กันยายน 7, 2020 In คำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563-ไม่ถือว่ามีพฤติการณพิเศษหรือเหตุสุดวิสัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 31/2563
กองผู้ช่วยฯ
	คู่กรณี
โจทก์
	พนักงานอัยการจังหวัดตาก
ผู้ร้อง
	นาย บ. กับพวก
จำเลย
	นาย ม.
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
	มาตรา 216 วรรคหนึ่ง
	ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง 
	มาตรา 23
-
ข้อมูลย่อ
	ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังวันที่ 1 
กรกฎาคม 2562 แล้วศาลชั้นต้นจึงอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์และทนาย
จำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้
จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟัง จำเลยมีอำนาจยื่น
ฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จึง
ต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่น
ฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มี
พฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลา
ยื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลยไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำ
พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟัง
-
รายละเอียด
	โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 91, 276, 283 
ทวิ, 318
	จำเลยให้การปฏิเสธ
	ระหว่างพิจารณานาย บ. ผู้เสียหายที่ 2 และนางสาว พ. ผู้เสียหายที่ 1 โดยนาย บ. 
บิดาผู้แทนโดยชอบธรรมยื่นคำร้องขอให้บังคับจำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องทั้ง
สองคนละ 100,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดเป็นต้นไป
จนกว่าจะชำระเสร็จแก่ผู้ร้องทั้งสอง
	จำเลยไม่ให้การในคดีส่วนแพ่ง
	ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 276 
วรรคสาม ประกอบมาตรา 83, 283 ทวิ วรรคแรก, 318 วรรคสาม การกระทำของจำเลยเป็น
ความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมาย
อาญา มาตรา 91 ฐานพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารกับ
ฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงเป็นการกระทำอัน
เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเรา
ด้วยกันอันมีลักษณะเป็นการโทรมหญิงซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวล
กฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 20 ปี ฐานพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปี
ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร (ที่ถูก โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย) 
จำคุก 8 ปี รวมจำคุก 28 ปี คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยก ให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้
ร้องที่ 2 จำนวน 100,000 บาท แก่ผู้ร้องที่ 1 จำนวน 50,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 
ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 26 มกราคม 2561 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ค่า
ฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
	จำเลยอุทธรณ์
	ศาลอุทธรณ์ภาค 6 พิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ให้เป็นพับ
	จำเลยฎีกา
	ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ศาลจังหวัดกำแพงเพชรอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้
จำเลยฟังวันที่ 1 กรกฎาคม 2562 และศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้โจทก์
และทนายจำเลยฟังวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 จึงต้องถือว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ภาค 6 ให้จำเลยฟังตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ไม่ใช่วันที่อ่านให้ทนายจำเลยฟังเมื่อวันที่ 12 
กรกฎาคม 2562 และในวันที่ 12 กรกฎาคม 2562 ทนายจำเลยได้ลงลายมือชื่อไว้ในรายงาน
กระบวนพิจารณาด้านหลังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ต่อท้ายรายงานกระบวนพิจารณา
วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ของศาลจังหวัดกำแพงเพชร ที่จำเลยลงลายมือชื่อไว้ ทนายจำเลยย่อม
ต้องทราบว่าศาลได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้จำเลยฟังแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 
2562 จำเลยมีอำนาจยื่นฎีกาภายในหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2562 ตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง จำเลยจึงต้องยื่นฎีกาภายในวันที่ 1 
สิงหาคม 2562 การที่ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาในวันที่ 6 สิงหาคม 2562 
ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลย โดยไม่มีพฤติการณ์พิเศษและไม่ใช่กรณีที่มี
เหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยจึงไม่ชอบ จำเลย
ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ให้
จำเลยฟัง ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบ
ร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 
มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 เมื่อทนายจำเลยยื่นฎีกาเข้ามาวันที่ 11 กันยายน 
2562 ซึ่งล่วงเลยกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยย่อมไม่ชอบ 
ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
	พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาแก่จำเลยและยก
ฎีกาของจำเลย
-
(รักเกียรติ วัฒนพงษ์-แรงรณ ปริพนธ์พจนพิสุทธิ์-สุรางคนา กมลละคร)
องค์คณะผู้ตัดสิน

Leave a Reply