตาม ป.อ. มาตรา 334 ใช้คำว่า
เอาทรัพย์ของผู้อื่น ฯลฯ ไปฯลฯ ตราบใดที่ยังไม่มีบทกฎหมายเฉพาะสำหรับเรื่องกระแส
ไฟฟ้า ศาลก็ต้องตีความคำว่า "ทรัพย์" ว่าหมายความถึงกระแสไฟฟ้าด้วยหรือไม่
ศาลฎีกาโดยมติที่ประชุมใหญ่ในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2501.
ตัดสินว่า การลักกระแสไฟฟ้าย่อมเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 หรือ 335
แล้วแต่กรณี และศาลฎีกาในคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6384/2547 ตัดสินยืน
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์1ภาค 7 ในข้อที่ว่า จำเลยลักคลื่นสัญญาณโทรศัพท์จาก
สายสัญญาณและตู้โทรศัพท์สาธารณ ะของผู้เสียหายไปโดย ทุจริต
ท่านอาจารย์จิตติ อธิบายต่อไปว่า ทรัพย์สินที่ไม่มีรูปร่างจับต้องไม่ได้ เช่น	
สิทธิเรียกร้องลิขสิทธิ์ สิทธิในเครื่องหมายการค้า สิทธิในการประดิษฐ์หรือสิทธิในชื่อ
การค้า ฯลฯ ไม่เป็นสิ่งที่ลักได้
	คำพิพากษาศาลฎีกาที่กำลังบันทึกหมายเหตุอยู่นี้ โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลัก
ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าของโจทก์ร่วม จำพวกที่เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการแปลเอกสารและ	
แบบร่างสัญญาภาษาอังกฤษ โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า จำเลยนำเอาแผ่น
บันทึกข้อมูลเปล่าขอ่งจำเลยเองมาคัดลอกข้อมูลดังกล่าวจากแผ่นบันทึกข้อมูล
ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของโจทก์ร่วม
	น่าสังเกตว่าคดีนี้โจทก์มิได้ฟ้องว่าจำเลยลักแผ่นบัน 2 ทึกข้อมูลของโจทก์ร่วมไป
ซึ่งแน่นอนว่าตัวแผ่นบันทึกข้อมูลนั้นย่อมเป็นทรัพย์ เป็นวัตถุมีรูปร่าง จับต้องได้ และ
ย่อมเป็นสิ่งที่ลักเอาไปได้โดยไม่ต้องสงสัย
	แต่เมื่อสิ่งที่จำเลยถูกกล่าวหาว่าลักไปในคดีนี้คือ ข้อมูล จึงมีปัญหาที่
ศาลฎีกาต้องวางหลักการอีกครั้งว่า ข้อมูล เป็นวัตถุมีรูปร่างที่ลักได้หรือไม่
ข้อมูลในคดีนอกจากจะเป็นข้อเท็จจริงแล้วยังมีลักษณะเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
อีกด้วย พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 254 4 ได้นิยามว่า
หมายความว่า ข้อความที่ได้สร้าง ส่ง รับ เก็บรักษา หรือประมวลผลด้วยวิธีการทาง
อิเล็กทรอนิกส์เช่น วิธีการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
โทรเลข โทรพิมพ์ หรือโทรสาร ซึ่งหากข้อมูลที่อยู่ในรูปอิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น
ถูกถ่ายทอดออกมาในรูปของเอกสาร แล้วจำเลยเอาเอกสารเหล่านั้นไปเสีย ก็น่าคิดว่า
จะเป็นการลักทรัพย์ที่เป็นเอกสารหรือเป็นการเอาไปเสียซึ่งเอกสาร	
	มีข้อน่าสังเกตอีกประการหนึ่งอันสืบเนื่องมาจาก พ.ร.บ. ความลับทางการค้า
พ.ศ. 2545ซึ่งได้นิยามความหมายของ "ความลับทางการค้า"ว่าหมายความว่า ข้อมูล
การค้าซึ่งยังไม่รู้จักกันโดยทั่วไป หรือยังเข้าถึงไม่ได้ในหมู่บุคคลซึ่งโดยปกติแล้วต้อง
เกี่ยวข้องกับข้อมูลดังกล่าวโดยเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากการ	 
เป็นความลับ และเป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสม
เพื่อรักษาไว้เป็นความลับ โดยข้อมูลการค้าที่จะเป็นความลับทางการค้านั้น
หมายความว่า เป็นสิ่งที่สื่อความหมายให้รู้ข้อความ เรื่องราว ข้อเท็จจริง หรือสิ่งใด
ไม่ว่าการสื่อความหมายนั้นจะผ่านวิธีการใด ๆ และไม่ว่าจะจัดทำไว้ในรูปใด ๆ และ
ให้หมายความรวมถึงสูตรรูปแบบ งานที่ได้รวบรวมหรือประกอบขึ้น โปรแกรม วิธีการ
เทคนิค หรือกรรมวิธีด้วย และในมาตรา 6 ได้บัญญัติว่า การละเมิดสิทธิในความลับ	
ทางการค้าตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ การกระทำที่เป็นการเปิดเผย เอาไป หรือใช้
ซึ่งความลับทางการค้าโดยไม่ไต้รับความยินยอมจากเจ้าของความลับทางการค้านั้น
อันมีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน ทั้งนี้ ผู้ละเมิด
จะต้องรู้หรือมี เหตุอันควรรู้ว่าการกระทำดังกล่าวเป็นการขัดต่อแนวทางปฏิบัติเช่นว่านั้น
และการกระทำที่มีลักษณะขัดต่อแนวทางปฏิบัติในเชิงพาณิชย์ที่สุจริตต่อกัน
หมายความรวมถึงการผิดสัญญา การละเมิดหรือการกระทำในประการที่เป็นการูจงใจให้ละเมิด
ความลับอันเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน การติดสินบน การข่มขู่ การฉ้อโกง การลักทรัพย์
การรับของโจร หรือการจารกรรมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใดด้วย
	จากบทบัญญัติดังกล่าวดูประหนึ่งว่าหากข้อมูลในคดีตามคำพิพากษาศาลฎีกา
ฉบับนี้เป็นความลับทางการค้าแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ได้
ตามกฎหมายอังกฤษ The Theft Act 1968 ศาลอังกฤษยังคงถือว่าความลับ
ทางการค้า (Trade secrets or Confidential Information) ไม่สามารถเป็นวัตถุแห่ง
การลักเอาไปได้ ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลอันเป็นความลับนั้นไม่ใช่ทรัพย์สิน (property) 
ตามความมุ่งหมายของ The Theft Act เหตุผลหนึ่งคงเพราะแม้ความลับทางการค้าจะจัด
ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง ในประเภททรัพย์สินทางปัญญาแต่เป็นการจัดให้เป็น
เช่นนั้นเพื่อประโยชน์ในการให้ความคุ้มครองทางแพ่งแก่ความลับทางการค้าอันเป็น
แนวความคิดในการส่งเสริมและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงเศรษฐกิจและ
อุตสาหกรรม	 
	อย่างไรก็ตาม ในสหรัฐอเมริกาเองได้ใช้กฎหมายเฉพาะ (Theft and Larcery
Statutes) ในการพิจารณาว่าข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้านั้นสามารถเป็นความผิด
ฐานลักทรัพย์ได้ 
	สำหรับประเทศไทยนั้นดังได้กล่าวแล้วว่า พ.ร.บ. ความลับทางการค้า
พ.ศ. 2545 มาตรา 6 บัญญัติเป็นทำนองประหนึ่งว่าข้อมูลอันเป็น ความลับทางการค้า
นั้นสามารถเป็นวัตถุแห่งการลักทรัพย์ได้ ในขณะที่ศาลฎีกาเองโดยคำพิพากษา
ศาลฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสถานะของข้อมูลว่าเป็น
ความลับทางการค้าหรือไม่ จึงยังไม่อาจคาดหมายได้ว่า หากสิ่งที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลย
ลักเอาไปเป็นข้อมูลอันเป็นความลับทางการค้า ศาลฎีกาจะวินิจฉัยว่าอย่างไร

	อนุชัย สิราริยกุล
-
(โนรี จันทร์ทร - ทวีวัฒน์ แดงทองดี - จิระ โชติพงศ์)
องค์คณะผู้ตัดสิน

Comment (1)

Advancedlaw

เม.ย. 4, 2023, 12:03 am

กรณีตามคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ หากมีข้อเท็จจริงหรือตั้งรูปเรื่องฟ้องคดีที่แตกต่างออกไป อาจทำให้คำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปได้ เช่น ตามหมายเหตุท้ายฎีกาฉบับนี้ ผู้หมายเหตุ อาจารย์อนุชัย สิราริยกุล ได้ตั้งข้อสังเกตว่าหากเป็นกฎหมายความลับทางการค้าผลเป็นอย่างไร
ในความเห็นของผู้เขียน เห็นว่า หากนำสืบได้ว่าข้อมูลได้มีการจัดทำรายละเอียดอย่างเป็นระบบและมีข้อมูลอื่นที่บริษัทจัดทำขึ้น เช่น ประวัติการชำระเงิน ปริมาณการซื้อขาย ย่อมเป็นข้อมูลที่ถือเป็นทรัพย์สินของบริษัท อันจะทำให้ผู้ลักข้อมูลอาจมีความผิด และทางแก้ของผู้บริหารบริษัทสามารถใช้วิธีชั้นความลับของการเข้าถึงข้อมูล การออกข้อบังคับในการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลบริษัท จะทำให้ความผิดตามกรณีศึกษานี้ต้องรับโทษทั้งทางแพ่งและอาญาได้

ดร.พิชัย โชติชัยพร
ผู้หมายเหตุ
ดร.พิชัย โชติชัยพร (Notarial Services Attorney)
Tel./Line 0862310999

Admin และเจ้าของเว็บไซต์
http://www.advancedlaw9.com

ตอบกลับ

Leave a Reply