กุมภาพันธ์ 7, 2020 In บทความ-ความรู้กฎหมาย

สัญญาประกันภัย

คดีศึกษา – ในสัญญาประกันภัยคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องแถลงและเปิดเผยข้อความจริงต่อบริษัทผู้รับประกันภัยตามกฎหมาย

คดีศึกษา – สัญญาประกันภัยใช้หลักสุจริต คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องแถลงและเปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีก หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาฯ ในคดีที่ศึกษานี้หากผู้รับประกันภัยทราบเรื่องที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาไว้กับบริษัทต่างๆ ถึง 10 บริษัท และมีวงเงินที่เอาประกันภัยรวมสูงถึง 20,000,000 บาท แล้ว อาจเป็นเหตุให้ไม่รับทำประกันภัยได้ เมื่อไม่แถลงฯ สัญญาจึงเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างตามกฎหมายสัญญาจึงเป็นโมฆะทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

———ตามคำขอเอาประกันอุบัติเหตุ มีคำถามว่า ท่านมีหรือได้ขอเอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันชีวิตไว้กับบริษัทอื่นหรือไม่ และมีช่องให้ขีด ไม่มีหรือมีหรือได้ขอ โปรดแจ้งบริษัทแล้วมีช่องว่างให้กรอก หากโจทก์มีความสุจริตใจ เมื่อเขียนชื่อบริษัทสามัคคีประกันภัยไปแล้วก็ยังสามารถเพิ่มเติมบริษัทอื่นอีกได้ ทั้งที่ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้ก่อนถึง 10 บริษัท จำนวนเงินที่เอาประกันขณะนั้นเป็นเงินประมาณ 20,000,000 บาท แต่ที่โจทก์กลับแจ้งเพียงบริษัทเดียววงเงินประกันภัย 2,000,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่แตกต่างกันมาก หากจะระบุความจริงให้ครบถ้วนก็ย่อมทำได้เพียงระบุวงเงินที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว จึงมิใช่เป็นเหตุที่ไม่อาจระบุความได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า จำเลยอาจตรวจสอบจากบริษัทอื่น ๆ ได้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 ต้องการให้ผู้เอาประกันภัยแถลงและเปิดเผยข้อความจริง ถ้าไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเท็จไซร้ ซึ่งอาจจะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาแล้ว สัญญาประกันภัยนั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ทราบว่าตนเองนั้นได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัทต่างๆ ถึง 10 บริษัท และมีวงเงินที่เอาประกันภัยรวมสูงถึง 20,000,000 บาท แล้ว แต่กลับแจ้งให้จำเลยทราบเพียงบริษัทเดียวในวงเงินเพียง 2,000,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ได้เปิดเผยข้อความจริงของโจทก์ทั้งหมดก็อาจจะทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาได้ การไม่เปิดเผยความจริงของโจทก์ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาในการรับทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับ ที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย

– กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2561

Leave a Reply

กุมภาพันธ์ 7, 2020 In

บทความ/ความรู้กฎหมาย

Generic selectors
Exact matches only
Search in title
Search in content
Post Type Selectors
บทความ
แนะนำโครงการ “การเป็นเจ้าของบริษัทกฎหมาย” Easy Law for Leader
แนะนำโครงการ “การเป็นเจ้าของบริษัทกฎหมาย” Easy Law for Leaderกุมภาพันธ์ 14, 2024แนะนำโครงการ “การเป็นเจ้าของบริษัทกฎหมาย” เรียนได้ทุกคน ไม่จำกัดอายุ และวุฒิการศึกษา ชื่อ โครงการฝึกอบรม    “การเป็นเจ้าของบริษัทกฎหมายในหลักสูตรเดียว                                          : Becoming a Law Firm Owner” ผู้รับผิดชอบโครงการ     อาจารย์ ดร.พิชัย  โชติชัยพร กรรมการฝ่ายกฎหมาย สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินงานโครงการ ลักษณะโครงการต่อเนื่อง สมัครเรียนและรับบริการได้ทันที วัตถุประสงค์ 2.1.เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนจบเป็นบัณฑิตด้านกฎหมายและจบหลักสูตรวิชาว่าความจากสภาทนายความ อย่างมีมาตรฐานความรู้ 2.2.เพื่อให้ผู้เรียนได้รับใบอนุญาตให้เป็นทนายความเพื่อประกอบวิชาชีพทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมาย อันเป็นอาชีพที่มีเกียรติ รายได้ดี เป็นที่ยกย่องของสังคม 2.3 เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนจบประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษวิชาชีพกฎหมาย, วุฒิบัตรการแปลเอกสารกฎหมายภาษาอังกฤษ และประกาศนียบัตรทนายความผู้รับรองเอกสารและลายมือชื่อ (ทนายความโนตารี) เพื่อประกอบอาชีพกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณสมบัติของผู้ฝึกอบรม 4.1.ไม่จำกัดอายุ และวุฒิการศึกษา ทุกคนสามารถสมัครเรียนและฝึกอบรมได้ ทั้งผู้ที่เรียนจบปริญญาสาขาใดสาขาหนึ่งมาแล้ว หรือกรณีจบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี สามารถรับบริการสอนเสริมและปรับวุฒิจนมีคุณสมบัติเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยได้ (ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม) 7.ผลประโยชน์ที่ได้รับ 7.1.ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เรียนจบอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานความรู้ 7.2.ได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาว่าความจากสภาทนายความ เพื่อประกอบอาชีพทนายความหรือนำคุณสมบัติการเป็นทนายความไปใช้สอบเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา 7.3 ได้รับประกาศนียบัตรภาษาอังกฤษวิชาชีพกฎหมายหลักสูตร 1 ปี 7.4 ได้รับวุฒิบัตรการแปลเอกสารภาษาอังกฤษด้านกฎหมาย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย 7.5 ได้รับประกาศนียบัตร Notarial Services Attorney จากสภาทนายความฯ 7.6 สามารถเปิดบริษัทกฎหมายเป็นของตนเอง (Law Firm Owner) โดยอาจารย์ ดร.พิชัย และทีมงานช่วยดูแลและเป็นพี่เลี้ยงให้ดำเนินธุรกิจจนดำเนินการได้ด้วยตนเอง 7.7 ได้รับบริการการให้คำปรึกษาทางกฎหมายเบื้องต้นโดยไม่มีค่าใช้จ่าย <<< สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์ ดร.พิชัย โชติชัยพร (ทนายความโนตารี) Mobile/Line: 0862310999, E-Mail: altlimited@yahoo.com อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่ [...]
การครอบครองปรปักษ์และการได้สิทธิครอบครองกับการประพฤติผิดศีลธรรม
การครอบครองปรปักษ์และการได้สิทธิครอบครองกับการประพฤติผิดศีลธรรมกุมภาพันธ์ 14, 2024จากกรณีข่าวสารตามหน้าหนังสือพิมพ์ในช่วงนี้ มีผู้เข้าไปบุกรุกในบ้านของผู้อื่นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต่อมาอ้างสิทธิตามกฎหมายโดยการครอบครองปรปักษ์ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะบางประการ ดังนี้ แม้ว่า การเข้าไปครอบครองที่ดินของผู้อื่นไม่ว่าจะโดยการบุกรุกเข้าครอบครองในที่ดินที่ไม่มีโฉนด ซึ่งหากเข้าครอบครองโดยเจ้าของสิทธิไม่ฟ้องขับไล่ออกไปภายใน 1 ปีนับแต่วันถูกแย่งการครอบครอง อาจเสียสิทธิในที่ดินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ที่บัญญัติไว้ว่า “ถ้าผู้ครอบครองถูกแย่งการครอบครองโดยมิชอบด้วย กฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ครอบครองมีสิทธิจะได้คืนซึ่งการครอบครองเว้นแต่อีก ฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเหนือทรัพย์สินดีกว่าซึ่งจะเป็นเหตุให้เรียกคืนจากผู้ครอบครอง ได้ การฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองนั้น ท่านว่าต้องฟ้องภายในปี หนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง” และการครอบครองปรปักษ์ ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปโดยนักกฎหมายแม้จะไม่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายฯ ซึ่งจะเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ที่บัญญัติไว้ว่า “บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของคนอื่นไว้โดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ ถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ครอบครองติดต่อกัน 10 ปี หรือสังหาริมทรัพย์ครอบครองติดต่อกัน 5 ปี ถือว่าบุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์” กรณีตามข่าวสารดังกล่าว เป็นการบุกรุกเข้าครอบครองทรัพย์สินผู้อื่นโดยผิดกฎหมาย หากข้อเท็จจริงเข้าบุกรุกครอบครองไม่เกินสิบปี และในความผิดอาญาฐานบุกรุกไม่ขาดอายุความย่อมต้องรับโทษทางอาญา กล่าวคือ ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 362 บัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของเขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”  ดังนั้น หากการกระทำความผิดไม่สามารถอ้างอายุความการครอบครองปรปักษ์ได้ ผู้บุกรุกคนดังกล่าวอาจได้รับโทษตามกฎหมายอาญา ผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหลาย พึงระมัดระวังการถูกแย่งการครอบครองในที่ดินของตน หากเป็นที่ดินไม่มีโฉนด ถูกแย่งการครอบครองต้องฟ้องคดีภายใน 1 ปี หากเป็นการแย่งการครอบครองในที่ดินมีโฉนด ต้องฟ้องขับไล่หรือดำเนินการป้องกันขัดขวาง โดยอาจเข้าแจ้งความดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุก เพื่อมิให้เกิดสิทธิการครอบครองปรปักษ์แก่ผู้บุกรุกคนดังกล่าว. เมื่อพิเคราะห์เปรียบเทียบกับประเด็นฝ่าฝืนหลักศีลธรรม การเอาไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบ มีบัญญัติไว้ในข้อ 2 ของศีล 5 หรือ เบญจศีล (ความประพฤติชอบทางกายและวาจา, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, การรักษาปกติตามระเบียบวินัย, ข้อปฏิบัติในการเว้นจากความชั่ว, การควบคุมตนให้ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียน — the Five Precepts; rules of morality) ที่ว่า “อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้, เว้นจากการลักโกง ละเมิดกรรมสิทธิ์ ทำลายทรัพย์สิน — to abstain from stealing)” การทำความชั่วถือเป็นการกระทำไม่ดี ไม่เหมาะสม ย่อมได้รับผลกรรมตามที่ได้กระทำไว้ ซึ่งโทษของการผิดศีลมีหลายประการ เช่น ทรัพย์สินเสื่อมไป  เสื่อมเสียชื่อเสียง ไม่เป็นที่รัก  เป็นผู้เก้อเขินในที่ต่าง ๆ  ตายด้วยใจเศร้าหมอง  ตายแล้วตกนรก เป็นต้น จึงควรสังวรไว้ว่า การอ้างความยุติธรรมตามกฎหมาย โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายทำความชั่ว ย่อมได้รับผลของการกระทำนัั้นสืบไป เขียนและเรียบเรียงโดย  อาจารย์ ดร.พิชัย โชติชัยพร  Ph.D., Master of Laws    เจ้าของและผู้จัดการ Advanced Legal Technology Limited. Tel./Line: 0862310999 แนะนำโครงการ “การเป็นเจ้าของบริษัทกฎหมาย” เรียนได้ทุกคน ไม่จำกัดอายุ และวุฒิการศึกษา คลิกที่นี่   [...]
แนะนำโครงการฝึกอบรม  “เดอะจัดจ์ (The Judge) – การเข้าสู่อาชีพผู้พิพากษา หรืออัยการ 
แนะนำโครงการฝึกอบรม  “เดอะจัดจ์ (The Judge) – การเข้าสู่อาชีพผู้พิพากษา หรืออัยการ กุมภาพันธ์ 14, 2024แนะนำโครงการฝึกอบรม  “เดอะจัดจ์ (The Judge) – การเข้าสู่อาชีพผู้พิพากษา หรืออัยการ  ผู้รับผิดชอบโครงการ   อาจารย์ ดร. พิชัย โชติชัยพร Ph.D., Master of Laws กรรมการฝ่ายกฎหมาย สมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย เริ่มดำเนินงานโครงการ : ลักษณะโครงการต่อเนื่อง สมัครเรียนและรับบริการได้ทันที 1.ความเป็นมาของโครงการ การศึกษาด้านกฎหมายเป็นการเรียนที่เกี่ยวกับวิชาชีพเฉพาะ ซึ่งมีอาชีพกฎหมายที่ได้รับการยอมรับในลำดับต้น คือ ผู้พิพากษา และอัยการ การก้าวเข้าสู่วิชาชีพดังกล่าวต้องใช้ความอดทน มุ่งมั่นอย่างสูง หากได้รับการอบรมฝึกฝนจากผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในกฎหมายขั้นสูง รู้เทคนิคการเขียนตอบข้อสอบให้ได้คะแนนสูง จะใช้เวลาในการสอบที่ใช้เวลาไม่นาน ตามแผนจะใช้เวลาไม่เกิน 1 ปี เพราะจะมีการใช้เทคนิควิธีการดึงศักยภาพของผู้เรียน นำมาใช้ได้เต็มประสิทธิภาพเพื่อให้ประสบความสำเร็จในเวลาไม่นาน ทั้งการอบรมสติ Mindfulness and การอบรมสมาธิ Meditation ที่เป็นแนวทางสากล ฝึกได้ทุกที่ทุกเวลา สร้างพลังการเรียนรู้ที่นำไปใช้ได้เต็มศักยภาพ Advanced Legal Technology Limited.  (Advanced Legal) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยในด้านการศึกษากฎหมาย ก่อตั้งสถาบัน Advanced Legal เพื่อสอน ติว ฝึกอบรมและโค้ชสติ สมาธิ มีผู้เรียนประสบความสำเร็จในการศึกษาจำนวนมาก เป็นสถาบันแห่งเดียวที่รับรองผลจนสอบผ่าน มีสถิติสอบผ่าน 100 % เมื่อเรียนตามแผนที่กำหนด เช่น การติวสอบใบอนุญาตเป็นทนายความ ส่งแบบทดสอบช่วงก่อนสอบสัปดาห์ละครั้งช่วงก่อนสอบ 2-3 เดือน สามารถสอบผ่านได้ทุกคน Advanced Legal ได้จัดทำโครงการดังกล่าวนี้ โดยอาจารย์ผู้สอน ฝึกอบรมและโค้ชให้จนสอบผ่านเป็นผู้พิพากษา หรืออัยการตามที่ตั้งใจไว้ ทุกหลักสูตรและโครงการดำเนินงานโดยอาจารย์ ทค. ดร.พิชัย  โชติชัยพร กรรมการฝ่ายกฎหมายสมาคมอีเลิร์นนิงแห่งประเทศไทย การนำระบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานกับสื่อโซเชียลต่างๆ รวมถึงระบบฐานข้อมูลกฎหมายที่พัฒนามากว่ายี่สิบปี มาปรับใช้ในการจัดทำโครงการนี้ ทำให้มีประสิทธิภาพในการเรียนสูงสุด สามารถเรียนได้สะดวก ทุกที่ทุกเวลา มีมาตรฐานความรู้พร้อมสอบผ่านได้ในระยะเวลาไม่นาน วัตถุประสงค์ 2.1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรม สามารถสอบผ่านเป็นผู้พิพากษาหรืออัยการ 2.2 เพื่อให้ผู้เข้าอบรม ฝึกสติและสมาธิที่ถูกต้อง เพื่อใช้ในการสอบ และการทำงาน 7.ผลประโยชน์ที่ได้รับ 7.1.ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต เรียนจบอย่างมีคุณภาพ มีมาตรฐานความรู้ 7.2.ได้รับใบประกาศนียบัตรวิชาว่าความจากสภาทนายความ เพื่อประกอบอาชีพทนายความหรือนำคุณสมบัติการเป็นทนายความไปใช้สอบเป็นอัยการหรือผู้พิพากษา 7.4 ได้รับการติวและโค้ชเพื่อสอบผ่านเป็นเนติบัณฑิตไทย เพื่อสอบผู้พิพากษา อัยการ 7.3 ได้รับการติวและโค้ชเพื่อสอบผ่านเป็นอัยการ หรือผู้พิพากษา 7.4.ได้รับบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย   <<< สอบถามเพิ่มเติม อาจารย์ ดร.พิชัย โชติชัยพร (Notarial Services Attorney) Mobile/Line: 0862310999, E-Mail: altlimited@yahoo.com แนะนำโครงการฝึกอบรม  “เดอะจัดจ์ (The Judge) – การเข้าสู่อาชีพผู้พิพากษา หรืออัยการ คลิกที่นี่ [...]
การกระทำอนาจาร
การกระทำอนาจารมกราคม 9, 2024การกระทำอย่างไร ถือว่าเป็นความผิดฐานกระทำอนาจาร อนาจาร ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ให้ความหมายไว้ว่า หมายถึง ความประพฤติชั่ว, ความประพฤติน่าอับอาย, กระทำการอันควรขายหน้าต่อหน้าธารกำนัล โดยเปลือยหรือเปิดเผยร่างกาย หรือกระทำการลามกอย่างอื่น, ลามก, น่าบัดสี, ทำให้เป็นที่อับอาย, เป็นที่น่ารังเกียจแก่ผู้อื่นในด้านความดีงาม กระทำอนาจาร เป็นความผิดต่อกฎหมายอาญาหรือไม่ การกระทำอนาจารเป็นความผิดต่อกฎหมายอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 278 “ผู้ใดกระทำอนาจารแก่บุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยบุคคลนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้บุคคลนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” กรณีกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี มาตรา 279 “ผู้ใดกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี โดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรก ผู้กระทำได้กระทำโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยเด็กนั้นอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ หรือโดยทำให้เด็กนั้นเข้าใจผิดว่าตนเป็นบุคคลอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 15 าปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หากเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำได้รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย มาตรา 280 “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 278 หรือมาตรา 279 เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำ (1) รับอันตรายสาหัส ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี และปรับตั้งแต่ 100,000 บาทถึง 400,000 บาท (2) ถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต” หากกระทำอนาจารแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ในความดูแล ต้องรับโทษหนักขึ้นอีกหนึ่งในสาม มาตรา 285 “ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา…278 มาตรา 279 มาตรา 280… เป็นการกระทำแก่ผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์หรือในความอนุบาล ผู้กระทำต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น ๆ หนึ่งในสาม” – การกระทำอนาจาร ในความหมายของกฎหมายอาญา ก็คือ การกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศ, การทำลามก, น่าอายหรือทำให้อับอายขายหน้าในทางเพศ โดยไม่จำเป็นต้องมีการสัมผัสเนื้อตัวผู้อื่นโดยตรงก็ได้ การกระทำอันเป็นการอนาจาร เช่น กอด, จูบ, ลูบ, คลำ, เปลือยกายเข้าไปในบ้านผู้อื่น, แอบถ่ายใต้กระโปรง, จับหรือสัมผัสร่างกายผู้อื่นโดยมุ่งหมายในเชิงประเวณีหรือความใคร่ เป็นต้น ฎ.5694/2541 การที่จำเลยเข้าโอบไหล่ผู้เสียหาย ทั้งที่ไม่เคยรู้จัก กันมาก่อน ถือเป็นการลวนลามผู้เสียหายในทางเพศแล้ว เป็น ความผิดฐานกระทำอนาจาร ฎ.12983/2558 การที่จำเลยแอบติดตั้งกล้องบันทึกภาพไว้ที่ใต้โต๊ะทำงานของโจทก์ร่วม และบันทึกภาพสรีระร่างกายของโจทก์ร่วมตั้งแต่ช่วงลิ้นปี่จนถึงอวัยวะช่วงขามองเห็นกระโปรงที่โจทก์ร่วมสวมใส่ ขาท่อนล่างและขาท่อนบนของโจทก์ร่วม โดยที่กล้องบันทึกภาพมีแสงไฟสำหรับเพิ่มความสว่างเพื่อให้มองเห็นภาพบริเวณใต้กระโปรงของโจทก์ร่วมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น การกระทำของจำเลยส่อแสดงให้เห็นถึงความใคร่และกามารมณ์ โดยที่โจทก์ร่วมมิได้รู้เห็นหรือยินยอม อันเป็นการกระทำที่ไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยโจทก์ร่วมตกอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ แม้จำเลยจะมิได้สัมผัสต่อเนื้อตัวร่างกายของโจทก์ร่วมโดยตรง แต่การที่จำเลยใช้กล้องบันทึกภาพใต้กระโปรงโจทก์ร่วมในระยะใกล้ชิด โดยโจทก์ร่วมไม่รู้ตัวย่อมรับฟังได้ว่า จำเลยได้กระทำโดยประสงค์ต่อผลอันไม่สมควรในทางเพศต่อโจทก์ร่วม โดยใช้กำลังประทุษร้ายตามมาตรา 1 (6) แห่งประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งการใช้กำลังประทุษร้ายอันเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 นอกจากหมายความว่า ทำการประทุษร้ายแก่กายแล้ว ยังหมายความว่าทำการประทุษร้ายแก่จิตใจด้วย ไม่ว่าจะทำด้วยใช้แรงกายภาพหรือด้วยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าว ทำให้โจทก์ร่วมต้องรู้สึกสะเทือนใจอับอายขายหน้า จึงถือว่าเป็นการประทุษร้ายแก่จิตใจของโจทก์ร่วมแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอนาจารโจทก์ร่วม ครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุ เป็นส่วนหนึ่งของโรงพยาบาลเนินสง่า อันเป็นสถานที่ราชการซึ่งเป็นสาธารณสถาน แม้ประชาชนที่ไปใช้บริการในห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจะต้องได้รับอนุญาต และผ่านการคัดกรองจากพยาบาลหน้าห้องตรวจก่อน แต่ก็เป็นเพียงระเบียบขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการใช้บริการของโรงพยาบาลเท่านั้น หาทำให้ห้องตรวจคนไข้ดังกล่าวซึ่งเป็นสาธารณสถานที่ประชาชนมีความชอบธรรมจะเข้าไปได้ ต้องกลับกลายเป็นที่รโหฐานแต่อย่างใดไม่ ห้องตรวจคนไข้ที่เกิดเหตุจึงยังคงเป็นสาธารณสถาน ดังนั้น การกระทำของจำเลยจึงครบองค์ประกอบความผิดฐานกระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการรังแก หรือข่มเหงผู้อื่น หรือกระทำให้ผู้อื่นได้รับความอับอาย หรือเดือดร้อนรำคาญในที่สาธารณสถานตาม ป.อ. มาตรา 397 ฎ.12665/2556 การกระทำอนาจาร หมายถึง การกระทำที่ไม่สมควรทางเพศ เช่น กอดจูบ ลูบคลำ แตะต้องเนื้อตัวร่างกายในทางไม่สมควร การกระทำชำเราจึงรวมถึงการกระทำอนาจารอยู่ในตัว เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยปลุกปล้ำ กอดจูบ ถอดเสื้อผ้า และกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารแก่เด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง และฐานข่มขืนกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคหนึ่ง เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท – ความผิดฐานกระทำอนาจาร ยอมความได้หรือไม่ มาตรา 281 “การกระทำความผิดตามมาตรา…และมาตรา 278 นั้น ถ้ามิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย หรือมิได้เป็นการกระทำแก่บุคคลดังระบุไว้ในมาตรา 285 เป็นความผิดอันยอมความได้” ดังนั้น ความผิดฐานกระทำอนาจาร โดยปกติเป็นความผิดอันยอมความได้ แต่มีข้อยกเว้นในบางกรณีที่ไม่สามารถยอมความได้ คือ 1.การกระทำอนาจารต่อเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 2.การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล 3.การอนาจารเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำรับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย 4.การกระทำอนาจารที่กระทำต่อผู้สืบสันดาน ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ผู้อยู่ในความควบคุมตามหน้าที่ราชการหรือผู้อยู่ในความปกครอง ในความพิทักษ์ ในความอนุบาล – ลักษณะการกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล เป็นอย่างไร กระทำต่อหน้าธารกำนัล หมายถึง การกระทำที่เปิดเผยให้บุคคลอื่นสามารถเห็นได้ เช่น กระทำในที่สาธารณะหรือสถานที่ที่บุคคลพลุกพล่าน ไม่ใช่ที่ที่มิดชิด ฎ.1279/2506 จำเลยจับนมผู้เสียหายในรถประจำทางซึ่งมีคนโดยสารแน่นนั้น เป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล ฎ.1794/2494 กอดปล้ำทำอนาจารหญิงสาวบนถนนริมฝั่งคลอง ซึ่งเป็นทางสาธารณะและทางหลวงในเวลากลางคืน ในขณะที่มีเด็กชายคนหนึ่งเดินอยู่ข้างหน้า เมื่อเด็กชายคนนั้นเห็นเข้าก็วิ่งหนีไปเสีย และยังมีชายอีก 2 คนซึ่งเดินอยู่บนถนนชายคลองอีกฟากหนึ่งพบเห็นเข้า ดังนี้ ย่อมถือว่าเป็นความผิดที่ได้กระทำต่อหน้าธารรกำนัล ฎ.4836/2547 คำว่า “อนาจาร” มีความหมายว่าเป็นการกระทำต่อเนื้อตัวบุคคลที่ไม่สมควรทางเพศซึ่งมิได้หมายความเฉพาะการประเวณีหรือความใคร่เท่านั้น แต่รวมถึงการกระทำให้อับอายขายหน้าในทางเพศด้วย การที่จำเลยกอดเอวโจทก์ร่วม จับมือและดึงแขนโจทก์ร่วมเช่นนั้นจึงเป็นการกระทำอนาจารแก่โจทก์ร่วมโดยใช้กำลังประทุษร้าย เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 278 แม้บางตอนจำเลยจะได้กระทำขณะอยู่ในรถยนต์กระบะแต่การที่จำเลยจับมือและดึงแขนโจทก์ร่วมให้เข้าไปในห้องพักของโรงแรมขณะอยู่ต่อหน้าพนักงานโรงแรมเช่นนั้นเป็นการกระทำโดยเปิดเผยในที่ซึ่งอาจมีคนเห็นได้ แม้ไม่มีผู้ใดเห็นในขณะกระทำนั้นก็เป็นธารกำนัลแล้ว เพราะการกระทำต่อหน้าธารกำนัลมิได้หมายความเฉพาะแต่กระทำโดยประการที่ให้บุคคลอื่นได้เห็นโดยแท้จริงเท่านั้น เพียงแต่กระทำในลักษณะที่เปิดเผยให้บุคคลอื่นสามารถเห็นได้ก็เป็นต่อหน้าธารกำนัลแล้ว ดังนั้น เมื่อจำเลยกระทำอนาจารแก่โจทก์ร่วมโดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อหน้าธารกำนัล จึงเป็นความผิดที่มิใช่ความผิดอันยอมความได้ ฎ.9408/2555 แม้ว่าโจทก์ร่วมกับจำเลยจะมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกันมาก่อนหรือไม่ก็ตาม แต่เมื่อในวันเกิดเหตุจำเลยเข้ามาโอบกอดโจทก์ร่วมถูกหน้าอก ท้อง และแขนของโจทก์ร่วมโดยโจทก์ร่วมมิได้ยินยอมและดิ้นรนขัดขืน ทั้งยังกระทำต่อหน้าบุคคลอื่น ย่อมเป็นความผิดฐานกระทำอนาจารบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายต่อหน้าธารกำนัลแล้ว ฎ.4593/2553 จำเลยกระทำอนาจารจับหน้าอกผู้เสียหายในร้านอาหารซึ่งมีลูกค้านั่งรับประทานอาหารอยู่ที่โต๊ะอื่นด้วย และมี น. พนักงานร้านอาหารนั้นเห็นจำเลยจับหน้าอกผู้เสียหายขณะ น. เสิร์ฟอาหารอยู่โต๊ะอื่น จึงเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล และมิใช่ความผิดฐานกระทำอนาจารที่จะยอมความได้ ฎ.6668/2551 จำเลยกรีดกระโปรงนักเรียนของผู้เสียหาย แล้วใช้ลำตัวของจำเลยเบียดที่ลำตัวด้านหลังของผู้เสียหายพร้อมกับใช้อวัยวะเพศของจำเลยดันที่บริเวณก้นของผู้เสียหายขณะอยู่บนรถไฟฟ้าต่อหน้าผู้โดยสารจำนวนมาก ภายหลังจากนั้นจำเลยใช้มือชักอวัยวะเพศของจำเลยเข้าออกเพื่อสำเร็จความใคร่ของตนบนสถานีรถไฟฟ้า จำเลยกระทำการดังกล่าวก็เพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายและกระทำการลามกอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล ฎ.7631/2549 การที่จำเลยกระทำอนาจารต่อผู้เสียหาย ขณะผู้เสียหายอยู่ด้วยกันในรถกระบะของจำเลยในลักษณะเปิดเผยถือได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล – แนวคำพิพากษาที่ไม่ถือว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล ฎ13596/2553 แม้ถนนที่เกิดเหตุเป็นถนนสายหลักและเป็นที่เปิดเผย แต่ตามบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุปรากฏว่า บริเวณที่เกิดเหตุเป็นถนนพหลโยธินขาขึ้น มีการสร้างสะพานคอนกรีตข้ามคลองอนุศาสนนันทน์และยังไม่แล้วเสร็จ รถยนต์ยังแล่นสัญจรผ่านสะพานไม่ได้ ส่วนถนนพหลโยธินขาล่องสร้างสะพานเสร็จเรียบร้อยและมีการเปิดการจราจรสวนกันที่บริเวณสะพานข้ามคลองดังกล่าว ทั้งบริเวณเกาะกลางถนนที่จำเลยทั้งสองนำผู้เสียหายที่ 4 มากระทำอนาจาร มีการปลูกหญ้าเต็มเกาะกลางถนน แสดงว่าขณะเกิดเหตุบริเวณถนนที่เกิดเหตุยังไม่เปิดให้บุคคลใดขับรถผ่าน ดังนั้นเมื่อไม่ปรากฏว่ามีผู้ขับรถสัญจรไปมาบนถนนที่เกิดเหตุที่จะให้การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 ของจำเลยทั้งสองได้เกิดต่อหน้าบุคคลผู้สัญจรไปมาทั่วไป การกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายที่ 4 จึงไม่ได้เกิดต่อหน้าต่อตาผู้คนจำนวนมากหรือที่มีผู้ชุมนุม ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำต่อหน้าธารกำนัล – ความรู้กฎหมายโดยอาจารย์เกด ศิวาพร คารวนันท์ [...]
ความรู้เกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย
ความรู้เกี่ยวกับการประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลยมกราคม 9, 2024การประกันตัว คือ… การประกันตัว คือ การขอให้ปล่อยตัวผู้ต้องหาในระหว่างการสอบสวนหรือขอให้ปล่อยจำเลยในระหว่างพิจารณาอุทธรณ์ ฎีกา เป็นการชั่วคราว ผู้มีสิทธิ์ยื่นขอประกัน  ได้แก่… ผู้ต้องหาหรือจำเลย ผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง เช่น ญาติ พี่น้อง นายจ้าง ผู้บังคับบัญชา หรือเพื่อน เป็นต้น – จะเรียกกันว่า “นายประกัน” หลักประกัน  ได้แก่…                หลักประกัน ที่นำมายื่นขอปล่อยตัวชั่วคราว มี 2 ประเภท คือ 1.ใช้หลักทรัพย์เป็นประกัน 2.ใช้บุคคลเป็นประกัน หลักทรัพย์ที่ใช้เป็นประกัน  ได้แก่… หลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัวต้องไม่มีภาระผูกพันอันอาจกระทบต่อการบังคับคดี 1.เงินสด 2.ที่ดินมีโฉนด / หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 / น.ส.3 ก) 3.ห้องชุดมีโฉนดที่ดินและหนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด 4.ทรัพย์สินมีค่าอย่างอื่นที่กำหนดราคามูลค่าที่แน่นอนได้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, สลากออมสิน, ใบรับฝากประจำของธนาคาร, ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ธนาคารเป็นผู้ออก, เช็คที่ธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายหรือรับรองซึ่งสามารถเรียกเก็บเงินได้ในวันที่ทำสัญญาประกัน, หนังสือรับรองจากธนาคารเพื่อชำระเบี้ยปรับแทนในกรณีผิดสัญญาประกัน เป็นต้น 5.หนังสือรับรองของบริษัทประกันภัย กรณีการประกันภัยอิสรภาพ 6.ใช้บุคคลเป็นประกัน ใช้บุคคลเป็นประกัน  ทำได้อย่างไร 1.บุคคลนั้นต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือรายได้แน่นอน เช่น ข้าราชการ, ข้าราชการบำนาญ, สมาชิกรัฐสภา, ผู้บริหารราชการส่วนท้องถิ่น, สมาชิกสภาท้องถิ่น, พนักงานรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น 2.ต้องเป็นผู้มีความสัมพันธ์กับผู้ต้องหาหรือจำเลย เช่น เป็นบุพการี, เป็นผู้สืบสันดาน, สามี ภริยา ญาติ พี่น้อง ผู้บังคับบัญชา นายจ้าง บุคคลที่เกี่ยวพันโดยทางสมรส หรือบุคคลอื่นที่ศาลเห็นว่ามีความสัมพันธ์ใกล้ชิด ทนายความ ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกัน  ได้หรือไม่   ทนายความประกันตนเองหรือญาติได้ (ทนายความประกันได้เฉพาะญาติสนิทตาม ป.พ.พ.ม.1629 และคู่สมรส) ผู้ประกอบวิชาชีพอื่นๆ สามารถใช้ตำแหน่งประกันตัวเอง ได้หรือไม่ ผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ทนายความ ผู้สอบบัญชี ครู ผู้ประกอบวิชาชีพด้านการสื่อสารมวลชน หรือผู้ประกอบวิชาชีพอื่นที่ศาลเห็นสมควรให้ประกันตัวได้ อาจใช้ตนเองเป็นหลักประกันได้ (ประกันตนเอง) “คำแนะนำการประกันตน” แผ่นพับส่วนบริการประชาชนและประชาสัมพันธ์ศาลจังหวัดศรีสะเกษ   หลักฐานประกอบหลักประกัน   “ที่ดิน” “ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง” “ห้องชุด”                – หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินของสำนักงานที่ดิน ออกให้ไม่เกิน 1 เดือน – หนังสือประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่น่าเชื่อถือ – หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ห้องชุด และหนังสือรับรองราคาประเมินของสำนักงานที่ดิน – โฉนดที่ดิน/น.ส.3ก./น.ส.3 – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของที่ดิน, คู่สมรส – หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส – สำเนาทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส – สำเนาทะเบียนหย่า, ใบมรณบัตร “เงินสด” – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน – สำเนาทะเบียนบ้าน “สมุดเงินฝาก” – หนังสือรับรองของธนาคารว่ามียอดเงินฝากคงเหลือปัจจุบัน พร้อมระบุข้อความว่าธนาคารจะไม่ให้ถอนเงินจำนวนดังกล่าวจนกว่าจะได้รับคำสั่งเปลี่ยนแปลงจากศาลก่อน – หนังสืออายัดยอดเงินฝาก – สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเจ้าของสมุดเงินฝาก – สำเนาทะเบียนบ้าน  “ใช้ตำแหน่งบุคคล” – หนังสือรับรองของต้นสังกัดแสดงสถานะ ตำแหน่ง ระดับอัตราเงินเดือนและระบุให้ชัดเจนว่านำไปประกันใคร – สลิปเงินเดือนล่าสุดที่มีเงินคงเหลือหลังหักภาระต่างๆ แล้ว – สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ – สำเนาบัตรประจำตัวของคู่สมรส – หนังสือให้ความยินยอมของคู่สมรส – สำเนาทะเบียนบ้าน, ทะเบียนสมรส – สำเนาทะเบียนหย่า, ใบมรณบัตร “ประกันอิสรภาพ” – หนังสือรับรองกรมธรรม์ของบริษัทประกันภัย ข้อมูลจากสถานีตำรวจภูธรควนขนุน จังหวัดพัทลุง   การพิจารณาปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย ควรกำหนดวงเงินประกันโดยเทียบเคียงกับระวางโทษดังต่อไปนี้เว้นแต่ เกณฑ์มาตรฐานกลางกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น     คดีระวางโทษตามกฎหมาย วงเงินประกัน/บาท จำคุกไม่เกิน 5 ปี จำคุกไม่เกิน 10 ปี จำคุก 10- 15 ปี จำคุก 5 – 20 ปี จำคุก 10- 20 ปี จำคุก 15 – 20 ปี จำคุก 5 – 20 ปี / จำคุกตลอดชีวิต จำคุก 15 – 20 ปี /จำคุกตลอดชีวิต จำคุก 5 – 20 ปี /จำคุกตลอดชีวิต /ประหารชีวิต จำคุก 15 – 20 ปี จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต ประหารชีวิต ไม่เกิน 100,000 ไม่เกิน 200,000 200,000 – 300,000 100,000 – 400,000 200,000 – 400,000 300,000 – 400,000 100,000 – 800,000 300,000 – 800,000 100,000 – 1,000,000 300,000 – 1,000,000 500,000 – 800,000 500,000- 1,000,000   แนวทางการใช้บัญชีเกณฑ์มาตรฐานกลางหลักประกันการปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลยสำหรับศาลอาญา ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลจังหวัด และศาลแขวง ตามคำแนะนำของประธานศาลฎีกา – ความรู้กฎหมายโดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์ [...]
การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก
การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกมกราคม 8, 2024การยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก – ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 1.ทายาท (ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดก) 2.ผู้มีส่วนได้เสีย 3.พนักงานอัยการ – สาเหตุที่ต้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 1.ทายาทสูญหายไปหรืออยู่นอกราชอาณาจักรหรือเป็นผู้เยาว์ 2.ผู้จัดการมรดกหรือทายาทไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการหรือมีเหตุขัดข้องในการการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก 3.ข้อกำหนดในพินัยกรรมที่ตั้งผู้จัดการมรดกไว้ไม่มีผลบังคับ – คุณสมบัติของผู้จัดการมรดก 1.บรรลุนิติภาวะ 2.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือผู้เสมือนไร้ความสามารถ 3.ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนล้มละลาย – ยื่นคำร้องที่ไหน 1.ศาลที่เจ้ามรดกมีภูมิลำเนาขณะถึงแก่ความตาย 2.ศาลที่ทรัพย์มรดกตั้งอยู่ในเขตศาล (กรณีเจ้ามรดกไม่มีภูมิลำเนาในราชอาณาจักร) – หลักฐานประกอบการยื่นคำร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก 1.หลักฐานเกี่ยวกับผู้ตายหรือเจ้ามรดก – ทะเบียนบ้าน – ใบมรณบัตร – ทะเบียนสมรสหรือทะเบียนหย่า – ใบสำคัญเปลี่ยนชื่อ-สกุล (ถ้ามี) – พินัยกรรม (ถ้ามี) 2.หลักฐานเกี่ยวกับผู้ร้อง – บัตรประชาชน, ทะเบียนบ้าน – หลักฐานการเป็นทายาทซึ่งมีสิทธิรับมรดก เช่น สูติบัตร, หนังสือรับรองบุตร, ทะเบียนสมรส เป็นต้น 3.หลักฐานเกี่ยวกับทายาทคนอื่นๆ – หนังสือให้ความยินยอม + สำเนาบัตรประชาชน + ทะเบียนบ้าน 4.หลักฐานเกี่ยวกับทรัพย์มรดก – เอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน, สมุดเงินฝากธนาคาร, เอกสารทางทะเบียน (รถยนต์, รถจักรยานยนต์, อาวุธปืนฯลฯ) ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร -ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law -ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ -ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก -สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร -ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law [...]
สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการทำแท้ง
สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการทำแท้งมกราคม 8, 2024สิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการทำแท้งของหญิงผู้ตั้งครรภ์ – ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการทำให้แท้งลูก ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายโดยประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2564 มีการแก้ไขมาตรา 301 ซึ่งแต่เดิมนั้นประมวลกฎหมายอาญากำหนดความผิดสำหรับหญิงที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนเองแท้งลูก ประเด็นปัญหานี้มีผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อให้วินิจฉัยว่าความผิดมาตรานี้ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ ปัญหานี้ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 4/2563 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 วินิจฉัยว่า บทบัญญัติความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ตามมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ขัดหรือแย้งต่อมาตรา 28ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยให้เหตุผลว่าการทำแท้งหรือการยุติการตั้งครรภ์เป็นปัญหาทั้งทางสังคม ทางการแพทย์ และทางกฎหมายที่มีความละเอียดอ่อน รวมทั้งเป็นประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมและศีลธรรม ซึ่งถือว่าเป็นความผิดทางอาญาและกำหนดโทษแก่หญิงเพียงฝ่ายเดียวที่ทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูก ทั้งนี้ ความผิดฐานทำให้แท้งลูกมีเจตนารมณ์และคุณธรรมทางกฎหมายที่ต้องการคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์ โดยเห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของชีวิตมนุษย์ที่กำลังจะเกิดมาแต่เนื่องจากรากฐานของสังคมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเห็นคุณค่าของชีวิตมนุษย์เพียงเท่านั้น แต่ยังต้องมีปัจจัยอื่นที่สำคัญเป็นรากฐานของสังคมประกอบด้วยเช่นเดียวกับการคุ้มครองสิทธิในการมีชีวิตของทารกในครรภ์ หากมุ่งคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์เพียงอย่างเดียว โดยมิได้พิจารณาการคุ้มครองสิทธิของหญิงผู้ตั้งครรภ์อันมีมาก่อนสิทธิของทารกในครรภ์เป็นสิ่งที่อาจส่งผลกระทบให้หญิงไม่ได้รับความเป็นธรรมและถูกลิดรอนหรือจำกัดสิทธิในเนื้อตัวร่างกายของหญิงซึ่งเป็นสิทธิตามธรรมชาติ อันเป็นสิทธิพื้นฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพที่จะกระทำการใดหรือไม่กระทำการใดต่อชีวิตและร่างกายของตนได้ตราบเท่าที่การกระทำนั้นไม่ไปรบกวนหรือล่วงล้ำเข้าไปในสิทธิหรือเสรีภาพของผู้อื่น รวมทั้งยังส่งผลกระทบถึงสิทธิในการกำหนดเจตจำนงของหญิงตั้งครรภ์ที่ครอบคลุมไปถึงสิทธิในการตัดสินใจของหญิงว่าจะยุติการตั้งครรภ์หรือตั้งครรภ์ต่อไปหรือไม่ การคุ้มครองสิทธิของทารกในครรภ์และสิทธิของหญิงตั้งครรภ์ต้องให้เกิดความสมดุลกันโดยอาจต้องนำช่วงระยะเวลาการตั้งครรภ์มาเป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณา การปฏิเสธสิทธิของหญิงโดยปราศจากการกำหนดเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลาที่เหมาะสมดังเช่นมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญาเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของหญิงเกินความจำเป็น ประกอบกับรัฐมีหน้าที่กำหนดให้มีมาตรการส่งเสริมให้บุคคลใช้สิทธิและเสรีภาพโดยจัดให้มีมาตรการในการยุติการตั้งครรภ์ที่ปลอดภัย ถูกต้องตามกฎหมายไม่กระทบต่อการใช้สิทธิของหญิง และในขณะเดียวกันก็ต้องเข้าไปดูแลและคุ้มครองชีวิตของทารกในครรภ์มิให้ถูกกระทบสิทธิในการมีชีวิตด้วยเช่นกัน บทบัญญัติมาตรา 301 แห่งประมวลกฎหมายอาญา จึงกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกายของหญิงเกินความจำเป็น ไม่เป็นไปตามหลักแห่งความได้สัดส่วนและเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพตามมาตรา 28 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังได้ให้ข้อเสนอแนะด้วยว่าประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องเรื่องการทำแท้งสมควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน สมควรแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับความผิดฐานทำให้แท้งลูก โดยกำหนดอายุครรภ์สำหรับความผิดฐานหญิงทำให้ตนเองแท้งลูกหรือยอมให้ผู้อื่นทำให้ตนแท้งลูกตามมาตรา 301 รวมทั้งเพิ่มเหตุยกเว้นความผิดฐานทำให้แท้งลูกตามมาตรา 305 ให้สอดคล้องกับคำวินิจฉัยและข้อเสนอแนะของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว ซึ่งนี่ก็คือที่มาที่ทำให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 301 และมาตรา 305 ดังนั้น เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วหญิงซึ่งตั้งครรภ์หากอายุครรภ์ไม่เกิน 12 สัปดาห์ ย่อมมีสิทธิที่จะยุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมายอีกต่อไป และการทำให้หญิงแท้งลูกโดยหญิงยินยอม เป็นการกระทำของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและตามหลักเกณฑ์ของแพทยสภาในกรณีดังต่อไปนี้ คือ (1) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากหากหญิงตั้งครรภ์ต่อไปจะเสี่ยงต่อการได้รับอันตรายต่อสุขภาพทางกายหรือจิตใจของหญิงนั้น (2) จำเป็นต้องกระทำเนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมากหรือมีเหตุผลทางการแพทย์อันควรเชื่อได้ว่าหากทารกคลอดออกมาจะมีความผิดปกติถึงขนาดทุพพลภาพอย่างร้ายแรง (3) หญิงยืนยันต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมว่าตนมีครรภ์เนื่องจากมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับเพศ (4) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์ไม่เกิน12 สัปดาห์ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ หรือ (5) หญิงซึ่งมีอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์ แต่ไม่เกิน 20 สัปดาห์ ยืนยันที่จะยุติการตั้งครรภ์ภายหลังการตรวจและรับคำปรึกษาทางเลือกจากผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมและผู้ประกอบวิชาชีพอื่นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของแพทยสภาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ผู้กระทำไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใดตามมาตรา 305 แห่งประมวลกฎหมายอาญา – ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์ -ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law -ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ -ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก -สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร -ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law Website : www.advancedlaw9.com [...]
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีมกราคม 8, 2024ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดี – การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง ดีอย่างไร การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องสำหรับคดีแพ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 20 ตรี เป็นกระบวนการที่ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับทุกฝ่ายโดยเฉพาะฝ่ายเจ้าหนี้เพราะช่วยลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้มากทีเดียวไม่ว่าจะเป็นค่าจ้างทนายความค่าธรรมเนียมศาลซึ่งต้องจ่ายขณะยื่นฟ้องเป็นจำนวนร้อยละ2ของทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องรวมไปถึงไม่ต้องเสียเวลาในการดำเนินคดีในชั้นศาล สำหรับลูกหนี้ก็เช่นเดียวกันไม่ต้องถูกฟ้องคดีไม่ตกเป็นจำเลยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการต่อสู้คดีและยังรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกันได้เมื่อจบกระบวนการไกล่เกลี่ยกันแล้ว นอกจากนี้ก็ยังช่วยลดภาระคดีในชั้นศาลได้ด้วย – การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้อง ทำอย่างไร 1.ยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องต่อศาล (ไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาล) ก่อนยื่นฟ้องคดี บุคคลที่จะเป็นคู่ความสามารถยื่นคำร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อขอให้ศาลแต่งตั้งผู้ประนีประนอมทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้ตกลงหรือประนีประนอมยอมความกันในข้อที่พิพาท ซึ่งการยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยก็ดำเนินการได้ตามความสะดวกของคู่กรณีไม่ว่าจะยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านระบบ CIOS ของศาลหรือจะยื่นด้วยตนเองที่ศาลก็ได้ ส่วนการไกล่เกลี่ยก็สามารถไกล่เกลี่ยออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน 2.เจ้าหน้าที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยทำหนังสือเชิญชวนเข้าร่วมไกล่เกลี่ย (ตามความสมัครใจ) เมื่อมีการตอบรับเข้าร่วมไกล่เกลี่ย ก็กำหนดวัน เวลาในการไกล่เกลี่ยร่วมกัน 3.ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยผู้ประนีประนอมที่ศาลแต่งตั้ง ศาลอำนวยความสะดวกให้โดยมีผู้ประนีประนอมที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาลทำหน้าที่ดำเนินการไกล่เกลี่ย เมื่อคู่กรณีตกลงกันได้ก็จัดทำข้อตกลงหรือสัญญาประนีประนอมยอมความร่วมกันและขอให้ศาลพิพากษาตามข้อตกลงหรือสัญญายอมได้ – หากไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ ผลเป็นอย่างไร หากการไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ก็ฟ้องคดีต่อศาลได้ตามปกติและหากปรากฎว่าอายุความครบกำหนดไปแล้วหลังจากยื่นคำร้องขอไกล่เกลี่ยหรือจะครบกำหนดภายใน 60 วันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง ให้อายุความขยานออกไปอีก 60 วันนับแต่วันที่การไกล่เกลี่ยสิ้นสุดลง – ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร คารวนันท์ -ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law -ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ -ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก -สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร -ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law Website : www.advancedlaw9.com [...]
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วิกลจริต
ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วิกลจริตมกราคม 8, 2024ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญากับผู้ต้องหาหรือจำเลยที่วิกลจริต –           ความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 คำว่า “วิกลจริต” หมายความว่า มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปกติเพราะสติวิปลาส  ซึ่งคำว่า “สติ” หมายความว่า ความรู้สึก, ความรู้สึกตัว, ความรู้สึกผิดชอบ ส่วนคำว่า “วิปลาส” หมายความว่า คลาดเคลื่อนไปจากธรรมดาสามัญ           ดังนั้นคำเรียกที่ว่า “คนวิกลจริต” จึงเป็นคำเรียกกว้าง ๆ ที่แสดงถึงบุคคลที่มีอาการหรือการแสดงออกแตกต่างจากคนปกติทั่วไปเพราะมีความรู้สึกนึกคิด ความรู้สึกผิดชอบแตกต่างจากคนธรรมดาทั่วไป มีสภาพทางจิตผิดปกติไปจากบุคคลทั่วไป            คำว่า “วิกลจริต” เป็นคำที่มีปรากฎอยู่ในประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ด้วย            สำหรับกฎหมายที่เกี่ยวข้องในทางอาญา มีหลักการสำคัญในการคุ้มครองผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตหรือคนวิกลจริตไว้ว่าในการดำเนินคดีอาญาจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ต้องหาหรือจำเลยมีความสามารถที่จะต่อสู้คดีได้อย่างเต็มที่ด้วย เพราะความบกพร่องทางจิตหรือสภาวะที่ไม่สมประกอบทางจิตของผู้กระทำความผิดเป็นเหตุบกพร่องที่บุคคลนั้นแตกต่างจากบุคคลธรรมดาทั่วไป ย่อมไม่อาจนำมาตรฐานการลงโทษสำหรับบุคคลปกติทั่วไปมาใช้บังคับกับคนวิกลจริตได้เพราะจะเป็นการบังคับใช้กฎหมายและบังคับโทษที่ไม่เป็นไปตามหลักความเสมอภาคเพราะคนวิกลจริตมีสภาวะที่ผิดปกติไปจากบุคคลปกติทั่วไป           ดังนั้นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีอาญาและการลงโทษบุคคลที่กระทำความผิดซึ่งวิกลจริต จึงเป็นไปตามกฎหมายดังต่อไปนี้           1.การสั่งให้แพทย์ตรวจ           ในระหว่างทำการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา ถ้ามีเหตุควรเชื่อว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริต และไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้พนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณี สั่งให้พนักงานแพทย์ตรวจผู้นั้น เสร็จแล้วให้เรียกพนักงานแพทย์ผู้นั้นมาให้ถ้อยคำ หรือให้การว่าตรวจได้ผลประการใด ซึ่งเป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 วรรคหนึ่ง           2.การงดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา และการสั่งจำหน่ายคดีชั่วคราว           ซึ่งหากในกรณีที่พนักงานสอบสวนหรือศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้  ให้งดการสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้  และให้มีอำนาจส่งตัวผู้นั้นไปยังโรงพยาบาลโรคจิตหรือมอบให้แก่ผู้อนุบาล ข้าหลวงประจำจังหวัดหรือผู้อื่นที่เต็มใจรับไปดูแลรักษาก็ได้ตามแต่จะเห็นสมควร โดยในกรณีที่ศาลสั่งงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาดคีนั้นศาลจะสั่งจำหน่ายคดีเสียชั่วคราวก็ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 วรรคสองและวรรคสาม           3.การไม่ต้องรับโทษ หรือ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้           ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 65 วรรคหนึ่ง กำหนดว่าผู้ใดกระทำความผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น           แต่มาตรา 65 วรรคสอง กำหนดว่าถ้าผู้กระทำความผิดยังสามารถรู้ผิดชอบอยู่บ้าง หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง ผู้นั้นต้องรับโทษสำหรับความผิดนั้น แต่ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้           4.การทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุวิกลจริตจะหมดไป           หากจำเลยซึ่งวิกลจริตถูกลงโทษจำคุกอาจมีการขอให้ทุเลาการจำคุกได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 246  ที่กำหนดว่า เมื่อจำเลย สามี ภริยา ญาติของจำเลย พนักงานอัยการ ผู้บัญชาการเรือนจำหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่จัดการตามหมายจำคุกร้องขอ หรือเมื่อศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้ทุเลาการบังคับให้จำคุกไว้ก่อนจนกว่าเหตุอันควรทุเลาจะหมดไป   ในกรณีต่อไปนี้ (1)  เมื่อจำเลยวิกลจริต (2) …           5.การทุเลาการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหายวิกลจริต           ถ้าบุคคลซึ่งต้องคำพิพากษาให้ประหารชีวิตเกิดวิกลจริตก่อนถูกประหารชีวิต ให้รอการประหารชีวิตไว้ก่อนจนกว่าผู้นั้นจะหาย ในขณะทุเลาการประหารชีวิตอยู่นั้น  ถ้าศาลเห็นว่าการปล่อยตัวผู้มีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน  ซึ่งไม่ต้องรับโทษหรือได้รับการลดโทษจะเป็นการไม่ปลอดภัยแก่ประชาชน  ศาลจะสั่งให้ส่งไปคุมตัวไว้ในสถานพยาบาลก็ได้   และคำสั่งนี้ศาลจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 วรรคหนึ่งประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 48           6.ลดโทษประหารชีวิตเหลือจำคุกตลอดชีวิต           กรณีที่มีการทุเลาการประหารชีวิตไว้และผู้วิกลจริตนั้นหายภายหลัง 1 ปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด  ก็ให้ลดโทษประหารชีวิตลงเหลือจำคุกตลอดชีวิต ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 248 วรรคสอง – ความรู้กฎหมายโดยอาจารย์เกด ศิวาพร คารวนันท์  – ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law  – ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก  – ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law Website : www.advancedlaw9.com [...]
section119-3
section119-3กันยายน 21, 2023กฎหมายคุ้มครองแรงงาน-การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 119 (3) - *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (3)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ........................................................... (2) ........................................................... (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - กรณีถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13812/2557 การกระทำที่ไม่เป็นความผิดในคดีอาญา แต่อาจจะเป็นการกระทำความผิดทางวินัยตามข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานได้ แม้คดีอาญาจะเป็นความผิดที่เกี่ยวกับแผ่นดินซึ่งอาจจะมีความสำคัญมากกว่าความผิด ทางวินัย แต่การพิจารณาว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดต่อคดีอาญาหรือไม่ หรือเป็นความผิดทางวินัยหรือไม่ ย่อมมีองค์ประกอบและหลักเกณฑ์ในการพิจารณาแตกต่างกันไป ไม่อาจนำข้อสรุปของการพิจารณาแต่ละ กรณีมาใช้บังคับแก่กันได้ แม้คดีอาญาที่จำเลยแจ้งความดำเนินคดีแก่โจทก์จะถึงที่สุดโดยพนักงานอัยการมีคำ สั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นข้อยุติว่าโจทก์มิได้กระทำความผิดทางวินัยด้วยได้ เมื่อปรากฏว่า โจทก์ใช้ความระมัดระวังไม่เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่เป็นพนักงานเก็บรักษาของอันเป็นการ ปฏิบัติงานโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง กรณีย่อมมี เหตุอันสมควรที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้ มิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4028/2548 ในหนังสือเลิกจ้างได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ว่า โจทก์ทำงานด้วย ความสะเพร่าทำให้มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่ส่งให้ลูกค้า เป็นเหตุให้จำเลยได้รับ ความเสียหายอย่างร้ายแรง ย่อมเห็นได้ว่าที่โจทก์ทำงานด้วยความสะเพร่าจนทำให้ มีสิ่งปลอมปนในผลิตภัณฑ์ที่จำเลยส่งไปไห้แก่ลูกค้าเป็นการกระทำโดยประมาท เลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 119 (3) นั่นเอง จึงเป็นกรณีที่จำเลยให้การต่อสู้คดีโดยระบุ เหตุผลแห่งการเลิกจ้างตรงตามที่จำเลยได้ให้เหตุผลในหนังสือเลิกจ้างแล้ว เมื่อโจทก์ได้กระทำความผิดโดยทำงานด้วยความประมาทเลินเล่อเป็นเหตุ ให้จำเลยไต้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง และจำเลยได้ลงโทษโจทก์ในความผิดนี้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยด้วยการพักงานเป็นเวลา 3.5 วัน โดย ไม่จ่ายค่าจ้าง ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวได้หมดไปด้วยการลงโทษพักงานโดย ไม่จ่ายค่าจ้างแล้ว จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมไม่อาจนำความผิดดังกล่าวมาเป็นเหตุ เลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ได้อีก - ข้อสังเกต ตามฎีกานี้ แม้นายจ้างจะมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่ายค่า ชดเชยได้ตามกฎหมาย แต่เมื่อได้ลงโทษในความผิดนี้แล้วจึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าว ได้หมดไปด้วยการลงโทษแล้ว - กรณีไม่ถือเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2552 กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของจำเลยไปเจรจาต่อรองขอลดภาษีโรงเรือนโดยตกลงจ่ายค่า อำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่เขตเป็นเงิน 350,000 บาท ต่อมาได้ให้โจทก์ไปต่อรองขอลดค่า อำนวยความ สะดวกเหลือ 120,000 บาท และได้จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่เขตไปแล้ว จำเลยจะอ้างว่า โจทก์ตรวจและผ่านเอกสารเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าอำนวยความ สะดวกโดยไม่มีชื่อและลายมือชื่อ ผู้รับเงินไว้เป็นหลักฐานเป็นการประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ไม่ได้ เพราะการจ่ายเงินค่าอำนวยความสะดวกเพื่อให้เจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติฝ่าฝืนบทบัญญัติ ของกฎหมาย เป็นการที่จำเลยใช้ให้โจทก์ไปทำผิดกฎหมาย เมื่อโจทก์ปฏิบัติตามแล้วเกิด ข้อบกพร่องอย่างไรจำเลยจะนำเหตุนั้นมาเป็นเหตุเลิกจ้างโจทก์ไม่ได้ - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2548 โจทก์ในฐานะผู้จัดการฝ่ายบริหารของจำเลยกล่าวหาว่า น. และ ม. ลูกจ้าง ของจำเลยปลอมเอกสารอันเป็นความผิดอาญาและเสนอให้จำเลยดำเนินคดีแก่ บุคคลทั้งสอง ทั้ง ๆ ที่โจทก์ยังตรวจสอบพยานหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ไม่ครบถ้วน จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อไม่ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอ ผลของการกระทำของโจทก์คือจำเลยได้เลิกจ้าง น. และ ม. โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ซึ่งย่อมมีผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของลูกจ้างจำเลย ทำให้ ระบบบริหารงานบุคคลของจำเลยเสียหาย และการดำเนินงานของจำเลยในส่วนที่ เกี่ยวกับการทำงานของบุคคลทั้งสองที่ถูกเลิกจ้างต้องหยุดชะงักไปด้วย ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยระบุว่าลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้นปลดออกจากงาน แสดงว่า จำเลยมุ่งประสงค์ลงโทษลูกจ้างที่ทำงานประมาทเลินเล่อถึงขั้นเลิกจ้างเฉพาะกรณี ทำให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายเท่านั้น จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุประมาท เลินเล่อทำให้จำเลยเสียหายในระบบการบริหารงานบุคคลและการดำเนินงานซึ่ง ไม่ใช่ความเสียหายเป็นทรัพย์สินตามความประสงค์ของข้อบังคับเกี่ยวกับการ ทำงานของจำเลย กรณีจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ จำเลยได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 (3) เมื่อจำเลย เลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตาม มาตรา 118 (1) แต่การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นการกระทำที่ไม่สมแก่การ ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบริหารให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทน การบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ด้วยสาเหตุปฏิบัติงานด้วยความประมาทเลินเล่อ เป็นการเลิกจ้างโดยมีเหตุอันสมควร ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมแก่โจทก์เช่นกัน - ข้อสังเกต เนื่องจากข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างระบุว่า ลูกจ้างที่ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของจำเลยเสียหายจะถูกลงโทษขั้น ปลดออกจากงาน แต่เมื่อตามข้อเท็จจริงในคดีเป็นเพียงความเสียหายในระบบการ บริหารงาน จึงไม่ถือว่าเป็นกรณีลูกจ้างประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับ ความเสียหายอย่างร้ายแรง - [...]
section119-2
section119-2กันยายน 21, 2023*การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2)) - มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ........................................................... (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง - ข้อสังเกต กรณีถือว่าจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2156/2525 โจทก์เป็นหัวหน้าคนงานควบคุมการขนย้ายมีหน้าที่ต้องคอยบังคับบัญชาดูแล ให้คนงานทำงานให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ถูกที่ควร และมิให้เกิด ความเสียหายแก่จำเลย แต่โจทก์กลับเรียกคนงานซึ่งกำลังทำงานให้จำเลยเข้าไปในห้องพัก คนงานโดยไม่ยอมให้ออกมาทำงาน ทั้ง ๆ ที่ยังมีงานที่คนงานจะต้องทำอีกมาก จนจำเลย ต้องจัดคนงานอื่นมาทำงานแทนการกระทำของโจทก์จึงถือได้ว่าเป็นการจงใจ ทำให้ นายจ้างได้รับความเสียหายซึ่งจำเลยย่อมเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(2) และการกระทำ ดังกล่าวถือได้ด้วยว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2545 โจทก์เป็นลูกจ้างของบริษัท อ. ตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาอาวุโส ต่อมาโจทก์ได้จด ทะเบียนตั้งบริษัท ค. ซึ่งมีวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับนายจ้าง อันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับกิจการ ของนายจ้างแม้ไม่ปรากฏว่าบริษัทที่โจทก์ก่อตั้งได้แย่งลูกค้าของนายจ้างหรือมีลูกค้าไปใช้บริการ ของบริษัทโจทก์ก็ตาม ก็ต้องถือว่าเป็นการจูงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแล้ว นายจ้างมี สิทธิเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามพระราช บัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) และมาตรา 67 แก่โจทก์ แม้ พ. ผู้ลงนามใน หนังสือเลิกจ้างในฐานะผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนายจ้างและ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการฝ่ายขายและ บริการธุรกิจของบริษัทนายจ้าง จะได้ร่วมกันตั้งบริษัทอื่นซึ่งมีกิจการอันมีลักษณะเป็นการแข่งขันกับ กิจการของนายจ้างเช่นเดียวกับโจทก์ ก็เป็นเรื่องที่นายจ้างจะไปว่ากล่าวแก่บุคคลทั้งสองเองมิได้มี ผลทำให้การกระทำของโจทก์ไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7045/2546 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(2) มีความมุ่งหมาย ที่จะให้สิทธิแก่นายจ้างสามารถลงโทษลูกจ้างที่ตั้งใจหรือมีเจตนากระทำการโดยรู้ว่าการ กระทำของตนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้างเท่านั้น มิได้มุ่งเน้นที่ความเสียหาย ว่าได้เกิดขึ้นจริงหรือไม่ เพียงใด ซึ่งแตกต่างจากกรณีกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือ ไม่ตั้งใจตามมาตรา 119(3) ที่มีเงื่อนไขว่า ความเสียหายที่นายจ้างได้รับจะต้องถึงขั้น เสียหายอย่างร้ายแรง นายจ้างจึงจะมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ฉะนั้น ไม่ว่าการกระทำของโจทก์จะทำให้จำเลยได้รับความเสียหายแล้วหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระ สำคัญที่จะนำมาเป็นหลักในการวินิจฉัย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1649/2552 การที่โจทก์บางคนซึ่งไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงาน หยุดงานเข้าร่วมชุมนุมกับลูกจ้างที่มีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เป็นเรื่องที่ โจทก์ดังกล่าวสามารถรู้สำนึกและคาดหมายถึงผลของการกระทำของ ตนกับพวกได้อย่างชัดเจนอยู่แล้วว่าจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อ กิจการของจำเลยและทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย ต้องถือว่าโจทก์ ทั้งหมดรวมกันจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ที่ศาลแรงงาน กลางวินิจฉัยโดยภาพรวมว่าโจทก์ทั้งสิบหกคนทั้งที่มีหน้าที่และไม่มี หน้าที่เกี่ยวข้องกับการผลิตชิ้นงานตามแผนการผลิตได้ละทิ้งหน้าที่ ไม่ไปปฏิบัติงานอันเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย ซึ่ง จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสิบหกได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราช- บัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จึงชอบแล้ว - - กรณีไม่ถือว่าเป็นการจงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4554/2540 แม้ข้อบังคับของจำเลยจะระบุให้ถือการทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก ปลอมแปลงเอกสาร หรือการกระทำความผิดโดยเจตนาซึ่งเกี่ยวกับหน้าที่ที่บริษัทจำเลยมอบหมายและการ ช่วยเหลือ ซ่อนเร้น ปิดบังอำพรางการกระทำผิดของตนเองหรือเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้ เกิดความเสียหายแก่บริษัทเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ก็หามีผลว่าการกระทำเช่น นั้นจะเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรงทุกกรณีไปไม่ การกระทำใดจะเป็นความผิดวินัยอย่าง ร้ายแรงหรือไม่จักต้องพิจารณาพฤติการณ์ความเป็นจริงเป็นกรณีไป โจทก์ที่ 1 ดำรง ตำแหน่งหัวหน้างานตรวจแมลง โจทก์ที่ 2 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยหัวหน้างานตรวจแมลง มีหน้าที่ตรวจเช็คผลิตภัณฑ์ซึ่งลูกจ้างจำเลยทำขึ้น ดังนั้น แม้โจทก์ทั้งสองทราบว่าลูกจ้าง จำเลยรับงานซึ่งมีลักษณะประเภทและชนิดเดียวกับงานที่จำเลยผลิตจากบุคคลภายนอกไป ทำทั้งที่โรงงานและที่บ้าน แต่โจทก์ทั้งสองไม่แจ้งให้จำเลยทราบซึ่งเป็นการปิดบังอำพราง การกระทำผิดของเพื่อนร่วมงานอันอาจทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยตามข้อบังคับเกี่ยว กับการทำงาน ก็เป็นเพียงการฝ่าฝืนข้อบังคับที่ไม่เป็นความผิดร้ายแรง ทั้งไม่เป็นการ ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่อย่างใดเมื่อจำเลยเลิกจ้าง โจทก์ทั้งสองจึงต้องจ่ายค่าชดเชย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8241/2544 โจทก์อนุญาตให้รถยนต์ที่มีเลขทะเบียนไม่ตรงกับใบสั่งจ่ายน้ำมันเข้าไปเติมน้ำมันใน บริษัทจำเลยและออกใบผ่านยามไม่ตรงกับความจริง ซึ่งปฏิบัติกันเป็นปกติเพราะไม่มีระเบียบ ปฏิบัติที่ชัดเจนไม่ปรากฏว่าโจทก์ทุจริตหรือมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว จำเลยก็ เรียกเก็บเงินในภายหลังได้ตามปกติ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจทำให้นายจ้างเสียหายตามพระราช บัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (2) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยที่ว่า “ไม่ ปกปิดข้อเท็จจริงอันอาจเป็นเหตุให้บริษัทฯ ได้รับความเสียหาย ทำหลักฐานหรือรายงานหรือให้ข้อ ความเป็นเท็จแก่บริษัทฯ“ จำเลยจึงมีสิทธิไล่โจทก์ออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและ จ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย - คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 902/2545 กรณีลูกจ้างจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหายอันจะเป็นเหตุให้ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 (2) แห่ง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ หมายถึง ลูกจ้างกระทำได้โดยตั้งใจให้เกิดความเสียหายโดยรู้ถึง ผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่นายจ้างด้วย การที่พนักงานแผนกซ่อมบำรุงไปรายงาน โจทก์ซึ่งเป็นหัวหน้างานว่าเครื่องเติมอากาศบ่อบำบัดน้ำเสียมีเสียงดังผิดปกติ แต่ โจทก์ไม่พูดอะไรและไม่ได้ไปดู ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการตั้งใจให้เกิดความเสียหายแก่ นายจ้าง จึงไม่เป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เมื่อจำเลยเลิกจ้างจึง ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ แต่การกระทำดังกล่าวของโจทก์เป็นการละเลยต่อ หน้าที่การงานอันเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับซึ่งโจทก์มีหน้าที่ต้องรับ ผิดชอบโดยเคร่งครัด ถือว่าเป็นการกระทำประการอื่นอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิต้อง บอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 ประกอบด้วย พ.ร.บ. คุ้มครอง แรงงานฯ มาตรา 17 วรรคท้าย - [...]
section119-1
section119-1กันยายน 21, 2023กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เรื่อง การที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง – *การไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119) – มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้ (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย (3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง (4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้อง ตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด (5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มี เหตุอันสมควร (6) ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็นกรณีที่เป็น เหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่ เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่เลิกจ้าง นายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้ *มาตรา 119 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 – ข้อสังเกต เมื่อนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ ลูกจ้างนั้น เว้นแต่ มีเหตุดังต่อไปนี้ที่นายจ้างยกขึ้นเป็นข้ออ้างไม่จ่ายค่าชดเชยให้ กับลูกจ้างที่ทุจริตต่อหน้าที่ หรือ กระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ดังนั้น เหตุแห่งการเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ตามมาตรา 119 (1) แบ่ง ออกเป็น ทุจริตต่อหน้าที่ คือ การประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อสัตย์ ไม่ซื่อตรง – กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา ตามมาตรา 119 (1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำ ความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง – คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1374/2557 จำเลยเลิกจ้างโจทก์เนื่องมาจากโจทก์หยิบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ของลูกค้าที่ธนาคาร ท. ซึ่งอยู่ที่ ชั้นล่างของอาคารจำเลยไปโดยไม่ได้ แจ้งให้ธนาคารดังกล่าวทราบและปิดโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อป้องกัน การ ติดตามของเจ้าของ รวมทั้งพยายามบอกขายโทรศัพท์เคลื่อนที่แก่ผู้อื่น ถือว่าโจทก์มีเจตนาเอา ทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยทุจริตอันเป็นความผิด ฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการ ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง แม้เป็นการกระทำต่อผู้อื่นที่มิใช่ลูกค้าหรือผู้มาติดต่องานกับจำเลยและมิได้เกิด ในสถานที่ทำงาน แต่ก็ยังคงเป็นความผิดอาญา หาเป็นเหตุให้โจทก์หลุดพ้นจากการประพฤติชั่วอย่าง ร้ายแรงไม่ อีกทั้งการประพฤติชั่วนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะความประพฤติในขณะปฏิบัติหน้าที่เท่านั้น ย่อมหมายความรวมถึงความประพฤติที่พึงต้องปฏิบัติโดยทั่วไปด้วย การกระทำของโจทก์เป็นการไม่ รักษาเกียรติยศชื่อเสียงของจำเลยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการว่าจ้างและการทำงาน บทที่ 6 วินัย และการลงโทษทางวินัยข้อ 5 เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอย่างร้ายแรงที่เลิกจ้างโจทก์ จึงชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม แล้ว – คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2552 ตามข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 3.5 ว่าด้วย ระเบียบวินัยและการลงโทษ พนักงานขอการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2537 ข้อ 4 กำหนดว่าการไล่ออกจะ กระทำได้ เมื่อพนักงานผู้ใดกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ดังต่อไปนี้ (ก) ทุจริตต่อหน้าที่…(ฉ) ประพฤติ ชั่วอย่างร้ายแรง การที่โจทก์ทราบดีอยู่แล้วว่า นายณรงค์กับนายวีรพรรณ ผู้ใต้บังคับ บัญชาของโจทก์ ไม่ได้รับทราบคำสั่งอนุญาตให้หยุดพักผ่อนประจำปีและบุคคล ทั้งสองยังคงปฏิบัติหน้าที่ในวันที่มีสิทธิ หยุดพักผ่อนดังกล่าว แต่โจทก์ได้เบิกจ่ายเงิน ให้บุคคลภายนอกที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจ้างเพื่อให้มา ปฏิบัติหน้าที่แทนโดยบุคคล ภายนอกไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจ้างจริง การกระทำของโจทก์ดัง กล่าวเป็นการ ประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่แล้ว ไม่ว่าความเสียหายที่จำเลย ที่ 1 ได้รับจะมีจำนวนมากหรือน้อยเพียงใด และจำเลยที่ 1 มีสิทธิลงโทษไล่โจทก์ ออกจากงานตาม ข้อบังคับดังกล่าวข้างต้นได้ – คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3407/2552 โจทก์ใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวต่อพ่วงกับอุปกรณ์ของจำเลยใน เวลาทำงานเพื่อทำการค้ากับ บุคคลภายนอก นอกจากจะเป็นการ แสวงหาประโยชน์อันมิชอบจากการใช้กระแสไฟฟ้า โทรศัพท์และ อุปกรณ์ของจำเลยแล้วยังเป็นการเบียดบังเวลาทำงานของจำเลยอีก ด้วย ย่อมทำให้จำเลยได้รับความ เสียหาย เมื่อจำเลยตักเตือนและ สั่งห้ามแล้ว โจทก์ยังกระทำเช่นนั้นอีกจนต้องมีการตักเตือนเช่นนั้นถึง 5 ครั้งย่อมถือได้ว่าโจทก์ละเลยไม่นำพาต่อคำสั่งเช่นว่านั้นเป็นอาจิณ และเป็นการกระทำประการอื่น อันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต จำเลยจึงชอบที่จะเลิกจ้างโจทก์ ได้ทันที โดยมิพักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอก กล่าวล่วงหน้าตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 ประกอบพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และตามพฤติการณ์การกระทำของโจทก์ดังกล่าว ยังยากแก่ การบังคับบัญชา หากจ้างโจทก์ทำงานต่อไปก็มีแต่จะทำให้จำเลยได้ รับความเสียหายมากขึ้น จำเลยย่อมมีเหตุผลที่จะ ไม่ไว้วางใจให้โจทก์ ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร จึงเป็นการ เลิกจ้างที่เป็น ธรรม จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ – คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8417/2551 พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มิได้ให้ความหมายคำว่า “ทุจริต”ไว้ และมิได้ใช้คำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรม คือความ ประพฤติชั่ว โกงไม่ซื่อตรง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการ สอบสวนนั้นโจทก์แจ้งว่าโจทก์ได้รับกล้อง ที่เป็นของสมนาคุณมาจริงแล้วนำไปไว้ในที่ เก็บสินค้าของจำเลยยังมิได้นำออกใช้ แต่เมื่อตรวจดูหน่วย ความจำที่บันทึกภาพถ่ายใน กล้องปรากฏว่ามีภาพอยู่จำนวน 26 ภาพ เป็นภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้ เป็นการส่วนตัว โจทก์จึงยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าวไปใช้จริง การที่โจทก์ยอมรับว่าเอากล้องดังกล่าว ไปใช้แล้วจึงเป็นเพราะโจทก์จำนนต่อหลักฐานนั่นเอง ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นการ นำไปใช้โดยถือวิสาสะ เพราะหากโจทก์คิดว่าโจทก์มีสิทธิจะนำไปใช้ได้โจทก์ก็น่าจะ ยอมรับว่าเอาไว้ใช้แล้วจริงตั้งแต่ต้น ไม่น่าจะต้องให้ตรวจดูหน่วยความจำที่กล้อง บันทึกไว้เสียก่อน เมื่อปรากฏว่ามีภาพถ่ายที่โจทก์บันทึกไว้ เป็นการส่วนตัวโจทก์จึง เพิ่งจะยอมรับว่ากล้องดังกล่าวเป็นของสมนาคุณที่จำเลยได้มาและมีไว้เพื่อให้ พนักงานของจำเลยจับรางวัลในงานวันขึ้นปีใหม่ การที่โจทก์ไม่แจ้งให้จำเลยทราบว่า ได้กล้องดังกล่าว มา ทั้งยังนำไปใช้โดยพลการ เมื่อมีการสอบสวนก็ยังไม่ยอมรับว่าเอา ไปใช้แล้วจนต้องมีการตรวจสอบ หาความจริงจากหน่วยความจำที่กล้องบันทึกไว้ด้วย เช่นนี้ การกระทำของโจทก์จึงเป็นการประพฤติ ไม่ซื่อตรงอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่าย ค่าชดเชยตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ.มาตรา 119 (1) ทั้งยังเป็นการกระทำอันไม่เหมาะสมแก่การ ปฏิบัติ หน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตจำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอก กล่าว ล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583 จำเลยไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าว ล่วงหน้าให้แก่โจทก์ ทั้งการที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ในกรณีนี้เป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุสมควร ที่จะเลิกจ้างได้ จึงมิใช่การเลิกจ้าง ที่ไม่เป็นธรรม จำเลยไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการ เลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมให้แก่โจทก์ – คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10332/2550 แม้หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ระบุเหตุผลที่เลิกจ้างไว้ประการหนึ่งว่า โจทก์ไม่ได้มาทำงานใน วันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 แต่ได้ลงบันทึกข้อมูล ของบริษัทจำเลยว่าโจทก์มาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้จำเลยต้องจ่ายค่าอาหาร ให้โจทก์วันละ 10 บาท รวม 2 วัน เป็นเงิน 20 บาท อันเป็นการทุจริต ต่อหน้าที่ ในวันที่ 22 และ 26 มีนาคม 2547 ซึ่งไม่ตรงกับที่ศาลแรงงานกลางฟัง ข้อเท็จจริงว่าโจทก์ ไม่มาทำงานในวันที่ 24 มีนาคม 2547 แต่โจทก์แก้ไข ข้อมูลว่ามาทำงานในวันดังกล่าว ทำให้โจทก์ได้ รับประโยชน์เป็นเบี้ยขยันเดือนละ 300บาทและค่าอาหารวันละ10บาทอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ใน วันที่24มีนาคม 2547 ซึ่งเป็นการทุจริตต่อหน้าที่คนละวันกัน แต่ก็เป็นการระบุเรื่องโจทก์ทุจริต ต่อ หน้าที่เป็นเหตุผลให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างแล้ว เพียงแต่ระบุวันที่โจทก์ ทุจริตต่อหน้าที่ผิดพลาดไปซึ่งเป็นรายละเอียดเท่านั้น จำเลยย่อมยกเหตุผลที่โจทก์ทุจริตต่อหน้าที่ ขึ้นต่อสู้เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยได้ – [...]
กฎหมายลิขสิทธิ์-พึงรู้-ควรทำ
กฎหมายลิขสิทธิ์-พึงรู้-ควรทำกันยายน 7, 2020กฎหมายลิขสิทธิ์-พึงรู้-ควรทำ - บทความกฎหมายจากเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ - เนื่องด้วยในปัจจุบันมีการนำข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยีมาใช้ในการคุ้มครอง งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง สมควรกำหนดให้มีการคุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทาง เทคโนโลยี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นการกระทำละเมิดลิขสิทธิ์และสิทธิของนักแสดงเพิ่มขึ้น อีกทั้งสมควร กำหนดให้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ผู้กระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ซึ่งทำให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือ สิทธิของนักแสดงเข้าถึงโดยสาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย ต้องจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้น และสมควรกำหนดให้ศาล มีอำนาจสั่งริบหรือสั่งทำลายสิ่งที่ใช้ในการกระทำความผิดและสิ่งที่ได้ทำขึ้นหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรอัน เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงได้ด้วย จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ขึ้น โดยนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 132 ตอนที่ 6 ก เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2558 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อน “Digital Economy” ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่จะอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศหรืออินเทอร์เน็ตในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ของประเทศ โดยหวังว่าผลจากกฎหมายฉบับนี้จะช่วยให้นโยบาย Digital Economy เติบโตได้อย่างยั่งยืน กฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดถึง “ข้อมูลการบริหารสิทธิ” ซึ่งเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงผู้สร้างสรรค์ งานสร้าง สรรค์ นักแสดง การแสดง เจ้าของลิขสิทธิ์ หรือระยะเวลาและเงื่อนไขการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์ ตลอดจนตัวเลข หรือรหัสแทนข้อมูลดังกล่าว โดยข้อมูลเช่นว่านี้ติดอยู่หรือปรากฏเกี่ยวข้องกับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการ แสดง เช่น ในรูปภาพมีชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์หรือมีลายน้ำปรากฏอยู่ หากมีการลบหรือเปลี่ยนแปลง ก็จะถือว่าเป็น การละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ นอกจากนี้ กฎหมายฉบับนี้ยังได้กำหนดถึง “มาตรการทางเทคโนโลยี” ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ออกแบบ มาเพื่อป้องกันการทำซ้ำหรือควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดง โดยเทคโนโลยีเช่นว่านี้ ได้นำมาใช้กับงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิ่งบันทึกการแสดงนั้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เจ้าของลิขสิทธิ์มีการตั้งรหัส ในการเข้าฟังเพลงต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ผู้ใดอยากฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลงนั้น จะต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้ รหัสในการเข้าฟังเพลงหรือดาวน์โหลดเพลง แต่หากผู้ใดไม่อยากเสียเงินและใช้วิธีการ Hack เข้าไปฟังเพลงหรือ ดาวน์โหลดเพลงนั้นฟรีๆ ก็จะถือว่าเป็นการละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท แต่หากเป็นการกระทำเพื่อ การค้า ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน – 2 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 400,000 บาท หรือทั้ง จำทั้งปรับ และให้ริบสิ่งของละเมิดลิขสิทธิ์ หรือศาลอาจสั่งให้ทำลาย โดยผู้ละเมิดลิขสิทธิ์ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ในการทำลายเอง กฎหมายฉบับนี้มีสาระสำคัญโดยสรุปได้ 8 ประเด็น ดังนี้ 1. คุ้มครองข้อมูลการบริหารสิทธิเพื่อส่งเสริมการเผยแพร่งานอันมีลิขสิทธิ์และคุ้มครองสิทธิ ในข้อมูล ที่เจ้าของลิขสิทธิ์ใช้บริหารจัดการสิทธิของตนไม่ให้ผู้อื่นมาลบหรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ชอบ เช่น การลบข้อมูล เกี่ยวกับชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ ชื่อผู้สร้างสรรค์ ชื่อนักแสดง โดยหากผู้ใดลบหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว ถือว่ามี ความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ 2. คุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ปกป้องงานอันมีลิขสิทธิ์ของตน เพื่อ ป้องกันการทำซ้ำหรือการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ เช่น รหัสผ่าน (Password) ที่เจ้าของลิขสิทธิ์นำมาใช้ ในการ ควบคุมการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ของตนที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต โดยหากผู้ใดทำลายมาตรการทางเทคโนโลยี ดังกล่าว โดยเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่ยินยอม ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี 3. กำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์การทำซ้ำชั่วคราว (Exception for Temporary Reproduction) เพื่อกำหนดให้ชัดเจนว่าการทำซ้ำชั่วคราวโดยความจำเป็นของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียกดูงาน อันมีลิขสิทธิ์ ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการดูภาพยนตร์หรือฟังเพลงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จำ เป็นต้องมีการทำซ้ำงานเพลงหรือภาพยนตร์ดังกล่าวไว้ในหน่วยความจำ (RAM) ทุกครั้ง ด้วยความจำเป็นทาง เทคนิคดังกล่าว ทำให้ทุกครั้งที่มีการใช้งานอันมีลิขสิทธิ์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้งานจะต้องทำซ้ำงานด้วยเสมอ การทำซ้ำลักษณะนี้เป็นการทำซ้ำชั่วคราวที่ไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 4. เพิ่มเติมเรื่องการกำหนดข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Liability Limitation of ISP) เพื่อให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เช่น เจ้าของเว็บไซต์ Youtube ไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องละเมิดลิขสิทธิ์ โดยให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถร้องขอให้ศาลสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเอาไฟล์ละเมิดลิขสิทธิ์ออกจากเว็บไซต์ ซึ่งเจ้าของลิขสิทธิ์จะต้องแสดงหลักฐานต่างๆ ต่อศาลอย่างเพียงพอ และเมื่อศาลได้มีคำสั่งให้เอาไฟล์ละเมิดออก จากเว็บไซต์แล้ว และเจ้าของเว็บไซต์ดำเนินการตามคำสั่งศาล เจ้าของเว็บไซต์ไม่ต้องรับผิดเกี่ยวกับ การกระทำที่ อ้างว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าว 5. เพิ่มข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์กรณีการจำหน่ายต้นฉบับหรือสำเนางานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนำหลัก การระงับไปซึ่งสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (Exhaustion of Rights) มากำหนดให้ชัดเจนว่า การขายงานอันมี ลิขสิทธิ์มือสองสามารถทำได้โดยไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การขายภาพเขียน หนังสือ ซีดีเพลง ซีดี ภาพยนตร์ อย่างไรก็ดี หากเป็นการขายซีดีภาพยนตร์จะต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วย ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ด้วย มิฉะนั้น แม้ไม่ผิดตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์ แต่อาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ได้ 6. เพิ่มเติมเรื่องสิทธิทางศีลธรรมของนักแสดง (Moral Right) เพื่อเพิ่มสิทธิให้นักแสดงมีสิทธิทาง ศีลธรรมเท่าเทียมกับสิทธิทางศีลธรรมของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ โดยนักแสดงมีสิทธิระบุชื่อตนในการ แสดง ที่ตนได้แสดง และห้ามไม่ให้ผู้ใดกระทำต่อการแสดงของตนจนทำให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงหรือ เกียรติคุณ 7. เพิ่มบทบัญญัติเรื่องค่าเสียหายในเชิงลงโทษ (Punitive Damages) โดยกำหนดให้ ศาลมีอำนาจสั่งให้ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงจ่ายค่าเสียหายเพิ่มขึ้นไม่เกินสองเท่าของค่าเสียหาย ในกรณีที่ปรากฏหลัก ฐานชัดแจ้งว่ามีการกระทำโดยจงใจหรือมีเจตนาให้งานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงสามารถเข้าถึงโดย สาธารณชนได้อย่างแพร่หลาย 8. กำหนดให้ศาลมีอำนาจสั่งริบหรือทำลายสิ่งที่ได้ใช้ในการกระทำละเมิด และสิ่งที่ได้ทำขึ้น หรือนำ เข้ามาในราชอาณาจักรอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ในปัจจุบันจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับมีการบังคับใช้พระราช บัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2558 และเพื่อไม่ให้เป็นการขัดต่อข้อกำหนดตาม กฎหมายฉบับนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตควรเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ มาใช้ เช่น เมื่อ ผู้ใช้โซเซียลมีเดียนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ มาแชร์หรือโพสต์ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา และชื่อเจ้าของลิขสิทธิ์ นั้นอย่างชัดเจน เช่นนี้ก็จะถือว่าไม่มีความผิด ส่วนผู้ประกอบธุรกิจ e-Commerce เมื่อมีการนำภาพหรือข้อมูลต่างๆ ของผู้อื่นมาใช้ จะต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาและขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้นเสียก่อน มิฉะนั้น อาจเข้า ข่ายกระทำความผิด เนื่องจากมีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์โดยไม่ได้รับอนุญาต แม้จะทราบแล้วว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จะเป็นการดีกว่าหรือไม่ หากผู้ ใช้อินเทอร์เน็ตพึงเคารพสิทธิ์ในเจ้าของผลงาน ไม่ทำการลบแก้ไขหรือดัดแปลงผลงาน รวมทั้งนำภาพหรือข้อมูล ต่างๆ ไปแชร์หรือโพสต์ด้วยจิตสำนึกที่ดี ข้อมูลอ้างอิง : 1) ราชกิจจานุเบกษา. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘. . เข้าถึงได้จาก : https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/006/7.PDF. (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กันยายน 2558). 2) กรมทรัพย์สินทางปัญญา. กฎหมายลิขสิทธิ์ช่วยขับเคลื่อน “Digital Economy” คุ้มครองผู้สร้างสรรค์ งาน บนอินเตอร์เน็ต กำหนดโทษการละเมิด 10,000 – 400,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ. . (วันที่ค้นข้อมูล : 28 กันยายน 2558) - Source: https://www.etcommission.go.th/article-other-topic-license.html [...]
สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544
สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544กันยายน 7, 2020สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 - สรุปความโดย สุมลรัตน์ นาคพานิช นิติกร 3 ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา - 1. หลักการและเหตุผล ในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่การทำ ธุรกรรมในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนวิธีการในการติดต่อสื่อสารที่อาศัยการพัฒนาการเทคโนโลยี ทางอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากการทำธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมีความแตกต่างจากวิธีการทำธุรกรรมซึ่งมีกฎหมายรองรับอยู่ในปัจจุบันเป็นอย่าง มาก อันส่งผลให้ต้องมีการรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอกับการทำเป็น หนังสือ หรือหลักฐานเป็นหนังสือ การรับรองวิธีการส่งและรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการรับฟังพยานหลักฐานที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการ ทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้น่าเชื่อถือ และมีผลในทางกฎหมายเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการ ทั่วไปที่เคยปฏิบัติอยู่เดิม ควรกำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่วางนโยบาย กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อส่งเสริมการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจเกี่ยวกับ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งมีหน้าที่ในการส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่อติดตาม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาศักยภาพตลอดเวลาให้มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ ตลอดจนเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นการส่งเสริมการใช้ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ด้วยการมีกฎหมายรองรับในลักษณะ ที่เป็นเอกรูป และสอดคล้องกับมาตรฐานที่นานาประเทศยอมรับ - พระราชบัญญัติฉบับนี้ใช้บังคับแก่ธุรกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ที่ดำเนินการโดยใช้ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ธุรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดมิให้นำพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนมาใช้บังคับ รวมถึงให้ใช้บังคับแก่การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐด้วย เช่น คำขอ การอนุญาต การจดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศ หรือการดำเนินการ ใดๆ ตามกฎหมายกับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ก็ให้ถือว่ามีผลโดยชอบด้วย กฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายในเรื่องนั้นกำหนด (มาตรา 35) - 2. สาระสำคัญ 2.1 คำนิยามศัพท์ที่สำคัญ (มาตรา 4) ธุรกรรม หมายความว่า การกระทำใดๆ ที่เกี่ยวกับกิจกรรมในทางแพ่งและพาณิชย์ หรือ ในการดำเนินงานของรัฐตามที่กำหนดในหมวด 4 เรื่องธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ อิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่น แม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้วิธีต่างๆ เช่นว่านั้น ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า ธุรกรรมที่กระทำขึ้นโดยใช้วิธีการทาง อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน 2.2 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัตินี้กำหนดห้ามมิให้ปฏิเสธความมีผลผูกพันและการบังคับใช้ทางกฎหมาย ของข้อความที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 7) ดังนั้น ขั้นตอนต่างๆ หรือแบบในการทำ ธุรกรรมจึงสามารถกระทำโดยใช้ข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ดังที่หมวด 1 ของพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้ (1) ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การใดต้องทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือหรือมี เอกสารมาแสดง ถ้าได้มีการจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเข้าถึงและนำกลับมาใช้ได้ โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง ให้ถือว่าข้อความนั้นได้ทำเป็นหนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมี เอกสารมาแสดงแล้ว (มาตรา 8) และในกรณีที่บุคคลลงลายมือชื่อในหนังสือ ให้ถือว่าข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีการลงลายมือชื่อแล้ว ถ้าบุคคลนั้นใช้วิธีการที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อได้และ สามารถจะแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อนั้นรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ว่าเป็นของตน โดยวิธี ดังกล่าวจะต้องเป็นวิธีการที่เชื่อถือได้โดยเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการสร้างหรือส่งข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์โดยคำนึงถึงพฤติการณ์แวดล้อมหรือข้อตกลงของคู่กรณี (มาตรา 9) (2) ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นำเสนอหรือเก็บรักษาข้อความใดในสภาพที่เป็นมาแต่ เดิมอย่างเอกสารต้นฉบับ ถ้าได้นำเสนอหรือเก็บรักษาในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ ในการรักษาความถูกต้องของข้อความ ความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ของข้อความ เว้นแต่ การรับรองหรือบันทึกเพิ่มเติมหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ และสามารถที่จะแสดงข้อความนั้นในภายหลังได้ แล้ว ให้ถือว่าได้มีการนำเสนอหรือเก็บรักษาเป็นเอกสารต้นฉบับตามกฎหมายแล้ว (มาตรา 10) (3) ห้ามไม่ให้ปฏิเสธการรับฟังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นพยานหลักฐานในกระบวนการ พิจารณาตามกฎหมายเพียงเพราะเหตุว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยการพิเคราะห์ถึงความน่าเชื่อถือของ ข้อมูลดังกล่าวจะพิเคราะห์ถึงลักษณะหรือวิธีการที่ใช้สร้าง เก็บรักษา หรือสื่อสารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ลักษณะหรือวิธีการรักษาความครบถ้วนและไม่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อความ ลักษณะหรือวิธีการที่ใช้ใน การระบุหรือแสดงตัวผู้ส่งข้อมูล รวมทั้งพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งปวง (มาตรา 11) (4) คำเสนอหรือคำสนองในการทำสัญญาอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ (มาตรา 13) โดยการแสดงเจตนาหรือคำบอกกล่าวอาจทำเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ (มาตรา 14) และบุคคลใด เป็นผู้ส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นการส่งโดยวิธีใดให้ถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้นั้น โดยมีหลักเกณฑ์ใน การส่งหรือการรับข้อมูลดังนี้ - ในระหว่างผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูล ให้ถือว่าเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ส่งข้อมูล หากข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ส่งโดยบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์นั้นหรือระบบข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลหรือบุคคลผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูลได้กำหนดไว้ ล่วงหน้าให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ (มาตรา 15) - ผู้รับข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เป็นของผู้ส่งข้อมูลและชอบที่จะ ดำเนินการไปตามข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้ถ้าผู้รับข้อมูลได้ตรวจสอบโดยสมควรว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล แต่ถ้าในขณะนั้นผู้รับข้อมูลได้รับแจ้งจากผู้ส่งข้อมูลว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับ ข้อมูลได้รับนั้นไม่ใช่ของผู้ส่งข้อมูลและในขณะเดียวกันผู้รับข้อมูลมีเวลาพอสมควรที่จะตรวจสอบ ข้อเท็จจริงตามที่ได้รับแจ้งนั้น จะถือว่าข้อมูลที่ผู้รับได้รับเป็นของผู้ส่งข้อมูลไม่ได้ อีกกรณีหนึ่งคือ ข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้รับข้อมูลได้รับนั้นเกิดจากการกระทำของบุคคลซึ่งใช้วิธีการที่ผู้ส่งข้อมูลใช้ในการแสดงว่า ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูล ซึ่งบุคคลนั้นได้ล่วงรู้โดยอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลนั้น กับผู้ส่งข้อมูลหรือผู้มีอำนาจกระทำการแทนผู้ส่งข้อมูล ผู้รับข้อมูลจะถือว่าข้อมูลเป็นของผู้ส่งข้อมูลและ ชอบที่จะดำเนินการไปตามข้อมูลนั้นได้ แต่ถ้าผู้รับข้อมูลได้รู้หรือควรจะได้รู้ว่าข้อมูลนั้นไม่ใช้ข้อมูลของ ผู้ส่งข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรหรือดำเนินการตามวิธีการที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน แล้ว ผู้รับข้อมูลจะถือว่าข้อมูลนั้นเป็นของผู้ส่งข้อมูลไม่ได้ (มาตรา 16) (5) ในกรณีที่ต้องมีการตอบแจ้งการรับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าผู้ส่งข้อมูลได้ ร้องขอหรือตกลงกับผู้รับข้อมูลไว้ก่อนหรือขณะที่ส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์หรือปรากฏในข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ - ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้ตกลงให้ตอบแจ้งการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบหรือ วิธีการใดโดยเฉพาะ การตอบแจ้งการรับอาจทำได้ด้วยการติดต่อสื่อสารจากผู้รับข้อมูล - ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลกำหนดเงื่อนไขว่าจะถือว่ามีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่อเมื่อได้รับ การตอบแจ้งการรับจากผู้รับข้อมูล ให้ถือว่ายังไม่มีการส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จนกว่าผู้ส่งข้อมูลจะได้รับ การตอบแจ้งการรับแล้ว - ในกรณีที่ผู้ส่งข้อมูลมิได้กำหนดเงื่อนไขและผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับนั้น ภายในเวลาที่กำหนดหรือตกลงกัน หรือภายในระยะเวลาอันสมควรในกรณีที่มิได้กำหนดหรือตกลงเวลาไว้ ผู้ส่งข้อมูลอาจส่งคำบอกกล่าวไปยังผู้รับข้อมูลว่าตนยังมิได้รับการตอบแจ้งการรับและกำหนดระยะเวลาอัน สมควรให้ผู้รับข้อมูลตอบแจ้งการรับและหากผู้ส่งข้อมูลมิได้รับการตอบแจ้งการรับภายในระยะเวลาอัน สมควรดังกล่าว เมื่อผู้ส่งข้อมูลบอกกล่าวแก่ผู้รับข้อมูลแล้ว ผู้ส่งข้อมูลชอบที่จะถือว่าข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ นั้นมิได้มีการส่งเลยหรือผู้ส่งข้อมูลอาจใช้สิทธิอื่นใดที่ผู้ส่งข้อมูลมีอยู่ได้ (6) การส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือว่าได้มีการส่งเมื่อข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ ระบบข้อมูลที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งข้อมูล (มาตรา 22) และการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถือ ว่ามีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลของผู้รับข้อมูล หากผู้รับข้อมูลได้กำหนด ระบบข้อมูลที่ประสงค์จะใช้ในการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ไว้โดยเฉพาะให้ถือว่าการรับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ มีผลนับแต่เวลาที่ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เข้าสู่ระบบข้อมูลที่ผู้รับข้อมูลได้กำหนดไว้นั้น 2.3 ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หมายความว่า อักษร อักขระ ตัวเลข เสียงหรือสัญลักษณ์อื่นใดที่ สร้างขึ้นให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งนำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อแสดงความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นและเพื่อแสดงว่าบุคคลดังกล่าวยอมรับข้อความใน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้น ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีลักษณะดังนี้ให้ถือว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อถือได้ เช่น ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้เชื่อมโยงไปยังเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่เชื่อมโยง ไปยังบุคคลอื่นภายใต้สภาพที่นำมาใช้,ในขณะสร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้น ข้อมูลสำหรับใช้สร้าง ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้าของลายมือชื่อโดยไม่มีการควบคุมของบุคคลอื่น, การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดแก่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ นับแต่เวลาที่ได้สร้างขึ้นสามารถจะตรวจพบได้ และในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้การลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นไปเพื่อรับรองความครบถ้วนและไม่มี การเปลี่ยนแปลงของข้อความ การเปลี่ยนแปลงใดแก่ข้อความนั้นสามารถตรวจพบได้นับแต่เวลาที่ ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ซึ่งก็อาจยังมีวิธีการอื่นอีกที่แสดงได้ว่าเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ เชื่อถือได้(มาตรา 26) ในกรณีมีการใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อสร้างลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ที่จะมีผลตามกฎหมาย เจ้าของลายมือชื่อต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรเพื่อไม่ให้มีการ ใช้ข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับอนุญาต,แจ้งให้บุคคลที่คาดหมายได้โดยมี เหตุอันควรเชื่อว่าจะกระทำการใดโดยขึ้นอยู่กับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือให้บริการเกี่ยวกับลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์ทราบโดยไม่ชักช้าเมื่อเจ้าของลายมือชื่อรู้หรือควรได้รู้ว่าข้อมูลสำหรับใช้สร้างลายมือชื่อ อิเล็กทรอนิกส์นั้นสูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยไม่ชอบ หรือถูกล่วงรู้โดยไม่สอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ รวมถึงการที่เจ้าของลายมือชื่อรู้จากสภาพการณ์ที่ปรากฏว่ากรณีมีความเสี่ยงมากพอที่ข้อมูล สำหรับใช้สร้างลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะสูญหาย ถูกทำลาย ถูกแก้ไข ถูกเปิดเผยโดยไม่ชอบหรือถูกล่วงรู้ โดยไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์,ในกรณีมีการออกใบรับรองสนับสนุนการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ จะต้องใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญ ทั้งหมด ซึ่งกระทำโดยเจ้าของลายมือชื่อเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรองหรือตามที่มีการกำหนด ในใบรับรอง (มาตรา 27) ในกรณีมีการให้บริการออกใบรับรองเพื่อสนับสนุนลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลทาง กฎหมายเสมือนหนึ่งลงลายมือชื่อ ผู้ให้บริการออกใบรับรองต้องมีวิธีดำเนินการ เช่น ปฏิบัติตาม แนวนโยบายและแนวปฏิบัติที่ตนได้แสดงไว้,ใช้ความระมัดระวังตามสมควรให้แน่ใจในความถูกต้องและ ความสมบูรณ์ของการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดที่ตนได้กระทำเกี่ยวกับใบรับรองนั้นตลอดอายุใบรับรอง หรือตามที่มีการกำหนดในใบรับรอง,จัดให้มีวิธีการในการเข้าถึงโดยสมควร ให้คู่กรณีที่เกี่ยวข้องสามารถ ตรวจสอบข้อเท็จจริงในการแสดงสาระสำคัญทั้งหมดจากใบรับรองได้,ใช้ระบบ วิธีการ และบุคลากรที่ เชื่อถือได้ในการให้บริการ โดยดูจากสถานภาพทางการเงิน บุคลากรและสินทรัพย์ที่มีอยู่ คุณภาพของ ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ วิธีการออกใบรับรอง การขอใบรับรองและการเก็บรักษาข้อมูลการ ให้บริการนั้น เป็นต้น (มาตรา 28 และมาตรา 29) ซึ่งคู่กรณีที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามสมควรใน การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และในกรณีที่ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์มี ใบรับรอง คู่กรณีต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของใบรับรอง การพักใช้หรือการเพิกถอนใบรับรอง และ ปฏิบัติตามข้อจำกัดใดๆ ที่เกี่ยวกับใบรับรอง (มาตรา 30) โดยใบรับรองหรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นี้ ให้ถือว่ามีผลทางกฎหมาย (มาตรา 31) และใบรับรองที่ออกในต่างประเทศก็ให้มีผลตามกฎหมายใน ประเทศเช่นเดียวกับใบรับรองที่ออกในประเทศ หากการออกใบรับรองดังกล่าวได้ใช้ระบบที่เชื่อถือได้ไม่ น้อยกว่าระบบที่เชื่อถือได้ตามพระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 31) 2.4 ธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์เฉพาะแต่ใน กรณีที่จำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ หรือเพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความ เชื่อถือและยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสาธารณชนโดยจะมีการ ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการ ที่ต้องแจ้งให้ทราบ ต้องขึ้นทะเบียนหรือต้องได้รับใบอนุญาต (มาตรา 32) ซึ่งในกรณีที่มีพระราช กฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์กรณีใดเป็นกิจการที่ต้อง ได้รับอนุญาต ผู้ที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจดังกล่าวต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ กฎหมายกำหนด โดยพระราชกฤษฎีกาจะกำหนดถึงเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์และ วิธีการขออนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การคืนใบอนุญาตและการสั่งพักใช้หรือเพิก ถอนใบอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ด้วย (มาตรา 34) 2.5 คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พระราชบัญญัตินี้กำหนดให้มีคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (มาตรา 36) มี อำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อวางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนา ธุรกรรมทาง อิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง,ติดตามดูแลการประกอบธุรกิจบริการ เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์,เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาต่อรัฐมนตรีเพื่อการตราพระราชกฤษฎีกา ตามพระราชบัญญัตินี้,ออกระเบียบหรือประกาศเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัตินี้ หรือตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ และปฏิบัติการอื่นใดเพื่อให้ เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่น โดยในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้คณะกรรมการ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา (มาตรา 37) และให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการ ของคณะกรรมการ (มาตรา 43) 2.6 บทกำหนดโทษ ผู้ใดประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่แจ้งหรือขึ้นทะเบียน ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาหรือฝ่าฝืนคำสั่งห้ามการประกอบธุรกิจของ คณะกรรมการหรือประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ได้รับใบอนุญาต ต้อง ได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด โดยความผิดดังกล่าวนี้ รวมถึงการกระทำโดยนิติบุคคล ผู้จัดการหรือ ผู้แทนนิติบุคคล หรือผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการดำเนินงานของนิติบุคคลด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้รู้ เห็นหรือมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดนั้น 3. ผู้รักษาการตามกฎหมายและวันบังคับใช้ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตาม พระราชบัญญัตินี้ (มาตรา 6) พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ประกาศในราชกิจจา นุเบกษา เล่ม 118 ตอนที่ 112 ก หน้า 26 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2544 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับ เมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (มาตรา 2) - ศูนย์ข้อมูลกฎหมายกลาง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา มิถุนายน 2547 - Source: http://web.krisdika.go.th/data/lawabout/lawdetail/lawdetail_017.htm [...]
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ของหน่วยงานภาครัฐ
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ของหน่วยงานภาครัฐกันยายน 7, 2020การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Privacy) ของหน่วยงานภาครัฐ - ปัจจุบันมีการนำระบบสารสนเทศและการสื่อสารมาประยุกต์ใช้ประกอบการทำธุรกรรม ทางอิเล็กทรอนิกส์อย่างแพร่หลาย ซึ่งอาจต้องมีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้หรือเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคล ของผู้ใช้บริการในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งเป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานสำคัญในความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ของประชาชนที่ต้องได้รับการคุ้มครองอันจะทำให้ ประชาชนมีความมั่นใจในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยกรอบในการคุ้มครองข้อมูลที่นิยมใน ระดับสากลและถูกนำมาอ้างอิงเป็นแนวทางในการดำเนินการใดๆ คือ กรอบในการคุ้มครองข้อมูลของ องค์การร่วมมือ และพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD : The Organization for Economic Cooperation and Development) ในเรื่อง Guidelines Governing the Protection of Privacy and Transborder Data Flows of Personal Data ซึ่งมีหลักพื้นฐาน 8 ประการ คือ 1) หลักข้อจำกัดในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2) หลักคุณภาพของข้อมูล 3) หลักการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บ 4) หลักข้อจำกัดในการนำไปใช้ 5) หลักการรักษาความมั่นคงปลอดภัยข้อมูล 6) หลักการเปิดเผยข้อมูล 7) หลักการมีส่วนร่วมของบุคคล 8) หลักความรับผิดชอบ - สำหรับในประเทศไทยได้มีการกล่าวถึงข้อมูลส่วนบุคคลอันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน อย่างกว้างขวาง เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของ ราชการ พ.ศ. 2540 ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... และพระราชบัญญัติว่าด้วย ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นต้น - การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544 นั้น คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้มีประกาศ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐ ซึ่งรวบรวม จัดเก็บ ใช้ เผยแพร่ หรือดำเนินการอื่นใดเกี่ยวกับข้อมูล ของ ผู้ใช้บริการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ จัดทำนโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และให้หน่วยงานของรัฐจัดทำข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ซึ่งได้มีการประกาศ ในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 เป็นต้นมา - source:https://www.etcommission.go.th/article-dp-topic-dp.html [...]
สรุปสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สรุปสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกันยายน 7, 2020สรุปสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล - สรุปสาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ต่อคณะรัฐมนตรี โดยที่ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีหลักการ เพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากความก้าวหน้าของ เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งระบบสื่อสาร ทำให้การเก็บรวบรวม การใช้ และการเปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถทำได้โดยง่าย สะดวก และรวดเร็ว อันอาจนำมาซึ่งความเดือดร้อน รำคาญ หรือความเสียหายในกรณีที่มีการนำไปแสวงหาประโยชน์หรือเปิดเผยโดยไม่ได้รับ ความยินยอมหรือแจ้งล่วงหน้า ที่แม้ว่าจะได้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในบางเรื่อง แต่ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์ กลไก หรือมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วน บุคคลที่เป็นหลักการทั่วไป ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการ กฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปประกอบการ พิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอ สภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป ซึ่งบัดนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) ได้พิจารณาตรวจร่าง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เสร็จเรียบร้อยแล้ว - สรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ที่ผ่านการ ตรวจพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 11) และประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับประกาศ คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคล ของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ โครงสร้างของร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ..... ประกอบด้วย บททั่วไป (มาตรา 1 - มาตรา 6) หมวด 1 คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 7 – มาตรา 16) หมวด 2 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 17 – มาตรา 18) ส่วนที่ 2 การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 19 – มาตรา 23) ส่วนที่ 3 การใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 24 – มาตรา 25) หมวด 3 สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 26 – มาตรา 30) หมวด 4 ข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูล (มาตรา 31 – มาตรา 34) หมวด 5การร้องเรียน (มาตรา 35 – มาตรา 41) หมวด 6 ความรับผิดทางแพ่ง (มาตรา 42) หมวด 7 บทกำหนดโทษ (มาตรา 43 – มาตรา 49) บทเฉพาะกาล (มาตรา 50 – มาตรา 53) การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ตามความในหมวด 4 ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ได้กำหนดให้การทำ “คำขอ การอนุญาต การ จดทะเบียน คำสั่งทางปกครอง การชำระเงิน การประกาศ หรือการดำเนินการใดๆ ตามกฎหมาย กับหน่วยงานของรัฐหรือโดยหน่วยงานของรัฐ ถ้าได้กระทำในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา ให้นำพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับและให้ ถือว่ามีผลโดยชอบด้วยกฎหมายเช่นเดียวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย ในเรื่องนั้นกำหนด…” ทั้งนี้ เพื่อให้มีการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่ติดต่อหรือทำ ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานภาครัฐ โดยในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนด หลักเกณฑ์และวิธีการในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. 2549 (ซึ่งออกโดยอาศัย อำนาจตามมาตรา 35) กำหนดว่า “ในกรณีที่มีการรวบรวม จัดเก็บ ใช้ หรือเผยแพร่ข้อมูล หรือ ข้อเท็จจริงที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมให้หน่วยงานของรัฐจัดทำ แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลด้วย” - คณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่สอดคล้องตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ โดยจัดทำ เป็นประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่องแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 ซึ่งมีสาระสำคัญ ที่หน่วยงานของรัฐ จะต้องจัดทำเนื้อหาและรายละเอียดให้ครอบคลุมดังนี้ - นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 8 ข้อ (1) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลอย่างจำกัด (2) คุณภาพของข้อมูลส่วนบุคคล (3) การระบุวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม (4) ข้อจำกัดในการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ (5) การรักษาความมั่นคงปลอดภัย (6) การเปิดเผยเกี่ยวกับการดำเนินการแนวปฏิบัติและแนวนโยบายเกี่ยวกับข้อมูลส่วน บุคคล (7) การมีส่วนร่วมของเจ้าของข้อมูล (8) ความรับผิดชอบของบุคคลซึ่งทำหน้าที่ควบคุมข้อมูล - ข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำนวน 9 ข้อ (1) ข้อมูลเบื้องต้น (2) การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (3) การแสดงระบุความเชื่อมโยงให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับหน่วยงานหรือองค์กรอื่น (4) การรวบรวมข้อมูลจากที่มาหลายๆ แห่ง (5) การให้บุคคลอื่นใช้หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (6) การรวบรวม จัดเก็บ ใช้ และการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการ (7) การเข้าถึง การแก้ไขให้ถูกต้อง และการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน (8) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล (9) การติดต่อกับเว็บไซต์ - การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตามร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ เป็นกฎหมายกลางในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นการทั่วไป (มีขอบเขตการใช้ บังคับกับหน่วยงานของรัฐด้วย) หากมีกฎหมายว่าด้วยการใดบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดไว้โดยเฉพาะแล้วให้เป็นไปตามกฎหมายนั้น (มาตรา 3) เว้นแต่ บทบัญญัติเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล และบทกำหนด โทษที่เกี่ยวข้อง จะต้องนำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ไปใช้บังคับเป็นการเพิ่มเติม ไม่ว่า จะซ้ำกับกฎหมายนั้นหรือไม่ก็ตาม บทบัญญัติในเรื่องการร้องเรียน บทบัญญัติที่ให้อำนาจแก่คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญออก คำสั่งเพื่อคุ้มครองเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล และบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของพนักงาน เจ้าหน้าที่ รวมทั้งบทกำหนดโทษที่เกี่ยวข้อง ให้บังคับตามพระราชบัญญัตินี้ เฉพาะในกรณีที่ กฎหมายว่าด้วยการนั้นไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการร้องเรียน - สำหรับข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 31 ได้กำหนดให้ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นผู้ทำประกาศกำหนดข้อปฏิบัติในการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลปฏิบัติ มาตรา 42 กรณีที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดำเนินการใดๆ อันทำให้เกิดความเสียหาย ต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า (1) ความเสียหายนั้นเกิดจากเหตุสุดวิสัย (2) เป็นการปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย และ (3) เป็นการปฏิบัติครบถ้วนตามข้อปฏิบัติในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนดตามมาตรา 31 จากข้างต้นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องและใกล้เคียงกันระหว่าง ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2553 และร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... เช่น นิยามคำว่า ข้อมูลส่วนบุคคล มีหลักการสำคัญเหมือนกัน คือ สิ่งที่ระบุหรืออาจระบุ ตัวบุคคล (Identified and Identifiable) หลักการสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูล ส่วนบุคคลตามแนวทางขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา Organization for Economic Cooperation and Development (OECD) คือ ให้ความสำคัญกับ “หลักการ ยินยอม” และ “หลักการปกปิด” เป็นหลักการทั่วไป ทั้งนี้ “การเปิดเผย” เป็นข้อยกเว้น เนื้อหาการเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในร่างพระราชบัญญัติฯ อาจ มีความเข้มข้นในบางประเด็นมากกว่าในประกาศคณะกรรมการฯ ทั้งนี้ อย่างไรก็ตามอาจจะต้อง รอคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพิจารณากำหนดและประกาศข้อปฏิบัติในการ คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติให้แก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ต่อไป - source: https://www.etcommission.go.th/article-dp-topic-conclusion-dp.html [...]
ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย
ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมายกุมภาพันธ์ 22, 2020ทวงหนี้อย่างไรไม่ให้ผิดกฎหมาย   เนื่องจากการทวงถามหนี้ในปัจจุบันมีการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ถ้อยคำที่เป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลอย่างรุนแรง การคุกคามโดยขู่เข็ญ การใช้กำลังประทุษร้าย หรือการทำให้เสียชื่อเสียง รวมถึงการให้ข้อมูลเท็จ และการสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้แก่บุคคลอื่น จึงต้องมีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ รวมถึงการควบคุมการทวงถามหนี้ไว้เป็นการเฉพาะโดยได้บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจความหมายของคำว่า “ผู้ทวงถามหนี้” กันก่อนว่าหมายความถึงบุคคลใดกันบ้าง ซึ่งกฎหมายได้ให้คำจำกัดความ ของ “ผู้ทวงถามหนี้” ไว้ว่า หมายถึง เจ้าหนี้ซึ่งเป็นผู้ให้สินเชื่อ ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติธุระตามกฎหมายว่าด้วยการพนัน และเจ้าหนี้อื่นซึ่งมีสิทธิรับชำระหนี้อันเกิดจากการกระทำที่เป็นทางการค้าปกติ หรือเป็นปกติธุระของเจ้าหนี้  ทั้งนี้ ไม่ว่าหนี้ดังกล่าวจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึง ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ และผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ด้วย ในส่วนของ “ผู้ให้สินเชื่อ” กฎหมายให้คำจำกัดความไว้ว่า หมายถึง บุคคลซึ่งให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด ส่วน “สินเชื่อ” หมายความว่า สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน ส่วนตัว “ลูกหนี้” นั้น หมายความถึงลูกหนี้ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาและผู้ค้ำประกันซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาด้วย (หากลูกหนี้เป็นนิติบุคคลย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายฉบับนี้)   ข้อห้ามในการทวงถามหนี้   1.ห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ โดยหลักแล้วกฎหมายห้ามผู้ทวงถามหนี้ติดต่อกับบุคคลอื่นซึ่งมิใช่ลูกหนี้เพื่อการทวงถามหนี้ แต่ก็มีข้อยกเว้นไว้ คือ เว้นแต่เป็นบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ดังกล่าว ซึ่งการติดต่อกับบุคคลอื่นนอกจากลูกหนี้หรือบุคคลที่ลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ ให้กระทำได้เพื่อวัตถุประสงค์ในการสอบถามหรือยืนยันข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้เท่านั้น และต้องปฏิบัติดังนี้ (1) แจ้งให้ทราบชื่อตัว ชื่อสกุล และแสดงเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ (2) ห้ามแจ้งถึงความเป็นหนี้ของลูกหนี้ เว้นแต่ในกรณีที่บุคคลอื่นนั้นเป็นสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ และบุคคลอื่นดังกล่าวได้สอบถามผู้ทวงถามหนี้ถึงสาเหตุของการติดต่อให้ผู้ทวงถามหนี้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ได้เท่าที่จำเป็น และตามความเหมาะสม (3) ห้ามใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในหนังสือ หรือในสื่ออื่นใดที่ใช้ในการติดต่อสอบถาม ซึ่งทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อทวงถามหนี้ของลูกหนี้ (4) ห้ามติดต่อหรือแสดงตนที่ทำให้เข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ บุคคลใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอาจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   2.ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะข่มขู่หรือใช้ความรุนแรงหรือละเมิดสิทธิลูกหนี้หรือผู้อื่น ดังต่อไปนี้ (1) การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (2) การใช้วาจาหรือภาษาที่เป็นการดูหมิ่นลูกหนี้หรือผู้อื่น (3) การแจ้งหรือเปิดเผยเกี่ยวกับความเป็นหนี้ของลูกหนี้ให้แก่ผู้อื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทวงถามหนี้ เว้นแต่เป็นกรณีตามมาตรา 8 วรรคสอง (2) (4) การติดต่อลูกหนี้โดยไปรษณียบัตร เอกสารเปิดผนึก โทรสาร หรือสิ่งอื่นใดที่สื่อให้ทราบว่าเป็นการทวงถามหนี้อย่างชัดเจน เว้นแต่กรณีการบอกกล่าวบังคับจำนองด้วยวิธีการประกาศหนังสือพิมพ์ ซึ่งเจ้าหนี้ไม่สามารถติดต่อลูกหนี้โดยวิธีการอื่น หรือกรณีอื่นใดตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (5) การใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้บนซองจดหมายในการติดต่อลูกหนี้ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นการติดต่อเพื่อการทวงถามหนี้ เว้นแต่ชื่อทางธุรกิจของผู้ทวงถามหนี้ไม่ได้สื่อให้ทราบได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (6) การทวงถามหนี้ที่ไม่เหมาะสมในลักษณะอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ความใน (5) มิให้นำมาใช้บังคับกับการทวงถามหนี้เป็นหนังสือเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาล กรณีมีการฝ่าฝืน (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากฝ่าฝืน (2) (3) (4) หรือ (5) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   3.ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่เป็นเท็จหรือทำให้เกิดความเข้าใจผิด ดังต่อไปนี้ (1) การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ (2) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าการทวงถามหนี้เป็นการกระทำโดยทนายความสำนักงานทนายความ หรือสำนักงานกฎหมาย (3) การแสดงหรือมีข้อความที่ทำให้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี หรือจะถูกยึดหรืออายัดทรัพย์หรือเงินเดือน (4) การติดต่อหรือการแสดงตนให้เชื่อว่าผู้ทวงถามหนี้ดำเนินการให้แก่บริษัทข้อมูลเครดิต หรือรับจ้างบริษัทข้อมูลเครดิต หากฝ่าฝืน (1) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากฝ่าฝืน (2) (3) หรือ (4) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   3.ห้ามทวงถามหนี้ในลักษณะที่ไม่เป็นธรรม ดังต่อไปนี้ (1) การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (2) การเสนอหรือจูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็คทั้งที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้อยู่ในฐานะที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หากฝ่าฝืน13 (2) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   4.ห้ามเจ้าหน้าที่ของรัฐ กระทำการดังต่อไปนี้ (1) ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ (2) ทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย ซึ่งคำว่า “เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามนี้ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   ข้อปฏิบัติในการทวงถามหนี้   1.เกี่ยวกับเวลา สถานที่ ในการทวงถามหนี้ การทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้ปฏิบัติดังต่อไปนี้ (1) สถานที่ติดต่อ ในกรณีที่ติดต่อโดยบุคคลหรือทางไปรษณีย์ ให้ติดต่อตามสถานที่ที่ลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้แจ้งให้เป็นสถานที่ติดต่อ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวไม่ได้แจ้งไว้ล่วงหน้า หรือสถานที่ที่ได้แจ้งไว้ไม่สามารถติดต่อได้ โดยผู้ทวงถามหนี้ได้พยายามติดต่อตามสมควรแล้ว ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของบุคคลดังกล่าว หรือสถานที่อื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (2) เวลาในการติดต่อ การติดต่อโดยบุคคล โทรศัพท์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ให้ติดต่อได้ตั้งแต่เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 20.00 นาฬิกา และในวันหยุดราชการ เวลา 08.00 นาฬิกา ถึงเวลา 18.00 นาฬิกา หากไม่สามารถติดต่อตามเวลาดังกล่าวได้ หรือช่วงเวลาดังกล่าวไม่เหมาะสม ให้ติดต่อได้ในช่วงเวลาอื่นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการประกาศกำหนด (3) จำนวนครั้งที่ติดต่อ ในช่วงเวลาตาม (2) ให้ติดต่อตามจำนวนครั้งที่เหมาะสม และคณะกรรมการอาจประกาศกำหนดจำนวนครั้งด้วยก็ได้ (ประกาศคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ เรื่อง จำนวนครั้งในการติดต่อทวงถามหนี้ ข้อ 3 กำหนดว่า “ให้ผู้ทวงถามหนี้ติดต่อลูกหนี้หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ได้ทราบการทวงถามหนี้ ไม่เกินหนึ่งครั้งต่อหนึ่งวัน” (4) ในกรณีที่เป็นผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ผู้รับมอบอำนาจช่วงในการทวงถามหนี้ ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ ให้ผู้ทวงถามหนี้แจ้งให้ทราบถึงชื่อตัวและชื่อสกุล หรือชื่อหน่วยงานของตนและของเจ้าหนี้ และจำนวนหนี้ และถ้าผู้รับมอบอำนาจดังกล่าวทวงถามหนี้ต่อหน้า ให้แสดงหลักฐานการมอบอำนาจให้ทวงถามหนี้ด้วย 2.หลักฐานเกี่ยวกับการรับชำระหนี้ ในกรณีที่ผู้ทวงถามหนี้ขอรับชำระหนี้ ผู้ทวงถามหนี้ต้องแสดงหลักฐานการรับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ต่อลูกหนี้ หรือบุคคลซึ่งลูกหนี้ได้ระบุไว้เพื่อการทวงถามหนี้ด้วย และเมื่อลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้แล้ว ให้ผู้ทวงถามหนี้ออกหลักฐานการชำระหนี้แก่ลูกหนี้ด้วย และหากลูกหนี้ได้ชำระหนี้แก่ผู้ทวงถามหนี้โดยสุจริต ให้ถือว่าเป็นการชำระหนี้แก่เจ้าหนี้โดยชอบ  ทั้งนี้ ไม่ว่าผู้ทวงถามหนี้จะได้รับมอบอำนาจให้รับชำระหนี้จากเจ้าหนี้หรือไม่ก็ตาม   อำนาจเปรียบเทียบปรับ   ผู้ใดกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายย่อมเป็นความผิดและต้องรับโทษทางอาญา แต่อย่างไรก็ตามหากพฤติการณ์การกระทำไม่ได้ก่อความรุนแรงเกินสมควร กฎหมายก็ยังผ่อนปรนให้คดีอาญานี้สามารถเปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้ต้องหาได้ชำระค่าปรับตามคำเปรียบเทียบภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการกำหนดแล้ว ให้ถือว่าคดีนั้นเป็นอันเลิกกัน ส่งผลให้คดีอาญาระงับสิ้นไป อย่างไรก็ตาม การกระทำบางอย่างก็เป็นเรื่องที่ร้ายแรงและกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมกฎหมายจึงกำหนดไว้ว่าไม่สามารถเปรียบเทียบปรับเพื่อให้ความผิดระงับได้ ซึ่งก็ได้แก่การกระทำความผิดใน 3 กรณี ดังต่อไปนี้ คือ 1.การข่มขู่ การใช้ความรุนแรง หรือการกระทำอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของลูกหนี้หรือผู้อื่น (มาตรา 11(1)) 2.การแสดงหรือการใช้ข้อความ เครื่องหมาย สัญลักษณ์ หรือเครื่องแบบที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นการกระทำของศาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ (มาตรา 12(1)) 3.เจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ หรือทวงถามหนี้หรือสนับสนุนการทวงถามหนี้ซึ่งมิใช่ของตน เว้นแต่ในกรณีที่เป็นหนี้ของสามี ภริยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของตน หรือในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นมีอำนาจกระทำได้ตามกฎหมาย (มาตรา 14) เมื่อได้ความรู้เกี่ยวกับการทวงถามหนี้ตามกฎหมายฉบับนี้แล้ว ก็หวังว่าเจ้าหนี้ทุกรายจะเคารพกฎหมาย เคารพสิทธิเสรีภาพของลูกหนี้หรือบุคคลอื่น ไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย สร้างความวุ่นวายแก่สังคม หากทุกคนเคารพสิทธิและหน้าที่ต่อกัน กล่าวคือ ลูกหนี้ก็ต้องรู้หน้าที่ด้วยการชำระหนี้ให้ตรงต่อเวลาและต้องเคารพสิทธิของเจ้าหนี้ด้วย ส่วนเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ก็ต้องกระทำการทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมไม่ล้ำเส้นจนเกิดเป็นการกระทำอันละเมิดต่อสิทธิของบุคคลอื่นจนกลายเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายและเป็นคดีอาญา. โดย ศิวาพร คารวนันท์, นบ.,นม., นบท. มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 มาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ.2558 [...]
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์กุมภาพันธ์ 7, 2020ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ – อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำคำถาม คำตอบ จำนวน 10 ข้อ เพื่อไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ หลังจากเกิดความไม่เข้าใจในสังคมขึ้นเป็นอย่างมากในช่วงก่อนหน้านี้ว่าอะไรทำได้ อะไรทำไม่ได้ ทำแบบนั้น ทำแบบนี้ผิดหรือไม่ผิดกฎหมาย เป็นต้น กรมฯ จึงต้องออกมาชี้แจงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และป้องกันความปั่นป่วนที่เกิดขึ้นในโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก โดย 10 คำถาม คำตอบ มีรายละเอียดดังนี้ 1. ลิขสิทธิ์คุ้มครองอะไรบ้าง มีอะไรที่เราสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาตหรือไม่ ตอบ ลิขสิทธิ์คุ้มครองงานสร้างสรรค์ เช่น บทความ หนังสือ ซอฟต์แวร์ เพลง รูปภาพ ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพข่าว ภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น แต่ข้อเท็จจริงต่างๆ รวมทั้งข่าวประจำวันทั่วไปในส่วนของข้อเท็จจริงที่รายงานเพียงแค่ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ไม่เข้าข่ายงานอันมีลิขสิทธิ์ เราจึงสามารถเอามาใช้ได้โดยไม่ต้องขออนุญาต 2. เราสามารถดาวน์โหลดภาพยนตร์หรือเพลงจากอินเทอร์เน็ตมาฟังและแชร์ต่อให้เพื่อนได้ไหม ตอบ การดาวน์โหลดถือเป็นการทำซ้ำที่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ กรณีเว็บไซต์ลิขสิทธิ์ที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ดาวน์โหลดได้ฟรี ก็สามารถดาวน์โหลดได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้ ส่วนกรณีเว็บไซต์ที่ให้บริการโดยเก็บค่าใช้จ่ายในการดาวน์โหลด เมื่อผู้ใช้เสียค่าบริการแล้วจึงจะดาวน์โหลดมาเพื่อรับชมหรือรับฟังได้ แต่ไม่สามารถแชร์ต่อได้เช่นกัน 3. การก๊อบปี้บทความหรือรูปภาพจากเว็บไซต์มาใส่เฟซบุ๊กของเราหรือแชร์ต่อทางไลน์ ทำได้หรือไม่ ตอบ บทความหรือรูปภาพเป็นงานลิขสิทธิ์ การนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็นการก๊อบปี้หรือแชร์ต่อ ควรพิจารณาประกอบกับเงื่อนไขการอนุญาตให้ใช้เนื้อหาของเว็บไซต์นั้นๆ ว่าจะทำได้มากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ถ้านำมาใช้ในปริมาณน้อย เช่น 1 ถึง 2 ภาพที่ไม่ได้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ (economic value) อย่างมีนัยสำคัญ และไม่ได้เป็นการใช้เพื่อประโยชน์ทางการค้าหรือหากำไรโดยมีการแสดงที่มาของบทความหรือรูปภาพ ก็อาจถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (fair use) ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 4. การนำงานมาใช้และเผยแพร่โดยอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตผู้สร้างสรรค์เพียงพอหรือไม่ที่จะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ตอบ การนำงานมาใช้และเผยแพร่ ต้องอ้างอิงที่มาหรือให้เครดิตเสมอ จึงจะไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และต้องเป็นกรณีที่ไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์ รวมทั้งต้องไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควรด้วย 5. การแฮกหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์ เช่น รูปภาพหรือคลิปวิดีโอบนอินเทอร์เน็ต และลบลายน้ำดิจิตอลออก และปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเรา มีความผิดอย่างไร และมีโทษเท่าใด ตอบ การแฮกหรือหลบเลี่ยงมาตรการทางเทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงงานลิขสิทธิ์โดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำดังกล่าวอาจจูงใจหรือก่อให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดมาตรการทางเทคโนโลยี และหากทำการลบลายน้ำดิจิตอลออกโดยรู้อยู่แล้วว่าการกระทำนั้นอาจจูงใจให้เกิด ก่อให้เกิด ให้ความสะดวก หรือปกปิดการละเมิดลิขสิทธิ์ ถือว่ามีความผิดฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิ ส่วนการปรับแต่งรูปภาพหรือคลิปวิดีโอของผู้อื่นและโพสต์ไว้บนเว็บไซต์ของเราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์นั้น มีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการดัดแปลงและเผยแพร่งานลิขสิทธิ์นั้นต่อสาธารณชน โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ ปรับ 20,000 บาท ถึง 200,000 บาท เพื่อการค้า 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือจำคุก 6 เดือนถึง 4 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ โทษฐานละเมิดข้อมูลการบริหารสิทธิและมาตรการทางเทคโนโลยี ปรับ 10,000 บาทถึง 100,000 บาท เพื่อการค้า ปรับ 50,000 บาท ถึง 400,000 บาท หรือจำคุก 3 เดือน ถึง 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ 6. การก๊อบปี้ภาพหรือบทความจากอินเทอร์เน็ตมาใช้ในลักษณะอย่างไรจึงจะต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ และอย่างไรจึงไม่ต้องขออนุญาต ตอบ กรณีที่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ เช่น การนำภาพหรือบทความนั้นไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เป็นต้น กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ต้องเป็นการใช้ในปริมาณพอสมควร เช่น นำมาใช้ในการวิจัยหรือศึกษางานซึ่งไม่ใช่เพื่อหากำไร ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ใช้ในการติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น ใช้ในการเสนอข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น และใช้ในการเรียนการสอน เป็นต้น 7. การทำบล็อกแล้ว embed โพสต์ของยูทิวบ์มาไว้ที่บล็อกของเรา ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่ ตอบ การทำบล็อกแล้ว embed โพสต์ของยูทิวบ์มาไว้ที่บล็อกของเราถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เนื่องจากการกระทำดังกล่าวถือเป็นการทำซ้ำงานลิขสิทธิ์ในบล็อกและถือเป็นการเผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย ซึ่งสิทธิในการทำซ้ำและสิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ ในกรณีของการแชร์ลิงก์ (link) เพื่อแนะนำและบอกที่มาของเว็บไซต์ ก็อาจไม่เข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ 8. หากซื้อซีดีเพลง หนังสือ หรือรูปภาพมาอย่างถูกต้อง เมื่อใช้แล้วจะนำออกขายต่อได้หรือไม่ กรณีซื้อโดยดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ ภาพยนตร์ เพลงจากเว็บไซต์ จะขายต่อได้หรือไม่ ตอบ การซื้อซีดีเพลงหรือรูปภาพ ผู้ซื้อได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในแผ่นซีดีหรือรูปภาพนั้น จึงสามารถนำออกขายต่อได้ แต่ผู้ซื้อไม่สามารถทำสำเนางานเพื่อนำออกขายได้ เนื่องจากสิทธิในการทำซ้ำและการนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์ สำหรับกรณีการซื้อมาโดยวิธีการดาวน์โหลดนั้น เป็นการที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตให้ใช้สิทธิ (License) ดังนั้น ไม่สามารถนำไฟล์งานดังกล่าวออกขายต่อได้ 9. ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (ISPs) เช่น YouTube Google True DTAC จะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยหรือไม่ หากผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตอัปโหลดหนังหรือเพลงละเมิดลิขสิทธิ์ ตอบ ผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ต (ISPs) ไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์หากให้ความร่วมมือกับเจ้าของลิขสิทธิ์ในการนำงานละเมิดออกจากเว็บไซต์ตามคำสั่งศาล 10. จะทำอย่างไรเมื่อมีคนนำงานลิขสิทธิ์ของเราไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ตอบ เมื่อพบว่ามีการละเมิดเกิดขึ้น เจ้าของลิขสิทธิ์อาจแจ้งเตือนให้ผู้กระทำละเมิดหยุดการกระทำดังกล่าว หรือเจ้าของลิขสิทธิ์อาจไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล หรืออาจขอให้มีการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทโดยใช้บริการไกล่เกลี่ยของกรมทรัพย์สินทางปัญญาหรือศาล นางมาลีกล่าวสรุปว่า จากกรณีข้อสงสัยที่เกิดขึ้น ถือเป็นข้อดีที่ทำให้คนไทยมีความตื่นตัวในเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ มีจิตสำนึกว่างานที่จะนำไปใช้มีเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ และมีการคิดก่อนแชร์ คิดก่อนใช้ ซึ่งกรมฯ ขอแนะนำว่าถ้าไม่ชัวร์ ไม่แชร์จะดีกว่า – source:manageronline [...]
การปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการใช้ “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ติดตามตัว
การปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการใช้ “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ติดตามตัวกุมภาพันธ์ 7, 2020การปล่อยตัวชั่วคราวด้วยการใช้ “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” ติดตามตัว (Electronic Monitoring : EM) บทความโดย ศิวาพร คารวนันท์ – อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Monitoring : EM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบ คุมผู้กระทำผิดแทนการจำคุกในเรือนจำ ซึ่งจะประกอบด้วยตัวอุปกรณ์ส่งสัญญาณ มีลักษณะคล้ายนาฬิกาหรือสายรัดข้อมือข้อเท้า ตัวอุปกรณ์รับสัญญาณ และศูนย์ควบคุมกลาง ที่ใช้ติดตามตัว เมื่อสวมใส่อุปกรณ์ที่ข้อมือ ข้อเท้า หรืออวัยวะส่วนอื่นก็จะสามารถตรวจสอบการเดินทางของผู้สวมใส่ได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเกี่ยวกับ การปล่อยตัวชั่วคราว โดยบัญญัติเกี่ยวกับการนำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวได้ ซึ่งสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้ดังนี้ 1.ในการอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราว เจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลจะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับที่อยู่หรือเงื่อนไขอื่นใดให้ผู้ถูกปล่อยชั่วคราวปฏิบัติ หรือในกรณีที่ผู้นั้นยินยอมจะสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจ สอบหรือจำกัดการเดินทางของผู้ถูกปล่อยชั่วคราวก็ได้ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการหลบหนี หรือภัยอันตราย หรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น (มาตรา 108 วรรคสาม) 2.ถ้าผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ แม้ผู้นั้นยินยอม จะสั่งให้ใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ต่อเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อบุคคลอื่นอย่างร้ายแรง หรือมีเหตุสมควรประการอื่น (มาตรา 108 วรรคสาม) 3.ในกรณีที่มีคำสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรืออุปกรณ์อื่นใดตามมาตรา 108 วรรคสาม กับผู้ต้องหาหรือจำเลยใด ถ้าปรากฏว่าอุปกรณ์ดังกล่าวถูกทำลายหรือทำให้ใช้การ ไม่ได้ไม่ว่าโดยวิธีใดให้สันนิษฐานว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยนั้นหนีหรือจะหลบหนี (มาตรา 117 วรรคสอง) การแก้ไขกฎหมายดังกล่าวก็เพื่อให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยที่ไม่สามารถหาหลักประกันได้เพียงพอมีโอกาสได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวมากขึ้นหากยินยอมให้เจ้าพนักงานซึ่ง มีอำนาจสั่งให้ปล่อยชั่วคราวหรือศาลสั่งให้ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (เช่น กำไลติดตามตัว) หรืออุปกรณ์อื่นใดที่สามารถใช้ตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางได้ การนำอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้ถือเป็นข้อดีที่ทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลนักโทษที่ไม่ใช่ผู้กระทำความผิดร้ายแรง และยังทำให้เขาได้กลับไปใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวได้กลับไปทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งการใช้อุปกรณ์ติดตามตัวนี้ได้มีการนำร่องใช้แล้ว กับคดีเด็กแว๊นในการคุมประพฤติ โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้นำมาทดลองใช้กับกลุ่มเด็กที่กระทำความผิดใน พ.ร.บ.จราจรฯ นอกจากนี้กรมราชทัณฑ์จะขยายผลเพื่อนำไปใช้กับผู้ต้องขังในอีกหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มผู้ต้องขังที่จะถึงอันตรายแก่ชีวิตถ้าต้องจำคุก เช่น เอดส์ระยะสุดท้าย, มะเร็งระยะสุดท้าย, ไตวายเรื้อรัง เป็นต้น หรือกลุ่มที่เจ็บป่วยเรื้อรังต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง เช่น ต้องฟอกไต หรือกลุ่มที่มีเหตุอันควรได้รับการทุเลาการบังคับ เช่น วิกลจริต หรือตั้งครรภ์หรือเพิ่งคลอดบุตรเป็นต้น แนวทางการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวนี้ ถือเป็นการพัฒนาอีกขั้นหนึ่งของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย และวิธีการดังกล่าวก็เป็นที่ยอมรับและมีใช้กันอยู่ในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ประเทศบราซิล ประเทศอิสราเอล เป็นต้น – ความรู้กฎหมาย โดย อ.เกด ศิวาพร -ติวเตอร์ประจำสถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law -ติวกฎหมาย ป.ตรี ติวเนติฯ ติวทนายความ -ติวส่วนตัว (PRIVATE TUTOR) , ติวกลุ่มเล็ก -สถาบันติวกฎหมายแห่งเดียวที่มีการรับรองผลจนสอบผ่านหลักสูตรกฎหมายทุกหลักสูตร -ติดต่อสอบถาม/ขอคำแนะนำการเรียนกฎหมายได้ฟรีที่ Email : lawyer_ram@hotmail.com Facebook : สถาบันสอนเสริมกฎหมาย Advanced Law [...]
ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่คืออะไร
ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่คืออะไรกุมภาพันธ์ 7, 2020ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่คืออะไร – ธุรกิจประเภทนี้มีวิวัฒนาการมาจากธุรกิจแชร์ลูกโซ่ และจะแตกต่างจากธุรกิจขายตรงโดยทั่วไป เพียงแต่ได้เปลี่ยนวิธีการและรูปแบบในการดำเนินการ โดยจะมีการชักชวนให้ประชาชนมาสมัครเป็นสมาชิกเข้าร่วมเป็นเครือข่าย และสัญญาว่าจะให้ประโยชน์ตอบแทนจากการชักจูงผู้อื่นให้เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายด้วย โดยธุรกิจประเภทดังกล่าวไม่ได้สนใจที่จะจำหน่ายสินค้าหรือบริการไปสู่ผู้บริโภคแต่อย่างใด แต่จะเอาสินค้าหรือบริการมาใช้บังหน้าในการประกอบธุรกิจเท่านั้น ประกอบกับธุรกิจนี้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อและอวดอ้างสรรพคุณสินค้า จนเกินจริงและมีการแอบอ้างบุคคลสำคัญ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือจนทำให้เกิดความน่าสนใจในการที่จะเข้ามาลงทุนด้วย – ลักษณะของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ 1. มีการชักชวนประชาชนให้สมัครเป็นสมาชิกให้ร่วมเข้าเป็นเครือข่าย โดยโดยจะไม่มุ่งเน้นในการจำหน่าย สินค้าหรือบริการ 2. ผลตอบแทนจากธุรกิจประเภทดังกล่าวมาจากการหาสมาชิกมาเข้าร่วมลงทุนเพิ่ม ไม่ได้มาจากการจำหน่าย สินค้าหรือบริการแต่อย่างใด 3. ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่จะมีการเก็บค่าสมัครสมาชิกค่อนข้างสูง และจะมีการให้ซื้อสินค้า ที่มีคุณภาพต่ำ 4. มีการดำเนินงานอย่างเป็นขบวนการ มีแม่ทีมในการออกหาสมาชิกเพิ่ม – ธุรกิจขายตรงแตกต่างจากแชร์ลูกโซ่อย่างไร หลังจากแชร์ลูกโซ่ได้ระบาดอย่างหนักเมื่อประมาณยี่สิบปีก่อนและเข้ามาแฝงอยู่ในธุรกิจขายตรงในปัจจุบันซึ่งกลายเป็นภาพซ้อนที่ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนว่าธุรกิจขายตรงแตกต่างกับแชร์ลูกโซ่อย่างไร ซึ่งหากเป็นธุรกิจ แชร์ลูกโซ่ธรรมดาก็เป็นเรื่องที่สามารถทำความเข้าใจได้ไม่ยาก เพราะจะมีการล่าหัวคิวหรือลงทุนแล้วรอรับส่วนแบ่งกันตรงไปตรงมาแทบไม่มีสินค้าหรือทำธุรกิจกันจริงตามที่กล่าวอ้าง ในขณะอีกด้านหนึ่ง แชร์ลูกโซ่ที่แฝงตัวเข้ามาในระบบธุรกิจขายตรงจะทำกันอย่างแนบเนียน พัฒนาไปจากแชร์ลูกโซ่แบบธรรมดามากโดยทำเหมือนว่าเป็นบริษัทขายตรงที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่แท้ที่จริงแล้วได้สร้างเงื่อนไขที่เป็นการเอารัดเอาเปรียบขึ้นมาใหม่ ดูผิวเผินเหมือนไม่ใช่การระดมเงินหรือหลอกล่อเอาผลประโยชน์ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นการดึงเม็ดเงินโดยผ่านกระบวนการหาสมาชิก ด้วยการจ่ายผลตอบแทนที่สูงเกินความเป็นจริงทางธุรกิจ และไม่ได้มีเจตนาจะขายสินค้าอย่างเป็นธรรม – ข้อแตกต่างระหว่างการขายตรงที่ถูกกฎหมายกับธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ 1. ค่าธรรมเนียมในการสมัคร – ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย ค่าธรรมเนียมในการเริ่มต้นธุรกิจมีอัตราไม่สูงมาก เป็นค่าสมัคร จ่ายเพื่อเอกสารคู่มือ ความรู้ เอกสารอบรมและผลิตภัณฑ์ตัวอย่างสินค้าเท่านั้น – ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ ค่าธรรมเนียมในการสมัครสูง ผู้สมัครจะถูกหลอกให้จ่าย ค่าฝึกอบรมและซื้อสินค้าเกินความต้องการซึ่งอาจมาในรูปสินค้าเป็นส่วนใหญ่ และรายได้ของผู้ที่อยู่ในระบบและผลกำไรของบริษัทส่วนใหญ่มาจากการรับสมาชิกใหม่ 2. สินค้าและบริการ – ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย สินค้าจะมีคุณภาพสูง ยอดขายจะมาจากการจำหน่ายสินค้า และจะเน้นที่ความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ และจะมีการรับประกันสินค้าโดยการคืนเงิน และจะมีการเปลี่ยนสินค้าหรือขายสินค้าคืนบริษัทได้ – ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ ไม่มีการรับรองเรื่องคุณภาพสินค้า และไม่มีการสนใจ ในการขายและไม่มีนโยบายซื้อสินค้ากลับคืนเพราะอาจทำให้ระบบแชร์ลูกโซ่ล้มได้ 3. การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน – ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนจะขึ้นอยู่กับการทำงานของคนขาย และยอดขาย ซึ่งหมายถึงรายได้หรือผลประโยชน์ตอบแทนมาจากการขายสินค้า – ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ การจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนมาจากการหาสมาชิกใหม่ 4. ความก้าวหน้าของธุรกิจ – ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมายมีโอกาสเติบโตได้เสมอ เนื่องผู้บริโภคจะมีการซื้อสินค้าซ้ำเพราะ พอใจในสินค้า บริษัทจึงสามารถออกสินค้าใหม่เพื่อขยายตลาดได้ – ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ โอกาสที่ธุรกิจจะล้มมีค่อนข้างสูง เพราะเมื่อดำเนินการ ไประยะหนึ่งจะไม่มีสมาชิกเข้าร่วมลงทุน ส่งผลให้ไม่มีเงินจ่ายหมุนเวียนในระบบธุรกิจและระบบปิระมิดจะล้มในที่สุด 5. การได้ความคุ้มครองทางกฎหมาย – ธุรกิจขายตรงที่ถูกกฎหมาย ผู้บริโภค ผู้ขาย และบริษัทขายตรงจะได้รับความคุ้มครองตาม กฎหมาย (พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545) ซึ่งผู้ประกอบการที่จะทำธุรกิจขายตรงจะต้องขอจดทะเบียน ณ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค – ธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ เป็นระบบที่ผิดกฎหมายในประเทศไทย – ประเภทของธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่ 1. ประเภทแรก คือ บริษัทที่มองเห็นค่อนข้างชัดเจนว่าเป็นแชร์ลูกโซ่ แม้ว่าจะมีสินค้าอุปโลกน์ขึ้นมา แต่ลักษณะการแนะนำคนเข้ามาสมัครจะระบุอย่างชัดเจนว่า จะได้ส่วนแบ่งจากการหาสมาชิก ซึ่งลักษณะแบบนี้ จะสังเกตได้ง่าย เช่น สินค้าไม่มีคุณภาพ สถานที่และเอกสารต่างๆ ไม่มีมาตรฐาน หากจะมองกันไปที่กระบวนการ ทำตลาดแล้วจะเห็นได้ว่า ไม่ได้นำเสนอสินค้ามากนัก ไม่ได้สาธิตสินค้ากันอย่างจริงจัง มีสินค้าอยู่ไม่กี่รายการ นอกจากไม่ได้พูดถึงตัวสินค้าอย่างจริงจังแล้ว ยังเน้นการนำเสนอแผนการตลาดเป็นการล่าหัวคิว โดยเน้นรายได้กันเป็นสัปดาห์หรือเป็นรายวัน และยังไม่มีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคุณภาพสมาชิกในการทำตลาดอย่างมีคุณภาพและมาตรฐาน 2. ประเภทที่สอง คือ บริษัทประกอบธุรกิจขายตรงในระบบหลายชั้นที่ถูกกฎหมาย มีการสร้างบริษัท ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะแตกต่างจากประเภทแรกทั้งในเรื่องของสถานที่ หรือเอกสารหลักฐานจะมีครบถ้วนสมบูรณ์ ซึ่งดูผิวเผินภายนอกแล้วมีความน่าเชื่อถือมาก แม้แต่ผู้บริหาร ที่ปรึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทุกอย่างล้วนดูมีคุณภาพทั้งสิ้น และบริษัทยังมีแผนการตลาดที่ดึงดูดใจคน โดยจะมีแผนการตลาด 2 แบบ ให้สามารถทำแบบที่ถูกกฎหมาย ก็ได้ หรือเป็นการล่าหัวคิวเต็มตัวก็ได้ ในปัจจุบันมีบริษัทหลายบริษัทที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการตลาดที่ถูกกฎหมายได้ตามยอด จึงเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมแผนการตลาดลักษณะแชร์ลูกโซ่โดยเปิดซ้อนขึ้นมาอีกแผนหนึ่ง ซึ่งหากผู้ที่ไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องธุรกิจขายตรงเป็นอย่างดีก็มีโอกาสที่จะถูกหลอกจนหมดเนื้อหมดตัวได้ – สินค้าและบริการที่ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงแอบแฝงแบบแชร์ลูกโซ่นิยมใช้ในการหลอกลวง – ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม เช่น สาหร่าย เห็ดหลินจือ น้ำลูกยอ เป็นต้น – สมุนไพร เช่น โสมเกาหลี – อัญมณี เช่น เพชร พลอย เครื่องประดับ – สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น กาแฟโสม – สินค้าเกษตร เช่น ปุ๋ยเคมี เป็นต้น – การบริการ เช่น การจัดสรรวันพักผ่อน บริการจัดคอร์สการศึกษา เป็นต้น – กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานฉ้อโกง มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา ๓๔๑ ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิด ความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา ๓๔๒ อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หกเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่หนึ่งพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท – พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 เป็นการหลอกลวงประชาชนโดยให้ชักชวนให้ลงทุนโดยนำเงินหรือทรัพย์สิน และให้ไปชักชวนคนให้นำเงินมาลงทุนต่อไปเรื่อย ๆ ต่อกันไปไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งอ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูง โดยผู้หลอกลวงมิได้นำเงินที่ได้มาไปประกอบธุรกิจที่ถูกกฎหมายเพียงแต่นำเงินที่ได้มาจากผู้ลงทุนรายใหม่ไปหมุนเวียนจ่ายให้แก่ผู้ลงทุนรายเก่า มาตรา 5 เป็นความผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชักชวนให้ประชาชนมาสมัครสมาชิกและนำเงินมาลงทุน ตามลักษณะของมาตรา 4 มาตรา 12 ผู้ใดกระทำความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน – พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 มาตรา 19 ห้ามผู้ประกอบธุรกิจขายตรงชักชวนบุคคลเข้าร่วมเป็นเครือข่าย โดยตกลงว่าจะให้ผลตอบแทนจากการหาผู้เข้าร่วมเครือข่าย มาตรา 20 ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงต้องจดทะเบียนธุรกิจขายตรงต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) – บทความโดย สำนักงานเศรฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง [...]
สัญญาประกันภัย
สัญญาประกันภัยกุมภาพันธ์ 7, 2020คดีศึกษา – ในสัญญาประกันภัยคู่สัญญาซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องแถลงและเปิดเผยข้อความจริงต่อบริษัทผู้รับประกันภัยตามกฎหมาย – คดีศึกษา – สัญญาประกันภัยใช้หลักสุจริต คู่สัญญาซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยต้องแถลงและเปิดเผยข้อความจริงที่อาจจะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีก หรือบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาฯ ในคดีที่ศึกษานี้หากผู้รับประกันภัยทราบเรื่องที่ผู้เอาประกันภัยทำสัญญาไว้กับบริษัทต่างๆ ถึง 10 บริษัท และมีวงเงินที่เอาประกันภัยรวมสูงถึง 20,000,000 บาท แล้ว อาจเป็นเหตุให้ไม่รับทำประกันภัยได้ เมื่อไม่แถลงฯ สัญญาจึงเป็นโมฆียะ เมื่อบอกล้างตามกฎหมายสัญญาจึงเป็นโมฆะทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน – ———ตามคำขอเอาประกันอุบัติเหตุ มีคำถามว่า ท่านมีหรือได้ขอเอาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือประกันชีวิตไว้กับบริษัทอื่นหรือไม่ และมีช่องให้ขีด ไม่มีหรือมีหรือได้ขอ โปรดแจ้งบริษัทแล้วมีช่องว่างให้กรอก หากโจทก์มีความสุจริตใจ เมื่อเขียนชื่อบริษัทสามัคคีประกันภัยไปแล้วก็ยังสามารถเพิ่มเติมบริษัทอื่นอีกได้ ทั้งที่ได้ทำสัญญาประกันภัยไว้ก่อนถึง 10 บริษัท จำนวนเงินที่เอาประกันขณะนั้นเป็นเงินประมาณ 20,000,000 บาท แต่ที่โจทก์กลับแจ้งเพียงบริษัทเดียววงเงินประกันภัย 2,000,000 บาท จึงเป็นเรื่องที่แตกต่างกันมาก หากจะระบุความจริงให้ครบถ้วนก็ย่อมทำได้เพียงระบุวงเงินที่ได้ทำสัญญาไปแล้ว จึงมิใช่เป็นเหตุที่ไม่อาจระบุความได้ ส่วนที่ศาลอุทธรณ์แผนกคดีผู้บริโภควินิจฉัยว่า จำเลยอาจตรวจสอบจากบริษัทอื่น ๆ ได้นั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 ต้องการให้ผู้เอาประกันภัยแถลงและเปิดเผยข้อความจริง ถ้าไม่เปิดเผยข้อความจริงหรือแถลงข้อความอันเท็จไซร้ ซึ่งอาจจะจูงใจผู้รับประกันภัยให้เรียกเบี้ยประกันสูงขึ้นอีก หรือให้บอกปัดไม่ยอมทำสัญญาแล้ว สัญญาประกันภัยนั้นย่อมเป็นโมฆียะ เมื่อโจทก์ทราบว่าตนเองนั้นได้ทำสัญญาประกันภัยไว้กับบริษัทต่างๆ ถึง 10 บริษัท และมีวงเงินที่เอาประกันภัยรวมสูงถึง 20,000,000 บาท แล้ว แต่กลับแจ้งให้จำเลยทราบเพียงบริษัทเดียวในวงเงินเพียง 2,000,000 บาท ซึ่งหากโจทก์ได้เปิดเผยข้อความจริงของโจทก์ทั้งหมดก็อาจจะทำให้จำเลยบอกปัดไม่ยอมทำสัญญาได้ การไม่เปิดเผยความจริงของโจทก์ทั้งหมดจึงเป็นเรื่องที่เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาในการรับทำสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับ ที่โจทก์ทำไว้กับจำเลย สัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว จึงตกเป็นโมฆียะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 865 เมื่อจำเลยได้ใช้สิทธิบอกล้างภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดสัญญาประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวย่อมตกเป็นโมฆะ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย – กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7650/2561 [...]