คำพิพากษาฎีกาที่ 352/2561
เนติฯ
คู่กรณี
โจทก์
บริษัทพรอพเพอร์ตี้ แคร์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด
จำเลย
นายวชิระ แก่นทรัพย์
ในฐานะพนักงานตรวจแรงงาน
จำเลยร่วม
นายมานัติ ปันกันทา
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 61 มาตรา 65
-
ข้อมูลย่อ
งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ
ของจำเลยร่วม มีกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับ
ค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 ที่ออกตามความ
ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (9)
กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยข้อ 2 กำหนดให้งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือ
ทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้างเป็นงานที่ลูกจ้างไม่
มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541มาตรา 61จึงไม่อาจนำกฎกระทรวงฉบับที่ 7(พ.ศ.2541)
ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้บังคับกับงานเฝ้าดูแล
สถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ จำเลยร่วมซึ่งมี
ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัยทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือ
ทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
คงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวัน
ทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
พ.ศ.2541 มาตรา 65 เท่านั้น โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้
จำเลยร่วมชอบแล้ว
-
รายละเอียด
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด นายมานัติ
ปันกันทา เป็นลูกจ้างโจทก์ ตำแหน่งพนักงานรักษาความปลอดภัย
ประจำสำนักงานสาขาภาคเหนือ สถานที่ทำงานสุดท้ายบริษัทสยาม
แม็คโคร จำกัด (มหาชน) หรือห้างแม็คโคร สาขาจังหวัดกำแพงเพชร
เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายมานัยื่นคำร้องต่อจำเลยในฐานะ
พนักงานตรวจแรงงานว่าโจทก์ไม่จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงาน
ที่ทำเกินแปดชั่วโมง รวมทั้งไม่จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
และค่าชดเชย จำเลยสอบสวนข้อเท็จจริงแล้วมีคำสั่งให้โจทก์จ่าย
ค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกินแปดชั่วโมงแก่นายมานัติ
43,425 บาท โดยอ้างกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) 1ออก
ตามความในพระราซบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ประกอบ
กฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541ตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชรที่ 9/
2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 คำสั่งดังกล่าวไม่ชอบด้วย
กฎหมายเพราะโดยประเภท ลักษณะ หรือสภาพของงานที่โจทก์จ้าง
นายมานัติทำงานเป็นงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่
ทำการงานปกติของลูกจ้างซึ่งอยู่ในบังคับมาตรา 65(9) แห่งพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ.2541 ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงาน
ที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
พ.ศ.2552 กรณีไม่อาจนำกฎกระทรวงตามที่จำเลยอ้างในคำสั่ง
พนักงานตรวจแรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
จังหวัดกำแพงเพชรที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 มาใช้
บังคับได้ ทั้งโจทก์ได้จ่ายค่าจ้างในวันทำงานสำหรับการทำงานแปด
ชั่วโมงวันละ 300 บาท จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกิน
แปดชั่วโมงวันละสี่ชั่วโมง ชั่วโมงละ 37.50 บาท เป็นเงินวันละ 150
บาท ครบถ้วนตามกฎหมายแล้ว ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจ
แรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชร
ที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ของจำเลย กับให้ศาลสั่ง
คืนเงินที่วางไว้ต่อศาลในชั้นยื่นฟ้องคดี 43,425บาท แก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์กำหนดให้นายมานัติ ปันกันทา ทำงาน
ในหน้าที่พนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งรับจ้างเป็นรายวัน ทำงาน
สัปดาห์ละ 6 วัน วันละ 12 ชั่วโมง นายมานัติจึงได้รับการคุ้มครอง
ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จำเลยมิได้สั่งให้โจทก์จ่าย
ค่าล่วงเวลาเพราะทราบดีว่านายมานัติไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่
นายมานัติคงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงใน
วันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำทั้งโจทก์ไม่เคยขอความยินยอมจาก
นายมานัติเพื่อให้ทำงานล่วงเวลา เหตุผลตามที่โจทก์ฟ้องเป็นคนละ
เรื่องกับเหตุผลที่จำเลยมีคำสั่ง คำสั่งของจำเลยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มี
เหตุที่จะเพิกถอนขอให้ยกฟ้อง
ระหว่างพิจารณา ศาลแรงงานภาค 6 มีคำสั่งเรียกนายมานัติ
ปันกันทา เข้ามาเป็นจำเลยร่วมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
แพ่ง มาตรา 57 (3) (ข) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน
และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
จำเลยร่วมให้การด้วยวาจาขอถือคำให้การจำเลยเป็นของจำเลย
ร่วม
ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจ
แรงงาน สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดกำแพงเพชร
ที่ 9/2558 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2558 ของจำเลย เฉพาะส่วนที่ให้
โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกินแปดชั่วโมงแก
จำเลยร่วม 43,425บาท คำขออื่นให้ยก
จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาแผนกeดืแรงงานวินิจฉัยว่า “ศาลแรงงานภาค 6ฟัง
ข้อเท็จจริงและวินิจฉัยว่า เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2551 จำเลยร่วม
เข้าทำงานเป็นลูกจ้างรายวันของโจทก์ ในตำแหน่งพนักงานรักษา
ความปลอดภัยมีหน้าที่เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินของบริษัทห้างร้าน
ที่เป็นลูกค้าของโจทก์ โจทก์กำหนดวันและเวลาทำงานสำหรับ
พนักงานรักษาความปลอดภัยรวมถึงจำเลยร่วมว่าสัปดาห์หนึ่งทำงาน
6 วัน วันเสาร์เป็นวันหยุด วันหนึ่งแบ่งการทำงานเป็น 2 กะ กะละ 12
ชั่วโมง กะกลางวันทำงานตั้งแต่เวลา 6 นาฬิกา ถึง 18 นาฬิกา
กะกลางคืนทำงานตั้งแต่เวลา 18นาRกาถึง 6นาฬิกาของอีกวันหนึ่ง
ระหว่างวันที่ 8 มิถุนายน 2556 ถึงวันที่ 14 เมษายน 2558
จำเลยร่วมปฏิบัติงานพนักงานรักษาความปลอดภัยเฉพาะวันทำงาน
ในกะกลางคืนวันละ 12 ชั่วโมง โจทก์จ่ายค่าจ้างสำหรับการทำงาน 8
ชั่วโมง 300 บาท และการทำงานอีก 4ชั่วโมง โจทก์จ่ายค่าตอบแทน
การทำงานเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงาน ซึ่ง
ค่าตอบแทนชั่วโมงละ 37.50 บาท รวม 4ชั่วโมง เป็นเงิน 150 บาท
รวมแล้วการทำงาน12ชั่วโมงต่อวันโจทก์จ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทน
ให้แก่จำเลยร่วม 450 บาท ซึ่งจำเลยร่วมได้รับแล้ว ดังนั้นโจทก์ซึ่ง
เป็นนายจ้างจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน4ชั่วโมง แก่จำเลยร่วมมานั้น
จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65
(9)ประกอบกฎกระทรวงกำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา
และค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ.2552 การที่จำเลยอ้างกฎกระทรวง
ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ.2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออก
ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้ออก
คำสั่งให้โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงาน 4 ชั่วโมง โดยใช้
อัตราหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานแล้ว กำหนด
ให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยร่วม 43,425 บาท นั้น เป็นคำสั่งที่
ไม่ชอบด้วยกฎหมายจึงให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยเฉพาะในส่วนที่ให้
โจทก์จ่ายค่าตอบแทนสำหรับเวลาทำงานที่ทำเกิน 8 ชั่วโมง ไปอีก
วันละ 4ชั่วโมง แก่จำเลยร่วม 43,425บาท
คดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของจำเลยว่า โจทก์ต้อง
จ่ายค่าตอบแทนการทำงานล่วงเวลาให้แก่จำเลยหรือไม่ จำเลย
อุทธรณ์ว่า โจทก์ประกอบธุรกิจให้บริการทำความสะอาดและรักษา
ความปลอดภัย ซึ่งตรงกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออก
ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎ
กระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออกตามความในพระราช
บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 โดยข้อ 2 ใช้คำว่า งานอาชีพ
ด้านบริการ จำเลยร่วมเป็นลูกจ้างของโจทก์ในงานดังกล่าวมีผลทำให้
โจทก์ต้องจ่ายค่าตอบแทนไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อ
1 ชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงานส่วนที่เกิน 8 ชั่วโมง
อีกวันละ 4ชั่วโมง เป็นเงิน 43425บาทนั้น เห็นว่า เมื่องานเฝ้าดูแล
สถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติ มีกฎกระทรวง
กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาใน
วันหยุด พ.ศ.2552 กำหนดไว้โดยเฉพาะ โดยข้อ 2 กำหนดให้งาน
เฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง
เป็นงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามพระราชบัญญัติ
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 61 จึงไม่อาจนำกฎกระทรวง
ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครอง
แรงงาน พ.ศ.2541 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2543) ออก
ตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาใช้
บังคับกับงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงาน
ปกติดังที่จำเลยอ้าง จำเลยร่วมซึ่งมีตำแหน่งพนักงานรักษาความ
ปลอดภัยทำงานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การ
ทำงานปกติจึงไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา คงมีสิทธิได้รับค่าตอบแทน
เป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
ซึ่งในวันทำงานของจำเลยร่วมระหว่างวันที่ 8มิถุนายน2556ถึงวันที่
14 เมษายน 2558 โจทก์จ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้จำเลยร่วม
ครบถ้วนแล้ว ที่ศาลแรงงานภาค 6 พิพากษามานั้น ศาลฎีกาเห็นพ้อง
ด้วย อุทธรณ์ของจำเลยฟังไม่ขึ้น”
พิพากษายืน
-
(นิติ เอื้อจรัสพันธุ์ - วิชัย เอื้ออังคณากุล – จักษ์ชัย เยพิทักษ์)
องค์คณะผู้ตัดสิน
Leave a Reply